โชว์ พูดคุย สายเขาอ้อ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย P Safe, 12 เมษายน 2012.

  1. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    โชว์ พูดคุย เล่าประสพการณ์ สายเขาอ้อ
     
  2. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    ประเดิมครับ
    [​IMG]
    วัตถุมงคลชิ้นนี้เป็นวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อองค์พระพุทธรูป และพระชัยวัฒน์ วัตถุมงคลองค์น้อย ซึ่งมีประสบการณ์เหนือธรรมชาติมากด้วยเรื่องช่วยชีวิต เป็นพระเครื่องที่กรมรักษาดินแดนได้ทำการจัดสร้างเมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2511 มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งช่วยชีวิตผู้ที่พกพานำท่านติดตัวไว้มากที่สุด มากกว่าพระเครื่องอื่นใด ที่ได้สร้างมาหลังปี พ.ศ.2500 จวบจนกระทั่งปัจจุบัน สำหรับประวัติคร่าวๆ ในครั้งนั้น กรมการรักษาดินแดนสวนเจ้าเชตุ กรุงเทพ ได้ดำเนินการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศขึ้นเพื่อสืบต่อตามรอยประเพณีบ้านเมืองเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป แบบ"จตุรพุทธปราการ" ซึ่งหมายถึงการสร้างวัดและสร้างพระพุทธรูปไว้ สี่มุมเมือง จากความสำคัญของพระนิรโรคันตราย อันเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้เองทางกรมการรักษาดินแดนได้อนุสรณ์คำนึงถึงพระราชศรทธาในการสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว จึงเห็นควรน้อมเกล้า ด้วยความจงรักษ์ภักดียิ่งขึ้นและดำเนินตามรอยพระยุคลบาทประเพณีแห่งอดีตบุรพกษัตริย์ของไทยเรามาแต่โบราณ ที่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาไว้ 4 มุมเมือง เพื่อการปกป้องและเพิ่มเกณฑ์ชะตาของบ้านเมือง ตลอดถึงพสกนิกรที่อยู่ใต้ร่มพระบารมีให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคาพยาธิภัยพิบัตินานาประการ จึงได้มีมติสร้างพระพุทธรูปนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ เป็นเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองทั้ง 4 ทิศ พอสร้างเสร็จได้นำประดิษฐานไว้ในทิศทั้ง 4 ของประเทศไทยคือ ทิศเหนือ นำไปประดิษฐานจังหวัด ลำปาง ทิศใต้ นำไปประดิษฐานไว้ที่จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ประดิษฐานจังหวัดสระบุรีทิศตะวันออก นำไปประดิษฐานจังหวัดราชบุรี “พระชัยวัฒน์รุ่นนี้เป็นพระที่ปลุกเสกโดยเกจิทางใต้ โดยจัดสร้าง เนื้อเงิน ๑๐๐ องค์ และเนื้อทองเหลือง ๙,๐๐๐ องค์ สร้างโดยการปั๊ม เกจิอาจารย์ที่นั่งปลุกเสกได้แก่

    ๑.พระอาจารย์นำ

    ๒.หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง

    ๓.หลวงพ่อ ปาล วัดเขาอ้อ

    ๔.หลวงพ่อเจ๊ก วัดเขาตะวันตก

    ๕.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะวันออก

    ๖.หลวงพ่อ เขียว วัดหรงบน

    ๗.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง

    ๘.หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ

    ๙.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน

    และยังมีเกจินั่งสวดพระพุทธมนต์อีก ๙ รูป

    ๑.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

    ๒.หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด

    ๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดท่งเฟื้อ

    ๔.หลวงพ่อวัน วัดปากพยูน

    ๕.หลวงพ่อแก่น วัดทุ่งหล่อ

    ๖.หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง

    ๗.หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน

    ๘.หลวงพ่อพุ่ม วัดน้ำผุดใต้

    ๙.หลวงพ่อช้วน วัดตันติยาภิรม

    มีพิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก
     
  3. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    เหรียญอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา

    พุทธคุณเยี่ยมอีกเหรียญในสายเขาอ้อ


    ประวัติ พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน อาภาธโร) วัดดอนศาลา
    ชาติภูมิ

    พระครูสิริวัฒนการ มีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายสุด ชูศรี โยมมารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันรวม ๕ คน คือ
    ๑.นางแก้ว สมรสกับ นายปลอด แก้วสง
    ๒.นางสาวแหม้ว ชูศรี
    ๓.นายชู สมรมกับ นางเฮ้ง ชูศรี
    ๔.นางผึ้ง สมรสกับ นายบรรลือ หมุนหวาน
    ๕.พระครูสิริวัฒนการ

    การศึกษา

    จบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดดอนศาลา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
    การบรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อาภาธโร"
    การศึกษาพระธรรมวินัย

    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบไล่ได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดดอนศาลา
    ตำแหน่งทางสงฆ์

    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวัฒนการ (จรร.)
    ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กชายในชนบททั่วไป อาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ ๆ แต่เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มาดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ภายใต้การอุปการะของบิดาและพี่ ๆ บิดาของท่านได้จัดการให้ท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนขั้นเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้าน คือ โรงเรียนวัดดอนศาลา เด็กชายศรีเงินเรียนอยู่ที่นั้นจนกระทั่งจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ชั้นประถมปีที่สี่ และถือเป็นการจบขั้นบังคับ ภายหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมต้นแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินไม่ได้ศึกษาต่อที่ใหน ออกไปช่วยการงานที่บ้าน ภายหลังจากที่ท่านจบชั้นประถมได้เพียงไม่กี่ปีบิดาก็ถีงแก่กรรมไปอีกคน คราวนี้ท่านและพี่ ๆ ต้องกำพร้าพ่อและแม่ แต่โชคดีหน่อยที่ตอนนั้นท่านมีอายุพอที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว คือมีอายุได้ ๑๗ ปี ส่วนพี่ ๆ นั้นก็ต่างโตกันหมดแล้ว ท่านจึงอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ

    นายศรีเงินหรือพระครูสิริวัฒนการในปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ จนครบบวชพระ ญาติ ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อจะได้ใกล้ชิดพระศาสนาในฐานะพุทธบุตร นายศรีเงินไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้เริ่มเข้าสู่ร่มพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น พระครูศิริวัฒนการได้เริ่มเข้าสู่พระศาสนาในฐานะพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล สำเร็จเป็นพระภิกขุ ภาวะภายในพัทธสีมาของวัดดอนศาลานั่นเอง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มีพระกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลารูปปัจจุบันเป็นพระอนุสาสนาจารย์
    พระอุปัชฌาย์ให้มคธนามหรือตั้งฉายาทางพระให้ว่า "อาภาธโร" อยู่ที่วัดดอนศาลานั้นเองและภายหลังจากอุปสมบทท่านได้พิจารณาทบทวนถึงชีวิตของตัวเองพบความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต ระลึกถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการสูญเสียของรักของหวง โดยเริ่มแต่สูญเสียมารดาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และมาสูญเสียบิดาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และได้พบว่าชีวิตบรรพชิตสุขสงบกว่า น่าอยู่มากกว่าชีวิตฆราวาส ท่านก็เลยเกิดความคิดที่จะใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตต่อไป

    เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระภิกษุศรีเงินก็คิดต่อไปแล้วว่าหากจะอยู่ในเพศบรรพชิตก็ควรจะอยู่อย่างมีค่า อย่างน้อยควรจะมีความรู้ทางศาสนาบ้างท่านจึงได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติที่วัดดอนศาลา
    ศึกษาตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีโท จนกระทั่งสอบได้ชั้นสูงสุดคือนักธรรมชั้นเอก พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาจากครูบาอาจารย์ภายในวัดดอนศาลา ซึ่งวัดดอนศาลานั้น อย่างที่ทราบกันคือ เป็นสถานที่วิทยาการด้านไสยเวทเจริญรุ่งเรืองมานาน วิชาวิปัสสนานั้นเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไสยเวท ฉะนั้นในวัดจึงมีครูบาอาจารย์ที่เก่งในเรื่องนี้อยู่ไม่ขาด

    เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนา พระอาจารย์ศรีเงิน ก็เกิดสนใจในวิชาไสยเวทขึ้นมา จะว่าไปแล้วสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยในการผลักดันท่านให้มาสนใจในเรื่องนี้อยู่มาก หล่าวคือ ตั้งแต่ท่านเด็ก ๆ มาแล้ว ในบริเวณควนขนุน พระอาจารย์ที่เก่งในทางไสยเวทมีมากรูป และแต่ละรูปล้วนได้รับความเคารพนับถือและได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลพระศาสนามากมาย พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านเล็งเห็นว่าควรจะเจริญรอยตามอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยทำไว้ ศึกษาให้ถ่องแท้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาได้มากมาย ขณะที่พระอาจารย์ศรีเงินเกิดความสนใจจะศึกษาไสยเวทนั้น ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อที่เชี่ยวชาญในวิชาของเขาอ้อยังมีชีวิตอยู่หลายคน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ฝ่ายบรรพชิตนั้น เจ้าสำนักรูปสุดท้ายของสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยังมีชีวิตแต่ก็เริ่มชราภาพแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอีกรูปหนึ่งคือพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ทางฝ่ายฆราวาสก็มี อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ เป็นต้น

    เมื่อท่านอาจารย์ศรีเงินคิดจะศึกษาค้นคว้าวิชาไสยเวทของสำนักเขาอ้ออย่างจริงจัง ท่านก็คิดถึงเจ้าสำนักเขาอ้อเป็นอันดับแรก คือ พระอาจารย์ปาล ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในพัทลุงขณะนั้น ท่านก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาลที่วัดเขาอ้อ พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการสอนพระปริยัติแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงิน จึงต้องเทียวมาเทียวไป ระหว่างวัดดอนศาลาที่อยู่ประจำกับวัดเขาอ้อที่ไปเรียน และสอนหนังสือ การเดินทางไปวัดเขาอ้อแต่ละครั้ง พระอาจารย์ศรีเงินทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่าน และแก่พระศาสนา คือ ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลอันเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง และสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา
    พระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาจากพระอาจารย์ปาลมาก จนมีผู้กล่าวว่าท่านอาจารย์ปาลได้มอบวิชาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์ศรีเงินมากที่สุด ขนาดเท่ากับผู้ที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อรุ่นต่อไปได้ มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า พระอาจารย์ศรีเงินอาจจะเป็นผู้ที่พระอาจารย์ปาล ได้คัดเลือกให้ทำหน้าที่เจ้าสำนักเขาอ้อรูปต่อไปสืบต่อจากท่าน แต่การคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลง พระอาจารย์ปาลก็ทราบความเป็นไปในอนาคตดี จึงไม่ได้หวังอะไรในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง หวังเพียงให้สืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้วิชาสายเขาอ้อสูยหาย และจะได้นำไปสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติต่อไป เหมือนกับที่บุรพาจารย์เคยทำมา จึงพูดได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกของพระอาจารย์ปาล
    นอกจากจะได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ปาลอย่างเป็นทางการแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านก็ได้ศึกษากับพระอาจารย์คง วัดบ้านสวน เพิ่มเติมด้วยเสริมในส่วนที่พระอาจารย์คงเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และคาถาอาคมเกี่ยวกับการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของฆราวาส พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้รับถวายความรู้ จากศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของวัดเขาอ้อท่านหนึ่ง คือ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ พระอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ทางวัดเขาอ้อกำหนดไว้ คุณสมบัติเด่นๆ ที่เห็นชัดก็คือการยึดพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุธรรม ซึ่งท่านได้นำมายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ปาลจึงได้คัดเลือกท่าน จะเห็นได้ว่าพระอาจารย์ปาลเลือกไม่ผิดคน ท่านรูปนี้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่สืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อจริง ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสนำวิชาต่างๆ มาใช้ ก็ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ท่านจึงได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคมมากมาย ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของความผูกพันฉันศิษย์อาจารย์กับพระอาจารย์ปาลท่านก็ได้ปฏิบัติตัวในฐานะศิษย์อย่างสมบูรณ์
    เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพมากเข้า ช่วยตัวเองไม่สะดวก จะอยู่ที่วัดเขาอ้อก็ไม่มีคนดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ พระอาจารย์ศรีเงินเองก็อยู่ไกล เกรงว่าจะดูแลปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ไม่เต็มที่ ท่านจึงได้รับพระอาจารย์ปาล มาอยู่เสียที่วัดดอนศาลา ท่านทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งพระอาจารย์ปาลต้องการจะกลับไปมรณภาพที่วัดเดิม คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งท่านกลับไปได้เพียงประมาณ ๓ เดือนก็มรณภาพ
    เมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพ พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการศพของท่าน เรียกว่าพระอาจารย์ศรีเงินทำหน้าที่ของศิษย์ได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านยังได้แสดงออกอย่างน่าชื่นชมกับอาจารย์ทุกรูป เป็นต้นว่าพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ก็ได้พระอาจารย์ศรีเงินคอยดูแลปรนนิบัติ และกล่าวกันว่าระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ เรียกว่า พระอาจารย์นำมีวิชาเท่าไหร่ ท่านก็ถ่ายทอดให้หมดในวัยใกล้วาระสุดท้าย พระอาจารย์ศรีเงินเองก็ดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่านอย่างดี แม้ว่าจะโดยพรรษา พระอาจารย์ศรีเงินอาวุโสมากกว่าพระอาจารย์นำมาก แต่ท่านก็เคารพในฐานะอาจารย์ ปฏิบัติต่อท่านอย่างศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ พูดได้ว่าพระศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมาย


    พระอาจารย์ศรีเงิน มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา
     
  4. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    ผ้ายันต์อาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา เป็นผ้ายันต์เขียนมือ ยุคแรกๆ ที่อาจารย์เรียกสูตรยันต์โสฬสตามแบบฉบับของวัดดอนศาลาโดยอาจารย์ศรีเงินเริ่มเขียนยันต์ตั้งแต่สมัยอาจารย์นำชราภาพมากเมื่อมีใครมาขอผ้ายันต์อาจารย์นำจะมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้จารย์ยันต์เรียกสูตรและอาจารย์นำจะเป็นผู้ปลุกเสกเรียกมนต์ครั้นเมื่ออาจารย์มรณะภาพอาจารย์ศรีเงินก็เขียนเรื่อยมานับว่าอาจารย์ศรีเงินเข้าใจในตัวยันต์และเรียกสูตรได้เหมือนกับอาจารย์นำเพราะท่านเป็นผู้เขียนมาตั้งแต่อาจารย์นำยังมีชีวิตและสืบยอดวิชาต่อจากอาจารย์นำมาทุกบททุกดระบวนอย่างถูกต้องตามแบบสมัยอาจารย์ยุคก่อนๆของวัดดอนศาลาถือเป็นแบบโบราณกาล

    มากล่าวกันถึงความหมาย และความสำคัญของยันต์โสฬสมงคล

    ยันต์โสฬสมงคลนี้ เป็นมหายันต์ที่เกิดจากการนำเอายันต์ ๓ ชนิดมารวมกันไว้ โดยใช้ตัวเลขแทนด้วยความหมายคงคลต่างๆ จากภาพ ตรงกลางช่องเล็ก ๙ ช่อง คือ ยันต์ จตุโร ถัดมาวงกลาง เป็นยันต์สูตรตรีนิสิงเห และด้านนอกสุด เป็น ยันต์ อริยสัจโสฬส จากนั้นอักขระด้านนอกที่ล้อมยันต์อยู่ คือ พระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ พระยันต์นี้มิได้มีบังคับการลงยันต์ด้านหลังไว้ ฉะนั้นในการลงยันต์ด้านหลังตะกรุดก็แล้วแต่พระเถราจารย์ท่านจะลง ในสายวัดสะพานสูง จากตำราที่เพิ่งสืบค้นมากล่าวไว้ว่า ท่าได้ลงไตรสรณคมไว้ ซึ่งไตรสรณคมนี้ เข้าใจว่าคงลงแบบย่อที่เราท่องกันโดยทั่วไป ว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ แต่หากเป็นตำราเล่มอื่นแล้ว จะเป้นกานำเอาบทอิติปิโส ๓ ห้อง มาผูกลงในตารางกระดูกยันต์ ซึ่งถือเป็นยันต์ใหญ่และลงยาก ก็ตามแต่พระเภราจารย์ท่านนั้นจะได้ศึกษามา

    มาดูกันถึงยันต์แต่ละอย่างที่ใช้ลงกัน

    ๑. ยันต์จตุโร ที่อยู่ตรงกลางยันต์โสฬส เป็นการลงด้วยตัวเลข ๙ ตัว คือ ๔, ๙, ๒, ๓, ๕, ๗, ๘, ๑, ๖ ตามลำดับ ยันต์นี้ เมื่อลงแล้วจะทำให้เกิดลาภ และคุ้มภัยทั้งปวง นิยมลงยันต์นี้เดี่ยวๆ ในการตั้งเสาเอกด้วย นอกจากนั้นแล้วในตำรายังกล่าวว่าให้ใช้คู่กับตรีนิสิงเห และอริยสัจโสฬส จะลงในอาวุธ หอกดาบ ยามเข้ารบข้าศึก จะแคล้วคลาดทั้งปวง เขียนไว้ในสิ่งของ ขโมยจะลักมิได้เลย แช่น้ำกินปราศจากโรคภัย ถ้อยความอันตรายทั้งปวง เขียนใส่แผ่นเหล็กฝังในที่ปลวกชุม ปลวกก็หนีไปสิ้น ในที่ๆ เลือดชุม เลือดก็หายหมดไป ฝังไว้ที่นา นกมิลงกินข้าวเลย ฝังไว้ไร่นา กันปูหนูทุประการ
    ถ้าจะปลูกต้นไม้ให้มีผลงอกงาม เขียนใส่แผ่นหินฝังรองไว้ ต้นไม้นั้นงอกงามแล เขียนใส่ผ้าปักไว้หลังคาเรือน ไฟมิไหม้เรือนแล ลงปิดประตูหน้าต่างกันโจร คลอดลูกยาก แช่น้ำกิน คลอดลูกง่าย ฯลฯ ยังมีคาถาที่ใช้อาราธนาต่างๆ เฉพาะยันต์จตุโรนี้ด้วย แต่คงจะมิกล่าวถึงในที่นี้ ไว้มีโอกาสน่ะครับ

    ๒. ยันต์ตรีนิสิงเห จะเเป็นยันต์แถวที่สองนับจากด้านนอก เวลาลงจะลง ๓ ๗ เอา ๕ คั่น ๔ ๖ เอา ๕ คั่น ๑ ๙ เอา ๕ คั่น ไปจนครบรอบ จะสังเกตเห็นว่า พอลงเลขรวมกันได้ ๑๐ ก็จะคั่นด้วย ๕ เสมอ พระยันต์นี้ใช้ลงผ้า หรือกระดาษ ปิดเสาเรือน หรือแขวน ๘ ทิศ ก็ได้ ป้องกันภัยอันตราย ภูติผีปิศาจ ใช้ได้สารพัดแล หากนำยันต์นี้ลงคู่กับจตุโร ก็จะได้เป็นยันต์ ตรีนิสิงเหใหญ่ พุทธคุณก็เอาของ ๒ พระยันต์นี้มารวมกัน

    ๓. ยันต์อริยสัจจ์โสฬส มีกล่าวไว้ว่า พระคาถานี้บรรจุอยู่ในพระมหาเจย์ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสว้างเอาไว้ ภายหลังนักปราชญ์ท่านผู้รู้ทั้งหลายจึงผูกเป็นยันต์อริยสัจจ์โสฬสมงคลขึ้นฯ พระยันต์นี้มีคุณานุภาพมาก อาจป้องกันบำบัดเสัยซึ่งอุปัทอันตรายทั้งปวง ก่อให้เกิดลาภสการมงคล คุ้มครองป้องกันให้ได้รับควาสุขสวัสดี เป็นมหาวิเศษนักแล เป็นทั้งทางอยู่คง แลเป็นเมตตาด้วย ทำให้เกิดโภคทรัพย์เงินทอง ตามแต่จะใช้เถิด ยันต์นี้ใช้ได้ทุกประการ เวลาหล่อพระพุทธรูปสักการะบูชา ควรลงพระยันต์นี้ใส่แผ่นทอง หลอมหล่อไปด้วย เพราะเป็นยอดมหายันต์ที่ศักดิ์สิทธิ์นักแล

    จากนั้นจึงล้อมรอบด้วยพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ

    ข้อสังเกต ที่ตะกรุดบางดอก หรือบางที่ก็ตามแต่ ตรงกลางยันที่เป็นเลข ๕ ของยันต์จตุโร อาจมีการถอดอักขระออกมา เป็นยันต์องค์พระ ล้อมรอบด้วยคาถาพระเจ้า ๕ พระอง นะโมพุทธายะ แต่ก็คือพระยันต์เดียวกัน

     
  5. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    เหรียญหลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก รุ่นแรกพิมพ์เล็ก ปี 16


    แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตา
     
  6. จงอาง

    จงอาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,537
    ค่าพลัง:
    +7,799
    ดีใจที่ ได้มาชม สายพัทลุง


    คน คูเมือง​
     
  7. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    เหรียญอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ เนื้อทองแดง

    พุทธคุณ มหาอุด คงกระพัน
     
  8. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    เหรียญอาจารย์นำ วัดดอนศาลา

    พุทธคุณคงกระพัน มหาอุต
     
  9. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ผมก็มีเหรียญอธิการคง วัดพรุพ้อปี08 เเละหลวงพ่อเมฆ ปี17ใช่เขาอ้อไหม?
     
  10. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    เหรียญอาจารย์นำมีคนแขวนแล้วโดนยิงกับM16 ไม่เป็นอะไรเลยมีแค่เสื้อขาดเอง
     
  11. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    สายเขาอ้อ พุทธคุณเยี่ยมครับ มหาอุตคงกระพันน่าจะมีเมตตาอยู่ด้วย
     
  12. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    พระมหาว่าน พระมหายันต์ เป็นชื่อของพระเครื่องที่พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา เป็นผู้สร้างขึ้นที่วัดเขาอ้อ เมื่อ พ.ศ.2483 เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารอาสาสมัครไปรบสงครามอินโดจีน
    สาเหตุที่เรียกว่า "พระมหาว่าน พระมหายันต์" เนื่องจากการสร้างพระเครื่องทั้ง 2 ชนิดนี้ใช้ว่านกว่า 108 ชนิด และ ลงอักขระเลขยันต์ พระมหาว่านมี 2 ชนิด คือ พระมหาว่านขาว กับ พระมหาว่านดำ มีอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ใหญ่มีขนาดสูง 2.7 เซนติเมตร กว้าง 1.8 เซนติเมตร พิมพ์เล็กขนาดสูงประมาณ 2.1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.4 เซนติเมตร ลักษณะพิมพ์เป็นรูปกลีบบัว บางคนเรียกว่า "พระกลีบบัววัดเขาอ้อ" องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบบนกลีบบัวหงายแสดงปางสมาธิ ยอดพระเกศาเป็นบัวตูม พระเศียรโต พระพักตร์ยาวรีเป็นรูปไข่ ปีกด้านข้างองค์พระมีรอยขีดรอบองค์ ด้านหลังมีอักขระนูนขึ้นมาเป็นรูปตัว "นะล้อม" และมีอุณาโลม ลักษณะอักขระบางพิมพ์อาจแตกต่างกันบ้าง เดิมพระมหาว่านมีสีเดียวคือสีขาว แต่เมื่อสร้างพระเสร็จนำพระไปรมควันด้วยว่านยาจึงทำให้พระบางส่วนกลายเป็นสีดำ พระมหายันต์เป็นพระเนื้อตะกั่วประสมด้วยเงินยวง มีลักษณะเป็น "พระควัมบดี" มีมือปิดตาคู่หนึ่ง ปิดทวารคู่หนึ่ง มองเห็นนิ้วพระหัตถ์ได้ชัดเจน ด้านหลังไม่มีอักขระใดๆ มีขนาดสูง 1.8 เซนติเมตร กว้างที่ฐาน 1.4 เซนติเมตร พระมหายันต์ได้หล่อขึ้นที่วัดเขาอ้อ โดยใช้เบ้าโลหะแบบขนมทองพับจุ่มลงไปในโลหะที่กำลังเดือดได้ครั้งละ 1 องค์ พระมหายันต์ทุกองค์ จึงไม่มีลักษณะที่แม่พิมพ์เคลื่อนเลย ลักษณะเนื้อพระเป็นสีดำคล้ำ มีเพียงเนื้อเดียว
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="42%" bgColor=#000000 align=center><TBODY><TR><TD width="26%">[​IMG]</TD><TD width="74%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="26%">[​IMG]</TD><TD width="74%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระมหาว่าน พระมหายันต์ สร้างขึ้นจำนวนเท่าใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่เข้าใจกันว่าคงจะหลายหมื่นองค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) ได้ทำพิธีปลุกเสกโดยนำพระมหาว่าน พระมหายันต์ทั้งหมดขึ้นไปทำพิธีบนเขาอ้อ ปลูกปะรำพิธีขึ้นบนเขาที่เรียกว่า "บนบาท" หรือบริเวณซากมณฑปพระพุทธบาทร้าง รอบเชิงเขาอ้อในบริเวณวัดสร้างปะรำพิธี นิมนต์พระอาจารย์ที่มีความชำนาญทางไสยศาสตร์ทั่วจังหวัดพัทลุง นั่งปลุกเสกโดยใช้สายสิญจน์โยงจากปะรำพิธีบนยอดเขามายังเชิงเขา ในตอนเช้าของทุกวันจะมีการสวดชัยมงคลของพระภิกษุ ณ เชิงเขา และมีเทศนา 1 กัณฑ์ พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) ได้ทำพิธีปลุกเสกบนยอดเขาเป็นเวลา 15 วัน 15 คืน ในระหว่างที่ทำพิธีปลุกเสกอยู่นี้ ห้ามทุกคนขึ้นไปบนยอดเขา อนุญาตให้ขึ้นได้เพียง 2 ท่าน คือ พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นเป็นฆราวาส) กับ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อปลุกเสกครบ 15 วันแล้ว พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) ได้นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าไปปลุกเสกภายในถ้ำฉัททันต์ ณ เชิงเขาอ้ออีก 7 วัน 7 คืน เมื่อครบกำหนดแล้วได้นำพระกลับไปยังวัดดอนศาลา นำเข้าไปปลุกเสกภายในอุโบสถอีก 7 วัน 7 คืน จึงนำออกแจกจ่ายให้แก่ทหารอาสาสมัครไปรบสงครามอินโดจีน

    สุดยอดพระเครื่องเนื้อว่าน ที่จะอยู่คู่กับตำนานเมืองพัทลุงตลอดไป
    สำนักเขาอ้อแห่งเมืองพัทลุง ถือเป็นสำนักแรกที่ได้มีการสร้างพระเครื่องขึ้นมา เพื่อสนองคุณชาติในยุคสงครามอินโดจีน อันเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมายาวนานร่วมพันปี ใช่ครับ..พระมหาว่านขาว-ดำ ที่สร้างและปลุกเสกโดยท่านอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา เพื่อแจกจ่ายให้กับทหารหาญที่เข้าร่วมรบในสมรภูมิสงครามอินโดจีนและบรรดาศานุศิษย์ ถือเป็นสุดยอดพระเครื่องด้วยเจตนาในการสร้างที่ดี พระอาจารย์ผู้สร้างเป็นผู้เก่งกล้าในวิทยาคม มวลสารที่สร้างล้วนแต่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ พีธีการปลุกเสกเข้มขลังและถูกต้องตามตำราโบราณทุกประการ และประวัติการสร้างที่ชัดเจนจึงส่งให้พระรุ่นนี้กลายเป็นสุดยอดพระเครื่อง ที่จะอยู่คู่กับประวัติศาสตร์เมืองพัทลุงและวงการพระเครื่องตลอดไป
    เพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีพระรุ่นนี้อยู่ในครอบครองกับตัวเองหรือในครอบครัวโดยเฉพาะคนเมืองลุงบ้านเรา หากเป็นพระแท้แล้ว โปรดรับรู้ไว้เถิดครับว่าท่านมีของดีของศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเป็นสมบัติล้ำค่า และเป็นบุญวาสนาของท่านยิ่งแล้วอย่างได้ปล่อยให้หลุดมือไปเป็นอันขาด เงินทองไม่ตายก็หาใหม่ได้ไม่ยากครับ แต่ของแบบนี้ถึงมีเงินบางครั้งก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ ครับ
     
  13. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    ไม่มีใครโชว์ พูดคุย เล่าประสพการณ์เลย เงียบเหงาจัง
     
  14. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 width="100%" height=492><TBODY><TR><TD bgColor=#000000 height=25>
    พิธีกรรมทางไสยศาสตร์
    </TD></TR><TR><TD height=160>
    ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน
    นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป
    1.พิธีเสกว่านให้กิน หมายถึง การนำเอาว่านที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี หรือทางด้านมหาอุด มาลงอักขระเลขยันต์ทางเวทมนต์คาถา แล้วนำไปให้พระอาจารย์ผู้ชำนาญเวท ปลุกเสกด้วยอาคมกำกับอีกครั้งหนึ่ง ว่านที่นิยมใช้ในพิธี ได้แก่ ว่านขมิ้นอ้อย ว่านสบู่เลือด ว่านสีดา ว่านเพชรตรี ว่านเพชรหน้าทั่ง ต้นว่านเหล่านี้เชื่อกันว่ามีเทพารักษ์คอยคุ้มครองรักษา พันธุ์ว่านบางชนิดต้องไปทำพิธีกินในสถานที่พบ ที่นิยมมาก ได้แก่ การกินว่านเพชรหน้าทั่ง
    การทำพิธีกินต้องหาฤกษ์ยามเสียก่อน เมื่อได้ฤกษ์แล้วพระอาจารย์จะนำสายสิญจน์ไปวนไว้รอบต้นว่าน แล้วตั้งหมากพลูบูชาเทพารักษ์ ปลุกเสกอาคมทางหลักไสยศาสตร์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำมาแจกจ่ายกินกัน เชื่อว่าจะทำให้ผู้นั้นเป็นคนอยู่ยงคงกระพันชาตรี
    การเสกว่านให้กิน เมื่อสิ้นพระอาจารย์ทองเฒ่าแล้ว นิยมไปทำกันที่วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ โดยมีพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาเป็นผู้ประกอบพิธี เช่น การประกอบพิธีกินว่านหน้าทั่ง เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.2473 มีพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ยังเป็นฆราวาส) เป็นผู้หาฤกษ์ยาม ผู้ร่วมกินมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช และพระเณรในวัดดอนศาลา

    2.พิธีหุงข้างเหนียวดำ นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กินเหนียวกินมัน" แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ
    การประกอบพิธีนิยมทำกันภายในอุโบสถมากกว่าสถานที่อื่นๆ ในสมัยก่อนนิยมทำกันในถ้ำฉัตรทันต์ หม้อและไม้ฟืนทุกอัน จะต้องลงอักขระเลขยันต์กำกับด้วยเสมอ พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มปลุกเสก ตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่งข้าวเหนียวในหม้อสุก แล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วไปประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเสร็จพิธี
    พิธีกินข้าวเหนียวดำ จะทำพิธีกันภายในอุโบสถ ก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า "พิธีการเกิดใหม่" หรือ "พิธีบริสุทธิ์ตัว" เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง
    เมื่อถึงเวลาฤกษ์กินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นนุ่งด้วยผ้าขาวม้าโจงกระเบนไม่ใส่เสื้อ แล้วเข้าไปกราบพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี 3 ครั้ง เสร็จแล้วพระอาจารย์จะให้นั่งชันเข่าบนหนังเสือ เท่าทั้ง 2 เหยียบบนเหล็กกล้าหรือเหล็กเพชร ปิดศรีษะด้วยหนังหมี มือทั้ง 2 วางบนหลังเท้าของตัวเอง พระอาจารย์ใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ พร้อมกับภาวนาพระคาถา ส่วนมือขวาปั้นข้าวเหนียวดำเป็นก้อนป้อนให้ศิษย์ครั้งละ 1 ก้อน แล้วปล่อยมือศิษย์ที่กดไว้บนเหลังเท้า มือทั้ง 2 ของศิษย์จะลูบขึ้นไปตั้งแต่หลังเท้าจนทั่วตัวจดใบหน้า การลูบขึ้นนี้เรียกว่า "การปลุก" เสร็จแล้วลูบลง เอามือทั้ง 2 ไปวางไว้บนหลังเท้าทั้ง 2 เช่นเดิม โดยกะประมาณว่ากินข้าวเหนียวก้อนแรกหมดพอดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินอาจกลืนลำบาก เนื่องจากว่าข้าวเหนียวมีรสขมมาก บางคนป้อนก้อนแรกถึงกับอาเจียนออกมาก็มี แต่ถ้ากลืนก้อนแรกจนหมดได้ ก้อนต่อไปจะไม่มีปัญหา พระอาจารย์จะป้อนจนครบ 3 ก้อน ในแต่ละครั้งจะลูบขั้นลูบลง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งที่ 3 นั้นเมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วย เป็นการผูกอาคม
    สำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหานิยม และยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดี

    3.พิธีเสกน้ำมันงาดิบ การเสกน้ำมันงาดิบ ต้องมีเครื่องบูชาครูเช่นเดียวกับการหุงข้าวเหนียวดำ คือ หมาก 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ธูป 3 ดอก สายสิญจน์ หนังเสือ หนังหมี เอาวางไว้ที่หน้าเครื่องบูชา การเสกน้ำมันส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำมันงาดิบ หรือน้ำมันยางแดงประสมว่าน พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะนั่งบริกรรมพระคาถาจนน้ำมันแห้งเป็นขี้ผึ้ง เรียกว่า "พิธีตั้งมัน"
    เมื่อเสกจนน้ำมันแห้งแล้ว พระอาจารย์จะทำพิธีป้อนน้ำมันให้สานุศิษย์แบบเดียวกับพิธีป้อนข้าวเหนียวดำ คือ ผู้ที่จะกินมันต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่เคยผิดศีลข้อกาเมมาก่อน ถ้าบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ ต้องให้พระอาจารย์ทำพิธี "บริสุทธิ์ตัว" คือ "สะเดาะ" เสียก่อน เสร็จแล้วก็ทำเช่นเดียวกับกินข้าวเหนียวดำ โดยพระอาจารย์ ผู้ประกอบพิธีจะป้อนน้ำมันให้กิน 3 ช้อน แต่ละช้อนมีขมิ้นอ้อย 1 ชิ้น เมื่อกินช้อนที่ 3 หมด พระอาจารย์จะตักน้ำมันมาทาบบนฝ่ามือทั้ง 2 ของศิษย์ แล้วเขียนตัวอักขระตัว "นะโม" ข้างละ 1 ตัว จับมือศิษย์ทั้ง 2 ประกบกันละเลงให้น้ำมันทั่วฝ่ามือ แล้วนำไปทาบนหลังเท้าทั้ง 2 ข้าง ข้างละมือ พร้อมกับพระอาจารย์จะปลุกเสกคาถากำกับไปด้วย ต่อจากนั้นใช้มือลูบขึ้นและลูบลงเช่นเดียวกับการกินข้าวเหนียวดำ เสร็จแล้วมือซ้ายของอาจารย์จะกดมือทั้ง 2 ไว้หัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ไว้ เช่นเดียวกับการกินข้างเหนียวดำ เพื่อเป็นการผูกอาคม เป็นอันเสร็จพิธีการกินน้ำมันงาดิบ
    คุณค่าการกินน้ำมันงาดิบของสำนักวัดเขาอ้อ เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางด้านอยู่ยงคงกะพัน มีเมตตามหานิยม แต่มีข้อห้ามไว้ว่า ถ้าผิดลูกเมียผู้อื่นเมื่อใด น้ำมันที่กินเข้าไปจะไหลออกมาตามขุมขนจนหมดสิ้น และถ้าจะกินน้ำมันใหม่ก็ต้องทำพิธีสะเดาะใหม่อีกครั้ง

    4.พิธีแช่ว่านยา เป็นพิธีกรรมชั้นสูงทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ การแช่ว่านยา หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ลงไปนอนแช่ในน้ำว่านยาที่ได้ทำพิธีปลุกเสกตามหลักวิชาไสยศาสตร์ จากพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม เพื่อประสงค์ให้ตัวเองอยู่ยงคงกระพันชาตรี วัดเขาอ้อจึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า "วัดพระอาจารย์หลัง" หลายคนเชื่อกันว่าวัดเขาอ้อเป็นต้นตำรับพิธีการแช่ยา ต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น พิธีการนี้ก็แพร่หลายออกไปตามวัดต่างๆ เช่น วัดดอนศาลา วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน วัดเขาแดงออก วัดยาง วัดปากสระ อ.เมือง พัทลุง เป็นต้น
    พิธีการแช่ยาที่วัดเขาอ้อ นิยมประกอบพิธีบนไหล่เขาหรือภายในถ้ำฉัตรทันต์ ในราวเดือน 5 เดือน 10 ของทุกๆปี โดยก่อเป็นรูปอ่างน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือใช้เรือขุดจากไม้ก็ได้ให้มีขนาดพอที่จะให้คนลงไปนอนได้ประมาณ 3-4 คน ส่วนมากไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน อ่างน้ำนี้เรียกว่า "รางยา"
    เนื่องจากพิธีกรรมแช่ว่าว่านยาเป็นพิธีใหญ่มาก และเป็นพิธีชั้นสูงของสำนักวัดเขาอ้อและทำได้ยากลำบาก เครื่องบูชาครูจึงต้องมีมากเป็นธรรมดา คือ หัวหมู บายศรีไหญ่ ยอดบายศรี สวมแหวนทองคำหนัก 1 บาท หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ และมีหนังสือหนังหมี เหล็กกล้า เป็นเครื่องประกอบ

    อ้างอิง : หนังสือ " ที่ระลึกงานฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดเข้าอ้อ "
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. jaruwat007

    jaruwat007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +362
    P1000262.JPG
    เหรียญอาจารย์ชุม ไชยคีรี ที่ห้อยติดคอประจำครับ ถือว่าเป็นเขาอ้อป่าว
    มีเหรียญหลวงพ่อคล้อยวัดถ้ำเขาเงินอีกเหรียญนึงด้วยครับ นะสำเร็จ2538
     
  16. jaruwat007

    jaruwat007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +362
    ผมชอบสายเข้าอ้อมากครับ ถ้าใครจะแบ่งในราคามิตรภาพที่ผมไม่เดือดร้อนหรือแจกฟรีจะยินดีมากครับ อิอิ
     
  17. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    สายเขาอ้อครับ พุทธคุณคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตา มหาอุต ครับ
     
  18. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]



    ตะกรุดฝนแสนห่า อาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา

    "ตะกรุดฝนแสนห่า" อาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา เนื้อทองมหาสัตตะโลหะ เป็นตะกรุดที่มีอานุภาพในทางแคล้วคลาดเป็นเลิศ วิชานี้ท่านเล่าว่าเรียนมาจาก พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ กว่าจะเรียนสำเร็จต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างมาก หลังจากได้รับถ่ายทอดแล้วต้องนำไปฝึกฝนอยู่นานหลายพรรษากว่าจะได้ผลตามที่ พระอาจารย์นำ สั่งสอน เพราะต้องเดินลมหายใจ ถ่ายลมปราณลงจาร ดวงยันต์ลงในแผ่นโลหะ เพื่อม้วนเป็นตะกรุด พระอาจารย์นำ สั่งว่าต้องทดลองลงจารกลางแจ้งขณะฝนตก ถ้าขณะลงจารฝนที่ตกลงมาไม่ถูกตัว แสดงว่าตะกรุดดอกนั้นลงสำเร็จได้ผลดี แต่ถ้าขณะลงจารฝนตกลงมาถูกตัวแสดงว่าใช้ไม่ได้ ให้เอาไปฝังดิน นี่แหละอาจารย์ศรีเงินท่านว่า "ตะกรุดฝนแสนห่า" ดีทางแคล้วคลาด ตามคำกล่าวที่ว่า "ฝนแสนห่า ตกลงมาไม่ต้องกาย" นั่นแล ตัวจริงชัดเจนอย่างนี้
     
  19. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน

    ประสพการณ์เยี่ยมครับ

    แคล้วคลาด คงกระพัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2012
  20. มหากาพย์

    มหากาพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    985
    ค่าพลัง:
    +492
    ขออนุญาต เข้ามาติดตามครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...