ไม่ใช่แค่ "ห้องสมุด" !! ทำความรู้จัก "ศูนย์ความรู้กินได้"

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ไม่ใช่แค่ "ห้องสมุด" !! ทำความรู้จัก "ศูนย์ความรู้กินได้"

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ชื่อชั้นของ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) หรือ OKMD อาจจะไม่เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะและคุ้นหูเท่ากับส่วนงานภายในกำกับฯอย่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI) ซึ่งพัฒนาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบแห่งแรกภายใต้ชื่อ มิวเซียมสยาม หรือ Museum of Siam ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบของไทย ที่ทั้ง 3 แห่งรวมกันในปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี

    "สบร.มีทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อการมุ่งสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานของ TCDC, TK park และมิวเซียมสยาม เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ "ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) กล่าว

    โครงการ Knowledge Center "ศูนย์ความรู้กินได้" ซึ่ง สบร.เพิ่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกระทรวงศึกษาธิการไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ให้กลายเป็นแหล่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการเรียนรู้ แบบใหม่ของชุมชน จะเป็นอีกหนึ่ง

    ตัวอย่างซึ่ง สบร.จะได้นำเอากระบวนการบริหารด้านเนื้อหาความรู้ที่เป็นสากลผสมกับจุดเด่นและคุณลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นกิจกรรมและบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนของประชาชน

    "ศูนย์ความรู้กินได้" จะมีความแตกต่างจากห้องสมุดประชาชนทั่วไป โดยเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ และการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการในท้องถิ่นให้มีมูลค่า เพิ่มขึ้น ผ่านการให้บริการในส่วนต่างๆที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นคว้าความรู้ดั้งเดิมเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และการต่อยอดความรู้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ โดยมีส่วนของห้องสมุดที่บรรจุเนื้อหาและมัลติมีเดีย ทั้งหมวดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการของท้องถิ่นนั้นๆ การรวบรวมองค์ความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น หมวดที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก

    นอกจากนี้ ยังมีส่วนกิจกรรมที่จะเป็นส่วนเสริมเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และความสนใจให้เกิดการเรียนรู้ของชุมชนในท้องถิ่น อาทิ การจัดสัมมนาเพื่อการถ่ายทอดความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงตัวอย่างวัสดุและฐานข้อมูลวัสดุ การให้คำปรึกษาและค้นคว้าข้อมูล การจัดฝึกอบรมทักษะต่างๆ

    สำหรับระยะที่ 1 เริ่มโครงการนำร่อง ใน 10 จังหวัด โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และอุบลราชธานี ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน จะเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2552 ก่อนจะขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป สำหรับงบประมาณในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบจะอยู่ภายใต้การดูแลของ สบร.ก่อนที่จะส่งมอบศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบให้แก่กระทรวงศึกษาธิการต่อไปภายใน 1 ปีนับจาก เปิดให้บริการ

    "สิ่งที่เราต้องการให้เห็นเมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ คือ ประชาชนได้เข้ามาใช้สถานที่นี้เป็นหนทางในการหารายได้ สร้างอาชีพเสริม พัฒนาทักษะและ กระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่ตรงกับ กศน.อยู่แล้ว ดังนั้นภารกิจในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นภายใต้โครงการนี้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีองค์กรที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ" นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวในที่สุด

    ถ้าทำได้จริง "ศูนย์ความรู้กินได้"ก็จะถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ สบร.ที่เคยสร้างชื่อกับการปลุกปั้นแหล่งการเรียนรู้แนวใหม่สำเร็จมาแล้วหลายต่อหลายหน ส่วนครั้งนี้จะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป

    =============
    [​IMG]

    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02edu03310751&day=2008-07-31&sectionid=0222
     

แชร์หน้านี้

Loading...