"ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 23 สิงหาคม 2012.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 49[/FONT][FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] พระพุทธองค์เคยตรัสเรื่อง “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ไว้ใน ตติยนิพพานสูตร ว่า[/FONT]
    [FONT=&quot] “[/FONT][FONT=&quot] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot] ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้ แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย” [/FONT]
    [FONT=&quot] “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ ”[/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ว่า มันคือธรรมชาติแห่งความไม่เกิดแล้ว คือธรรมชาติแห่งความไม่มีธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไป คือธรรมชาติแห่งความไม่เป็น มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยเนื้อหามันเองตามสภาพธรรมชาติมันอยู่แล้ว [/FONT]
    [FONT=&quot] และพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงความมีแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มีมันแสดงเนื้อหามันอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อมีธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงมีการสลัดออกจากธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นการปรุงแต่งขึ้นและธรรมอันว่าด้วยความแปรปรวนดับไป ในความหมายของพระพุทธองค์นั้นหากไม่มีธรรมชาติดั้งเดิมแท้ในโลกใบนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็คงสั่งสอนธรรมแก่บรรดาหมู่เวไนยสัตว์แค่ธรรมที่ว่าด้วย การมีสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการปรุงแต่งและสิ่งนี้ย่อมดับไปเป็นธรรมดา พระพุทธองค์คงสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์แค่เรื่อง อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ คือสอนธรรมอันเกิดขึ้นและดับไปเพียงเท่านั้น แต่โดยความเป็นจริง ตามธรรมชาตินั้นมันมีเนื้อหาธรรมที่แท้จริงคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติแห่งความไม่มีไม่เป็นอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง ไม่มีใครผู้ใดใช้ความสามารถแสวงหาเพื่อสร้างมันขึ้นมาได้เพราะมันเป็นเรื่องฝืนและขัดต่อความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นโดยตัวมันเองอยู่แล้ว เมื่อความจริงธรรมอันแท้จริงคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ พระพุทธองค์จึงทรงให้ “สลัดทิ้ง” ซึ่งธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเสีย พระพุทธองค์ให้ “สลัดทิ้ง” ทั้งวิธีการในกระบวนการทั้งปวงแห่งการ[/FONT]

    [FONT=&quot]เรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และกระบวนการการเรียนรู้และการตระหนักชัดถึงสิ่งที่ดับไปเป็นธรรมดา เพราะแท้จริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่มีธรรมอันว่าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเลย แต่แท้จริงแล้วมันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่ปรากฎเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุโดนสภาพมันเองโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น ไม่มีใครสามารถสร้างมันขึ้นมาได้เพราะมันแสดงเนื้อหามันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแค่ “สลัดทิ้ง”ซึ่งธรรมอันว่าด้วยเนื้อหาปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เพียงแค่ “สลัดทิ้ง”ซึ่งธรรมอันว่าด้วยความดับไปเป็นธรรมดา เพียงแค่“สลัดทิ้ง”ซี่ง กระบวนการปฏิบัติธรรมอันเกี่ยวข้องกับธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไป และเมื่อสลัดทิ้งแล้วก็ทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดถึงความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่แสดงเนื้อหามันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน [/FONT]
    [FONT=&quot] การที่ยังดำเนินเนื้อหาแห่งการปฏิบัติธรรมตามเหตุปัจจัยแห่งการระลึกรู้ตามธรรมชาติแห่งการเกิดขึ้นและดับไปนั้น มันเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมเพื่อความคลายกำหนัดจากพฤติกรรมที่ชอบเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมแบบนี้แล้วนิพพานจักจะเกิดขึ้นนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังไม่ใช่ “การสลัดทิ้ง” ตามที่พระพุทธองค์ตรัส[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น หากนักศึกษาฝั่งทางโน้นผู้ใดมีความประสงค์ที่จะตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับนิพพานในชาตินี้ หากท่านได้อ่านบทความธรรมะที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ ภาค 1 สังขตธาตุ ตั้งแต่บทที่ 1 ถึงบทที่ 46 อันว่าด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายต้อง “สลัดทิ้ง” ซึ่งความรู้และ “สลัดทิ้ง” ซึ่งการตระหนักชัดในเรื่องธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเหล่านี้ทิ้งเสีย และหันหน้ามาเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่อง “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ใน ภาค 2 อสังขตธาตุ อันว่าด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะไม่มีไม่เป็นมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่บทที่ 47 เป็นต้นไป เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้ในที่สุด


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 50 ดอกบัวแห่ง “ ไดชูอิน ”[/FONT]

    [FONT=&quot] ผู้เขียนในฐานะเป็นครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหามากหน้าหลายตา ผู้เขียนเองได้เริ่มมีแนวทางสอนลูกศิษย์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทความชิ้นหนึ่งซึ่งได้อ่านจากวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นของคณาจารย์มหาวิทยาลัยไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และคณาจารย์ชุดนี้ได้ไปแวะเยี่ยมพระรูปหนึ่งที่ชื่อ พระอาจารย์โซโก โมนิรากะ โรชิ ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดเรียวอันจิ และหนึ่งในกลุ่มอาจารย์ของมหาวิทยาเชียงใหม่เป็นรองศาสตราจารย์ผู้หญิงซึ่งผู้เขียนจำชื่อไม่ได้ก็ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งขึ้นมาซึ่งปรากฎอยู่ในวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั่นเองเป็นบทความที่ชื่อ “ครูกับศิษย์นิกายเซน[/FONT][FONT=&quot];ใจต่อใจในการฝึกตน” โดยในบทความชิ้นนี้เป็นการเขียนบรรยายแนวทางในการฝึกลูกศิษย์ของพระอาจารย์ โซโก โรชิ และแนวทางในการดำรงชีวิตของผู้ที่ศึกษาธรรมะนิกายเซน ซึ่งบทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้นำมาลงไว้แล้วในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน”นี้ เป็นบทความที่ชื่อว่า “ใจต่อใจในการฝึกตน” [/FONT]
    [FONT=&quot] ผู้เขียนชอบบทบาทของท่านโซโก ในฐานะอาจารย์ใหญ่ผู้รับตำแหน่ง “โรชิ ” คอยฝึกสอนลูกศิษย์ใน “ ไดชูอิน” ซึ่งเป็นชื่อของโรงเรือนไม้ญี่ปุ่นแบบโบราณ เป็นสถานที่ฝึกเพื่อนั่งวิเคราะห์ธรรมแบบเซนซึ่งเป็นสถานที่อันสงบ ในมุมมองของคนที่เป็นครูบาอาจารย์อย่างท่านโซโก โรชิ นั้น ท่านมีมุมมองแบบความเป็นพุทธะ ท่านมิได้มองในด้านเนื้อหากรรมภายนอกว่าอะไรจะต้องเป็นอะไร แต่ท่านกลับมีมุมมองสมกับฐานะทางธรรมของท่าน คือท่านเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยการตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ท่านเพียงมุ่งหวังว่าให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมะแต่ละคนพึงมีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจเปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยท่านมิได้มองว่าตัวพระพุทธศาสนาจะเผยแพร่ขยายหรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลก โดยท่านมองว่าขอเพียงให้ทุกคนเข้าใจเนื้อหาคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เพื่อที่ทุกคนจะได้นำไปขัดเกลาจิตใจพัฒนาตนเองเพื่อออกจากกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง[/FONT]



    [FONT=&quot] ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้มาสอนลูกศิษย์ทั้งหลายตามแนวทางของครูโซโก โรชิ ซึ่งผู้เขียนเองนับถือท่านเป็นส่วนตัวในฐานะครูของผู้เขียนซึ่ง “ท่านเป็นครูผู้วางแนวทาง” ในการสอนลูกศิษย์ของผู้เขียนให้ผู้เขียนเดินตามแนวทางนี้เรื่อยมา ผู้เขียนพยายามสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจเรื่องการดำรงชีวิตในเส้นทางธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยพยายามสอนให้ทุกคนดำรงชีวิตบนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีความสุขในรสชาติแห่งเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไปวันๆ พอใจที่ตนเองมีข้าวกินอิ่มสามมื้อเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด และผู้เขียนมีความพยายามที่จะสอนให้ลูกศิษย์รู้จักที่จะเรียนรู้เรื่องลักษณะจิตต่างๆ เรียนรู้เรื่องระบบกรรมวิสัยที่เป็นไปในแต่ละยุคในแต่ละกลุ่ม เรียนรู้ถึงเหตุลักษณะกรรมที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้และหัดที่จะยอมรับกับมัน โดยผู้เขียนมีจุดประสงค์จะให้ลูกศิษย์เหล่านี้เป็นครูคอยสอนคนอื่นเฉกเช่นเดียวกับตัวผู้สอนเอง ผู้เขียนเองเคยตั้งปณิธานไว้ว่าสิ่งใดๆที่ผู้เขียนจะพึงมีพึงได้ในความรู้ต่างๆในสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามันดีและเลือกเฟ้นแล้ว ผู้เขียนจักจะหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของผู้เขียนให้กับลูกศิษย์เพื่อดำเนินรอยตาม[/FONT]

    [FONT=&quot] และมีอยู่อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนพยายามศึกษาเรียนรู้และคอยนำมาสอนลูกศิษย์ข้าพเจ้าซึ่งจะเป็นครูรุ่นต่อไปในอนาคต คือมุมมองของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงมองภาพโดยรวมแห่งระบบกรรมวิสัยในแต่ละยุคแบบตรงๆตามเหตุและผลและแนวทางการสอนการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายแบบไม่เลือกกลุ่มและหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงมองในมุมมองแบบผู้อยู่เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นมุมมองของผู้ที่เข้าใจในเหตุผลแห่งกรรมที่มีเนื้อหาเป็นไปในลักษณะ “เพราะมีสิ่งนี้จึงเกิดสิ่งนี้” พระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือระบบกรรมวิสัยทั้งปวงและท่านก็ใช้ความเป็น “พุทธวิสัยศาสตร์” คอยสอนหมู่เวไนยสัตว์ทั้งหลายตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งที่ข้าพเจ้ามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทั้งตัวข้าพเจ้าเองและบรรดาลูกศิษย์ทุกรุ่นจักจะต้องมีมุมมองและแนวทางสอนเหมือนกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนบรรดาหมู่เวไนยสัตว์ในยุคที่ผ่านมา ผู้เขียนเพียงมุ่งหวังว่าจะให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าทุกรุ่นได้นำแนวคิดเหล่านี้ไปสอนลูกศิษย์ตัวเองเพื่อสร้างครูในรุ่นต่อๆไป และครูทุกรุ่นก็ยังดำเนินปณิธานนี้อยู่ เพียงเพื่อหวังว่าครูทุกๆรุ่นจะเป็นผู้สืบทอดคำสอน “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ไปในอนาคตอย่างไม่ขาดสาย[/FONT]

    [FONT=&quot] ปณิธานเหล่านี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ไดชูอิน” สถานที่ฝึกตนแบบใจต่อใจระหว่างครูกับลูกศิษย์โดยอาศัยความไกล้ชิดและปณิธานตามมุมมองของพระพุทธองค์ ที่พระพุทธองค์มองธรรมและระบบกรรมวิสัยในจักวาลใบนี้แบบตรงไปตรงมา ผู้เขียนจึงหวังว่า “ดอกบัวแห่งไดชูอิน” ในแต่ละดอกที่มันบานสะพรั่งไปด้วยธรรมธาตุแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ดอกบัวเหล่านี้จะทำหน้าที่ของตนในเส้นทางธรรมชาติแห่งพุทธะได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเอื้อประโยชน์แก่ชาวโลกทุกหมู่เหล่าตราบนานเท่านานตามพุทธะประสงค์แห่งบรมครูที่ชื่อ "พุทธโคดม”


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 51[/FONT][FONT=&quot] แสงหนึ่งเมื่อรุ้งงาม[/FONT]

    [FONT=&quot] เราทุกคนต่างก็ดิ้นรนเพื่อให้พ้นทุกข์ เมื่อใดที่สุขก็อยากจะอยู่กับสุขนั้นให้นาน แต่เพราะไม่ว่าจะสุข หรือทุกข์ใดๆก็ตาม มิอาจอยู่กับเราได้ตลอดไป[/FONT][FONT=&quot] มันเป็นความจริงที่ว่าทุกสรรพสิ่งนั้น ดำเนินอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไป[/FONT]
    [FONT=&quot] รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ต่างๆ [/FONT][FONT=&quot] ก็ไม่มีอะไรที่ตั้งอยู่ได้เลย เกิดแล้วดับไป วนเวียนจนไม่อาจนับครั้งได้ และโดยธรรมชาตินั้น จิตเราย่อมทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด เรามักพยามไล่ตามมัน โดยใช้สติควบคุม หรือกดมันไว้ ก็ได้แค่เพียงชั่วขณะ แต่พอเผลอมันก็เตลิดไปอีก บางทีไล่ตามมันจนเกิดความชำนาญ คิดว่านั่นคือความสงบหรือความว่าง แท้จริงแล้ว เราได้ใช้ความมีตัวตนเข้าไปจัดการมันต่างหาก เพราะมีเราได้เข้าไปเริ่มและจบให้กับมัน ก็เป็นการสมมุติปรุงแต่งทั้งนั้น ทำให้บดบังความเป็นธรรมชาติอันแท้จริง[/FONT]

    [FONT=&quot] เพราะทุกสิ่งดำเนินไปตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว มันไม่มีอะไรเลยสักอย่าง[/FONT][FONT=&quot] เราเองต่างหากที่สร้างความมีตัวตน เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เข้าไปจัดการสร้างสิ่งอันเป็นมายาขึ้นมาใช่หรือไม่ ทำให้เกิดวัฏจักรเกิดดับไม่จบสิ้น ทั้งๆที่ทุกสรรพสิ่งมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องทำอะไรเพื่ออะไร หรือใช้ความพยามเข้าไปบังคับ เมื่อมันเกิด มันก็ดับไปเอง ไม่ต้องเข้าไปจัดการในสิ่งอันสมบูรณ์อยู่แล้ว มันเป็นวิถีซึ่งเบ็ดเสร็จในตัวของมันเอง นี่ก็คือธรรมชาติอันคือความเป็นจริงเพียงส่วนหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] เราทั้งหลายก็มิได้มีสภาพอันมีตัวตนอยู่เลย[/FONT][FONT=&quot] ล้วนเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งสิ้น ธาตุขันธ์ทั้งหลาย ตลอดจน องค์ประกอบความบริบูรณ์ของสภาพแวดล้อมต่างๆ ก็เกิดจากสภาพจิตของแต่ละคนที่ได้ยึดมั่นสั่งสมมาช้านาน เหตุเพราะจิตเราเองยังหลงยึดมั่น ถือครองเป็นเจ้าของในสิ่งอันเราสมมุติขึ้นมานาน และถูกฝังการรับรู้ชนิดต่าง สิ่งนั้นถูกสิ่งนี้ผิด อันนั้นดี อันนี้ไม่ดี หากไม่มี ไม่เป็นตามนั้นก็โศกเศร้าเสียใจ หรือความยินดีต่อการได้สิ่งนั้น สิ่งนี้มา ก็ใครกันกำหนดกฏเกณฑ์ และสร้างเงื่อนไขต่างๆขึ้น มิใช่เราเองหรอกหรือ เพราะเราสร้างความมีตัวตนในทุกสิ่งทุกสภาวะของธรรมชาติ จนเวียนว่ายเกิดดับอยู่ในวัฏสงสารมิจบสิ้น มันไม่มีวันจบจริงๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] ทว่าดีหรือชั่ว มีหรือไม่มี ก็อยู่แต่ในจิตเรานี้เอง[/FONT][FONT=&quot] ทุกสรรพสิ่งเป็นมายาของจิตทั้งนั้น แท้จริงแล้วมันไม่เป็นสิ่งใดเลย และมันไม่อาจมีความหมาย หรือนิยามใด เมื่อหยุดสมมุติ ปรุงแต่ง ก็ไม่มีสิ่งไหนเกิดสิ่งไหนเกิดดับอีกต่อไป วัฎจักรก็จบสิ้นทันที เปิดใจให้กว้าง แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาให้เห็นความจริงอันเป็นสัจธรรมนี้ และตระหนักชัดถึงความเป็นธรรมชาติ แล้วอยู่เหนือสภาวะทั้งมวล เด็ดขาดออกจากมัน ไม่ต้องสมมุติว่า มี ไม่มี ต้องเป็น หรือไม่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เอาความเป็นตัวเราออกมา ไม่เป็นผู้แสดง ไม่เป็นผู้แต่งบท ปล่อยวางจากทุกสภาวะ ก็จะเป็นอิสระทันที[/FONT]
    [FONT=&quot] คนเรามักพยามแสวงหาในสิ่งที่ไกลตัวออกไป จนมองข้ามที่จะศึกษาภายในจิตของตน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสรรพสิ่งทั้งมวล[/FONT][FONT=&quot] ไม่กล้าที่จะเด็ดขาด และยอมรับความจริง อย่าเที่ยวแสวงหาสิ่งใดจากภายนอกเพื่อดับทุกข์อีกเลย เพราะถึงแม้เราจะเพียรพยายามสร้างสมความดีเท่าไหร่ จิตเราก็จะติดอยู่แต่ในกุศลบุญนั้น และยังต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป หากเราไม่ใช้ปัญญาที่จะทำความเข้าใจความเป็นธรรมชาติภายในจิตเรา[/FONT]

    [FONT=&quot] เหตุที่จิตนี้เป็นที่บรรจุสรรพสิ่งต่างๆไว้อย่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน[/FONT][FONT=&quot] มันเก็บเรื่องราวไว้ได้มากมายกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดความจำสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้ ฉะนั้นผลของการแบกรับทุกสิ่งไว้ ทำให้เรารู้สึกคับแคบหรือถูกบีบอัด จนต้องดิ้นรนหนีมัน และการเจริญด้วยสติว่ามีมันอยู่ แล้วรอดูการดับไป ก็ไม่ได้ทำให้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริง เพราะสิ่งอันเป็นมายาทั้งหลายก็จะมาวนเวียนมาให้เราดูอยู่เสมอ จนกว่าเราจะใช้ปัญญาซึ่งเป็นเสมือนกุญแจ ปลดความมีตัวตนออกมา เพื่อให้เห็นสิ่งอันจริงแท้ ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น ว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียว [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมะจึงมิใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป[/FONT][FONT=&quot] แต่มันคือการทำความเข้าใจในกฏของธรรมชาติซึ่งเป็นจริงเสมอ และมันก็อยู่ภายในจิตเรานี้เอง[/FONT]
    [FONT=&quot] และนี่เป็นเพียงทัศนะทางธรรมของข้าพเจ้าเท่านั้น ที่ส่งจากเพื่อนถึงเพื่อน[/FONT][FONT=&quot] ด้วยหวังว่าจะเป็น “ แสงหนึ่ง ” ซึ่งนำทางให้เพื่อนทั้งหลายได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร สาธุ [/FONT]

    [FONT=&quot]บทความนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]เขียนโดย นางสาวนวพัฒน์ พรหมครุฑ (ลูกศิษย์)

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 52[/FONT][FONT=&quot] ไม่มีหนทางที่จะเข้าถึง [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันคือ สัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติที่มันแสดงเนื้อหาความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันดำรงเนื้อหาสัจธรรมความเป็นจริงของมันอยู่เช่นนี้มานานแสนนานแล้ว อย่าถามเลยว่าความเป็นจริงนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรและมันจะมีวันจบสิ้นสูญสลายไปไหม ก็เพราะความจริงนี้มันคือคุณลักษณะแห่งความไม่มีไม่เป็นโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว มันจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือดับไปได้ และมันก็คือเนื้อหาธรรมชาติแห่งทุกๆอนูธรรมธาตุที่เป็นคุณลักษณะดั้งเดิมแท้ของมันอยู่แล้ว มันจึงดำรงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นด้วยความเป็นเช่นนั้นของมันเอง มันจึงไม่ต้องอาศัยกาลเวลาเพื่อที่จะทำให้มันเกิดขึ้นหรือเสื่อมสิ้นดับสูญไป หากจะถามแบบโง่ๆว่ามันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เมื่อไร ก็ขอตอบแบบโง่ๆว่า รู้แต่ว่า “มันมีมามันเป็นมา” ตั้งแต่ก่อนที่พวกคุณจะลงมาเกิดบนโลกมนุษย์อีกด้วยซ้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกคุณที่เป็นนักศึกษาทางฝั่งโน้นจะบังอาจแสดงความโง่เขลาของตนเข้าไปทำธรรมชาติดั้งเดิมแท้ให้มันเกิดขึ้นอีกได้อย่างไรเล่า ก็ในเมื่อมันดำรงเนื้อหาแสดงเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มานานแสนนานอยู่แล้วก่อนที่พวกคุณจะลงมาเกิดเป็นมนุษย์เสียอีก มันดำรงเนื้อหาซึ่งเป็นเนื้อหาที่บริบูรณ์อยู่แล้วมาก่อนหน้าพวกคุณที่คิดผิดจะเข้าไปแสวงหาสร้างให้มันเกิดขึ้นในสภาพบริบูรณ์ตามความเข้าใจของพวกคุณด้วยซ้ำ[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นด้วยการ “ตกผลึก” และ “ตระหนักชัด” ในธรรมจึงจะเข้าใจว่า แท้จริงมันไม่มีหนทางที่ไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้เลย การที่คิดว่าต้องมีหนทางมันจึงเริ่มแสวงหาเพื่อ “สร้างหนทาง” ที่จะพาให้เราเข้าถึงตัวเนื้อแท้แห่งธรรมชาติ แต่ด้วย “ความคิด” ซี่งมันคือรายละเอียดแห่งอวิชชาการแสวงหาการ มันก็คือการปรุงแต่งเพื่อความเกิดขึ้นและดับไปแห่งจิตที่ปรารถนาหนทางนั้นเอง มันจึงเป็นการฝืนและขัดต่อสัจธรรม อันคือธรรมชาติแห่งความไม่มีความไม่เกิดความไม่ดับ[/FONT]
    [FONT=&quot] จากมุมมองแบบผ่านกระบวนการ “การตกผลึก” แล้ว ทุกสรรพสิ่งอันคือความเกิดขึ้นมันย่อมไม่มีปรากฎ มันย่อมไม่มีไม่เป็นแม้กระทั้งสิ่งใดๆเลย ไม่มีโลก ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีเขา ไม่มีใคร ไม่มีความรู้สึก ไม่มีขันธ์ทั้ง 5 ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ ไม่มีเรา และไม่มีอะไรต่ออะไรอีกมากมายก่ายกองที่เรียกมันว่า “ทุกสรรพสิ่ง” มันดำรงแต่เนื้อหาที่มีคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแสดงปรากฎออกมาอยู่อย่างนั้นแบบนี้มาช้านานตลอดกาลนานตราบชั่วนิจนิรันดร์ มันไม่มี “เรา” แต่เราคือเนื้อหาสัจจธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่เผยตัวออกมาอยู่ตลอดเวลาต่างหากอยู่แล้วนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นเราเพียงแต่ทำความเข้าใจเพื่อจะได้ตระหนักชัดในความหมายแห่งคุณลักษณะมัน และซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกับมันอย่างกลมกลืนเท่านั้น ไม่มีเราและไม่มีมันซี่งมีระยะห่างจากเราและเราต้องทำหนทางไปหามัน ด้วยธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่เคยแยกจากที่ที่เราอยู่เลยแม้ชั่วขณะหนึ่งก็ไม่มี เพราะฉะนั้นการเข้าไปสาละวนในการปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะแสวงหาหนทางสร้างหนทางในมรรคมีองค์แปดเพื่อเข้าถึงมัน การมุ่งปฏิบัติเช่นนี้แล้วเข้าใจว่านิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจะเกิดขึ้น มันก็จะเป็นการเสียเวลาเปล่า หามีประโยชน์อันใดไม่


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 53[/FONT][FONT=&quot] หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์ [/FONT]
    [FONT=&quot] ในการภาวนาแบบ “เซน” มันคือ ความตกผลึกในธรรมชาติ เพื่อให้เข้าถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนานั้น มันเป็นเพียงแต่ทำความเข้าในความหมายเพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและตกผลึกซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้แห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นเพียงเท่านั้น เพียงแค่ตระหนักชัดและมันไม่มีวิธีการเข้าไปทำ การตระหนักชัดและการที่ตกผลึกซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนไม่แปลกแยกกับธรรมชาตินั้น มัน “ไม่ใช่วิธีการ” ตัวธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว มันคือความบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันบริสุทธิ์โดยตัวมันเองปราศจากความสกปรกแปดเปื้อนไปด้วยมลทินแห่งอวิชชาตัณหาอุปาทานในธรรมอันคือ “สังขตธาตุ” หรือธรรมธาตุอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาแห่งสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทั้งหลาย ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันบริสุทธิ์ด้วยความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นไม่มีความสกปรกมลทินแห่งความเกิดขึ้นและดับไปเลย นี่คือ “หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์” ที่เป็นเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีนักศึกษาทางฝั่งโน้นที่ไม่เข้าใจเนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และไม่รู้จัก “หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์” ที่แท้จริง นักศึกษาพวกนี้ก็เลยมีความกุลีกุจอเร่งรีบที่จะเข้าไปภาวนาโดยการ “กำหนดลงไปที่จิต” ว่ามีจิตชนิดนี้มีจิตชนิดนั้นเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา และยังโง่เขลาต่อไปอีกว่าการกำหนดลงไปที่จิตต่างๆแบบนี้คือความบริสุทธิ์ และก็ได้กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์แบบนี้อยู่ตลอดเวลา โดยเข้าใจว่ามันคือความบริสุทธิ์ที่แท้จริง สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้นไม่ควรทำเพราะจิตต่างๆนั้นมันเป็นของมืดมัวมาก่อนเสียแล้ว มันเป็นมลทินแห่งจิตชนิดต่างๆที่เจือปนไปด้วยธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นและดับไป จึงเป็นการเสียเวลาเปล่าๆที่จะเข้าไปกำหนดดูจิตแบบนี้ การเข้าไปกำหนดเช่นนี้มันจึงเป็นความมัวหมองแห่งอวิชชาที่ซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังความบริสุทธิ์ที่แท้จริง และการที่เราตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับ “ความดับไปแห่งจิต” ซึ่งเกิดจากการเข้าไปกำหนดจดจ่อจิตประเภทต่างๆนั้นแล้วถือว่าตรงนี้เป็นความบริสุทธิ์ เป็นการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้น ก็ถือว่ามันยังไม่ใช่เป็นความบริสุทธิ์แต่มันคืออวิชชาตัวใหม่ที่เกิดขึ้นมาอันหนึ่งเท่านั้น มันคือ “อวิชชาแห่งความบริสุทธิ์” เพราะแท้จริง[/FONT]

    [FONT=&quot]ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือความบริสุทธิ์โดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว คือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น ไม่มีใครสามารถสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นมาซ้อนเข้ามาแทนมันซึ่งคือความบริสุทธิ์ดั้งเดิมแท้ได้ [/FONT]
    [FONT=&quot] ตัวความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันไม่มีสัณฐาน ไม่มีรูปร่างลักษณะ ไม่มีขนาด ไม่มีปริมาณ ไม่มี “ความชัดเจนหรือไม่ชัดเจน” การที่จะสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นมาตามความไม่เข้าใจของตน การสร้างความบริสุทธิ์แบบนี้คือ “การเข้าไปประดิษฐ์รูปร่างแห่งความบริสุทธิ์” ขึ้นมาเสียเอง และก็ยังหลงเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการภาวนาเพื่อกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์แบบนี้มันคือปัญหาสำคัญแห่งความหลุดพ้นต้องกำหนดจดจ่อกับความบริสุทธิ์แบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีภาวะหลุดพ้นเกิดขึ้น เมื่อถือหลักความคิดแบบนี้มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง นักศึกษาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธ์เสียเองแล้ว ความคิดผิดเหล่านี้มันเป็นการปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อมาปิดบังความบริสุทธิ์ที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว มันหลุดพ้นโดยตัวมันเองสภาพมันเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] เพียงแค่ ละทิ้ง สลัดทิ้ง สลัดออก ซึ่งกระบวนการต่างๆแห่งความเข้าใจผิดในการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิต ในการกำหนดจดจ่อลงไปที่ความบริสุทธิ์ซึ่งเป็นธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา แล้วหันหน้ามาทำความเข้าใจในความหมายของความบริสุทธิ์ที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ แล้วตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันเพียงเท่านี้ “หน้าตาแห่งความบรสุทธิ์” ที่แท้จริงก็จะปรากฏเผยโฉมหน้าของมันขึ้นมาเองตามธรรมชาติ


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 54[/FONT][FONT=&quot] ความสิ้นสุดแห่ง “การเกิดขึ้นและดับไป ”[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ในสมัยนั้น พระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 (เว่ยหล่าง) ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำทางด้านศาสนาแห่งนิกายเซน เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่เนื้อหาธรรมอันหลุดพ้นจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทางจีนตอนใต้ มีภิกษุในประเทศจีนทั่วสารทิศในยุคนั้นได้เข้ามาพำนักฝากตัวเป็นศิษย์อยู่กับท่านเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยหลายร้อยรูป หนึ่งในนั้นก็คือ ภิกษุ ฉิต่าว ภิกษุรูปนี้ท่านได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมานานเป็นสิบปี ท่านไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานที่ว่า “สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรมหรือธรรมอันปรุงแต่ง) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และ ความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้น”[/FONT]
    [FONT=&quot] พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง ได้อธิบายความหมายแห่งพระสูตรนี้ให้ ภิกษุ ฉิต่าว ฟังว่า “ ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง หรือแห่งการเกิดดับ ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ นิพพานเป็นการแสดงออกของความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง ”[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ด้วยเนื้อหาพระนิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือ อสังขตธรรม กล่าวคือเป็นธรรมอันไม่ปรุงแต่ง มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น และความว่างเปล่านั้นมันคือคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองเป็นเนื้อหาเดิมๆของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่เป็นความว่างเปล่าที่เกิดจากการอาศัยเหตุปัจจัยจากสิ่งที่มันเกิดขึ้นและดับไปและไม่ได้อาศัยเหตุปัจจัยจากการสิ้นสุดลงแห่งความเกิดและแตกดับซึ่งเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใดเล่า ก็เพราะว่าเนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือความว่างเปล่าซึ่งมันว่างเปล่าเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันคืออสังขตธาตุ ธรรมธาตุแห่งความไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อเป็นเช่นนี้มันจึงย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงในการเกิดขึ้นดับไป ไม่มีแม้กระทั้งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่แห่งความเกิดขึ้นและดับไปดังกล่าว เพราะเนื้อหาเหล่านี้มันคือความหมายแห่งสังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง มันเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมา มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อคอยอาศัยการเกิดดับ มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อรอคอยความสิ้นสุดแห่งการเกิดดับ มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเข้ามาซ้อนเข้ามาปิดบังไม่ให้เห็นไม่ให้เข้าใจใน[/FONT]

    [FONT=&quot]ความหมายที่แท้จริงแห่งพระนิพพาน เพียงแค่ตระหนักชัดและตกผลึกว่า เนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วซึ่งเป็นคุณสมบัติของมันอยู่แล้ว เพียงแค่ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันด้วยความกลมกลืนในความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุซึ่งมันเป็นความบริบูรณ์แห่งความว่างเปล่าอยู่แล้ว ไม่มีสิ่งใดอันเป็นตัวตนที่จะแทรกเข้ามาทำหน้าที่เกิดดับได้เลย [/FONT]
    [FONT=&quot] นิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น เป็นการสลัดออกจากธรรมอันคือการปรุงแต่งซึ่งคือการเกิดขึ้นดับไปโดยสิ้นเชิง เป็นการสลัดออกโดยเด็ดขาด เป็นความเด็ดขาดที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุปัจจัยจากการทำหน้าที่แห่งความสิ้นสุดของการเกิดดับด้วยซ้ำไป เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่มีอะไรกับอะไรอยู่แล้ว ไม่มีเกิดขึ้นและดับไปอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่ต้องสิ้นสุดในหน้าที่อะไรอยู่แล้ว เป็นความเด็ดขาดที่คือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองอยู่แล้ว เป็นความเด็ดขาดที่เรียกมันว่า “ตถตา” คือ มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือการตกผลึกและเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั่นเอง


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 55[/FONT][FONT=&quot] สลัดออก[/FONT]
    [FONT=&quot]การ “สลัดออก” คือ ศาสตร์แห่งความเป็นพุทธะวิสัยที่ตถาคตเจ้าซึ่งเปรียบเสมือนครูใหญ่ของเหล่ามนุษย์และเทวา ท่านใช้การ “สลัดออก” เป็นศิลปะในการสอนเพื่อชี้แนะบรรดาหมู่เวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อไปสู่ความตกผลึกตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมที่ตถาคตเจ้าทรงโปรดสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมแห่งการรับธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] บางครั้งตถาคตเจ้าก็ทรงสอนให้ “สลัดออก” ซึ่งภาวะจิตอันเป็นอกุศล โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจที่จะรักษาจิตโดยการพยายามปรุงแต่งจิตไปในทางกุศล เช่น การรักษาศีล โดยตถาคตทรงใช้อุบายอันแยบยลซึ่งคือศิลปะในการสอน ท่านทรงชี้ถึงการได้รับโทษต่างๆเมื่อยังดำเนินจิตไปในทางอกุศลและทรงชี้ถึงการได้รับผลแห่งบุญเมื่อดำเนินจิตไปในทางกุศล[/FONT]
    [FONT=&quot] บางครั้งตถาคตเจ้าก็สอนให้ “สลัดออก” ซึ่งความทุกข์ทั้งปวง โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ทั้ง 5 เรื่องธรรมชาติแห่งขันธ์ทั้ง 5 ที่มันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา เรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่องสังขตธาตุทั้งหลายอันคือธรรมธาตุที่มีคุณลักษณะแห่งการเกิดขึ้นละดับไปเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] บางครั้งตถาคตเจ้าก็สอนให้ “สลัดออก” ซึ่งสังขตธาตุทั้งปวง โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่อง อสังขตธาตุ อันคือธรรมธาตุที่มีคุณลักษณะแห่งการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ได้ และไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไปสิ้นไป มันคือความเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดแห่งความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น โดยตถาคตเจ้าได้ใช้อุบายอันแยบยลอันคือศิลปะในการสอน ท่านทรงชี้ว่าสังขตธาตุนั้นความจริงมันเป็นเพียงภาวะแห่งความแปรปรวนไม่แน่นอนแห่งอัตตาตัวตนที่เกิดขึ้นและดับไปเพียงเท่านั้นแต่มันยังไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดแห่งความว่างเปล่าอันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นดับไปได้เลย แต่แท้ที่จริงมันมีภาวะธรรมที่เป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือความเป็นสังขตธาตุ มันคือ “อสังขตธาตุ” อันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันว่างเปล่าไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นความว่างเปล่าแบบเด็ดขาดที่อยู่นอกเหนือการเกิดขึ้นและดับไป ตถาคตทรงชี้ว่า “ความว่างเปล่าอันมิใช่ตัวมิใช่ตนนั้นมันทำหน้าที่ตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์โดยตัวมันเองอยู่แล้ว” ตถาคตเจ้าจึงทรงตรัสธรรมไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา อันหมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว (โดยตัวมันเองโดยสภาพธรรมชาติของมันเอง) เมื่อเราเข้าใจและตระหนักชัดในความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้แล้ว ตถาคตจึงทรงชี้ให้ “สลัดออก” เสียซึ่งสังขตธรรมทั้งปวงเสีย [/FONT]
    [FONT=&quot] การ “สลัดออก” จึงเป็นความหมายแห่งการละทิ้งภาวะธรรมเดิมๆของตนที่เคยได้เข้าไปเรียนรู้แล้วตกผลึกตระหนักชัดและเคยซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน “เป็นการละทิ้งได้โดยสิ้นเชิง” และเป็นความหมายแห่งการได้เริ่มเรียนรู้ภาวะธรรมใหม่ที่ดีกว่าอันเป็นอุบายทำให้ออกจากกองทุกข์ได้ผลมากกว่า และท้ายที่สุดเมื่อ “สลัดออก” ซึ่งสังขตธาตุและการที่ได้ตกผลึกตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับอสังขตธาตุอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นการออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว มันจึงเป็นการ “สลัดออก” ไปสู่ความเป็นที่สุดแห่งธรรม ความรู้ที่พาพวกเธอ “สลัดออก” และนำไปสู่ความพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงอย่างสิ้นเชิงได้นั้น ก็คือ สภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นซึ่งมันอยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและภาวะความไม่หลุดพ้น [/FONT]
    [FONT=&quot] นี่คือ พุทธศาสตร์ที่ชื่อ “สลัดออก” แห่งพุทธะวิสัย


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 56 โศลกแห่งเซน[/FONT]
    [FONT=&quot] เว่ยหล่าง เป็นพระอรหันต์ในยุค 1200 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านดำรงตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน ท่านเป็นโพธิสัตว์ที่ลงมาทำหน้าที่ส่วนหนึ่งในการต่ออายุพระพุทธศาสนา ได้อย่างสมภูมิธรรมของท่าน เว่ยหล่าง เป็นชายผู้ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ท่านสามารถฟังธรรมและวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ประกาศไว้ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น ถือว่าท่านเป็นอริยสงฆ์แห่งนิกายเซนในประเทศจีนที่เด่นทางด้านปฏิสัมภิทาญาณมาก ท่านสามารถอธิบายธรรมที่ยากให้สามารถเข้าใจได้ง่าย [/FONT]
    [FONT=&quot] มีอยู่วันหนึ่ง พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด เพื่อให้ทุกคนเขียนโศลก ว่าด้วยเรื่อง ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยหากผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัตร (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปรินายก) และจะถูกสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน [/FONT]
    [FONT=&quot] ชินเชา ภิกษุผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก ผู้มีอายุกาลพรรษามากที่สุดในบรรดาลูกศิษย์ของสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้พยายามแต่งโศลกขึ้น มีข้อความดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]“กายของเราคือต้นโพธิ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ใจของเราคือกระจกเงาอันใส[/FONT]
    [FONT=&quot]เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆชั่วโมง[/FONT]
    [FONT=&quot]และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองลงจับ”[/FONT]

    [FONT=&quot] แต่สังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้ทราบก่อนอยู่แล้วว่า ชินเชาผู้นี้ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้ และเขายังไม่ซึมทราบในธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT][FONT=&quot] ท่านได้อ่านโศลกที่ชินเชาเขียนแปะไว้ที่ฝาผนังทางเดินแล้วท่านก็กล่าวแก่คนทั่วไปว่า [/FONT][FONT=&quot]เพราะสูตรๆ นั้นได้กล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งที่มีรูป หรือมีความปรากฏกิริยาอาการ ย่อมเป็นอนิจจังและเป็นมายา"[/FONT][FONT=&quot] หากผู้ใดน้อมไปยึดถือปฏิบัติก็จะได้ไปจุติในสวรรค์ ครั้นเวลาเที่ยงคืน พระสังฆปริณายกได้ให้คนไปตามตัวชินเชามาที่หอแล้วถามว่าเขาเป็นผู้เขียนโศลกนั้นใช่หรือไม่[/FONT][FONT=&quot]พระสังฆปริณายกได้พูดต่ออีกว่า[/FONT][FONT=&quot] "โศลกของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่ได้รู้แจ้ง ธรรมชาติดั้งเดิมแท้เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้วเป็นนาน แต่เจ้ายังไม่ได้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป การแสวงหาความตรัสรู้อันสูงสุด ด้วยความเข้าใจอย่างของเจ้าที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ยากที่จะสำเร็จได้"[/FONT]
    [FONT=&quot]
    "การที่ใครจะบรรลุอนุตรสัมโพธิได้นั้น ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตนเอง หรือที่เรียกว่าธรรมชาติดั้งเดิมแท้ อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้ ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้นทุกๆ สิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป ตถตา (คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้, ซึ่งเป็นชื่อของธรรมชาติดั้งเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไรใจของผู้นั้น ก็จะยังคงอยู่ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" สถานะเช่นนี้ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้ ถ้าเจ้าสามารถเห็นสิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้ เจ้าจะได้รู้แจ้งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด"[/FONT]

    [FONT=&quot] เวลาล่วงมาอีกสองวัน บังเอิญเด็กหนุ่มคนหนึ่งเดินผ่านมาทางห้อง ที่เว่ยหล่างตำข้าวอยู่ เด็กคนนั้น ได้เดินท่องโศลกของชินเชา ที่จำมาจากฝาผนังอย่างดังๆ พอได้ยินโศลกนั้น เว่ยหล่างก็ทราบได้ทันทีว่าผู้แต่งโศลกนั้น ยังไม่ใช่ผู้เห็นแจ้งใน ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ เว่ยหล่างจึงไหว้วานเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานแห่งตำบลกองเจาคนหนึ่งชื่อ จางตัตยุง เขียนโศลกให้ตนขึ้นเพราะตนเองไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือเองได้[/FONT]


    [FONT=&quot]โศลกของเว่ยหล่าง มีว่า[/FONT][FONT=&quot]:-[/FONT]
    [FONT=&quot]"ไม่มีต้นโพธิ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]ฝุ่นจะลงจับอะไร[/FONT][FONT=&quot]?"

    [​IMG]

    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 56 โศลกแห่งเซน (ต่อ) ตอนจบ
    [/FONT]

    [FONT=&quot]วันรุ่งขึ้น[/FONT][FONT=&quot] พระสังฆปริณายกได้ลอบมาที่โรงตำข้าวอย่างเงียบๆหลังจากที่ท่านได้อ่านโศลกของเว่ยหล่างแล้ว ท่านก็ได้อธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตร(กิมกังเก็ง) ให้แก่เว่ยหล่าง เมื่อท่านได้อธิบายมาถึงข้อความที่ว่า "คนเราควรจะใช้จิตของตน ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย ทันใดนั้นเว่ยหล่างก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ และได้เห็นแจ้งชัดว่า "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ก็คือตัว ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั่นเองมิใช่อื่นไกล"[/FONT]
    [FONT=&quot] เว่ยหล่างได้ร้องขึ้นในที่เฉพาะหน้าพระสังฆปริณายก ในที่นั้นว่า "แหม[/FONT][FONT=&quot]! ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง ใครจะไปคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจากตัว ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระสังฆปริณายก สังเกตเห็นว่า[/FONT][FONT=&quot] เว่ยหล่างได้เห็นแจ้งแล้วใน ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ท่านได้กล่าวว่า "สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตนเอง ว่าคืออะไร ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะศึกษาพุทธศาสนา ตรงกันข้าม ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร และเห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซับว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว ผู้นั้นคือวีรมนุษย์ คือครูของเทวดาและมนุษย์ คือพุทธะ "
    ดังนั้น, ในฐานะที่ความรู้ย่อมไม่เป็นของบุคคลใดแต่ผู้เดียว ธรรมะอันนั้นจึงถูกมอบตกทอดมายังเว่ยหล่างในเที่ยงคืนวันนั้นเอง พระสังฆปริณายกได้กล่าวสืบไปว่า "บัดนี้ ท่านเป็นสังฆปริณายกองค์ที่6 ท่านต้องคุ้มครองตัวของท่านให้ดี จงช่วยมนุษย์ให้มากพอที่จะช่วยได้ จงทำการเผยแพร่คำสอน และสืบอายุคำสอนไว้อย่าให้ขาดตอนลงได้" [/FONT]

    [FONT=&quot] ถึงแม้ชินเชาจะบวชเป็นพระและปฏิบัติธรรมอยู่กับสังฆปรินายกองค์ที่ 5 มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี แต่ชินเชากลับไม่เข้าใจธรรมชาติดั้งเดิมแท้ว่า แท้จริงโดยเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น โดยไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและดับไปเลย และธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้เป็นสิ่งที่[/FONT]

    [FONT=&quot]ใครสร้างขึ้นไม่ได้ แต่ชินเชากลับเห็นว่ายังมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่ คือยังเห็นว่ามีกายมีใจ เห็นว่ายังมีสิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นคือฝุ่นละอองแห่งมายาจิตที่ปรุงแต่งลงมาจับกระจกให้หมองมัวไม่ใสกระจ่างและต้องมีวิธีที่เข้าไปกวาดเช็ดถูมันทุกๆชั่วโมงซี่งเป็นความหลงปรุงแต่งที่จะเข้าไปแสวงหาสร้างธรรมชาติดั้งเดิมแท้ให้มันเกิดขึ้นมาตามความต้องการของตน ซึ่งความเข้าใจในธรรมของชินเชา “มันขัดต่อ มันฝืนต่อ” ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ในส่วนของเว่ยหล่าง ชายผู้ตัดฟืนเป็นคนป่าคนเยิงไม่มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้และไม่เคยบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อมาอยู่วัดก็ถูกสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ไล่ให้ไปอยู่ในโรงตำข้าว แต่เว่ยหล่างกลับเป็นคนผู้มีปัญญาสามารถตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้แห่งความไม่มีตัวไม่มีตนโดยตัวมันเองได้ เว่ยหล่างจึงแต่งโศลกขึ้นมาว่า แท้จริงกายใจก็ไม่มี ฝุ่นละอองก็ไม่มี กระจกก็ไม่มี วิธีกำจัดฝุ่นละอองก็ไม่มี โศลกของเว่ยหล่างมีความหมายว่า แท้จริงในทุกสรรพสิ่งสากลนั้นล้วนคือหน้าตาธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว การที่เราจะเข้าไปกำจัดอะไรออกไปจากใจ เพื่อให้ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเกิดขึ้น “การเข้าไปกำจัด” มันก็คือจิตอันเป็นมายาปรุงแต่งขึ้นมาตัวหนึ่งซึ่งมาบดบังธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไม่ให้เราได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันได้ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้เป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ก็คือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันก็ทำหน้าที่ของมันของมันอยู่อย่างนั้นโดยบริบูรณ์ในฐานะธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยเนื้อหาโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว การที่จะตระหนักชัดและจะสามารถซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้นั้นมิใช่เกิดจากการลงมือปฏิบัติแสวงหามันเพื่อทำให้มันเกิดขึ้นตามความต้องการของเรา เพราะการลงมือปฏิบัติแสวงหามันเป็นจิตปรุงแต่งตัวหนึ่ง “ซึ่งมันเป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป” มันคืออวิชชาตัณหาอุปาทานตัวหนึ่ง มันเป็นอัตตาตัวตนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นดับไป มันจึงไม่ใช่เนื้อหาของธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรมอันที่จะสามารถปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและแปรปรวนดับไปได้ มันขัดต่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันเป็นการปรุงแต่งเพื่อหลงเข้าไปปฏิบัติอยู่อย่างนั้น หลงปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้นในการเข้าไปปฏิบัติ เป็นการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติ


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 57[/FONT][FONT=&quot] ผูกมัดโดยไม่ต้องมีเชือก [/FONT]
    [FONT=&quot] หน้าตาดั้งเดิมแท้ของธรรมชาติที่เผยตัวเองออกมาอยู่ตลอดเวลานั้น มันคงคุณลักษณะแห่ง “ความเป็นอิสระ” ซึ่งคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น เป็นความอิสระโดยเนื้อหาตัวมันเองโดยสภาพตัวมันเอง ไม่มีใครหรือสิ่งใดจะแทรกเข้าไปอยู่ปะปนกับมันได้เลย หากจะไปอยู่รวมกับมันก็ไม่ใช่ไปอยู่ในสถานะที่ “ต้องอยู่”แต่ต้องมีคุณลักษณะแห่งความเป็นอิสระในความว่างเปล่าซึ่งเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันแบบกลมกลืนเท่านั้น เป็นความกลมกลืนแบบไม่อาจแบ่งแยกออกมาเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เลย การกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันจึงไม่ใช่เป็นการ “เข้าไปอยู่” [/FONT][FONT=&quot] หรือ ไม่ใช่เป็นการต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ได้ “อยู่” กับมัน[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น นักศึกษาทางฝั่งโน้นจงอย่าได้เดินตกไปสู่หลุมลึกแห่งความขาดอิสระโดยไม่รู้ตัว การที่เราจะกลมกลืนกับมันในความเป็นอิสระนั้น มิใช่เป็นการที่เราต้องรีบเข้าไปกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ “ผล”แห่งการเข้าไปกระทำการนั้นเกิดขึ้นซึ่งพวกคุณเรียกมันว่า “การปฏิบัติ” และพวกคุณก็ยังเข้าใจอีกว่า “ผล”ที่เกิดขึ้นนั้นคือความเป็นอิสระอย่างแท้จริง แต่โดยความเป็นจริงตามเนื้อหาแห่ง “ความคิด”ซึ่งสั่งการให้กระทำเหล่านี้ ความหมายของมันกลับเป็นการเข้าไปตีกรอบเพื่อให้เกิดแบบแผนซึ่งมันเป็น “กฏเกณฑ์” ที่เข้าใจผิดคิดขึ้นมาเองว่า จะต้องกระทำและจะต้องได้ผลแห่งการกระทำ ซึ่งโดยเนื้อหามันกลับเป็น “ความไม่อิสระ” เพราะเป็นการผูกมัดตัวเองไว้กับการปรุงแต่งที่เรียกว่า “วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนและกฎเกณฑ์” อยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามถึงแม้จะงดเว้น “ไม่เข้าไปกระทำเพื่อให้ผลเกิดขึ้น ”แล้ว แต่ก็ยังเข้าไป “รอคอย” ซึ่งเนื้อหาแห่งความอิสระให้เกิดขึ้น “การรอคอย”นั้นก็เป็นการผูกมัดตัวเองด้วยเช่นกันประการหนึ่ง เป็นการผูกมัดตัวเองไว้กับ “กาลเวลาแห่งการปรุงแต่ง” เป็นการผูกมัดตัวเองโดยไม่ต้องใช้เชือกสักเส้นเดียว

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 58 ปีศาจแห่งความเปลี่ยนแปลง [/FONT]
    [FONT=&quot] ถึงแม้เราจะรู้ว่าสิ่งๆนี้คือสิ่งที่ “เกิดขึ้น” จากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายด้วยอวิชชาความไม่รู้จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า “ทุกข์” นี่ก็เป็นความรู้ที่ถูกต้อง[/FONT]
    [FONT=&quot] และถึงแม้เราจะรู้เพิ่มเติมอีกว่าสิ่งที่ “เกิดขึ้น” นั้น โดยธรรมชาติแล้วมันมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นานและมันต้องดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมัน โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปริเริ่มปฏิบัติเองแบบผิดๆเพื่อเข้าไปบังคับจับกุมให้มันไม่เที่ยงไปตามความต้องการของเราซึ่งมันเป็นการปรุงแต่งซ้อนเข้ามาปิดบังธรรมชาติแห่งความดับไปเป็นธรรมดา นี่ก็เป็นความรู้ที่ถูกต้อง [/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ถึงกระนั้น กระบวนการทั้งหมดทั้งปวงในการรู้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติแห่งความแปรปรวนนั้น มันก็ยังเป็นเพียงแค่ความรู้ถูกต้องในระดับหนึ่งเท่านั้น มันเป็นความถูกต้องบนพื้นฐานในความคิดเห็นว่า “ ยังมี ” ซึ่งมันกลับเป็นความถูกต้องในความผิดพลาดอันใหญ่หลวง เพราะแท้จริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเลย มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นโดยสภาพมันเองถึงแม้จะเห็นว่ามี “ความเปลี่ยนแปลง” เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา แต่มันก็ยังเป็นการเห็นบนความเข้าใจในธรรมว่ายัง “มี” สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เพื่อให้เราเข้าไปรับรู้ถึง “ความเปลี่ยนแปลง” ในการเกิดขึ้นดับไปของมัน ถึงจะรู้เห็นตามธรรมชาติว่ามันมีความเปลี่ยนแปลง แต่โดยความเป็นจริงมันก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม [/FONT]
    [FONT=&quot] ถึงแม้ว่าความ “มี” อยู่ มันจะคลายออกไปมากๆแล้วก็ตามด้วยการเข้าไปปฏิบัติแบบต่อเนื่อง แต่เมื่อยังคิดว่า “มี” มันจึงเกิดการเข้าไปตามรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งความ “มี” ที่เรายังคิดเป็นพื้นฐานแบบนี้อยู่ตลอดเวลาไม่มีวันจบสิ้น หากเราเข้าใจและ[/FONT]

    [FONT=&quot]ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ว่า แท้จริงมันย่อมไม่มีสิ่งใดๆเกิดขึ้นเลย มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ก็ในเมื่อเข้าใจว่าไม่มีสิ่งใดเลยสักสิ่ง พฤติกรรมในการปฏิบัติแห่งการเข้าไประลึกรู้ตามธรรมชาติว่ามัน “มี” และมันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดับไป ก็จะไม่เกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] “ความเปลี่ยนแปลง” จึงเปรียบเสมือนเป็นปีศาจที่มาหลอกให้เราคอยใช้ “ความพยายามแห่งปัญญาอันโง่เขลา” เข้าไปวิ่งไล่ตามจับมัน [/FONT]
    [FONT=&quot] มันจึงเป็นการเสียเวลาเปล่าๆที่จะต้องใช้ความพยายามไล่จับ “ปีศาจแห่งความเปลี่ยนแปลง” ตลอดชีวิต เป็นการไล่จับบนพื้นฐานความคิดของเราที่ยังเห็นว่า “มี” อยู่ตลอดชีวิตเช่นกัน


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 59 ความไม่มุ่งเน้น[/FONT]
    [FONT=&quot] ความที่มันคงคุณลักษณะของมันอยู่อย่างนั้นโดยปราศจากการตั้งต้นและไม่มีวันดับไปจบสิ้น มันแสดงเนื้อหาอันเป็นคุณสมบัติของมันอยู่อย่างนั้นโดยสภาพมันเอง มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น โดยไม่มีใครหรือสิ่งใดแม้กระทั้ง“ธรรมอันละเอียดประณีตแห่งสัมมาทิฐิ จะมาเป็นเหตุปัจจัยทำให้มันเกิดขึ้นได้เลย ไม่มีภาวะแห่งการเกิดขึ้นดับไป ตรงนี้เรียกว่า ธรรมชาติอันคือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติ มันทำหน้าที่มันเองตามปรกติ แต่ด้วยความไม่เข้าใจของเราก็เลยเอาความเป็น “เรา” เข้าไป “มุ่งเน้น” เพื่อเสริมสร้างก่อรูปในสภาวะธรรมต่างๆขึ้นมา โดยมีความเข้าใจอย่างผิดๆว่า ธรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ลักษณะธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเกิดขึ้นและจะเข้าไปช่วยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ในเนื้อหาความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนตลอดไปอย่างมั่นคงถาวร เช่น การเข้าไป “มุ่งเน้น” อินทรีย์แห่งสติ หรือ “ ตัวรู้ ” โดยเข้าใจว่าตัวรู้นี้คือ สัมมาสติ และสัมมาสติแห่งตัวรู้นี้เองที่เข้าใจว่า มันจะช่วยให้ความความว่างเปล่าไร้ตัวตนนี้ทำหน้าที่ของมันได้ตลอดแบบประติดประต่อกันไปจนไม่ขาดสาย แต่โดยความเป็นจริง “ความมุ่งเน้น” มันคือพฤติกรรมการปรุงแต่งของจิตชนิดหนึ่งที่ “ เกิดขึ้น ” ซึ่งเป็นลักษณะแห่ง สังขตธาตุ ซึ่งมันขัดและฝืนต่อเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แห่งอสังขตธาตุ โดยธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาแบบประติดประต่อตลอดสายคงคุณลักษณะแห่งเนื้อหาความว่างเปล่าอันคือธรรมชาติอยู่แล้ว มันเป็นคุณสมบัติโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ต้องเข้าไปทำให้มัน การคิดที่จะเข้าไปทำคุณสมบัติให้ธรรมชาติมันครบถ้วนบริบูรณ์ตามความเข้าใจผิดของตนมันกลับเป็นการปรุงแต่งทางจิตขึ้นมาแบบไม่รู้ตัวเหมือนเส้นผมบังภูเขา ซึ่งมันกลับทำให้ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นหายไปเสียสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ถึงกระนั้น เมื่อตระหนักชัดเข้าใจเนื้อหาธรรมชาติข้างต้นแล้วก็ยังอดที่จะเข้าไป “มุ่งเน้น” โดยการเข้าไปประคับประคองความเป็นธรรมชาติ เข้าไปประคับประคองให้ธรรมชาติมันคงความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เข้าไปประคับประคองโดยกลัวว่าความเป็นธรรมชาติมันจะเสียรูปทรงและหายไปต้องเข้าไปประคับประคองโดยตลอด ซึ่งความเข้าไป “มุ่งเน้น” ในภาวะธรรมชาติเช่นนี้มันเป็นการปรุงแต่งจิตขึ้นมาด้วยเหตุแห่งความมุ่งเน้นนั้นมันปรุงแต่งซ้อนเข้ามาบังความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ก็โดยเนื้อหาธรรมชาติ “ดั้งเดิมแท้” นั้นมันเป็นเนื้อหาความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นมานานแสนนานแล้ว เป็นความ “ดั้งเดิม” โดยความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมันแบบนี้มาช้านานแล้ว เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการตั้งต้นและจะเป็นธรรมชาติไปแบบนี้อยู่อย่างนั้นไม่มีวันสิ้นสุดจบสิ้นแห่งความเป็นธรรมชาติอีกด้วย เพราะฉะนั้นจงทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติอันคือความดั้งเดิมแท้ของมันว่า มันสามารถดำเนินเนื้อหาหรือแสดงเนื้อหาแห่งธรรมชาติอันไม่มีไม่เป็นของมันอยู่อย่างนั้นแบบ “ไม่ผิดเพี้ยน” มันสามารถทำหน้าที่แสดงคุณสมบัติของมันได้ในทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส โดยที่มันไม่ต้องการความสามารถจากใครๆหรือผู้ใดเข้าไปประคับประคองในคุณสมบัติแห่งมันเลย เพราะว่ามันคือธรรมชาติ “ อยู่แล้ว ” มันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ “อยู่แล้ว” เป็นความ “อยู่แล้ว” แบบบริบูรณ์ในเนื้อหาอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีส่วนบกพร่อง

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 61[/FONT][FONT=&quot] อรหันตมรรค อรหันตผล[/FONT]
    [FONT=&quot] โดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ตามแนวคำสอนแห่งเซนซึ่งเป็นเรื่องความไร้ตัวตนนี้ ตัวธรรมชาติดั้งเดิมแท้เองนั้นมันเป็นสัจธรรมซึ่งมีเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และมันเป็นเนื้อหาที่ที่ไม่ต้องการสิ่งใดๆมาเพิ่มเติมหรือมายุ่งเกี่ยวกับมันอีกในทุกๆด้าน เพราะแท้จริงมันย่อมไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทุกๆลักษณะในทุกๆทางที่จะเกิดขึ้นในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้เลย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้นธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงเป็นเรื่องสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว มันไม่ต้องการอะไรกับอะไร ไม่ต้องการให้ใครมาบรรลุธรรมอะไรเพื่อให้เกิดอะไร มันไม่ใช่เป็นเรื่องใครต้องมาบรรลุอะไรแล้วธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันถึงจะเกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ในพระไตรปิฏกในส่วนของสังขตธาตุนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่อง ธรรมอันเกิดขึ้นว่าด้วยสมุทเฉทปหาน ซึ่งเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจากพฤติกรรมการปรุงแต่งทางจิตทั้งปวงไปสู่ความดับสนิทไม่มีเหลือ เป็นความดับสนิทจากเหตุแห่งการชักจูงเข้าไปปรุงแต่งทุกๆกรณี ธรรมแห่งสมุทเฉทปหานที่พระพุทธองค์ตรัสถึงนี้เป็นธรรมอันว่าด้วย การมีเหตุปัจจัยให้ได้พิจารณาและตกผลึกซึ่งมัน “เป็นอุบายอันแยบยล” ที่จะทำให้เราไม่เข้าไปปรุงแต่งได้อีกอย่างเด็ดขาด ซึ่งเราเรียกว่า ธรรมอันเกิดขึ้นว่าด้วย อรหันตมรรค และ อรหันตผล [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมอันเกิดขึ้น ซึ่งคือเนื้อหาแห่งอรหันตมรรคนั้น เป็นการหยิบยกธรรมขึ้นมาพิจารณาถึงเรื่องคุณลักษณะแห่งธรรมทั้งปวงว่า อะไรคือธรรมทั้งหมดซึ่งมีลักษณะแห่งการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุ และ อะไรคือธรรมอันมีลักษณะธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้หรืออสังขตธาตุ เมื่อเราสามารถแยกแยะออกมาได้ทั้งหมดแล้วว่าธรรมเหล่าใดมีคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะให้ “สลัดออก” ในธรรมอันคือสังขตธาตุซึ่งคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งนี้ทิ้งเสีย และให้ดำเนินไปสู่เนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้หรืออสังขตธาตุนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] ในส่วนเนื้อหาธรรมอันคือ “สังขตธาตุ” ทั้งหมดนั้น ก็คือเนื้อหาธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ว่าด้วยการดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ ซึ่งประกอบไปด้วย ธรรมอันคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สุจริต 3 สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ธรรม และธรรมทุกๆหมวดที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวถึงซึ่งมีเนื้อหาอันเกี่ยวกับสภาพธรรมที่มีลักษณะปรุงแต่งเกิดขึ้นและดับไป [/FONT]

    [FONT=&quot] และก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดใจ แต่มันคือความเป็นจริงกล่าวคือ ธรรมอันคืออรหันตมรรคนั้น เป็นการที่ต้องหยิบยกเรื่อง “มรรคมีองค์ 8” ซึ่งเป็นหนทางหลุดพ้นนั้นขึ้นมาพิจารณาถึงความที่มันเป็นธาตุแห่งการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุด้วย ก็เพราะว่ามรรคมีองค์ 8 มันคืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากการตระหนักชัดและการที่ได้ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ มันจึงเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป และมรรคมีองค์ 8 เองก็โดยคุณลักษณะของมัน “มันก็คือํธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพเกิดขึ้นและดับไป” เช่นกัน มันจึงเป็นเรื่องประหลาดใจสำหรับนักปฏิบัติธรรมที่พึ่งจะเข้าใจว่า แท้จริงแล้วอรหันตมรรค คือ ความที่ไม่ต้องมีธรรมอันว่าด้วยมรรคเกิดขึ้น คือความที่ต้องสลัดมรรคมีองค์ 8 ออกไปตามพุทธประสงค์ที่ให้สลัดออกซึ่งสังขตธาตุ เพราะถ้าเราคิดว่ามันจะต้องเดินไปบนเส้นทางมรรคมีองค์ 8 อยู่ มันก็ยังเป็นสังขตธาตุคือธรรมธาตุอันปรุงแต่งอยู่นั่นเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องแห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นดับไปเกี่ยวกับมรรค มันทำให้บดบังและไม่ให้เกิดความเข้าใจใน “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ที่แท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] และก็ยิ่งเป็นที่ประหลาดใจไปมากกว่านั้นก็คือ การหยิบยกธรรมอันว่าด้วย อรหันตมรรค อรหันตผล ขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาธรรมนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ด้วยการพิจารณาเช่นนี้มันก็เป็นการเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมอันว่าด้วย อรหันตมรรค อรหันตผล นี้ด้วย ซึ่งเป็นคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุที่เป็นการปรุงแต่งมีสภาพเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาด้วยเช่นกัน เป็นสังขตธาตุแห่ง อรหันตมรรค อรหันตผล ที่ต้องสลัดออกสลัดทิ้งไปเพื่อไปสู่ความตระหนักชัดในเนื้อหา “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” อย่างแท้จริงเช่นกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] ในส่วนเนื้อหาธรรมอันคือ “อสังขตธาตุ”นั้น ก็คือเนื้อหาธรรมอันว่าด้วยธรรมชาติที่ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เนื้อหามันคือความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น มันปราศจากการพิจารณาธรรมทั้งปวง มันเป็นเนื้อหาธรรมชาติที่ “ไม่ยุ่งเกี่ยว” กับ “กระบวนการพิจารณาแยกแยะธรรมแบบเด็ดขาดว่า อะไรคือการปรุงแต่ง อะไรคือธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่ง” มันเป็นเนื้อหาธรรมชาติที่ “ไม่ยุ่งเกี่ยว” กับ “กระบวนการการสลัดออกแห่งสังขตธาตุได้อย่างสิ้นเชิง” มันเป็นธรรมชาติที่มันเป็นอิสระโดยตัวมันเองในความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น [/FONT]

    [FONT=&quot]มันแสดงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการใดๆทั้งสิ้น [/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อสามารถตระหนักชัดว่า อะไรคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ซึ่งมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นตามธรรมอันว่าด้วย “อรหันตมรรค” นั้นแล้ว และการที่ได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ มันก็คือ “อรหันตผล” นั่นเอง อรหันตผล เป็นเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันเผยตัวมันเองออกมา แสดงเนื้อหามันออกมาซึ่งมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น ไม่มีธรรมสิ่งใดเลยในคุณลักษณะแห่งการปรุงแต่งคือสังขตธาตุเกิดขึ้นและดับไปในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ได้ ไม่มีแม้กระทั้งการปรุงแต่งด้วยว่า “นี่คือธรรมอันว่าด้วย อรหันตผล” [/FONT]
    [FONT=&quot] สรุปโดยหลักแล้ว ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันมิได้เกิดขึ้นจากสิ่งใดหรือใครต้องมากระทำให้เกิดขึ้น มันแสดงเนื้อหาอันคือ ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น และในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันก็ไม่ได้มีกระบวนการ “การทำความเข้าใจและพิจารณาธรรม” อันว่าด้วยธรรมอันคือ อรหันตมรรค อรหันตผล แต่อย่างใด เพราะโดยสภาพแห่งธรรมอันว่าด้วย อรหันตมรรค อรหันตผล นี้ มันคือธรรมอันมีสภาพปรุงแต่งซึ่งมันมิใช่เนื้อหาของธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว[/FONT][FONT=&quot] มันจึงต้องสลัดออกซึ่งธรรมอันคือ อรหันตมรรค อรหันตผล ซึ่งเป็นสังขตธาตุ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันถึงจะเผยตัวมันเองออกมา ซึ่งมันเป็นเนื้อหาตามธรรมชาติอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] การพิจารณาธรรมอันเป็นเหตุให้เราตระหนักชัดถึง"ธรรมชาติดั้งเดิมแท้" มันเป็นเรื่องต่างหากจากเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันเผยตัวมันเองออกมา การพิจารณาธรรมอันเป็นเหตุให้เราตระหนักชัดถึง"ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ " มันคือเนื้อหาแห่งการปรุงแต่งด้วยชนิดหนึ่งที่ต้องสลัดออกไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจแล้ว ก็ต้องสลัดการพิจารณาออกอันคือธาตุแห่งการปรุงแต่งด้วย แล้วเราจะได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับ "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้" ที่มันว่างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนานอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 62[/FONT][FONT=&quot] มิได้ยืนยัน [/FONT]
    [FONT=&quot] ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ในการทำหน้าที่ของมันที่มันแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นอันหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดมิได้นั้น การทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมัน มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันเกี่ยวกับการสิ้นสุดหรือการดับสูญของปรากฎการณ์ใดๆ [/FONT]
    [FONT=&quot] มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า “นี่คือการสลัดออกสละทิ้งซึ่งสังขตธาตุ” “นี่คือการสลัดออกสละทิ้งซึ่งธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งทั้งปวงได้โดยเด็ดขาดแล้ว”[/FONT]
    [FONT=&quot] มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า “นี่คือการดับไปสิ้นไปแห่งอัตตาทั้งปวง”[/FONT]
    [FONT=&quot]มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า[/FONT][FONT=&quot] “นี่คือการดับไปสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย”[/FONT]
    [FONT=&quot]มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันถึง “ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่แห่งภาวะธรรมใดๆ”[/FONT]
    [FONT=&quot] มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า[/FONT][FONT=&quot] “นี่คือการตกผลึก” “นี่คือการตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้”[/FONT]
    [FONT=&quot]และท้ายที่สุดมันก็มิได้เป็นการทำหน้าที่เพื่อเป็นสิ่งยืนยัน[/FONT][FONT=&quot]“ฐานะตัวมันเองว่ามันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้”[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 63[/FONT][FONT=&quot] ฝันละเมอ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความจริงที่ไม่ใช่ความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าหากว่าสิ่งที่เรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ความจริง” เป็นเพียงสิ่งที่พยายามให้เป็น“ความเป็นจริง” เท่านั้น แล้วอะไรจะเกิดขึ้น?[/FONT]
    [FONT=&quot]หากถ้าความหมายของคำว่า[/FONT][FONT=&quot] “ความจริง” ที่เราต่างเข้าใจกันนั้น เป็นเพียงความเข้าใจบนพื้นฐานความเข้าใจของตนเองเพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วความเข้าใจในส่วนนี้ที่ว่านี้ เป็นเพียงสิ่งที่ตนพยายามให้เป็นความจริงเสียมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า ความจริงนั้นต้องมีตัวตน จับต้องสัมผัส ต้องมีสิ่งที่พิสูจน์และมีความหมายและสามารถให้คำจำกัดความให้ได้ ถึงจะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า “ความจริง” แต่ในทางกลับกันสำหรับผู้ที่ตระหนักชัดแล้วจึงเรียกสิ่งนั้นว่า “ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นความเป็นจริง” [/FONT]
    [FONT=&quot]จึงไม่แปลกอะไรที่จะเห็นได้ว่า มนุษย์เรามีความคิดที่แตกต่างกันออกไป[/FONT][FONT=&quot] ซึ่งนั่นอาจเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า สิ่งที่แต่ละคนเชื่อหรือได้รับรู้มาเป็นความเป็นจริงสำหรับเขาเหล่านั้น และการที่จะทำให้เขาเหล่านั้นรับรู้และลืมตาต่อความเป็นจริงแท้โดยธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน จึงเป็นไปได้ยากและมีน้อยคนนักที่จะตระหนักชัดถึงความเป็นจริงที่แท้นี้โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น เพราะเหตุที่ว่าทุกคนมัวแต่หลับตาหาความเป็นจริงตามจินตนาการณ์ที่สร้างขึ้นมาด้วยความอยากให้เป็นความจริง หรือจะอธิบายง่ายๆว่า เหมือนกำลังฝันแต่ไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่ ละเมออยู่ แล้วก็เลยไปจริงจังกับความฝัน ตามติด ติดพัน ผูกพันจนฝันกันข้ามชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot]ดั้งนั้นคนที่ปฏิบัติธรรมนั้นก็เหมือนควานหาการตื่นออกจากความหลงในภาวะที่ละเมออยู่นั่นเอง แล้วหวังว่าวันหนึ่งจะตื่นออกได้จากการวุ่นวายอยู่กับสภาวะธรรมที่ตนรับรู้ในฝันนั้นๆ [/FONT][FONT=&quot](ซึ่งเป็นการรับรู้สภาวะธรรมในภาวะหลับไหลจากความหลงนั่นเอง) แล้วมันจะเป็นไปได้ยังไง แบบนี้เรียกว่าละเมอหลงในธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]ส่วนคนที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่นก็มีสองประเภทคือเขาตื่นจากความหลงโดยธรรมชาติของเขาอยู่แล้ว หรืออีกประเภทที่เป็นส่วนใหญ่คือคนละเมอหลงโลก ซึ่งบางส่วนก็ว่าตัวเราอยู่ในความฝันก็เลยสาละวนหาทางออกกันใหญ่ แต่ถ้ายิ่งไปทำ ไปปฏิบัติก็จะยิ่งติดอยู่ในความฝัน เพราะกายนี้ใจนี้ก็เป็นเพียงร่างชั่วคราวที่มีขึ้นมาเพื่อใช้งานในชั่วขณะหนึ่งของชีวิตเท่านั้น แล้วดันไปจริงจังกับมันจนยืดยาว [/FONT]

    [FONT=&quot]แต่ทั้งละเมอหลงในโลกหรือหลงในธรรมมันก็ละเมออยู่ในความฝันเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่าง เพราะถ้ายังมีความแตกต่างระหว่างดีกับเลว ถูกกับผิด มันก็ยังมีตัณหาเหมือนเดิม[/FONT][FONT=&quot] จะออกจากฝันได้ก็เลิกใส่ใจทุกสภาวะที่เกิดขึ้นในฝัน รู้หรือไม่รู้ก็ไม่มี คือยังไงถ้ามันจะรู้ก็รู้ของมันอยู่เองแล้ว ถึงไม่มีเจตนาเข้าไปรู้ก็ตาม แล้วเราจะค่อยๆตื่นออกจากฝันนั้นไปเอง ซึ่งก็แล้วแต่สภาวะของแต่ละคนด้วยว่าหลับลึกขนาดไหน ฝันจริงจังเท่าใด หรือถูกความฝันหลอกหลอนจนบังไปหมด บางคนสภาวะในการหลับละเมอนั้นเป็นไปเพียงตื้นๆ พอได้ฟังได้รู้สัจธรรมก็สะดุ้งตื่นออกทันที อย่างที่เรียกว่าบรรลุฉับพลัน บางคนเจอบังเยอะหน่อยก็อาจจะค่อยๆรู้สึกตัว สะลึมสะลือตื่นขึ้นมาแบบงงๆก็มี ทั้งหมดนี้เพียงแต่ให้เรา “ปลง” คือไม่เล่นเกมไปกับมัน ไม่ต้องไปสาละวนกับการปฏิบัติเพื่อตื่นออกจากความฝัน เพราะกายและใจนี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือของเกมความฝัน เพื่อที่จะสืบต่อไปบนเกมฝันนี้เท่านั้น ยิ่งไปยุ่งกับมัน มันก็จะมีฝันอื่นๆรอเราอยู่มากขึ้นเท่านั้นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่แหล่ะคือความเป็นจริงแท้โดยธรรมชาติ[/FONT][FONT=&quot] และเมื่อบุคคลใดสามารถที่จะเข้าใจได้ว่า โดยแท้จริงแล้วธรรมชาติไม่ได้สร้างอะไรมาเพื่อให้แตกต่าง และเข้าใจว่าสิ่งที่แตกต่างคือความเข้าใจของตน นั้นแหล่ะ ท่านได้เข้าใจเนื้อหาของความเป็นจริงโดยธรรมชาติล้วนๆแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]บทความนี้ เขียนโดย นางสาวอัญชลี พรมน้อย (ลูกศิษย์)


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 64[/FONT][FONT=&quot] กรอบแห่งมนุษยชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot] “มนุษย์” จัดว่าเป็นสัตว์สังคมชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบการอยู่ร่วมกันในเชิงปฏิสัมพันธ์ ก็ด้วยลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเองที่มีความคิดซับซ้อนทั้งในเชิงแง่บวกและแง่ลบ เพราะฉะนั้นการอยู่ร่วมกันในสังคมจึงเกิดกฎกติกาขึ้นมาเพื่อเป็นการตีกรอบ ซึ่งมันเป็นแนวทางให้แต่ละคนได้เดินตามทั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความผาสุกในการอยู่ร่วมกันทางสังคม “กรอบ” ที่ช่วยกันตั้งขึ้นซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันนั้นเป็นความเห็นร่วมกันไปในทางที่ดี เช่น จารีตประเพณี วัฒนธรรม ศีลธรรม กฎหมาย และ ศาสนา การดำรงชีวิตมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมจึงเป็นวิถีชีวิตที่อยู่ภายใต้กรอบตลอดมา เป็นการดำรงชีวิตในความหมายแห่งการมีเรามีเขามีสิ่งต่างๆในสังคมโดยมีกรอบแห่งความดีชี้นำ[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือเนื้อหาแห่งความไร้ซึ่งความเป็นตัวเป็นตน มันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติดั้งเดิมแท้จึงไม่มีกฎกติกาใดๆมาเป็นกรอบ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันก้าวไปกว่ากรอบทางศาสนาและความเชื่อใดๆ ที่มนุษยชาติเคยรู้จัก มันก้าวหน้าพ้นแม้กระทั้งศิลธรรมอันดีอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ ในเนื้อหาธรรมชาติมันมีแต่ความว่างเปล่ามันไม่มีกรอบ เพราะฉะนั้น เราในฐานะนักปฏิบัติทั้งหลายขอให้ทำความเข้าใจในเรื่อง “กรอบ” ให้ดี การที่เราจะตกผลึกหรือตระหนักชัดและจะซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้นั้น ขอให้เรามีความมั่นใจว่าธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่ใช่เนื้อหาที่ต้องอยู่ในกรอบ มันเป็นการก้าวพ้นกรอบแห่งวิถีจิตวิญญาณในความเป็นมนุษย์ไปแล้ว มันปลอดจากความรู้สึกดีหรือชั่ว ความรู้สึกที่ดีมากๆและความรู้สึกที่ชั่วมากๆมันย่อมไม่ปรากฎในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้เลย มันอาจจะเป็นความกระอักกระอ่วนใจเป็นความกังวลใจและไม่มั่นใจในการที่เราจะเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนตามธรรมชาติแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นโดยปราศจากความรู้สึกที่ต้องพึ่งพิงเกี่ยวข้องกับศีลธรรมกฎระเบียบ วัฒนธรรม รูปแบบแห่งศาสนา หรือ ข้อวัตรแห่งการปฏิบัติและผลแห่งการปฏิบัติซึ่งเป็นกรอบที่เราเคยยึดว่ามันเป็นหนทางหรือแนวทางที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะความที่เข้าใจผิดเองว่าเราต้องปฏิบัติอะไรสักอย่างเพื่อให้มันดูดีในความรู้สึกของเราที่เราเรียกมันว่า “ความบริสุทธิ์ของจิต” อันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม “ความเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา” แต่ในความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ การที่เราคิดว่าเราต้องปฏิบัติธรรมและจะต้องมีผลแห่งการปฏิบัติเกิดขึ้น ซึ่งมันเป็น “ภาพแห่งความบริสุทธิ์โดยรวม” อันเกิดจากการที่เรากำลังเดินบนมรรคาแห่งความหลุดพ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็ยังล้วนแต่เป็นกรอบเช่นกัน ซึ่งเรียกมันว่า“กรอบปฏิบัติแห่งความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา” เป็นการเข้าไปติดกรอบในวิธีการปฏิบัติ [/FONT]
    [FONT=&quot] การที่เราจะตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันจึงเป็นการที่เราจะต้องสลัดออกซึ่งกรอบต่างๆเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาดโดยที่ไม่ต้องมีความรู้สึกกังวลใดๆทั้งสิ้นที่จะต้องมาแอบอิง “กรอบ” เพื่อให้ธรรมชาติดั้งเดิมแท้เกิดขึ้น เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเป็นความอิสระโดยตัวมันเอง ไม่ได้อาศัยเหตุและปัจจัยจากสิ่งใดๆกรอบใดๆเพื่อมาเอื้อให้เนื้อหาธรรมชาติมันปรากฎขึ้นเลย ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันดำรงเนื้อหาแห่งความอิสระที่เป็นความว่างเปล่าอย่างนี้มานานแสนนานโดยไม่มีจุดเริ่มต้นของมันด้วยซ้ำ มันมิใช่เป็นการก้าวพ้นกรอบ แต่มันเป็นสิ่งที่ “ไม่เคยมีกรอบ” มาก่อนต่างหาก เพราะฉะนั้นการที่ได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันแบบกลมกลืนไม่มีข้อแตกต่างในธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันจึงเป็นความกลมกลืนโดยที่ไม่มีความรู้สึกถึงความมีตัวตนแห่งเราที่ต้องก้าวพ้นกรอบการปฏิบัติให้ได้แม้แต่สักนิดเดียว มันเป็นความกลมกลืนในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบอิสระเด็ดขาดอยู่อย่างนั้น โดยไม่ต้องรู้สึกว่า “จะต้องก้าวพ้นอะไรเพื่ออะไรอีก”


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 65 บัวสี่เหล่า[/FONT]
    [FONT=&quot] ด้วยความที่กลุ่มกรรมวิสัยของแต่ละกลุ่มมีดวงจิตผูกพันกันมาในเชิงกระทำกรรมต่อกันทั้งในด้านบวกและด้านลบ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาที่บรมมหาโพธิสัตว์ได้ลงมาจุติเพื่อตรัสรู้และประกาศสัจธรรมในแต่ละยุค ด้วยผลกรรมที่ได้ทำต่อกันมานั้นมันหลากหลายและซับซ้อนจึงทำให้รอบบารมีของแต่ละดวงไม่เท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้เมื่อองค์พุทธโคดมได้ตัดสินใจประกาศแสดงธรรมในยุคนี้ ท่านจึงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงแสดงธรรมเพื่อเอื้อแก่หมูบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ท่านเลือกที่จะทรงแสดงธรรมแตกต่างกันไปให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาบารมีของแต่ละดวงจิต เพื่อให้ทุกดวงจิตได้รับประโยชน์สูงสุดจากการที่ท่านได้ลงมาจุติตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในห้วงกาลเวลาแห่งกัปป์นี้[/FONT]
    [FONT=&quot]บัวเหล่าที่ 1 บัวใต้โคลนตม[/FONT]
    [FONT=&quot] เปรียบเสมือนกลุ่มดวงจิตที่ไม่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปชอบเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย กาย วาจา ใจ อยู่เป็นนิจ อีกทั้งเป็นกลุ่มดวงจิตที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อในกรรมคือการกระทำและผลแห่งกรรมวิบากที่จะได้รับ ดวงจิตเหล่านี้ได้แต่แสวงหาความสุขแบบทางโลกๆไปวันๆเท่านั้น เป็นดวงจิตที่ขาดการพัฒนาทางด้านจิตใจมาเป็นเวลายาวนานหลายภพหลายชาติแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปในที่ต่างๆ และมีวาระกรรมที่ต้องได้พบปะกับพวกบัวเหล่านี้ หากพระองค์ทรงมีพระเมตตาพระองค์ก็จะทรงตักเตือนและตรัสธรรมอันเป็นเหตุให้พวกบัวเหล่านี้สะดุ้งสะเทือนกลัวถึงกรรมวิบากที่พวกตนจักได้รับ เช่น พระองค์จะตรัสถึงผลแห่งอกุศลกรรมที่หากได้ทำไปแล้วจะนำพาไปสู่นรกภูมิเป็นต้น แต่ถ้าหากบัวเหล่านี้ไม่รับฟังหรือเป็นบัวที่มีดวงจิตหยาบช้าเกินไป เมื่อพระพุทธองค์ได้พบเจอ พระพุทธองค์ก็จะทรงเป็นผู้นิ่งเฉยอยู่ โดยไม่ทรงตรัสธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ท่านทรงปล่อยให้บัวเหล่านี้เวียนว่ายตายเกิดไปตามยถากรรมอันคือกรรมวิบากต่อไป[/FONT]


    [FONT=&quot]บัวเหล่าที่ 2 บัวใต้น้ำ[/FONT]
    [FONT=&quot] เปรียบเสมือนกลุ่มดวงจิตที่พอจะพัฒนาจิตตนเองได้บ้าง แต่รอบปัญญาบารมียังไม่เพียงพอที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่จะตระหนักชัดถึง ความหมายแห่งทุกข์ เหตุแห่งการให้เกิดทุกข์ และความดับทุกข์ได้ [/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปในที่ต่างๆ และมีวาระกรรมที่ต้องได้พบปะกับพวกบัวเหล่านี้ พระพุทธองค์จึงทรงมีความเมตตาที่จะสั่งสอนบัวเหล่านี้ให้รู้ถึงเรื่องกรรมที่ได้กระทำและผลแห่งกรรมที่จะได้รับจากการกระทำนั้นที่จะทำให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีและเลว ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บัวเหล่านี้ให้มีทิฎฐิความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฎฐิ หลุดพ้นจากมิจฉาทิฎฐิความเห็นผิดทั้งปวง ซึ่งเห็นว่าโลกนี้เที่ยงหรือขาดสูญ ซึ่งเป็นความเห็นผิดที่แพร่หลายในยุคนั้น และเมื่อบัวเหล่านี้มีรอบปัญญาบารมีไม่เพียงพอที่จะเรียนรู้เรื่องทุกข์ และความดับไปแห่งทุกข์ พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมเพื่อสอนบัวเหล่านี้ให้รู้จักการอบรมจิตใจตนเอง “ ด้วยการสอนให้ปรุงแต่งจิต ” ไปในทิศทางที่ชอบอันเป็นกุศลจิต เช่นทรงสอนให้รักษาศิล 5 ทรงสอนให้สละทรัพย์เพื่อทำบุญบริจาค ทรงสอนให้ออกบวชเนกขัมมะเพื่อรักษาอุโบสถศิล ทรงสอนให้เลี้ยงดูบิดามารดาเชื่อฟังเคารพผู้ใหญ่ ทรงสอนให้เลือกคบหาบัณฑิตเป็นกัลยาณมิตร เหล่านี้เป็นต้น[/FONT]


    [FONT=&quot]บัวเหล่าที่ 3 บัวปริ่มน้ำ[/FONT]
    [FONT=&quot] เปรียบเสมือนกลุ่มดวงจิตที่มีรอบปัญญาบารมีมากพอที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อจะตระหนักชัดถึง สภาพแห่งทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และทุกข์ดับไปได้เพียงบางส่วน[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปในที่ต่างๆ และมีวาระกรรมที่ต้องได้พบปะกับพวกบัวเหล่านี้ พระพุทธองค์จึงทรงมีความเมตตาที่จะสั่งสอนบัวเหล่านี้ให้รู้ถึงเรื่อง การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 นั้นคือ ทุกข์ และทุกข์นั้นเองที่ทำให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎฎ์ และ เพราะรอบปัญญาบารมีของบัวเหล่านี้ยังเห็นอยู่ด้วยโมหะความหลงว่า “ ยังมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่ ” พระพุทธองค์จึงทรงสอนชี้ให้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บัวเหล่านี้เห็นว่ามันเกิดขึ้นนั้น “ มันตั้งอยู่ได้ไม่นาน ” และเป็นธรรมดาธรรมชาติที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้มันก็ล้วนดับไปโดยสภาพมันเอง ท่านทรงเพียงสอนให้บัวเหล่านี้คลายจากกำหนัดแห่งความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]บัวเหล่าที่ 4 บัวที่ชูช่อเหนือน้ำและกำลังที่จะบานกลีบออก[/FONT]
    [FONT=&quot] เปรียบเสมือนกลุ่มดวงจิตที่จะมีปัญญาบารมีมากเพียงพอแล้วที่จะพ้นทุกข์เป็นผู้หลุดพ้นในชาตินี้ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปในที่ต่างๆ และมีวาระกรรมที่ต้องได้พบปะกับพวกบัวเหล่านี้ พระพุทธองค์เพียงทรงตรัสธรรมแค่ว่า ทุกสรรพสิ่งมันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว มันคือความว่างเปล่าเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น สำหรับบัวเหล่านี้พระพุทธองค์จะไม่ทรงตรัสธรรมอะไรมาก เพราะบัวเหล่านี้มีปัญญามากพอมีความเป็นบัณฑิตมากพอที่จะพิจารณาและทำความเข้าใจในธรรมต่างๆ ด้วยปัญญาของตนเองได้ เพียงพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมซึ่งเป็น “ ธรรมอันคือธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้โดยตัวมันเอง ” เพียงเท่านั้น บัวเหล่านี้ก็ได้ตระหนักชัดและสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื่อหาเดียวกันกับความว่างเปล่าแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น ต่อหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระตถาคตเจ้า


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 66[/FONT][FONT=&quot] ความว่าง [/FONT]
    [FONT=&quot] ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นที่เป็นเนื้อหาของธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ความว่างชนิดนี้มันคือลักษณะแห่งความหยุดคิด มันคือความที่ไม่ต้องคิด มันคือธรรมชาติแห่งความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายอันก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานเป็นความปรุงแต่งขึ้นมาเป็นความคิดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มันเป็นธรรมชาติแห่งความไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา มันเป็นความว่างเปล่าอันเกิดจากพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องขันธ์ 5 ในเรื่องการไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ในเรื่องการที่ขันธ์ทั้ง 5 ดับไป ในเรื่องการที่ขันธ์ทั้ง 5 ดับสนิทไปไม่มีเหลือ ในเรื่องการสลัดออกแห่งขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งเป็นการสลัดออกแห่งสังขตธาตุ ในเรื่องการที่มันทำหน้าที่ “เป็นความว่าง” ตามธรรมชาติโดยเนื้อหามันอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น ความว่างเปล่าที่เป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงไม่ใช่ “ความว่างแบบไม่สนใจอะไรเลย” มันไม่ใช่ความว่างอันเกิดจากการการภาวนาโดยไม่ใส่ใจในสิ่งใด ไม่ใช่ความว่างแบบดับสูญซี่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็โดยข้อเท็จจริงนักปฏิบัติทั้งหลายย่อมถูกอวิชชาตัณหาอุปาทานครอบงำ เราทั้งหลายควรที่จะศึกษาถึงปัญหาคือลักษณะทุกข์ ลักษณะเหตุแห่งการทำให้เกิดทุกข์คือการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ลักษณะแห่งการออกจากกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงคือการสลัดออกซึ่งสังขตธาตุซึ่งเป็นธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งทั้งหลาย เมื่อทำความเข้าใจก็เกิดการตกผลึก ตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่อย่างนั้น นั่นแหละคือหน้าตาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอันแท้จริง

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 67[/FONT][FONT=&quot] ไม่ต้องการทั้งเหตุและผล [/FONT]
    [FONT=&quot] ตัวธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันคือเนื้อหาแสดงคุณสมบัติของมันในความไร้ซึ่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันปราศจากทุกๆสิ่งโดยไม่มีใคร ไม่มีเขา ไม่มีเรา และไม่มีสิ่งใดๆเลยที่จะเข้าไปแทรกอยู่ได้ในเนื้อหามันได้เลย มันเป็นเนื้อหาที่ “ไม่ต้องการ”อาศัยอยู่บนสิ่งๆหนึ่งที่แสดงเหตุและผลกับมันอยู่ตลอดเวลา เพราะเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเป็นเนื้อหาที่บริบูรณ์อยู่แล้วโดยตัวมันเอง เป็นความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมชนิดที่ไม่ต้องการเหตุและผลเพื่อมาเติมเต็มในความบริบูรณ์แห่งมันได้อีกเลย [/FONT]
    [FONT=&quot] หากนักศึกษาทางฝั่งโน้น ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เข้าใจว่า “เพียงแค่ลืมตาตื่นซึ่งเป็นความตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนในธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ” นักศึกษาเหล่านี้ก็จะเฝ้าเพียรพยายามหา “เหตุและผล” ในการที่จะเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร โดยอาศัยเหตุและผลต่างๆนาๆ เป็นพื้นฐานแห่งความเข้าใจผิดว่าสิ่งนั้นๆจะนำพาไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้ แม้กระทั้งเหตุผลที่ดูดีที่สุดเท่าที่นักศึกษาฝั่งทางโน้น “จะใช้ความพยายามกระเสือกกระสนค้นหาความรู้เหล่านี้มาประดับได้ ” และคิดว่า “มันใช่” บนความคิดเห็นที่เป็นเหตุและผลว่ามันถูกต้องและบนความเข้าใจผิดอีกเช่นเคยว่า มันคือ “แนวทาง” ด้วยการอิงเหตุผลที่ว่า “[/FONT][FONT=&quot]อวัยวะแห่งอายตนะทั้งหกเหล่านี้ ต่างก็เข้าคลุกคลีกันกับสิ่งที่จะทำให้มันเศร้าหมอง กล่าวคือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ และใจกับธรรมารมณ์ ในขณะแห่งการสัมผัสระหว่างอวัยวะเหล่านี้ กับวัตถุที่มันสัมผัส ย่อมเกิดความรู้สึกทางอารมณ์ขึ้นอีก ๖ ชนิด (คือเวทนา) ดังนั้น จึงทำให้เกิดมีสิ่งซึ่งเนื่องกันอยู่กับอายตนะขึ้นเป็น ๑๘ อย่างด้วยกัน[/FONT][FONT=&quot]” และถึงจะเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่า “สิ่งที่มันเศร้าหมองนั้นมันก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดา ” [/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุและผลต่างๆเหล่านี้ข้างต้นก็เป็นเพียงแค่การปลดเปลื้องจากความมืดแห่งทิฏฐิทั้งหลายในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่โดยตัวมันเองแห่ง “เหตุและผล” มันก็ยังเป็นสัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นทิฏฐิธรรมแห่งเหตุและผลอันเป็นสังขตธาตุคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งในเหตุและผลขึ้นมาเท่านั่นเอง ซึ่งโดยตัวมันเองก็มีสภาพแห่งการเกิดขึ้นดับไป ซึ่งมันไม่ใช่เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุ อันคือธรรมธาตุแห่งการไม่ปรุงแต่งซึ่งมันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น เป็นเนื้อหาแห่งความบริบูรณ์ของความว่างเปล่าซึ่งปราศจากตัวตน ซึ่งมันไม่ประกอบไปด้วยธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นและดับไปชนิดที่เราเรียกว่า “เหตุและผล”[/FONT]
    [FONT=&quot] และเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันก็ไม่ได้ประกอบไปด้วยอัตตาหรือสังขตธาตุชนิดเหตุและผลที่ว่า “[/FONT][FONT=&quot]เพียงแค่ลืมตาตื่นซึ่งเป็นความตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนในธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT][FONT=&quot] ” เช่นกัน ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่ต้องการแม้กระทั้งเหตุและผลที่ว่า ใครจะมาตระหนักชัดในตัวมัน และใครจะมาซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับมันได้[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะโดยแท้จริง ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันก็แสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น เพียงเท่านั้นจริงๆ

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 68[/FONT][FONT=&quot] ไล่ตะครุบความสงบ[/FONT]
    [FONT=&quot] หากท่านเป็นนักปฏิบัติที่กำลังแสวงหาความสงบในลู่ทางความรู้ของท่านด้วยกำลังแห่งสติ สมาธิ และปัญญา ตามที่ท่านเข้าใจ ก็ขอให้พึงทำความเข้าใจไว้ว่าความสงบสุขที่ท่านกำลังแสวงหามันยังไม่ใช่ความสงบสุขที่แท้จริง ก็เพราะว่าท่านไม่เข้าใจเอาซะเลยว่าแท้ที่จริงมันไม่มีอะไรเลย ความเป็นจริงมันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนได้มันมีแต่ความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเข้าใจผิดไปเองว่ามีและความมีนั้นมันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาตามความรู้ของท่าน และความดับไปแห่งความมีนี้เองคือความสงบตามที่ท่านเข้าใจและมุ่งมั่นเพื่อปฏิบัติแสวงหา ท่านจะเชื่อหรือไม่ว่าความสงบตามที่ท่านกำลังผจญอยู่มันจะทำให้ท่านต้องเฝ้าระวังมันเพื่อรักษาระดับความสงบของมันอยู่ตลอดเวลา เพราะมันคงจะมีอีกหลายมีตามความเข้าใจผิดที่มีอยู่ในใจท่านที่มันจะผุดขึ้นมาคอยหลอกหลอนให้ท่านเข้าไปรับรู้กับความดับของมัน ความสงบของท่านมันก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย เป็นความสงบบ้างไม่สงบบ้างสลับสับเปลี่ยนกันไป เป็นความสงบแบบขึ้นๆลงๆที่ท่านต้องเข้าไปไล่ตระครุบให้มันหยุดนิ่งตามที่ใจท่านต้องการ[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ความสงบที่แท้จริงมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นความว่างเปล่าที่เสมอกันด้วยเนื้อหาแห่งความบริบูรณ์ตามธรรมชาติที่ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะพร่องไปแล้วกลายเป็นอัตตาตัวตนซึ่งเป็นการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนก่อให้เกิดความทุกข์วุ่นวายไม่สงบตามมา มันเป็นธรรมชาติแห่งการเสมอกันด้วยความสงบสุขอย่างถาวรไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปได้ มันเป็นความสงบสุขอย่างแท้จริงโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเอง โดยที่ไม่ต้องมีใครเข้าไปประคองไล่ตะครุบมันด้วยการเฝ้าระวังที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกำลังแห่ง สติ สมาธิ และปัญญา อันเกิดจากความกลัวพลั้งเผลอที่จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
    ได้ที่

    1.http://www.facebook.com/ammarintharo

    2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

    3.http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398




    และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
    ได้ที่

    1.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=icz6yul9yv8"]???????? ????????????????? 1.flv - YouTube[/ame]
    2.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=1hlS-CG4wmE"]???????? ????????????????? 2.flv - YouTube[/ame]
    3.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=qe8X_5yjnMk"]???????? ????????????????? 3.flv - YouTube[/ame]
    4.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=4EI5IGtz4yU"]???????? ????????????????? 4.flv - YouTube[/ame]
    5.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=AKRWLwM23Lc"]???????? ????????????????? 5.flv - YouTube[/ame]
    6.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=fA7sw6VRuQ8"]???????? ????????????????? 6.flv - YouTube[/ame]
    7.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=38_I31rPrAk"]???????? ????????????????? 7 - YouTube[/ame]
    8.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=586EvinSQfI"]???????? ????????????????? 8 - YouTube[/ame]
    9.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=As7Cv50I_s8"]???????? ????????????????? 9 - YouTube[/ame]


    [​IMG]
    [/SIZE][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...