ไม่รู้ทุกข์ โดย หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Ninana, 29 มีนาคม 2012.

  1. Ninana

    Ninana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,740
    ที่มา:จากหนังสือ "คำ สอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 33" หน้า 107-116
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ (พระมหาวีระ ถาวโร)...

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C02%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New"; mso-bidi-language:AR-SA;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> บรรดาญาติโยมทั้งหลาย วันนี้ก็เป็นวันที่สามของการเจริญพระกรรมฐาน ( 5 มี.ค. 2533) วันนี้ในตอนต้นจะขอพูดถึงเรื่องวิปัสสนาญาณ คำว่า วิปัสสนาญาณ แปลว่ารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง คำว่ารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงหมายความว่าไม่ฝืนตามความเป็นจริง ทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนแบบนี้ ก็เพราะว่าคนเราที่เกิดมาในโลกรูแจ้งเห็นแต่นึกไม่จริง ไม่ยอมรับความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าคนเราเกิดมาแล้วทุกคนต้องแก่ คำว่าแก่นี่ก็หมายความว่าเกิดมา 1 วันก็แก่ 1 วัน เกิด 2 วันก็แก่ 2 วัน เกิด 1 เดือนก็แก่ 1 เดือน มันแก่ขึ้นทุกวัน เดินเข้าไปหาความตาย รวมความว่าร่างกายเราเกิดมาแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง ไม่มีการทรงตัว แล้วก็มีความตายในที่สุด นี่สภาพของร่างกายเป็นอย่างนี้ ในเมื่อสภาพไม่มีการทรงตัว มีความตายไปในที่สุด สภาพของร่างกายก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ตัวทุกข์นี่เป็นอริยสัจ ฉะนั้น การศึกษาธรรมปฏิบัติเพื่อหวังมรรคผลนิพพาน ทุกคนก็ต้องเข้าใจในอริยสัจ ถ้าไม่เข้าใจในอริยสัจไปนิพพานไม่ได้ คำว่าอริยสัจจริงๆ ทุกคนก็รู้ แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะมีการทรงตัว

    อริยสัจตัวต้นก็คือทุกข์ คำว่าทุกข์นี่ก็มีกับคนทุกคน ทุกวันทุกเวลาที่เราเกิดมาก็มีแต่ความทุกข์ แต่ทว่าเราทุกข์เสียจนชินเลยไม่เข้าใจว่าเป็นทุกข์ เราถือความหวังข้างหน้าว่า วันที่ 29 วันที่ 30 เราได้เงินเดือนจิตเป็นสุข แต่ก่อนที่เราจะได้เงินเดือนมันเป็นทุกข์เราไม่เคยคิด ก่อนจะได้เงินเดือนเราต้องตื่นแต่เช้าไปทำงานทุกวัน การต้องตื่นแต่เช้าบางทีเราอยากจะนอนตื่นสายเพื่อความเป็นสุข ก็นอนไม่ได้เพราะไม่ทันเวลาทำงาน ในเมื่อมีอาการฝืนอย่างนี้ก็เป็นอาการของความทุกข์ ขณะที่เดินทางไปทำงานก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าเดินไปแบบธรรมดาๆ ก็ไม่ถึงที่ทำงาน รถชนตาย นั่งรถไปก็ไม่แน่ใจว่ารถจะไปกระทบกระทั่งกับใครหรือเปล่า ต้องระวัง ไอ้ตัวระวังนี่เป็นตัวทุกข์ การนั่งในรถเครียดก็เป็นอาการของความทุกข์ ไปถึงที่ทำงานต้องทำงานกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจบ้างชอบใจบ้าง ก็เป็นอาการของความทุกข์ ทุกข์อย่างนี้มันมีกับเราทุกวัน ความหิวก็เป็นทุกข์ ความกระหายก็เป็นทุกข์ ความปวดอุจจาระปัสสาวะเป็น นิพัทธทุกข์ เป็นทุกข์ทุกวัน แต่เราไม่เคยคิด<o></o>

    ในเมื่อเราไม่คิดมันอย่างนี้ตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงเตือนว่า จงพยายามรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ศัพท์นี้ยาวไปหน่อยนะ ถ้าหากเราจะไม่ใช้ศัพท์นี้ก็ใช้อีกศัพท์หนึ่งเป็นภาษาไทย ว่าตามธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ธรรมดาของมันมีการเกิดขึ้น แล้วก็มีความหิวบ้าง มีความร้อนเกินไปบ้าง มีการหนาวเกินไปบ้าง มีการป่วยไข้ไม่สบายบ้าง ปวดอุจจาระปัสสาวะบ้าง พลัดพรากจากของรักของชอบใจบ้าง มีความปรารถนาไม่สมหวังบ้าง มีความตายในที่สุดบ้าง อาการอย่างนี้ทั้งหมดเป็นอาการของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ มันเป็นอาการของความทุกข์ แต่ว่าถ้าเราหวังหนีความทุกข์จริงๆ ต้องเข้านิพพาน การเข้านิพพานจริงๆ เราต้องศึกษาอะไรบ้าง ศึกษาอริยสัจ จะเห็นว่าในพระสูตรก็ดี ในชาดกก็ดี พระพุทธเจ้าเทศน์แล้วลงอริยสัจทั้งหมด

    อริยสัจมีอะไรบ้าง คือ
    1. ทุกข์
    2. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
    3. นิโรธ ความดับทุกข์
    4. มรรค ปฏิปทาของความดับทุกข์<o></o>
    <o></o>
    แต่ว่าถ้าเราจะศึกษาเพื่อเป็นนักปฏิบัติจริงๆ เพื่อหวังผลเราเรียนกันแค่ทุกข์ตัวเดียว ถ้านักตำราการจะต้องใช้ 4 ถ้าเป็นนักเทศน์ใหม่หรือไม่เข้าใจในวิปัสสนาญาณจะเทศน์ 4 ข้อจบ ถ้านักเทศน์ที่เข้าใจในวิปัสสนาญาณพอสมควรจะเทศน์ 2 ข้อจบ ทุกข์ กับ สมุทัย ถ้านักเทศน์ที่เขาสอนคนอื่นด้วย เทศน์สอนตัวเองด้วย เขาเทศน์ตัวเดียวคือทุกข์<o></o>
    <o></o>
    ถ้าเราเข้าใจในทุกข์เห็นว่าความเกิดขึ้นมาเต็มไปด้วยความทุกข์อย่างนี้ ชาตินี้เราเกิดมามีความทุกข์ ถ้าเราเป็นคนมีปัญญาเราก็ถอยหลังไปดูว่า คนที่เขาเกิดก่อนเราเขามีความสุขหรือมีความทุกข์ คนฐานะเช่นไรบ้างที่มีแต่ความสุขไม่มีความทุกข์ เราจะไม่พบเลย และคนทุกคนเกิดมาจนกว่าจะถึงความตายที่ไม่มีทุกข์ มีไหม ไม่มีไม่ว่าฐานะเช่นไร ก็มาสรุปท้ายสั้นๆ เราใช้ปัญญา ถ้าหากเรายังหลงความเกิดอยู่อย่างนี้อีกที่ชาติเราก็ทุกข์แบบนี้ เราไม่ต้องการเกิดต่อไป
     
  2. Ninana

    Ninana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,740
    หนีทุกข์

    ทีนี้วิธีหนีทุกข์เราทำยังไง มันก็ของไม่ยาก ก็ต้องรู้จักปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ปฏิปทาปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ก็คือ<o></o>
    <o></o>
    1. โสดาปัตติผล<o></o>
    2. สกิทาคามิผล<o></o>
    3. อนาคามิผล<o></o>
    4. อรหัตผล<o></o>
    <o></o>
    ไม่ยาก ที่เราจะปฏิบัติเข้าถึงจุดแรกคืออะไร โสดาปัตติผล อันนี้มีความจำเป็น ถ้าเราปฏิบัติถึงโสดาบันหรือโสดาปัตติผล แล้วเราจะมีทุกข์น้อย นั่นก็หมายความว่า ทุกข์ของเราจะพึงมีอีกก็ไม่ช้าไม่นานนัก ถ้าเป็นพระโสดาบันอย่างหยาบที่เรียกว่า สัตตักขัตตุง เราก็จะมีทุกข์อีก 7 ชาติ ถ้าเราเป็นพระโสดาบันอย่างกลางที่เรียกว่า โกลังโกละ เราก็จะมีทุกข์อีก 3 ชาติ ถ้าเราเป็นพระโสดาบันอย่างเข้มที่เรียกว่า เอกพิชี เราก็จะมีทุกข์อีกชาติเดียวแล้วไปนิพพาน แต่ถึงแม้ว่าเราจะเป็นพระโสดาบันขั้นอ่อนที่เรียกว่าสัตตักขัตตุง เราก็มีทุกข์อยู่ในขอบเขต คือทุกข์ที่เราจะพึงมีข้างหน้าก็แค่ชาติเกิดเป็นมนุษย์ ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้งหมดจะไม่มีกับเรา พระโสดาบันที่ลงนรกไม่ได้ ผิดระเบียบ ถ้าลงนรกขุมไหนขุมนั้นไฟดับ การลงโทษหยุด เขาจึงห้ามลง<o></o>
    <o></o>
    ทีนี้เป็นพระโสดาบันเป็นได้ยังไง ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เป็นพระโสดาบันได้หมด ถ้าอยากจะเป็น เว้นไว้แต่ใครจะไม่อยากเป็น การละกิเลสของพระโสดาบันที่เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่มีอะไรมาก พระโสดาบันยังมีสิทธิ์รักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน พระโสดาบันยังมีความต้องการความร่ำรวย พระโสดาบันยังมีความโกรธ พระโสดาบันยังมีความหลง แต่ก็สะกัดกั้นไว้อยู่ในขอบเขตของศีล 5 และกรรมบถ 10 เท่านี้เอง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าพระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าเราจะศึกษากันก็ต้องฟังพระพุทธเจ้าท่านพูด อย่าไปฟังชาวบ้านพูด ถ้าชาวบ้านที่เขาเป็นพระอริยสัจเราฟังได้และก็คุยกันได้ ถ้าชาวบ้านที่ไม่ใช่พระอริยะเจ้าเราฟังได้แต่อย่าคุยกับเขา ถึงคุยก็ขัดคอกัน<o></o>
    <o></o>
    ทีนี้เราก็มาพูดถึงพระโสดาบันเราจะทำยังไง พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย คือสมาธิของพระโสดาบันไม่ใช่นั่งนิ่งทั้งวันทั้งคืน มีกำลังแค่ปฐมฌานโดยเฉพาะเวลา ปฐมฌานก็ไม่ใช่มีทั้งวัน มีเฉพาะเวลาที่เราจะใช้กำลังของวิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง สำหรับปัญญาเล็กน้อย ปัญญาก็ไม่มากไม่ใช้ปัญญาสูงใช้ปัญญาต่ำ คือใช้ความรู้สึกตามความเป็นจริง ยอมรับความเป็นจริงว่า คนเราทุกคนเกิดมาต้องตาย สัตว์ทุกประเภทเกิดมาต้องตายมันตายหมดไม่มีใครเหลือ ที่เหลืออยู่นั่นมันคนเกิดทีหลัง หรือว่าคนเกิดก่อนเราแต่ขี้เกียจตาย ตายช้าไปหน่อย ใช่ไหม ยังไงๆ ก็ต้องตาย ถ้าพูดอย่างนี้ก็ไปเข้ากับอรูปฌานที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน รวมความว่ามีความรู้สึกแค่ว่า ชีวิตของคนต้องตาย เมื่อเข้าใจชาวบ้านตายเราก็ต้องตาย ความรู้สึกว่าเราจะตาย เราคิดวันหนึ่งกี่ครั้ง ที่พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ เวลานั้นพระอานนท์เป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าถามว่า<o></o>
    <o></o>
    “อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เธอคิดถึงความตายวันละกี่ครั้ง...?”<o></o>
    พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าคิดถึงความตายวันละประมาณ 7 ครั้ง”<o></o>
    พระพุทธเจ้าบอกว่า “อานนท์ ยังน้อยเกินไป ห่างเกินไป ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก”<o></o>
    <o></o>
    ก็เป็นอันว่าเราก็คลำอยู่แค่ความตาย นี่ใช้ปัญญานะ แต่เหลียวมาอีกทีท่านบอกว่า ต้องมีศีลบริสุทธิ์หรือกรรมบถ 10 บริสุทธิ์ ตัวศีลบริสุทธิ์เป็นตัวสำคัญของพระโสดาบัน ให้รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ ถ้าศีล 5 บริสุทธิ์นี่เป็นพระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงอย่างหยาบ ถ้ามีกรรมบถ 10 บริสุทธิ์ก็เป็นพระโสดาบันขั้นโกลังโกละบ้าง เอกพิชีบ้าง ก็แล้วแต่ความเข้มข้น รวมความว่าพระโสดาบันมีอะไรบ้าง ตัดสังโยชน์ 3 คือ
    <o></o>
    <o></o>1. <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C05%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New"; mso-bidi-language:AR-SA;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->สักกายทิฏฐิ ใช้ปัญญาน้อยๆ ไม่ต้องใช้มาก ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ชีวิตของเราต้องตาย ชาวบ้านใครจะตายหรือไม่ตายช่างหัวมัน เราตายก็แล้วกัน อย่าไปห่วงชาวบ้านมัน และความตายคิดว่าเราจะตายเมื่อไหร่ ตอนนี้สำคัญมาก ถ้าคิดว่าเวลานี้เรายังเด็กอยู่ เรายังหนุ่มสาวอยู่ เราเป็นคนวัยกลางคน เราเป็นคนแก่ ยังไม่ตาย มันไม่ถูก ต้องคิดว่าความตายอาจจะมาถึงเราในวันนี้ไว้เสมอ ต้องคิดอย่างนี้นะ จะได้มีความไม่ประมาท ในเมื่อคิดอย่างนี้แล้วเราก็ต้องป้องกันอบายภูมิ คือ<o></o>
    <o></o>
    1. เราจะเคารพพระพุทธเจ้า<o></o>
    2. เราจะเคารพพระธรรม<o></o>
    3. เราจะเคารพพระอริยสงฆ์<o></o>
    4. เราจะคนมีศีล 5 บริสุทธิ์<o></o>
    <o></o>
    เอาขั้นหยาบก่อน ถ้าศีล 5 บริสุทธิ์ยังหยาบเกินไป พระโสดาบันจริงๆ ไม่ใช่แค่ศีล 5 ดูตัวอย่าง นางวิสาขา เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี ท่านไม่พูดคำหยาบ ท่านไม่พูดส่อเสียด ท่านไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล เรื่องพูดปดไม่ต้องพูดกันท่านไม่พูดปดแน่ ท่านเป็นคนมีวาจาไพเราะ อย่างพระโสดาบันที่ไหนก็ตามเหมือนกันหมด ถ้ายังพูดโกหก ยังพูดคำหยาบ ยังพูดส่อเสียด ยังพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล อย่างนี้เขาไม่เรียกพระโสดาบัน เขาเรียกสัตว์ในอบายภูมิ เพราะอะไร เพราะลงนรก วาจา 4 วาจานี่ถ้าพลาดวาจาใดวาจาหนึ่งมันลงนรก ก็รวมความว่า เราต้องระวังศีล 5 กับกรรมบถ 10<o></o>
    <o></o>
    หมุนมาหมุนไปอีกทีหนึ่งวิธีปฏิบัติจริงๆ ตามที่พระสงฆ์ถามพระสารีบุตร มีครั้งหนึ่งพระสงฆ์ทั้งหลาย คือชาวบ้านเขามาบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศน์แล้วท่านมีความเลื่อมใสจึงขอบวช บวชแล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เอหิภิกขุ ซึ่งแปลว่า เจ้าจงมาเป็นภิกษุมาเถิด เพียงเท่านี้หัวก็โล้น และมีผ้าไตรจีวรลอยจากอากาศสวมร่างกายทันที เป็นพระที่พระพุทธเจ้าบวชให้เอง หลังจากนั้นท่านก็ศึกษากรรมฐานจากพระพุทธเจ้าตั้งแต่ต้นยันพระอรหันต์ คือพูดกันไม่มากหรอก พูดกันนิดเดียว หลังจากนั้นพระทั้งหมดนี้ก็ลาพระพุทธเจ้าเข้าป่าหวังจะปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เวลานั้นเป็นพระอรหันต์กันไม่ยาก เพราะว่ามีพระอรหันต์ตัวอย่างองค์แรกคือพระพุทธเจ้า แล้วต่อมาก็มีเป็นพันเป็นหมื่น ทีนี้ถ้ามีพระอรหันต์จริงๆ อยู่นี่ความรู้ที่พึงเป็นพระอรหันต์มันเป็นของไม่ยาก ทีนี้คนที่ไม่เป็นอรหันต์มาสอนคนให้เป็นอรหันต์สอนยาก เพราะมันไม่ได้<o></o>
    <o></o>
    ต่อมาเมื่อพระมาลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะเข้าป่า พระพุทธเจ้าก็ถามว่า ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอจะเข้าไปปฏิบัติในป่าเธอพบพระสารีบุตรแล้วหรือยัง แต่ความจริงพระพุทธเจ้ากับพระสารีบุตรไม่ได้นัดกัน พระอรหันต์นี่ไม่ต้องนัดกัน รู้เรื่องกัน ไม่จำเป็นต้องนัดว่าใครควรจะพูดอะไร พระพุทธเจ้าทราบว่าถ้าพระพวกนี้ไปหาพระสารีบุตร พระสารีบุตรจะแนะนำแบบนั้น พระก็บอกว่ายัง พระพุทธเจ้าก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นเธอจงไปหาพระสารีบุตรก่อน พระก็ลาพระพุทธเจ้าไปหาพระสารีบุตร ไปถึงก็ขอคำแนะนำจากพระสารีบุตร<o></o>
    <o></o>
    อันดับแรกท่านก็ถามว่า “บรรดาพวกผมทั้งหมดเวลานี้ยังเป็นปุถุชนอยู่ ถ้าต้องการจะปฏิบัติตนเพื่อเป็นพระโสดาบันจะทำยังไง...?”<o></o>
    <o></o>
    พระสารีบุตรก็บอกว่า<o></o>
    <o></o>
    “บรรดาภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายต้องการเป็นพระโสดาบัน จงพิจารณาขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เอาอย่างย่อๆ ก็คือตัวเรา ร่างกายของเรา ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้กำลังตัดได้อย่างหยาบเธอจะเป็นพระโสดาบัน”<o></o>
    <o></o>
    ความจริงสังโยชน์ 10 เขาตัดข้อเดียว พระพวกนั้นก็ถามต่อว่า ถ้าพวกผมเป็นพระโสดาบันแล้วต้องการเป็นพระสกิทาคามีจะทำยังไง ท่านบอก ก็พิจารณาแบบนั้นแหละ ถ้าจิตละเอียดลงไปหน่อยก็เป็นพระสกิทาคามี พระก็ถามว่า ถ้าพวกผมเป็นพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง ท่านบอก ก็พิจารณาแบบนั้นแหละ จนกระทั่งเบื่อในร่างกายมีความรังเกียจในร่างกาย ถือว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 อาการ 32 มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ระงับความโกรธได้ก็เป็นพระอนาคามี<o></o>
    <o></o>
    พวกพระก็ถามว่า “ถ้าพวกผมเป็นพระอนาคามีแล้วจะเป็นอรหันต์ได้ยังไง...?”<o></o>
    <o></o>
    ท่านบอก “ปฏิบัติเหมือนกันจนกระทั่งจิตหยุดจากอารมณ์”<o></o>
    <o></o>
    คำว่า จิตหยุดจากอารมณ์ หมายความว่า ทรงสังขารุเปกขาญาณ คำว่าสังขารุเปกขาญาณแปลว่า วางเฉยในร่างกาย ร่างกายมันจะแก่ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ร่างกายทุกคนจะต้องแก่อย่างนี้ ร่างกายมีทุกขเวทนาก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมัน ร่างกายของคนจะต้องมีทุกขเวทนา ร่างกายจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมัน ร่างกายมีสภาพต้องตายเราไม่ได้สนใจกับร่างกาย เพราะร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา คำว่าเราคือจิต หรืออทิสสมานกายที่สิงอยู่ในร่างกาย ถ้าจิตใจของบรรดาพวกเธอทั้งหลายทรงอารมณ์ได้อย่างนี้เธอก็เป็นพระอรหันต์
     
  3. Ninana

    Ninana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,740
    หลงในตน

    ทีนี้เมื่อฟังอย่างนี้แล้วก็ไปฟังคำเทศน์ของพระพุทธเจ้า ว่าที่พระพุทธเจ้าสอนคนให้เป็นพระอรหันต์สอนตรงไหน ก็สอนจุดเดียวกันที่พระสารีบุตรแนะนำสอนที่ร่างกายเหมือนกัน อย่างเมื่อพระพุทธเจ้าพบ พระพาหิยะ พาหิยะเดินทางมา 120 โยชน์หวังจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ในตอนแรกท่านหลงตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์ ในเมื่อมีคนบูชาท่านมาก ความจริงท่านไม่มีอะไร เรือสำเภาแตก แล้วเกาะไม้กระดานลอยไปขึ้นท่าเรือชาวประมง พอไปถึงฝั่งแล้วจะขึ้นบกก็ไม่มีผ้านุ่ง ผ้ามันหลุดหมด เอาสาหร่ายแห้งๆ มาพันกายปกปิด บรรดาชาวบ้านทั้งหลายก็มีความรู้สึกคิดว่าคนๆ นี้เป็นพระอรหันต์ เอาเข้าแล้วไหมล่ะ เจอะอรหันต์แต่งตั้งเข้าให้ ต่างคนต่างบูชา เอาข้าวปลามาให้เอาของมาถวาย บูชากันใหญ่ ทีแรกก็ดีพอเขาบูชากันมากๆ เข้าก็หลงตัวเอง ก็เลยมีความรู้สึกในใจว่า บุคคลใดหนอที่เป็นอรหันต์ในโลกนี้เราก็เป็นอรหันต์เหมือนกัน<o></o>
    <o></o>
    พอคิดเพียงเท่านี้ตอนกลางคืน เพื่อนกันที่ตายไปแล้วในชาติก่อนกำลังเป็นพรหมอยู่ เป็นพระอนาคามี ก็มาแสดงตัวให้ปรากฏ บอกว่า<o></o>
    <o></o>
    “พาหิยะ เธอไม่ใช่พระอรหันต์ เวลานี้พระอรหันต์เกิดขึ้นแล้วในโลก และสอนคนอื่นให้เป็นพระอรหันต์ด้วย นั่นคือพระสมณโคดม”<o></o>
    <o></o>
    ท่านพาหิยะก็ถามว่า เวลานี้ท่านอยู่ที่ไหน พรหมก็บอกว่า เวลานี้อยู่ห่างจากที่นี่ไป 120 โยชน์ ท่านพาหิยะพอได้ฟังดังนั้นก็ออกเดินทางทันที ท่านบอกว่าทาง 120 โยชน์เดินคืนเดียวไม่ถึงแต่ท่านบอกพรหมช่วย พอถึงเวลาตอนเช้าสายนิดหนึ่งก็ถึงที่พระพุทธเจ้าอยู่พอดี ท่านนำตรงทางเลย พอเข้าไปถึงในวัดก็พบพระที่ท่านกลับมาจากบิณฑบาต ถามว่าเวลานี้องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถอยู่ที่ไหน พระก็บอกว่าท่านกำลังบิณฑบาตอยู่ในเมือง ขอโยมพักก่อน เอาน้ำมันทาเท้าก่อน เท้ามันแตก พักให้หายเหนื่อยก่อน เดี๋ยวพระพุทธเจ้าก็มา<o></o>
    <o></o>
    ท่านพาหิยะก็บอกว่า<o></o>
    <o></o>
    “ขึ้นชื่อว่าเวลาอีกประเดี๋ยวหนึ่งสักครู่หนึ่ง ผมไม่แน่ใจนักว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพานก่อนหรือผมจะตายก่อน”<o></o>
    <o></o><o> </o>
    ท่านไม่ยอมอยู่ ท่านก็คิดว่าความตายอาจจะถึงเราเวลานี้ก็ได้ เลยเข้าไปในเมือง เข้าไปถึงไปเจอะพระพุทธเจ้ากำลังบิณฑบาต ท่านก็เข้าไปกราบเกาะขาไว้ ขอร้องให้พระพุทธเจ้าทรงเทศน์โปรด<o></o>
    <o></o>
    พระพุทธเจ้ามองดูเห็นว่าคนนี้มีปีติคือความอิ่มใจมากเกินไป ถ้าปีติมากเกินไปนี่เทศน์ไม่มีผล เพราะความดีใจมาก ท่านก็เลยยับยั้งบอกว่า<o></o>
    <o></o>
    “พาหิยะ เวลานี้เป็นเวลาที่ฉันบิณฑบาต ยังไม่ควรแก่การฟังเทศน์”<o></o>
    ท่านพาหิยะก็อ้อนวอนอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ยับยั้งอีกครั้งหนึ่ง กำลังจิตก็เริ่มตกลงปีติเหลือพอดี ท่านขอร้องเป็นครั้งที่ 3 ปีติพอดี<o></o>
    <o></o>
    เมื่อปีติพอดีพระพุทธเจ้าก็ตรัสง่ายๆ ว่า<o></o>

    “พาหิยะ เธออย่าสนใจในรูป”<o></o>

    แค่นี้เอง ท่านพาหิยะเป็นอรหันต์พร้อมไปด้วยปฏิสัมภิทาญาณ
    <o></o>
    <o></o>
    ฉะนั้น การตัดมรรคตัดผลทุกขั้นตอน จะเป็นพระโสดาบันก็ดี เป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ก็ตาม อยู่ที่ร่างกายตัวเดียว ตัดที่ร่างกายให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงของร่างกาย เห็นว่าร่างกายมีสภาพเกิดขึ้นในเบื้องต้น ขณะที่ทรงตัวอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ในที่สุดก็ตาย ในเมื่อร่างกายตายเราไม่ได้ตายไปด้วย เราคือจิตหรืออทิสสมานกาย ถ้ามีความดีก็ไปสวรรค์บ้าง ไปพรหมโลกบ้าง ถ้าจิตคบความชั่วก็ไปอบายภูมิ ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลวๆ อย่างนี้จะไม่มีกับเราอีก เราจะมีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย<o></o>
    <o></o>
    ชาตินี้อะไรจะเกิดขึ้นเราจะยอมรับกฎของกรรม ให้ยึดกฎของกรรมเป็นหลักชัยไว้ ถ้าอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้น ก็นึกตามความเป็นจริงว่าเรื่องเจ็บป่วยทั้งหลายมันมาจากปาณาติบาต มาจากการฆ่าสัตว์ในอดีต ผลของการฆ่าสัตว์มันรุกรานเราทำให้เราเจ็บปวด เราจะชำระหนี้มันไป เราจะรักษามันเพื่อเป็นการบรรเทาเวทนา หายก็หายไม่หายจะตายก็ช่างมัน จิตใจเป็นสุข คือจิตมันก็มีทุกขเวทนาแต่ใจยอมรับความเป็นจริง คิดว่าถ้าร่างกายตายคราวนี้ เราขอไปนิพพาน
    <o></o>

    ถ้าข้าวของเสียหายเกิดขึ้น ทรัพย์สินเสียหาย ให้ทราบว่านี่เป็นโทษของอทินนาทานในชาติก่อน เพราะเราเคยลักเคยขโมย เคยปล้นเขา เคยโกงเขามาก่อน ในชาตินี้จึงทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ก็ยอมรับกฎของกรรม ถ้ามีคนในปกครองดื้อด้าน ก็แสดงว่าในชาติก่อนเราเคยเป็นคนเจ้าชู้นอกในสามี ภรรยา เกิดมาในภายหลังคนในปกครองดื้อด้าน อันนี้ถือว่าเป็นกฎของกรรมเดิมเราทำไว้ยอมรับมันเป็นทุกข์ก็ทุกข์ไป ขอให้ทุกข์ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย<o></o>
    <o></o>
    ถ้าเราพูดจริงตามความเป็นจริง ไม่มีใครยอมรับนับถือ ให้ถือว่านี่เป็นโทษจากการมุสาวาทาบ้าง โทษจากพูดหยาบบ้าง ส่อเสียดบ้าง เพ้อเจ้อเหลวไหลบ้างในชาติก่อนมันเข้ามาสนองเรา ต้องยอมรับมัน คำว่ายอมรับก็หมายความว่าเขาไม่เชื่อก็ไม่เชื่อ ถือว่าถ้อยคำเลวๆ อย่างนี้เราทำมาก่อนยอมรับนับถือมันช่วยตัวเองเถอะ ถ้าหากบังเอิญเกิดเรื่องปวดศีรษะบ่อยๆ ก็ดี เป็นโรคเส้นประสาทก็ดี เป็นโรคบ้าก็ดี อาการอย่างนี้ถ้ามีกับเราให้ทราบว่านี่เป็นโทษของการเสพสุราและเมรัยที่ดื่มมาในชาติก่อนก็ยอมรับกฎของกรรมมัน มันจะเป็นอะไรก็ช่างถือว่าเป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปจะไม่เป็นกับเราอีก นั่นคือเราต้องการนิพพาน<o></o>
    <o></o>
    แล้วปฏิบัติยังไง หลังจากนั้นก็พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ พยายามระงับนิวรณ์ 5 อย่าให้กวนใจ เฉพาะบางเวลานะ และยิ่งกว่านั้นก็ถือสมาธิที่มีความสำคัญนั่นคือพุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และประการที่สอง จาคานุสสติ นึกถึงทานการบริจาค เป็นการตัดโลภะ ความโลภ แล้วก็สาม สีลานุสสติ นึกถึงศีลเป็นอารมณ์ เป็นการตัดโทสะ ความโกรธ แล้วก็สี่ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นการตัดโมหะ ความหลง นอนภาวนาว่า เวลานี้เราจะภาวนาว่าพุทโธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง อิติสุคโตบ้าง นะมะพะธะบ้าง อะไรก็ตามใจชอบ จะภาวนาว่ายังไงก็ได้<o></o>
    <o></o>
    ก่อนจะภาวนาให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้าเรายอมรับนับถือในพระพุทธเจ้า หรือเอาพระธรรมพระสงฆ์ด้วยก็ยิ่งดี ยอมรับนับถือในท่านแล้ว นึกถึงลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกถึงท่าน หายใจออกนึกถึงท่าน นึกถึงคำภาวนา เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าคิดว่าความตายอาจจะเข้าถึงเราในวันนี้ก็ได้ วันนี้ทั้งวันเราจะยอมรับพระไตรสรณคมณ์ คือยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ เราจะไม่มีเยื่อใยในขันธ์ 5 มากเกินไป สภาพร่างกายหิวก็ต้องหาให้มันกิน เจ็บป่วยก็ต้องรักษา แต่ว่าถ้ามันจะตายก็ต้องเป็นภาระของมัน เป็นเรื่องของมัน มันตายชาตินี้เราขอไปนิพพานเมื่อนั้น<o></o>
    <o></o>
    เพียงเท่านี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วิธีปฏิบัติง่ายๆ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน แต่ไม่แน่นอนนัก ถ้าลงท้ายคิดว่าเราคิดจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่แน่ว่าจะแค่พระโสดาบันนะตอนตาย คิดว่าร่างกายเลวๆ อย่างนี้จะมีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่มีสำหรับเรา เราจะไปนิพพาน ถ้าอย่างนี้เวลาก่อนจะตายวันนั้นจะเป็นอรหันต์ก่อนแล้วก็นิพพาน สวัสดี.
     
  4. s3515941

    s3515941 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +1,193
    อนุโทนาบุญด้วยนะครับ

    อนุโมทนาสาธุ ที่ตั้งใจพิมพ์ด้วยครับ หัวข้อนี้ตรงกับลายเซ็นผมเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...