โพชฌงค์ 7 ประการแปลว่าหรือความหมายว่าอะไร?

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย อาหลี_99, 2 เมษายน 2008.

  1. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    ( โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ )
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ( วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    ( สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ )
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    ( 7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว )

    เป็นบทสวดโพชฌังคปริตรครับใครรู้ภาษาบาลีหรือความหมายของโพชฌงค์7ประการช่วยแปลให้หน่อยนะครับ
     
  2. pongky_pong

    pongky_pong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +352
    โพชฌังคปริตร

    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    ( โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ )
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ( วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    ( สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ )
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    ( 7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว )
    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    ( อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว )
    สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
    ( ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
    ( ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ
    และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก )
    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    ( จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง )
    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ( ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม )
    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    ( โรคก็หายได้ในบัดดล )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ( ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก )
    จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    ( รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ )
    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    ( ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    ( ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก )
    มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ( ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ. )


    โพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
    ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจา้ได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ
    พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้
    อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้
    ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร

    พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรคได้ ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน จึงทำให้หายจากโรคได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  3. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    อยากได้ส่วนนี้ครับส่วนนี้ไม่เห็นมีคำแปลหรือความหมายของคำบาลีนี้ครับ
     
  4. อนูดิน

    อนูดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +2,012
    โพชฌงค์คือองค์แห่งการตรัสรู้เจ็ดประการคือสติ(ความระลึกได้)
    ธรรมวิจยะ(ความใคร่ครวญในธรรม-พิจารณาธรรมเสมอๆ:ตามความเข้าใจของผม)
    วิริยะ(ความเพียร)ปีติ(ความอิ่มใจ(ในธรรม))บัสสัืทธิ(ความสงบ(ใจเยือกเย็น))
    สมาฺธิ(ความตั้งใจมั่น)และอุเบกขา(ความวางเฉย) ......ซึ่งถ้าบุคคลเจริญให้มาก
    ย่อมทำให้เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง(อภิญญา) เพื่อพระนิพพาน และเพื่อความตรัสรู้
    ใจความสำคัญนำมาจาำกหนังสือสวดมนต์วัดท่าซุง
     
  5. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    คือคุณอาหลี ก็อบขาดไปนะครับ สำหรับท่อนแรกนี้

    ต้องขึ้นด้วยท่อนนี้ครับ
    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    คำแปลก็คือ ( โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ )


    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    คำแปลก็คือ( วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    คำแปลก็คือ( สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ )

    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    คำแปลก็คือ( 7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว )

    คำสวดกับคำแปลเต็มก็

    [​IMG]

    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>- บทแปล -







    </TD></TR><TR><TD>โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.


    ถ้าหมายถึงความหมายของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ก็

    สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ คือมีสติตั้งมั่น

    ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องค้นหาธรรม การยกวิตกวิจารณ์ในธรรม

    วิริยะสัมโพชฌงค์ ความเพียร

    ปีติสัมโพชฌงค์ ความอิ่มเอิบใจ ปิติใจ

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายสงบใจ

    สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง

    ที่คุณอาหลีสงสัยเพราะจะปฏิบัติตามโพชฌงค์ ๗ หรืออยากรู้เฉย ๆ หรือครับ​





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ทุกท่าน..


    คืออยากรู้ในความหมายหนะครับเห็นความหมายในวงเล็บก็ยังไม่เข้าใจในความหมายในเจ็ดประโยคนั้น
    และอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรให้คนที่ป่วยเพียงเจ็ดประโยคเท่านั้นถึงหายป่วยได้จะได้นำคำสอนมาใช้เวลาป่วย
    และอยากนำมาปฏิบัติ....น่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่ป่วย..ฯลฯ

    ไม่รู้ปัจุบันอารมณ์+ปัญญาคอบคุมหมดทั้ง7หรือป่าว


    ใครปฏิบัติตามโพชฌงค์ ๗ อยู่ช่วยมาเล่าประสพการณ์ให้ฟังหน่อยนะครับ
     
  7. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ผมขอแสดงความเห็นเรื่องโพชฌงค์ ๗ จากประสบการณ์จริงดังนี้ครับ

    ขณะที่ผมได้น้อมใจเข้าสู่วิปัสนาในธรรมแห่งการหลุดพ้น เช่น ปฏิจจะสมุปบาทเป็นต้น

    เมื่อผมระลึกได้(สติ)ถึงข้อธรรมแห่งปฏิจจะสมุปบาทแล้วจึงพิจารณาแจกแจงให้เป็นความเป็นไปตามจริงแห่งข้อธรรมนั้น(ธรรมวิจยะ)ด้วยความเห็นชัด ต่อเนื่องไม่ย่อท้อ(วิริยะ)

    ครั้นพอเราแจ้งแห่งธรรมนั้นเราอาจเปล่งวาจาในใจ รู้แล้วหนอ มหรรศจรรย์หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าช่างมีคุณแสดงธรรมอันยังให้เราแจ่มแจ้งเห็นชัดได้ด้วยตาปัญญาของตนเองหนอ

    เมื่อนั้นความซาบซึ้งอิ่มเอิบ(ปิติ)ในธรรมก็ได้บังเกิดขึ้นทันที

    เมื่อเสวยอารณ์แห่งปิติจนอิ่มแล้วจึงบังเกิดความเบาสบาย ผ่อนคลาย(ปัสสัทธิ)ขึ้นมาแทนที่

    พอเราผ่อนคลาย เบาสบายแล้วความสงบระงับ ความมีจิตใจตั้งมั่นจึงเกิดขึ้น(สมาธิ)

    ความรู้ความเข้าใจในธรรมจะสอนตนว่า ธรรมมะนี้ดีแล้ว ธรรมมะนี้ได้รู้แล้ว และธรรมมะนี้ก็วางไว้ได้แล้วไม่ต้องถือไว้ให้หนักหนอ(อุเบกขา)

    เมื่อเราได้ย้อนกลับมาพิจารณาทบทวนในข้อธรรมและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้รู้ว่านี่มันเกิดธรรมข้อโพชฌงค์ ๗ ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่เราเห็นปฏิจจะสมุปบาท และคุณหลีคงเดาออกได้ว่า โพชฌงค์ทั้ง ๗ จะเกิดขึ้นในทุกครั้งที่เราพิจารณาเห็นในธรรมต่าง ๆ ทั้งหลาย

    เมื่อความสงบระงับเกิดขึ้นแล้วเนื่องจากแจ้งในธรรม ความเจ็บไข้จึงถอนออกจากใจเนื่องจากไม่มีที่ให้ตั้งอยู่ได้ อาการอาพาธทางกายจึงไม่สามารถส่งผลมาถึงใจได้ หรือแยกรูปแยกเวทนานั่นเอง

    คงพอจะมองออกแล้วนะครับว่าทำไมโพชฌงค์ ๗ จึงทำให้คลายอาพาธ

    ผมมี อาพาธสูตรที่ดีมาก ๆ อยากและนำให้ไป download มา ฟัง และอาจไรท์แจกเป็นธรรมทานแก่เพื่อน ๆ ใกล้ชิดผู้สนใจในธรรมได้เก็บไว้ฟังกัน นั่นก็คือ คิริมานนทสูตร ที่ link นี้ครับ

    http://www.dhammathai.org/sounds/kirimanonta.php

    ข้อเขียนของผมข้างบนเรื่องโพชฌงค์ ๗ อาจสำนวนคล้ายลิเกนะครับทนอ่านเอาหน่อย

    ขอให้ธรรมรักษานะครับ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2008
  8. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750


    ถ้าปัจจุบันอารณ์ ตั้งอยู่ในธรรมวิจยะก็ใช่ครับ แต่ปกติแล้วเราไม่ได้อยู่ในธรรมวิจยะตลอดนี่ครับ ถ้าเราจะตั้งอยู่ในโพชฌงค์ก็คือเราก็พิจารณาธรรมสิครับ ครบโพชฌงค์ ทั้ง ๗ หรือไม่ก็ใช้สติตามดูเอาครับ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...