ไฟล์ที่เก้า ธัมมานุสติ

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 12 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [music]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2057[/music]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    มาว่าเรื่องของการปฏิบัติกันต่อไป ตอนนี้ทุกคนกำลังใจก็เริ่มจะทรงตัวอยู่อย่าลืมคือการปฏิบัติตามที่อย่างที่ย้ำไว้ทุกวัน เราจะทิ้งลมหายใจไปไม่ได้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึด เครื่องประคับประคองสติของเราให้ทรงตัวอยู่และมั่นคง ถ้าเราลืมลมหายใจเข้าออก การปฏิบัติในกรรมฐานทุกกองจะไม่ทรงตัว จะมีผลน้อยมาก คราวนี้การจับลมหายใจเข้าออกของเรา ให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้า ใหลตามลมหายใจออก ถ้ามันไปนึกถึงเรื่องอื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมาหาลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ถ้าเรามีความชำนาญ พอนึกปุ๊บความรู้สึกมันจะอยู่กับลมหายใจเข้าออก มันจะอยู่ตามระดับที่เราเคยทำได้ เราได้เราได้กสิณฌานก็ดี ฌานหนึ่ง ฌานสอง ฌานสาม ฌานสี่ อรูปฌานที่ หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ถ้ามันมีความคล่องตัว เรานึกถึงลมหายใจเข้าออกปุ๊บ กำลังใจมันก็จะไปจับอยู่ตรงระดับนั้นก่อน แล้วหลังจากนั้นเราก็ลดกำลังใจลง เคลื่อนกำลังใจขึ้น สลับไปสลับมาหาความคล่องตัว ในบางจุด

    เรื่องของการทรงฌานสำคัญมาก เพราะว่าทันที่ที่กำลังใจทรงเป็นฌานนั้น รัก โลภ โกรธ หลงจะกินใจของเราไม่ได้ ไฟใหญ่สี่กอง ราคะคิไฟ คือราคะ โลภะคิไฟ คือโลภะ โทสะคิไฟคือโทสะ โมหะคิไฟคือโมหะ ไฟใหญ่สี่กองจากรัก โลภ โกรธ หลง เผาเราอยู่ตลอดเวลา แต่ทันทีที่กำลังใจของเราทรงเป็นฌานได้ แม่เพียงกสิณฌานก็ตาม ไฟทั้งสี่กองนี้จะดับลงชั่วคราว เราจะมีความสุข ดังนั้นพยายามกำหนดใจของเราให้ทรงเป็นฌานให้ได้ ถ้ายังทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งไม่ได้ ตัวเรายังไม่สามารถที่จะหนีความทุกข์ได้ในระดับต้น ๆ การจะหนีความทุกข์นั้นถ้าเราหลุดพ้นมันเป็นพระอรหันต์ไปเลย เข้าสู่พระนิพพานไปเลยก็จบเรื่องกันไป แต่ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงการทรงกำลังใจในลักษณะทรงฌานนี้เป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งพระอริยะเจ้าท่าน จะเป็นพระโสดาบันก็ดี พระสติทาคามีก็ดี พระอนาคามีก็ดี จนถึงพระอรหันต์ ถ้าทำได้ไม่มีใครทิ้งฌานสมาบัติเหล่านี้ ท่านจะพยายามทำกำลังใจให้ทรงตัวอยู่เสมอด้วยความไม่ประมาท เพื่อที่จะรักษาอารมณ์จิตให้ผ่องใส เพื่อที่สร้างสติให้มั่นคง ทำให้ปัญญาเฉียบแหลมคมกล้า ถึงเวลาจะได้ตัดกิเลสได้ตามที่ต้องการ การทรงฌานเป็นการเพาะสร้างกำลังของเรา วิปัสสนาญานเปรียบเหมือนอาวุธ ถ้าเรามีทั้งกำลัง มีทั้งอาวุธ เราก็สามารถจะตัด จะปัน สิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะการตัดกิเลส กำลังฌาน แม้เพียงปฐมฌาน ก็สามารถตัดกิเลสได้แล้ว ปฐมฌานขั้นหยาบก็ดี ขั้นกลางก็ดี ขั้นละเอียดก็ดี ถ้าท่านทรงไว้คล่องตัวจริง ๆ อารมณ์พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันอยู่ในมือท่านแล้ว พระโสดาบัน มีสามระดับ ระดับต้นเรียกว่า สัตตะพสุตปรมะ คือ เกิดอีกเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง ลำดับต่อไปเรียกว่าโกลังโกละ หมายถึงว่าจากตระกูลสู่ตระกูล คือเกิดเป็นคนไป เป็นเทวดา กลับมาเป็นคนอีกทีกลายเป็นพระอรหันต์ คือจากตระกูลของมนุษย์เข้าสู่ตระกูลของมนุษย์อีกครานึงก็จบ ระดับสุดท้ายเอกะพิธี แปลว่าผู้มีพืชอันเดียวคือเกิดอีกครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าเราทำกำลังใจทรงฌานได้แม้เพียงปฐมฌาน ความเป็นพระอริยะเจ้าอยู่ในมือของเรา เหตุที่อยู่ในมือของเราเพราะว่า ทันทีที่เราทรงฌานได้ รักโลภ โกรธ หลง ไฟใหญ่สี่กองนี้จะโดนกำลังของฌานดับลงชั่วคราว เราจะสุข เยือกเย็นใจ อย่างไม่ปรากฏเป็นมาก่อน คราวนี้ถ้าหากว่าเราทรงปฐมฌานได้เท่านั้น ตีเสียว่าเป็นปฐมฌานขั้นหยาบ ยังมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดนี้ ผู้ที่ทรงปฐมฌานขั้นกลางก็ดี ขั้นละเอียดก็ดี ท่านจะมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดไหน ผู้ที่ทรงอรูปฌานที่หนึ่งที่สอง ที่สาม มีความมั่นคงกว่าเรานับประมาณไม่ได้ ท่านจะมีความสุขกว่าเราขนาดไหน นี่แค่ระดับหยาบ ๆ ระดับปุถุชนทั่วไปเท่านั้น ยังมีความสุข ความเยือกเย็นใจขนาดนี้ พระโสดาบันท่านจะมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดไหน เมื่อพระโสดาบันท่านมีความสุข ความเยือกเย็นใจขนาดนั้น พระสติทาคามี พระอนาคามีท่านจะมีความสุขขนาดไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันต์นั้น ท่านพ้นการเวียนตายเวียนเกิดโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมาทุกข์อีกแล้ว จะมีความสุขขนาดไหน อตคถาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิที่มีความสุข ไม่มีความหวาดสะดุ้งต่อสิ่งใด เพราะทราบว่าในทวีปทั้งสี่ไม่มีใครเป็นศัตรูของท่านได้ ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดินั้นไม่ได้เศษหนึ่งส่วนสิบหกของพระโสดาบัน เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น ถ้าหากว่าพลาดยังลงสู่อบายภูมิได้ ยังเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานได้ แต่พระโสดาบันนั้น ปิดอบายภูมิโดยสิ้นเชิง การเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉานที่มีแต่ความทุกข์นั้น จะไม่มีสำหรับท่านอีกต่อไป คราวนี้พระสติทาคามีที่รักโลภ โกรธ หลงเหลือน้อยเต็มทีนั้น ท่านจะมีความสุขมากกว่าพระโสดาบันขึ้นไปอีก พระอนาคามี ที่ไม่ต้องลงมาเวียนเกิดเวียนตายในภพต่าง ๆ เกิดเป็นพรหมแล้วปฏิบัติต่อให้ผ่านไปเลย เป็นการประกันความเสี่ยงว่าความทุกข์ในระดับหยาบนั้นจะไม่มีสำหรับท่านอีก ท่านจะมีความสุขขนาดไหน พระอรหันต์ที่พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงจะมีความสุขสักเพียงใด แล้วพระพุทธเจ้าของเรา ที่เป็นจอมอรหันต์ เป็นผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ สามารถสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามนั้น ท่านจะมีความสุขเพียงใด ถ้าเรากำหนดกำลังใจนึกตามดังนี้ได้ ปัญญาเกิดดังนี้ได้ เราก็จะมองเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น ควรแก่การเคารพยิ่งจริงแท้ กำลังใจเราก็จะมั่นคงต่อพระรัตนตรัย ไม่ล่วงเกินด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ การที่เรา การที่เรากำลังใจทรงต้วในการเคารพพระรัตนตรัย เป็นกฏข้อแรกของการเป็นพระโสดาบัน

    คราวนี้เมื่อท่านทรงฌานอยู่ ไม่ว่าจะขยับไปทางด้านไหนสติจะรู้รอบ ศีลของท่านจะเป็นห้าข้อก็ดี แปดข้อก็ดี สิบข้อก็ดี สองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อก็ดี ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง พอขยับมันจะรู้ว่าศีลจะขาดจะพร่องหรือไม่ เมื่อท่านรักษาศีลทุกสิขาบท ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องได้ด้วยกำลังของฌานสมาบัติ ที่ช่วยในการดำรงสติ สร้างเสริมปัญญาให้เกิดขึ้น ควบคุมศีลให้บริสุทธิ์ได้ เมื่อศีลทุกข้อของเราบริสุทธิ์ได้ ไม่มุ่งศีลด้วยตัวเอง ก็อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ เห็นคนอื่นเขาละเมิดศีลก็อย่าไปยินดี ถ้าท่านทำอย่างนี้ได้ กฏข้อที่สองของการเป็นพระโสดาบันก็อยู่ในมือของเรา ก็เหลือเพียงข้อสุดท้ายคือให้รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย ไม่ว่าเราจะทรงฌานสมาบัติได้ขนาดไหนก็ตาม เราทุกคนต้องตายแน่ ความตายอยู่เพียงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราเท่านั้น หายใจเข้าไม่หายใจออกมันก็ตายแล้ว หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าไปใหม่มันก็ตายเช่นกัน ความตายอยู่ใกล้ชิดกับเราขนาดนี้ถ้าหากว่าตายแล้ว จะตกอบายภูมิ เกิดเป็นสัตว์นรก ต้องทนทุกข์เวทนาลำบากยากเข็ญเนิ่นนานเหลือเกิน มีไฟเผาอยู่ตลอดเวลา มีสรรพาวุธสับฟันอยู่ตลอดเวลา เจ็บปวดรู้สึกครบถ้วนทุกอย่างแต่ไม่มีการตายเลย เมื่อถึงวาระถึงเวลาร่างกายที่ถูกทำลาย ก็จะกลับขึ้นมาใหม่ โดนทรมานต่อไปอีก เกิดเป็นเปรตมีแต่ความอดอยากหิวโหย ไม่สามารถจะกินอะไรได้ ที่กินได้ ก็กินของสกปรก โสโครก ไม่สามารถจะหาได้อิ่มปากอิ่มท้อง มีแต่ความทุกข์ยากเหลือคณา เป็นอสูรกายมีสภาพดีกว่าเปรตหน่อยหนึ่ง สามารถหากินได้คล่องตัวกว่า แต่ก็ต้องกินพวกของสกปรกโสโครก ของเน่าเหม็น ซึ่งไม่ใช่ว่าจะมีอยู่ทั่ว ๆ ไป ของอะไรที่มีเจ้าของอยู่ ก็ล่วงเกินของเขาไม่ได้ แอบกินของเขาไม่ได้ ต้องกินพวกซากสัตว์ พวกอุจจาระ ปัสสาวะ ที่เขาทอดทิ้งแล้ว ไม่มีใครต้องการแล้ว มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ต้องระแวงภัยอยู่ตลอดเวลา หากินไม่เต็มปากเต็มท้องไม่ทราบว่าชีวิตจะสิ้นสุดไปเมื่อไหร่ เพราะอันตรายมีอยู่รอบข้าง ถ้าหากว่าเราเกิดอีก เราก็จะมีแต่ความทุกข์ดังนี้อีก ดังนั้นทั้งการตายของเรา ทั้งการเกิดของเรา ซึ่งอยู่แค่ช่วงลมหายใจเข้าออกเท่านั้น มันประกอบไปด้วยความทุกข์ขนาดนี้ ถึงเกิดมาเป็นคนก็ตามมันก็ยังมีความทุกข์อยู่เนื่องจากว่าคนเราเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุดไม่มีสิ่งใดยึดถือมั่นหมายได้ ต้องการอย่างหนึ่งไปได้อย่างหนึ่ง สิ่งที่ไม่ต้องการไปได้ม้นมา ดังนั้นมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของความปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของความกระทบกระทั่งอารณ์ที่ไม่ชอบใจ เหล่านี้เป็นต้น เกิดเมื่อไหร่ ทุกข์เมื่อนั้น พลาดเมื่อไหร่ทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม เมื่อนั้น ดังนั้นถ้าชีวิตของเราอยู่แค่ลมหายใจเข้าออกที่เราดูอยู่ จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ดังนั้ขอให้ทุกคนตั้งใจกำหนดเอาว่าถ้าตายตอนนี้ เราขอไปพระนิพพานที่เดียว ถ้าเป็นดังนี้ได้กฏข้อสุดท้ายของการเป็นพระโสดาบัน เราก็สามารถทำได้อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าหากว่าทุกเวลาที่ท่านทรงทานอยู่รักษากำลังใจอยู่ ตราบใดที่นิวรณ์ห้าไม่สามารถกินใจท่านได้ ตราบนั้นจิตใจท่านยังผ่องใส ตราบนั้นสติสัมปชัญญะของท่านยังสมบูรณ์ เมื่อเป็นดังนั้นเราก็ทำความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ๆ ไม่ว่าจะกราบ จะไหว้ จะกล่าวคำสรรเสริญบูชาคุณของท่าน ก็ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจจริง ๆ พุทธังสรณังคัตฉามิ เราขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเราก็ยึดจริง ๆ ธรรมมังสรณังคัตฉามิ เราขอยึดพระธรรมเป็นที่พึ่งก็ยึดเพราะเราเห็นคุณของพระธรรมแล้ว สังคังสรณังคัตฉามิ เราขอยึดพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เราก็ยึดจริง ๆ เพราะว่าเราเห็นคุณของพระสงฆ์แล้ว การที่เราเกิดอีกเราก็จะมีแต่ความทุกข์ สิ่งที่พาให้พ้นทุกข์ได้คือ ทาน คือศีล คือภาวนา ดังนั้นเราต้องมีศีลทุกสิขาบทบริสุทธิ์ ถ้ากำลังใจเราทรงฌานอยู่แค่ขยับตัวก็รู้ว่าดีหรือไม่ และให้คิดอยู่เสมอว่า เมื่อตายแล้วเราจะไปพระนิพพาน ดังนั้นทุกคนก็จะเห็นได้ว่ากำลังใจที่ฌานนั้น จริงแท้แล้วสำคัญที่สุด หลายท่าน อาจจะเกรงว่าการติดในรูปฌาน ก็ดี อรูปฌานก็ดี จะพาให้ ไม่พ้นทุกข์ พาให้ไปถึงพระนิพพานไม่ได้ ความจริงแล้วการติดอยู่ในรูปฌาน อรูปฌานนั้น ส่วนใหญ่จะไปเพลิดเพิลนกับความสุข ความเยือกเย็นของมัน เราก็ใช้กำลังใจในการทรงฌานก็ดี อรูปฌานนั้นก็ดีเกาะพระนิพพานไว้แทน ถ้าเอากำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ ถือว่าเราไม่ได้ ติดในรูปฌาน และอรูปฌาน หากแต่ใช้กำลังของฌานสมาบ้ตินั้นเป็นเครื่องนำเราก้าวไปสู่ความหลุดพ้น เมื่อเราทรงฌาน เรามีกำลัง เรามีสติ เมื่อเราพิจารณาวิปัสสนาญาน เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นพุทธ ความไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราได้ ก็ให้จับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจให้แน่วแน่มั่นคงว่าพระองค์อยู่ที่พระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่าน คือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน อันนี้เราทำมาหลายวันติดกัน เริ่มมีความคล่องตัว แม้จะขาดความชัดเจนแจ่มใสบ้าง ก็ถือว่าใช้ได้ ขอให้เรามั่นใจว่าตรงหน้าเรามีภาพพระอยู่ จะชัดเจนแจ่มใสก็ดีไม่ชัดเจนก็ดี ขอให้ความรู้สึกของเรามั่นใจว่ามีก็ใช้ได้ การกำหนดภาพพระนั้นเลือกเอาที่เราชอบใจ จะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ตามที่เราชอบ จะเป็นภาพพระวิสุทธิ์เทพก็ได้ หรือจะเป็นภาพพระพุทธเจ้าในลักษณะพระสงฆ์ก็ได้ ตั้งใจกำหนดใจจดจ่ออยู่กับท่าน แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งเกาะภาพพระอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้าเราทรงกำลังเกินนั้นไป ก็กำหนดใจอยู่กับภาพพระเฉย ๆ ยิ่งกำลังใจสูงเท่าไหร่ ภาพพระก็ยิ่งสว่างไสวมากเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าเรามีความคล่องต้วในการทรงฌาน เวลาเคลื่อนไหวอิริยาบทต่าง ๆ ก็สามารถทรงฌานสมาบัติได้ ถ้าหากว่าเป็นดังนั้นให้แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพพระไว้เป็นปกติ หรือถ้าหากใครได้มโนยิทธิ ส่งกำลังใจไปกราบพระบนพระนิพพาน ทุกวันให้รักษากำลังใจไว้อย่างนี้ โดยความรู้สึกของเราอย่าได้เผลอเป็นอันขาด ความรู้สึกนั้นก็คือว่าเราจะต้องตาย ตายเมื่อไหร่เราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว การกำหนดภาพพระ พวกเราทำการกำหนดมามากแล้ว วันนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องธรรมานุสสติ คือ ระลึกถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ให้ทุกคนกำหนดภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เบื้องบนศรีษะ เสียงที่ท่านได้ยินนี้ ขอให้คิดว่าเป็นเสียงธรรมะจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระแสธรรมะนั้น ให้หลั่งไหลจากพระโอษฐ์ของพระองค์ท่านลงมา ให้เห็นเป็นดอกมะลิทองคำ ค่อย ๆ ลอยต่อเนื่องตามกันลงมาเป็นทางยาว ผ่านองค์ของหลวงปู่ ผ่านองค์หลวงพ่อ ผ่านครูบาอาจารย์ของเราลงมา อยู่ตรงหน้าของเรา ให้นึกว่าตรงหน้าของเรามีพานทองคำอยู่หนึ่งใบ ดอกมะลิทองคำที่เป็นตัวแทนของพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้าค่อย ๆ ลอยลงมาอยู่ตรงหน้ารวมกันทีละเล็กทีละน้อย มากขึ้น มากขึ้น ให้กำหนดใจจับภาพดอกมะลิทองคำที่ลอยออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลั่งไหลเป็นสายลงมา จนกระทั่งผ่านตัวของเรา ไปอยู่บนบานที่อยู่บนหน้าตัก หรือว่าอยู่ตรงหน้าแทน ให้กำหนดความรู้สึกอยู่อย่างนี้ ให้หลั่งไหลวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ที่สุด ไม่มีการเต็ม ลงมาเท่าไหร่ก็มีอยู่เท่าเดิมที่เราต้องการ ต้องการจะมากขนาดไหนก็ตาม จะเอาห้าดอก เจ็ดดอก เก้าดอก หรือว่าเต็มทั้งพานก็ดี แล้วแต่เราชอบใจ ถ้าเราสามารถกำหนดสติ นึกภาพอย่างนี้ได้ ตัวอารมณ์ธรรมานุสสติกรรมฐานของเราจะทรงตัวดีมาก จริง ๆ แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีอยู่กับเราตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อุปาทาวา ภิกขเวตถาคตานัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจะเกิดขึ้นก็ดี อนุปาทาวาตถาคตานัง ตถาคตจะไม่เกิดขึ้นก็ดี ติตาวสาธรรมจิตตตา ธรรมทั้งหลายนก็ทรงต้วของมันอย่างนั้นเป็นปกติอยู่แล้ว สัพเพสังขารา อนิจาตี ถือว่าสังขารทั้งหลาย หมายถึงสรรพสิ่งทั้งหลาย คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของใด ๆ ก็ตาม มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด สัพเพสังขารา ทุกขาติ สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะต้นไม้ จะสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ถ้าไม่ใช่ตัวของมันเอง เกิดอยู่ในกองทุกข์ก็ประกอบขึ้นมาาจากความทุกข์ยากลำบาก เหมือนผู้อื่น สัพเพธรรมาอนัตตาติ ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรทรงตัวเป็นเราเป็นของเราได้ ท้ายสุดก็เสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น นี่คือนิยามแห่งธรรม นี่คือความเป็นจริงแห่งธรรมะนั้น นี่คือคำจำกัดความของธรรมะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอัจฉริยะมนุษย์สุดประเสริฐ ทรงพระปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ สามารถตรัสรู้มองเห็นธรรมะที่มีอยู่เป็นปกตินี้ได้ชัดเจน ขณะที่ผู้อื่นเขาไม่เห็น เมื่อรู้แล้วพระองค์ท่านก็นำมาสอนเราให้รู้ตาม จึงกล่าวไว้ว่า สวาขาโต ภควตาธรรมโม ธรรมะอันองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นตรัสไว้ดีแล้ว สันทิตติโก ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เห็นได้ด้วยตนเอง ใครทำใครได้ ทำแทนกันก็ไม่ได้ รู้แล้วจะบอกกล่าวคนอื่นก็ยาก เพราะธรรมะเป็นของละเอียดลึกซึ้ง เป็นปัจจัตตัง โอปนะยิโก ขอให้น้อมนำเข้ามาในกาย คือให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา แล้วท้ายที่สุดร่างกายนี้ก็ไม่เที่ยง ร่างกายนี้ก็ทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเช่นกัน ปัจจัตตังเวทิตโพ วิญญูหิติ ท่านกล่าวไว้ว่าผู้รู้ที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น จะรู้ได้ด้วยตนเอง ธรรมะเป็นของละเอียด คำพูดก็ดี ตัวหนังสือก็ดี เป็นของหยาบ ไม่สามารถที่จะอธิบายความละเอียดของธรรมะอย่างแท้จริงได้ ยกเว้นท่านทำถึงเมื่อไหร่ ท่านก็จะรู้สึกว่า อ๋อที่แท้ธรรมะเป็นอย่างนี้ แต่อย่าไปยึดถือมั่นหมาย เพราะว่านั่นอาจจะเป็นธรรมส่วนที่เราเข้าถึง ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธเจ้าเข้าถึง ถ้าหากว่าใช่มันก็ใช่ แค่ของเรา ไม่ใช่ของพระอริยะเจ้า ไม่ใช่ของพระอรหันต์ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า เข้าถึงแล้วให้น้อมจิตน้อมใจ กราบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พยายามสร้างกำลังใจของเราว่า ธรรมะที่ดีกว่านี้ ละเอียดกว่านี้ยังมีอยู่ เราต้องขวานขวายเพื่อธรรมะส่วนนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้ากำลังใจของเราทรงตัว ตั้งมั่น ดอกมะลิทองคำ ตรงหน้าที่ท่านลืมไปแล้วกำหนดใจอยู่กับดอกมะลินั้น จะค่อยๆ ใส สว่างขึ้น สะอาดขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นแก้วใสแพรวพราวอยู่ตรงหน้าของท่านทั้งพาน ตลอดสายแห่งกระแสธรรมะที่หลั่งไหลจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะกลายเป็นดอกมะลิแก้วล่องลอยลงมาเป็นเส้นทางอันสว่างไสว เป็นเส้นทางที่จะนำเราพ้นทุกข์ เป็นเส้นทางที่จะพาเราไปสู่ความสุข ดังนั้นถึงแม้ว่าธรรมะจะสำคัญเพียงใดก็ตาม อย่าลืมว่า พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ที่เรายึดถือนั้น ถ้าโดยสภาพไม่ใช่พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณที่แท้นจริง ล้วนแล้วแต่เสื่อมสลายตายพังได้ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ก็ให้ตั้งใจว่าถ้าหากว่าตายเราขอไปสู่พระนิพพานแห่งเดียว ให้เอากำลังใจจับภาพพระธรรมที่เป็นดอกมะลิแก้วก็ดี ดอกมะลิทองก็ดี ที่หลั่งไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้มั่นคงไว้ เวลาสวดมนต์ก็ให้นึกถึงภาพนี้ รักษาภาพนี้เอาไว้ให้อยู่กับเราตลอดเวลา จะได้ขึ้นชื่อว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติในธรรมานุสสติกรรมฐานอย่างแท้จริง

    ตอนนี้ก็ให้ทุกคนค่อย ๆ คลายกำลังใจออกมา พยายามแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งประคับประคองภาพธรรมานุสสติกรรมฐานให้อยู่กับเรา ขณะที่ต้วเราจะได้เตรียมทำวัตรสวดมนต์ของเราต่อไป

    ** จบไฟล์เสียงที่เก้า**
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    มาว่าเรื่องของการปฏิบัติกันต่อไปตอนนี้ทุกคนกำลังใจก็เริ่มจะทรงตัวอยู่อย่าลืมคือ การปฏิบัติตามที่อย่างที่ย้ำไว้ทุกวัน...

    *เราจะทิ้งลมหายใจไปไม่ได้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึด เครื่องประคับประคองสติของเราให้ทรงตัวอยู่และมั่นคง*

    ถ้าเราลืมลมหายใจเข้าออก การปฏิบัติในกรรมฐานทุกกองจะไม่ทรงตัว จะมีผลน้อยมาก

    คราวนี้การจับลมหายใจเข้าออกของเรา ให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจเข้า ใหลตามลมหายใจออก ถ้ามันไปนึกถึงเรื่องอื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมาหาลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น

    ถ้าเรามีความชำนาญ พอนึกปุ๊บความรู้สึกมันจะอยู่กับลมหายใจเข้าออก มันจะอยู่ตามระดับที่เราเคยทำได้ เราได้เราได้กสิณฌานก็ดี ฌานหนึ่ง ฌานสอง ฌานสาม ฌานสี่ อรูปฌานที่ หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ถ้ามันมีความคล่องตัว เรานึกถึงลมหายใจเข้าออกปุ๊บ กำลังใจมันก็จะไปจับอยู่ตรงระดับนั้นก่อน แล้วหลังจากนั้นเราก็ลดกำลังใจลง เคลื่อนกำลังใจขึ้น สลับไปสลับมาหาความคล่องตัว ในบางจุด

    เรื่องของ*การทรงฌานสำคัญมาก* เพราะว่าทันที่ที่กำลังใจทรงเป็นฌานนั้น รัก โลภ โกรธ หลงจะกินใจของเราไม่ได้

    ไฟใหญ่สี่กอง

    ราคะคิไฟคือ ราคะ
    โลภะคิไฟคือ โลภะ
    โทสะคิไฟคือ โทสะ
    โมหะคิไฟคือ โมหะ
    ไฟใหญ่สี่กองจากรัก โลภ โกรธ หลง เผาเราอยู่ตลอดเวลา แต่ทันทีที่กำลังใจของเราทรงเป็น"ฌาน"ได้ แม่เพียงกสิณฌานก็ตาม ไฟทั้งสี่กองนี้จะดับลงชั่วคราว เราจะมีความสุข

    ดังนั้นพยายามกำหนดใจของเราให้ทรงเป็นฌานให้ได้ ถ้ายังทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งไม่ได้ ตัวเรายังไม่สามารถที่จะหนีความทุกข์ได้ในระดับต้น ๆ

    การจะหนี
    "ความทุกข์" นั้นถ้าเราหลุดพ้นมันเป็นพระอรหันต์ไปเลย เข้าสู่พระนิพพานไปเลยก็จบเรื่องกันไป

    แต่ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงการทรงกำลังใจในลักษณะทรงฌานนี้เป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งพระอริยะเจ้าท่าน จะเป็นพระโสดาบันก็ดี พระสติทาคามีก็ดี พระอนาคามีก็ดี จนถึงพระอรหันต์ ถ้าทำได้ไม่มีใครทิ้งฌานสมาบัติเหล่านี้ ท่านจะพยายามทำกำลังใจให้ทรงตัวอยู่เสมอด้วย ความไม่ประมาท เพื่อที่จะรักษาอารมณ์จิตให้ผ่องใส เพื่อที่สร้างสติให้มั่นคง ทำให้ปัญญาเฉียบแหลมคมกล้า ถึงเวลาจะได้ตัดกิเลสได้ตามที่ต้องการ

    *การทรงฌานเป็นการเพาะสร้างกำลังของเรา
    *วิปัสสนาญานเปรียบเหมือนอาวุธ

    ถ้าเรามีทั้งกำลัง มีทั้งอาวุธ เราก็สามารถจะตัด จะปัน สิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะการตัดกิเลส กำลังฌาน แม้เพียงปฐมฌานก็สามารถตัดกิเลสได้แล้ว ปฐมฌานขั้นหยาบก็ดี ขั้นกลางก็ดี ขั้นละเอียดก็ดี ถ้าท่านทรงไว้คล่องตัวจริง ๆ อารมณ์พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันอยู่ในมือท่านแล้ว

    "พระโสดาบัน"มีสามระดับ ระดับต้นเรียกว่า
    -สัตตะพสุตปรมะ คือ เกิดอีกเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง ลำดับต่อไปเรียกว่า
    -โกลังโกละ หมายถึงว่า จากตระกูลสู่ตระกูลคือ เกิดเป็นคนไป เป็นเทวดา กลับมาเป็นคนอีกทีกลายเป็นพระอรหันต์ คือจากตระกูลของมนุษย์เข้าสู่ตระกูลของมนุษย์อีกครานึงก็จบระดับสุดท้าย
    -เอกะพิธี
    แปลว่า ผู้มีพืชอันเดียวคือเกิดอีกครั้งเดียวเท่านั้น

    ถ้าเราทำกำลังใจทรงฌานได้แม้เพียงปฐมฌาน ความเป็นพระอริยะเจ้าอยู่ในมือของเรา เหตุที่อยู่ในมือของเราเพราะว่า... ทันทีที่เราทรงฌานได้ รักโลภ โกรธ หลง ไฟใหญ่สี่กองนี้จะโดนกำลังของฌานดับลงชั่วคราว เราจะสุข เยือกเย็นใจ อย่างไม่ปรากฏเป็นมาก่อน

    คราวนี้ถ้าหากว่าเราทรงปฐมฌานได้เท่านั้น ตีเสียว่าเป็นปฐมฌานขั้นหยาบ ยังมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดนี้ ผู้ที่ทรงปฐมฌานขั้นกลางก็ดี ขั้นละเอียดก็ดี ท่านจะมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดไหน

    ผู้ที่ทรงอรูปฌานที่หนึ่งที่สอง ที่สาม มีความมั่นคงกว่าเรานับประมาณไม่ได้ ท่านจะมีความสุขกว่าเราขนาดไหน นี่แค่ระดับหยาบ ๆ ระดับปุถุชนทั่วไปเท่านั้น ยังมีความสุข ความเยือกเย็นใจขนาดนี้ พระโสดาบันท่านจะมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดไหน เมื่อพระโสดาบันท่านมีความสุข ความเยือกเย็นใจขนาดนั้น พระสติทาคามี พระอนาคามีท่านจะมีความสุขขนาดไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันต์นั้น ท่านพ้นการเวียนตายเวียนเกิดโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมาทุกข์อีกแล้ว จะมีความสุขขนาดไหน

    *อตคถาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิที่มีความสุข ไม่มีความหวาดสะดุ้งต่อสิ่งใด เพราะทราบว่าในทวีปทั้งสี่ไม่มีใครเป็นศัตรูของท่านได้ ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดินั้นไม่ได้เศษหนึ่งส่วนสิบหกของพระโสดาบัน เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น ถ้าหากว่าพลาดยังลงสู่อบายภูมิได้ ยังเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานได้ แต่พระโสดาบันนั้น ปิดอบายภูมิโดยสิ้นเชิง การเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉานที่มีแต่ความทุกข์นั้น จะไม่มีสำหรับท่านอีกต่อไป

    คราวนี้พระสติทาคามี ที่รักโลภ โกรธ หลงเหลือน้อยเต็มทีนั้น ท่านจะมีความสุขมากกว่าพระโสดาบันขึ้นไปอีก
    พระอนาคามี ที่ไม่ต้องลงมาเวียนเกิดเวียนตายในภพต่าง ๆ เกิดเป็นพรหมแล้วปฏิบัติต่อให้ผ่านไปเลย เป็นการประกันความเสี่ยงว่าความทุกข์ในระดับหยาบนั้นจะไม่มีสำหรับท่านอีก ท่านจะมีความสุขขนาดไหน
    พระอรหันต์
    ที่พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงจะมีความสุขสักเพียงใด แล้ว พระพุทธเจ้า ของเรา ที่เป็นจอมอรหันต์ เป็นผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ สามารถสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามนั้น ท่านจะมีความสุขเพียงใด

    ถ้าเรากำหนดกำลังใจนึกตามดังนี้ได้... ปัญญา เกิดดังนี้ได้ เราก็จะมองเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น ควรแก่การเคารพยิ่งจริงแท้ กำลังใจเราก็จะมั่นคงต่อพระรัตนตรัย ไม่ล่วงเกินด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ การที่เรา การที่เรากำลังใจทรงต้วในการเคารพพระรัตนตรัยเป็นกฏข้อแรกของการเป็น*พระโสดาบัน*

    คราวนี้เมื่อท่านทรงฌานอยู่ ไม่ว่าจะขยับไปทางด้านไหนสติจะรู้รอบ ศีลของท่านจะเป็นห้าข้อก็ดี แปดข้อก็ดี สิบข้อก็ดี สองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อก็ดี ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง พอขยับมันจะรู้ว่าศีลจะขาดจะพร่องหรือไม่ เมื่อท่านรักษาศีลทุกสิขาบท ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องได้ด้วยกำลังของฌานสมาบัติ ที่ช่วยในการดำรงสติ สร้างเสริมปัญญาให้เกิดขึ้น ควบคุมศีลให้บริสุทธิ์ได้ เมื่อศีลทุกข้อของเราบริสุทธิ์ได้ ไม่มุ่งศีลด้วยตัวเอง ก็อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ เห็นคนอื่นเขาละเมิดศีลก็อย่าไปยินดี ถ้าท่านทำอย่างนี้ได้ กฏข้อที่สองของการเป็นพระโสดาบันก็อยู่ในมือของเรา ก็เหลือเพียงข้อสุดท้ายคือให้รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย

    ไม่ว่าเราจะทรงฌานสมาบัติได้ขนาดไหนก็ตาม เราทุกคนต้องตายแน่ ความตายอยู่เพียงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราเท่านั้น หายใจเข้าไม่หายใจออกมันก็ตายแล้ว หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าไปใหม่มันก็ตายเช่นกัน ความตายอยู่ใกล้ชิดกับเราขนาดนี้

    ถ้าหากว่าตายแล้ว จะตกอบายภูมิ เกิดเป็นสัตว์นรก ต้องทนทุกข์เวทนาลำบากยากเข็ญเนิ่นนานเหลือเกิน มีไฟเผาอยู่ตลอดเวลา มีสรรพาวุธสับฟันอยู่ตลอดเวลา เจ็บปวดรู้สึกครบถ้วนทุกอย่างแต่ไม่มีการตายเลย เมื่อถึงวาระถึงเวลาร่างกายที่ถูกทำลาย ก็จะกลับขึ้นมาใหม่ โดนทรมานต่อไปอีก
    เกิดเป็น เปรต มีแต่ความอดอยากหิวโหย ไม่สามารถจะกินอะไรได้ ที่กินได้ ก็กินของสกปรก โสโครก ไม่สามารถจะหาได้อิ่มปากอิ่มท้อง มีแต่ความทุกข์ยากเหลือคณา
    เป็น อสูรกาย มีสภาพดีกว่าเปรตหน่อยหนึ่ง สามารถหากินได้คล่องตัวกว่า แต่ก็ต้องกินพวกของสกปรกโสโครก ของเน่าเหม็น ซึ่งไม่ใช่ว่าจะมีอยู่ทั่ว ๆ ไป ของอะไรที่มีเจ้าของอยู่ ก็ล่วงเกินของเขาไม่ได้ แอบกินของเขาไม่ได้ ต้องกินพวกซากสัตว์ พวกอุจจาระ ปัสสาวะ ที่เขาทอดทิ้งแล้ว ไม่มีใครต้องการแล้ว มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก
    เกิดเป็น สัตว์เดรัจฉาน ต้องระแวงภัยอยู่ตลอดเวลา หากินไม่เต็มปากเต็มท้องไม่ทราบว่าชีวิตจะสิ้นสุดไปเมื่อไหร่ เพราะอันตรายมีอยู่รอบข้าง

    ถ้าหากว่าเราเกิดอีก เราก็จะมีแต่ความทุกข์ดังนี้อีก ดังนั้นทั้งการตายของเรา ทั้งการเกิดของเรา ซึ่งอยู่แค่ช่วงลมหายใจเข้าออกเท่านั้น มันประกอบไปด้วยความทุกข์ขนาดนี้ ถึงเกิดมาเป็นคนก็ตามมันก็ยังมีความทุกข์อยู่เนื่องจากว่าคนเราเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุดไม่มีสิ่งใดยึดถือมั่นหมายได้ ต้องการอย่างหนึ่งไปได้อย่างหนึ่ง สิ่งที่ไม่ต้องการไปได้ม้นมา ดังนั้นมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของความปรารถนาไม่สมหวัง
    ทุกข์ของความกระทบกระทั่งอารณ์ที่ไม่ชอบใจ
    เหล่านี้เป็นต้น
    เกิดเมื่อไหร่ ทุกข์เมื่อนั้น พลาดเมื่อไหร่ทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม เมื่อนั้น ดังนั้นถ้าชีวิตของเราอยู่แค่ลมหายใจเข้าออกที่เราดูอยู่ จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบดังนั้นขอให้ทุกคนตั้งใจกำหนดเอาว่าถ้าตายตอนนี้ เราขอไป พระนิพพาน ที่เดียวถ้าเป็นดังนี้ได้กฏข้อสุดท้ายของการเป็นพระโสดาบัน เราก็สามารถทำได้อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าหากว่าทุกเวลาที่ท่านทรงทานอยู่รักษากำลังใจอยู่ ตราบใดที่นิวรณ์ห้าไม่สามารถกินใจท่านได้ ตราบนั้นจิตใจท่านยังผ่องใส ตราบนั้นสติสัมปชัญญะของท่านยังสมบูรณ์

    เมื่อเป็นดังนั้นเราก็ทำความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ๆ ไม่ว่าจะกราบ จะไหว้ จะกล่าวคำสรรเสริญบูชาคุณของท่าน ก็ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจจริง ๆ
    *พุทธังสรณังคัตฉามิ เราขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเราก็ยึดจริง ๆ
    *ธรรมมังสรณังคัตฉามิ
    เราขอยึดพระธรรมเป็นที่พึ่งก็ยึด เพราะเราเห็นคุณของพระธรรมแล้ว
    *สังคังสรณังคัตฉามิ เราขอยึดพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เราก็ยึดจริง ๆ เพราะว่าเราเห็นคุณของพระสงฆ์แล้ว

    การที่เราเกิดอีกเราก็จะมีแต่ความทุกข์ สิ่งที่พาให้พ้นทุกข์ได้คือ ทาน คือศีลคือภาวนา ดังนั้นเราต้องมีศีลทุกสิขาบทบริสุทธิ์ ถ้ากำลังใจเราทรงฌานอยู่แค่ขยับตัวก็รู้ว่าดีหรือไม่ และให้คิดอยู่เสมอว่า เมื่อตายแล้วเราจะไป *พระนิพพาน*

    ดังนั้นทุกคนก็จะเห็นได้ว่ากำลังใจที่ฌานนั้น จริงแท้แล้วสำคัญที่สุด หลายท่าน อาจจะเกรงว่าการติดในรูปฌาน ก็ดี อรูปฌานก็ดี จะพาให้ ไม่พ้นทุกข์ พาให้ไปถึงพระนิพพานไม่ได้

    ความจริงแล้วการติดอยู่ในรูปฌาน อรูปฌานนั้น ส่วนใหญ่จะไปเพลิดเพิลนกับความสุข ความเยือกเย็นของมัน เราก็ใช้กำลังใจในการทรงฌานก็ดี อรูปฌานนั้นก็ดีเกาะพระนิพพานไว้แทน ถ้าเอากำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ ถือว่าเราไม่ได้ ติดในรูปฌาน และอรูปฌาน

    หากแต่ใช้กำลังของฌานสมาบ้ตินั้นเป็นเครื่องนำเราก้าวไปสู่ความหลุดพ้น เมื่อเราทรงฌาน เรามีกำลัง เรามีสติ เมื่อเราพิจารณาวิปัสสนาญาน เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นพุทธ ความไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราได้ก็ให้จับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจให้แน่วแน่มั่นคงว่าพระองค์อยู่ที่พระนิพพานเท่านั้น
    เราเห็นท่าน คือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน อันนี้เราทำมาหลายวันติดกัน เริ่มมีความคล่องตัว แม้จะขาดความชัดเจนแจ่มใสบ้าง ก็ถือว่าใช้ได้

    ขอให้เรามั่นใจว่าตรงหน้าเรามีภาพพระอยู่ จะชัดเจนแจ่มใสก็ดีไม่ชัดเจนก็ดี ขอให้ความรู้สึกของเรามั่นใจว่ามีก็ใช้ได้

    การกำหนดภาพพระนั้นเลือกเอาที่เราชอบใจ จะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ตามที่เราชอบ จะเป็นภาพพระวิสุทธิ์เทพก็ได้ หรือจะเป็นภาพพระพุทธเจ้า ในลักษณะพระสงฆ์ก็ได้ ตั้งใจกำหนดใจจดจ่ออยู่กับท่าน แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งเกาะภาพพระอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้าเราทรงกำลังเกินนั้นไป ก็กำหนดใจอยู่กับภาพพระเฉย ๆ ยิ่งกำลังใจสูงเท่าไหร่ ภาพพระก็ยิ่งสว่างไสวมากเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าเรามีความคล่องต้วในการทรงฌาน เวลาเคลื่อนไหวอิริยาบทต่าง ๆ ก็สามารถทรงฌานสมาบัติได้

    ถ้าหากว่าเป็นดังนั้นให้แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพพระไว้เป็นปกติ หรือ ถ้าหากใครได้มโนยิทธิ ส่งกำลังใจไปกราบพระบนพระนิพพาน ทุกวันให้รักษากำลังใจไว้อย่างนี้ โดยความรู้สึกของเราอย่าได้เผลอเป็นอันขาด ความรู้สึกนั้นก็คือว่าเราจะต้องตาย ตายเมื่อไหร่เราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว การกำหนดภาพพระ พวกเราทำการกำหนดมามากแล้ว

    วันนี้จะขอกล่าวถึงเรื่อง"ธรรมานุสสติ" คือ ระลึกถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ให้ทุกคนกำหนดภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เบื้องบนศรีษะ เสียงที่ท่านได้ยินนี้ ขอให้คิดว่าเป็นเสียงธรรมะจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระแสธรรมะนั้น ให้หลั่งไหลจากพระโอษฐ์ของพระองค์ท่านลงมา ให้เห็นเป็นดอกมะลิทองคำ ค่อย ๆ ลอยต่อเนื่องตามกันลงมาเป็นทางยาว ผ่านองค์ของหลวงปู่ ผ่านองค์หลวงพ่อ ผ่านครูบาอาจารย์ของเราลงมา อยู่ตรงหน้าของเรา ให้นึกว่าตรงหน้าของเรามีพานทองคำอยู่หนึ่งใบ ดอกมะลิทองคำที่เป็นตัวแทนของพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้าค่อย ๆ ลอยลงมาอยู่ตรงหน้ารวมกันทีละเล็กทีละน้อย มากขึ้น มากขึ้น ให้กำหนดใจจับภาพดอกมะลิทองคำที่ลอยออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลั่งไหลเป็นสายลงมา จนกระทั่งผ่านตัวของเรา ไปอยู่บนบานที่อยู่บนหน้าตัก หรือว่าอยู่ตรงหน้าแทน ให้กำหนดความรู้สึกอยู่อย่างนี้ ให้หลั่งไหลวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ที่สุด ไม่มีการเต็ม ลงมาเท่าไหร่ก็มีอยู่เท่าเดิมที่เราต้องการ ต้องการจะมากขนาดไหนก็ตาม จะเอาห้าดอก เจ็ดดอก เก้าดอก หรือว่าเต็มทั้งพานก็ดี แล้วแต่เราชอบใจ

    ถ้าเราสามารถกำหนดสติ นึกภาพอย่างนี้ได้ ตัวอารมณ์ธรรมานุสสติกรรมฐานของเราจะทรงตัวดีมาก จริง ๆ แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีอยู่กับเราตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    *อุปาทาวา ภิกขเวตถาคตานัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจะเกิดขึ้นก็ดี อนุปาทาวาตถาคตานัง ตถาคตจะไม่เกิดขึ้นก็ดี ติตาวสาธรรมจิตตตา ธรรมทั้งหลายก็ทรงตัวของมันอย่างนั้นเป็นปกติอยู่แล้ว
    *สัพเพสังขารา อนิจาตี ถือว่าสังขารทั้งหลาย หมายถึงสรรพสิ่งทั้งหลาย คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของใด ๆ ก็ตาม มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด
    *สัพเพสังขารา ทุกขาติสรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าจะคน จะสัตว์ จะต้นไม้ จะสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ถ้าไม่ใช่ตัวของมันเอง เกิดอยู่ในกองทุกข์ก็ประกอบขึ้นมาาจากความทุกข์ยากลำบาก เหมือนผู้อื่น
    *สัพเพธรรมาอนัตตาติทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรทรงตัวเป็นเราเป็นของเราได้ ท้ายสุดก็เสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น นี่คือนิยามแห่งธรรม นี่คือความเป็นจริงแห่งธรรมะนั้นนี่คือคำจำกัดความของธรรมะนั้น

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอัจฉริยะมนุษย์สุดประเสริฐ ทรงพระปัญญาธิคุณอันล้ำเลิศ สามารถตรัสรู้มองเห็นธรรมะที่มีอยู่เป็นปกตินี้ได้ชัดเจน ขณะที่ผู้อื่นเขาไม่เห็น เมื่อรู้แล้วพระองค์ท่านก็นำมาสอนเราให้รู้ตาม จึงกล่าวไว้ว่า
    สวาขาโต ภควตาธรรมโมธรรมะอันองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นตรัสไว้ดีแล้ว
    สันทิตติโก ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เห็นได้ด้วยตนเอง ใครทำใครได้ ทำแทนกันก็ไม่ได้ รู้แล้วจะบอกกล่าวคนอื่นก็ยาก เพราะธรรมะเป็นของละเอียดลึกซึ้ง เป็น
    ปัจจัตตัง โอปนะยิโกขอให้น้อมนำเข้ามาในกาย คือให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา แล้วท้ายที่สุดร่างกายนี้ก็ไม่เที่ยง ร่างกายนี้ก็ทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเช่นกัน
    ปัจจัตตังเวทิตโพ วิญญูหิติ ท่านกล่าวไว้ว่าผู้รู้ที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น จะรู้ได้ด้วยตนเอง ธรรมะเป็นของละเอียด คำพูดก็ดี ตัวหนังสือก็ดี เป็นของหยาบ ไม่สามารถที่จะอธิบายความละเอียดของธรรมะอย่างแท้จริงได้ ยกเว้นท่านทำถึงเมื่อไหร่ ท่านก็จะรู้สึกว่า อ๋อที่แท้ธรรมะเป็นอย่างนี้ แต่อย่าไปยึดถือมั่นหมาย เพราะว่านั่นอาจจะเป็นธรรมส่วนที่เราเข้าถึง ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธเจ้าเข้าถึง ถ้าหากว่าใช่มันก็ใช่ แค่ของเรา ไม่ใช่ของพระอริยะเจ้า ไม่ใช่ของพระอรหันต์ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า เข้าถึงแล้วให้น้อมจิตน้อมใจ กราบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พยายามสร้างกำลังใจของเราว่า ธรรมะที่ดีกว่านี้ ละเอียดกว่านี้ยังมีอยู่ เราต้องขวานขวายเพื่อธรรมะส่วนนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา

    ถ้ากำลังใจของเราทรงตัว ตั้งมั่น ดอกมะลิทองคำ ตรงหน้าที่ท่านลืมไปแล้วกำหนดใจอยู่กับดอกมะลินั้น จะค่อยๆ ใส สว่างขึ้น สะอาดขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นแก้วใสแพรวพราวอยู่ตรงหน้าของท่านทั้งพาน ตลอดสายแห่งกระแสธรรมะที่หลั่งไหลจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะกลายเป็นดอกมะลิแก้วล่องลอยลงมาเป็นเส้นทางอันสว่างไสว เป็นเส้นทางที่จะนำเราพ้นทุกข์ เป็นเส้นทางที่จะพาเราไปสู่ความสุข

    ดังนั้นถึงแม้ว่าธรรมะจะสำคัญเพียงใดก็ตาม อย่าลืมว่า พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ที่เรายึดถือนั้น ถ้าโดยสภาพไม่ใช่พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณที่แท้นจริง ล้วนแล้วแต่เสื่อมสลายตายพังได้ทั้งสิ้น

    ดังนั้นเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ก็ให้ตั้งใจว่าถ้าหากว่าตายเราขอไป พระนิพพาน แห่งเดียว ให้เอากำลังใจจับภาพพระธรรมที่เป็นดอกมะลิแก้วก็ดี ดอกมะลิทองก็ดี ที่หลั่งไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้มั่นคงไว้ เวลาสวดมนต์ก็ให้นึกถึงภาพนี้ รักษาภาพนี้เอาไว้ให้อยู่กับเราตลอดเวลา จะได้ขึ้นชื่อว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติในธรรมานุสสติกรรมฐานอย่างแท้จริง

    ตอนนี้ก็ให้ทุกคนค่อย ๆ คลายกำลังใจออกมา พยายามแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งประคับประคองภาพธรรมานุสสติกรรมฐานให้อยู่กับเรา ขณะที่ต้วเราจะได้เตรียมทำวัตรสวดมนต์ของเราต่อไป

    ** จบไฟล์เสียงที่เก้า**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2006
  4. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,318
    จากคุณรินน

    มาว่าเรื่องของการปฏิบัติกันต่อไปตอนนี้ทุกคนกำลังใจก็เริ่มจะทรงตัวอยู่อย่าลืมคือการปฏิบัติตามที่อย่างที่ย้ำไว้ทุกวัน...

    *เราจะทิ้งลมหายใจไปไม่ได้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึดเครื่องประคับประคองสติของเราให้ทรงตัวอยู่และมั่นคง*
    ถ้าเราลืมลมหายใจเข้าออกการปฏิบัติในกรรมฐานทุกกองจะไม่ทรงตัวจะมีผลน้อยมาก

    คราวนี้การจับลมหายใจเข้าออกของเรา ให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออก ถ้ามันไปนึกถึงเรื่องอื่นเมื่อไหร่ให้ดึงมันกลับมาหาลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น

    ถ้าเรามีความชำนาญ พอนึกปุ๊บความรู้สึกมันจะอยู่กับลมหายใจเข้าออกมันจะอยู่ตามระดับที่เราเคยทำได้ เราได้เราได้กสิณฌานก็ดี ฌานหนึ่ง ฌานสอง ฌานสามฌานสี่ อรูปฌานที่ หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ถ้ามันมีความคล่องตัวเรานึกถึงลมหายใจเข้าออกปุ๊บ กำลังใจมันก็จะไปจับอยู่ตรงระดับนั้นก่อนแล้วหลังจากนั้นเราก็ลดกำลังใจลง เคลื่อนกำลังใจขึ้น สลับไปสลับมาหาความคล่องตัวในบางจุด

    เรื่องของ*การทรงฌานสำคัญมาก*เพราะว่าทันที่ที่กำลังใจทรงเป็นฌานนั้นรัก โลภ โกรธหลงจะกินใจของเราไม่ได้

    ไฟใหญ่สี่กอง
    ราคะคิไฟคือราคะ
    โลภะคิไฟคือโลภะ
    โทสะคิไฟคือโทสะ
    โมหะคิไฟคือโมหะ
    ไฟใหญ่สี่กองจากรัก โลภ โกรธ หลงเผาเราอยู่ตลอดเวลา แต่ทันทีที่กำลังใจของเราทรงเป็น"ฌาน"ได้แม่เพียงกสิณฌานก็ตามไฟทั้งสี่กองนี้จะดับลงชั่วคราวเราจะมีความสุข

    ดังนั้นพยายามกำหนดใจของเราให้ทรงเป็นฌานให้ได้ถ้ายังทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งไม่ได้ตัวเรายังไม่สามารถที่จะหนีความทุกข์ได้ในระดับต้น ๆ

    การจะหนี"ความทุกข์"นั้นถ้าเราหลุดพ้นมันเป็นพระอรหันต์ไปเลยเข้าสู่พระนิพพานไปเลยก็จบเรื่องกันไป

    แต่ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงการทรงกำลังใจในลักษณะทรงฌานนี้เป็นเรื่องสำคัญแม้กระทั่งพระอริยะเจ้าท่าน จะเป็นพระโสดาบันก็ดี พระสติทาคามีก็ดี พระอนาคามีก็ดีจนถึงพระอรหันต์ ถ้าทำได้ไม่มีใครทิ้งฌานสมาบัติเหล่านี้ท่านจะพยายามทำกำลังใจให้ทรงตัวอยู่เสมอด้วยความไม่ประมาทเพื่อที่จะรักษาอารมณ์จิตให้ผ่องใสเพื่อที่สร้างสติให้มั่นคง ทำให้ปัญญาเฉียบแหลมคมกล้าถึงเวลาจะได้ตัดกิเลสได้ตามที่ต้องการ

    *การทรงฌานเป็นการเพาะสร้างกำลังของเรา
    *วิปัสสนาญานเปรียบเหมือนอาวุธ
    ถ้าเรามีทั้งกำลัง มีทั้งอาวุธ เราก็สามารถจะตัด จะปัน สิ่งต่าง ๆได้ง่ายโดยเฉพาะการตัดกิเลสกำลังฌาน แม้เพียงปฐมฌานก็สามารถตัดกิเลสได้แล้วปฐมฌานขั้นหยาบก็ดี ขั้นกลางก็ดี ขั้นละเอียดก็ดี ถ้าท่านทรงไว้คล่องตัวจริง ๆอารมณ์พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันอยู่ในมือท่านแล้ว

     

แชร์หน้านี้

Loading...