เรื่องเด่น + โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนัก +

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย พนมกุเลน, 16 กรกฎาคม 2012.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">สั่งปิดสาธิตจุฬาฯ หลังพบ มือ เท้า ปาก ลาม</td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td height="40"><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td><td class="date" align="left" valign="middle">16 กรกฎาคม 2555 </td><td align="left" valign="middle">


    <!--?XML:NAMESPACE PREFIX = G /--><g:plusone size="medium"></glusone>
    </td><td>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td>http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000087431</td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline">สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ประกาศปิดโรงเรียนตั้งแต่พรุ่งนี้ เป็นต้นไป หลังพบเชื้อโรคมือเท้า ปากระบาดในโรงเรียน และพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร

    โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้ประกาศปิดโรงเรียนตั้งแต่พรุ่งนี้ (17 ก.ค.) เป็นต้นไป หลังจากพบการระบาดของเชื้อโรคมือเท้า ปาก ลุกลามจากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 ในวันต่อมา และยังมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพมหานครด้วย

    พร้อมกันนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีการแถลงข่าวจาก "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

    ในวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ ร่วมงานแถลงข่าวด้วย

    โรคมือ เท้า ปาก Hand Foot and Mouth Disease

    [​IMG]
    โรคมือเท้าปาก

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ช่วงปิดเทอมทีไร เรามักจะได้ยินข่าวคราวเด็ก ๆ เป็นโรคติดต่ออย่าง โรคมือเท้าปาก กันมากทีเดียว ว่าแต่ โรคมือเท้าปาก นี้คือโรคอะไร เรามาทำความรู้จัก โรคมือเท้าปาก ไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

    [​IMG] รู้จัก โรคมือเท้าปาก

    โรคมือเท้าปาก หรือ Hand, Foot and Mouth Disease มักเรียกติดปากกันว่า โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)

    โดยพบการระบาดของ โรคมือเท้าปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้และยังมีตุ่มน้ำใสในช่องปาก มือ และเท้า

    ต่อมายังพบการระบาดกับกลุ่มเด็กในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อปี พ.ศ.2502 เช่นกัน จนได้มีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดของ โรคมือเท้าปาก จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

    ทั้งนี้ โรคมือเท้าปาก จะมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเป็นประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศเขตร้อนชื้นจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่ละระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น และมักพบในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี

    [​IMG]การติดต่อ โรคมือเท้าปาก

    โรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย สามารถติดต่อได้โดย

    [​IMG] การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูก, ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส (Respiratory route) โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใบ้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกันก็ได้

    [​IMG] อุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์

    ทั้งนี้ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดติอจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้



    [​IMG]
    โรคมือเท้าปาก

    [​IMG]อาการของ โรคมือเท้าปาก

    โดยทั่วไป โรคมือเท้าปาก มีอาการไม่รุนแรง โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน และมีอาการเริ่มต้นคือ เป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ประมาณ 1-2 วัน

    จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร เพราะมีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า

    และอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น

    อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น

    [​IMG]1.ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ

    [​IMG]2.ทางผิวหนัง

    [​IMG]3.ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ

    [​IMG]4.ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน

    [​IMG]5.ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ

    [​IMG]6.ทางหัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

    [​IMG]การรักษา โรคมือเท้าปาก

    โรคมือเท้าปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด

    ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำและผลไม้ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม

    หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิด โรคมือเท้าปาก ซ้ำได้ จาก เอนเทอโรไวรัสตัวอื่น ๆ ดังนั้น หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อย ๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ก็ควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์



    [​IMG]
    โรคมือเท้าปาก


    [​IMG]การป้องกัน โรคมือเท้าปาก

    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก แต่โดยปกติป้องกัน โรคมือเท้าปาก ได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

    ที่สำคัญ คือ ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยไม่ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์

    และต้องคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน

    หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน

    [​IMG]ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

    [​IMG] สถานบริการสาธารณ สุขทุกแห่ง

    [​IMG] ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3333

    [​IMG] สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3194

    แจ้งการระบาดของโรคได้ที่ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-1882



    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2012
  2. RaDii

    RaDii เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +142
    ขอบคุณมากค่ะ กำลังเป็นกังวลกับลูก
     
  3. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ข้อมูลมาใหม่ บอกผู้ใหญ่ หนุ่มสาว วัยรุ่นก็เป็นได้ด้วย แต่ไม่รุนแรงเท่าเด็ก โรคภัยไข้เจ็บเอาอะไรแน่ไม่ได้ ร่างกายแต่ละคนภูมิต้านทานไม่เหมือนกัน เช่น เคยเจอคนที่โตแล้ว และตอนเด็กเขาเคยเป็นอีสุกอีใสแล้ว แต่มาเป็นอีกตอนโต
     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>หมอจุฬาฯ เตือน ป่วยสมองอักเสบ เสี่ยงเชื้อเอนเทอโรไวรัส</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=middle align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=middle align=left>20 กรกฎาคม 2555 น.</TD><TD vAlign=middle align=left>




    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    แพทย์จุฬาฯ ย้ำเชื้อมือเท้าปาก มีหลายสายพันธุ์ มีความรุนแรงต่างกัน เตือนเฝ้าระวังคนเป็นโรคสมองอักเสบ อาจติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสได้ ด้าน ผอ.โรคอุบัติใหม่ เผย ทุกกลุ่มอายุเสี่ยงเป็นมือเท้าปากหมด แต่ผู้ใหญ่มีภูมิต้านทานโรคมากกว่า ขอประชาชนอย่างตื่นตระหนก และเชื้อมาตรการของ สธ.

    จากการประชุมปรึกษาหารือ เรื่องโรคมือเท้าปาก ชนิดที่มีอาการรุนแรง โดยมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) เป็นประธาน

    พร้อมด้วย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา ไวรัสวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ รวมทั้งกุมารแพทย์จากทุกภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม ได้มีการพูดถึงวิวัฒนาการเชื้อไวรัสมือเท้าปาก รวมทั้งมาตรการป้องกันเชื้อในอนาคต

    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการเฝ้าระวังมือเท้าปากมาตลอด 10 ปี ซึ่งไวรัสนี้เป็นครอบครัวใหญ่ มี 4 กลุ่ม คือ A B C และ D โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำการเฝ้าระวังอย่างดีเยี่ยม

    ซึ่งภาวะมือ เท้า ปากนี้ ไม่ได้เกิดจากแค่เอนเทอโรไวรัส 71 เพียงอย่างเดียว แต่เกิดได้หลายสายพันธุ์ เช่น คอกซากี เอ็กซ์โค ทั้งนี้ สำหรับวิวัฒนาการของเชื้อ พบว่า รุนแรงขึ้นในลักษณะแตกต่างกัน

    โดยอาการที่รุนแรงสุด คือ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก้านสมองอักเสบ แต่พบไม่มาก โดยปี 2517 ประเทศไทยได้เจอไวรัสเอนเทอโร 70 ที่มีอาการตาแดง แขนขาอ่อนแรง เหมือนโปลีโอ

    ซึ่งอาการเหล่านี้หากเป็นหมอทางสมองจะดูออกว่า เกิดจากเชื้อชนิดนี้ แต่หลังจากนั้น เชื้อเอนเทอโรไวรัส สายพันธุ์ 70 ได้พัฒนาไปกลายเป็นสายพันธุ์ 71

    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์จะไม่เหมือนกัน โดยสายพันธุ์ 70 ทำลายไขสันหลัง ขณะที่สายพันธุ์ 71 ทำลายก้านสมองที่ส่งผลต่อระบบการทำงานสติสัมปชัญญะ การเคลื่อนไหวของร่างกาย

    รวมไปกับการอุดน้ำไม่ให้รั่วไปที่ปอด ป้องกันน้ำท่วมปอด ซึ่งหากป้องกันไม่ได้จะทำให้ช็อก กล้ามเนื้อหัวใจไม่ปกติ แต่ที่ผ่านมา สธ.ควบคุมได้ดีเยี่ยม เพราะมือเท้าปาก ไม่ได้เกิดในปีนี้ปีแรก แต่เกิดขึ้นทุกปี

    โดยมีผู้ป่วยหลักพันถึงหลักหมื่น แต่ไม่มีอาการแทรกซ้อนเหมือนอย่างต่างประเทศ ทั้งที่ มาเลเซีย กัมพูชา และ จีน ซึ่งขณะนี้กำลังระบาดหนัก

    นอกจากนี้ อยากให้มีการเฝ้าระวังสมองอักเสบในผู้ใหญ่ ตั้งแต่คนอายุ 14 ปีขึ้นไป เนื่องจากพบว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้เฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มนี้และเก็บส่งตรวจหาเชื้อเอนเทอโรไวรัสจำนวน 930 ราย

    ในจำนวนนี้เจอผู้ป่วยที่มีผลเป็นบวก 4 ราย ซึ่งมีจำนวนน้อย โดยทั้งหมดอาการไม่รุนแรง แต่ในทางระบาดจำเป็นต้องเฝ้าระวังทั้งหมด เพื่อติดตามวิวัฒนาการของเชื้อ

    นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักติดต่อโรคอุบัติใหม่ คร.กล่าวว่า ประเด็นที่หลายคนวิตกเรื่องการติดเชื้อจากเด็กไปผู้ใหญ่ จริงๆ แล้วเชื้อนี้โอกาสการติดเชื้อเท่ากันหมดทุกกลุ่มอายุ เพียงแต่ในผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานโรคมากกว่า

    ดังนั้น โอกาสการติดเชื้อเป็นไปได้น้อย ส่วนกรณีที่มีรายงานพบผู้ใหญ่ 4 รายป่วยด้วยโรคดังกล่าว เรื่องนี้เป็นรายงานที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2545 หรือประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่รุนแรง โดยข้อมูลนี้เป็นรายงานเก่า จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนก ขอให้เชื่อมั่นมาตรการของ สธ.

    http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000089427



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ยัน เด็ก 2 ขวบ ตายเพราะมือเท้าปากชนิดรุนแรง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=middle align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=middle align=left>24 กรกฎาคม 2555



    http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000090972
    </TD><TD vAlign=middle align=left>







    <TD>




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา เผยผลตรวจเชื้อในคอเด็กหญิง 2 ขวบ ตายเพราะมือเท้าปากชนิดรุนแรง ชี้เด็กมีโรคประจำตัว ยันความรุนแรงของโรคไม่เกี่ยวกับชนิดของสายพันธุ์ ส่วนผู้ต้องสงสัยอีก 2 ราย วินิจฉัยแล้วไม่เข้าข่ายตายเพราะโรคมือเท้าปาก

    วันนี้ (24 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สำนักโรคอุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เป็นประธานการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก

    พร้อมด้วย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดกรมควบคุมโรค

    ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวภายหลังการประชุมว่า คณะทำงานได้พิจารณาวิเคราะห์ประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนกรณีเด็กหญิงอายุ 2 ปี 8 เดือน ซึ่งเข้าข่ายต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากที่ รพ.นพรัตน์ราชธานี เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา มีข้อมูลหลายอย่าง ทั้งทางระบาดวิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    โดยสรุปว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ โรคหอบหืด โดยผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 12 ก.ค. มีอาการไอ หายใจลำบาก แต่ไม่มีตุ่มหรือแผลในปาก ต่อมามีความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว เม็ดเลือดขาวมีปริมาณสูง หัวใจมีอัตราการเต้นสูงกว่าปกติ

    สอดคล้องกับอาการอักเสบ ที่การตรวจเอนไซม์พบว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่พบประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก และไม่พบกลุ่มผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในบริเวณที่ป่วยอยู่อาศัย



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300><TBODY><TR><TD vAlign=top width=300 align=center>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นของการตรวจแม้ไม่พบประวัติต้องสงสัย แต่แพทย์มีความสงสัยจึงส่งอุจจาระ และน้ำไขสันหลัง ตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ต่อมาได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากคอ ใหม่อีกครั้ง ด้วยการตรวจเทคนิคชีวโมเลกุล (PCR) ได้ผลบวกต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 โดยคณะทำงานพบว่า อาการของโรคต่างๆ ไม่เข่าข่าย

    โดยบริเวณมือและเท้าไม่มีตุ่ม แต่อาการบางอย่างเข้าข่ายโรคมือเท้าปาก คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ฉะนั้น เมื่อได้ผลจากคอ ทำให้เชื่อได้ว่า เด็กเสียชีวิตจากด้วยโรคมือเท้าปากชนิดรุนแรง โดยพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ บี 5

    ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า สายพันธุ์ บี 5 ไม่ใช่สายพันธ์รุนแรง แต่พบว่าในรายดังกล่าวมีอาการรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่อยากให้มุ่งประเด็นไปแค่เรื่องของสายพันธุ์

    เพราะไม่มีหลักฐานว่าสายพันธุ์จะเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค ทุกสายพันธุ์มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ และเนื่องจากเด็กรายดังกล่าวมีโรคประจำตัว แต่ไม่ได้เข้าพบแพทย์ช้าเกินไป อีกทั้งการสอบสวน พบว่า แพทย์ได้ให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องทุกประการ ไม่มีตรงไหนบกพร่อง มีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา

    “ตลอดเวลาที่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งมีการระบาดทุกปี โรคทุกโรคไม่ว่าอ่อนหรือรุนแรง มันมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องมากมายที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิต จะเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้

    ซึ่งมือเท้าปาก ก็ไม่ได้เสียชีวิตเยอะ เช่น อุบัติการณ์ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อปี 2540 ประเทศไต้หวันป่วยเป็นแสนราย ตาย 500 ประเทศจีน ป่วยเป็นล้านตายก็ 500 คน เห็นได้ชัดว่า มีปัจจัยจำนวนมากที่จะทำให้เสียชีวิต ไม่ใช่แค่สายพันธุ์” นพ.ประเสริฐ กล่าว

    ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ในที่ประชุมคณะทำงานยังได้พิจารณาผู้ต้องสงสัยรายอื่นๆ พบว่า มีกรณีของชายไทยอายุ 16 ปี อาศัย ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีอาการไข้สมองอักเสบ เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 3 ก.ค.

    เบื้องต้น มีไข้ อาเจียน ไม่มีตุ่มผื่น ไม่มีประวัติการสัมผัสเชื้อ แต่มีน้ำท่วมปอดและไข้สมองอักเสบ ซึ่งตรวจสาเหตุพบว่ามาจากเชื้อเอนเทอโรวัส 71 ซึ่งเชื้อดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ด้วย

    จึงสรุปว่า รายดังกล่าวไม่ได้ป่วยโรคมือเท้าปาก ส่วนกรณีเด็กหญิงอายุ 3 ปี เสียชีวิต อยู่ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบว่า มีโรคหัวใจ เข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากอาการไข้สูง ตาลอย อาเจียน เหนื่อยหอบ โดยผลการตรวจ PCR ไม่พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ยังต้องมีการศึกษาต่อว่าสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเกิดจากอะไร

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา คร.เปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยมือ เท้า ปาก ล่าสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2555 พบผู้ป่วยรวมแล้ว 16,860 รายเฉพาะเดือน มิ.ย. พบ 5,258 ราย เดือนก.ค.พบ 4,257 ราย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. มงคล18

    มงคล18 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +1,829
    ช่วงนี้ต้องระวัง สภาพอากาศตอนนี้ผันผวน เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก :'(
     
  7. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
     
  8. Thai Amulet

    Thai Amulet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +203
    ขอบคุณครับ
     
  9. Soul Power

    Soul Power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +452
    ล้างมือบ่อยนะค่ะ
     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
    เหมือนเดิมครับ ทำให้เป็นนิสัยเลยดีกว่า
    เพราะเชื้อโรคมันเยอะครับ
     
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ข้อมูลดีมีประโยชน์ ขอบคุณครับ
     
  12. MonkeyAstro

    MonkeyAstro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +202
    เป็นโรคที่ค่อนข้างหน้ากลัวเหมือนกันนะครับ ต้องคอยระวังลูกๆหลานๆกันหน่อย ^^
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้นะครับ
     
  13. parttime2home

    parttime2home สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +7

แชร์หน้านี้

Loading...