"ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 23 สิงหาคม 2012.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 32 วิวาทะเรื่อง พระอรหันต์ยุคก่อนสอนธรรมะลูกศิษย์ อย่างไร
    ผู้เถียง : ..............................................
    ผู้ตอบ : จริงๆแล้ว เรื่องจิตสู่จิต มันมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว
    คราวที่พระพุทธองค์ ทรงชูดอกบัวขึ้นต่อหน้าพระมหากัสสัปปะ

    ท่านโพธิธรรม หรือ ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ท่านเป็นภิกษุที่มีอภิญญาอย่างเอกอุด้วยซ้ำ
    ท่านนำเอาลัทธิปฏิบัติธรรมโดยที่อย่าเอาความเป็น “เรา” เข้าไปทำ ก็คือ “ นิกายเซน ” ไปเผยแพร่ในประเทศจีน
    เว่ยหลาง เป็นศิษย์รุ่นที่ 6 เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6
    ท่านมีอภิญญาด้วยซ้ำ คราวที่โจรมาตัดคอท่าน โจรเอามีดฟันลงที่คอ ท่านเอาคอรองรับ มีดฟันไม่เข้า.....จนโจรสลบไป
    พระภิกษุเหล่านี้ของแท้ครับ ไม่ต้องพิสูจน์
    แล้วพระอภิญญาพระอรหันต์เหล่านี้ท่านสอนธรรมอย่างไร ดูวิธีการสอนธรรมท่านสิครับ

    ภิกษุรูปหนึ่งนำโศลกซึ่งแต่งขึ้นโดย คณาจารย์ที่ชื่อ ออหลุน มาท่องบ่นอยู่ว่า....
    “ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ
    ที่จะกั้นจิตเสียจาก ความนึกคิดทั้งปวง
    เมื่ออารมณ์ต่างๆ มิได้กลุ้มรุมจิต
    ต้นโพธิ(เครื่องหมายแห่งปัญญา) ก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน”

    พระสังฆปรินายก ได้ยินโศลกนี้ จึงพูดว่า
    “โศลกนี้ย่อมแสดงว่า ผู้แต่งยังไม่ทันเห็นจิตเดิมแท้อย่างเต็มที่
    ถ้าใครรับเอาข้อความมาถือปฏิบัติ
    ก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้นแต่จักกลับผูกรัดตัวเองหนาแน่นยิ่งขึ้น”


    แล้วพระสังฆปรินายกก็แต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า
    “เว่ยหล่าง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ
    ที่จะกลั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง
    อารมณ์ต่างๆย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ
    และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน?”
    อธิบาย นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักปฎิบัติธรรมติดกันมาก คือ ติดใช้จิตปรุงแต่งเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติและปรุงแต่งเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติ
    ธรรมชาตินั้น เป็นกระบวนการ “ โดยสภาพมันเอง ” มันไม่ใช่วิธีและเครื่องมือ
    หากจะกล่าวว่ามีวิธีและเครื่องมือ มันก็ “เป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง”
    การที่ใช้จิตปรุงแต่งว่า เรามีวิธีที่จะเข้าไปจัดการกับจิตทั้งหลายนั้นออกเสียจากความนึกคิด และ ด้วยเหตุจากวิธีและเครื่องมือของเรา จะทำให้อารมณ์คือเวทนาต่างๆไม่เข้ามากลุ้มรุมจิต(หมายถึง เราจะได้ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลาย) สภาวะแห่งความหลุดพ้นก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน.........การที่ใช้จิตปรุงแต่งแบบนี้ ก็บ่งบอกอยู่แล้วในตัวว่าผู้แต่งโศลกนี้ยังไม่เข้าใจในธรรมอันแท้จริงนั้นเป็นเช่นไร การปรุงแต่งในวิธีการปฏิบัตินั้น เป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานอย่างหนึ่งด้วย
    ธรรมชาตินั้น เป็นกระบวนการ “ โดยสภาพมันเอง ” มันไม่ใช่วิธีและเครื่องมือ
    หากจะกล่าวว่ามีวิธีและเครื่องมือ มันก็ “เป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง”
    วิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง หรือ วิธีและเครื่องมือโดยธรรมชาติ นั้น เป็นอย่างไรเล่า? ก็โดยธรรมชาติ อารมณ์หรือเวทนาต่างๆ มันก็ดับไปโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมดาธรรมชาติอยู่แล้ว ธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติ เมื่อไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดทั้งปวง ความคิดทั้งปวงนั้นมันก็ดับไปโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมดาตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว
    เว่ยหล่างจึงแต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า ท่านไม่มีวิธีและเครื่องมือนั้น จึงถูกต้อง

    ( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


    [​IMG]
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 33 วิวาทะเรื่อง ฉับพลับหรือเชื่องช้า[/FONT]

    [FONT=&quot]ผู้เถียง[/FONT][FONT=&quot]: ..............................................[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้ตอบ[/FONT][FONT=&quot]:[/FONT][FONT=&quot]ผมเคยถามพระอาจารย์ ราเชนทร์ อานนฺโท[/FONT]
    [FONT=&quot]ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผมศึกษาความรู้ทางธรรมกับท่าน[/FONT]
    [FONT=&quot]ผมเคยถามท่านว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมในแบบที่ท่านสอนนี้ เป็นคำสอนของพวกสำนักเซนที่บรรลุโดยฉับพลันหรือเปล่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านตอบว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]จะฉับพลัน ได้อย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot]กว่าท่านจะพบ....รสชาติ แห่งธรรมชาติล้วนๆ นี้ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านก็บำเพ็ญเข้าไปทำแบบผิดๆตั้ง[/FONT][FONT=&quot] 9 ปี[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านบอกว่า ไม่เห็นจะฉับพลันตรงใหน[/FONT]
    [FONT=&quot]หากไม่รู้จริง มันก็จะติดอวิชชาตัณหาอุปาทานอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]หากรู้จริงแบบ เข้าใจในธรรมทั้งปวงและแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot]แบบวิธีธรรมชาติตามที่พระองค์กล่าวไว้[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านว่า รู้แจ้งเมื่อไหร่ ก็ หลุดพ้นด้วยธรรมชาติล้วนๆเดี๋ยวนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านว่า ไม่มีเชื่องช้า และ ไม่มีฉับพลัน[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านว่า มีแต่ความเข้าใจ และ มีแต่ความไม่เข้าใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านว่า ทางหลุดพ้นมีทางเดียว คือ ธรรมชาติแห่งธรรมเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ไม่มีสองทาง ไม่มีทางอื่[/FONT]
    [FONT=&quot]จะมีพระพุทธเจ้า อีกสักกี่พระองค์[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ล้วน มาตรัสรู้ เรื่องธรรมชาติแห่งธรรมนี้เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]หนึ่ง ไม่มี สองเป็นอย่างอื่นครับ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลองอ่านบทความธรรมะ[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่อง โสดาบัน สติปัฏฐาน โพชฌงค์ธรรม นิพพาน ที่พระอาจารย์เขียนให้ดี[/FONT]
    [FONT=&quot]บทความทั้ง [/FONT][FONT=&quot]4 เรื่องนี้ น่าจะเป็นหลักที่จะนำไปปฏิบัติได้[/FONT]
    [FONT=&quot]แบบไม่ต้องหาอะไรมาเพิ่มเติมอีกแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]เหมาะสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติธรรมมือใหม่[/FONT]
    [FONT=&quot]และ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]วางอคติลงเสียก่อน น่าจะได้ความรู้ที่ตรงต่อสัจธรรมล้วนๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยรักและห่วงใย[/FONT]

    [FONT=&quot]( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ลูกศิษย์ของผู้เขียนชื่อ นายเมฆ โซะระคุโมะ เคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


    [/FONT]
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2223218/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Track 01.mp3
      ขนาดไฟล์:
      4.2 MB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2012
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 34 วิวาทะเกี่ยวกับอัคคิเวสนะ
    ผู้เถียง : .............................................. ผู้ตอบ : อัคคิเวสนะ เขาปฏิบัติธรรมกันอย่างไร อัคคิเวสนะคือคนโง่บรมโง่ ในสายตาของพระพุทธองค์กระนั้นหรือ
    เพียงพระพุทธองค์ ตรัสว่า เวทนาทั้งหลาย ล้วนมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุข เวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี
    ผมขอถามหน่อย การที่อัคคิเวสนะ ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัส แล้วเข้าใจในธรรมที่ว่า เวทนาทั้งหลาย ล้วนมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
    เพียงความเข้าใจในธรรม ที่เข้าถึงความเป็นธรรมดาธรรมชาติของมัน ที่ว่า เวทนาทั้งหลายก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามสภาพธรรมชาติเป็นธรรมดาของมันเองอยู่แล้ว
    พระพุทธองค์ยังกล่าวต่อว่า อริยสาวก ผู้ได้สดับ แล้ว เมื่อ เห็นอยู่ อย่างนี้
    ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา
    เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี
    ก็คงจะง่ายไปอีกสินะ การปฏิบัติธรรมสมัยก่อน ในยุคพระพุทธองค์ เพียงแค่ ได้สดับฟัง แล้ว เมื่อ เห็นอยู่ อย่างนี้ การบรรลุธรรมแบบนี้ ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาล ก็ล้วนบรรลุธรรมกันมาแบบนี้ทุกดวงจิต มันง่ายไป อย่าเลย เอาที่มันยากๆ ดีกว่า อย่างนั้นหรือ

    ผมบอกแล้ว ไม่มียากไม่มีง่าย มีแต่ ความเข้าใจในธรรม กับ ความไม่เข้าใจในธรรม
    เรื่องของเรื่องอัคคิเวสนะ ก็ง่ายมาแล้ว มันจะฉับพลัน หรือ เชื่องช้า ดีล่ะทีนี้ อัคคิเวสนะ เค้าปฏิบัติธรรมหรือเปล่า การปฏิบัติธรรมของอัคคิเวสสนะ ก็คือ การได้สดับฟังธรรมเพื่อทำความเข้าใจตระหนักชัดในเนื้อหาธรรม และได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรม คือ การที่เห็นอยู่ อย่างนี้
    อ้าวแล้ว สติ สมาธิ ปัญญา ล่ะ ทำไมอัคคิเวสนะเค้าถึง “ ไม่ลงมือแสวงหา ” ก็เพราะว่า การที่อัคคิเวสนะ เข้าใจและเห็นชัด แล้วว่า เวทนาทั้งปวง ล้วนมีความไม่เที่ยงดับไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว
    พระพุทธองค์ยังกล่าวต่อว่า เมื่อเข้าใจเรื่อง ความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาธรรมชาติแล้ว เมื่อรู้แล้ว ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
    ถามว่า สติ สมาธิ ปัญญา อยู่ตรงใหน ทำไมไม่ทำมันขึ้นก่อน
    ก็การที่เข้าใจในธรรมว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยงดับไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาธรรมชาติของมัน แล้วปล่อยให้ธรรมดาธรรมชาติมันคงอยู่อย่างนั้น นั่นแหละ มันก็บ่งบอกอยู่ในตัวอยู่แล้ว ว่า อินทรีย์แห่ง สติ สมาธิ ปัญญา มันทำงานของมันอยู่ เป็นปกติแห่งธรรม เป็นความบริบูรณ์ในธรรม
    สติ สมาธิ ปัญญา เกิดจากการเข้าใจในธรรม แล้วปล่อยให้ธรรมอันเป็นธรรมดาธรรมชาติแห่งความสิ้นไปเสื่อมไปมันคงอยู่ตามสภาพธรรมชาติมันอยู่อย่างนั้น นี่คือการทำ สติ สมาธิ ปัญญา ตามความหมายของพระพุทธองค์
    มิใช่ เกิดจากการที่ เอาความเป็นเรา เข้าไปทำให้มันเกิด เมื่อธรรมอันเป็นธรรมดาธรรมชาติยังคงอยู่ตามสภาพมัน ฉันใดสติ สมาธิ ปัญญา มันก็คงสภาพอินทรีย์แห่งมัน ฉันนั้น
    มันคงยากไปสำหรับ ผู้ที่ไม่เข้าใจในธรรมเลย

    ( วิวาทะนี้ เป็นบทความเก่าที่ผู้เขียนเคยเขียนลงไว้ในเว็บบอร์ดธรรมะแห่งหนึ่ง เป็นการถกเถียงกันในเรื่องวิธีปฏิบัติ )


    [​IMG]





     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 35 ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร

    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน
    การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด
    เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน
    การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ



    - การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ ทำสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันไม่ต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ (การที่จิตซี่งปรุงแต่งขึ้นดับไปเป็นธรรมดา การที่ขันธ์ทั้ง 5 ดับไปเป็นธรรมดา มันก็คือเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิซึ่งคือตัวปัญญา อยู่แล้วนั่นเอง)
    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ" ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป็นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมา มันเป็นการ “ประคอง”สติ ซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ"แห่งสติ ที่แสดงเนื้อหาแห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ (การกำหนด เป็นการเข้าไปศึกษาธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้เราตระหนักชัดถึงลักษณะหน้าตาและความหมายแห่งธรรมนั้นๆ แต่เพียงเท่านั้น )
    -การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน
    การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง
    แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ"
    " เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย "



    [​IMG]


















     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 36 การเข้าไป “เสือก”
    การดับไปเป็นธรรมดา มันเป็นคุณลักษณะ"ธรรมชาติ"ของมันอยู่แล้ว

    ต้องเว้นเสียแบบเด็ดขาด ที่จะเอาความเป็นเรา
    หรือที่จะเอาความสามารถแห่งความเป็นเรา
    เข้าไปกระทำเข้าไปปฏิบัติเข้าไป"จัดแจง"ทุกกรณี
    เพราะการเข้าไป "เสือก" แบบนี้ มันเป็นจิตปรุงแต่งที่ซ้อนเข้าไป
    มันเป็นอวิชชาความปรุงแต่งความหลงในการปฏิบัติตัวหนึ่ง

    ภาวะขันธ์ 5 หรือ ภาวะจิตต่างๆ มันก็ปฏิบัติธรรมแทนเราอยู่แล้วทุกๆกรณี ถ้าคิดว่ามีจิตหรือมีขันธ์เกิดขึ้น
    ก็คือความดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพธรรมชาติของภาวะขันธ์ 5 หรือ ภาวะจิตต่างๆมันเองอยู่แล้ว "นี่ คือ การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง" ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ประสงค์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้

    ควรงดเว้นการปรุงแต่งที่จะทำให้เกิดจิตที่ปรุงแต่งซ้อนเข้ามา ในรูปแบบของโมหะแห่งการหลงเข้าไปปฏิบัติ
    เพราะเหตุที่ว่าการที่ “เข้าไปปฏิบัติ” โดยขัดโดยฝืนต่อกระบวนการธรรมชาติแห่งธรรม ด้วยการเข้าไปจับจ้องจับฉวยจับกุมภาวะ บังคับจิตให้มันอยู่ในความว่างบ้าง บังคับให้ดับตามความต้องการของเราบ้าง เข้าไปนั่งสมาธิเพื่อให้จิตมันสงบบ้าง โดยที่ไม่เข้าใจเลยว่าแท้จริงแล้ว จิตเมื่อมันแปรปรวนดับไป นั่นคือความสงบที่แท้จริงตามธรรมชาติอยู่แล้ว การเข้าไปปฏิบัติธรรมด้วยความไม่เข้าใจในธรรมชาติ ด้วยการปรุงแต่งวิธีปฏิบัติขึ้นมาเองตามความไม่เข้าใจของเรา ด้วยวิธีการต่างๆนาๆ มันไม่ใช่การดับไปเป็นธรรมดาตามธรรมชาติ แต่มันคือการปรุงแต่งทางจิตเอาความ"เป็นเรา" “เข้าไปกระทำ" มันจึงเป็นแค่จิตที่ปรุงแต่งซ้อนเข้ามาแบบไม่รู้ตัว หากปฏิบัติแบบนี้ก็ไม่สามารถพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะเหตุที่ว่าการจับฉวยจับกุมจับจ้องภาวะ มันเป็นการปรุงแต่ง มันเป็นกิเลสละเอียดที่เราสร้างขึ้นมา มันเป็นพฤติกรรมทางจิตอย่างหนึ่งที่คอยปรุงแต่งเพื่อจับจ้องภาวะอยู่ตลอดเวลา

    เปรียบเสมือน เอาวิธีปฏิบัติตามความเข้าใจของเราซึ่งแท้จริงมันเป็นการปรุงแต่งไปไล่ล่า ตามหาธรรมอันไม่ปรุงแต่ง

    ชาตินี้มันก็ไม่นิพพาน


    บทความนี้ เขียนโดย นายเมฆ โซะระคุโมะ (ลูกศิษย์)


    [​IMG]
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 37 หลงปฏิบัติเข้าไปทำมรรค
    มรรคมิได้มีไว้ให้เข้าไปทำเข้าไปเจริญ
    พวกชอบเจริญมรรคเข้าไปทำมรรค สอบตกทั้งนั้น
    มรรคมีองค์ 8 คือ ตัวชี้วัดในความเข้าใจในธรรมของนักปฏิบัติ
    คือ ตัวชี้วัดในการตระหนักชัดและความกลายเป็นเนื้อเดียวกัน กับความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของจิตปรุงแต่งทั้งหลายหรือของขันธ์ 5 เท่านั้น นี่คือมรรค

    มรรคมีองค์ 8 เป็นเพียงธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า การที่ปล่อยให้จิตปรุงแต่งทั้งหลาย หรือ
    ปล่อยให้ขันธ์ 5 ดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่แล้วนั้น มันก็จะทำให้เรามี "ระยะห่าง" จากกองทุกข์
    ระยะห่างนั้นก็คือ เส้นทางแห่งมรรคหรือหนทางที่ออกมาจากกองทุกข์นั่นเอง

    เมื่อปล่อยให้ทุกสรรพสิ่งมัน"นิโรธ"
    มันดับไปเองตามธรรมดาตามธรรมชาติของมัน ตามกระบวนการ ”ธรรมชาติ” ที่ฟื้นฟูตัวมันเอง
    มันก็เป็นหนทางออกจากทุกข์อยู่แล้ว โดยเนื้อหามันนี่คือ "มรรค" อยู่แล้ว
    แค่ปล่อยให้ความคิดดับไป โดยตัวมันเองตามธรรมดาของมัน
    แค่ปล่อยให้ความคิดดับไป ตามสภาพธรรมชาติมันเอง
    ไม่ปรุงแต่งต่อ ไม่เข้าไปสาละวนให้ยืดยาว
    ก็เดินบนมรรคมีองค์แปดแล้ว


    มรรคมีองค์แปด คืออินทรีย์แห่งธรรม
    ที่เกิดจากความเข้าใจใน"ธรรมชาติแห่งธรรม"
    ที่ทุกสรรพสิ่ง(การปรุงแต่ง)ย่อมดับไป
    "ดับไป"โดยตัวมันเองเป็นธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
    ไม่ใช่เข้าไปมรรคทำทีละข้อ จนครบแปดข้อ แล้วเอามารวมกันแล้วค่อยมาพิจารณาเรื่องความดับ
    อย่างนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง การเข้าไปทำมรรคทีละข้อๆนั้น มันล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาว่าจะเข้าไปทำมรรค มันเป็นการเข้าไป “เสือก” ปฏิบัติ ตามความไม่เข้าใจของตน มันฝืนมันขัดต่อระบบธรรมชาติที่มันฟื้นฟูตัวมันเองอยู่แล้ว
    เมื่อตระหนักชัดถึงความดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเอง
    และกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน
    นั่นแหละ คือ มรรคมีองค์แปดแล้ว


    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติและความเป็นธรรมดา แห่งขันธ์ 5
    มันดับไปเอง ให้จิตที่เราปรุงแต่งขึ้นมันดับไปเอง นั่นแหละ คือความเป็นเรา ความเป็นอัตตาคือเรา มันดับไป
    หมายถึงความเป็นปกติแห่ง "การดำเนินบนมรรคมีองค์แปด" แล้ว
    เมื่อขันธ์ 5 ดับ จิต ดับ ก็แสดงว่าอินทรีย์แห่ง สติ สมาธิ ปัญญา
    มันทำหน้าที่มันตามปกติ อยู่แล้ว

    เมื่อจิตที่ปรุงแต่งมันดับไป หรือ ขันธ์ทั้ง 5 มันดับไป แสดงว่า สัมมาสติ มันกำลังทำหน้าที่มันอยู่ แสดงว่า สัมมาสมาธิ มันกำลังทำหน้าที่ของมันอยู่ แสดงว่า สัมมาทิฏฐิ (ปัญญา) มันกำลังทำหน้าที่ของมันอยู่


    มันเป็นอินทรย์แห่งธรรมที่ขับเคลื่อนให้เราออกจากกองทุกข์ ด้วยระบบธรรมชาติที่มันปรับปรุงฟื้นฟูตัวมันเอง
    เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูให้ออกจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เป็นธรรมชาติแห่งการคลายกำหนัด แล้วจะเอาความเป็นเราเข้าไปปฏิบัติอะไรอีก
    ตัวที่เข้าไปปฏิบัตินะ ตัวปรุงแต่งของเราทั้งนั้น
    เนี่ย เค้าเรียกว่า "ติดในการปฏิบัติ"

    ชอบเจริญมรรคมีองค์แปด เหรอ
    มันเท่ากับ เจริญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตัวละเอียดอยู่ร่ำไป
    ติดเจริญมรรค ก็ไม่หมดจด
    มีมรรค ที่ใหนให้เจริญเล่า “ไอ้นี่ กะ ไอ้นั่น และต้องเข้าไปทำไปปฏิบัติไอ้โน่น
    แล้วไอ้นี่ กะ ไอ้นั่น ก็จะหายไป
    แล้วไอ้โน่น ต้องทำให้ได้ตามนี้เท่าไอ้นี่
    แล้ว เอ่อ ไอ้โน่น มันน่าจะคือการหลุดพ้น”
    สรุป ไอ้นี่ ไอ้นั่น ไอ้โน่น คือ การที่ใช้จิต ปรุงแต่ง ทั้งหมด

    บทความนี้ เขียนโดย นายเมฆ โซะระคุโมะ (ลูกศิษย์)


    [​IMG]
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 38 ฌาน คือ ธรรมสำหรับบัวใต้น้ำ
    ฌาน คือ สมาธิความตั้งมั่นในระดับต่างๆที่เอาความเป็นเราเข้าไปทำเป็นอัตตาชนิดหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรื่องฌานไว้ในกรรมฐาน 40 กอง ท่านตรัสเพื่อทรงสอนดอกบัวจำพวกใต้น้ำ คือ หมู่ชนผู้มืดบอดที่ “ ไม่รู้จักความสงบที่แท้จริง ” เพราะความเป็นจริง “จิต” ที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆนั้น ถือว่า เป็นความวุ่นวายอันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งขึ้นมา มันวุ่นวายไปด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน วุ่นวายไปด้วยความหมายแห่งความเป็นตัวตนเป็นอัตตา วุ่นวายไปด้วยความมีเรามีเขามีสิ่งๆโน้นมีสิ่งๆนี้เข้ามา สรุปคือ เป็นความวุ่นวายในความเป็นอัตตาตัวตน ซึ่งมีสภาพเป็นทุกข์
    แต่โดยธรรมชาติแห่งความเป็นสัจธรรมความจริง “จิต” ต่างๆนั้นเป็นธรรมชาติที่มันตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว “ความสงบที่แท้จริง” ก็คือ ความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพธรรมชาติของ”จิต” มันเองนั่นแหละ เป็นความสงบปราศจากภาวะความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ปราศจากภาวะความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ปราศจากภาวะความมีเรามีเขามีสิ่งต่างๆ ปราศจากภาวะความเป็นอัตตา มันเป็นความสงบแท้จริงซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
    แต่หมู่ชนซึ่งเปรียบเสมือนพวกบัวใต้น้ำกลับไม่เข้าใจในความหมายแห่งความสงบที่แท้จริง ไม่สามารถตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นได้ ซึ่งความดับไปตามธรรมชาตินั้นคือความสงบซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน หมู่ชนแห่งบัวเหล่านี้ไม่รู้จักความหมายแห่งความแปรปรวน ไม่รู้จักความหมายแห่งอนิจจังความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่ในทางตรงกันข้ามหมู่ชนเหล่านี้ กลับ“มีแต่ความปรุงแต่งทางจิต และมีความสาละวนในการปรุงแต่งซ้ำๆซากๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งก่อให้เกิดเป็นจิตประเภทต่างๆอยู่ตลอดเวลา และไม่มีปัญญาพอที่จะตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปของจิตนั้นได้ สาละวนปรุงแต่งจนกระทั้งเกิด “ภาวะอุปสรรค” เข้ามากีดกั้นปิดบังไม่ให้รู้ไม่ให้เข้าใจไม่ให้ตระหนักชัดในธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นความสงบที่แท้จริง พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการปรุงแต่ง ซ้ำๆซากๆ ที่กลายเป็นจิตประเภทนี้ไว้ 5 ชนิด คือ นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่

    1.กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
    2. พยาบาท ความไม่พอใจ ความคับแค้นใจ ความอาฆาตปองร้าย
    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่ายตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
    เมื่อรอบปัญญาบารมียังไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจและตระหนักชัดในเนื้อในเนื้อหาแห่งความแปรปรวนดับไปสิ้นไปของจิตทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวข้างต้นได้ พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนบัวเหล่าใต้น้ำนี้ท่านทรงแนะนำ “ อุบาย” อันจะช่วยทำให้ “หันเห” ความสนใจหันเหจากพฤติกรรมทางจิตที่ปรุงแต่งต่างๆนาๆจนเป็นอุปสรรคทำให้ไม่รู้จักไม่เข้าใจในความอนิจจังสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิต “หันเห” มาสู่จุดใดจุดหนึ่งในองค์ภาวนาในประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ถึง 40 กอง และให้ตามเพ่งอยู่ตรงจุดนั้นจนกว่าจะเกิด “ภาวะอัตตาอันประณีต” เช่นอาการวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา คือ จิตเพ่งตรงนั้นจนไม่ไปใหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมันทำให้หันเหจากพฤติกรรมที่ชอบปรุงแต่งเป็นจิตประเภทต่างๆที่มันเป็นอุปสรรคได้อย่างดี เมื่อหันเหมาสู่ภาวะอัตตาอันประณีตที่เรียกว่า องค์ฌาน มันก็กลายเป็นจิตอันประณีตอยู่ตรงนี้แบบชั่วคราวแต่เมื่ออำนาจฌานหมดไปหายไป หมู่ชนเหล่านี้ซึ่งเคยมีพฤติกรรมปรุงแต่งทางจิตไปต่างๆนาๆตามความเคยชิน ก็จะกลับไปปรุงแต่งอีกเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้หมู่ชนเหล่านี้ทำสมาธิในลักษณะฌาน เมื่อเกิดภาวะจิตปรุงแต่งอันประณีตในองค์ฌาน เมื่อจิตมีความ “รำงับ” จากความวุ่นวายชั่วคราวแล้วก็ควรรีบมาศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องอริยสัจจ์ เรื่องการแก้ไขปัญหาแบบตรงประเด็น คือการปฏิบัติตรงแบบอุชุปฏิปันโน แบบความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันคือความสงบนั้น
    แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจเนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งสามารถตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตประเภทต่างๆได้ซึ่งถือว่าหมู่ชนเหล่านี้เปรียบเสมือนบัวปริ่มน้ำ บุคคลเหล่านี้ได้ลิ้มรสชาดแห่งความสงบทางจิตที่แท้จริงได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องเข้าไปทำกรรมฐานใน 40 กอง เพื่อให้เกิดความปรุงแต่งเป็นจิตอันประณีตในองค์ฌานเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาบดบังพระนิพพานและทำให้เกิดความลำบากกายทรมานกายขึ้นมาอีก



    กรรมฐาน 40 กองมีดังนี้
    - กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง แบ่งเป็น
    ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แสงสว่าง กสิณสีแดง กสิณเขียว กสิณสีขาว กสิณสีเหลือง

    -อสุภกัมมัฏฐาน 10 อย่าง
    อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายขึ้นบวมพอง ขึ้นอืด
    วินีลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว ปะปนคน สีแดงในที่มีเนื้อมาก สีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก สีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุม ร่างของผู้ตายส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยผ้า สีเขียวจึงมากกว่า ดังนั้นจึงเรียกว่า วินีลกะ แปลว่าสีเขียว
    วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    วิฉิทททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาดออกจากกัน
    วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
    วิขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย
    หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลอออกเป็นปกติ
    ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    อัฏฐกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก
    - อนุสติ 10 คือ
    พุทธานุสสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงพระธรรม คำสอน
    สังฆานุสสติ - ระลึกถึง คุณพระสงฆ์
    ศีลานุสสติ - ระลึก ถึงผู้มีศีล
    จาคานุสสติ - ระลึกถึงคุณความดีของการให้
    เทวตานุสสติ - ระลึกถึงความดีของเทวดา
    มรณานุสสติ - ระลึกถึงความตาย
    กายคตานุสสติ - ระลึกถึงร่างกายเราเป็นของสกปรกไม่มีอะไรดี
    อาณาปานุสสติ - ระลึกถึงลมหายใจของเรา
    อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงอารมณ์พระนิพพาน
    -พรหมวิหาร 4
    -อรูปฌาน 4
    -อหาเรปฏิกูลสัญญา - พิจารณาว่าอาหารเป็นของเหม็นเน่าเหมือนร่างกาย
    - จตุธาตุววัฏฐาน 4 พิจารณาการเกิดของสังขาร คือเป็นการประชุมของ ธาตุทั้ง 4


    [​IMG]
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 39 สัมมาสมาธิ
    การที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 สิ้นไปดับไปเป็นธรรมดานั้น มันเป็นเนื้อหาแห่ง “ มรรคมีองค์ 8” อยู่แล้ว ซึ่งมันประกอบไปด้วยอินทรีย์ธรรมแห่ง สัมมาสมาธิอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น “สัมมาสมาธิ” มันจึงเป็น “ธรรมชาติแห่งความตั้งมั่น” ตั้งมั่นในความดับไปเป็นธรรมดาแห่งจิตต่างๆแห่งขันธ์ทั้ง 5 เมื่อจิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 มันดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองมันก็บ่งบอกความหมายที่แสดงถึง “ไม่มีความเป็นเรา” “ความเป็นเราดับไป” ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกเข้าไปทำ “สัมมาสมาธิ”ได้
    เพราะฉะนั้นสัมมาสมาธิจึงไม่ใช่การเข้าไปทำ ไม่มีการเข้าไปฝึกเข้าไปทำ การเข้าไปทำสัมมาสมาธิล้วนเป็นความไม่เข้าใจในธรรมและเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง อีกทั้งสัมมาสมาธิไม่มีการเข้าและการออกเหมือนองค์ฌาน ที่มีลำดับในการเข้าไปในระดับของสมาธิในภาวะแห่งอัตตาอันประณีตนั้น เช่น เข้าไปในภาวะวิตกวิจารณ์ ปีติ สุข และเป็นภาวะหนึ่งเดียวที่ไม่ไปใหนไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากองค์ภาวนาคือจิตรวมเป็นอาการหนึ่งเดียวในลักษณะจิตจดจ่ออยู่อย่างนั้น เรียกว่า เอกคัตตา และสามารถออกมาจากภาวะฌานดังกล่าวได้

    “จงฟังโศลกแห่งสมาธิธรรมชาติ”
    ธรรมชาติของสมาธิ ไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก
    ไม่มีทั้งความเงียบ และ ไม่มีทั้งความวุ่นวาย ไม่มีทั้งสภาวะธรรมคู่แห่งการปรุงแต่ง
    ธรรมชาติของสมาธิ ไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่
    ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้ มันเป็นธรรมชาติแห่งความสงบตลอดกาล
    ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา
    อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น
    ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม

    ธรรมชาติแห่งสมาธิ มันเป็นอาการที่นิ่งแต่เคลื่อนไหวได้ มันเป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วย สติและปัญญา มันจึงทำหน้าที่ตามธรรมชาติแห่งความตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน กินข้าว ล้างหน้า แปรงฟัน ขับรถ ทำงาน คุยกับเพื่อน ดูทีวี อ่านหนังสือ

    และสมาธิธรรมชาตินี้ ไม่มีความเป็น “เรา” จะเข้าไปจับฉวยจับกุม เพื่อวัดขนาดความเข้มข้นระดับชั้นมันได้ มันเป็นเพียงธรรมชาติอันตรงแน่วในความไม่มีไม่เป็นเท่านั้น

    สมาธิธรรมชาติ มันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ หน้าที่ ที่เป็นความตั้งมั่นแห่ง “ความกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน” กับความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น


     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 40 สัมมาสติ
    ในส่วนธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสถึง “สติ” ในธรรมอันคือสติปัฎฐาน ท่านทรงตรัสไว้ในหมวดกายานุปัสนาสติว่า “เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน และความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ”

    ในส่วนพิจารณาอริยบทนี้ พระพุทธองค์มีความประสงค์ให้เราเรียนรู้ถึงสภาพธรรมอันคือการระลึกรู้แบบถ้วนทั่วซึ่งมันคือ สติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึง “ลักษณะความเป็นไป” ในอินทรย์แห่ง สัมมาสติ
    เพราะฉะนั้นการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อฝึกสติ มันจึงเป็นเพียง "สติสัมปัชชัญญะ" เป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจธรรมในลักษณะที่เป็น “การระลึกรู้แบบถ้วนทั่ว” เป็นการเอา “ความเป็นเราเป็นอัตตาตัวตน” เข้าไปฝึกเข้าไปทำ แต่ทั้งนี้เป็นพุทธะประสงค์ให้เรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึงลักษณะความเป็นไปในอินทรย์แห่งสัมมาสติ ในภายภาคหน้าเท่านั้น พึงเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า การฝึกสติสัมปัชชัญญะ ในอริยบทต่างๆเหล่านี้ยังไม่ใช่สัมมาสติแต่อย่างใด

    สัมมาสติ เป็น "ธรรมชาติแห่งการรู้ในการที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 นั้นดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติมันเอง"
    จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกทำได้ เพราะมันเป็นอินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากความดับไปเป็นธรรมดา จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 เมื่อมันดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา แสดงว่า "ไม่มีความเป็นเรา" “ความเป็นเราดับไป” และจะเอาความเป็นเราไปฝึก "สัมมาสติ" ได้ที่ใหนกัน

    สัมมาสติ คือ"การที่รู้แบบธรรมดาธรรมชาติ"ว่าความคิดนั้นล้วนไม่เที่ยง ดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ
    ไม่ใช่เป็นการเอาจิตไปปรุงแต่งขึ้นมาอีกชั้นหนี่ง "เพื่องัดตัวสติ" ขึ้นมา สัมมาสติ ก็คือ สติที่มีเองทุกขณะ
    โดยไม่ต้องออกแรงตั้งใจให้มีสติ
    และมีอยู่เองโดยไม่มีความต้องการที่จะให้มีสติ
    เพราะเห็นว่าสตินั้นมีประโยชน์ การเอาสติไปตั้งเพื่อคอยจ้องดูความคิด การตั้งสติแบบนี้
    การเข้าไปจัดแจงเพื่องัดและดึงตัวสติขึ้นมา
    เป็นการปรุงแต่งในธรรม เป็นการปรุงแต่งในรายละเอียดในวิธีปฏิบัติ มันไม่ใช่สัมมาสติ แต่มันเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานตัวหนึ่งเลยทีเดียว เพราะขันธ์ 5 ไม่ดับ แต่กลับเข้าไปยึดขันธ์ 5 ให้กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นอวิชชาอันละเอียด
    มันเป็นได้แค่สติสัมปัชชัญญะ ไม่ใช่สัมมาสติ

    การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำทีละขั้นทีละตอน เช่น การฝึกสติสัมปัชชัญญะด้วยการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง การฝึกสติสัมปัชชัญญะดังกล่าวนี้จึงเป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชา ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น มิใช่เส้นทาง “ธรรมชาติ” อันคือธรรมชาติแห่งสติ หรือ สัมมาสติ แต่อย่างใด

    แต่ถ้าเราพึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งอิริยาบทของร่างกาย และอริยาบทที่เกิดขึ้นของร่างกายก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในอริยบทเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากอริยบทเดิมนั้น “ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนกายานุปัสสนาสติแห่งอริยบทแบบนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา
    ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราว มีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา การละทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมาตรงนี้ได้ คือ สัมมาสติ



    เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ว่า
    มันว่างเปล่าตามธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
    มันก็บ่งบอกว่า อินทรีย์ แห่ง สติ หรือ สัมมาสติ มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วเช่นกัน




    [​IMG]



     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 41 การปรุงแต่ง “เพื่อรักษาจิต”
    ความเป็นจริงแล้วหัวใจหลักที่เป็นคำสอนแห่งพระพุทธศาสนานั้น คือ ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันคือความไม่ใช่ตัวไม่ตนแบบถ้วนทั่วของมันอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะเกิดขึ้นและไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะดับไป มันล้วนแต่เป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่เป็นความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากบุคคลใดมีความไม่เข้าใจในคำสอนอันเป็นหลักธรรมอันแท้จริงข้อเดียวนี้ และยังเข้าไปหลงด้วยอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ก่อให้เกิดเป็นจิตปรุงแต่งเป็น “ความมีตัวตนอัตตา”เกิดขึ้น เมื่อยังไม่เข้าใจในธรรมชาตืที่แท้จริงและยังหลงเห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระพุทธองค์ก็จะทรงชี้แนะว่า “สิ่งที่เห็นนั้นล้วนมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้มานานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว”
    แต่ถ้าบุคคลนั้นยังไม่เข้าใจและไม่สามารถตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งความแปรปรวนเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่งที่เห็นว่ามัน “เกิดขึ้น” แล้วได้ พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนบุคคลเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจในธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนด้วยการแนะนำให้เข้าไปฝึกทำกรรมฐาน 40 กองตามจริตที่ตนเองชอบ เพื่อให้เกิดจิตอันประณีตปราศจากความวุ่นวายแห่งการปรุงแต่งเป็นตัวตนแบบซ้ำๆซากๆ เมื่อจิตสงบอันเกิดจากการเข้าไปทำกรรมฐานปราศจากการปรุงแต่งชั่วคราวแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้น้อมนำธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนมาพิจารณาถึงเนื้อหาและความหมายของมันว่าเป็นเช่นไร
    แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลซึ่งเปรียบเสมือนบัวใต้น้ำอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าไปทำกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบลงได้และไม่สามารถทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆหรือของขันธ์ทั้ง 5 ได้เลย พระพุทธองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะโปรดสัตว์ผู้มีปัญญาอันมืดบอดเหล่านี้ โดยท่านทรงชี้แนะสอนให้สรรพสัตว์พวกนี้ “ปรุงแต่งจิต” เพื่อให้รักษาจิตไปในทางกุศลกรรมอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เรียนรู้เรื่องภพชาติเรื่องกฏแห่งกรรมที่จะทำให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เลือกที่จะปรุงแต่งจิตไปในทางกุศลกรรมเพื่อเลือกที่จะ

    ประกอบกรรมดีให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เป็นการสอนเพื่อให้เข้าไปปรุงแต่งรักษาจิต เป็นการสอนเพื่อให้เกิดความสำรวมระวังจิตมิให้ปรุงแต่งจิตไปในทางอกุศลกรรมไปในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ทั้งนี้เป็นพุทธประสงค์เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ไม่ตกไปสู่ภพภูมิที่ลำบากเมื่อละขันธ์ 5 ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เข้าไปกระทำปรุงแต่ง เช่น ให้รักษาศิลต่างๆ ให้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ให้มีความสงบเสงี่ยมแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ แบบสวยงามเหมาะสมลงตัวในมาตรฐานความดีในสังคมนั้นๆ แนะนำให้ให้สละทรัพย์เพื่อบริจาคทาน แนะนำให้เคารพและเลี้ยงดูบำรุงบิดา มารดา แนะนำให้เคารพผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์ แนะนำให้คบหาแต่บัณฑิต เหล่านี้เป็นต้น
    แต่สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาที่สามารถตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้เปรียบเสมือนเป็นบัวปริ่มน้ำนี้ย่อมเข้าใจและเห็นชัดว่า จิตที่ปรุงแต่งไปในทางกุศลกรรมเหล่านี้ข้างต้น มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาอยู่เองแล้วตามสภาพธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตอันเป็นกุศลกรรมเหล่านี้เพื่อที่จะส่งผลให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์ขึ้นมาอีก พวกเขาสามารถตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของจิตอันเป็นกุศลต่างๆเหล่านี้ได้

    ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม ผู้ที่มีความตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน กับธรรมอันคือธรรมชาติ การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น



    [​IMG]















     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 42 จักรวาลไม่มีอยู่จริง
    วันๆหนึ่งเราท่านต่างทำงานเพื่อแลกปัจจัย(เงิน) เพื่อนำปัจจัยไปแลกอาหาร เพื่อนำอาหารไปบริโภค บริโภคเพื่อเลี้ยงเซลล์อันเป็นองค์ประกอบหลักของอวัยวะต่างๆของร่างกาย พอเซลล์ตายกายดับ เราหรือท่านต่างก็ไม่มี จริงๆแล้วชีวิตมนุษย์เราต้องการแต่เพียงอาหารและน้ำเพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้ผ่านพ้นไปวันๆเท่านั้น ปัจจัยอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ได้มีความสำคัญอันใดต่อการมีชีวิตอยู่ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาได้ด้วยเหตุผลของกรรม การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพื่อให้เราเข้าใจในธรรมชาติของกรรม เมื่อเข้าใจแล้วก็หันหลังให้มันซะแล้วไม่ต้องหันไปมองมันอีก วิธีที่จะทำให้เข้าใจในกรรมแห่งการเกิดนั้นคือ ไม่สงสัยในกรรม ไม่ว่ากรรมจะเป็นเช่นไรจะเป็นไปในทิศทางใด หรือเราจะต้องชดใช้กรรมหรือไม่ เมื่อหยุดสงสัยมันได้แล้วคุณก็จะเข้าใจกรรมว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าสงสัย สงสัยไปก็เปล่าประโยชน์เพราะมันไม่มีคำตอบ จริงๆแล้วการได้เกิดมาเป็นมนุษย์คุณควรที่จะสงสัยในสิ่งที่มีคำตอบและมันเป็นประโยชน์กับชีวิตมนุษย์มากที่สุด คือ ความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนที่นำความผาสุกให้แก่ชีวิตมนุษย์ไปตลอดตั้งแต่ยังมีลมหายใจจนถึงหมดลมหายใจไปแล้ว มันคือความสุขที่เป็นนิรันดร์ สภาวะแห่งความว่างนั้นเป็นเพียงสภาวะธรรมดาๆ ที่มีอยู่ตลอดเวลา มีอยู่ทุกสถานที่ทุกหนแห่ง เป็นสภาวะที่มันเป็นของมันเองตามธรรมชาติในจิตใจของมนุษย์ มันเป็นโดยสภาพของตัวมันเองโดยที่ไม่มีวิธีการใดๆจะทำให้มันเกิดได้ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในเราตลอดเวลา พระตถาคตท่านได้คิดวิธีต่อหลายวิธีที่จะทำอย่างไรให้ได้พบกับความสุขอันเป็นนิรันดร์ ความสุขที่ว่าคือทำอย่างไร จะไม่ให้เกิดทุกข์อีก ทั้งที่ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกขเวทนาทั้งสิ้น และวันหนึ่งท่านก็ค้นพบคำตอบแห่งการพ้นทุกข์และท่านได้สรุปให้เราสั้นๆว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเองเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นย่อมดับลงไปเองเป็นธรรมดาอีกเช่นกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีวิธีปฏิบัติ เพราะถ้าหากว่ามันต้องมีวิธีปฏิบัติ แล้วตถาคตท่านจะบอกทำไมว่า มัน

    เกิดขึ้นเองและดับลงไปเองเป็นของธรรมดา ในเมื่อมันเกิดขึ้นเองและดับลงเองเป็นของธรรมดา ในเมื่อมันเกิดขึ้นเองและดับลงเองก็ไม่จำเป็นจะต้องมีวิธีที่จะต้องทำให้มันดับลงไปตามความต้องการของเรา ธรรมชาติแห่งความดับไปมันเป็นของมันอย่างนี้มานานแล้ว ถึงจะไม่มีใครหรือสิ่งใดมาเป็นเหตุหรือปัจจัย มันก็เป็นความดับไปเป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
    สภาวะจิตก็เช่นกัน วันๆหนึ่งมีการเกิดขึ้นของความคิดและดับลงไปเองวันละหลายๆครั้ง และมันก็ดับไปเป็นธรรมดาของมันเอง ไม่มีใครสามารถเข้าไปบังคับให้มันดับไปได้ หากเป็นเช่นนั้นก็ต้องมานั่งนับความเกิดดับของจิตอยู่ตลอดเวลา มันจะเป็นเช่นไรก็อย่างนั้นแหละ มันไม่มีอะไรให้ต้องเข้าถึงกับอะไร มันเป็นเพียงความเข้าใจในธรรมชาติของสภาวะแห่งความว่างเท่านั้นว่าสภาวะความว่างเป็นอย่างไร เพราะทุกสิ่งที่เห็นว่ามีอยู่จริง แต่อันที่จริงทุกๆสิ่งจริงๆนั้นไม่มี ในโลกนี้มีแต่ของมายา มีแต่ของสมมุติ แม้กระทั้งตัวเราเองก็สมมุติ ก็แม้กระทั้งตัวเราเองยังไม่มีแล้วทุกสิ่งจะมีได้อย่างไร สิ่งที่มีอยู่จริงก็คือความว่าง จักวาลนี้ประกอบไปด้วยดาวเคราะห์ต่างๆ โลก อุกาบาต และอื่นๆ ทุกๆสิ่งในจักรวาลนี้ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกับความว่าง หากคุณเข้าใจว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งแห่งความว่างแล้ว คุณจะรู้ว่าจริงๆแล้ว จักวาลนี้ก็ไม่มีอยู่จริง

    บทความนี้
    เขียนโดย นางดวงฤทัย(แตง) วงศ์สูงเนิน (ลูกศิษย์)


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2012
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 43 มรณสติ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐชื่อ
    นาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืนเวียนมาย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนสิ้นไป กลางวันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้
    ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าถูกไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ





    [​IMG]


     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 44 อวิชชาแห่งการตามรู้ตามดูจิต

    โดยกฎธรรมชาติ มันย่อมไม่มีไม่เป็นอยู่แล้ว มันคือความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น แต่การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนธรรมถึงสติปัฏฐานนั้นเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ท่านทรงอนุเคราะห์บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่เข้าใจและไม่สามารถเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันคือธรรมชาติข้างต้นได้ หมู่สัตว์พวกนี้ยังเห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่เนืองๆด้วยอวิชชาความไม่รู้ของตนนั้นที่พาเข้าไปยึด พระพุทธองค์จึงทรงแจกแจงธรรมไว้ในสติปัฏฐานถึง 4 หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยเป็นพุทธประสงค์ให้เข้าไปเรียนรู้ถึงสภาพแห่งทุกข์ ต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ และความดับทุกข์ได้ตามวิธีธรรมชาติ
    เมื่อเราได้ศึกษาถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีแล้วนั้น เราย่อมทราบได้ว่าความจริงแล้วโดยสภาพธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 แท้จริงมันไม่มี มันไม่เกิดมันไม่ดับ มันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากเกิดขันธ์ 5 ขึ้น (เพราะด้วยความที่ยังมีอวิชชาอยู่สภาพแห่งขันธ์ยังไม่ไปสู่ความดับสนิทไม่มีเหลือ) แต่ไม่มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์แห่งเวทนาทั้งหลาย พระพุทธ-องค์ก็ทรงตรัสไว้ในหมวดเวทนานุปัสนาสติว่า เมื่อไม่มีการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายเหล่านี้ย่อมดับไปเองเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติมันอยู่แล้ว และยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายจนกลายเป็นจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาในลักษณะเป็นจิตต่างๆ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ในหมวดจิตตานุปัสสนาสติว่า จิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆเหล่านี้ ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติมันเองอยู่แล้วเช่นกัน
    หากไล่เรียงตามข้อความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าแท้จริงไม่มีขันธ์ทั้ง 5 เกิดขึ้นด้วยซ้ำ มันคือสภาพธรรมแห่งความว่างเปล่าที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นตลอดถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุ แต่เมื่อเราไม่สามารถตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันได้ มันก็เป็นปรกติที่อวิชชาความไม่รู้ที่เรายังมีมันอยู่ มันย่อมทำให้เกิดการเห็นว่า “ขันธ์ทั้ง 5 มันเกิดขึ้น” และบางทีก็มีการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อยู่เนืองๆ ตามลักษณะอนุสัยพฤติกรรมการปรุงแต่งของแต่ละคน เพราะฉะนั้น การที่เรายังไม่สามารถเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความว่างเปล่าจากความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบถ้วนทั่วได้ พระพุทธองค์จึงทรงชี้แนะว่า “ถ้าเผลอหลงลืมสติ” เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตขึ้นมาประเภทใด จิตนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วเอง เป็นการที่พระองค์ทรงชี้แนะให้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่ว่า ปรกติขันธ์ทั้ง 5 ดับอยู่แล้ว มันว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว และถ้ามีเหตุปัจจัยเผลอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา สิ่งที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว



    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมที่แท้จริงควรดำเนินไปในเนื้อหาความเข้าใจที่ว่า แท้จริงมันไม่มีอะไรกับอะไรอยู่แล้ว มันคือความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นพื้นฐานแห่งความเข้าใจขั้นต้น และถ้าหากเผลอและหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุปัจจัยแห่งการเผลอนี้ จึงควรระลึกรู้ตามธรรมชาติว่า สิ่งที่เข้าไปยึดนั้นมันดับไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าหากเราเข้าใจแบบผิดๆว่าเราจะต้องปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานความคิดที่ว่า มีความเป็น “เรา” อยู่ตลอดเวลาเพราะเรายังไม่หลุดพ้น เรามีกิเลสมีความเป็นอัตตาตัวตนอยู่เต็มหัวใจและเราควรปฏิบัติธรรมเพื่อเอาความเป็นตัวตนแห่งเราออกไป มันจะเกิดพฤติกรรมทางจิตขึ้นมาอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ความตั้งใจความมีเจตนาที่จะคอยตามรู้ตามดูจิต เข้าไปตั้งท่ารอคอยเพื่อตามรู้ตามดูจิตขึ้นมาแบบเอาเป็นเอาตาย การเข้าไปแบบนี้มันเป็นการสร้างระบบวิธีปฏิบัติขึ้นมาอีกต่างหากตามความไม่เข้าใจของตนเอง ซึ่งมันไม่ใช่และขัดต่อธรรมชาติ การตั้งหน้าตั้งตาเพื่อคอยตามรู้ตามดูจิต มันคือ การปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตชนิดหนึ่งที่ปรุงแต่งซ้อนเข้ามาแบบไม่รู้ตัวชนิดเส้นผมบังภูเขา (อวิชชาซ้อน) มันคืออวิชชาความไม่รู้ที่พาให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในความเข้าใจผิดที่เราสร้างระบบปฏิบัติขึ้นมาซึ่งขัดต่อธรรมชาติมันเป็นอัตตาซ้อนเข้ามาแบบไม่รู้ตัว
    พระพุทธองค์ท่านมีความประสงค์ให้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ ตามเหตุ ตามปัจจัย เท่านั้น มิใช่เข้าไปสร้างความเป็น “เรา” เป็น “อัตตา” ขึ้นมาแบบไม่รู้ตัวเพื่อเข้าไปจัดแจงตามรู้ตามแก้ไขจิต ซึ่งการเข้าไปในลักษณะนี้มันขัดมันฝืนต่อธรรมชาติ มันไม่ใช่ธรรมชาติ และ “การเข้าไป” นั้นมันก็กลับเป็นอุปสรรคมาขวางกั้นพระนิพพานเพราะการเข้าไปมันคือลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นการปรุงแต่งเป็นจิตชนิดหนึ่งขึ้นมา จิตชนิดนี้ มันชื่อว่า “จิตแห่งการเข้าไปตามรู้ตามดู” นั่นเอง



    [​IMG]


















     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2012
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 45 อวิชชาซ้อน

    อวิชชาซ้อน คือ อวิชชาอันเป็นความไม่รู้นั่นเองที่ปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังพระนิพพานมิให้เกิดขึ้น เมื่อเราไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้แล้วอันคือธรรมชาติแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือ ไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งความหยุดคิดโดยสมบูรณ์ ไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวใช่ตนแบบตลอดสายถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว เมื่อไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่ง “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” เหล่านี้ ซึ่งไม่สามารถกระทำให้มันเกิดขึ้นได้ตามความต้องการของเรา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องใช้การแสวงหาแล้วจึงจะพบมัน ซึ่งมันเป็นเพียงเราต้องทำความเข้าใจในความหมายโดยต้องตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันเท่านั้น อวิชชาความไม่รู้ของเราก็เลยพาปรุงแต่งเป็นจิตในเรื่องที่จะเข้าไปจัดการ เข้าไปตรวจสอบ เข้าไปรอคอย เพื่อที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้พระนิพพานเกิดขึ้นตามความต้องการและตามความไม่เข้าใจของตนเอง ลักษณะของจิตที่ปรุงแต่งแบบนี้เป็นลักษณะของอวิชชาที่ปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังธรรมชาติดั้งเดิมแท้ เป็นลักษณะจิตที่ปรุงแต่งในวิธีที่จะเข้าไปทำทุกวิถีทางตามความเข้าใจผิดของตนเพื่อให้พระนิพพานเกิด

    -เมื่อยังไม่เข้าใจในสมุทเฉทคือการตัดประหารอาสาวะกิเลสได้โดยเด็ดขาด
    -เมื่อยังไม่เข้าใจในวิชชาคือความรู้แจ้งทั้งปวง
    -เมื่อยังไม่เข้าใจในวิมุติคือการหลุดพ้น
    -เมื่อยังไม่เข้าใจว่านิพพานคืออะไร
    เมื่อไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งการพลุดพ้นอย่างแท้จริง จิตก็จะปรุงแต่งไปในทาง "คิดว่าต้องทำอย่างนี้อย่างนั้นเพื่อให้พระนิพพานเกิด คิดว่ากิเลสตัวนี้ตัวนั้นได้เบาบางลงไปได้คลายกำหนัดจางหายไปและยังเหลือกิเลสอีกเท่าไหร่ที่จะต้องเข้าไปจัดการทำลายให้สิ้นซาก คิดว่าเมื่อไหร่จะนิพพาน คิดว่าเดี๋ยวมันก็จะคลี่คลายไปเองเดี๋ยวนิพพานก็เกิด คิดว่าเรายังไม่หลุดพ้นต้องทำความเพียรเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้นิพพานเกิด"
    จิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเป็นความคิดเหล่านี้มันก็ล้วนเป็นอวิชชา
    ตัณหาอุปทาน เป็นจิตชนิดหนึ่งซึ่งปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังสัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบถ้วนทั่วยู่แล้วโดยตัวมันเอง มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น จิตปรุงแต่งซึ่งคืออวิชชาที่ซ้อนเข้ามานี้มันก็ตกอยู่ภายใต้กฏธรรมชาติที่มันก็ล้วนไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เมื่อเป็นธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาแห่งอวิชชาซ้อนและได้ตระหนักชัดถึงความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้แล้ว นิพพานก็จักปรากฏแสดงเนื้อหามันเองตามสภาพธรรมชาติมันเองอยู่แล้ว
    อวิชชาซ้อนนั้นล้วนบังพระนิพพานทั้งสิ้น ยิ่งปรุงแต่งหาหนทางแห่งพระนิพพานมากเท่าไร พระนิพพานซึ่งเป็นธรรมชาติอันแท้จริงก็ยิ่งห่างหายไปทุกทีๆ




    [​IMG]







     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 46 ไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องง่าย
    ในสมัยพุทธกาล การบรรลุธรรมของเหล่าอริยชนทั้งหลายในยุคนั้นใช้เวลาพิจารณาทำความเข้าใจธรรมเพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมนั้นแตกต่างกันไป แต่ธรรมที่พระพุทธองค์นำมาตรัสสอนแก่เหล่าอริยชนทั้งหลายนั้นล้วนเป็นธรรมที่มีเนื้อหาเดียวกันในการชี้ทางไปสู่ความไม่ใช่ตัวใช่ตนทั้งสิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนที่จะทำความเข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสได้กระจ่างแจ้งมากน้อยแค่ใหน บางคนก็ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยแล้วบรรลุธรรมต่อหน้าพระพุทธองค์ก็มี บางคนก็ใช้เวลาเพียง 3 วัน 7 วัน บางคนก็ใช้เวลาเป็น 1 เดือน 3 เดือนบ้าง บางคนก็ใช้เวลาเป็นปีหรือทั้งชีวิต บางคนก็ไม่สามารถทำความตระหนักชัดในชาตินี้ได้เลย ต้องรอทำความเข้าใจในเรื่องธรรมอันคือธรรมชาติแบบข้ามภพข้ามชาติ
    เนื้อหาธรรมในสติปัฏฐานนั้นเป็นธรรมที่ท่านทรงตรัสไว้โดยรวมเพื่อให้ทุกคนพิจารณาธรรมนั้นๆ ตามอินทรีย์แห่งปัญญาของแต่ละคนที่จะสามารถทำความเข้าใจได้มากน้อยแค่ใหน บางคนสามารถทำความเข้าใจตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมได้อย่างรวดเร็ว บรรลุได้แบบฉับพลัน แต่ถ้าหากเราเป็นผู้มีปัญญามืดบอดไม่สามารถทำความเข้าใจในข้ออรรถข้อธรรมได้รวดเร็วเหมือนเช่นบุคคลที่เขามีปัญญามากกว่า เราเองก็อย่าได้ไปคิดตำหนิเขาในทำนองที่ว่า เขาคงมีความหลงหรือโมหะในการปฏิบัติธรรมเพียงเพราะเขาปฏิบัติธรรมได้ลุล่วงเร็วเกินไป และก็อย่าได้เอาตนเองเป็นมาตรฐานว่าเราพิจารณาธรรมมานานมากเพียงใด บุคคลอื่นก็ต้องใช้เวลาพิจารณาธรรมทำความเข้าใจนานเหมือนเราเฉกเช่นเดียวกัน
    ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสนั้น คือ สัจธรรมแห่งความเป็นจริงในความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ท่านทรงตรัสธรรมไว้ตรงตามเนื้อหาธรรมแห่งธรรมชาติแล้ว ท่านทรงตรัสไว้ตรงทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและบั้นปลายแห่งธรรมนั้น มันจึงมิใช่เรื่องยากหรือเรื่องง่ายที่เราจะปฏิบัติธรรมให้ลุล่วงได้ แต่มันเป็นเรื่องที่เราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาธรรมนั้นต่างหาก หากเราไม่เข้าใจในธรรมเราก็จะคิดสาละวนต่อไปว่าการปฏิบัติธรรมมันเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญแล้วก็เกิดความท้อใจ แต่ในความเป็นจริงเราอาจจะบกพร่องในส่วนที่เราศึกษาธรรมขั้นพื้นฐานมาไม่ดีพอไม่ครบองค์ประกอบแห่งความรู้เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ เมื่อเกิดความประมาทในการศึกษาธรรมมาแบบน้อยนิดแล้วก็ลงมือปฏิบัติธรรมแบบผิดๆ การปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่เข้าใจในธรรมทุกส่วนมันจึงกลายเป็นอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นมาแก่นักปฏิบัติเองและอาจเกิดความท้อใจที่ปฏิบัติแบบผิดๆแล้วไม่ได้ผล จนกระทั้งหันหลังทิ้งการศึกษาและเลิกปฏืบัติธรรมไปในที่สุด แต่ถ้าหากเราเกิดความเข้าใจในธรรมในทุกขั้นตอนในทุกส่วนแห่งความจำเป็นที่ต้องเข้าไปศึกษาให้ครบองค์ประกอบแห่งความรู้ มันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ “ง่าย”เกินไปอีกเช่นกันแต่มันคือความเข้าใจในธรรมที่เกิดจากปัญญินทรีย์ของเราที่ใช้เวลาไม่นานในการพิจารณาธรรมต่างหาก เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมมันจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของความยากหรือความง่าย แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจหรือความไม่เข้าใจในธรรมเพียงเท่านั้น

    การปฏิบัติธรรมของผู้ที่พึ่งเริ่มปฏิบัติ ส่วนใหญ่เมื่อเข้าใจและตระหนักชัดเรื่องความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็จะเริ่มระลึกรู้ตามธรรมชาติ “ตามเหตุปัจจัย” แห่งการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาของจิตประเภทต่างๆ เช่น จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน เป็นต้น
    แต่สำหรับผู้ที่มีรอบปัญญาบารมีดีกว่านี้ ย่อมพึงพิจารณาธรรมได้มากกว่านั้นโดยเห็นว่า แท้จริงแล้วจิตประเภทต่างๆก็ล้วนแต่เป็นเพียง “ปรากฎการณ์ทางจิต” เท่านั้น ไม่ควรเข้าไปใส่ใจในรายละเอียดแห่งจิตที่ปรุงแต่ง มันจะชื่อจิตอะไรจิตประเภทใหนมันก็ล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรุงแต่งขึ้นมาเหมือนกันทั้งสิ้น และเราก็ได้ทำความเข้าใจจิตประเภทต่างๆนี้ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอย่างดีแล้ว เราจักใช้อุบายพิจารณาธรรมแค่ “มีอาการปรุงแต่ง” กับ “ไม่มีอาการปรุงแต่ง” โดยไม่ต้องพิจารณาลงไปถึงรายละเอียดแห่งเนื้อหาการปรุงแต่งนั้น หากมีอาการปรุงแต่งขึ้นมาก็จะได้ระลึกรู้ตามธรรมชาติว่า “มีการปรุงแต่ง” เกิดขึ้น ซึ่งมันเป็นความไม่ตั้งมั่นในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่ถ้าหากไม่ได้ปรุงแต่ง “ไม่มีอาการปรุงแต่ง” ก็จะได้ระลึกรู้ตามธรรมชาติว่าขันธ์ทั้ง 5 มันดับไปซึ่งมันคือ ธรรมชาติแห่งความตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) ในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น แต่ถึงกระนั้นการเข้าใจธรรมโดยการพิจารณาธรรมซึ่งใช้กลอุบายอันแยบยลแบบนี้ โดยเนื้อหามันก็ยังเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นการปรุงแต่งเป็นจิตชนิดใหม่ขึ้นมาอยู่ดี เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้แล้วในสติปัฏฐานหมวดจิตตานุปัสสนาสติ ว่า จิตเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่น) ก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่น) , จิตไม่เป็นสมาธิ (จิตไม่ตั้งมั่น) ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ (จิตไม่ตั้งมั่น)


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 46 ไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องง่าย(ต่อ) ตอนจบ

    [FONT=&quot]การพิจารณาธรรมว่า การที่เรามีอาการปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นมาซึ่งมันหมายถึง “เป็นการไม่ตั้งมั่นในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน” นั้น การพิจารณาธรรมแบบนี้พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า มันเป็นจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกชื่อจิตชนิดนี้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ (จิตไม่ตั้งมั่น) คือการปรุงแต่งว่าเราไม่มีธรรมชาติแห่งสัมมาสมาธิอันที่จะทำให้ตั้งมั่นกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความว่างเปล่าได้ เมื่อเราได้ใช้อุบายพิจารณาธรรมในรายละเอียดแบบนี้ขึ้นมา ก็ให้เราพึงสังวรณ์ด้วยว่า การพิจารณาธรรมแบบนี้ขึ้นมามันก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่งมันคือ จิตไม่เป็นสมาธิ (จิตไม่ตั้งมั่น) ก็พึงให้ระลึกรู้ตามธรรมชาติ (ก็รู้ว่า) จิตไม่เป็นสมาธิ (จิตไม่ตั้งมั่น) นี้ มันสิ้นไปมันดับไปเป็นธรรมดาเองอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติ [/FONT]
    [FONT=&quot] เฉกเช่นเดียวกัน การพิจารณาธรรมว่าการที่เราไม่มีอาการปรุงแต่งนั้นมันคือความตั้งมั่นในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน การพิจารณาธรรมแบบนี้พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ว่า มันเป็นจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาชนิดหนึ่งเช่นกัน เรียกชื่อจิตชนิดนี้ว่า จิตเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่น) คือการปรุงแต่งว่าเรามีธรรมชาติแห่งสัมมาสมาธิอันที่จะทำให้ตั้งมั่นกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความว่างเปล่าได้ เมื่อเราได้พิจารณาธรรมในรายละเอียดแบบนี้ขึ้นมา ก็ให้เราพึงสังวรณ์ด้วยว่า การพิจารณาธรรมแบบนี้ก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่งเช่นกันมันคือ จิตเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่น) ก็พึงให้ระลึกรู้ตามธรรมชาติ (ก็รู้ว่า) จิตเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่น)นี้ มันสิ้นไปมันดับไปเป็นธรรมดาเองอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติ [/FONT]
    [FONT=&quot] แต่สำหรับผู้ที่มีรอบปัญญาบารมีดีกว่านี้ขึ้นมาอีกนั้น ย่อมไม่ใส่ใจในรายละเอียดแห่งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นว่าเป็นจิตประเภทใหนและชื่ออะไร และย่อมใม่ใส่ใจในการเข้าไปพิจารณาว่ามีความตั้งมั่นหรือไม่มีความตั้งมั่นในความว่างอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่กลับใช้อุบายอันแยบยลมากกว่านั้นเพื่อเข้าไปพิจารณาถึงรายละเอียดแห่งธรรม ว่า หากมันเป็นธรรมชาติแห่งความตั้งมั่นในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนี้ เราจักจะปล่อยให้มันแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเราเผลอไปปรุงแต่งขึ้นมา เราจักจะระลึกรู้ว่าเรายังไม่หลุดพ้น แต่ในความเป็นจริงโดยหลักธรรมชาติถึงแม้เราจะใช้อุบายอันแยบยลขนาดนี้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้แล้วว่า การพิจารณาธรรมแบบนี้ก็คือจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งเช่นกัน เรียกจิตชนิดนี้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” คือการปรุงแต่งขึ้นมาว่า “มีเราและเรายังไม่หลุดพ้นเพราะยังเผลอเข้าไปปรุงแต่งอยู่” พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” ก็รู้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” ซึ่งหมายถึง หากเรากำลังพิจารณาว่าเรายังไม่หลุดพ้นเพราะเรายังเผลอปรุงแต่งขึ้นมาซึ่งคือ จิตไม่หลุดพ้น ก็ให้ระลึกรู้ตามธรรมชาติว่า (ก็รู้ว่า) จิตที่ไม่หลุดพ้นนี้มันสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาเองอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติ[/FONT]

    [FONT=&quot] แต่สำหรับผู้ที่มีรอบปัญญาบารมีมากขึ้นเป็นปัญญา “รู้รอบ” ว่าควรจะประหารกิเลสอนุสัยซึ่งมันคือพฤติกรรมการปรุงแต่งของจิตที่หมักหมมมานานนับภพชาติไม่ถ้วนนั้นอย่างเด็ดขาดได้ด้วยอุบายอันแยบยลด้วยวิธีที่ตระหนักชัดว่า แท้จริงแล้วความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันคือ ธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่เช่นนี้แบบตลอดถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบตลอดสายโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว การที่เราคิดจะเข้าไปทำความตั้งมั่นให้มันว่างแบบตลอดสายประติดประต่อกันไปตามความต้องการของเรานั้น แท้ที่จริงมันคือการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง การรอคอยภาวะความหลุดพ้นแท้ที่จริงมันก็คือการปรุงแต่งชนิดหนึ่งอีกเช่นกัน การปรุงแต่งแบบนี้ล้วนเป็นการปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังธรรมชาติแห่งพระนิพพานทั้งสิ้น แท้จริงแล้วความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนั้นมันก็ทำหน้าที่ของมันแบบบริบูรณ์ถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุแบบตลอดสายโดยมันเองอยู่แล้ว หากเราปล่อยให้ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันทำหน้าที่ของมันเองด้วยความบริบูรณ์โดยตัวมันเองอยู่แล้วตามคุณลักษณะของมันนั้น เราก็ไม่มีอะไรที่จะต้องเข้าไปพิจารณาธรรมขึ้นมาอีก ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นโดยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นหากเข้าใจในเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นนี้แล้วแต่ก็ยังเผลอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเข้าไปปรุงแต่งแบกสภาวะขึ้นมาซ้อนเข้ามาอีกว่า มีเราและเราหลุดพ้นแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ว่า จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หมายถึงว่าหากเราได้ตระหนักชัดและอาจจะซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความบริบูรณ์แห่งธรรมอันเป็นความหลุดพ้นโดยตัวมันเองได้อยู่แล้ว แต่ก็ยังคงเผลอสติหลงเข้าไปปรุงแต่งเพื่อแบกสภาวะว่าเราหลุดพ้นนั้น มันคือจิตที่ปรุงแต่งว่าหลุดพ้น (ซึ่งมันคืออวิชชาตัวสุดท้ายที่อาจเกิดขึ้น) ก็ให้ระลึกรู้ตามธรรมชาติว่า (ก็รู้ว่า) จิตหลุดพ้นนี้ มันย่อมสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เมื่อเข้าใจและสามารถตระหนักชัดได้ตามนี้ นี่แหละคือการที่ได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความบริบูรณ์แห่งธรรมอันเป็นความหลุดพ้นโดยตัวมันเองได้แล้วอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เป็นเรื่องยากหรือเรื่องง่าย แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจหรือไม่เข้าใจ หากเราเข้าใจว่าสิ่งที่เข้าไปเรียนรู้และพิจารณาธรรมตรงจุดนั้นมันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งชนิดหนึ่งเช่นกัน ก็ให้เราพึงระลึกรู้ตามธรรมชาติว่ามันก็สิ้นไปดับไปเป็นธรรมดา มันจึงจะเกิดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม และก็ให้เราพึงศึกษาอย่างรู้รอบว่าอะไรคือการปรุงแต่งและอะไรคือการไม่ปรุงแต่ง ก็ให้เราพิจารณาธรรมเพื่อทำความเข้าใจในธรรมจนกว่าจะเข้าใจได้ว่า เราควรจะได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนั้นได้อย่างไร


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]ภาค 2[/FONT]

    [FONT=&quot] อสังขตธาตุ[/FONT]



    [​IMG]
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 47[/FONT][FONT=&quot] ไดชูอิน[/FONT]

    [FONT=&quot] ไดชูอิน คือเรือนไม้ญี่ปุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในมุมเล็กๆริมสระน้ำในบริเวณกว้างของวัดเรียวอันจิ นครเกียวโต ซึ่งเป็นสถานที่เล็กเกินกว่าที่จะเรียกเป็นวัดได้ แต่ไดชูอินเรือนไม้โบราณแห่งนี้ก็เป็นสถานที่ฟูมฟักนักปฏิบัติซึ่งเป็นนักบวชนิกายเซนสายรินไซมาหลายชั่วคนแล้ว ผู้ที่ดูแลไดชูอินก็จะเป็นการดูแลในฐานะเป็นครูกับศิษย์ที่สืบต่อกันมาจากใจถึงใจฝากไว้ให้กันด้วยการมอบตราประทับ ([/FONT][FONT=&quot]inka shomei) และผู้ที่ได้รับตราประทับจะได้ชื่อว่าพระอาจารย์ หรือ โรชิ (roshi) [/FONT]
    [FONT=&quot] ท่านโซโก โมรินากะ โรชิ คือโรชิคนปัจจุบันที่ดูแล “ไดชูอิน”แห่งนี้สืบต่อมาจากพระอาจารย์ของท่าน นอกจากท่านจะเป็นโรชิ ที่คอยคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ในไดชูอินแล้วท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยที่สอนพระพุทธศาสนาในกรุงเกียวโตอีกด้วย อดีตท่านโซโก เป็นทหารญี่ปุ่นออกไปรบในนามจักรพรรดิ์เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2ที่ผ่านมา เมื่อสงครามยุติลงทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่แพ้สงคราม ท่านรอดชีวิตกลับมาและก็กลายเป็นคนเร่ร่อนพเนจรไม่มีที่ไป จนกระทั้งท่านได้มายืนอยู่ที่หน้าประตูวัดเรียวอันจิและขออนุญาตเจ้าอาวาสที่วัดนี้บวช ท่านบวชมิใช่เพราะความศรัทธาที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นแต่ท่านบวชเพียงเพื่อขอให้ท่านมีชีวิตรอดอยู่ได้ในท่ามกลางความพ่ายแพ้สงครามของประเทศในยุคข้าวยากหมากแพง เมื่อท่านพระอาจารย์เจ้าอาวาสบวชให้แล้วท่านโซโกเองก็ได้มีหน้าที่เก็บกวาดใบไม้ภายในบริเวณไดชูอินให้สะอาด ท่านทำหน้าที่ตรงนี้อยู่หลายปีโดยไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนการปฏิบัติธรรมตามที่ท่านคิดไว้ ท่านได้เล่าย้อนถึงอดีตที่ท่านพึ่งมาบวชใหม่ๆว่า เพราะความที่ท่านไม่มีปัญญาเองและตอนที่ท่านมาบวชก็มิได้หวังที่จะบวชเพื่อปฏิบัติธรรมให้หลุดพ้น ซึ่งครั้งหนึ่งพระอาจารย์เคยสอนธรรมะลึกซึ้งกับท่านแต่ความที่ท่านไม่ได้เก็บคำพูดของพระอาจารย์มาขบคิด ท่านก็เลยเข้าใจว่าพระอาจารย์ไม่ค่อยดูแลสอนสั่งท่าน ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งในช่วง[/FONT]

    [FONT=&quot]เย็นวันนั้นท่านได้เก็บกวาดใบไม้และเศษก้อนหินรอบๆบริเวณไดชูอินมากวาดไว้รวมกัน แล้วท่านก็เดินไปถามพระอาจารย์ว่า “จะให้เอาขยะกองนี้ไปทิ้งไว้ที่ใหนกัน” พระอาจารย์โซอิ ซึ่งเป็น “โรชิ” ของท่านก็ได้ส่งเสียงตวาดท่านอย่างดังว่า “ใบไม้นี้ไม่ใช่ขยะ นี่เธอไม่เชื่อใจใช่มั๊ย” ท่านโซโก ได้แต่ทำหน้างงๆไม่เข้าใจในคำพูดของพระอาจารย์ท่าน แต่ก็ได้ถามต่อไปอีกว่าจะให้กำจัดมันอย่างไรในสิ่งที่ไม่ใช่ขยะ ท่านพระอาจารย์โซอิกลับแผดเสียงดังขึ้นมาอีกว่า “เราไม่กำจัดมันหรอก” และบอกให้ท่านไปเอาถุงมาใส่ใบไม้ที่กวาดเพื่อนำไปเก็บใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป ส่วนที่เหลือเป็นก้อนกรวดก้อนหินให้นำไปเก็บไว้ตรงชายหลังคาเพื่อทำเป็นที่รองรับน้ำฝนและเพิ่มความงามให้กับสถานที่แห่งไดชูอินนี้ และพระอาจารย์ก็ยังพูดต่ออีกว่า “เธอเข้าใจบ้างหรือยังว่าสภาพที่แท้จริงซึ่งมันคือความดั้งเดิมของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นปราศจากขยะ” คำพูดเหล่านี้นับเป็นบทเรียนแรกในชีวิตความเป็นสมณะของท่านโซโก แต่ท่านกลับไม่เข้าใจในความหมายในธรรมซึ่งออกมาเป็นคำพูดของพระอาจารย์โซอิเลย[/FONT]
    [FONT=&quot] และเมื่อท่านได้ใช้ชีวิตนักบวชอยู่ที่ “ไดชูอิน” ในวัดเรียวอันจิมาหลายปีก็ทำให้ท่านท้อแท้ว่า ท่านยังมิได้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมะและท่านก็ยังมิได้บรรลุธรรมอะไรเลย จนทำให้ท่านคิดจะไปเรียนรู้ธรรมะในวัดที่ใหญ่กว่าและมีชื่อเสียงกว่าที่เรียวอันจิแห่งนี้ วันที่ท่านตัดสินใจจากไดชูอินไปสู่ที่แห่งใหม่ ท่านได้เข้าไปลาพระอาจารย์โซอิ พระอาจารย์ท่านได้พูดแกมประชดต่อท่านว่า “หากท่านไปอยู่ที่วัดนั้นซี่งมันใหญ่โตกว่าที่ไดชูอินแห่งนี้ แล้วถ้าเขาพาท่านฝึกปฏิบัติธรรมทั้งวันทั้งคืน การฝึกปฏิบัติในวัดนั้นมันคงหนักหนาสาหัสสากรรจ์อาจถึงตายได้ถ้าหากเธอประคองตนไปไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน เงินจำนวนนี้คือเงินทำศพของเธอจะได้ไม่ต้องให้ใครเดือดร้อน” ท่านโซโกก็ได้รับเงินของพระอาจารย์ซูอิไว้แล้วก็ได้เดินทางไปเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดอื่นหลายปี การอยู่ที่อื่นหลายปีนั้นก็มิได้ทำให้ท่านรู้ธรรมะที่ลึกซึ้งและบรรลุธรรมแต่อย่างใด จนกระทั้งท่านได้เดินทางกลับมาสู่ “ไดชูอิน”สถานที่นี้อีกครั้ง[/FONT]
    [FONT=&quot] และการกลับมาครั้งนี้เองก็ทำให้ท่านซึ้งในน้ำใจของครูโซอิ ที่เมตตาสอนธรรมะลึกซึ้งแก่ท่านมาหลายปี ก็เพราะความที่ท่านไม่มีปัญญาเลยทำให้ท่านต้องไปฝึกกวาดขยะที่สำนักอื่นซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากกว่าที่นี่ ท่านได้ฝึกกวาดขยะในใจอยู่ที่สำนักนั้นที่สอนวิธีการกวาดขยะให้ท่านอยู่หลายปี จนทำให้ท่านรู้สึกอ่อนล้าในการ[/FONT]

    [FONT=&quot]กวาดขยะในใจท่านอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นยันท่านเข้านอน และท่านก็เหนื่อยล้าในการที่ต้องฝึกฝนอย่างสาหัสสากรรจ์ในแต่ละวันที่จะต้องฝึก “ท่ากวาดขยะ” ในใจท่าน ไม่ว่าจะเป็นการเดินจงกรมสลับกับการนั่งหลับตาทำสมาธิ โดยที่สำนักใหญ่ให้ฝึกทำตามวิธีที่ทางสำนักสอนเท่านั้นเพื่อที่ใจของท่านจะปราศจากขยะในสักวันหนึ่ง ท่านได้ใช้เวลาฝึกอยู่หลายปีและไม่เกิดความก้าวหน้าจนท่านท้อแท้และได้ตัดสินใจกลับคืนสู่ไดชูอินสถานที่นี้อีกครั้ง และที่ “ไดชูอิน” นี้เองทำให้ท่านโซโก ได้ตกผลึกในธรรมตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยในเช้าวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเก็บกวาดใบไม้ ท่านได้นึกถึงคำพูดของพระอาจารย์โซอิว่า แท้จริงธรรมชาติดั้งเดิมแท้บนโลกใบนี้ “มันไม่เคยมีขยะ” ท่านโซโกเลยเข้าใจว่าเพราะท่านเองไม่เข้าใจในความหมายของธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่ไม่มีขยะ มันสะอาดอยู่แล้วไม่ต้องเข้าไปกวาดขยะที่ใหนเพราะมันไม่มีขยะให้กวาด การที่ท่านไปฝึกที่สำนักอื่นสอนว่ามีขยะและฝึกให้กวาดขยะนั้นมันก็ยังไม่ใช่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ หากท่านยังคิดว่าในใจท่านมีขยะท่านก็ต้องเข้าไปกวาดขยะอยู่ร่ำไป แท้จริงธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่มีขยะ “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” มันสะอาดบริสุทธิ์คือความว่างปล่าอันไม่ใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น มันปราศจากขยะอันคือความเป็นตัวเป็นตน และการที่ “เราคิด” ว่ามีขยะและต้องเข้าไปกวาด “ความคิด” ของเราเช่นนี้มันก็เป็นสิ่งสกปรกมาปิดบังเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้เช่นกัน [/FONT]
    [FONT=&quot] ประตูทางเข้า “ไดชูอิน” ยังคงสงบและตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งความเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” แห่งพุทธะ ภายในบริเวณไดชูอินเต็มไปด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้นานาพรรณ อีกทั้งทางเข้าตรงประตูก็ยังมีดอกซากูระแข่งกันบานในช่วงไกล้ปลายฤดูหนาวนี้ มันออกดอกสะพรั่งเต็มต้นและร่วงหล่นมาบนพื้นเพื่อให้นักบวชอีกหลายๆรูปหลงเข้าไปกวาดขยะอย่างมันเฉกเช่นท่านโซโก ในอดีตที่ผ่านมา พระอาจารย์โซโก โมนาริกะ โรชิ ยังคงทำหน้าที่ความเป็น “โรชิ” ของท่านต่อศิษย์ทั้งหลายที่มีความไว้วางใจในความเป็นอาจารย์อย่างท่านเพื่อให้ท่านได้ช่วยสั่งสอนถ่ายทอดธรรมะแห่งความไม่มีขยะ ณ ไดอูชิน แห่งนี้มาอีกหลายสิบปีตราบจนลมหายใจสุดท้ายของท่าน และท่าน ทามูระ โซกัน ศิษย์ผู้ซึ่งไกล้ชิดผ่านใจต่อใจในการฝึกฝนตนกับพระอาจารย์โซโก โรชิ ก็ได้รับตำแหน่ง “โรชิ” สืบต่อจากพระอาจารย์คอยดูแลศิษย์ในรุ่นต่อๆไป


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 48[/FONT][FONT=&quot] พระพุทธองค์ คือ ต้นกำเนิด “เซน”[/FONT]
    [FONT=&quot] แก่นแท้คำสอนของ เซน ([/FONT][FONT=&quot] The core of Zen ) ในญี่ปุ่นที่เรียกว่า เซนสายรินไซ หรือ รินไซเซนนั้น ได้สืบทอดคำสอนบรรลุแบบฉับพลันมาจากประเทศจีนซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ท่านโพธิธรรม (ตั๊กม๊อ ซือโจ๊ว)และสังฆปรินายกองค์ที่ 6 หรือ ครูเว่ยหล่าง และรุ่นหลังต่อมาคือ ครูบาฮวงโป เป็นคำสอนที่เน้นให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นได้เข้ามาศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้ตระหนักชัดในเนื้อหาที่เป็นความดั้งเดิมแท้แห่งธรรมอันคือธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นหรือพระนิพพานนั่นเอง โดยคำสอนแห่งเซนมุ่งเน้นสอนให้รู้จักทำความเข้าใจในธรรมธาตุที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ) และ ธรรมธาตุแห่งธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่งแห่งธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว(อสังขตธาตุ) [/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ในส่วนของธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง (สังขตธาตุ) นั้น ทางคำสอนแห่งเซนปฏิเสธที่จะให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นเข้าไปศึกษาและปฏิบัติตามเนื้อหาแห่งสังขตธาตุอันว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดับไปและรวมทั้งลักษณะแห่งความดับไปเป็นธรรมดาก็ตาม คำสอนแห่งเซนเน้นให้เข้าไปทำความเข้าใจในเนื้อหาแห่งอสังขตธาตุคือธาตุอันว่างเปล่าอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้นอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้น โดยคำสอนเซนมองว่ามันเป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะเข้าไปปฏิบัติ เพราะการดำเนินไปในการปฏิบัติแบบระลึกรู้ตามธรรมชาติในสิ่งที่มันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น สิ่งที่มันปรุงแต่งให้ “เกิดขึ้น” นั้น โดยตัวมันเองก็คือสภาพแห่งสังขตธาตุคือสภาพแห่งการปรุงแต่งอยู่แล้ว แต่ในส่วนของธรรมอันคือวิธีการเรียนรู้และทำความเข้าใจที่จะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็น อริยสัจจ์ทั้ง 4 มรรคมีองค์ 8 สติปัฏฐานทั้ง 4 โพชฌงค์ทั้ง 7 ธรรมเหล่านี้ถึงแม้จะช่วยให้เราเข้าใจและตระหนักชัดถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นและระลึกรู้ตามธรรมชาติแล้วก็ตาม แต่ธรรมเหล่านี้โดยสภาพมันเองก็คือการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุชนิดหนึ่งเช่นกัน เป็นการปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรม เป็นการปรุงแต่งไปในเนื้อหาธรรมนั้นๆ สรุปแล้วธรรมที่คือการแสดงลักษณะเนื้อหาแห่งปัญหา และธรรมที่คือการแสดงลักษณะเนื้อหาแห่งวิธีการเข้าไปแก้ไขปัญหา ต่างก็เป็นสังขตธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]คือธรรมอันปรุงแต่งทั้งสองลักษณะ เพราะฉะนั้นในคำสอนแห่งเซนจึงมองว่าการปฏิบัติแบบระลึกรู้ตามธรรมชาติว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น มันเป็นเพียงการบรรเทาพฤติกรรมการเข้าไปปรุงแต่งซึ่งมันคือความคลายจากการกำหนัดที่ชอบเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเพียงเท่านั้น และด้วยธรรมอันคือวิธีการเข้าไปแก้ไขปัญหาซึ่งคือการปฏิบัตินั้นก็โดยสภาพมันเองมันก็เป็นการปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวหนึ่งที่ “เกิดขึ้น” เช่นกัน มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ความเป็นอัตตาการปรุงแต่งชนิดที่เรียกว่า “การปฏิบัติ” ไปตามหาธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จะใช้สิ่งที่มันเป็นการปรุงแต่งด้วยชนิดหนึ่ง(การปฏิบัติ)ไปตามหาการไม่ปรุงแต่งอันคือความว่างเปล่าล้วนๆ มันจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยประการฉะนี้ [/FONT]
    [FONT=&quot] คำสอนเซนจึงมองว่าถึงจะปฏิบัติไปในลักษณะเช่นนี้ก็ยัง “ไม่เกลี้ยงเกลา”อยู่ดี เพราะยังติดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตในเรื่องการปฏิบัติ ว่าจะต้องปฏิบัติแบบนี้เพื่อให้ได้ผลแห่งการปฏิบัติแบบนั้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาในเรื่องการปฏิบัติมันก็คือการปรุงแต่งทั้งสิ้น มันจึงไม่เกลี้ยงเกลาเพราะปรุงแต่งในการเข้าไปปฏิบัตินี่เอง จึงเป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะสอนนักศึกษาฝั่งทางโน้นให้เข้าไปปรุงแต่งสาละวนในเรื่องความไม่เกลี้ยงเกลาเหล่านี้ เป็นการ “สาละวนปรุงแต่งง่วนอยู่ในการปฏิบัติอยู่อย่างนั้น” [/FONT]
    [FONT=&quot] และด้วยเหตุผลเหล่านี้ที่มองว่าทุกข์และวิธีการแก้ไขทุกข์ ซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสมาเกือบทั้งหมดในพระไตรปิฎกนั้นมันก็คือสังขตธาตุหรือธาตุแห่งการปรุงแต่งล้วนๆ คำสอนแห่งเซนจึงให้สลัดออกสลัดทิ้งเสียซึ่งสิ่งเหล่านี้ แล้วหันกลับไปทำความเข้าใจถึงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมที่มันไม่เคยมีไม่เคยเป็น มันว่างเปล่าของมันโดยตัวมันเองตามสภาพดั้งเดิมอยู่แล้ว มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนตามสภาพเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นสภาพดั้งเดิมแท้ของมันอยู่แล้ว ไม่ใช่เกิดจากการที่ต้องมีใครเข้ามาทำให้มันเกิดขึ้นมันถึงจะว่างแบบตลอดสายถ้วนทั่ว โดยสภาพดั้งเดิมแท้นั้นมันว่างแบบตลอดสายถ้วนทั่วตามสภาพเดิมๆอยู่แล้ว คำสอนแห่งเซนเพียงแต่ให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นเข้ามาศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ตรงนี้เพียงเท่านี้ เพื่อตกผลึกในความหมายอันแท้จริงแห่งธรรมชาติที่มันคงเนื้อหาดั้งเดิมของมันอยู่อย่างนั้น เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนตามธรรมชาติในที่สุด


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 48[/FONT][FONT=&quot] พระพุทธองค์ คือ ต้นกำเนิด “เซน” (ต่อ) ตอนจบ[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ด้วยคำสอนแห่งเซนในลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้หลายๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเทวาหรือมนุษย์ ล้วนมองกันว่าการปฏิบัติธรรมแบบคำสอนแห่งเซนด้วยวิธีการตกผลึก ตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนตามธรรมชาตินั้น มันเป็นการบรรลุแบบรวดเร็วฉับพลัน และมองด้วยความสงสัยว่ามันบรรลุเร็วเกินไปหรือเปล่า และก็เกิดข้อกังขาขึ้นมาว่า การปฏิบัติธรรมตามวิถีเซนนี้เป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มปฏิบัติธรรมในสยามประเทศที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายเถรวาท” ที่หลายๆกลุ่มนิยมฝึกปฏิบัติธรรมกันในแบบที่เรียกว่า “ค่อยๆปฏิบัติ ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป” ค่อยๆฝึกไปแล้วนิพพานมันจักจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งคำสอนแห่งเซนไม่เห็นพ้องตรงนี้ด้วย ทางวิถีเซนถือว่า การค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆปฏิบัติธรรมไป โดยตัวมันเองแห่งการ “ค่อยๆ” โดยเนื้อหามันเองแบบ “ค่อยๆ” นี้ มันคือการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง ซึ่งมันขวางธรรมชาติแห่งพระนิพพาน มันขวางโดยเนื้อหาโดยสภาพมันเองที่มันคือ สังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ทั้งนี้โดยความเป็นจริงพระพุทธองค์ก็ได้ทรงตรัสถึง สังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้ไม่นานและมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงธรรมอันคือ “การเกิดขึ้น” นั้นว่า มันคือสภาพแห่งทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสธรรมไว้ในหมวดต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิธีการออกจากทุกข์ตรงนี้ แต่ด้วยปัญญาแห่งพุทธวิสัยพระพุทธองค์ก็ยังทรงตรัสอีกเช่นกันว่า ธรรมต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นหนทางออกจากกองทุกข์นั้น โดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองแห่งธรรมเหล่านี้ก็เป็นการ “เกิดขึ้น” เป็นลักษณะแห่งสังขตธาตุเช่นกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่องการเกิดขึ้นและดับไปแห่ง “ธรรม” ไว้ในหมวด ธรรมานุปัสสนาสติ กล่าวคือ[/FONT]
    [FONT=&quot] นักปฏิบัติทั้งหลายพึงรู้ด้วยอีกว่า “ การพิจารณาธรรม” ทั้งหมดเหล่านี้ในสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรม ก็ล้วนเป็น “สังขต[/FONT]

    [FONT=&quot]ธาตุ” คือธาตุแห่งการปรุงแต่ง มันล้วนคือจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดว่า[/FONT]
    [FONT=&quot] - จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] -จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] -จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] และพระพุทธองค์ยังทรงกล่าวถึงนิพพานว่า มันคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ไว้ใน ตติยนิพพานสูตรว่า เพราะมีธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้ ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ซึ่งมันมีมาในฐานะตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว เมื่อมีธรรมอันคือธรรมชาติตรงนี้ปรากฎอยู่ พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายสลัดออกซึ่งสังขตธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นธรรมอันว่าด้วยเรื่อง “การเกิดขึ้น” คือทุกข์ และธรรมอันว่าด้วย “การดับไป” แห่งทุกข์ เพราะด้วยปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งคือเนื้อหาแห่งการปฏิบัตินั้น มันล้วนแต่คือสังขตธาตุ คือ ธาตุอันว่าด้วยการปรุงแต่ง “เกิดขึ้น” ทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงให้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้เสียสลัดทิ้งเสีย ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน เพราะเหตุว่ามันมีธรรมอันมีเนื้อหาประณีตกว่านั้นซึ่งมันมีอยู่และเป็นที่สุดแห่งธรรมแล้ว ไม่มีธรรมอันใดจะประณีตกว่าธรรมเหล่านี้แล้ว และธรรมอันเป็นที่สุดและประณีตนี้ก็สามารถทำให้พ้นจากกองทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง ธรรมที่ว่านี้คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ตนอยู่อย่างนั้น เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่มันไม่เกิดไม่ดับ ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งพระนิพพานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ใน ตติยนิพพานสูตรนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อเนื้อหาธรรมแห่งคำสอนเซนซึ่งเป็นการมุ่งเน้นให้สลัดออกซึ่งสังขตธาตุ และมุ่งเน้นให้ตระหนักชัดซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้นั้น เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงกับธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้แล้วเช่นกัน คำสอนแห่งเซนจึงเป็นคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งตรงกับแนวคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอนแก่บรรดาหมู่เวไนยสัตว์ที่มีรอบปัญญาบารมีมากพอที่จะวิเคราะห์แยกแยะได้อย่าง “เด็ดขาด” ว่าธรรมลักษณะใดทั้งปวงคือ สังขตธาตุ ธรรมลักษณะใดคือ อสังขตธาตุ ด้วยเหตุผลนี้ “พระพุทธองค์จึงเป็นต้นกำเนิดเซน” ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่าในยุคที่พระพุทธองค์ยังทรงประกาศธรรมอยู่นั้นก็ได้มีบัณฑิตบางพวกได้บรรลุธรรมแบบฉับพลันต่อหน้าพระพุทธองค์มาแทบนับจำนวนไม่ถ้วน พระพุทธองค์ได้เผยแพร่คำสอนแบบเซนมานานตราบจนกระทั้งพระองค์ท่านได้เสด็จปรินิพพาน


    เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
    ได้ที่

    1.http://www.facebook.com/ammarintharo

    2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

    3.คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน | Facebook



    และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
    ได้ที่

    1.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=icz6yul9yv8"]???????? ????????????????? 1.flv - YouTube[/ame]
    2.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=1hlS-CG4wmE"]???????? ????????????????? 2.flv - YouTube[/ame]
    3.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=qe8X_5yjnMk"]???????? ????????????????? 3.flv - YouTube[/ame]
    4.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=4EI5IGtz4yU"]???????? ????????????????? 4.flv - YouTube[/ame]
    5.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=AKRWLwM23Lc"]???????? ????????????????? 5.flv - YouTube[/ame]
    6.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=fA7sw6VRuQ8"]???????? ????????????????? 6.flv - YouTube[/ame]
    7.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=38_I31rPrAk"]???????? ????????????????? 7 - YouTube[/ame]
    8.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=586EvinSQfI"]???????? ????????????????? 8 - YouTube[/ame]
    9.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=As7Cv50I_s8"]???????? ????????????????? 9 - YouTube[/ame]


    [​IMG]
    [​IMG]


    [/FONT][/SIZE][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2229555/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Track 15.mp3
      ขนาดไฟล์:
      3.1 MB
      เปิดดู:
      128
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...