แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    อนุโมทนาครับ....ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ท่านนำธรรมะของพ่อ,แม่,ครูบาอาจารย์,มาลงให้เพื่อนๆได้อ่านขอให้ธรรมรักษาท่านและครอบครัวตลอดไปตราบเข้า....ถึงซึ้งพระนิพพาน....สวัสดีครับ
     
  2. ภูเขาสายน้ำ

    ภูเขาสายน้ำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +64
    ให้พยายามภาวนาไว้เรื่อยๆ ไม่ว่ายีน เดิน นั่ง นอน ทำได้ตลอดเวลาถ้าเราจะทำ ดีกว่านั่งร้องเพลง จะซักผ้า หุงข้าว ต้มแกง นั่งรถ ทำได้ทั้งนั้น
    เขาเรียกว่า พยายามเกลี่ยจิตใจให้เข้าที่ ถ้าจะรอเวลาปฏิบัติทีเดียว มันยาก เพราะจิตมันแตกมาตลอดวัน

    โอวาทธรรม หลวงปู่ดู่ พรฺหมฺปญโญ
    สาธุ คุณ APRIN
     
  3. tippavan

    tippavan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +1,583
    อนุโมทนาผลบุญขอผู้ถ่ายทอดธรรมะของพระสุปฐิปันโณดีๆ ทุกๆรูปค่ะ ขอกราบพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย และจะพยายามน้อมนำธรรมะทั้งหลายมาสู่ใจ ให้ไม่เสียทีที่มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนา ขอเหตุอันข้าพเจ้าได้ตั้งใจแล้วนี้จงเป็นปัยจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยง่ายในชาติปัจจุบันนี้เถิด
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    [​IMG]

    เมื่อเรามีสติตลอดเวลาทุกวันทุกนาทีมันจะรู้จักอารมณ์เมื่อเราทำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้วมันจะเห็นสุขหรือทุกข์ชอบไม่ชอบจะเห็นอยู่ตลอดเวลามันจะทวนลงไปทีเดียวว่ามันไม่แน่สุขเกิดขึ้นมาอันนี้ก็ไม่แน่นอนเหมือนกันอย่าไปหมายมั่นมันเลยทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลยว่าอันนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนะมันแน่อยู่ตรงไหนเล่ามันแน่อยู่ตรงที่มันแม่แน่มันเป็นอยู่อย่างนั้นเองอันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์และอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีกำลังเสื่อมเมื่อสิ่งทั้งหลายนี้มันเสื่อมไปอุปาทาน(ความยึดมั่น) ของเราก็น้อยก็ปล่อยวางนี่เป็นเรื่องของธรรมชาติเรื่องของธรรมดาเช่นนี้

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส
    วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย


    "ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีการเผลอสติจากอิริยาบถทั้ง 4 จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเข้าใจไหม (ท่านถามลูกศิษย์) "

    นี่คือเทศน์ครั้งสุดท้ายของท่านก่อนที่จะล้มป่วย คำว่าฟังเทศน์หมายความว่า เอาใจฟังอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวให้รู้อยู่กับภาวนาหรือให้รู้อยู่เฉพาะใจ อย่าให้ร่างกายนั่งอยู่ที่นี่แต่ใจมันคิดไปที่อื่น ก็ชื่อว่าใจไม่ฟัง คำว่าใจฟังคือใจจดจ่อ สะท้อนให้ละความชั่วประพฤติความดี ความชั่วก็ได้แก่บาปนั่นแหละ ความดีก็ได้แก่บุญกุศลนั่นแหละ แต่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจของเรา ถ้าพูดให้สั้นๆ เอาเฉพาะใจความโอวาทของพระพุทธเจ้า 84,000 พนะธรรมขันธ์ ท่านก็ย่อมลงมาเป็น 3 ข้อด้วยกันคือ

    1. พระพุทธเจ้าสอนให้ละกายทุจริตและประพฤติกายให้สุจริตนี้เป็นข้อที่หนึ่ง
    2. ให้ละวาจาทุจริตและ ให้ประพฤติวาจาให้สุจริต
    3. ให้ละ มโนทุจริตและ ให้ประพฤติใจให้สุจริต จะพูดถึงบาป อกุศลกรรมบทหมายความว่า การทำบาปทั้งหลายก็รวมมาอยู่ที่อกุศลกรรมบท 10 ประการนั่นแหละ คำว่าบุญกุศลก็รวมอยู่ที่กุศลกรรมบท 10 ประการ นั่นแหละชื่อว่ากายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ถ้าพูดให้สั้นให้น้อยลงไปอีก กายกรรม 3 และวจีกรรม 4 เป็นกิริยา การทำบาป ย่นลงมาทางใจคือ ใจโลภ ใจหลง มี 3 อย่างเท่านั้นแหละเป็นต้นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลง อกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านั้น หมายใจดวงเดียวคือใจ ก็หมายอันเดียวเรียกว่า เอกังจิตตัง ที่เรียกว่า จิต หัวใจ ก็เรียกว่าเป็นใจดวงเดียวเอกมโนเรียกว่า ใจอันเดียว ตกลงผู้ที่เบื่อความทุกข์ เบื่อความโง่ เบื่อความเป็นบาป ก็มาปฏิบัติแก้กายทุจริตให้เป็นกายสุจริต แก้วจีทุจริต ให้เป็นวจีสุจริต แก้มโนทุจริต เป็นมโนสุจริต นี้เป็นวิธีปฏิบัติ

    เพราะฉะนั้นให้ระวังที่สุดเรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง สามประการนี้ มันสามารถทำให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้ ฤทธิ์ของมันน่ะ มันอยู่เหนือทุกคนในโลกที่ได้เกิดมาในโลกนี้ ยกเว้นเสียแต่พระอรหันต์

    หลวงปู่คำดี ปภาโส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %CB%C5~1.JPG
      %CB%C5~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      9.4 KB
      เปิดดู:
      126
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)
    วัดสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี (๒๔๔๙– ๒๕๓๖)

    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งบรมธรรม สำเร็จได้ด้วยใบไม้กำมือเดียว ไม่ต้องเรียนจนจบพระไตรปิฎก หรือไม่ต้องเรียนกันมากมาย ชั่วใบไม้กำมือเดียวว่าทุกข์เกิดขึ้นมาอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร นี่ก็..กำมือเดียว<O:p</O:p

    พระพุทธองค์ท่านมีการตรัสทั้ง ภาษาคน และภาษาธรรม ต้องฟังให้ดี เช่น ตรัสโดยภาษาคนว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” แต่ตรัสโดยภาษาธรรมว่า “ตัวตนของตนนั้นไม่มี” ดังนี้ ถ้าฟังไม่ดี จะไม่รู้เรื่อง และเห็นว่าเป็นคำพูดที่ขัดกัน ถ้ารู้จักฟังโดยหลัก ภาษาคน ภาษาธรรมแล้ว จะไม่มีขัดกันเลย<O:p</O:p

    พระพุทธองค์ตรัสว่า “แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติแต่เรื่องความทุกข์ กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น” ดังนั้นพวกเราอย่าต้องเสียเวลาในการศึกษา การถาม การเถียงกันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้กันอีกเลย<O:p</O:p

    จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ที่สุดนั้น จะต้องมีวิธีฝึกไปในทางที่จะคอยเฝ้ากำหนดการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ เวทนา สัญญา และวิตกอนาคตคือ ความฝัน ปัจจุบันคือ ภาพมายา อดีตคือปัญหาที่สะสมไว้ พระอรหันต์จึงอยู่เหนือความหมายของเวลา<O:p</O:p

    จงตายให้ดี มีศิลป์ที่สุด คือตายอย่างรู้สึกว่า ไม่มีใครตาย มีแต่สิ่งปรุงแต่งเปลี่ยนไป<O:p</O:p

    ถ้าใครสามารถเอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้ามากำกับอยู่กับชีวิตประจำวันแล้ว คนนั้นได้ชื่อว่า เชื้อต้านทานโรคสูงสุด แล้วอารมณ์รูป เสียง กลิ่น รส นั้นจะไม่เกิดเป็นพิษขึ้นมาได้ เราจะมีอยู่ เป็นอยู่ อย่างมีความเกษม<O:p</O:p

    ท่านพุทธทาสภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  7. aquad

    aquad สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +22
    คำสอนที่ดีสอนให้ใช้ความคิดอย่างเป็นกลาง จะได้ผลที่ดีๆ ตามมา
     
  8. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    จะนำแนวทางไปประพฤติปฎิบัติตาม

    จะน้อมนำนแนวทางการดำเนินไปปฎิบัติตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขออานุภาพบารมีในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ธรรมใดที่ข้าพเจ้ายังไม่ถึง ของธรรมนั้นจงรู้แตกฉานด้วยเทอญ นิพานัง สุขัง
     
  9. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่จิตของตัวเองทั้งนั้น ผู้พิจารณาจิตตัวเองและเห็นจิตตัวเองย่อมถึงที่สุดแห่งทุกข์
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่บุดดา ถาวโร
    วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

    [​IMG]<O:p</O:p

    คำอธิบาย "สภาวะธรรม" หลวงปู่บุดดา

    หลวงปู่เล่าเหตุการณ์ในวันที่ท่านบรรลุธรรมว่า คืนหนึ่งขณะท่านกับหลวงพ่อสงฆ์กำลังนั่งคุยกันอย่างออกรสนี่เอง

    จู่ ๆ หลวงปู่บุดดาก็เงียบเสียงไปเฉย ๆนั่งลืมตาค้างอยู่ หลวงปู่สงฆ์ที่นั่งเฝ้าดูอยู่ข้าง ๆ จึงเอ๋ยถามว่า "เอ๊ะ เป็นอะไรไป"

    หลวงปู่บุดดาก็นิ่งเฉยไม่ตอบ เบิกตาโพล่งอยู่อย่างนั้น

    หลวงปู่บุดดาท่านได้อธิบายภายหลังว่า ท่านรู้สึกสว่างแจ้งขึ้นมาเอง รู้สึกว่าไม่มีตัวไม่มีตน

    เห็นชัดทุกอย่างรอบตัวเป็นปรมัตถธรรมสิ่งสมมติขึ้นมา ทุกอย่างเป็นธรรมหมด ไม่ใช่ของใคร
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ถือเป็นเจ้าของ พระอรหันต์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ

    สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ สาวกพุทธะ มันไม่มีตัวไม่มีตนหรอก
    <O:p</O:p
    ธรรมต่างหากที่ทรงไว้ คงอยู่ในดวงจิตของตนเอง พูดกันแต่เรื่องปริยัติ ปฏิบัติ ไม่มีใครชนะใครหรอก
    <O:p</O:p
    มันติดอยู่ในสมมติบัญญัติต่างหากล่ะ

    โพธิธรรม ๓๗ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมอันเกื้อหนุนอริยมรรคได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ทั้งหมดนี้


    เป็นสิ่งที่ทำให้หลุดรอดได้ พ้นจากสมมติบัญญัติ หลวงปู่บอกว่า "มีความเข้าใจในธรรมทั้งหมดขึ้นเอง"

    หลวงปู่ท่านอธิบายต่อว่า "อายตนะภายนอกกับภายในมันรวมกันได้ มันมี จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้นเอง<O:p</O:p

    เป็นเพียงสมมติบัญญัติเท่านั้นเอง ไม่มีเจ้าของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เป็นสมมติบัญญัติขึ้นมา พูดกันไม่รู้เรื่อง<O:p</O:p

    แต่พิจารณาได้ อ่านได้ เข้าใจได้ จนรู้ความเป็นจริง ความเป็นไปของสังขาร

    รู้ความเป็นจริงของโลก ก็หมดกัน ไม่มีปัจจัยอะไรส่งให้สัตว์ต้องมาเกิดอีก"

    (จากหนังสือ ๑ ศตวรรษ หลวงปู่บุดดา ถาวโร) <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    [​IMG]

    บันทึกธรรมภาษิต ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    (๑) ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย..... ถ้ายังปฏิบัติไม่ถึงจิตถึงใจ ยังได้ชื่อว่าปฏิบัติไม่ถึงหลักธรรมของจริง เพราะธรรมทั้งหลายเกิดจากจิตจากใจอย่างเดียว

    (๒) ความคิดนึกปรุงแต่ง สัญญาอารมณ์ทั้งปวง หรือสรรพกิเลสทั้งปวงเกิดจาก "จิต" นี้ทั้งนั้น เมื่อไม่มีสติควบคุมจิต..... แต่ตรงกันข้าม เมื่อมีสติควบคุมแล้วย่อมให้เกิด "ปัญญา"

    (๓) ผู้ไม่รู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง..... ขันธ์ทั้งสามย่อมถูกกิเลสกลืนกินหรือครอบงำได้ นักปราชญ์ย่อมรู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง แล้วท่านย่อมพ้นจากการครอบงำของมันได้

    ขันธ์ห้า ได้แก่..... รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ขันธ์สี่ ได้แก่..... อรูปฌาน
    ขันธ์หนึ่ง ได้แก่..... สัญญาเวทยิตนิโรธ

    (๔) กายคตาสติ ย่อมเป็นที่ตั้งของกัมมัฏฐานทั้งปวง กายอันนี้ถึงมันจะมีหรือไม่มี มันก็ถืออยู่ดีๆ นี้แหละ ยิ่งปฏิสนธิ ก็ยิ่งถือใหญ่ เจริญสมถะและวิปัสสนา..... ถ้าทิ้งกายเสียแล้ว จะไม่มีหลักเห็นชัดแจ้งในกัมมัฏฐานทั้งปวง

    (๕) ผู้ใดไม่เห็นทุกข์ ผู้นั้นคือผู้ไม่เห็นธรรม ผู้ได้รับทุกข์ จนเหลือที่จะอดกลั้นแล้ว เมื่อหวนกลับเข้ามาถึงตัวนั่นแลจึงจะรู้จักว่าทุกข์นั้นแลคือ "ธรรม" ..... ผู้เกลียดทุกข์เป็นผู้แพ้ ผู้พิจารณาทุกข์ คือ ผู้เจริญในทางธรรม

    (๖) เมื่อสติตามกำหนดจิตแล้ว จิตจะไม่สับส่ายไปมา..... กิเลสทั้งหมดจะระงับได้ด้วย "สติ" ตัวเดียวเท่านี้

    (๗) เมื่อสติตามกำหนดจิต รู้อยู่ทุกอิริยาบถ..... จิตจะค่อยรวมเข้าเป็นหนึ่ง นั่นคือ "ใจ" ซึ่งไม่มีการส่งส่ายไปมา มีแต่ผู้รู้เฉยๆ หรือเรียกว่า "ธาตุรู้" ก็ได้

    (๘) ธาตุรู้เป็นผู้อยู่กลางๆ ไม่มีอาการใดๆ ทั้งหมด..... ฉะนั้นธาตุรู้จึงไม่มีความรู้สึกดีชั่วอะไร ธาตุรู้นี้ต้องมีสัญญา สังขาร อุปาทาน เข้าไปสัมปยุตจึงจะเกิดอาการต่างๆ ขึ้นมาได้ เช่น สังขารปรุงแต่งดีชั่วหยาบละเอียดต่างๆ จึงเกิดขึ้นมา เมื่อสังขารปรุงแต่งแล้ว..... ปัญญาเข้าไปตรึกตรองในสิ่งนั้นๆ จึงถอดเอาความดี ความชั่วออกมาตั้งไว้ให้ปรากฏเห็นชัดว่าอันนี้ดีอันนี้ชั่ว

    (๙) นักปฏิบัติจิตทั้งหลาย..... จะปฏิบัติจิตเก่งที่สุดได้เพียงภวังคุปัจเฉทะเท่านั้น หรืออัปปนาฌาน มิฉะนั้นก็อัปปนาสมาธิ ทั้งสามอย่างนี้เป็นอาการจิตรวมคล้ายๆ กัน แต่มีอารมณ์เป็นเครื่องอยู่ต่างกันและรวมก็ต่างกัน ท่านจึงเรียกต่างกัน

    ตัวอย่างเช่น..... "ภวังคุปัจเฉทะ" นั้น..... จิตจะรวมเป็นหนึ่งตัดอารมณ์ภายนอกทั้งปวงหมด แล้วก็ตั้งอยู่เป็นหนึ่งในที่เดียว จะไม่มีอารมณ์ใดๆ ทั้งหมดนอกจากอารมณ์ของภวังค์..... อารมณ์ของของภวังค์นี้คล้ายๆ กับไปอยู่ในที่แจ้งแห่งหนึ่ง มีความรู้สึกแต่ในที่แจ้งนั้นจะเกิดนิมิตมีอาการต่างๆ เช่น เห็นรูปก็จะเพลินในรูปนั้น เห็นแสงสว่าง ก็จะเพลินในแสงสว่างนั้น เมื่อจิตถอนจากภวังคุปัจเฉทะแล้ว จะไม่รู้เรื่องอะไรทั้งหมด หรือรู้ก็เป็นลางๆ

    "อัปปนาฌาน" เพ่งจิตอย่างเดียวจนจิตรวมเข้าเป็นหนึ่งเหมือนกันแล้วไม่รู้อะไรทั้งหมด เรียกว่า อัปปนาฌาน

    "อัปปนาสมาธิ" นั้น เหมือนกับอัปปนาฌาน แต่รวมเข้าไปแล้วมีสติพิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า อัปปนาสมาธิ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี</O:p
    <O:pวัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


    <O:p[​IMG]


    อุปสรรคของการภาวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    ฝึกหัดทำสมาธิภาวนา จงทำเหมือนชาวนาเขาทำนา เขาไม่รีบร้อน เขาหว่านกล้าไถคราด ปักดำ โดยลำดับ ไม่ข้ามขั้นตอน แล้วรอให้ต้นข้าวแก่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่เห็นเมล็ดไม่เห็นรวงข้าวเลย แต่เขาก็มีความเชื่อมั่นของเขาว่าจะมีเมล็ดมีรวงวันหนึ่งข้างหน้าแน่ๆ เมื่อต้นข้าวแก่แล้วออกรวงมาจึงเชื่อแน่ว่าจะได้รับผลแน่แล้ว เขาไม่ไปชักดึงต้นข้าวให้ออกรวงเอาตามชอบใจ ผู้กระทำเช่นนั้นย่อมไร้ผลโดยแท้

    การฝึกหัดสมาธิภาวนาก็เช่นเดียวกัน จะรีบร้อนข้ามขั้นตอนย่อมไม่ได้
    ต้องตั้งจิตให้เลื่อมใสศรัทธาแน่วแน่ว่าอันนี้ละเป็นคำบริกรรมที่จะทำให้จิต

    ของเราเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริง แล้วอย่าไปลังเลสงสัยว่า
    คำบริกรรมนี้จะถูกจริตนิสัยของเราหรือไม่หนอ คำบริกรรมอันนั้น
    คนนั้นทำแล้วมันเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เราทำแล้วจิตไม่ตั้งมั่น
    อย่างนี้ใช้ไม่ได้

    ถ้าจิตตั้งมั่นแน่วแน่ในคำบริกรรมที่ตนภาวนาอยู่นั้นแล้วเป็นใช้ได้ทั้งนั้น
    เพราะภาวนาก็เพื่อต้องการทำจิตให้แน่วแน่เท่านั้น
    ส่วนนอกนั้นมันเป็นตามบุญวาสนาของแต่ละบุคคล

    หลวงปู่เทสก์ เทศรังสี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม ถ.กรุงศรีใน อ.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    [​IMG]

    * คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น
    เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง
    คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย
    แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน
    การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก
    หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป
    เราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้
    แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน
    เพื่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้
    ดังนั้นเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว
    รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป
    เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม
    ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน


    * นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก
    แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นก็เสียเวลาเปล่า
    วิธีละได้ง่ายก็คือ อย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น
    ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเอง


    * ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า
    ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต
    ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง
    ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี
    โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป
    มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า
    ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น
    พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย
    เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส
    เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย


    * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว
    ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น
    ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น
    ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป
    หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้
    ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข


    * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว
    สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด
    จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว
    ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น


    * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี
    คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่
    ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี


    * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน
    ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม
    เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม
    เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง
    แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้
    หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่

    ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น
    นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น


    * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต
    ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง
    เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม

    * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต
    อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน


    * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิต เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ


    คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2010
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    วัดใหม่เสนานิคม (วัดสิริกมลาวาส) ลาดพร้าว จ.กรุงเทพ

    [​IMG]

    สติสตัง สติสัมปชัญญะ สติปัญญารู้ตัวมากำหนดลมหายใจเข้าออกพยายามสาวลม (สูดลมหายใจ) ไป อย่าเร็วนัก อย่าช้านัก ครั้งแรกก็สูดลมยาว ๆ ก่อน นี่ลมออกนี่ลมเข้า ให้มันเต็มปอดเลยแล้วจึงมาเดินธรรมดา สักสี่ห้าครั้ง สาวลมยาว ๆ ให้เต็มปอดซะก่อนแล้วจึงมาเดินธรรมดา ธรรมดาที่มันเคย อย่างไหนให้มันเดินอย่างนั้น แต่ว่าคล้าย ๆ ว่าทีแรกเราแกล้งทำให้มันยาวๆ ก่อน ให้มันชัดเจนก่อน นี่ลมออก นี่ลมเข้า นี่ลมออก นี่ลมเข้า ให้มันชัดเจนโหย่น ๆ (ลากยาว ๆ )

    คอยดูมันที่ลมหายใจเข้าออก มันเดินของมันเอง เราไม่ได้ไปบังคับหรอก ไม่ได้บอกมันหรอกมันเดินของมัน อย่างเรานอนหลับเราก็ไม่ได้ไปบอกมัน มันเดินของมันอยู่ตลอด ทำการทำงาน ทำอะไรก็แล้วแต่เดินเหินไปรถไปรา ไม่ได้บอกเขา เขาก็เดินของเขาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเขาทำหน้าที่ของเขา นั่นทำหน้าที่ตลอดเลย อย่างลมหายใจเข้าออก เขาทำตามหน้าที่ของเขา ไม่ใช่ใจมันทำนะ ธรรมชาติมันทำ ธรรมชาติมันทำเองของมัน ใจเพียงแต่ไปรู้เท่านั้นแหละ เอาใจมันจับ ไปรู้ว่าลมหายใจเข้าออก ให้เป็นอารมณ์กรรมฐานเท่านั้นแหละ เพราะธรรมชาติมันมีอยู่แล้ว มันหายใจเราไม่ได้หาไหนมาใส่ ไม่ได้เพิ่มเติม ไม่ได้เพิ่มเติมอะไร เพียงแต่กำหนดลมหายใจเข้าออกให้แน่นอน ทำใจให้สบาย สง่าผ่าเผย เอาใจเข้าไปรู้ลมเท่านั้นแหละ ดูลมหายใจเข้าออกแล้วจึงเห็นกาย เพราะลมกับกายเป็นของเนื่อง (เกี่ยวเนื่อง) กันทุกอย่าง มันเนื่องกันทั้งนั้นแหละ

    มรรคปฏิปทา หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    http://kaosala.geranun.com/?cat=24
     
  15. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    อนุโมทนากับบทความธรรมะดีๆ และเป็นประโยชน์มากๆ
    หลายๆท่านได้ใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติและอ้างอิง
    ขอให้อานิสงค์นี้จงสำเร็จแก่ท่านด้วยเทอญ..สาธุ
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    ต้องรู้อยู่ตลอด

    ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที

    ถ้าไม่มีสติครึ่งวัน เราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งว้น เป็นอย่างนี้

    สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไร ต้องรู้ตัวเราทำอยู่
    เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่ อย่างนี้คล้ายๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา
    เราก็ดูของของเราอยู่คนจะเข้ามาซื้อของ หรือขโมยของของเรา
    ถ้าเรา สะกดรอยมันอยู่เสมอเราก็รู้เรื่องว่าคนๆ นี้ มันมาทำไม
    เราจับอาวุธ ของเราไว้ อยู่อย่างนี้ คือ เรามองเห็นพอขโมยมันเห็นเรา
    มันก็ไม่กล้าจะทำเรา อารมณ์ก็เหมือนกัน

    ถ้ามีสติรู้อยู่
    มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เรา

    ดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป
    จะไป ยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก...

    ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่
    เรามีสติอย่างนี้เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป

    ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม ต้องรู้อยู่ตลอด

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • chah2.jpg
      chah2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.7 KB
      เปิดดู:
      105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  17. ปฐมฌาณ

    ปฐมฌาณ เป็นและตาย..อยู่ใกล้กัน..เพียงลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,870
    หลักย่อปฏิบัติในการปฏิบัติธรรมของพระสายวัดป่า.
    ...ปุจฉาโดย..พระเจ้าอยู่หัว
    ..วิสัสชนาโดย..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย...

    เกล้ากระผมอ่านและเข้าใจแจ่มชัดปรากฏในหนังสือประวัติ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล..

    เกล้ากระผม..ขอเรีัยบเรียงสั้นๆ ให้ท่านเข้าใจแต่เพียงย่อๆ..ดังนี้

    ๑.ให้ภาวนา พุทโธ ถ้าภาวนาได้ ถึง อัปนาสมาธิ(อัปนาฌาน) หรือฌาน 4 ถือว่าได้สมถะ

    ๒.ให้พิจารณาผม ขนเล็บฟัน อาการ 32 ให้เป็นอสุภะ ถ้าพิจารณาได้จนเกิดอุคคหนิมิตเป็นอสุภะ ถือว่าได้สมถะ
    แต่อุคคหนิมิต หรือ ภาพติดตาที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นผลดีต่อการภาวนาอย่างยิ่ง

    ๓.ให้พิจารณาร่างกาย เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม จนกว่าจะพิจารณาว่าร่างกายเป็นสักแต่ว่าธาตุจริงๆ ถือว่าสำเร็จ สมถะ

    ๔.ให้พิจารณา น้อมเข้าสู่ไตลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ถือว่าพิจารณาอยู่ในอารมณ์แห่งวิปัสสนา

    ข้อเขียนข้างบนคือแก่นแท้...ตามหลักของบูรพาจารย์แต่ดั้งเดิม..เกล้ากระผมมิได้คิดค้นแต่อย่างใด...อาจมีบางถ้อยคำคลาดเคลื่อนจากหนังสือบ้างเนื่องจากเกล้ากระผมอ่านมานานแล้ว..แต่อ่านหลายรอบ.จนจำฝังใจ...ถ้าจะขาดหายไปก็เพียงเล็กน้อย
    แต่แก่นแห่งธรรมสมบูรณ์....และคงยังคงไว้ที่รสเดียว...

    คือวิมุตติรส(รสแห่งความหลุดพ้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2010
  18. ปฐมฌาณ

    ปฐมฌาณ เป็นและตาย..อยู่ใกล้กัน..เพียงลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,870
    ต่ิอไปเกล้ากระผม..ขอน้อมเอาผลแห่งการปฏิบัติ...อารมณ์แห่งการปฏิบัติ...ผลแห่งการปฏิบัติ....ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์..สายพระป่า..เขียนไว้ให้แจ่มแจ้งใจสำหรับผู้ใคร่ศึกษา..

    โดยความเคารพเกล้าผู้เขียน..เขียนจากแ่ก่นธรรมของหนังสือที่่พ่อแม่ครูอาจารย์...ยุคก่อนท่านบอกเล่าไว้ในประวัติ...มีหลายท่านด้วยกัน...ขอเชิญทุกท่าน..พิจารณา..ทัศนาการ..เป็นอาทิด้วยขอรับ..โปรดถือเสียว่าเป็นปกิณกะธรรม...

    สมัยหนึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี ได้เดินทางไปขอเรียนพระกัมมัฏฐานจา่กองค์หลวงปู่มั่นใหม่ชึ่ีงตอนนั้นองค์หลวงปู่มั่นพักบำเพ็ญเพียร ที่ถ้ำดอกคำ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่...

    ชึ่้งการให้คำชี้แนะ...องค์หลวงปู่มั่น..ให้พิจารณากาย ผมขนเล็บฟันอาการ 32 ให้เป็นอสุภะ...จะเห็นชัดหรือไม่เห็นชัด..ก็ให้พิจารณาอยู่ที่กาย...
    ....(องค์หลวงปู่เขียนใว้ในอัตตโนประวัติของท่านเอง..เพราะองค์ท่านหลงติดอยู่ในฌานถึง..12 ปี)..

    องค์หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ก็เคยเดินทางขึ้นเหนือเพื่อไปขอคำชี้แนะในการภาวนา..ซึ่งคำชี้แนะ...ก็ให้เน้นพิจารณากายให้เป็นอสุภะ...

    ในคำสอนหลวงปู่มั่น..ที่จดบันทึกโดยพระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ..

    องค์ท่านหลวงปู่มั่นเล่าประสบการณ์ ของท่านว่า...วันหนึ่งได้เกิดอุคคหนิมิต(ภาพติดตา)ในสมาธิ..ว่าตัวท่านเป็นศพมานอนตายอยู่ตรงหน้า ท่านก็เลยน้อมเอาอุคคหนิมิตนั้นมาพิจารณาทำให้เป็นปฏิภาคนิมิต(คือทำให้เยอะทำให้มาก)..คือทำศพให้เยอะขึ้น..จนเต็มวัดพิจารณาจนร่างกายเปลื่อยเน่า...สุดท้ายก็เหลือแต่กระดูก...เกลื่อนวัด.

    (อันนี้ปรากฏตามหนังสือปกิณกะธรรม ที่บันทึกโดยหลวงปู่ทองคำ จารุวัณโณ)

    เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็นำเอาอุคคหนิมิตนั้นแหละ..มาพิจารณาซ้ำๆทำบ่อยๆ..ทำให้ชำนาญ...

    .(ปรากฏในหนังสือมุตโตทัย ที่บันทึกโดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)

    วิธีพิจารณากายให้เกิดอภิญญา แบบฉบับหลวงปู่มั่น

    อันนี้มีปรากฏในประวัติหลวงปู่พรหม ลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของท่าน

    ตามประวัติกล่าวว่า....ครั้งหนึ่งหลวงปู่มั่น ได้กล่าวเตือนหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ว่า

    ท่านพรหมอย่าเร่งรีบพิจารณากายให้พิจารณากายให้ละเอียด..เดี๋ยวอภิญญาไม่เกิด...
    ท่านหลวงปู่พรหมกล่าวตอบว่า..อภิญญาไม่เกิดก็ไม่เป็นไร..ขอรับ...ขอให้หมดกิเลสก็พอ

    (จากหนังสือพระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น)

    การทำให้มาก..พิจารณากายให้มากอะไรจะเกิดขึ้น?

    องค์หลวงปู่มั่นท่านกล่าวไว้ว่า...รอจิตรวมใหญ่....พอจิตรวมลงพับเดียว...จะปรากฏพร้อมๆกับนิมิตว่าโลกทั้งโลก..ราบเป็นหน้ากอง..ไม่มีต้นไม้..ภูเขา...แม้แต่ตัวเราก็ยังล้มราบ....

    ถ้าทำได้เช่นนี้ยังไม่ใช่ที่สุดให้ทำบ่อยๆ.(หนังสือมุตโตทัย)

    ซึ่งท่านผู้ยืนยันในผลของการปฏิบัติ..มีหลายท่าน...

    ที่เกล้าฯอ่านพบมี หลวงปู่หลุย จันทสาโร ,หลวงปู่ขาว อานาลโย และหลวงพ่อชา สุภัทโท

    (ปรากฏในประวัติหลวงปู่หลุย จันทสาโร....หนังสือ อนาลโยวาท..บทเทศน์ของหลวงปู่ขาว อนารโย และหนังสือกุญแจภาวนาของหลวงพ่อชา สุภัทโท...)

    องค์หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านได้เมตตาเล่าไว้อย่างน่าฟังว่า...

    มีวันหนึ่งมันแปลกกว่าทุกวัน...คือแปลกมาตั้งแต่ตอนกลางวันแล้ว...คือจิตมันสงบ...
    อยากได้ยินเสียงของคนในหมู่บ้าน...ถ้าอยากได้ยิน..ก็ได้ยิน..ถ้าไม่อยากได้ยิน..ก็ไม่ได้ยิน....
    ท่านกล่าวว่า..ท่านกำลังจะนอนตะแคง..กำลังคู่ขาเข้าจิตก็น้อม..เข้าไปข้างใน..คล้ายๆเอามือไปแตะสวิทช์ไฟ..จิตก็น้อมเข้าไปลึก.เกินที่จะประมาณ..ท่านก็เพียงแต่ดูเฉยๆ..จิตเข้าไปสงบอยู่สักพัก...จิตก็ถอยออกมา........ได้ขณะหนึ่ง...จิตก็น้อมเข้าไปครั้งที่สองเข้าไปลึกและเก่งกว่าครั้งแรก...เข้าไปสงบและก็ถอยออกมา......

    พอจิตน้อมเข้าไปครั้งที่สาม...ปรากฏว่าร่างกายได้ระเบิด..แตกละเอียด...โลกธาตุราบเป็นหน้ากอง.....องค์ท่านกล่าวว่าสมาธิระดับนี้..จึงจะสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาได้...จะอฐิษฐานให้เป็นฤทธิ์หรืออะไรก็ใช้สมาธิระดับนี้....(จากหนังสือกุญแจภาวนา หลวงพ่อชา )

    ในการพิจารณาจิต.....องค์หลวงปู่มั่น..ท่านกล่าวกับหลวงปู่ขาว..ว่าในการปฏิบัติธรรมอย่ามองข้ามใจ เพราะกิเลสเกิดขึ้นที่ใจ..ถ้าจะดับก็ดับที่ใจ.อยากจะรู้อะไรให้ค้นหาได้ที่ใจ

    .(.ปรากฏในประวัติหลวงปู่ขาวที่เรียบเรียงโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด)

    ในการพิจารณาจิตให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...คืิออะไรจะมากระทบทั้งสุขและทุกข์ ให้พิจารณาว่า...มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้

    (จากหนังสือกุญแจภาวนา หลวงพ่อชา สุภัทโทและหนังสือ ตัดกระแส ของหลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ(พระอรหันต์แห่งตำบลเขือน้ำ) กล่าวไว้แนวเดียวกัน)

    ในด้านการฝึกสติ...องค์หลวงตามหาบัวแห่งวัดบ้านตาด ..ได้เมตตาเล่าไว้ในเสียงธรรมชุดตั้งหน้าปฏิบัติผลจะบังเกิดในเสียงเทศก์หลวงตากล่าว...ว่า..ตัวขององค์หลวงตาเองเดินจงกรมจนเท้าแตก.......องค์ท่านจึงไม่แปลกใจ...ที่มีพุทธสาวก..นามว่าท่านพระโสณะ..ในสมัยพุทธกาล..ที่เดินจงกรมจนเท้าแตก.........

    สำหรับขององค์หลวงตาที่ว่าแตกมันก็ไม่แตกเสียทีเดียว...คือมันพองเพราะความร้อน..เดินจนเท้ามันบาง..ท่านกล่าวเช่นนั้นขอรับ
    (ข้อมูลจาก luangta.com)

    จงตั้งสติทำให้ตลอดสายเหมือนลูกโซ่ ทั้งสี่อริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อทำได้จิตจะตื่นตลอด ทั้งกลางวันและกลางคืน เหมือนไม่ได้หลับแต่ก็ไม่ง่วง นอนก็เหมือนไม่ได้นอน นอนก็ภาวนา ตอนตื่นคำภาวนาก็ยังไม่ขาดสาย จะได้ยินคำภาวนาที่ตนเอง..เริ่มภาวนาก่อนนอน

    เมื่อสติไพบูลย์คำว่าฝันจะไม่ปรากฏ ที่ทำไม่ได้เพราะทำยังไม่ถึง ถ้าทำถึงจะรู้เอง
    (ถ้อยคำดังกล่าว เกล้ากระผมได้สดับมาจากประสบการณ์ ขององค์ท่านพระอาจารย์ประยูร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงภูมิจิต..ภูมิธรรมระดับสูงสายวัดป่า แห่งสำนักสงฆ์วัดป่าบ้านซำผักหนาม อยู่ในเขตวนอุทยานภูผาหม่าน ท่านอยู่กลางหุบเขาน้อยคนมากที่จะได้ไปกราบนมัสการท่าน )

    วรรค...เกล้ากระผมขอเขียนแต่โดยสังเขปเพียงนี้...ขอรับ

    เกล้ากระผมเป็นผู้มีปัญญาน้อย..และเขียนไปจาก..การจดบันทึกของใจ...
    .ที่เขียนมาเกิดแต่ครูอาจารย์ท่านกล่าวไว้..มิได้คิดค้นแต่งเติมแต่อย่างใด..ขอรับ


    อิติปิโสภควา เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตลอดอาการสามสิบสองของผู้ข้า..ขอฝากไว้กับพระพุทธเจ้า ตราบเข้าพระนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2011
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

    [​IMG]

    "...ชีวิตนี้เป็นประดุจผ้าขี้ริ้<WBR>ว เป็นเหมือนถังขยะ ที่คอยเก็บอานิสงส์ของกรรมดีชั่ว แล้วก็ให้ผลแก่เราเป็นผู้เสวย ถ้าเรานำชีวิตที่เราพิจารณาเห็น<WBR>ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว น้อมพิจารณาให้เกิดธรรมะขึ้นภาย<WBR>ในใจ ธรรมที่เกิดขึ้นภายในใจนั่นแหละ<WBR>จะเป็นเหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทองขึ้<WBR>นมาทันที เพราะร่างกายของคนนี้ไม่มีค่า มันมีค่าอยู่ที่หัวใจที่มีธรรม รูปธรรมทุกๆ อย่างจึงเป็นผ้าขี้ริ้ว นามธรรมคือหัวใจ ที่ฝึกปฏิบัติ จนได้เห็นธรรมตามความสามารถ นั่นแหละเป็นทอง คือธรรมสมบัติอันล้นค่า ปรากฏเด่นขึ้นมาเป็นสักขีพยาน..<WBR>."

    "เปลวเทียน ส่องประทีป ชี้เส้นทาง แสงสว่าง อันเรืองงาม ส่องให้เห็น สิ่งที่ถูก และสิ่งผิด มองให้เป็น แสงที่เห็น ใช่อื่นใด"

    เป็นผู้มีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่

    หลวงปู่เจี๊ยะท่านมีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ตามฐานะ ดังเช่นที่ท่านแสดงความอ่อนน้อมต่อหลวงตามหาตัวหรือครูบาอาจารย์อื่นที่มีพรรษามากกว่า ท่านทำตัวเป็นเหมือนสามเณรตัวน้อย ๆ ยามนั่งสนทนาจะพนมมือตลอด ท่านเคยสอนไว้ว่า

    “คนที่มีความอ่อนน้อมย่อมส่อถึงความเป็นคนดีภายใน ตรงกันข้าม ถ้าเป็นคนแข็งกระด้างไม่อ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ย่อมประสบความหายนะ ท่านสอนให้เราไปดูตัวอย่างรวงข้าวในนา ตามธรรมดารวงข้าวมีเมล็ดเต็มอ้วนภายใน มักอ่อนรวงลงเสมอ ส่วนรวงใดลีบไม่มีเนื้อภายใน มักชูรวงแข็งกระด้างไม่อ่อน เปรียบเหมือนคนอ่อนน้อมซึ่งแสดงว่ามีความดีภายใน ส่วนคนแข็งกระด้างแสดงว่าภายในลีบไม่มีน้ำหนักแห่งความดีเลย มนุษย์จึงควรสำนึกในข้อนี้ และประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ จะถึงความเจริญไม่หยุดยั้ง”

    หนังสือ ประวัติ พระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  20. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,842
    สาธุค่ะ คำสอนของครูบาอาจารย์สายป่า หลายๆท่านรวมเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน มีประโยชน์ ดีมากๆค่ะ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...