ใครคือ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 12 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    การทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การสร้างวัด สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง หรือการพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อการเผยแพร่ เป็นต้น เราจะพบเห็นชื่อหรือรายชื่อของผู้ที่มีส่วนร่วมในการ ทำบุญกุศลนั้นๆ ปรากฏอยู่ตามถาวรวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น และในหนังสือธรรมะที่พิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้พบเห็นได้ทราบถึงบุญกิริยาวัตถุ แล้วก็จะได้อนุโมทนา ในส่วนบุญนั้นๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ร่วมยินดี ในบุญกุศลที่ตนได้กระทำลงไป โดยมิได้มุ่งหมายที่จะเป็นการแสวงหาชื่อเสียงแต่ประการใด แต่มุ่งที่จะให้เกิดประโยชน์ และความสงบสุขแก่สังคมอันเป็นส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่ปรารภตน ไม่ปรารภโลก แต่ปรารภธรรมเป็นใหญ่ เป็นนักธรรมาธิปไตยที่แท้จริง

    ครั้งนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวของบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น มาเล่าสู่ท่านผู้อ่านพอเป็นคติเตือนใจได้กระมัง

    เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในกรุงราชคฤห์นั้น ได้มีเศรษฐีท่าน หนึ่งชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเป็นชาวเมืองสาวัตถี ไปทำการค้าขายในกรุงราชคฤห์ ได้มีโอกาสฟังธรรมะใน สำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อฟังธรรมแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อย่างแรงกล้า และได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดที่นครสาวัตถีบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็รีบกลับนครสาวัตถี เพื่อเตรียมสร้างวัด เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ให้สมพระเกียรติ ของพระพุทธองค์

    การสร้างวัดของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องหาทำเลและสถานที่ที่เหมาะสมแก่ความเป็นสถาน ที่ที่พระสมณะจะพึงพำนักอย่างสงบ ไม่อึกทึกครึกโครม ทั้งต้องไม่ใกล้ไม่ไกลจากชุมชนจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการบำเพ็ญสมณธรรม และการโคจรบิณฑบาตของพระสงฆ์ อีกทั้งประชาชนทั้งหลายก็จะไปมาหาสู่ฟังธรรมได้สะดวก ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง

    นอกจากนั้นแล้ว สถานที่จะสร้างวัดต้องร่มรื่นด้วยร่มไม้ ไม่มีป่ารกชัฏรุงรังดูขัดนัยน์ตา ควรเป็นสถานที่ที่มีการตกแต่งด้วยธรรมชาติอันงดงามเป็นที่รื่นรมย์ แห่งใจ ใครได้เข้าไปแล้วก็มีความสบายใจ สถานที่ดังกล่าวนี้จะมีอยู่ก็เฉพาะสวนของเจ้าเชตเท่า นั้น เพราะเจ้าเชตได้ตกแต่งสวนของท่านอย่างสวยงาม
    และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พึงพอใจสวนของเจ้าเชตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ติดต่อขอซื้อสวนจากเจ้าเชต

    เจ้าเชตเป็นคนที่มั่งมีศรีสุข สมบัติพัสถานมีมากก็ไม่เดือดร้อนถึงกับต้องมาขายสวนที่งดงามของตนให้แก่ใครๆ ดังนั้น เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีขอซื้อที่แปลงนี้ เจ้าเชตก็โก่งราคาสูงสุด พูดแบบภาษาชาวบ้าน ก็คือบอกราคาไม่ขายนั่นเอง คือบอกราคาถึง 18 โกฏิ ตามมาตราการนับ 1 โกฏิเท่ากับ 10 ล้าน 18 โกฏิ ก็เท่ากับ 180 ล้าน ในอรรถกถา กล่าวว่า เท่ากับเอาทองคำมาปูเต็มพื้นที่ของเจ้าเชตทีเดียว

    แม้ว่าแพงแสนแพงอย่างไร อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็กล้าซื้อ เพราะไม่เดือดร้อนในเรื่องเงินทองแต่อย่างใด เพียงขอให้ได้ที่ดินแปลงนี้เท่านั้น เพื่อตนจะได้สร้างกุศลอย่างที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ ตกลงเจ้าเชตก็ขายที่แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะเห็นว่าท่านเศรษฐีจะซื้อที่ไป สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า แต่มีข้อแม้ว่า ด้านหนึ่งของ วัดนี้ขอไว้สำหรับท่านจะได้สร้างซุ้มประตู จารึกชื่อตนถวายพระพุทธเจ้า เท่ากับว่าวัดเป็นชื่อของเจ้าเชต แต่คนสร้างจริงๆ คือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งท่านเศรษฐีก็ยอมตามเจ้าเชต
    เพราะคิดว่าการสร้างวัดนี้ขึ้น มาก็ไม่หวังเอาดีเอาเด่นหรือแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียงแต่อย่างใด ไม่ได้ทำบุญเพื่อเอาหน้าหรือเห็นแก่หน้า และก็ยินดีเสียอีกที่เจ้าเชตซึ่งเป็นคนสำคัญมีเงินทองมหาศาลหันมานับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับตน เท่ากับเป็นการเพิ่มกำลังอันสำคัญแก่พระพุทธศาสนา ไปในภายภาคหน้าด้วย วัดที่สร้างขึ้นมานี้จึงได้ชื่อว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...