แยกให้ออกยังงัย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย อาโลกสิณัง, 1 มกราคม 2010.

  1. อาโลกสิณัง

    อาโลกสิณัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +57
    ไม่ได้หาเรื่องนะคับ
    อาการโยกคลอนผมก็เป็น และอาการน้ำตาไหล ผมก็เป็น
    แต่ผมเป็นแล้วผมเบรคอาการพวกนี้ไม่ให้เป็นต่อไปได้
    ผมไม่ได้มีน้ำเต็มแก้วแล้วรับอะไรต่ออีกไม่ได้นะครับ
    แต่สงสัยมานานมากๆแล้วว่า
    สมาธิ กับ ความสงบเนี่ย ตัวเดียวกันรึเปล่า
    เพราะเวลาผมนั่งสมาธิ ตลอดมาตั้งแต่นั่ง
    ผมมีอาการแล้วมาถามคนในนี้แล้วบอกว่า เป็นปิติ ไม่ต้องไปสนใจมัน
    แต่ที่ผมสนใจมันเนี่ย เพราะว่าผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ปิติ นะ อย่างคุณต้องดีที่มีอาการที่เล่ามา ผมก็เป็น และผมคิดว่า มันเป็นอาการแสดงออกทางร่างกายอย่างอื่นมากกว่า ที่เรียกว่าปิติ
    เหตุผลคือ
    คำว่า ได้ฌาน เนี่ย
    คนได้ต้องมีองค์ประกอบของ ฌาณ แต่ละขั้น ใช่มั้ยครับ
    ถ้าได้ไม่ครบองค์ อย่าง ฌาน 1
    โผล่มาแต่ วิตก วิจาร
    แล้วปิติที่ว่าเนี่ย มักมาตามหลัง
    คือมันเป็นจังหวะ เป็นขั้นเป็นลำดับ ก่อน-หลัง
    คำถามคือ มันอยู่ฟุ้งซ่านอยู่ ความคิด ยังล่องลอยอยู่ เหมือนมี 2 ตัว ตัวนึงคอยฟังคอยดูความคิดและภาพต่างๆที่เกิดขึ้น อีกตัวทำหน้าที่แสดงภาพแสดงความคิดเป็นถ้อยคำไหลไปเรื่อยๆ ซึ่งระหว่างนี้แหละ ที่เห็นภาพนิมิต
    ระหว่างนี้แหละที่ยังไม่สงบอยู่ จะรู้สึกถึงอาการที่เรียกว่า ปิติ
    ซึ่ง........
    กลับมาสงสัยว่า สมาธิ กับ ความสงบ เนี่ย มันคนละตัวกัน แต่ซ้อนกันอยู่
    แล้วถ้าภาวะที่ยังมีองค์ประกอบอย่างที่เล่ามาเนี่ย เป็นภาวะสมาธิล่ะก็ ถามว่าสมาธิที่เล่ามา เป็นสมาธิอะไร
    ยังไม่นับอาการวูบจากการนั่งสมาธิที่วูบไปเมื่อภาวะดังกล่าวทั้งภาพและเสียงที่ดำรงอยู่ในมโนสำนึกของเรา เหมือนเราฝัน นี่ก็เป็นสมาธิเหรอ แล้วแน่ใจได้อย่างไร
    ทบทวนกันดีแล้วเหรอ ถ้าใช่น่ะ สมาธิที่เราฝึกอยู่ส่วนใหญ่ เราจะรู้เหตุรู้ผลความเป็นไปของเรื่องที่เรากะลังฝึกกันอยู่เสมอด้วยตัวเอง ที่ผมเล่ามาเนี่ย จุดประสงค์ก็คือ เล่าเฉพาะเรื่องของผม ไม่ได้สอนใคร ไม่ได้ขอรูปแบบวิธีการของใคร ต้องการเพียง ฟังคนที่ปฏิบัติด้วยกัน มาเล่าแลกเปลี่ยนกัน
    ผมก็อายุพอประมาณแล้ว แต่ชีวิตผมเจอของจริง น้อยมาก
    ส่วนใหญ่เพ้อเจ้อ ของจริงที่เจอน่ะ ไม่ค่อยมีอารมณ์ตอบโต้ และไม่มักจะไม่อยู่เฉย ปล่อยเลยตามเลย และเค้ามักจะไม่ค่อยเล่นเน็ตกันเท่าไรด้วย
    แล้วปิติที่ว่ามาเนี่ย เรากะลังหลอกกันเองอยู่รึป่าวคับ
    ที่มักคิดว่าเนี่ยแหละ สมาธิ ผมถึงชอบถามกวนๆ เพื่อลองของบ่อยๆน่ะ
    กว่าจะหาเพชรเจอ เนี่ย ศัตรูเพียบ......
     
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...สมาธิ...เป็นระดับความตั้งมั่นของจิต.....แบ่งเป็น 3ระดับ

    ...ขณิกสมาธิ..(มีความตั้งมั่นของจิตเล็กน้อย).....

    ...อุปจารสมาธิ(มี ปิติ 5..เป็นอาการที่เกิดขึ้นทางกาย)...บางท่านอย่างเดียว...มีความตั้งมั่นของจิต แบบ ผลุบๆ โผล่ๆ...จิตเริ่มรับสัมผัส สิ่งที่ไม่เคยรู้ได้...แบบ แวบๆ...

    ...อัปนาสมาธิ(ตั้งแต่ ฌาน1)....จิตมีความตั้งมั่นมากขึ้นเป็นลำดับ..กล่าวคือ จิต เริ่ม แยกจากกายตามลำดับ...จนถึงที่สุด..ฌาน4

    ....ความสงบ เป็นผลจากการที่ จิตเข้าถึง สมาธิระดับต่างๆ...ที่สุดของความสงบคือ ระดับสมาธิ ที่ฌาน4 จะมีสติแจ่มใส.....

    ....ระดับสมาธิ ที่ใช้ในการตัดกิเลส ต้องมีกำลัง ตั้งแต่ ฌาน1+.......
     
  3. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    ยังฟุ้งซ่าน ก็คือยัง ไม่ได้ ฌาณ (อีกคำหนึ่งคือ ยังไม่มีเอกัคคตาจิต : จิตยังไม่เป็นหนึ่ง)

    นิมิตความฝันที่เกิดขึ้น ก็คือความฝันนั่นแหล่ะ แต่ความฝันจะคมชัดและมีอารมณ์ร่วมมากกว่ามาก เพราะสติและสัมผัสต่างๆ นั้น หยุดทำงาน (เจตสิกทำงานได้เต็มที่โดยไม่ต้องมีข้อจำกัดใดๆ) แต่ในเวลาที่เรากำลังฝึกสมาธิ สัมผัสต่างๆ ไม่ได้หยุด แค่ลดระดับการทำงานลง นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงยังถูกจำกัดไว้อยู่ ไม่แปลกประหลาดเท่าความฝันตอนหลับ (ยกเว้นการฝึกบางอย่าง ที่ฝึกให้มีสติในขณะเข้าภวังค์)

    อาการปิติ มักเกิดตอนเริ่มฝึกใหม่ๆ จิตเริ่มจะคลายออกจากการยึดเกาะกับร่างกาย (คลาย ไม่ใช่หลุด) จิตที่ไม่คุ้นเคยก็จะเกิดการรับรู้แปลกๆ ที่ไม่ตายตัว
    ในผู้ที่ฝึกจนได้สมาธิขั้นสูง อาการปีติ จะไม่เกิดอีกเลย...

    อาการปีติ ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเกิดแล้ว จะหมายถึงฌาณ คำว่าฌาณนั้น คือ เอกัคคตาจิต หมายถึง จิตเป็นหนึ่ง (ไม่ฟุ้งซ่าน)
    เพียงแต่ในฌาณระดับต้นๆ จิตและกายยังไม่นิ่งดี ก็เลยยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก

    ฌาณ 1 มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา จิตไม่ฟุ้งซ่านเพราะต้องไปจดจ่อกับ วิตกและวิจาร, ร่างกายที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาวะนิ่งนี้ ก็ก่อให้เกิดปิติ, นิมิตเกิดขึ้นเพราะสติไม่เข้มแข็ง ใกล้ตกภวังค์, ส่วนสุขนี้ จริงๆ ต้องใช้คำว่า ยินดีหรือพึงพอใจ มากกว่า และจะมีไปจนถึงฌาณ 3

    ต่อให้คุณมี วิตก วิจาร ปีติ สุข แต่ยังฟุ้งซ่านอยู่ คุณก็ยังไม่ได้ฌาณ
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    มาฟังอันนี้ให้หมดเเล้วกันครับ จขกท จะได้หายสงสัยครับ มาอ่านอันนี้ประกอบด้วยครับ จะได้รู้เท่าทันตัวเอง จะได้ปฏิบัติสมาธิได้อย่างถูกทางที่ควรจะเป็นครับ เจริญในธรรมครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้น
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420

    อาการของปีติ - Buddhism Audio

    อาการของปีติ<!-- google_ad_section_end -->

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    Artist: ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_8721" onclick="document.all.music.url=document.all.play_8721.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=8721" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>035 อาการของปีติ.mp3 (2.48 MB, 2889 views)</td></tr> </tbody></table> </fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->อาการของปีติ โดย ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2010
  5. mib8gdviNz

    mib8gdviNz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +1,523
    เราก็.. จง งงต่อไป ฮ่าๆๆๆ
     
  6. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    โมทนาสาธุครับ ตอบได้แจ่มแจ้งมาก สาธุ
     
  7. luangbo

    luangbo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +118
    ถ้ามัวแต่ลังเลสงสัย ความก้าวหน้าทางการปฎิบัติก็เนิ่นช้า สมาธิก็คือความตั้งมั่นแห่งจิตที่แน่วแน่มั่นคงอารมณ์เดียว แล้วเกิดเป็นความสงบระงับ จาก ....ราคะ โทสะ โมหะ
    อยู่ในที่มืดไม่คุ้นตา หากไม่แสดงอาการหวาดผวาโวยวายจนเกินเหตุ ใช้สติมีสมาธิ เดี๋ยวก็ผ่อนคลายมองเห็นแล้วแม้ในความมืด เดินไม่ชนข้างฝาแน่นอน
     
  8. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    ใช่แล้วคับคุณสงสัยได้ถูกแล้ว
    ปีติต้องมาหลังจากวิตกและวิจาร
    วิตกคือภาวณาไม่ขาดระยะ
    วิจารคือจิตจดจ่อในคำภาวณานั้น
    และโดยมากแล้วเมื่อวิตกวิจารมันเกิด
    จิตต้องสงบ แต่ก็สงบไม่มากเท่าไหร่
    หากว่าจิตยังไม่สงบแล้วนั้นเกิดอาการคล้ายปีติขึ้น
    อันนั้นเป็นอาการกิริยาของกรรมที่เคยทำมามันแสดง

    วิธีแยกปีติของจริงและของปลอมนั้นไม่ยาก

    ของปลอมนั้นอยู่ดีๆมันก็เกิด ปุ๊บขึ้นมาไม่บอกไม่กล่าว
    และของปลอมนั้นเมื่อเกิดแล้ว มันจะไม่มีความสงบ
    และสุข เบากายเบาใจ ของปลอมมันจะหนักๆ

    แต่ของจริงนั้นมันค่อยๆเกิด ช้าๆ แล้วแรงขึ้นเรื่อยๆ
    และของจริงนั้นเมื่อเกิดแล้ว มันจะมีความสงบ
    และมีสุขปะปน มีอาการเบากายเบาใจ ของจริงจะเบาและสุข
     
  9. รูป

    รูป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    เข้ามาตอบ ขอแค่แลกเปลี่ยนนะครับไม่ใช่ว่าผมคือผู้รู้อย่างถ่องแท้

    ปีติีที่ว่าเนี่ยไม่จำเป็นต้องสนใจไ้ด้มั้ยครับ เอาแค่ ฌาณ1 ยังมีวิตก วิจาร
    ฌาณ2 วิตก วิจาร เบาบางลงจนเกือบจะหยุดไป

    ส่วนตัวผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้ว่าครบองค์ฌาณแต่รู้แค่ตัด วิตก วิจาร
    แล้วไปขั้นต่อไปง่ายกว่าครับ เพราะอาการของ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    มันมีเป็นธรรมดาในฌาณ1อยู่แล้ว ซึ่งคนทั่วๆไปก็สามารถเข้าถึงได้อยู่แล้ว
     
  10. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327

    ปีติเป็นกำลังส่งให้ขึ้นฌาน2
    ขาดปีติได้อย่างไร
     
  11. รูป

    รูป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    ข้อน้อมรับการแลกเปลี่ยนนะครับ

    ที่ว่าปีติเป็นกำลัง เป็นกำลังชนิดไหน อย่างไร
    ทำไมถึงนำส่งได้ ถ้าไม่มี ส่งไม่ได้อย่างไร
    ปีติมีกี่ชนิด ทั่วทุกปีติที่มีการกล่าวจากทุกคน
    เรียกว่าครอบคลุมแล้วหรือไม่ อย่างไร

    ผิดพลาดหรือล่วงเกินประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
     
  12. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327

    ฌานสองมีปีตินำเพราะ
    ฌานสองอาศัยปีติเป็นที่ทรงตัว
    ปีติไม่ทรง ฌานสองก็ทรงอยู่ไม่ได้
    ถ้าอยู่ฌานหนึ่งแล้วตัดขึ้นสองเลย
    ก็เหมือนเสาเรือนยังสร้างไม่สมบูรณ์

    เช่น
    การขึ้นฌานสองวิตกวิจารจะดัับหายไปเองเป็นอัตโนมัติ
    จะไปบังคับให้มันดับหายไปไม่ได้ และมันจะดับหายไปเมื่อจิต
    มีละเอียดถึงขั้นฌานสอง

    ท่านอาจารย์หลุย จันนทสาโร
    ท่านบอกว่า ปีติต้องศึกษา ละเลยไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2010
  13. รูป

    รูป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    ศึกษานี่แค่รู้ว่ามีหรือต้องคิดคำนึงด้วยครับถึงจะถูกจริตครับ
    และมีวิธีการยังไงบ้างครับ ขอวิธีการที่ถูกจริตสักตัวอย่างให้ด้วยครับ
    ถ้าไม่ถูกจริตนี่คือขึ้นฌาณขั้นต่อไปขึ้นไม่ได้ใช่มั้ยครับ
     
  14. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    ฌาน มันไม่มีคำว่าถูกจริตหรอก
    มันไปตามเรื่องตามขั้นของมันไป
    ถูกจริตนั้น ผมว่ามันอยู่ที่ตอนเริ่มฝึก
    ถ้่าฝึกจนได้แล้ว มันก็ได้ไปตลอด
    ปีติมันนึกจะเกิดมันก็เกิด คนฝึก
    คงไม่มาเลือกว่าอยากได้ปีติ
    แบบไหนตรงกับจริตตัวเองหรอก

    แล้วมันไม่ต้องคำนึงหรอกว่าเกิดแบบไหนเกิดยังไง
    แต่มันต้องรู้ว่ามันเกิดแล้วหรือยัง
    ถ้าเกิดแล้ว ย่อมแปลว่าขึ้นฌานสองได้มั่นคงแน่ๆ

    เหมือนคนเราจะขึ้นบันได
    เราก้าวทีล่ะขั้นนั้นก็ได้
    เราก้าวทีละหลายขั้นนั้นก็ได้

    แต่ก้าวทีล่ะหลายขั้นที่คุณบอกนั้น ทำได้ครับ
    แต่ที่ผมเห็น ฌานที่ก้าวข้ามรวดเร็ว
    ผมไม่เห็นจะมั่นคงเลยสักคนเดียว
     
  15. รูป

    รูป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    กระจ่างแล้ว ขอบคุณมากครับ

    เห็นด้วยกับคุณ s.orr ครับว่าการก้าวข้ามบนทางที่ไม่สมบูรณ์
    ย่อมทุลักทุเลและลำบากกว่าทางที่ปราณีตสร้างและมีความมั่นคง

    โอกาสหน้าขอช่วยชี้แนะใหม่นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...