โมฆบุรุษในโลกนี้ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป [สัทธรรมปฏิรูปกสูตร]

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 19 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [​IMG]อย่าหลงเปลือกศาสนา[​IMG]

    โบราณท่านได้เล่าไว้ว่ามีลิงสองแม่ลูกอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ เช้าวันหนึ่ง แม่ลิงออกไปหาอาหาร พบต้นมังคุดต้นหนึ่งมีผลดกเต็มต้นก็ดีใจ
    แกะ มังคุดกินจนอิ่มหนำสำราญ แล้วเก็บที่เหลือมาฝากลูก ลูกลิงคว้าผลมังคุดได้ผลหนึ่ง แล้วกัดกินทั้งเปลือกด้วยความหิว พอลิ้นกระทบรสฝาด
    ลูก ลิงรีบคายและขว้างทิ้งทันทีพร้อมกับต่อว่าแม่ว่า "เอาผลไม้ไม่มีรสชาติทั้งฝาดทั้งขมมาให้กิน" แม่ลิงจึงหยิบผลใหม่มาแล้วแกะเปลือกส่งให้ลูก
    เพื่อชิมดูใหม่ พอได้ลิ้มรสหวานของมังคุด ลูกลิงก็ติดรสร้องกินแต่ผลมังคุด ไม่ยอมกินผลไม้อื่นต่อไป

    ศาสนาทุกศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธอยู่ในสภาพคล้ายผลมังคุด มีทั้งสิ่งที่เป็นเปลือกห่อหุ้ม และสิ่งที่เป็นเนื้อยู่ด้วยกัน
    ผู้ศึกษาบางท่านอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับลูกลิง คือแยกเปลือกกับเนื้อไม่ออก เข้าใจว่าศาสนาสถาน เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญบ้าง
    ศาสนิกคือพระสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาบ้างเป็นตัวศาสนา หลงยึดเอาความเสื่อม ความเจริญของวัดวาอารามและพระสงฆ์
    ว่า เป็นความเสื่อมความเจริญแห่งศาสนาไปด้วย การบูชาหรือทะนุบำรุงพระศาสนาจึงหนักไปทางบูชาด้วยอามิส ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสอนว่าไม่ถูกทาง
    บางท่านอยู่ในฐานะเช่นแม่ลิง คือรู้ว่าศาสนธรรมคือคำสอนเท่านั้น คือตัวเนื้อแท้แห่งพระศาสนา มุ่งบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ
    ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นการบูชาที่ถูกต้อง สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้
    แล้ว ท่านเล่า เข้าถึงเนื้อแท้แห่งพระศาสนา และบูชาพระศาสนาด้วยอาการอย่างไรหรือยังหลงกินเปลือกศาสนาแล้วคายโดยไม่แยแส ต่อรสแท้แห่งพระพุทธศาสนา?

    เอามาจากกระทู้แปะแปะ

    [​IMG]

    คำว่า เหตุ มี ๔ อย่างคือ

    ๑. เหตุเหตุ ได้แก่ เหตุ ๖ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
    ๒. ปจฺจยเหตุ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ อันเป็นเหตุในการเรียกชื่อ
    ของรูปขันธ์
    ๓. อุตฺตมเหตุ ได้แก่ กุศลกรรม อกุศลกรรม อันเป็นเหตุ
    ให้เกิดกุศลวิบากและอกุศลวิบาก
    ๔. สาธารณเหตุ ได้แก่ อวิชชา อันเป็นเหตุให้เกิดสังขารธรรม
    ทั่วทั้งหมด(ขันธ์๕)

    <center>
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2011
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    วชิราภิกษุณี

    "ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป "

    [๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
    บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา
    ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า
    อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ

    [๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว
    ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า
    ไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
    สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดใน
    ที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ

    [๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา
    จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
    ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เรา
    บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน
    จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ
    ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป
    ด้วยคาถาว่า

    ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ
    มาว่าสัตว์ ฯ
    ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
    เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี
    ฉันใด ฯ
    เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
    ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้น
    ไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี
    อะไรดับ ฯ

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
    จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ



    <CENTER>จบภิกษุณีสังยุต


    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>

    เป็นสัมภเวสี เร่ร่อน ต้องอาศัยกระทู้ชาวบ้าน โพสธรรม หุหุ
     
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อนุโมทนาบุญค่ะ อาหลง
    อาหลงเชิญโพสท์ธรรมะดีๆ ได้ตามสบายค่ะ

    [​IMG]
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อาหาร ๔

    อาหารนฺตีติ อาหารา ฯ ธรรมที่เป็นเหตุอุดหนุนส่งเสริมให้เกิดผล ธรรม นั้นแหละชื่อว่า อาหาร

    ธรรมใด นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา, นำมาซึ่งเวทนา, นำมาซึ่งปฏิสนธิ วิญญาณ และนำมาซึ่งเจตสิกกับกัมมชรูป ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อาหาร

    อาหาร มี ๔ ประการ คือ

    ๑. กพฬีการาหาร นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา คือ ข้าว น้ำ ขนม นม เนย นี่แหละ ทำให้เกิดอาหารชสุทธัฏฐกกลาปในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์เป็น ต้น เป็นอาหารแห่งรูปกายของสัตว์ หล่อเลี้ยงและทำความเจริญให้แก่ร่างกายของ สัตว์ ถ้าขาดอาหารเสียแล้ว รูปกายของสัตว์ก็จะพลันพินาศลง ดำรงคงอยู่สืบไป ไม่ได้ องค์ธรรมของกพฬีการาหารนั้น ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ก็คือ อาหารรูปนั่นเอง กพฬีการาหารเป็นรูปปรมัตถ กพฬีการาหารนี้บางทีก็เรียกว่า กวฬีงการาหาร

    ๒. ผัสสาหาร นำมาซึ่งเวทนา คือ การเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ ทุกข์ไม่สุขบ้าง ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ในจิตทั้งหมด เวทนาทั้ง หลายนั้น ถ้าไม่มีผัสสะแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะผัสสะนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงว่าผัสสะเป็นอาหารของเวทนา ผัสสาหารเป็นเจตสิกปรมัตถ

    ๓. มโนสัญเจตนาหาร นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ คือ การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒ โลกียกุสลจิต ๑๗ เจตนาที่เป็นกุสลอกุสลนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณอันเป็น กุสลวิบากและอกุสลวิบาก ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ถ้าไม่มีเจตนา คือ กรรมมาปรุงแต่งแล้ว สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิด เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี การเห็น การได้ยิน เป็นต้น ดังนั้นเจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็นมโนสัญเจตนาหาร มโนสัญเจตนาหารนี้เป็นเจตสิกปรมัตถ

    ๔. วิญญาณาหาร นำมาซึ่งเจตสิกและกัมมชรูป องค์ธรรมของวิญญาณา หารได้แก่จิตทั้งหมด จิตทั้งหมดนี่แหละนำมาซึ่งเจตสิก เพราะจิตและเจตสิกต้อง เกิดพร้อมกัน แต่จิตนี้เป็นประธาน จึงกล่าวได้ว่า จิตนำมาซึ่งเจตสิก ส่วนกัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอันได้กระทำมาแต่อดีตก็จริง แต่ว่าในภพปัจจุบันนี้ กัมมชรูป ก็เกิดพร้อมกับจิตทุก ๆ ขณะจิต (ในปัญจโวการภูมิ) ดังนั้นก็กล่าวได้ว่า จิตนำมา ซึ่งกัมมชรูป

    มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า จิต คือ วิญญาณ เป็นผู้นำให้เจตสิกและกัมมชรูป เกิดขึ้นนั้นในปฏิสนธิกาล ปฏิสนธิวิญญาณนำให้เจตสิกและกัมมชรูปเกิด ในปวัตติ กาล ปวัตติวิญญาณนำให้เจตสิกเกิดแต่อย่างเดียว เพราะกัมมชรูปไม่ใช่รูปที่เกิดจาก จิต แต่อย่างไรก็ตาม กัมมชรูปที่เกิดในปวัตติกาลก็ดี แม้แต่กัมมชรูปของอสัญญ สัตตพรหมก็ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากจิตในภพปัจจุบันก็จริง แต่ว่าอาศัยเกิดมาจากกรรมใน อดีตที่เรียกว่า กัมมวิญญาณ ก็ขึ้นชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิญญาณนำให้เกิดกัมมชรูป วิญญาณาหารนี้เป็นจิตปรมัตถ

    มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔ นี้ กล่าวโดยสรุปคงได้ความว่า

    กพฬีการาหาร องค์ธรรมได้แก่ อาหารรูป เป็นรูปปรมัตถ ทำให้เกิดอาหาร ชรูป

    ผัสสาหาร องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้เกิดเวทนา

    มโนสัญเจตนาหาร องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้ เกิดปฏิสนธิวิญญาณ

    วิญญาณาหาร องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นจิตปรมัตถ ทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป
     
  5. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,269
    ค่าพลัง:
    +2,136
    อ่านเรื่องปล่อยวางจบแล้วครับ ยากจัง(หมายถึงการปฏิบัตินะครับ)
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ถูกต้องแล้วคร๊าบ
    ทฤษฎีอ่านกันได้ ปฏิบัตินั้นย๊ากกกกก กั๊บผ้ม


    ค่อยๆ ทำกันไปค่ะคุณผู้ชม
     
  7. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    จัดงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาที่วัดมหาธาตุฯ 9-15 ก.ค.นี้

    กรุงเทพฯ 6 ก.ค. – นายเกรียงพล พัฒนรัฐ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งว่า กทม.ร่วมกับ คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า กำหนดจัดงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 9-15 กรกฎาคม ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (ท่าพระจันทร์) เพื่อให้ชาวพุทธได้ประกอบพิธีทางศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ปฏิบัติบูชาถวายองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันอาสาฬหบูชา และถวายเป็นพุทธบูชา ถวายพระพรชัยมงคล และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กิจกรรมประกอบด้วย การหล่อเทียนพรรษา เทศน์มหาชาติ บรรยายธรรม ฉายภาพยนตร์การเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา นิทรรศการทางพระพุทธศาสนา และพิธีถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครรับเป็นเจ้าภาพเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก “พระคาถาพัน” ในวันเสาร์ที่ 9 ก.ค. 54 เวลา 13.00-14.00 น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาฯ และฟังเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก “พระคาถาพัน” ในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด พร้อมทั้งร่วมบริจาคเงินทำบุญตามกำลังศรัทธาที่ กองวัฒนธรรม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ภายในวันศุกร์ที่ 8 ก.ค.54 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 08 9505 8492.-สำนักข่าวไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2011
  8. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๕

    <CENTER>
    </CENTER>อินทรีย์ในมิสสกสังคหะมี ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น กุสล อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย ๒๒ นั้นได้ตามควร

    ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้ ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ อริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ
    เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ

    ๑. สัทธินทรีย์
    เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
    สัทธา มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา
    ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติซึ่ง สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
    ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถะ ภาวนาสัทธานั้น อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา สัทธาแล้วไซร้ อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่า
    สัทธินทรีย์


    ๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์
    ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
    ติเหตุกชวนจิต ๓๔

    ๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน
    ติเหตุกชวนจิต ๓๔

    ๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์ กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
    เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔

    ๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่า เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย เป็น
    วัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
    อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย์ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ
    อัญญาตาวินทรีย์ รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น ก็เพราะว่า
    อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน

    ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้ เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว ซึ่งมัคค ผล
    นิพพาน กล่าวอีก นัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้ โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์ ทั้ง ๓ นี้ เป็นตัวรู้ ไม่ใช่เป็นเครื่อง ที่จะให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้
     
  9. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ

    ๑. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

    ๒. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

    ๓. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

    ๔. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗ กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้
    เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใด

    กล้าแล้ว ก็ เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว ว่าเป็น อิทธิบาท

    :boo:
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    มีน้องนักศึกษาคนหนึ่งไม่เข้าใจเรื่องนามรูปปริจเฉท
    จึงจะขอนำมาให้น้องอ่าน และผู้ต้องการศึกษาได้อ่าน
    ได้เข้าใจค่ะ จะพิมพ์ไปเรื่อยๆ นะค่ะ

    .............................................................

    นามรูปปริจเฉทญาณ


    จะได้พูดถึงหลักของการเจริญวิปัสสนาข้อที่หนึ่ง คือ การกำหนดนามรูป
    ให้ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้่ในการ
    กำหนดนามรูป อันเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    อันหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้นเป็นไปตามลำดับ
    ในขั้นปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยศีล ต่อไปขึ้นสู่สมาธิและปัญญา คือ สมาิธิและปัญญา
    ทั้ง ๓ ประการนี้ เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ข้อศึกษาปฏิบัติ ๓ ขั้น
    เพื่อยกระดับจิตของคนเราให้สูงขึ้นด้วยการปฏิบัติ

    ไตรสิกขากับกิเลส ๓ ขั้น

    การที่ต้องมีไตรสิกขาทั้ง ๓ อย่างนี้ ก็เพราะกิเลสที่กลุ้มรุมจิตใจของสัตว์
    ในโลกนั้นมีอยู่ถึง ๓ ขั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาของเราทั้งหลาย
    เมื่อพระองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ก็ตรวจดูจิตใจ
    ของสัตว์โลก ก็ทรงทราบว่ามีโรคร้ายคือกิเลสที่ทำให้สัตว์โลกต้องเดือด
    ร้อนทั้งในปัจจุบันและภายหน้าอยู่ ๓ ชนิด พระพุทธองค์นั้นเปรียบเหมือน
    นานแพทย์เอกที่มีความฉลาด คือ พระองค์ทรงตรวจดูสมุฏฐานพบแล้ว
    พระองค์ก็ทรงวางตัวยา คือ พระธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบขึ้นมา โดยทรง
    แสดงพระธรรมคือ ไตรสิกขานี้ สำหรับปราบกิเลสทั้ง ๓ ชั้นนั้นโดยตรงคือ

    ทรงแสดงศีลเพื่อปราบกิเลสอย่างหยาบ
    ทรงแสดงสมาธิเพื่อปราบกิเลสอย่างกลาง
    ทรงแสดงปัญญาเพื่อปราบกิเลสอย่างละเอียด


    กิเลสทั้ง ๓ ชั้นนี้อธิบายโดยย่อพอเข้าใจเป็นปัญญาได้ดังนี้

    กิเลสอย่างหยาบที่ทางพระเรียกว่า วีติกกมกิเลส
    คือ กิเลสที่ฟุ้งออกมาทางกายและทางวาจา ทำตัวเราเองและสังคม
    ให้เดือดร้อน ถ้ากิเลสกลุ่มนี้ฟุ้งขึ้นมา คือ ถ้าฟุ้งออกมาทางกายก็เป็น
    กายทุจริต๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย และประพฤติผิดในกาม ถ้าฟุ้ง
    ออกมาทางวาจา ก็เป็นวจีทุจริต๔ คือ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด
    และพูดเพ้อเจ้อ กิเลสกลุ่มนี้จะระงับลงไปได้เมื่อมีศีล เพราะฉะนั้น
    ศีลจึงเป็นตัวกำจัดกิเลสนี้โดยตรง

    กิเลสอย่างกลาง ทางที่พระเรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสที่กลุ้มรุมใจเรา
    ให้เดือดร้อน กระวนกระวาย ทำลายความสงบสุขและจิตใจของเรา ไม่ได้
    รั่วไหลออกมาทางกายและวาจาเหมือนกิเลสอย่างหยาบ แต่กลุ้มรุมจิตใจ
    ของเราให้เดือดร้อน กระวนกระวาย กิเลสนี้เป็นกิเลสประเภทนิวรณ์ มี
    กามฉันท์ พยาบาท เป็นต้น ซึ่งกิเลสกลุ่มนี้จะถูกทำลายลงไปได้ด้วยอำนาจ
    ของสมาธิ แต่สมาธินั้นเป็นเพียงข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่อาจทำลายกิเลส
    ได้ เหมือนกับหินทับหญ้า ขณะที่หินยังทับอยู่ หญ้าไม่อาจจะงอกขึ้นได้
    แต่เมื่อเอาหินนั้นออกหญ้าก็งอกขึ้นได้อีก กิเลสที่ถูกทำลายด้วยอำนาจ
    สมาธิก็เหมือนกัน ยังมีทางออกมาทำลายตัวเราได้อีก เพราะเพียงแต่ข่ม
    ไว้เท่านั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม การมีสมาธินั้นทำให้กิเลสสงบลงไปได้
    ทำให้เรามีความสงบสุขได้ด้วยอำนาจของสมาธิ

    กิเลสอย่างละเอียด ซึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจชัดในขั้นนี้คือในขั้นวิปัสสนา
    ได้แก่ อนุสัยกิเลส
    แปลว่า กิเลสที่นอนเนื่องหรือนอนสงบนิ่งอยู่ใน
    ขันธสันดานของสัตว์โลกเหมือนกับตะกอนที่นอนอยู่ก้นของตุ่มน้ำ หรือ
    เหมือนกับฝ้าที่จับที่กระจกเงา จะต้องใช้เวลาขัด จะต้องใช้เวลาทำลาย
    กิเลสเหล่านี้ถ้าไม่มีใครกวนจะไม่ฟุ้งขึ้นมา ถ้าฟุ้งขึ้นมาแล้วก็จะกลายเป็น
    กิเลสอย่างกลางบ้าง อย่างหยาบบ้าง กิเลสประเภทนี้มีอยู่ ๓ ชนิดคือ
    ๑. ราคานุสัย อนุสัย คือตัวราคะ ตามติดเป็นกิเลสสายโลภะหรือสายราคะ
    ๒. ปฏิฆานุสัย อนุสัยคือตัวปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งจิตเป็นกิเลสสายโทสะ
    ๓. อวิชชานุสัย อนุสัยคือตัวอวิชชา ความไม่รู้จริง เป็นกิเลสสายโมหะ
    กิเลสสายนี้ จะต้องทำลายด้วยอำนาจของปัญญา ปํญญาเท่านั้นจะ
    ทำลายกิเลสนี้ได้

    การศึกษาขั้นวิปัสสนาก็คือการศึกษาขั้นปัญญา เพื่อทำลายกิเลสอย่างละเอียด
    โดยตรง แม้ทำลายได้ไม่หมดก็สามารถจะทไให้เบาบางลง หรือให้เบากาย
    เบาใจได้

    ในการศึกษาวิปัสสนา ต้องทำความเข้าใจ
    วิปัสสนา
    นั้นหมายถึง การเห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่เพียงรู้ด้วยสัญญา

    บ่อเกิดของปัญญา

    อันปัญญานั้นมีอยู่หลายประเภท ปัญญาทุกประเภทไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้เอง
    แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการประกอบให้มีขึ้น ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    "โยคา เว ชายตี ภูริ แปลว่า ปัญญาย่อมเกิดขึ้นได้เพราะการประกอบ"
    คำว่า "ประกอบ" ในทีนี้ก็คือต้องสร้างเหตุที่จะให้เกิดปัญญาขึ้น

    ปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนามี ๓ อย่าง คือ

    ๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง
    ๒. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด
    ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรม

    ปัญญาทั้งสมประเภทนี้ ปรากฏอยู่ในสังคีติสูตร แต่ในพระสูตรนั้นท่านเรียง
    จินตามยปัญญาไว้เป็นข้อแรก สุตมยปัญญาไว้เป็นข้อสอง แต่ในการอธิบายนี้
    ได้ยกเอาสุตมยปัญญาเป็นข้อต้น เพื่อความสะดวกในการอธิบาย ตามที่นิยม
    กันอยู่ในปัจจุบัน


    สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง ได้แก่ ปัญญาที่ได้จากการฟังมาจาก
    ผู้อื่น เช่น จากการศึกษาเล่าเรียนจากครู จากการอ่านหนังสือ หรือจากการดู
    ในด้านทัศนศึกษา ปัญญาประเภทนี้มีการขวนขวายกันมากในปัจจุบัน เพื่อ
    ให้เกิดขึ้นแกคนในชาติ โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้สร้างสถาบันการศึกษา
    ระดับต่างๆ ในชาติของตนขึ้น ผลิตหนังสือหรือตำราเรียนประเภทต่างๆ จัดให้
    มีโสตทัศนศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ขึ้น ดังนั้นสุตมยปัญญานี้ จึงมีความสำคัญ
    มากต่อการพัฒนาตนเองและสังคมในชาติ

    จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากความคิด ได้แก่ บุคคลไม่ได้ฟังมาจากผูอื่น
    หรือไม่ได้ อ่านหนังสือหรือตำราเรียนใดๆ หรือ ไม่ได้ จากแหล่งอื่นใดที่คนอื่น
    ทำขึ้น แต่ได้ขึ้นด้วยการขบคิด ค้นคว้าของตนเอง คือ คิดหาเหตุผลเอาเอง
    จนเกิดปัญญารู้ชัดขึ้นในเรื่องนั้นๆ อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคิดสิ่งประดิษฐ์
    สิ่งใหม่ๆ เป็นอันมากในปัจจุบัน ก็ต้องใช้ปัญญาข้อนี้มาก ปัญญาชนิดนี้ทาง
    พระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจ
    โดยแยบคาย คือ เหตุในการใช้ความคิดให้ถูกวิธี การมองเห็นสิ่งทั้งหลายด้วยการพิจารณาสืบหาต้นเค้า ภารแสวงหาเหตุผลจนตลอดสาย การแยกแยะออก
    วิเคราะห์ด้วยความคิดเป็นระเบียบ โดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ
    ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ปัญญาประเภทนี้มีความสำคัญ
    มากในความเจริญก้าวหน้าของประเทศ จึงทำให้เกิดโครงการวิจัย สถาบัน
    วิจัยค้นคว้าในเรื่องต่างๆ ในสถาบันการศึกษาและในทางวิทยาศาสตร์เป็น
    อันมากในปัจจุบัน ที่ได้เกิดขึ้นก็เพื่อให้ได้ปัญญาชนิดนี้

    ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรม ปัญญาตัวนี้เองเป็นปัญญาที่
    ต้องการเพราะเกิดจากการภาวนา คือพัฒนาจิตใจของตนให้สูงขึ้น ปัญญานี้
    เป็นปัญญาที่สัมผัสสิ่งทั้งหลายด้วยตัวของตัวเอง ถ้าเปรียบเทียบเหมือน
    การรู้ซึ้งถึงความร้อนของไฟ ปัญญาประเภทนี้เหมือนกับเราไปจับไฟ แล้ว
    ก็รู้ซึ้งมัน เพราะเราได้จับต้องด้วยเราเอง
    ปัญญาประเภทการฟัง ถ้าเกี่ยวกับไฟ เพียงแต่เขาบอกว่าไฟร้อน ก็จำเอาไว้
    ก็รู้ว่าไฟร้อน นั้นคือปัญญาเกิดจากการฟัง แต่ถ้าเห็นแมลงบินเข้าไปใน
    กองไฟ เกิดตายก็คิดว่าไฟมันคงร้อนเพราะแมลงตาย ปัญญาประเภทนี้ยัง
    ไม่ประจักษ์ด้วยตนเอง ก็เป็นปัญญาเกิดจากความคิด แต่เมื่อใดตนเองจับ
    ไฟเข้า ทำให้มือพองหรือร้อน ซึ้งด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อใครอีกแล้วเพราะ
    สัมผัสด้วยตนเอง ปัญญาประเภทนี้ถ้าเทียบแล้วก็คือ ภาวนามยปัญญา
    นั่นเอง

    แต่ภาวนาในที่นี้หมายถึง การรู้เห็นพระไตรลักษณ์ไม่ใช่รู้เห็นแบบเหมือน
    จับไฟอย่างนั้น เพราะปัญญาในพระไตรลักษณ์นั้นจะต้องเห็นพระไตรลักษณ์
    ถ้าเห็นอย่างอื่นไม่เป็นวิปัสสนาปัญญาทางพระพุทธศาสนา ต้องเห็น
    พระไตรลักษณ์เดท่านั้น การเห็นในที่นี้ไม่ใช่เห็นเพียงจำ ไม่ใช่เห็นเพียง
    ทิฏฐิ แต่เห็นซึ้งด้วยใจ คือ เห็นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงจริงๆ ซึ้งเข้าไป
    จริงๆ แล้วก็เบื่อหน่ายต่อขันธ์ เห็นว่าสังขารนี้เป็นทุกข์จริงๆ แล้วก็ไม่อยาก
    จะเกิดอีกเพราะมันเป็นทุกข์ เห็นว่าสังขารนี้ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ คือเห็นซึ้ง
    เข้าไป อย่างนี้วิปัสสนาปัญญา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2011
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    วิปัสสนา ตามศัพท์แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นเข้าไปข้างใน
    ปัสสนา แปลว่า เห็น
    วิ แปลว่า แจ้ง
    ดังนั้น วิปัสสนาคือ เห็นแจ้งชัดเข้าไปข้างในตัวของตัวเอง

    เพราะฉะนั้น การมาศึกษาปฏิบัติภาควิปัสสนาก็คือ
    -ทดสอบด้วยตัวของเราเอง
    -ด้วยใจของเราเอง
    ในการศึกษาวิปัสสนานั้น ท่านตั้งคำถามขึ้นมาก่อนว่า
    ผู้ศึึกษาวิปัสสนาควรทราบอะไรก่อน ผู้ศึกษาวิปัสสนานั้นควรทราบ


    สิ่งทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้คือ

    ๑. อะไรคือเหตุเกิดของวิปัสสนา?
    ๒. อะไรคือภูมิของวิปัสสนา หรือวิปัสสนาภูมิ?
    ๓. อะไรคือตัววิปัสสนา?
    ต้องทำความเข้าใจ

    เหตุของวิปัสสนามีอยู่ ๒ ชนิด

    วิปัสสนาภูมิมีอยู่ ๖ ชนิด
    ตัววิปัสสนามีอยู่ ๕ ชนิด

    เหตุของวิปัสสนา
    เหตุของวิปัสสนานั้นมีอยู่ ๒ ชนิด
    ๑. เหตุใกล้
    ๒. เหตุไกล

    เหตุใกล้ของวิปัสสนาคือสมาธิ ถ้าผู้ใดได้สมาธิก็แสดงว่าผู้นั้นใกล้ต่อ
    การบำเพ็ญวิปัสสนาได้ดีขึ้น เหตุที่ไกลออกไปหน่อยก็ืคือศีล ศีลนี้เป็น
    เหตุของวิปัสสนาเหมือนกันแต่ยังไกลกว่าสมาธิ สมาธินี้เป็นเหตุใกล้ที่สุด
    เพราะฉะนั้น ศีลและสมาธิจึงเป็นเหตุของวิปัสสนา คนจะทำวิปัสสนาจำ
    เป็นต้องมีศีลและสมาธิ คือ ได้สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ

    ให้ทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า ผู้ที่จะทำวิปัสสนา ถ้าไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ
    ไม่มีทางทำได้ เพราะไม่มีเหตุจะให้เกิด ซึ่งบางคนอาจจะพูดว่า การบำเพ็ญ
    วิปัสสนาไม่จำเป็นต้องมีศีล ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิื ผู้ใดทำได้ถูกวิธีก็เกิด
    บรรลุมรรคผลขึ้นได้ นั้นเป็นการเข้าใจผิด

    จริงอยู่ บางคนไม่เคยมีศีล ไม่เคยมีสมาธิมาก่อน พอฟังธรรมของ
    พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้ทันที นั้นก็แสดงว่า ศีลและสมาธินั้นเกิดในขณะ
    ฟังธรรม
    คือเกิดในขณะนั้น เพราะศีลและสมาธิ บางครั้งต้องเกิดมาก่อน
    แต่บางครั้งก็เกิดในขณะนั้นนั่นเอง เช่น พระพาหิยะ ฟังธรรมของ
    พระพุทธเจ้าขณะที่นั่งอยู่บนถนนในเมือง ไม่ได้มีศีลและสมาธิมาก่อน
    แต่การฟังธรรม แต่ฟังขณะนั้นพิจารณาไป คือสมาธและปัญญา เกิดขึ้น
    ในขณะนั้น ก็ได้บรรลุธรรมเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้มีไม่มากนัก เว้น
    ไว้แต่ท่านผู้มีบุญเป็นพิเศษเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะต้องมีศีลและ
    สมาธิมาก่อน คนที่มีศีลและสมาธิขึ้นในขณะนั้นก็มี แต่ก็มีไม่มากด้ง
    กล่าวแล้ว แต่ศีลและสมาธิจะต้องเป็นเหตุของวิปัสสนาแน่นอน

    วิปัสสนาภูมิ

    วิปัสสนาภูมิ คือภูมิของวิปัสสนา ท่านกล่าวว่ามีอยู่ ๖ ชนิดคือ
    ๑. ขันธ์ ๕(พิจารณาขันธ์ ๕)
    ๒. อายตนะ ๑๒(พิจารณาอายตนะ ๑๒)
    ๓. ธาตุ ๒๘(พิจารณาเรื่องธาตุ ๑๘)
    ๔. อินทรีย์ ๒๒(พิจารณาเรื่องอินทรีย์ ๒๒)
    ๕. อริยสัจ ๔(ให้เข้าใจเรื่องอริยสัจ ๔)
    ๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒(ให้รู้เหตุปัจจัยของชีวิต)


    หัวข้อธรรมมีอยู่ ๖ อย่าง แยกออกไปเป็นธรรมะถึง ๗๓ อย่าง
    นี้คือภูมิของวิปัสสนา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ต้องทำความเข้าใจใน
    ข้อนี้ ผู้ที่จะเจริญวปัสสนานั้นจำเป็นจะต้องใช้ภูมิธรรมเหล่านี้ในการ
    ฝึกจิต เหมือนกับผู้ที่จะบำเพ็ญสมาธิจำเป็นที่จะต้องได้อารมณ์ของ
    สมาธิ ซึ่งมีอยู่ ๔๐ ชนิด ท่านเรียกว่าอารมณ์กรรมฐาน ๔๐ เช่น
    การเพ่งกสิณสีแดง สีแดงนั้นเป็นอารมษ์ของสมาธิ ที่จะทำจิตให้เกิด
    สมาธิ หรือในการกำหนดลมหายใจเข้าออกอานาปานสติ การกำหนด
    ลมหายใจเข้าออกนี้เป็นอารมณ์ให้ใจเข้าไปยึคถือไว้ ในด้านสมาธินั้น
    ท่านเรียก อารมณ์ แต่ในด้านวิปัสสนา ท่านไม่เรียกอารมณ์ ท่าน
    กลับเรียกว่าภูมิ ก็คือสิ่งที่จิตเข้าไปยึคนั่นเอง เช่น ขันธ์๕ ให้จิตเข้า
    ไปจดจ่อในเรื่องขันธ์๕ ขันธ์๕นี้เป็นภูมิ คือเป็นพื้นฐานให้จิตตั้ง
    อย่างเรากำหนดลมหายใจที่จะให้เกิดสมาธิก็ให้จิตไปจดจ่ออยู่ที่
    ลมหายใจ นี้เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ ถ้าต้องการให้เกิดปัญญาก็เอาจิต
    ไปจดจ่อที่ขันธ์๕ พิจารณาขันธ์๕ ขันธ์๕ เป็นภูมิ คำว่าภูมิ ก็คือ
    พื้นที่ให้จิตเข้าไปยืน จิตเข้าไปตั้งพิจารณา ตั้งฐานพิจารณา
    ท่านเรียกว่า ภูมิ

    ตัววิปัสสนา
    ถามว่า อะไรเป็นตัววิปัสสนาแท้ๆ ตอบว่าวิสุทธิ ๗ ห้าข้อข้างปลาย
    เป็นตัววิปัสสนาโดยตรง สีลวิสุทธิไม่ใช่วิปัสสนา จิตตวิสุทธิก็ไม่ใช่
    ตัววิปัสสนา ตัววิปัสสนาจริงๆ ได้แก่ วิสุทธิ ๕ ข้อข้างปลายคือ

    -ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ความเห็น

    -กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดด้วยการข้ามพ้นความสงสัย
    -มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดด้วยความเห็นว่าทางหรือ
    ไม่ใช่ทางคือ ไม่ติดในอุปกิเลสของวิปัสสนาที่เข้ามายั่วใจ

    -ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดในความรู้ความเห็นในข้อปฏิบัติ
    -ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดของความรู้ความเห็น

    วิสุทธิทั้ง ๕ ประการนี้เป็นตัววิปัสสนา นี้พูดทั้งในภาคทฤษฎีและ
    ภาคปฏิบัติรวมกัน

    ต่อไปนี้จะเข้าสู่ภาคปฏิบัติให้เห็นชัดว่า การเจริญวิปัสสนา ซึ่งมีศีลและ
    สมาธิเป็นพื้นฐาน ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนานั้นให้พิจารณาอะไร ที่จะเอามาเป็น
    ภูมิ ในที่นี้ จะให้พิจารณาขันธ์๕ ให้เห็นชัดก่อน

    ในการเจริญวิปัสสนานั้น ถ้าจิตของเรายอมรับความจริงในเรื่องพระ
    ไตรลักษณ์ จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้น ๑๖ ชนิดตามลำดับจิตที่เลื่อนสูงขึ้น
    ในบทนี้จะพูดถึงวิปัสสนาญาณข้อแรกเท่านั้น คือ
    นามรูปปริจเฉทญาณ
    (ยังไม่จบค่ะ)
    [​IMG]
    เชิญอ่านเพิ่มเติมเรื่องวิสุทธิ ๗ จากเวปบ้านธัมมะค่ะ

    วิสุทธิ มี 7 ประการดังนี้ครับ

    1. ศีลวิสุทธิ
    2. จิตตวิสุทธิ
    3. ทิฏฐิวิสุทธิ
    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ
    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ
    [​IMG]
    1.ศีลวิสุทธิ คือ ศีลใดอันเป็นไปในการขัดเกลากิเลสและทำให้ถึงการบรรลุธรรม
    ศีลนั้นเป็นศีลวิสุทธิเพราะเป็นศีลที่ทำให้ถึงความบริสุทธิ์(วิสุทธิ) เพราะฉะนั้นหาก
    เป็นศีลที่ไม่ได้มีความเข้าใจ ไม่มีปัญญาและไม่เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่

    ศีลวิสุทธิครับ ดังนั้นศีลที่บุคคลรักษาและประกอบด้วยปัญญา อันจะนำไปสู่การบรรลุ
    มรรคผล ย่อมเป็นศีลวิสุทธิครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรักษาได้ให้ครบ เพราะเมื่อมี
    เหตุปัจจัย ก็มีการล่วงศีลเกิดขึ้นได้ครับ ไม่ใช่ว่าจะต้องรักษาศีลให้ได้ก่อนไม่ล่วงอีก
    เลย จึงจะค่อยมาอบรมปัญญาครับ ศีลที่มีปัญญา มีความเข้าใจ มีปัญญาที่รู้หนทาง
    ดับกิเลสด้วย ศีลนั้นจึงเป็นศีลวิสุทธิ คือ ศีลที่จะนำไปสู่การดับกิเลสได้นั่นเองครับ
    แต่ขาดปัญญาไม่ได้ครับ หากรักษาศีล 5 ศีล 8 แต่ไม่เข้าใจหนทางดับกิเลสเลย หรือ
    เข้าใจหนทางผิด ศีลนั้นจะถึงความเป็นศีลวิสุทธิไม่ได้ครับ เพราะไม่นำไปสู่ความ
    บริสุทธิ์จากกิเลส คือ ถึงความวิสุทธิได้ครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่...วิสุทธิ ๗ -- ๑. ศีลวิสุทธิ

    [​IMG]

    ศีลจะวิสุทธิ ก็ต่อเมื่อมีปัญญารู้ตามความเป็นจริง เพราะจะนำไปสู่ ทิฎฐิวิสุทธิ คือ
    มีความเห็นถูกต้องว่าแม้ขณะนั้นก็เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งหมายถึง
    นามรูปปริเฉทญาณ ศีลในศาสนา จะถึงวิสุทธิศีลได้ คือ ต้องเป็นไปเพื่อการรู้
    แจ้งอริยสัจธรรม ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่ถึง เพราะได้อย่างมากก็เป็นเพียงศีลที่บริสุทธิ์เป็น
    เพียงปาริสุทธิศีล แต่ไม่ใช่วิสุทธิศีล เพราะยังมีความเป็นเราที่รักษาอยู่ครับ
    สำหรับการเจริญสติปัฏฐาน ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีทั้งศีล สมาธิและปัญญา
    เกิดพร้อมกันเลยครับ ไม่ต้องไปเจริญแยกศีลก่อน สมาธิต่อและค่อยปัญญาครับ การ
    เจริญสติปัฏฐาน จึงเป็นการเจริญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิและปัญาในขณะนั้นพร้อมกัน
    เพราะขณะที่เจริญสติปัฏฐาน เป็นการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อันเรียกว่า
    อินทรียสังวรศีล ก็เป็นศีลแล้วในขณะนั้น และขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็มีสมาธิด้วยครับ
    และก็มีปัญญาด้วยครับ จึงไม่ใช่จะต้องทำศีล แล้ว สมาธิและปัญญาครับ และไม่ใช่ว่า
    จะต้องให้ศีลสมบูรณ์ก่อนจึงจะอบรมปัญญาได้ครับ สำหรับในเพศคฤหัสถ์ในสมัย
    พุทธกาลมีตัวอย่างมากมาย ที่ล่วงศีล เช่น ข้อกาเม ข้อ ดื่มสุราในชาตินั้น แต่พอได้ฟัง
    ธรรมก็บรรลุเป็นพระโสดาบันครับ นั่นแสดงว่า ท่านเจริญสติปัฏฐาน มรรคมีองค์ 8 ใน
    ขณะนั้นซึ่งก็มี ศีล สมาธิและปัญญาพร้อมกันจนบรรลุครับ แม้ท่านเคยล่วงศีลมาก่อน
    แต่ก็บรรลุได้ครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...ศีลวิสุทธิ

    [​IMG]
    2.จิตตวิสุทธิ ความสงบแห่งจิตใดที่ทำให้ถึงการดับกิเลสได้หรือเป็นไปในการ
    ขัดเกลากิเลสนั่นชื่อว่าจิตวิสุทธิ เพราะเป็นจิตที่สงบและทำให้ถึงการดับกิเลสครับเพราะฉะนั้นความสงบแห่งจิตที่เป็นไปในการขัดเกลากิเลสจึงมีตั้งแต่ต้น ที่สงบเพียงเล็กน้อยและถึงขั้นฌาน แต่ต้องมีปัญญาเข้าใจหนทางใกนรดับกิเลสจึงเป็นจิตวิสุทธิครับ ซึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นก็เป็นจิตวิสุทธิเพราะจิตขณะนั้นสงบและทำให้ถึงความบริสุทธิ์คือดับกิเลสด้วยสติปัฏฐานครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่... วิสุทธิ ๗ -- ๒. จิตตวิสุทธิ
    3.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ด้วยความเห็น ที่มีความเห็นว่ามีสัตว์ บุคคลนั่นเป็น
    ความเห็นผิด ดังนั้นทิฏฐิวิสุทธิจึงเป็นปัญญาระดับสูงขั้นวิปัสสนาญาณที่เป็นการแทง
    ตลอดสภาพธรรมทีเป็นนามธรรมและรูปธรรม เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แยก
    ขาดจากกันว่านี่เป็นนามธรรม นี่เป็นรูปธรรมครับอันเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็น
    วิสุทธิคือบริสุทธิ์จากความเห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคล บรสุทธิ์ดวยปัญญาว่ามีแต่นามธรรม
    และรูปธรรมครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่... วิสุทธิ ๗ -- ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
    [​IMG]

    4.กังขาวิตรณวิสุทธิ ปัญญาที่ข้ามจากความสงสัยว่าทุกอย่างเกิดตามเหตุปัจจัย
    ครับ จึงบริสุทธิ์ วิสุทธิจากความไม่รู้ว่าทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย อันเป็นป็นปัญญา
    ระดับวิปัสสนาญานที่เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่...วิสุทธิ ๗ -- ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

    5.มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือปัญญาที่ข้ามพ้นจากกิเลสที่หลอกให้หลงที
    เป็นวิปัสสนูกิเลส ซึ่งเป้นปัญญาระดับสูงทีเป็นวิปัสสนาญาณขั้นอุททยัพพยญาณ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่..วิสุทธิ ๗ -- ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
    6.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาที่ข้ามระดับอุททยัพพยญาณ จนถึงระดับ
    มรรคจิตครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่... วิสุทธิ ๗ -- ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    7.ญาณทัสสนวิสุทธิ คือปัญญาระดับมรรคจิต คือสามารถดับกิเลสได้ในขณะนั้น
    อันถึงความบริสุทธิ์คือการดับกิเลสครับ
    เชิญคลิกอ่านที่นี่... วิสุทธิ ๗ -- ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ
    จะเห็นได้ว่าจะขาดความเข้าใจคือปัญญาไม่ได้เลยในเรื่องของวิสุทธิเพราะหากขาด
    ปัญญาแล้วจะถึงความสิ้นกิเลส เป็นวิสุทธิไม่ได้ครับ แต่ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม
    ให้เข้าใจทีละเล็กละน้อย เมื่อปัญญาเจริญขึ้นก็จะค่อยๆนำไปสู่ความเป็นวิสุทธิโดย
    ไม่มีตัวตนไปทำวิสุทธิ 7 ครับ หนทางเดียวคือฟังพระธรรมในหนทางที่ถูกเท่านั้น
    ปัญญาจะทำหน้าที่เองครับ
    อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
    [​IMG]
    เรื่อง วิสุทธิ ๗ โดยอาจารย์เผดิม จากเวป บ้านธัมมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2011
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    ามรูปปริจเฉทญาณ แปลว่า ญาณที่กำหนดนามรูป
    นาม คือ นาม
    รูป คือ รูป
    ปริจเฉท คือ กำหนด
    ญาณะ คือ ญาณ หมายถึงการรู้แจ้ง หยั่งรู้
    ญาณนี้ไม่ใช่ ฌาน ฌานเป็นสมาธิ ญาณนี้เป็นปัญญาต้องแยกให้ออก
    [​IMG]

    เพราะฉะนั้น ญาณนี้เป็นตัวปัญญา และเป็นวิปัสสนาปัญญาด้วย
    ไม่ใช่ปัญญาแบบทางโลก แต่เป็นปัญญาที่หยั่งรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง

    อะไรคือนาม? อะไรคือรูป? ในบทนี้ ขอให้ทำความเข้าใจให้ชัด
    หลายท่านเข้าใจชัดดีอยู่แล้ว แต่ต้องให้ย้ำว่า
    การเจริญวิปัสสนานี้ต้องกำหนดนามรูปให้ได้ก่อน

    ให้พิจารณาขันธ์๕ ขันธ์๕ คืออะไร?
    ขันธ์คือ กอง มีอยู่ ๕ กอง คือ
    ๑. รูป ได้แก่ รูปร่างกายของเรานี้เอง
    ๒. เวทนา คือ การเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกลางๆ
    ถ้าเป็นสุข ก็ สุขเวทนา
    ถ้าเป็นทุกข์ ก็ ทุกขเวทนา
    ถ้าเป็นกลางๆ ก็ อุเบกขาเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา
    ๓. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ความจำสิ่งต่าง ได้
    มีอะไรเกิดขึ้นก็จำไว้ได้ ความจำอย่างนี้เป็นสัญญา
    ๔. สังขาร คือ การปรุงแต่งจิตให้คิดไป ถ้าคิดดีก็เป็นกุศล
    ถ้าคิดไม่ดีก็เป็นอกุศล ถ้าคิดกลางๆ ก็เป็นอัพยากฤต คือ ไม่เป็นบุญบาป
    ความคิดที่ปรุงจิตอย่างนี้เป็นสังขาร
    ----สังขารในขันธ์๕ นี้ไม่ใช่สังขารในพระไตรลักษณ์ ต้องแยกให้ออก
    สังขารในขันธ์๕ นี้หมายถึง สังขารของสิ่งที่มีชีวิต
    ส่วนสังขารในพระไตรลักษณ์นั้นหมายรวมทั้งสิ่งที่มีใจครอง
    และไม่มีใจครอง
    ----สังขารในขันธ์๕ นี้ เป็นนาม หมายถึงสิ่งที่มีใจครองเฉพาะในส่วน
    ที่เป็นความคิดเท่านั้น คือ ความคิดที่เป็นบุญ เป็นบาป และกลางๆ
    ๕. วิญญาณ คือ การรับรู้ทางประสาททั้ง๖
    ถ้าได้เห็นรูปทางตาเกิดความรู้ขึ้นเป็น จักขุวิญญาณ
    ถ้าได้ฟังเสียงทางหูเกิดความรู้ขึ้นก็เป็น โสตวิญญาณ
    ถ้าได้รับกลิ่นทางจมูกเกิดความรู้ขึ้นเป็น ฆานวิญญาณ
    ถ้าได้รับรสทางลิ้นเกิดความรู้ขึ้นก็เป็น ชิวหาวิญญาณ
    ถ้าได้รับสัมผัสทางกายเกิดขึ้นก็เป็น กายวิญญาณ
    ถ้าคิดเรื่องทางใจเกิดความรู้ขึ้นก็เป็น มโนวิญญาณ
    [​IMG]
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เรียกว่า ขันธ์๕
    ขันธ์๕ นี้ถ้าย่อแล้วก็เหลือ ๒ เท่านั้น คือ นาม กับ รูป
    หรือ กาย กับ ใจ เท่านั้นเอง

    อะไร คือ นาม? ขันธ์๔ เบื้องปลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    นี้เป็นนาม เพราะจับต้องไม่ได้ ไม่กินที่ มองไม่เห็น เป็นนาม
    เป็นส่วนใจ
    ส่วนขันธ์ข้อแรก คือ รูป เพราะจับต้องได้ มองเห็นได้
    [​IMG]
    รูป ท่านแยกออกเป็น ๒ ชนิด คือ
    ๑. มหาภูตรูป
    ๒. อุปาทยรูป
    มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ ได้แก่ รูปที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุ๔
    คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันเข้าเป็นตัวเราขึ้น เป็นสิ่งที่โตมาก
    เห็นได้ชัด ท่านเรียกรูปชนิดนี้ว่า มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่
    อุปาทายรูป รูปอาศัย คือ อิงอาศัยมหาภูตรูปนี้มีอยู่ ๒๔ รูป
    เช่น ปสาทรูป๕ คือ เป็นประสาท ได้แก่ ประสาทตา ประสาทหู
    ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย ทุกประสาทที่อาศัย
    อยู่ในร่างกายนี้ก็เป็น อุปาทายรูป หัวใจก็เป็นอุปาทายรูป
    อาหารที่เรากินเข้าไปก็เป็นอุปาทายรูป เป็นต้น

    รวมความว่า รูปร่างกายนี้มีอยู่ ๒ ส่วน รูปใหญ่เป็นมหาภูตรูป
    และรูปอาศัย เป็นอุปาทายรูป นอกนั้นเป็น นามหมด
    ทั้งรูปและนามนี้ จะต้องอาศัยกัน อย่างเรานั่งอยู่นี้ ที่นั่งอยู่นี้
    ถามว่ารูปหรือนาม? ที่นั่งอยู่นี่คือ รูป ส่วนการที่รู้ว่ารูปนั่งหรือไม่
    นั้นเป็น นาม
    [​IMG]
    -การที่เราจะย่างเท้าขวาไป ก่อนที่จะย่าง ใครสั่งให้ย่างเท้า?
    คำตอบ นามสั่งให้ย่างเท้า
    ที่กำลังย่างไปคืออะไร? คำตอบ คือ รูป

    -เวลาเราปวดหัว อะไรปวด? คำตอบคือ รูปปวด
    อะไรรับรู้? คำตอบ คือ นาม
    ที่ปวดน่ะ รูปมันปวด บางทีนามก็ปวดไปด้วย แต่สิ่งที่รับรู้คือ นาม

    -เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะลุกขึ้นนี้ ใครเป็นคนสั่ง?
    คำตอบ คือ นาม
    และ ตัวลุกขึ้นคืออะไร? คำตอบ คือ รูป

    -แล้วอะไรเป็นตัวเราบ้าง? มีไหม?
    คำตอบ "ไม่มี" มีแต่ นาม กับ รูป
    ตัวเราไม่มี เราสมมุติว่าชื่อนั้นชื่อนี้ ที่จริงไม่มี เราไปตู่เอาเองว่า
    ของของเรา เราสมมุติต่างหากว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
    มีแต่นามกับรูปเท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    ให้กำหนดรู้นามรูปอย่างนี้ให้ได้ ว่าอะไรคือนาม อะไรคือรูป

    เมื่อเราปวด ขณะเรานั่ง ขามันปวด? ขามันเป็นเหน็บ
    ถามว่าอะไรเป็นเหน็บ? รูปเป็นเหน็บ และก็
    อะไรที่รับรู้ว่ามันเป็นเหน็บ? นามไปรับรู้ว่ามันเป็นเหน็บ

    เวลาเขามาด่าเรา คำด่านี้เป็นนามหรือเป็นรูป?
    คำด่านั้นเป็นรูป เกิดจากรูปเป็นเสียงด่า
    แต่การที่รับรู้เสียงนั้นเป็นอะไร? เป็นนาม

    เราเห็นคนคนหนึ่งเดินมา คนนั้นเป็นนามหรือเป็นรูป?
    คำตอบคือ รูป

    และสิ่งที่เห็นนั้นเป็นนามหรือเป็นรูป? ประสาทเป็นตัวเห็น
    ตัวเห็นนั้นเป็นรูป แต่เมื่อไปกระทบ มีวิญญาณเป็นนามเข้ามา
    นามก็เข้ามารวมด้วย
    รวมความว่า รูปนี้ต้องอาศัยนาม แยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกัน
    เมื่อใดแยกนามจากรูปก็ตายทันที เมื่อใดรูปแยกจากนาม
    เมื่อใดแยกนามจากรูปก็ตายทันที รูปกับนามนี้อาศัยกัน
    เหมือนกับท่อนไม้่ ๒ ท่อนที่พิงกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งล้ม
    อีกอันหนึ่งก็ล้มด้วย สมมุติว่ารูปพังทลาย นามก็อยู่ไม่ได้
    นามพังทลาย รูปก็อยู่ไม่ได้ รูปกับนามนี้อาศัยกันอย่างนี้เอง

    ให้กำหนดพิจารณาเรื่องนามรูปนี้ให้ได้ นี้คือนามกับรูปที่เกิดขึ้น
    ตั้งอยู่และดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นกฎของธรรมชาติ
    ทั้งนามและรูปนี้เป็นอย่างนี้

    ถ้ากำหนดนามรูปนี้ได้ ก็ชื่อว่าเราเข้าใจญาณที่ ๑ ซึ่งบางท่าน
    เรียกว่า สำเร็จญาณที่ ๑ แต่ผู้เขียนไม่อยากจะเรียกว่า สำเร็จ
    อยากจะเรียกว่าเข้าใจญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ
    คือเข้าใจการกำหนดนามรูปได้ เพราะเป็นลักษณะธรรมดาๆ เท่านั้น
    คนทั่วไปก็เข้าได้ถ้ามีใครอธบายให้ฟัง


    [​IMG]

    ผู้เขียนคือ ท่านฐิตวัณโณ ภิกขุ หรือ พระธรรมวิสุทธิกวี


    [​IMG]


    (ขั้นต่อไปจากขั้นนี้ก็คือ ปัจจยปริคคหญาณ)
    [​IMG]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2011
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขออนุญาติคุณจิตใจเลฟ นำพระสูตรจูฬเวทัลลสูตร มาลงนะครับ
    เห็นว่าสนุกดี เข้าใจง่าย สลับกับรูปนามปริเฉทก็แล้วกัน

    เป็นเรื่องราวของอริยะบุคคล ที่เคยเป็นสามีภรรยากันมาก่อน
    วันหนึ่งสามีไปฟังธรรมพระพุทธองค์ พอสามีกลับถึงบ้าน มันเฉยต่อกามคุณ
    เฉยต่อรูปนามไปหมด ภรรยาเข้าใจทันทีว่าได้ภูมิอานาคามีแน่แล้ว
    จึงขออนุญาติสามีออกบวช สามีก็อนุญาติโดยดี
    ต่อมาภรรยาบรรลุธรรมได้ภูมิอรหันต์

    จากนั้นสามีผู้เป็นอานาคามีก็ยังไปมาหาสู่กัน สนทนาพูดคุยธรรมกันเป็นปกติ ซึ่งได้อรรถรสมาก
    จะค่อยนำมาลง


    มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กรกฎาคม 2011
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <CENTER>๔. จูฬเวทัลลสูตร






    </CENTER><CENTER>การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    </CENTER>[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
    เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.








    <CENTER>เรื่องสักกายทิฏฐิ
    </CENTER>[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?

    ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
    รูปูปาทานขันธ์ ๑
    เวทนูปาทานขันธ์ ๑
    สัญญูปาทานขันธ์ ๑
    สังขารูปาทานขันธ์ ๑
    วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑
    อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

    วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้

    แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
    ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
    คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑
    วาจาชอบ ๑
    ทำการงานชอบ ๑
    เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    ความเพียรชอบ ๑
    ความระลึกชอบ ๑
    ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑
    นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
    เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
    อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

    [๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด
    ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
    ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
    ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น
    สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
    ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
    สักกายทิฏฐิจึงมีได้.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม
    ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
    ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
    ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
    เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
    วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.


    มีต่อ เป็นภูมิอานาคามี สนทนาลองภูมิกับ ภูมิอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กรกฎาคม 2011
  15. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    อาหลง ไม่ต้องขออนุญาติเราก็ได้
    เชิญโพสท์ได้เลยนะจ้ะ
    ธรรมะดีๆ ขออนุโมทนาบุญด้วยจ้า

    [​IMG]

    แจกที่คั่นสวยๆ จากเวปexteen.com
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2011
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

    [​IMG]รับทราบ!






    <CENTER>
    </CENTER>[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑
    วาจาชอบ ๑
    ทำการงานชอบ ๑
    เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    ความเพียรชอบ ๑
    ความระลึกชอบ ๑
    ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
    ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓.

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
    ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ

    วาจาชอบ ๑
    ทำการงานชอบ ๑
    เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

    ความเพียรชอบ ๑
    ความระลึกชอบ ๑
    ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑
    ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์

    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑
    ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.








    <CENTER>เรื่องสมาธิและสังขาร</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
    ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔
    เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
    ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.

    [๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร
    จิตตสังขาร.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น
    อย่างไร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร
    เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร
    วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย
    เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึก
    ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
    เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.

    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>หลงเข้ามา, jinny95+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER>เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ</CENTER><CENTER>
    </CENTER> [๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
    ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม คือ กายสังขาร วจี
    สังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น
    กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่าง-
    *นี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติว่าเรา
    ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อัน
    ท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสัง-
    *ขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน.

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด
    ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง)
    ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง) ย่อม
    ถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปใน
    ธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน
    วิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2011
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เรื่องเวทนา

    [​IMG]


    <CENTER>
    </CENTER>[๕๑๑] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑
    อทุกขมสุขเวทนา ๑.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา
    เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือ
    เป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย
    หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่
    สำราญ (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็น
    อทุกขมสุขเวทนา.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
    ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ
    เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอน
    อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย ตามนอน
    อยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอน
    อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
    ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน
    อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ใน
    ทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน
    ทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึง
    ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือ
    หนอแล?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
    ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขม-
    *สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อม
    ละราคะด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรม
    วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่
    ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้
    โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น
    ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
    เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุต
    ฌานนั้น.

    [๕๑๒] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคะเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา?
    ธ. ปฏิฆะเป็นส่วนแห่งเปรียบแห่งทุกขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา?
    ธ. อวิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา?
    ธ. วิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา?
    ธ. วิมุติเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ?
    ธ. นิพพานเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ?
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ท่านล่วงเลยปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาส่วนสุดแห่งปัญหา
    ได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เพราะพรหมจรรย์หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงใน
    เบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านจำนงอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อ
    ความนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงจำทรงพระพยากรณ์นั้นไว้
    อย่างนั้นเถิด.


    <CENTER>วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี
    </CENTER>[๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณี
    แล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบ
    ทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ.
    เมื่อวิสาขอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูกรวิสาขะ ธรรม
    ทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึง
    พยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น
    เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.


    <CENTER>จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔

    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มัคคควรให้เจริญ

    ปริวัฏฏ ๓ อาการ ๑๒

    ในสัมมาทิฏฐิที่ว่าปัญญาเห็นแจ้งในอริยสัจจ ๔ นั้น ต้องเห็นแจ้งในอริยสัจจ ๔ ถึง ๓ รอบ เรียกว่า ปริวัฏฏ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    รู้ว่านี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มัคค
    รู้ดังนี้เรียกว่า สัจจญาณ เป็นการรู้ตาม ความเป็นจริง

    <O:p></O:p>
    รู้ว่าทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มัคคควรให้เจริญ
    รู้ดังนี้เรียกว่า กิจจญาณ เป็นการรู้ตามหน้าที่
    <O:p></O:p>

    รู้ว่าทุกข์ที่ควรกำหนดรู้นั้นได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยที่ควรละนั้นได้ละแล้ว นิโรธที่ควรทำให้แจ้งนั้นก็ได้กระทำจนแจ้งแล้ว มัคคที่ควรให้เจริญนั้น ก็ได้เจริญ แล้ว
    รู้ดังนี้เรียกว่า กตญาณ เป็นการรู้ตามการกระทำ
    <O:p></O:p>
    ปริวัฏฏ ๓ เป็นไปในอริยสัจจ ๔ จึงเป็นอาการ ๑๒ เขียนให้ง่ายแก่การ จดจำได้ดังนี้
    <O:p></O:p>




    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 169.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=226><O:p></O:p>
    สัจจญาณ ๑ รอบ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 299.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=399>รู้ว่านี่คือ ทุกข์<O:p></O:p>
    รู้ว่านี่คือ สมุทัย<O:p></O:p>
    รู้ว่านี่คือ นิโรธ<O:p></O:p>
    รู้ว่านี่คือ มัคค<O:p></O:p>​




    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 169.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=226><O:p></O:p>
    กิจจญาณ ๑ รอบ <O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 299.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=399>รู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้<O:p></O:p>
    รู้ว่า สมุทัยควรละ<O:p></O:p>
    รู้ว่า นิโรธควรทำให้แจ้ง<O:p></O:p>
    รู้ว่า มัคคควรทำให้เจริญ<O:p></O:p>​




    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 169.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=226><O:p></O:p>
    กตญาณ ๑ รอบ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 299.45pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=399>รู้ว่า ทุกข์นี้ได้กำหนดรู้แล้ว<O:p></O:p>
    รู้ว่า สมุทัยนี้ได้ละแล้ว<O:p></O:p>
    รู้ว่า นิโรธนี้ได้ทำให้แจ้งแล้ว<O:p></O:p>
    รู้ว่า มัคคนี้ได้เจริญแล้ว<O:p></O:p>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ถ้าจะยกอริยสัจจ ๔ ขึ้นกล่าวก่อน ว่า อริยสัจจ ๔ นี้มี ปริวัฏฏ ๓ คือ จะต้องรอบรู้ถึง ๓ รอบ ก็เขียนได้ดังนี้


    <O:p></O:p>



    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 135.9pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=181><O:p></O:p>
    ทุกขสัจจ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 337.5pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=450>สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ มีอยู่จริง<O:p></O:p>
    กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ ควรกำหนดรู้<O:p></O:p>
    กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ ได้กำหนดรู้แล้ว<O:p></O:p>​




    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 135.9pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=181><O:p></O:p>
    สมุทยสัจจ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 337.5pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=450>สัจจญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่จริง<O:p></O:p>
    กิจจญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละ<O:p></O:p>
    กตญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ได้ละแล้ว<O:p></O:p>​




    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 135.9pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=181><O:p></O:p>
    นิโรธสัจจ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 337.5pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=450>สัจจญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ มีจริง<O:p></O:p>
    กิจจญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ ควรทำให้แจ้ง<O:p></O:p>
    กตญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ ได้ทำให้แจ้งแล้ว<O:p></O:p>​




    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 135.9pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=181><O:p></O:p>
    มัคคสัจจ<O:p></O:p>​



    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 337.5pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=450>สัจจญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ มีจริง<O:p></O:p>
    กิจจญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ ควรเจริญ<O:p></O:p>
    กตญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ ได้เจริญแล้ว​



    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2011
  19. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=gVgR4fYVTAk&feature=related]‪บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ‬&rlm; - YouTube[/ame]
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอามะม่วงมาขายสวนมะม่วง หุหุ

    [​IMG]

    วิเสสลักษณะ
    เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย

    วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
    ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ

    รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส
    กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก
    สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง

    ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ
    ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ เรียกว่า เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

    เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่า ธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น
    จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจาก เหตุจากปัจจัยทั้งปวง


    ฉนั้นแล้ว ทุกข์เป็นสภาพธรรมที่ต้องรู้ รู้ตามจริง รู้ตามหน้าที่ รู้ตามการกระทำ รู้ถูก รู้ชัด รู้ทุกขลักษณะนี้ คือรู้ทุขสัจ นะจ๊ะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...