โกหกจนติดเป็นนิสัย แต่เป็นเรื่องของการพูดเกินความจริง ผิดไหมคะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Porpia-tod, 22 ธันวาคม 2010.

  1. Porpia-tod

    Porpia-tod สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    คือตั้งแต่เด็กๆ เวลาที่เราพูดเรื่องตลก ก็จะมีผู้ใหญ่ขำแล้วก็ชมเรา
    ตั้งแต่เด็กก็เลยติดการพูดแต่งเสริมเติมแต่ง แต่เป็นไปเพื่อให้คนรอบข้างขำมีความสุข
    และเราก็มีความสุขไปด้วย แต่ไม่มีเคยโกหกเพื่อเจตนาร้าย ให้ร้ายแก่ผู้อื่น
    อย่างนี้บาปมากไหมคะ

    ตอนนี้พยายามคิดก่อนพูด แต่บางครั้งก็พลั้งพูดไปอยู่บ่อยๆ แต่เคยอ่านมาว่า การกระทำแบบนี้ตรงกับศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คำว่า "วาสนา" คือ ความเคยชินในการกระทำสิ่งต่างๆโดยที่ไม่มีเจตนา อย่างนี้ การกระทำของหนูถือว่าเป็น เป็น วาสนา ไหมคะ?

    รบกวนหน่อยนะคะ ตอนนี้หนูถือศีลแปดเองที่บ้านมาได้ 3 วันแล้ว
    ข้องใจมาก ไม่อยากให้ให้ศีลพร่องอ่าค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    เป็นมุสาวาทครับผิดศีลแต่จัดเป็นมุสาวาทแบบอัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย
    หมายถึงมุสาวาทที่บุคคลกล่าวไป โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
    ไม่จัดเป็นมหาสาวัชชะ คือมีโทษหนัก เช่นการทำสังฆเพท ยุให้สงฆ์แตกแยก
     
  3. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    อนุโมธนา สาธุ ด้วยนะครับที่ถือศีล 8 ....

    สัมมาวาจา - เว้นจากการ พูดเท็จ,คำหยาบ,ส่อเสียด,เพ้อเจ้อ .....

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ควรพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครับ
     
  4. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    จากข้อความท่อนแรก ผมว่าไม่บาปไม่เป็นโทษ ทั้งผู้พูดผู้ฟังต่างก็รู้ว่าเป็นเรื่องตลก
    จริงบ้างเท็จบ้าง ไม่มีเจตนามุสา
    ส่วนท่อนสองขอโมทนา พลั้งไปบ้างเป็นของธรรมดา อยูระหว่างฝึกหัด แม้พระอริยเจ้า
    ท่านยังเผอเป็น นับประสาอะไรกับเราๆท่านๆ อย่าวิตกจริตมากนักเดี๋ยวจิตจะเศร้าหมอง
     
  5. สูร

    สูร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +31
    กรรมใดทำเป็นนิสัย ทำเป็นประจำ กรรมนั้นเรียกว่า อาจิณตกรรม
    กรรมใดเป็น อาจิณตกรรม กรรมนั่นบรรดาลให้ลง อเวจีมหานรก

    โอวาทหลวงพ่อฤษีลิงดำ
     
  6. อนูดิน

    อนูดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +2,012
    ตามที่ได้รับการศึกษาและสั่งสอนมา
    ให้พิจารณาว่า"มีเจตนาต้องการทำลายประโยชน์ผู้อื่นหรือไม่"ครับ
    ถ้าพิจารณาอีกนัยหนึ่ง ก็คือ "มีเจตนาให้เป็นโทษแก่ผู้ใดหรือไม่" ครับ

    ถ้าใช่ถือว่าเข้าข่าย"มุสาวาท" ทั้งนั้น ครับ

    ขอบคุณครับ
     
  7. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติม จขกท ที่ว่า"แต่ไม่มีเคยโกหก เพื่อเจตนาร้ายให้ร้ายแก่ผู้อื่น อย่างนี้บาปมากไหมคะ"
    ผมแสดงความคิดเห็นไปว่า "ไม่บาปไม่เป็นโทษ" เพราะพิจรณาแล้วเห็นว่ายังไม่ถึงขั้นทำผิดศลีข้อ ๔
    ยังขาดเจตนาและยังไม่ได้ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น หาก จขกท ถือศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐ ด้วยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
    ส่วนคำว่า กรรม นั้นเป็นคำกลางๆยังไม่เป็นทั้งบุญและบาป จนก่วามี่การกระทำเช่นทำดี ก็เรียกว่ากุศลกรรม
    ทำชั่วก็เรียกอกุศลกรรม
    ส่วนท่านที่ยกเอาโอวาสองค์ครูบาอาจารย์มานั้น พระเดชพระคุณท่านหมายถึงอกุศลกรรมมากก่วา
    ข้าพเจ้าขอกราบขอขมาต่อองค์หลวงพ่อที่เคารพของลูก หากความเห็นของลูกได้ล่วงเกินต่อองค์หลวงพ่อด้วยความโง่เขลาของลูกด้วยเถอะ
     
  8. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676

    เป็นบาป และผลก็คือ ทำให้เราพูดอะไรจริงๆ คนจะไม่ค่อยเชื่อกว่าจะเชื่อก็ยาก แถมคิดว่าเราล้อเล่นหรือเติมแต่งอีกตะหาก เหมือนเพื่อนผม แกชอบพูดเว่อร์ติดตลก ไม่มีเจตนาร้ายอะไร ฟังมันพูดแล้วสนุกดี แต่เวลามันพูดเรื่องมีสาระ ทั้งๆที่พูดดีมีเหตุผล แต่ผมไม่ค่อยเชื่อมันเท่าไหร่ เพราะอะไรนะเหรอ ก็คนมีสาระเค้าไม่พูดกันยังงัยล่ะ แล้วมันชอบพูดเพิ่มหรือใช้คำที่มันดูเสริมอารมณ์คนฟัง มันทำให้เพื่อนแต่ละคนไม่ค่อยเชื่อเวลามันพูดดีมีสาระ
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    จากหนังสือ กรรมทีปนี โดย พระพรหมโมลี

    สำหรับมุสาวาทที่เป็นอัปปสาวัชชะคือมีโทษน้อยนั้น ก็ได้แก่มุสาวาทที่บุคคลกล่าวไป โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เช่น มุสาวาทของภิกษุสามเณรที่พูดเล่นกัน คือ ภิกษุรูปหนึ่งไปบิณฑบาตกลับมา ภิกษุอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นสหายกันถามว่า "อาวุโส บิณฑบาตที่ท่านได้มาวันนี้มีประมาณมากน้อยเพียงใด " แล้วมีความประสงค์ใคร่จะตอบให้สนุกจึงเผลอกล่าวมุสาวาทออกไปว่า "เต็มบาตรเลย! วันนี้กระผมไปบิณฑบาตได้มากมาย ไม่รู้วันนี้เป็นวันอะไร คนทั้งหลายจึงมีศรัทธา ตักบาตรมากมายหรือเกิน " ตอบไปดังนรี้ทั้งๆ ที่ในบาตรของตนมีอาหารบิณฑบาตติดอยู่ที่ก้นบาตรเพียงครึ่งทัพพี
     
  10. jiwcrop

    jiwcrop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +792
    ตอบตรงๆ ก็บาปนะครับ จิตของเราเวลากล่าวโกหก แม้ไม่ทำร้ายใครแต่มันก็คงยังไม่ตรงอยุ่ดี เพราะจิตไปปรุงแต่งบิดเบือนจากความเป็นจริง

    ถ้า ให้บอกผลร้ายของการทำอย่างนี้ก็คือ

    เวลาจะพูดอะไรจริงจังๆ จะไม่ค่อยมีคนเชื่อ เพราะติดภาพพูดเล่น โกหกบ่อย

    ละวางการกระทำอย่างนี้บ้างก็ดีนะครับ
     
  11. salieaf

    salieaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาด้วยคนครับ
    คำพูด พูดดีก็ดั่งน้ำอัมฤทธิ์ พูดไม่ดีก็ประดุจดั่งน้ำกรด แล้วพูดเกินจริงล่ะ ในสิ่งที่ดี ลองพิจารณาเองครับ เช่นพูดว่า ยาชนิดนี้ ทำให้ผมดกดำ หลอดเลือดแข็งแรง โรคภัยไข้เจ็บไม่มี (โฆษณาชวนเชื่อ) กล่าวสรรพคุณละเอียด คนที่ป่วยอยู่อยากรักษา ก็ไปซื้อมากิน (ตามนิสัยคนที่เชื่อง่ายไม่ไตร่ตรองก่อน) ปรากฎว่าหินไปเกินโดสแล้วตาย อีกกรณีหนึ่งคือพูดร้ายแต่ทำให้คนคนคั้นมีพฤติกรรมที่ดีเปลี่ยนไป อันนี้บาปไหม การพูดการคิด ย่อมมาจากสมองยิ่งพูดแล้วไม่คิดคือมีไม่สติ ย่อมก่อให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจ หรือยึดติดตามอารมณ์ได้ เพราะฉะนั้นการพูดต้องออกมาจากจิต ถ้าจิตไม่ดีถึงจะหวานอย่างไรก็ไม่มีคนต้องการ หรือจิตที่ฝึกแล้วแม้จะพูดไม่ดี (กระแทกเสียง หรือขึ้นเสียง ) ก็ยังคงน่าฟังครับอยู่ที่เจตนาของผู้พูดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...