ไม่ต้องรอชาติหน้า ก็ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ชาติปัจจุบันนี้แล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 27 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปีนี้ข้าวยากหมากแพงค้าขายไม่ดี ปีหน้าจะยิ่งกว่านี้ ไม่แน่ ศก. อาจเดี้ยงยาวติดต่อกันถึง 20 ปี (เรื่องยาว)

    ได้ยินเสียงบ่นรัวๆ จากชาวบ้านร้านตลาด ซึ่งไม่มีเงินเดือนประจำเหมือนอย่างข้าราชการเค้า “แย่แล้วจ้า แย่แล้วจ้า” (ไม่ใช่ล้านแล้วจ้า ล้านแล้วจ้า) การค้าการซบเซาเงียบเชียบ

    บ่ายวันหนึ่งผ่านตลาดสดแห่งหนึ่ง ถามแม่ค้าว่า มีงานอะไรกันหรอ (ติดเครื่องขยายเปิดเพลงดังลั่น) เขาตอบว่า ไม่มีงานอะไรหรอก ตลาดมันเงียบ (นึกขำ)

    ที่ธัมมะธัมโมหน่อย ก็ว่าชาติหน้าไม่ขอเกิดอีกแล้ว (กว่าจะตายก็อีกหลายปี)

    ทำไมต้องรอถึงชาติหน้า ไม่ต้องเกิดต้องแก่ต้องตายในชาติปัจจุบันไม่ได้รึ? ตอบตามหลักการก็ว่า ได้
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เกิดและตายแบบปัจจุบัน

    ผู้ต้องการสืบความในบาลีเกี่ยวกับสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิดแบบที่เป็นไปในปัจจุบัน ภายในชาตินี้ อาจศึกษาพระสูตรตอนหนึ่งต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

    ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ (ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ) เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ

    “ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ? ความสำคัญตน ย่อมมีว่า เราเป็นบ้าง เราไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นบ้าง เราจักไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนเป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เพราะก้าวล่วงความสำคัญตนว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้เสียทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ

    “ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่วุ่นใจ ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร”

    “ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ” ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้ ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเราดังนี้”

    ....

    บาลีนี้ มาใน ม.อุ.14/693446 นอกจากนี้ พึงดูประกอบที่ ม.อุ.14/643/415 สํ.ข.17/479/283 สํ.สฬ.18/21/17 ขุ.สุ.25/422/519 ขุ.ม.29/863/532 (แก่ = เสื่อมหรือสูญเสีย) ขุ.เถร.26/316/307 ขุ.ชา.27/1811/354 ฯลฯ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    Y12118659-17.gif

    ได้อ่านหนังสือแจกในงานศพ (ธรรมะเตือนใจ) ซึ่งคัดลอกมาจากปาฐกถาธรรมของท่านปัญญานันทภิกขุ “ดับไม่เหลือ” ซึ่งเนื้อหาเข้ากับกระทู้ได้ ท่านใช้ภาษาพื้นบ้าน ไม่เป็นภาษาวิชาการนัก จึงคัดลอกตอนนี้ไว้เทียบกัน
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ดับไม่เหลือ

    ธรรมเทศนา ที่ยังเป็นเพียงคำสั่งสอนอยู่นั้น ยังช่วยใครไม่ได้ ถ้าเมื่อใดคำสั่งสอนนั้นๆ มีผู้เห็นด้วย แล้วพากันทำตาม เมื่อนั้น คำสั่งสอนก็จะกลายรูปเป็นองค์พระธรรมซึ่งสามารถคุ้มครองผู้เห็นจริง แล้วปฏิบัติตามได้เหมือนกั้นฝนใหญ่ๆช่วยคุ้มฝนในฤดูฝน

    เรื่องความดับไม่เหลือนั้น มีวิธีปฏิบัติเป็น ๒ ชนิด คือ

    ตามปกติ ขอให้มีความดับไม่เหลือ แห่งความรู้สึกยึดถือ “ตัวกู” หรือ “ของกู” เป็นประจำ นี้อย่างหนึ่ง

    อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง เมื่อร่างกาย จะต้องแตกดับไปจริงๆ ขอให้ปล่อยทั้งหมด รวมทั้งร่างกาย ชีวิตจิตใจ ให้ดับเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีเชื้ออะไรเหลืออยู่ หวังอยู่สำหรับการเกิดมีตัวเราขึ้นมาอีก


    ฉะนั้น ตามปกติประจำวัน ก็ใช้อย่างแรก เมื่อถึงคราวจะแตกดับทางร่างกาย ก็ใช้อย่างหลัง

    ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุไม่ตายทันที มีความรู้สึกเหลืออยู่บ้างชั่วขณะก็ใช้อย่างหลัง ถ้าสิ้นชีวิตไปอย่างกะทันหัน ก็หมายถึงว่าดับไปในความรู้สึกตามวิธีอย่างแรกอยู่ในตัว และเป็นอันว่ามีผลคล้ายกัน คือ ไม่มีความอยากเกิดอีกนั่นเอง

    วิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ ที่ให้ทำเป็นประจำวันนั้น หมายความว่า มีเวลาว่างสำหรับทำจิตใจเมื่อไร ก่อนนอนก็ดี ตื่นนอนใหม่ก็ดี ให้สำรวมจิตเป็นสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจ (หรืออะไรแล้วแต่ถนัด) พอสมควรก่อนแล้วจึงพิจารณาให้เห็น ความที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทุกสิ่งไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราหรือเป็นของเราแม้แต่สักอย่างเดียว เป็นเรื่องอาศัยกันไปในการเวียนว่ายตายเกิดเท่านั้นเอง ยึดมั่นในสิ่งใดเข้า ก็เป็นต้องทุกข์ทันทีในทุกสิ่ง


    การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเล่าก็คือ การทนทุกข์ทรมานโดยตรง เกิดทุกที เป็นทุกข์ทุกที เกิดทุกชนิด เป็นทุกข์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็เป็นทุกข์ไปตามแบบของการเกิดเป็นอย่างนั้น

    เกิดเป็นแม่ ก็ทุกข์อย่างแม่

    เกิดเป็นลูก ก็ทุกข์อย่างลูก

    เกิดเป็นคนรวย ก็ทุกข์อย่างคนรวย

    เกิดเป็นคนจน ก็ทุกข์แบบคนจน

    เกิดเป็นคนดี ก็ทุกข์อย่างคนดี

    เกิดเป็นคนชั่ว ก็ทุกข์อย่างคนชั่ว

    เกิดเป็นคนมีบุญ ก็ทุกข์ไปตามประสาคนมีบุญ

    เกิดเป็นคนมีบาป ก็ทุกข์ไปตามประสาคนมีบาป ฉะนั้น สู้ไม่เกิดเป็นอะไรเลย คือ “ดับไม่เหลือ” ไม่ได้

    แต่ทีนี้ สำหรับการเกิด หรือคำว่า “เกิดนั้นอย่าหมาย เพียงการเกิดจากท้องแม่ ที่แท้ มันหมายถึงการเกิดของจิต คือ ของความรู้สึกที่รู้สึกขึ้นมาคราวหนึ่งๆ ว่ากูเป็นอะไร เช่น เป็นแม่ เป็นลูก เป็นคนจน เป็นคนมี คนสวย คนไม่สวย คนมีบุญ คนมีบาป เป็นต้น ซึ่งนี่แหละ เรียกว่า ความยึดถือ หรืออุปาทานว่า “ตัวกู” เป็นอย่างไร “ของกู” เป็นอย่างไร ตัวกู หรือ ของกู อย่างที่กล่าวนี้ เรียกว่า อุปาทาน มันเกิดจากท้องแม่ของมัน คือ อวิชชา มันเกิดวันหนึ่งไม่รู้กี่สิบครั้งกี่ร้อยครั้ง หรือ ไม่รู้กี่ชาตินั้นเอง เกิดทุกคราว เป็นทุกข์ทุกคราว อย่างไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยง

    ทุกคราวที่ ตา เห็นรูป หรือ หู ได้ ยินเสียง หรือ จมูกได้กลิ่น หรือ ลิ้นได้รส หรือ กายได้สัมผัสผิวหนัง หรือจิตมันปรุงเรื่องเก่าๆ เป็นความคิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเองก็ตาม ถ้าควบคุมไว้ไม่ดีแล้ว “ตัวกู” เป็นได้โผล่ หรือเกิดขึ้นมาทันที และต้องเป็นทุกข์ทันทีที่ตัวกูโผล่ขึ้นมา


    ฉะนั้น จงระวังอย่างเผลอให้ “ตัวกู” โผล่หัวออกจากท้องแม่ของมันเป็นอันขาด เพียงแต่ตาเห็นรูป หรือ หู ได้ยินเสียง เป็นต้น แล้วเกิดสติปัญญารู้ว่าควรจัดการอย่างไรก็จัดไปหรือนิ่งเสียก็ได้ อย่างนี้ ไม่เป็นไร ขออย่างเดียวอย่าให้ “ตัวกู” ถูกปรุงขึ้นมาจากตัณหาหรือเวทนา อันเกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ได้เห็น หรือ ได้ยิน เป็นต้นนั้น อย่างนี้ เรียกว่า “ตัวกู” ไม่เกิด คือ ไม่มีชาตินั่นเอง เมื่อไม่เกิด ก็ไม่ตาย หรือไม่ทุกข์อย่างใดทั้งสิ้น นี่แหละคือข้อที่บอกให้ทราบว่า การเกิดนั้น ไม่ใช่หมายถึงการจากท้องแม่ ทางเนื้อหนังโดยตรง แต่มันหมายถึงการเกิดทางจิตใจ “ตัวกู” ที่เกิดจากแม่ของมัน คือ อวิชชา


    การ “ดับไม่เหลือ” ในที่นี้ ก็คือ อย่าให้ตัวกูดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นมาได้นั่นเอง เมื่อแม่ของมัน คือ อวิชชา ก็ให้ฆ่าแม่ของมันเสียด้วย วิชชา หรือปัญญาที่รู้ว่า “ไม่มีอะไรควรยึดมั่นถือมั่น” นั่นเอง หรืออีกอย่างหนึ่งก็ว่ามันเกิดได้เพราะเราเผลอสติ ฉะนั้น เราอย่าเผลอสติเป็นอันขาด


    พวกที่ทำวิปัสสนาไม่สำเร็จ ก็เป็นเพราะคอยจับจ้อง เอาความสุขอยู่เรื่อยไป มุ่งนิพพานตามความยึดถือของตนร่ำไป มันก็ดับไม่ลง หรือนิพพานจริงๆไม่ได้ มีตัวกูเกิดในนิพพานแห่งความยึดมั่นถือมั่นของตนเองเสียเรื่อย ฉะนั้น ถ้าจะภาวนาบ้างก็ต้องภาวนาว่าไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่น แม้แต่สิ่งที่เรียกว่านิพพานนั่นเอง

    “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย – สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

    สรุปความว่า ทุกค่ำเช้าเข้านอนต้องทำความแจ่มแจ้งเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้แจ่มกระจ่างอยู่เสมอจนเคยชินเป็นนิสัย จนหากบังเอิญตายไปในเวลาหลับ ก็ยังหวังที่จะไม่เกิดอีกต่อไป

    มีสติเกิดปัญญาอยู่เรื่อย อย่าให้อุปาทานว่า “ตัวกู” หรือ “ของกู” เกิดขึ้นมาได้เลย ในทุกๆกรณี ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งตื่นและหลับ นี้เรียกว่า เป็นอยู่ด้วยความดับไม่เหลือ หรือความไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมะอยู่ในจิตที่ว่างจากตัวตนอยู่เสมอไป เรียกว่า ตัวตน ไม่ได้เกิดและมีแต่การดับไม่เหลืออยู่เพียงนั้น ถ้าเผลอไป ก็ตั้งใจทำใหม่เรื่อย ไม่มีการท้อถอยหรือเบื่อหน่าย

    ในการบริหารใจเช่นนี้ ก็เช่นเดียวกับเราบริหารกายอยู่ตลอดเวลานั้นเหมือนกัน ให้ทั้งกายและใจได้รับการบริหารที่ถูกต้อง คู่กันไป ดังนี้ ในทุกกรณีที่ทำอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกเป็นอยู่ด้วยปัญญาไมมีความผิดพลาดเลย
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทีนี้ก็มาถึง วิธีปฏิบัติที่ ๒ คือ ในเวลาจวนเจียนจะดับจิตนั้น อยากจะกล่าวว่า มันง่ายเหมือนตกกระไดแล้วพลอยกระโจน มันยากอยู่ตรงที่ไม่กล้าพลอยกระโจน ในเมื่อพลัดตกกระไดมันจึงเจ็บมาก เพราะตกลงมาอย่างไม่เป็นท่าเป็นทาง ไหนๆก็เมื่อร่างกายนี้มันอยู่ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว จิตหรือเจ้าของบ้านก็พลอยกระโจนตามไปเสียด้วยก็แล้วกัน ให้ปัญญามันกระจ่างแจ่มแจ้งขึ้นมาในขณะนั้นว่า ไม่มีอะไรที่น่ากลับมาเกิดใหม่ เพื่อ เอา เพื่อเป็น เพื่อหวังอะไรอย่างใดต่อไปอีก หยุด สิ้นสุด ปิดฉากสุดท้ายกันเสียที เพราะไปแตะเข้าที่ไหน มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะไปเกิดอะไรเข้าที่ไหน หรือได้อะไรที่ไหนมา จิตหมดที่หวัง หรือความหวังละลาย ไม่มีที่จอดมัน จึงดับไปพร้อมกับกายอย่างไม่มีเชื้อเหลือมาเกิดอีก สิ่งที่เรียกว่า เชื้อ ก็คือความหวัง หรือความอยาก หรือความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นเอง


    หรือสมมติว่า ถูกควายขวิดจากข้างหลัง หรือรถยนต์ทับหรือตึกพังทับ ถูกลอบยิง หรือระเบิดชนิดไหนก็ตาม ถ้ามีความรู้สึกเหลืออยู่แม้สักครึ่งวินาทีก็ตาม จงน้อมจิตไปสู่ความดับไม่เหลือ หรือทำความดับไม่เหลือเช่นว่านี้ให้แจ่มแจ้งขึ้นในใจ (เหมือนที่เคยฝึกอยู่ทุกค่ำเช้าเข้านอน) ขึ้นมาในขณะนั้น แล้วให้จิตดับไป ก็เป็นเพียงพอแล้วสำหรับการ “ตกกระไดพลอยโจน” ไปสู่ความดับไม่มีเชื้อเหลือ


    ถ้าหากจิตดับไปเสีย โดยไม่มีเวลาเหลืออยู่สำหรับให้รู้สึกได้ดังว่า ก็แปลว่า ถือเอาความดับไม่เหลือที่เราพิจารณา และมุ่งหมายอยู่เป็นประจำในทุกค่ำเช้าเข้านอนนั่นเอง เป็นพื้นฐานสำหรับการดับไป มันจะเป็นการดับไม่เหลืออยู่ดี ไม่เสยท่าทีแต่ประการใด อย่าได้เป็นห่วงเลย


    ถ้าป่วยด้วยโรคที่เจ็บปวด หรือทรมานมาก ก็ต้องทำจิตแบ่งรับว่าที่ยิ่งเจ็บมาก ปวดมากนี่แหละ มันจะได้ดับไม่เหลือเร็วขึ้นอีก เราชอบใจความเจ็บปวดเสียอีก เมื่อเป็นดังนี้ ปีติในธรรมก็จะข่มความรู้สึกเจ็บปวดนั้นไม่ให้ปรากฏ หรือปรากฏแต่น้อยที่สุด จนเรามีสติสมบูรณ์อยู่ดังเดิม และเยาะเย้ยความเจ็บปวดได้


    ถ้าป่วยด้วยโรค เช่น อัมพาต และต้องดับด้วยโรคนั้น ก็ให้ถือว่าตัวเราสิ้นสุดไป ตั้งแต่ขณะที่โรคนั้นทำให้มดความรู้สึกนั้นแล้ว ที่เหลือนอนตาปริบๆ อยู่นี้ ไม่มีความหมายอะไร ทั้งนี้ เพราะว่าจิตของเราได้สมัครน้อมไปเพื่อความดับไม่เหลือ เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ก่อนล้มเจ็บเป็นอัมพาต หรือตั้งแต่ความรู้สึกยังดีๆอยู่ ในการเป็นอัมพาตตลอดเวลาที่มีความรู้สึก ครั้งหมดความรู้สึก แล้วมันก็หามีตัวตนอะไรที่เป็นตัวกู หรือของกูที่ไหนไม่ อย่าได้คิดเผื่อให้มากไปด้วยความเขลาของตัวเองเลย


    ยังดีๆอยู่นี่แหละ รีบทำความดับไม่เหลือเสีย ให้สมบูรณ์ด้วยสติปัญญาเถิด มันจะรับประกันได้ไปถึงเมื่อเจ็บ แม้ในกรณีที่เป็นโรคอัมพาตดังกล่าวแล้ว ไม่มีทางที่จะพ่ายแพ้หรือเสียท่าทีแก่ความเจ็บแต่ประการใดเลย เพราะเราทำลาย “ตัวกู” ให้หมดความเกิดเสียแล้ว ตั้งแต่เมื่อร่างกายยังสบายๆอยู่นั่นเอง นี้เรียกว่า ดับหมดแล้วก่อนตาย


    สรุปความในที่สุด วิธีปฏิบัติทั้ง ๒ ชนิดก็คือ จึงมีจิตที่มีปัญญาแท้จริง มองเห็นอยู่ว่าไม่มีอะไร ที่ควรยึดมั่นถือมั่นแม้แต่สักสิ่งเดียว


    ในจิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิงอย่างนี้แหละ ไม่มี “ตัวกู” หรือ “ของกู” มีแต่ธรรมะที่เป็นความหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเราจะสมมุติเรียกว่า พระรัตนตรัย หรือ มรรคผลนิพพาน หรืออะไรที่เป็นยอดปรารถนาของคนยึดมั่นถือมั่นนั้นได้ทุกอย่าง แต่เราไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานในสิ่งเหล่านั้นเลย จึงดับไม่เหลือหรือนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...