ไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 19 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น เกิดจากปัญญา เมื่อเราเห็นสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว เรารู้ทันสัจธรรมแล้ว ความเป็นไปของมันก็ไม่เข้ามาบีบคั้นจิตใจของเรา จิตใจของเราเป็นอิสระ ต่อจากนั้น เราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ ตามเหตุตามผลด้วยปัญญา
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ชาวพุทธ คือผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ควรปล่อยปละละเลย

    สำหรับปุถุชน ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นเครื่องฝึกตนเท่านั้น จึงจะต้องระวังมาก เพราะความไม่ยึดมั่นของปุถุชนที่เอามาปฏิบัตินั้น เรารับมาด้วยสัญญา ไม่ใช่ปัญญา

    คือเราฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว มันเปลี่ยนแปลงไป เราก็เกิดความทุกข์บีบคั้นจิตใจ เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราฟังแล้วก็เลื่อมใส เห็นว่าเป็นความจริงอย่างนั้น และชอบใจ นำมาปฏิบัติ

    ในกรณีอย่างนี้ ได้ปัญญามานิดหน่อย แต่ตัวหลักปฏิบัติที่รับมาเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น และเราก็รับเอาหลักนั้นมาปฏิบัติตามสัญญาว่า เอ้อ....ต่อไปนี้เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรนะ

    กลับไปบ้านก็บอกว่า นี้ไม่ใช่ลูกของเรา นี้ไม่ใช่ภรรยาของเรา ไม่ใช่เงินของเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น ก็เลยไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร นี่คือเกิดความประมาทแล้ว

    การที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรนี่ เป็นเพียง “ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น” เพราะความไม่ยึดมั่นตัวนี้ ไม่ใช่ความไม่ยึดมั่นที่แท้ มันเป็นเพียงความไม่ยึดมั่นที่เกิดจากสัญญา แล้วเราก็เอาตัวความไม่ยึดมั่นนี้มาจับยึดเข้าไว้อีกทีหนึ่ง เลยเป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น จึงว่า ต้องระวังให้ดี ถ้าเป็นปุถุชน จะทำได้แค่นี้

    ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น เกิดจากปัญญา เมื่อเราเห็นสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว เรารู้ทันสัจธรรมแล้ว ความเป็นไปของมันก็ไม่เข้ามาบีบคั้นจิตใจของเรา จิตใจของเราเป็นอิสระ ต่อจากนั้น เราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ ตามเหตุตามผลด้วยปัญญา

    หลักการนี้ สำคัญมาก ถ้าเรามีทรัพย์ ก็ปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้องตามเหตุผล ทรัพย์มีเพื่ออะไร ก็นำไปใช้ในเกิดผลตามวัตถุประสงค์นั้น ไม่ใช่ไปมัวยึดมั่นถือมั่นให้เป็นเหตุบีบคั้นจิตใจให้มีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ไม่รับผิดชอบ ต้องใช้มันให้สมคุณค่า ให้ถูกต้องตามความหมายของมัน ทรัพย์ก็เกิดประโยชน์แท้จริง

    ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็น ชาวพุทธแท้คือผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย

    น่าจะถือเอาพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามคตินี้ พระองค์ก็คงทรงพระดำริว่า ทรัพย์นี้เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ และมันก็ไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่สาระที่แท้จริงของชีวิต มันไม่สามารถให้ความสุขที่แท้ และยั่งยืนแก่ชีวิต เราเคยลุ่มหลงแสวงทรัพย์มาเป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ และบำรุงบำเรอความสุขสบายของตนเอง ต่อไปนี้ไม่เอาแล้ว เราจะไม่ลุ่มหลงมัวเมากับมัน

    แต่พระองค์ก็มิได้ทิ้งทรัพย์นั้น แต่เปลี่ยนมาปฏิบัติต่อทรัพย์ด้วยเหตุผล โดยพลิกความหมายของทรัพย์ไปในทางใหม่ว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่มีความหมายที่จะเป็นเครื่องบำเรอให้เราเป็นสุข เพราะเรามีความสุขได้เองแล้ว เราพัฒนาจิตใจด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เรามีความสุขที่ประณีตกว่าแล้ว

    ทรัพย์สินสมบัติเหล่านี้ กับทั้งอำนาจ ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตของเรา แต่ถ้าเรารู้จักใช้ มันก็เป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เป็นเครื่องมือของธรรมที่จะทำความดีให้แก่สังคม

    นับแต่นั้นมา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงให้ความหมายใหม่แก่ทรัพย์และอำนาจ โดยตรัสว่ายศคือความยิ่งใหญ่ของพระองค์นี้ จะไม่มีความหมาย ถ้าไม่ช่วยให้ประชาชนปฏิบัติธรรม และได้โปรดให้จารึกข้อความนี้ไว้ในศิลาจารึก และพระองค์ก็ได้ใช้ทรัพย์และอำนาจนั้น ในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำความดีเป็นการใหญ่ตามนโยบายธรรมวิชัย

    ถ้าพระเจ้าอโศกมหาราชไม่มีทรัพย์ ไม่มีอำนาจ พระเจ้าอโศกก็ทำความดีอย่างนั้นไม่สำเร็จ แต่ทรัพย์และอำนาจเมื่อใช้เป็น ใช้ถูก ก็กลายเป็นอุปกรณ์สร้างประโยชน์สุขและความดีงาม ทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล รวมทั้งทำให้พระพุทธศาสนาไปถึงเราในประเทศไทยด้วย

    (จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 417 - พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย เนื้อในคนละอย่าง

    ฯลฯ

    ขอพูดถึงเชนบ้าง ....ศาสนาเชนของมหาวีระนั้น ก็เป็นศาสนาที่มีมาตั้งแต่พุทธกาล อาจจะก่อนพระพุทธเจ้านิดหน่อย เรียกง่ายๆว่า ร่วมสมัย

    พวกเชน เราเรียกว่า พวกนิครนถ์

    คำว่า นิครนถ์ นั้น แปลว่า ไม่มีกิเลสเครื่องผูกรัด หมายความว่า ไม่ยึดถืออะไรทั้งสิ้น แม้แต่ผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง เพราะฉะนั้น พวกเชน หรือนิครนถ์นี่ เขาถือว่า เขาไม่ยึดติดถือมั่นในอะไร เขาก็เลยไม่นุ่งผ้า

    จะเห็นว่า ศาสดามหาวีระหรือเชนนั้น ไม่นุ่งผ้า รูปของมหาวีระนั้นเหมือนพระพุทธรูปเลย ชาวพุทธมาถ้าไม่รู้จักแยก ก็นึกว่าเป็นพระพุทธรูป เหมือนกันหมดทุกอย่าง มีอย่างเดียวที่ต่าง คือ ไม่นุ่งผ้า จะเห็นรูปมหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร ที่ว่าเหมือนพระพุทธรูปเลย แต่ไม่นุ่งผ้า

    ทีนี้ มาถึงรุ่นลูกศิษย์ ศาสนาเชนได้แตกเป็น ๒ นิกาย เพราะอีกนิกายหนึ่งคงคิดว่า ถ้าไม่นุ่งผ้าเห็นจะไม่ไหว ก็เลยนุ่งผ้าขึ้นมา แต่นุ่งผ้าขาว เลยเกิดเป็น ๒ นิกาย

    นิกายหนึ่งเป็นทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า และอีกนิกายหนึ่ง เศวตัมพร นุ่งผ้าขาว ไม่ถึงแก้ผ้า อันนี้ ก็เป็นเรื่องของศาสนาเชน

    ในเรื่องนี้ มีคติอย่างหนึ่งให้เราพิจารณาว่า พระพุทธศาสนาก็สอนให้ไม่ยึดติดถือมั่นเหมือนกัน ศาสนาเชนเขาไม่ยึดติดถือมั่น อยู่อย่างธรรมชาติถึงขนาดไม่นุ่งผ้า

    แต่พระพุทธศาสนาเราเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ความไม่ยึดติดถือมั่นนั้น หมายถึงภาวะจิตใจที่เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของวัตถุหรือสิ่งของทั้งหลาย แต่ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงนั้น ก็รู้เหตุรู้ผลในสมมติ และปฏิบัติต่อสมมติให้ถูกต้อง ด้วยความรู้เท่าทัน โดยทำไปตามเหตุผล

    ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนาจึงมีลักษณะที่ให้คนทำอะไรเข้มแข็งจริงจังมีความรับผิดชอบ .... ความไม่ยึดติดถือมั่น ไม่ใช่ความไม่เอาเรื่องเอาราว ฉะนั้น ถ้าเราศึกษาพระพุทธศาสนาให้ครบ เราจะเห็นได้จากด้านพระวินัยมาประกอบว่า พระพุทธศาสนาที่แท้เป็นอย่างไร

    ถ้าศึกษาด้านธรรม แล้วจับผิดจับถูกไม่รู้จริง เราอาจจะมองในแง่ที่ธรรมสอนว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรปล่อยวาง อะไรต่ออะไรก็เป็นไปตามธรรมดาของมัน ก็เลยปล่อยมันไปตามเรื่อง ไม่เอาเรื่องเอาราว แล้วคิดว่านี่คือไม่ยึดติดถือมั่น

    บางทีศึกษาธรรมแบบมองเอียงไปข้างเดียว เลยโน้มเอียงที่จะเข้าใจไปทางนั้น ไม่มีเครื่องกำกับให้มองให้ตรงพอดี

    แต่พอมาศึกษาพระวินัยแล้ว จะได้เครื่องช่วยกำกับการมองที่จะทำให้เห็นทั่วชัดจริง

    พระวินัยนั้น อย่างที่พูดแล้ว แสดงให้เห็นแบบอย่างแห่งชีวิตของพระ และช่วยให้เราได้ชีวิตของพระไว้เป็นแบบอย่าง

    หมายความว่า ชีวิตของพระที่อยู่ตามวินัยนั้น ท่านจัดไว้ตามแบบอย่าง และให้เป็นแบบอย่าง

    เอาอะไรเป็นแบบ ก็เอาชีวิตของท่านที่หลุดพ้นนั่นแหละเป็นแบบ วินัยแสดงตัวแบบให้รู้ว่าการดำเนินชีวิตของพระที่เป็นอยู่ในโลกนี้อย่างถูกต้องเป็นอย่างไร คือ ด้านหนึ่งยอมรับความจริงของสมมติ และดำเนินชีวิตตามแบบแผนที่ดีงามเป็นแบบอย่าง ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เข้าถึงความจริงของปรมัตถ์ มีความโล่งเบาเบิกบานไม่ยึดติดเป็นอิสระ

    อย่างพระมีจีวรแค่ ๓ ผืน แต่ท่านต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ท่านมี ซึ่งตนเกี่ยวข้องอยู่นั้น ถ้าจีวรอธิษฐาน คือผืนที่กำหนดไว้สำหรับตัว เกิดขาด มีรูโหว่เท่าหลังเล็บนิ้วก้อย แล้วปล่อยไว้ ไม่ปะชุน ก็ขาดอธิษฐาน แล้วก็ขาดครอง ก็ต้องอาบัติ มีความผิด จะเห็นว่ามีความรับผิดชอบมากขนาดไหน

    ที่พูดว่า เหมือนว่าตรงข้ามกับที่เข้าใจมาก่อน ที่อาจจะคิดว่า ไม่ยึดมั่น คือ ไม่เอาเรื่องเอาราว จีวรก็ไม่ใช่ของเราจริง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จีวรจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน สกปรกก็ช่างมัน มันจะขาดจะเปื่อย ก็เรื่องของมัน ซึ่งถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็ผิดเต็มที่

    คนอินเดียดูท่าเหมือนจะไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นคนอยู่ง่าย อย่างไรก็ได้ ผ้าจะขาดอย่างไร จะสกปรกอย่าง ก็ชั่ง อย่างนี้ดีไหม แต่วินัยของพระไม่ยอมให้เลย อย่างที่ว่าเมื่อกี้ แม้แต่ขาดรูโหว่เพียงเท่าหลังเล็บนิ้วก้อย ไม่รีบปะชุน ก็ไม่ได้ สกปรกไม่ได้

    ระวังกันหน่อย เดี๋ยวจะเข้าใจผิด เห็นพระองค์ไหนอยู่สกปรก รกรุงรัง จีวรสกปรก ไม่ซัก แสดงว่าท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เลยเลื่อมใส จะไปกันใหญ่ นี่แหละ ธรรมวินัย จึงคู่กัน

    พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับการปฏิบัติของเชน ที่ว่าไม่นุ่งผ้าแสดงว่าไม่ยึดติดถือมั่น พระพุทธศาสนาบอกว่า เราต้องเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งทำให้เรามีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุเหล่านั้น แต่เรายอมรับความจริงโดยเหตุผลอย่างรู้เท่าทันว่า สิ่งที่มนุษย์ได้วางกันเป็นสมมตินี้ ก็เป็นไปตามความมุ่งหมายเพื่อการใช้ประโยชน์ในสังคม ต้องปฏิบัติไปตามเหตุผลด้วยปัญญา

    เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ก็จึงเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามสมมติ กลายเป็นว่าพระอรหันต์ถือสมมติสำคัญ เอาจริงเอาจังในเรื่องสมมติ แต่ทำด้วยความรู้เท่าทัน สมมติเป็นเรื่องที่จะต้องรู้เท่าทัน แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน

    หลายท่านเข้าใจสมมติเป็นเหลวไหลไป แต่สมมติไม่ใช่หมายความว่า เป็นเรื่องเหลวไหล ตรงข้าม สมมติ คือ สํ (ร่วมกัน) + มติ = มติร่วมกัน ได้แก่ ข้อตกลง การยอมรับร่วมกัน หรือสิ่งที่เห็นร่วมกัน แล้วกำหนดวางเป็นข้อที่จะหมายรู้หรือที่จะปฏิบัติไปตามนั้น

    ด้วยเหตุนี้ สมมติ แม้จะไม่มีสภาวะที่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นความจริงที่มีผลอันสำคัญตามตกลง จึงจะต้องกำหนดวางสมมตินั้นด้วยปัญญา แล้วปฏิบัติให้สมตามสมมติด้วยปัญญาที่รู้เหตุรู้ผลอย่างจริงจัง

    (หนังสือนั้นหน้า 457 ตัดแต่เนื้อๆมา)
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ตามตำนาน

    พระเจ้าอโศก หลังจาก เผยแผ่ศาสนาไปทั่วทุกมุมโลก สละราชทรัพย์มากมาย
    หลังจาก สวรรคต ไปเกิดเป็น...............

    งูเหลือม ในป่าที่ไร้ผู้คนจะเข้าไปถึงได้ ....เรียกว่า เสวยเวรกรรม ให้ห่างไกลศาสนา
    ไม่มีทางกลับมาเป็นคนได้

    เดชะบุญ

    พระมหินทร์ พระราชโอรสสำเร็จธรรม ได้เล็งญาณตรวจว่า พระราชบิดา ไปเกิดที่ไหน

    พบว่าไปเกิดเป็น งูเหลือม กลายเป็น เดรัจฉานไปเสียฉิบ เพราะคิดว่า ปัญญาแบบ
    ไม่ถือมั่นในทรัพย์จะนำไปสู่ธรรม ที่ไหนได้ โง่ล้วนๆ !!!

    เป็นเพียง ทิฏฐิเยี่ยงเดรัจฉาน ธรรมดาๆ

    ได้พระมหินทร์ ใช้อภิญญา ไปแสดงธรรม ทำให้ งดเว้นการฆ่าสัตว์ จึงได้กลับ
    มาในครรลองคลองธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์

    คติพระอรหันต์ เป็นอย่างไร คติพระอรหันต์บอกแล้วว่า พระอรหันต์ คือผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว ไม่อะไรต้องทำเพื่อตนเองอีก

    ตรงที่ว่า ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองอีก นี่แหละสำคัญนัก เพราะฉะนั้น นอกจากนี้ ชีวิตของพระอรหันต์ ซึ่งมีความสมบูรณ์ มีอิสรภาพสมบูรณ์ภายใน มีความสุขเต็มอิ่มภายใน มีความสุขอยู่กับตัวตลอดเวลา ไม่ต้องหาความสุขแล้ว

    ด้วยความสมบูรณ์เต็มอิ่ม ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองนี้ จึงอุทิศพลังชีวิตให้แก่มนุษยชาติได้หมด มีแต่จะทำการเพื่อผู้อื่นทั้งสิ้น

    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงเหนือกว่าพระโพธิสัตว์

    พระโพธิสัตว์ แสนจะเก่งแล้ว คือยอมสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระโพธิสัตว์นั้น ต้องทำความดีด้วยปณิธาน คือ ต้องตั้งใจ ต้องมุ่งมั่น อธิษฐานจิตไว้ว่าจะทำความดีนั้นๆ

    แต่พระอรหันต์ และพระพุทธเจ้า ท่านทำความดีโดยอัตโนมัติ เพราะเป็นธรรมดาของท่านเองที่จะทำอย่างนั้น ระอรหันต์ และพระพุทธเจ้า เก่งกว่าพระโพธิสัตว์ตรงนี้ คือไม่ต้องตั้งจุดหมาย ไม่ต้องระดมพลังจิตใจที่จะทำ แต่ท่านทำความดีโดยเป็นธรรมดาของท่านเอง เป็นอัตโนมัติ เพราะไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อตัวเองอีก

    ในเมื่อพระอรหันต์ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก ท่านจะเอาธรรมแห่งความไม่ยึดมั่นอันสูง มาอ้างทับวินัย เพียงที่จะให้คนนั้นคนนี้นวดให้ทำไม ท่านจะคำนึงถึงผู้อื่นเท่านั้น ความสุขก็เต็มในตัว ไม่ต้องหาความสุขให้แก่ตัวแล้ว หลักการอะไรที่มีไว้ตั้งไว้เพื่อความดีงามและประโยชน์สุขของหมู่มนุษย์และสังคม ท่านจะถือปฏิบัติมั่นคงจริงจัง


    นี่คือคติพระอรหันต์ อันเป็นสุดยอดของการบำเพ็ญความดีอย่างบริสุทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสอยู่เสมอ ไม่ว่าจะในการส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา การดำรงรักษาพระศาสนา และการประกาศปรารภในการสังคายนา คือวัตถุประสงค์ที่ว่า พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย (วินย.4/32 ที.ปา. 11/225)


    คติชีวิตพระอรหันต์ ก็คือ ดำรงอยู่ ดำเนินชีวิตไป จาริกไป และ ทำกิจทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนจำนวนมาก ด้วยเห็นแก่ประโยชน์สุขของชาวโลก พระอรหันต์มีชีวิตอยู่เพื่อวัตถุประสงค์นี้ และอีก

    คติหนึ่งที่พ่วงมาด้วยคือ ปจฺฉิมา ชนตา ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺชติ (เช่น องฺ.จตุกฺก.21/160 องฺ.ปญฺจก.22/79) แปลว่า เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลัง หรือชนผู้จะเกิดตามมาภายหลังคืออนุชน จะได้ถือเป็นแบบอย่าง

    รวมความว่า พระอรหันต์มีคติสำคัญ ๒ อย่าง คือ

    ๑.ทำเพื่อประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมาก ด้วยเห็นแก่ชาวโลก

    ๒.ประพฤติทุกอย่างเป็นหลักไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนจะเกิดภายหลัง

    มีตัวอย่างน่าจำไว้เรื่องหนึ่ง คือ พระมหากัสสปะมีอายุมาก แก่กว่าพระพุทธเจ้าอีก และท่านถือธุดงค์ตลอดชีวิต

    ธุดงค์นั้น ไม่ใช่หมายความว่าเที่ยวจาริกไปนะ คนมักเข้าใจผิด

    ธุดงค์ คือ ข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลส มีตั้ง ๑๓ ข้อ เช่นว่า ใช้แต่จีวรบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้ง ไปเที่ยวเก็บเอาของที่เขาทิ้งมา แล้วก็เอามาต้ม มาตัด มาเย็บ มาย้อม ไม่ใช้จีวรอย่างดีที่เขาถวาย หรืออีกข้อหนึ่งว่า ถือนุ่งห่มแก่ไตรจีวร คือ ๓ ผืน เกินนั้นไม่ใช้ ไม่ยอมใช้อดิเรก อีกข้อหนึ่งว่าถืออกบิณฑบาตเป็นประจำ ไม่รับนิมนต์ อีกข้อหนึ่งว่าถือฉันมื้อเดียว อีกข้อหนึ่งว่าถืออยู่ป่าตลอดชีวิต ฯลฯ

    เคยมีคนมาชมพระพุทธเจ้าว่า พระองค์เป็นผู้มีชีวิตที่ขัดเกลาอยู่เรียบง่าย อยู่ปลีกหลีกเร้น

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอชมเรานี่ไม่ถูก การที่สาวกเคารพยกย่องเรา ไม่ใช่เพราะเหตุนี้ ถ้าจะเคารพนับถือ เพราะฉันอาหารน้อย ใช้จีวรน้อย อยู่ขัดเกลา สาวกของเราหลายองค์ถือปฏิบัติเคร่งครัด เข้มงวดกว่าเราเยอะ

    แต่เรานี้ สาวกเคารพบูชา ก็เพราะว่าเป็นผู้ค้นพบทาง และเป็นผู้ที่ชี้ทางให้แก่ผู้อื่น ช่วยให้สาวกทั้งหลายสามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้

    พระองค์ตรัสว่า ในเรื่องฉันอาหาร พระองค์ก็รับนิมนต์ไป เดี๋ยวที่โน่น เดี๋ยวที่นี่ พระองค์เกี่ยวข้องมากทีเดียวกับทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ไปทีเดียว

    ในเรื่องจีวร ผู้มีศรัทธาถวายจีวรดีๆ พระองค์ก็รับมาใช้เป็นต้น (ม.ม.13/319-355)

    พระมหากัสสปะถือธุดงค์หลายข้อ ต่อมาตอนท่านแก่แล้ว ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า กัสสปะ เธอก็แก่แล้ว ผ้าบังสุกุลเนื้อหยาบ ใช้ลำบาก น้ำหนักมาก เธอเปลี่ยนมารับผ้าที่คฤหบดีถวายเถอะ เนื้อผ้าละเอียด จะได้เบาหน่อย

    แต่พระมหากัสสปะกราบทูลขอโอกาสว่า จะขอปฏิบัติไปตามเดิม

    พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่า เธอมีเหตุผลอะไรถึงจะปฏิบัติไปตามเดิม

    ท่านก็บอกว่า ปจฺฉิมา ชนตา ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺเชยฺย (สํ.นิ.16/481) เพื่อเป็นหลักให้คนที่เกิดมาภายหลังยึดถือเป็นแบบอย่าง นี่แหละพระอรหันต์ท่านไม่ทำเพื่อตัวเองเลย

    เป็นอันว่า ในการรักษาวินัย และปฏิบัติกิจต่างๆ พระอรหันต์จะประพฤติเป็นหลัก เพราะท่านต้องทำตัวเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ใครจะมาอ้างว่า ไม่ผิดวินัยเพราะเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสแล้วนี่ ฟังไม่ขึ้น

    ครั้งหนึ่ง มีผู้หญิงศรัทธาในพระมหากัสสปะมาก ก็มาช่วยกวาดในกุฎีให้ พระมหากัสสปะท่านมาเจอะ ท่านบอกว่าขอเชิญไป อย่ามาทำให้ เขาก็บอกว่า เขามาช่วยท่านเพราะเลื่อมใสศรัทธา ท่านบอกว่าจะเป็นที่ติฉินนินทา ไม่ดี จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

    นี่คือคติพระอรหันต์ในอดีตที่ท่านทำมา โดยยกตัวอย่างพระมหากัสสปะ ธุดงค์เป็นข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลส พระมหากัสสปะหมดกิเลสแล้ว จะไปขัดเกลากิเลสอะไรอีก ท่านไม่จำเป็นต้องไปถือธุดงค์ แต่ที่ท่านถือเพราะว่า ท่านรักษาหลักไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อนุชนคนรุ่นหลัง
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    มรรค มีหนึ่งเดียว กิจเดียว รสเดียว

    มรรค หนาสันติ มจด พอทำไม่ได้ หาไม่เจอ
    หลอกคนโง่ ทำบุญ ทำทาน ภาวนา อย่าง
    อโสค(ปล่อยวางโง่ๆ เปนงูเหลือม วินิบาต
    ไม่หนทางกลับมาเกิดเปนคน เอา นะมะอึง)
    มาหลอกแดต ไม่สำเร็จ ก้โน้น...

    มรรคที่แท้ต้องรอ โคพอโคแม เปนอรหันต์เสียก่อน

    เฮีย!!!!

    มรรค มีหนึ่งเดียว กิจเดียว รสเดียว

    ปุถุชนหมั่นสดับ มีความเพียร ก้เหนได้
    ภาวนาได้ ตามเหนความ อกุปธรรม ล่วง
    ส่วนไปเรื่อยๆ จนถึง มหาสมุทร
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อาจารย์นิวรณ์ว่า มักมีรสเดียว รสอะไรหรา รสกาแฟ หรือรสชอคโกแลต ฯลฯ เอาชัดๆ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ดูความคิดความอ่านของอาจารย์นิวรณ์ :D ตั้งแต่ดลมาแล้ว น้ำท่วมทุ่ง ไม่มีหลักมีเกณฑ์อะไร เหมือนมวยทะเล อิอิ จับศัพท์นั่นโยงกับศัพท์นี้ จับแพะชนแกะ ดูยุ่งเป็นฝอยขัดหม้อ :)

    images?q=tbn:ANd9GcTdb9sXFuOH8B3LLFCErxnivnwSQupIuAjhUNr-NLfIzd0gYocg5g.jpg
    คืออยากจะบอกว่า เซ็ตซีโร่เหอะแล้วกลับไปเริ่มต้นใหม่ เอาแต่ทำบุญใส่บาตรหน้าบ้านตอนเช้า เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ปิดทองฝังลูกนิมิต ถวายสังฆทาน ปล่อยสัตว์บกสัตว์น้ำ เช่น ถ่ายชีวิตโคกระบือ ปล่อยหอยขม ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหลลงน้ำ ฯลฯ นะ :p
     
  9. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ขอโทษนะคับแต่รู้สึกว่าคุณเพ้อเจ้อ...ขอโทษจริงๆที่พูดแบบนี้...ขอโทษอีกครั้งเพื่อจะได้ครบสามครั้ง...อย่าถือโทษโกรธกันนะคับ
     
  10. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ผมไม่ได้ตำหนิคุณมาจากดินนะคับแต่ผมรูสึกว่าคุณมาจากดินหนักไปทางควเพ้อเจ้อ...ขอโทษอีกครั้งเป็นครั้งที่สี่ที่ต้องพูดแบบนี้แต่ดีแล้วที่ทำคับหลายอย่างไม่รู้จะได้รู้
     
  11. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ข้อความหลายข้อความเป็นสิ่งลวงหลอก...ให้หลงเกลียดหลงชัง...ต้องระมัดระวังอย่างมากเพราะกรรมอันเป็นฝ่ายอกุศลเกิดเมื่อจิตกระทำจะบอกไม่รู้ก็ไม่ได้...เมื่อไม่รู้ทำไมยังทำ...มันตอบยากตอบง่ายคือไม่ศรัทธาไม่ตั้งมั่น...หากคิดว่าจักรวาลนี้ยังมีศาสดาอื่นก็ควรยอมรับกรรมและเป็นไปตามกรรม...ก็ไม่ได้ว่าอันอื่นไม่ดีนะ...ดีอยู่แต่ดีไม่พอถ้าหวังจะไม่ทุกข์อีก
     
  12. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    อโหสิกรรมต่อกันนะคับ...ผมเจตนาดีเสมอกับทุกๆสิ่ง
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ช่วงนี้อาจารย์นิวรณ์ดวงไม่ค่อยดีอ่ะคับ คือ พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ราหูเล็งลัคนา คิกๆๆ :D:D
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อ่านบทความ อ่านหนังสือ เป็นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน หนังสืออะไรแล้วแต่ ต้องจับประเด็นของเรื่องให้จงได้ เมื่อจับประเด็นได้แล้ว ก็เข้าใจทะลุหมด ที่ว่ามาทั้งหมด สองด้านแค่นี้แหละ


    การดำเนินชีวิตของพระ (เขาว่าของพระ เราก็เติมของคนของมนุษย์เข้าไป) ที่เป็นอยู่ในโลกนี้อย่างถูกต้องเป็นอย่างไร ก็คือ ด้านหนึ่ง ยอมรับความจริงของสมมติ และดำเนินชีวิตตามแบบแผนที่ดีงามเป็นแบบอย่าง ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เข้าถึงความจริงของปรมัตถ์ มีความโล่งเบาเบิกบานไม่ยึดติดเป็นอิสระ
     

แชร์หน้านี้

Loading...