โมฆบุรุษในโลกนี้ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป [สัทธรรมปฏิรูปกสูตร]

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 19 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 631

    ข้อความบางตอนจาก.. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

    [๕๓๓] ดูก่อนกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่

    ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

    ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

    เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่

    เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.


    บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.

    บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูง

    ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา. บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอัน

    ยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสรา.

    บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไป

    จนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นแม้ธรรม

    อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น

    พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิเธว เต อุปปชฺชนฺติ โมฆบุรุษ

    เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก

    กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น. บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.
     
  2. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 631

    ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

    ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป

    [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระ-

    มหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว

    ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่ง

    เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล

    เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ

    อรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก

    และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.

    [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ข้อนั้นเป็น

    อย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบท

    จึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่

    เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และ

    สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป

    ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่

    หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด

    พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบ

    นั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด

    เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.

    ฯลฯ
     
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 738

    ๗. อาณีตสูตร ว่าด้วยการตอกลิ่ม

    [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

    ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของ

    พวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะ ได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวก

    ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็

    หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ

    ในอนาคต เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถ

    อันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง

    จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน

    ว่าควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนัก

    ปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของ

    ภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ

    จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน

    ควรศึกษา.

    [๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าว

    แล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จัก

    อันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษา

    อย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก

    เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จัก

    เงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น

    ว่าควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง

    ศึกษาอย่างนี้แหละ.

    จบอาณีสูตรที่ ๗


     
  4. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    พระไตรปิกเหมือนกัน อ่านข้อความเดียวกัน ความเข้าใจก็เข้าใจต่างกันไปได้ครับ


    ตามการสะสม ตามความเข้าใจที่สะสมความเข้าใจถูกหรือผิดมา ครับ ดังนั้นพระธรรม


    จึงเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้าใจที่ผิดครับ จนในที่สุดก็ทำให้พระศาสนาอันตรธาน


    เพราะไม่มีผู้เข้าใจพระธรรม แม้มีตัวอักษร มีพระธรรมก็ตามครับ ดังนั้นพระศาสนาจึง


    เสื่อมไปจากใจของคนที่ไม่เข้าใจธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า เป็นสัทธรรม


    ปฏิรูป คือพระธรรมที่ผิด ตีความผิดเกิดขึ้น ก็เป็นธรรมที่ปฏิรูปขึ้นจากบุคคลที่มีความ


    เข้าใจผิดนั่นเองครับ พระธรรมที่ถูกต้องก็จะค่อยๆเลือนหายไปจากใจของคน เพราะ


    เข้าใจในสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ถูกนั่นเองครับ ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด


    ทองคำแท้ก็ยังอยู่ แต่เมื่อใดทองเทียมเกิดขึ้นในโลก ทองแท้ก็ค่อยๆเลือนหาย คือ


    เลือนหายว่าเป็นทองแท้เป็นทองจริง ทองเทียมก็มากขึ้น และเข้าใจทองเทียมว่าเป็น


    ทองแท้และย่อมสำคัญผิดได้ว่าทองแท้เป็นทองเทียมเพราะความเข้าใจผิดครับ เช่น


    เดียวกับพระสัทธรรม เมื่อมีความเห็นผิด เข้าใจผิดในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็


    จะทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไปจากใจของพุทธบริษัทที่เข้าใจผิดตามความเห็นผิด


    ความเข้าใจผิดครับ ดังเช่น กปิละภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะที่เข้าใจธรรมผิดก็


    ย่อมทำให้พระศาสนาเสื่อมไปในที่สุดครับ เช่นเดียวกับ กลอง เมื่อกลองแตกก็เอา


    หนังอื่นมาปิด เปลี่ยนโครงกลองบ้าง จนโครงเก่าหายไปหมด ฉันใด เมื่อมีการเข้าใจ


    ผิด ความเห็นผิดมีมากขึ้นก็ค่อยๆแทนความเห็นถูกในที่สุดครับ


    ดังนั้นพระธรรมจึงถูกบิดเบือนไปตามความเข้าใจที่ผิดของพุทธบริษัท ดังนั้นการ

    จะยึดถือความถูกต้อง ก็ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วยความสอคล้องทั้ง


    3 ปิฎกพิจารณาในสิ่งที่ไดฟัง ซึ่งพระธรรมใดที่แสดงให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัดจาก


    กิเลสด้วยหนทางที่ถูกต้อง คือ เข้าใจความจริงของสภาพธรรม ก็ย่อมเป็นพระธรรม


    ของพระพุทธเจ้าครับ ที่สำคัญที่สุดก็เป็นเรื่องของการสะสมมาของบุคคลนั้นด้วยว่า


    สะสมความเห็นถูกมาหรือสะสมความเห็นผิดมาครับ เพราะใจก็ย่อมน้อมไปตามการ


    สะสมในสิ่งที่สะสมมา แม้จะได้ฟังในสิ่งที่ถูกหรือผิดก็ตาม
    เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัย


    ปัจจัยภายนอก คือ กัลยาณมิตร ผู้มีปัญญา และปัจจัยภายในคือ โยนิโสมนสิการ การ


    พิจารณาที่ถูกต้องย่อมทำให้เป็นผู้พิจารณาในสิ่งที่ได้ฟัง ด้วยความเห็นถูกครับ ความ


    เสื่อมไปจึงเป็นเรื่องธรรมดาในทุกสิ่งครับ ขออนุโมทนา



    อ. เผดิม บ้านธัมมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2011
  5. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขออนุโมทนาสาธุ ในบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมาทั้งหมดทั้งปวงด้วยครับ
     
  6. จัดหนัก

    จัดหนัก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา เมตตา เมตตา เมตตา
     
  7. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ขออนุโมทนา

    พระพุทธองค์ ทรงแนะนำ สั่งสอน ทั้งเบื่องต้น ท่ามกลาง และเบื่องปลาย ไว้ให้เราครบถ้วนแล้ว

    เพียงแต่เราจะมีปัญญาเข้าถึงธรรมที่พระพุทธองค์วางไว้ได้แค่ไหน ขออย่าให้เราได้กลายเป็นโมฆบุรุษเลย

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    ขออนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ พี่ๆ น้องๆ
    ตั้งจิตไว้ดีแล้วทุกท่าน สาธุด้วยคนค่ะ
    ดิฉันก็ไม่ขอเป็นโมฆบุรุษเช่นเดียวกันค่ะ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระสูตรนี้ มีไว้ เตือน ทุกคน ตราบใดยังมีพระสูตร นี้อยู่ในโลก ก็จะยังมีการค้นคว้าทบทวน เทียบเคียง พระสัทธรรมหรือพระ วจนะ ของพระองค์ กับสิ่งที่ตนเองฟังธรรม หรือ อรรถกถา จากสาวกอยู่ตลอด อนุโมทนา ครับผม
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ผลการค้นหา คำว่า “ โมฆะบุรุษ ” :-<CENTER></CENTER>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑<CENTER></CENTER><CENTER></CENTER> [๒๒๙]<U229></U> พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ</U><CENTER></CENTER>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒<CENTER></CENTER>ดูกรโมฆะบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทานเล่า การกระทำของ</U><CENTER></CENTER>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒<CENTER></CENTER> พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก</U><CENTER></CENTER>ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น</U></PRE></PRE></PRE></PRE>
     
  11. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    852
    ค่าพลัง:
    +63
    สาธุครับ
    พวกที่เข้าข่าย มี 2 จำพวก
    คือ จงใจบิดเบือน
    กับ ไม่รู้ ขาดการศึกษาพระธรรม
    เพราะฟังตามกันมา หรือยึด คำสอนสาวกรุ่นหลัง

    อาแปะ ถ้าผมเข้าข่ายโมฆะบุรุษ ให้ตักเตือนผมนะ
     
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
    เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป

    ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป


    สาธุค่ะ อาแปะ และ คุณpaetrix คุณโชแปง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2011
  13. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ติกมาติกา
    ๑. กุสลติก​
    ปฐมบท กุสล ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ (นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา) ซึ่งมีลักษณะไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุขมีอยู่ (สํวิชฺชนฺติ)​

    อธ. ของปฐมบท. ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘

    ธรรมเหล่านี้ เมื่อจำแนกโดย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

    ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๘ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก ๓๖ เป็นสังขารขันธ์ กุศลจิต ๒๑ เป็น วิญญาณขันธ์​

    อายตนะ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมายตนะ​

    ธาตุ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมธาตุ​

    สัจจะ ๒ คือโลกียกุศล ๑๗ เจตสิก ๓๘ เป็นทุกขสัจจ์ องค์มรรค ๘ ที่ในปฐมมรรค และองค์มรรค ๗ (เว้นสัมมาสังกัปปะ) ที่ในทุติยฌานมรรคขึ้นไปเป็น​

    มัคคสัจจ์ มัคคจิตตุปปาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจวิมุต​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2011
  14. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ติกมาติกา
    ๑. อกุสลติก​
    ทุติยบท อกุสล ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ (นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา) ซึ่งมีลักษณะเป็นไปพร้อมด้วยโทษ ​

    และให้ผลเป็นความทุกข์มีอยู่ (สํวิชฺชนฺติ)​

    อธ. ของทุติยบท. ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗

    ธรรมเหล่านี้ เมื่อจำแนกโดย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

    ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๒๗ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก ๒๕ เป็นสังขารขันธ์ อกุศลจิต ๑๒ เป็น วิญญาณขันธ์​

    อายตนะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมายตนะ​

    ธาตุ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมธาตุ​

    สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นโลภะ ) เป็นทุกขสัจจ์ โลภะเจตสิกเป็นสมุทัยสัจจ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2011
  15. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ว้าว...อาแปะๆ คะ อยากทราบว่าทำไมถึงมาสอนธรรมได้ตรงความต้องการพอดีค่ะ ไม่ได้อวยกันเองนะคะ
    หลายครั้งเลยค่ะ นำเสนอตรงกับความต้องการรู้พอดี

    คือเมื่อวานหนูอ่านหนังสือ ถึง.. สังขารในพระไตรลักษณ์กับสังขารในขันธ์5
    พออ่านถึง...สัตว์ทุกจำพวกทั้งที่มีขันธ์1 ขันธ์4 และขันธ์5 จัดเป็นสังขาร
    ที่มีใจครอง และต้องเวียนว่ายตายเกิด

    ก็มานั่งคิดในที่เคยเรียนเคยจดว่า ขันธ์4 มีอะไรบ้าง หาไม่เจอ
    คิดไม่ออก รู้แต่ว่าเคยรู้เคยได้ฟังมาบ้าง แต่จำไม่ได้ค่ะ

    ขออนุโมทนาในธรรมทานของ อาแปะ สาธุค่ะ

    หนูจดโพสท์นี้ของอาแปะไว้ในสมุดจดเล่มใหม่ของหนูค่ะ
     
  16. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    บางสูตรท่านจะกล่าวไว้ว่า สังขารที่มีใจครอง กับสังขารที่ไม่มีใจครอง

    สังขารที่มีใจครองก็หมายถึงสัตว์ที่มีชีวิต อันมีสัตว์ และ มนุษย์ เทวดา เป็นต้น

    สังขารที่ไม่มีใจครองก็หมายถึง ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ เป็นต้น


    สัตว์ที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ อสัญญสัตตาพรหม มีขันธ์เดียวคือ รูปขันธ์ ๑

    สัตว์ที่มีขันธ์ ๔ ได้แก่ อรูปพรหม มีขันธ์ ๔ คือ ๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์ ๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์

    สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่ ที่อยู่ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ มีขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2011
  17. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สัจจะ ๒ คือโลกียกุศล ๑๗

    มัคคสัจจ์ มัคคจิตตุปปาทที่เหลือ ๒๙ ป็นสัจจวิมุต

    -มีจิต เจตสิก อะไรบ้างค่ะ ใน 17 ใน 29

    -ถ้าขันธ์4 องค์ธรรม จะมีเท่าที่กล่าวมานี้เสมอเลยใช่มั้ยค่ะ
    ในฝ่ายกุศล คือ
    เจตสิก ๒๗ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็น สัญญาขันธ์
    เจตสิกที่เหลืออีก ๒๕ เป็นสังขารขันธ์
    กุศลจิต ๒๑ เป็น วิญญาณขันธ์

    และในฝ่ายอกุศล ก็มีเท่านั้นเสมอ คือ
    ในเจตสิก ๒๗ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็น สัญญาขันธ์
    เจตสิกที่เหลืออีก ๒๕ เป็นสังขารขันธ์
    อกุศลจิต ๑๒ เป็น วิญญาณขันธ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2011
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    ได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ มีทางเลือก ว่าจะไปที่สูง ไปที่ต่ำ หรือจะเดินออกจากสงสารวัฎได้

    แต่คนที่เกิดมานั้น ไม่ได้ลงมือปฎิบัติ ให้เกิดมรรค เกิดผล หักชาติภพไป แต่กลับหลงระเริงอยู่กับกองตัณหา เพลิดเพลิน เกียจคร้าน หลงทะทงตน ประมาท ขาดหิริโอตัปปะ

    อย่างที่ว่านี้ ผมเรียกว่า โฆฆะบุรุษ
     
  19. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออนุโมทนาบุญในข้อคิดของคุณjinny95 ค่ะ
    จริงทีเดียวค่ะ เกิดมาทั้งทีต้องรู้จริง ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด
    ถ้าขาดความเพียร จะไม่เกิดความเข้าใจได้จริง
    สำหรับตัวดิฉันเองยึคคำครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่า
    ถ้าไม่เข้าใจได้จริง ปฏิบัติไปก็เสียเปล่าค่ะ
    จึงใช้การเรียนให้รู้ให้เข้าใจ เพื่อส่งผลถึงการปฏิบัติได้ถูกต้องค่ะ
    พระอาจารย์กล่าวว่า บางท่านที่ภาวนาอยู่นั้น บางท่านภาวนาผิดก็มีเยอะค่ะ
     
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    เสนออีกมุมหนึ่งให้ฟังครับ

    วันก่อนไปเจอพระรูปหนึ่ง ไปมาบ้านตาดเป็นสิบปี สุดท้ายอยู่วัดหินหมากเป้ง ท่านเล่าว่าอาจารย์ท่านสอน คนเราจะปฎิบัติก็ต้องลงมือทำให้มันจริง ถามมาก สงสัยมาก คนอื่นตอบก็วุ่นวายไปหมด ท่านให้ลงมือทำ ทำให้มาก ทำให้สม่ำเสมอ ทำไปลองผิดลองถูกไป ต่อให้ผิดสัก 999 ครั้ง ผิดไปเยอะ แต่สุดท้ายแล้ว ก็จะเจอที่ถูกจนได้ หากพบความอัศจรรย์ของจิตแล้ว ก็จะไม่เอาอะไรอีกแล้ว จะขวนขวายเอาแต่ความอัศจรรย์นั้น

    อย่างที่บอก ทำจริงมันจะไม่เกินไปหรอก 7 วัน 7 เดือน 7 ปีมันก็ต้องได้จนได้ ที่ไม่ได้ก็มีแต่ไม่ทำ

    ธรรมมันแม้แยกขยายได้พิศดาร แต่ใจความมันก็ลงอยู่ที่ตัวที่ใจทั้งสิ้น ลงอยู่ที่รูปที่นาม อยู่ที่กิเลสตัณหาทั้งหลายเท่านั้น

    บางทีเรียนมากไปก็เท่านั้น พระอริยะเจ้าส่วนใหญ่ ก็ไม่เห็นที่เรียนมาก ก็เห็นแต่ท่านทำมาก ไม่จำเป็นต้องรู้รอบอย่างพระศาสดาหรอก ทำอย่างไรก็ไม่สามารถเทียบได้ แค่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ลงมือทำ ผลก็บังเกิดแล้ว

    ปริยัติรู้แค่รูปนาม กิเลส ตัณหา ทุกข์ มรรค นิวรณ์ ท่านบัญญัติ ท่านขยายไว้อย่างไร มีความสังวร ละอาย ในบาป รู้จักปธานสี่ รู้จักฌาน สมาธิ สมถ วิปัสสนา ก็พอแล้ว

    เจริญธรรม ^-^
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...