ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อเทพโมฬี’
    วัดเทพโมฬี อ.เมือง จ.กำแพงเพชร


    “เมืองกำแพงเพชร” เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญ
    ทางด้านการเมือง การสงคราม และด้านพระพุทธศาสนา
    หลักฐานที่ปรากฏให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์
    ของพระพุทธศาสนาสมัยเก่า คือ ซากปรักหักพัง พระอุโบสถ
    พระวิหารต่างๆ ของวัด ที่มีอยู่รายล้อมเมืองกำแพงเพชร

    “หลวงพ่อเทพโมฬี” (หลวงพ่อโม้) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
    ปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน ได้สะท้อนถึงความรุ่งโรจน์
    ของเมืองกำแพงเพชรโบราณ ชาวเมืองเรียกว่า “หลวงพ่อโม้”

    องค์พระพุทธรูปมีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๑ คืบ สูง ๑๓ ศอก ๑ คืบ
    ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายใน
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เดิมสันนิษฐานว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

    “หลวงพ่อเทพโมฬี” ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพโมฬี
    ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

    เป็นวัดที่มีขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ นอกเขตเมืองชากังราว
    อยู่ทิศใต้ของคูเมืองเก่า ด้านหน้าทิศตะวันออก ติดกับถนนราชดำเนิน
    ด้านหลังทิศตะวันตกติดกับบ้านพักอัยการจังหวัด และโรงพยาบาลแพทยบัณฑิต
    ทิศเหนืออยู่ใกล้กับสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
    สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

    วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้
    เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมืองเดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี
    ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง เฉพาะองค์พระเทพโมฬี
    เป็นพระประธานในอุโบสถมาแต่เดิม ได้ชำรุดแตกหัก
    เหลือแต่พระปฤษฎางค์ และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป
    มีต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป
    แถมยังมี งู แมงป่อง มากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้

    ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายกาจ รักษ์มณี
    ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรในสมัยนั้น
    มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้
    เพื่อจะได้เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา

    ท่านจึงปรึกษาหารือกับนายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร
    อัยการจังหวัดจำรูญเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า
    มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้านนับถือกันมาก
    อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้
    มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ

    ผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
    จึงตกลงที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพโมฬีแห่งนี้ขึ้นมา
    เพื่อให้เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ของชาวกำแพงเพชร
    และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไปภายหน้า

    โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวกำแพงเพชร
    ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์หลวงพ่อเทพโมฬี และหลวงพ่อแป้งข้าวหมาก
    ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างครอบองค์พระเดิมไว้

    ทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ไปอาราธนา หลวงพ่อโง่น โสรโย
    วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
    ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการปั้น และทำพิธีทางศาสตร์เวทในด้านนี้
    มาเป็นผู้ปั้น พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อเทพโมฬี

    หลวงพ่อโง่น ได้เป็นประธานควบคู่กับการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีทุกขั้นตอน
    โดยใช้เวลาปั้นหลวงพ่อเทพโมฬี พร้อมทั้งปรับปรุงบริเวณโดยรอบแล้ว
    แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ในระหว่างนั้น พระครูวิธานวชิรศาสน์
    หรือหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)

    นำพระภิกษุมาช่วยร่วมบูรณปฏิสังขรณ์โดยตลอด

    เหตุที่ชาวเมืองกำแพงเพชร เรียกว่า “หลวงพ่อโม้” จนติดปาก
    เพราะมีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอๆ
    ไม่ว่าจะบนบานศาลกล่าวสิ่งใดในเรื่องที่ดีก็มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบนขอให้ฝนไม่ตกในช่วงเวลาจัดงานต่างๆ ในจังหวัด

    ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เสมือนหนึ่ง “โม้” นี่เอง
    จึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาว่า “หลวงพ่อโม้”


    ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธสถานสาธารณะ อยู่ในความดูแลของวัดเสด็จ
    และบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
    ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบไหว้บูชา
    เพื่อขอพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา สำหรับเครื่องแก้บน
    นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับแป้งข้าวหมาก

    ใครที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร
    ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี
    ที่วัดเทพโมฬี ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
    เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์’
    วัดสังกัสรัตนคีรี อ.เมือง จ.อุทัยธานี


    วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดที่เก่าแกของจังหวัดอุทัยธานี
    ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”
    ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวอุทัยธานี


    ‘พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์’ หรือ ‘หลวงพ่อมงคล’ วัดสังกัสรัตนคีรี
    ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด
    มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก หรือ ๑๕๐ เซนติเมตร ศิลปะสมัยสุโขทัย

    ยุคเดียวกับพระพุทธชินราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย
    ระหว่างปีพุทธศักราช ๑๘๒๑-๑๘๖๐
    ฝีมือช่างสุโขทัยยุค ๒ มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์
    เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี

    [​IMG]

    เดิมประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าพระประธานในพระวิหารวัดขวิด
    บ้านสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ปัจจุบันมีอายุประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ ปี
    ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัยมาทางแม่น้ำสะแกกรัง มาประดิษฐาน ณ วัดขวิด
    โดยอัญเชิญขึ้นแพมาพร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ
    ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมและชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๓๕-๒๓๔๒ สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับถึง ๓ องค์คือ
    พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระโพธิ์มงคล และพระที่วัดหนองแกมาจากสุโขทัย
    แล้วได้นำไปขึ้นที่ท่าแพ ใกล้ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี

    พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดขวิด
    ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ราวพุทธศักราช ๒๓๔๒-๒๓๔๕

    ครั้นพุทธศักราช ๒๔๗๑ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
    เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ ในขณะนั้น ท่านเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี
    ได้เดินทางมาตรวจวัดวาอารามที่จังหวัดอุทัยธานี
    ได้พบเห็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่งดงามมาก
    จึงมีความเลื่อมใสและศรัทธาเป็นอย่างมาก เมื่อได้กราบนมัสการสักการะแล้ว
    จึงโปรดให้ พระมหาพุฒ หรือพระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
    (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ดูแลรักษาพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ให้ดี

    [​IMG]

    ครั้นถึงวันพุธขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๗๑
    หลวงพ่อป๊อก (พระครูอุเทศธรรมวิจัย)
    พระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์แห่งวัดโบสถ์ พร้อมด้วยข้าราชการ
    พ่อค้า และประชาชนในจังหวัด ร่วมกันประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญ
    หลวงพ่อพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์มาประดิษฐานที่วัดสังกัสรัตนคีรี


    มีพิธีเฉลิมฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมกับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ไว้ภายในพระเศียรของหลวงพ่อด้วย วันขึ้น ๓-๘ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี
    ประชาชนชาวอุทัยธานีจะร่วมกันจัดงานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
    ซึ่งได้จัดมาเป็นประจำทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

    ปัจจุบันนี้ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาจะเข้าไปกราบไหว้
    ขอพรและโชคลาภ จากหลวงพ่อพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
    ณ วัดสังกัสรัตนคีรี ไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน

    สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปที่วัดสังกัสรัตนคีรี ขอให้สังเกตว่า
    วัดตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง
    อยู่ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี ต้องจอดรถยนต์แถวตลาด
    แล้วเดินเท้าข้ามสะพานไปอีกฝั่งของแม่น้ำสะแกกรัง

    [​IMG]
    วิหารพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐาน “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘พระนอนตะแคงซ้าย’
    วัดป่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง


    จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
    มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๓,๕๕๒ ตารางกิโลเมตร

    จังหวัดระยอง เริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๓
    ในรัชสมัยของ สมเด็จพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา
    สันนิษฐานว่าเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๕๐๐
    ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ
    ปรากฏจากหลักฐานคือ ซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่
    ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม


    [​IMG]

    ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงเมืองระยอง
    ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒
    ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๙
    พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน
    ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยอง
    ก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่มั่น
    ในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าในปีพุทธศักราช ๒๓๑๑

    จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอาหารทะเลและผลไม้นานาชนิด เป็นเมืองอุตสาหกรรม
    และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
    ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
    รวมทั้งเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ

    ระยองได้รับการขนานนามให้เป็นเมือง “สุนทรภู่” เมืองแห่งกวีเอก
    ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ประพันธ์วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง
    ได้อย่างไพเราะสละสลวย และเต็มไปด้วยจินตนาการ
    โดยเฉพาะนิทานกลอนสุภาพ เรื่องพระอภัยมณี ซึ่งฉากหนึ่งในนิทานเรื่องนี้
    คือ หมู่เกาะน้อยใหญ่และท้องทะเลที่สวยงามในจังหวัดระยอง

    [​IMG]

    นอกจากธรรมชาติอันงดงามแล้ว ในขณะเดียวกันระยองยังมีสถานที่ท่องเที่ยว
    ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่หลายแห่ง และถ้าเป็นรูปแบบพระพุทธรูปแล้ว
    ก็ต้อง “พระนอนตะแคงซ้าย” (พระพุทธไสยาสน์)
    ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดป่าประดู่

    ในเขตเทศบาลเมือง ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
    เดิมองค์พระตั้งอยู่กลางแจ้ง ต่อมามีการสร้างพระวิหารครอบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔

    “วัดป่าประดู่” สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ประวัติความเป็นมาก่อนสร้างวัด ประมาณเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒
    พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ อุปัชฌาย์เทียน เดิมจำพรรษาอยู่ที่ วัดเนิน
    (หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดอินทรสมบัติ ปัจจุบันรวมกับวัดลุ่ม)
    ได้มาพบสถานที่แห่งนี้เป็นวัดร้าง มีต้นตะเคียนเป็นจำนวนมาก
    มีซากวัดที่เหลือแต่ ซากโบสถ์ ซากพระพุทธรูปปางไสยาสน์
    และ ซากองค์พระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
    วัดป่าประดู่แห่งนี้จึงเคยมีชื่อเดิมว่า วัดป่าเลไลยก์

    อุปัชฌาย์เทียนจึงได้มาจำพรรษาเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่นี่
    บรรดาชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงพากันศรัทธาเลื่อมใสในท่าน
    จึงชักชวนกันสร้างกุฏิถวายและร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดนี้จนเจริญสืบมา

    ต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับนามหมู่บ้านที่วัดตั้งอยู่คือ ตลาดท่าประดู่
    อีกทั้งเพราะมีต้นประดู่ใหญ่อยู่ภายในวัดเป็นจำนวนมาก
    (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงต้นเดียวตรงปากประตูทางเข้าวัด)
    และเพื่อมิให้ชื่อวัดพ้องกับวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
    จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดป่าประดู่”

    [​IMG]

    ปัจจุบัน พระพุทธรูปทั้งสององค์ได้รับการบูรณะไว้
    จึงถือเป็นพระเก่าแก่คู่บ้านเมืองของระยองแห่งหนึ่ง
    วัดได้รับการพัฒนามาโดยตลอด
    ปัจจุบัน กำลังก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่สวยงาม

    วัดป่าประดู่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นพระอารามหลวง
    เป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชุมชนในการปฏิบัติศาสนกิจ
    และพิธีการทางศาสนาของประชาชนในเมืองระยอง

    ที่วัดป่าประดู่ มีพระพุทธรูปนอนตะแคงซ้ายที่เก่าแก่
    เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่แปลกที่สุดในประเทศไทย

    โดยปกติแล้ว เมื่อมีการสร้างองค์พระปางสีหไสยาสน์
    มักจะสร้างประทับอยู่ในท่านอนตะแคงขวา
    แต่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าประดู่สร้างในท่านอนตะแคงซ้าย
    มีความยาว ๑๑.๙๕ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร ขนาดใหญ่

    ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ พระครูสมุทรสมานคุณ (แอ่ว) อดีตเจ้าอาวาส
    ได้บูรณะองค์พระส่วนที่ชำรุดแล้วปิดทองเสียใหม่

    [​IMG]

    มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นการสร้างตามพระพุทธประวัติ
    ตอนพระพุทธเจ้ากระทำยมกปาฏิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ชม
    โดยมีพระพุทธนิมิตแสดงอาการอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าเป็นคู่ๆ
    เมื่อถึงอิริยาบถไสยาสน์จึงผินพระพักตร์เข้าหากัน
    เป็นการนอนตะแคงซ้ายและขวาในลักษณะเดียวกัน
    ผู้สร้างคงเจตนาสร้างให้มีนัยของพุทธปาฏิหาริย์ดังกล่าว
    จึงสร้างเป็นพระนอนตะแคงซ้าย.....


    องค์พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าประดู่ มีลักษณะพิเศษ
    กล่าวคือ มีการหนุนพระเศียรด้วยหัตถ์ซ้าย

    สังเกตจากพระเกศ ไรพระศก จีวรแล้ว น่าจะอยู่ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา
    จนกระทั่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ดูแลรักษาอย่างดี

    วัดป่าประดู่ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓
    อยู่คู่บ้านคู่เมืองระยอง และมีงานสมโภชใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นประจำทุกปี

    ทุกวันจะมีประชาชนผู้ศรัทธา เดินทางเข้าไปกราบไหว้ขอพร
    เพื่อให้สมหวังในเรื่องต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อย่างไม่ขาดสาย

    การเดินทางไปสักการะพระนอนตะแคงซ้าย (พระพุทธไสยาสน์) วัดป่าประดู่
    สามารถใช้เส้นทาง ถ.สุขุมวิท เข้าตัวเมืองระยอง ใกล้กับโรงพยาบาลระยอง
    และโรงเรียนวัดป่าประดู่ ถือเป็นการเดินทางที่สะดวกสบายที่สุด

    [​IMG]
    พระวิหารวัดป่าประดู่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระนอนตะแคงซ้าย”

    [​IMG]
    ด้านหน้าพระวิหารวัดป่าประดู่

    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดป่าประดู่
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อใหญ่’
    วัดโยธานิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี


    จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
    ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละยุคสมัย
    ทั้งสมัยก่อนกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    ดังปรากฏหลักฐานสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่จวบจนทุกวันนี้

    หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน
    ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยาและยึดเมืองจันทบุรี
    ไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล
    จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน
    กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐

    เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี
    สามารถเห็นได้จากที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง
    ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง
    พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

    จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย
    ต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด
    และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี
    และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา
    ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ

    นอกจากนี้ จังหวัดจันทบุรี ยังมีสถานที่สำคัญที่เป็นศูนย์รวมใจ
    แห่งศรัทธาของชาวเมือง คือ วัดโยธานิมิต

    “วัดโยธานิมิต” ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี
    สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอุโบสถเป็นแบบหลังคาชั้นเดียว
    ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา เป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถ
    ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากศิลปะแบบจีน

    ภายในพระอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
    สภาพปัจจุบัน วัดโยธานิมิต อยู่ในค่ายเนินวง
    และอยู่ห่างจากแนวกำแพงประมาณ ๑๐๐ เมตร
    เนื้อที่วัดประมาณ ๑ ไร่ โดยมีซากแนวกำแพงรอบวัดก่อด้วยศิลาแลง
    สภาพปัจจุบันเหลือแต่แนวกำแพงเป็นบางส่วน

    จากแนวกำแพงรอบวัด หลังพระอุโบสถมีเจดีย์สูงประมาณ ๒๐ เมตร
    มีกำแพงรอบพระอุโบสถ ก่ออิฐถือเป็นปูนสองชั้น
    ชั้นนอก กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๕๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร
    ชั้นใน กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑ เมตร

    กำแพงเมืองวัดโยธานิมิต ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ
    ภายในกำแพงวัดมีพระอุโบสถหลังหนึ่งขนาดกว้าง ๕ ห้อง
    มีเฉลียงรอบพระประธานในพระอุโบสถ
    เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสร้างพร้อมกันกับพระอุโบสถ
    หลังพระอุโบสถออกไปมีเจดีย์กลมแบบกังกาอยู่องค์หนึ่ง
    สูงประมาณ ๒๐ เมตร พร้อมกับศาลาการเปรียญอยู่หลังหนึ่ง และกุฏิสงฆ์

    พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓
    ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
    ระบุว่า
    “...ในพุทธศักราช ๒๓๗๗ เมื่อเดือน ๑ โปรดเกล้าฯ
    ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เนินวง
    ด้วยบ้านราษฎรอยู่ลึกเข้าไปข้างหลักเมือง เป็นที่ป้องกันครอบครัวพลเมืองได้
    แล้วจึงสร้างวัดขึ้นสำหรับเมืองวัด ๑ ชื่อวัดโยธานิมิต...”


    เหตุที่สร้างวัดเนื่องจากในครั้งนั้น เมื่อญวณขอเดินทางผ่านประเทศไทย
    เพื่อจะไปตีเมืองเขมร รัฐบาลไทยส่ง หลวงประดิษฐ์ บุญนาค
    นำทัพมาปักหลักที่เมืองจันทบุรี ตรงบริเวณค่ายเนินวงค์ เพื่อขัตตาทัพ

    แต่ทหารไทยไม่ได้รบกับต่างชาติ หลวงประดิษฐ์ บุญนาค จึงนำทหารสร้างวัดโยธานิมิต
    โดยสร้างพระอุโบสถด้วยชันอ้อยผสมดินศิลาแลง ต่อด้วยฝาผนังเป็นไม้
    หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีเสมาทรงเหลี่ยมตั้งทับหลุมลูกนิมิต

    ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ คณะกรรมการวัดโยธานิมิต
    ได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนพระอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม
    ด้วยการสร้างทับตามรอยเขตขอบเสมาเดิม

    ปัจจุบัน วัดโยธานิมิตมี พระครูพินิจธรรมประภาส (พระอาจารย์ต้อม)
    เป็นเจ้าอาวาส
    วัดโยธานิมิตเป็นหนึ่งใน ๙ วัดของจังหวัดจันทบุรี
    ที่กำหนดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ต้อนรับนักท่องเที่ยวมาจากต่างจังหวัด
    ที่มาเยือน ทางเข้าวัดอยู่ริมถนนท่าแฉลบ ห่างจากเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี
    ประมาณ ๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้พิพิทธภัณฑ์แห่งชาติพาณิชยนาวี

    “พระมงคลเทพนิมิต” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
    ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโยธานิมิต

    ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองของค่ายเนินวงค์ (ค่ายทหารเมืองเก่า)
    ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ
    ขนาดหน้าตัก ๔ เมตร หล่อด้วยดินศิลาแลงผสมงบน้ำอ้อย


    ประชาชนนิยมเข้าสักการะหลวงพ่อใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า
    มีเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด จึงมีชาวบ้านและบุคคลทั่วไป
    เดินทางมากราบไหว้จำนวนมากในแต่ละวัน

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เกิดเหตุประหลาดไฟฟ้าลัดวงจร
    เพลิงลุกไหม้หลวงพ่อใหญ่ เผาไหม้ที่ผ้าอังสะ ที่สวมใส่ในองค์หลวงพ่อใหญ่
    ชาวบ้านช่วยกันดับไฟ พอเพลิงสงบ พบว่า
    อังสะที่สวมใส่องค์หลวงพ่อใหญ่ไม่มีร่องรอยไฟไหม้เลย

    มีลูกศิษย์ได้นำอังสะติดตัวไปหลายคน และประสบความโชคดี ค้าขายดี
    บ้างก็มีโชค ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไป และแคล้วคลาดภัยอุบัติเหตุ

    หากมีโอกาสไปเยือนเมืองจันทบุรี ขอเชิญไปกราบไหว้
    พระมงคลเทพนิมิต หรือหลวงพ่อใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคลอันดีเทอญ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อทันใจ’
    วัดพระบรมธาตุบ้านตาก อ.บ้านตาก จ.ตาก


    “ตะกุตะกะ จายาริโย เอวัง วันตา อะหัง วันทามิ สัพพะทา”
    บทสวดนมัสการ “หลวงพ่อทันใจ” วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
    อ.บ้านตาก จ.ตาก ที่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์
    ขององค์หลวงพ่อทันใจ ว่าขอสิ่งใด ล้วนแต่ได้สมดังใจปรารถนาทุกประการ

    “วัดพระบรมธาตุบ้านตาก” อยู่ที่ ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก
    ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เดิมวัดแห่งนี้เป็นเมืองตากเก่า
    ก่อนที่จะมีการย้ายตัวเมืองไปอยู่ที่ ต.ระแหง ตัวเมืองตากในปัจจุบัน
    ห่างไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
    อันมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัย พระนางจามเทวี
    ล่องเรือเสด็จไปเมืองลำพูน หยุดพักบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นเมืองร้าง
    จึงได้สั่งให้มีการฟื้นฟูบูรณะเมืองแห่งนี้ จนกลายเป็นชุมชนเมืองตาก

    วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง
    ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึกเจ้าเมืองฉอด
    บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ ๕๐๐ เมตร

    [​IMG]

    ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวไว้ว่า
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามลำน้ำปิง
    พระองค์ได้เสด็จมายัง ดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก
    ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น
    หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยมะหิยังกะ

    ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน
    พระอรหันต์ทั้ง ๔ ได้นำพระบรมสาริกธาตุของพระองค์
    พร้อมด้วยเกศาอีก ๔ องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ

    แล้วก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้ว นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์
    เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

    ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง
    ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ท่านจึงได้จำมาก่อสร้างองค์พระเจดีย์
    เหมือนเจดีย์ชเวดากองล้อมคลุมองค์เก่าไว้ ปิดทองสวยงาม

    พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุบ้านตาก
    กล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ว่า
    ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด พระครูบาตา อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน
    ได้ปรึกษากับศรัทธาญาติโยมว่า มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก ๑ องค์
    และศรัทธาญาติโยมได้พร้อมใจร่วมกันนุ่งขาว ห่มขาว
    เริ่มก่อพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๒ นิ้ว
    และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก ๑ วัน กับ ๑ คืน เสร็จพอดี

    โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า “พระเจ้าทันใจ” เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ
    ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐาน ขออะไรก็ได้สมความปรารถนา
    ทุกสิ่งทุกประการ นับเวลาจนปัจจุบันประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว

    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ นายทิพย์ หิงคานนท์ อดีตข้าราชการครู
    หลังเกษียณอายุราชการ ได้ล้มป่วยลงอาการหนักมาโดยตลอด
    จึงได้มาสักการะพระบรมธาตุ และอธิษฐานต่อองค์หลวงพ่อทันใจ
    ขอให้หายป่วย มีสุขภาพดีแข็งแรง จะกลับมาทอดกฐินที่วัดแห่งนี้ ๑๕ ปี

    ปรากฏว่า เป็นจริงดั่งคำอธิษฐาน อาการเจ็บป่วยของนายทิพย์ทุเลาลงตามลำดับ
    และในปี พ.ศ.๒๕๒๐ จึงมาทอดกฐินพร้อมคณะญาติชาวจังหวัดชลบุรี
    ต่อเนื่องจนครบ ๑๕ ปี และต่อมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งนายทิพย์ได้ถึงแก่กรรมในวัย ๘๙ ปี
    แต่ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจยังคงแพร่ขยายไปทั่วสารทิศ
    เช่น นักฟุตบอลทีมชาติไทย เคยยกทีมมาไหว้แก้บนเมื่อหลายปีก่อน,
    บรรดานักการเมืองระดับชาติ, นักธุรกิจใหญ่
    ต่างเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทันใจ เดินทางมาแก้บนตามที่ได้อธิษฐานไว้

    หลวงพ่อทันใจ ไม่เพียงแต่ดลบันดาลในเรื่องหน้าที่การงาน
    ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น
    ยังรวมไปในเรื่องของความรัก คู่ครอง และขอบุตร-ธิดา

    โดยเครื่องบูชาหลวงพ่อทันใจ จะเป็นกล้วย ส้ม ผลไม้ตามฤดูกาล
    ส่วนของไหว้ประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ห้ามนำเข้ามาถวาย
    และห้ามนำเข้าเขตพัทธสีมาอย่างเด็ดขาด ยกเว้นไข่ต้มสุกอย่างเดียว

    ส่วนการเสี่ยงทายความสำเร็จ มีช้างเสี่ยงทาย ใช้นิ้วก้อยยกสำหรับผู้ชาย
    และนิ้วนางสำหรับผู้หญิง ทำนายดวงชะตา หากสำเร็จครั้งแรกขอให้ยกขึ้นทันที
    และอธิษฐานยกใหม่อีกครั้ง ขอให้ยกไม่ขึ้น
    หากคำทำนายดีสำเร็จดังหมาย ซึ่งก็สมปรารถนาดังใจทุกประการ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อแสนทอง’
    วัดมณีบรรพต อ.เมือง จ.ตาก


    “หลวงพ่อแสนทอง” พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเมืองตาก
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม
    ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดมณีบรรพตวรวิหาร
    หรือวัดเขาแก้ว ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก


    พระครูเมธีวรคุณ (พระมหาฉลวย กาญจโน)
    เจ้าอาวาสวัดมณีบรรพตวรวิหาร เล่าให้ฟังว่า เมื่อ ๗๘ ปีก่อน
    สมัยที่ พระครูรัตนวาสพิพัฒน์ (หลวงพ่อห้อน อินทสโร)
    ขณะเจริญกรรมฐานภายในวัด ได้มีนิมิตถึงองค์พระพุทธรูป
    ตั้งอยู่ในวิหารร้างเมืองโบราณแห่งหนึ่งชื่อว่า “เมืองตื่น”
    อยู่ในป่าทางเหนือของเขื่อนภูมิพลในปัจจุบัน
    มีพญาเสือ ๒ ตัว คอยปกป้องดูแลพระพุทธรูปดังกล่าวอยู่ไม่ไกล

    จากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง
    มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว
    ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว)
    เป็นเช่นนิมิตหมายว่าจะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองตากสืบไป

    หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวว่ามีอยู่จริง
    รวบรวมสานุศิษย์ประมาณ ๑๕ คน เดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง
    และต้องถ่อแพไปตามลำห้วยแม่ตื่น ลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง เข้าป่าลึก
    หานานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” เมืองโบราณที่ถูกทิ้งร้าง
    มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง

    ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

    จากนั้นคณะจึงได้อัญเชิญ และล่องแพมาตามลำน้ำแม่ตื่น เกิดแพแตก
    ทำให้องค์พระพุทธรูปจมน้ำและต้องดำน้ำงมขึ้นมาใหม่ถึง ๓ ครั้ง
    ใช้เวลาเดินทางล่องมาตามลำน้ำแม่ปิงถึง ๗ วัน ๗ คืน ผ่านอุปสรรคนานานัปการ

    กระทั่งมาถึงท่าโพธิ์ ชุมชนตัวเมืองตาก (ปัจจุบันท่าโพธิ์ได้ถูกถม
    สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อขยายตัวเมือง สภาพเป็นถนนร้านค้า
    ช่วงบริเวณหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาตาก) ซึ่งเป็นเวลารุ่งเช้า
    แสงอาทิตย์จับต้องที่องค์พระสะท้อนแสงสีทองงดงาม

    คณะอัญเชิญและชาวเมืองตากที่รอรับ ได้พร้อมใจตั้งชื่อ
    พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่อัญเชิญมาจากเมืองตื่น เมืองโบราณ ว่า
    “หลวงพ่อแสงทอง” ต่อมา เรียกเพี้ยนเป็น “หลวงพ่อแสนทอง”

    พระครูเมธีวรคุณ เล่าอีกว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแสนทองนั้น
    สมัยก่อนมีขโมยลักลอบเข้ามาจะตัดเศียรพระ ด้วยระบบป้องกันการโจรกรรมยังไม่ดี
    และพระอุโบสถยังมิได้มีการล็อกกุญแจประตูแต่อย่างใด

    พวกหัวขโมยได้เข้าไปภายในโบสถ์ เตรียมลักพระพุทธรูปหลวงพ่อแสนทอง
    แต่ปรากฏว่าเกิดปาฏิหาริย์ มองไม่เห็นหลวงพ่อแสนทอง
    ลักได้ไปแต่พระพุทธรูปใหม่ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน
    เป็นเช่นนี้หลายครั้ง จนกลายเป็นเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการติดตั้งสัญญาณกันขโมยอย่างดี
    รวมทั้งมีพระเณรเฝ้าตลอด ๒๔ ชั่วโมง

    และเมื่อกว่า ๒๐ ปี เกิดเหตุไฟไหม้บ่อยครั้งในเขตตัวเมืองตาก
    คนเฒ่าคนแก่ที่มาปฏิบัติธรรมได้นิมิตถึงหลวงพ่อแสนทอง ว่าจะต้องนำ
    องค์ท่านแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวตากสรงน้ำเพื่อสักการะและปัดเป่าเภทภัย
    ดังนั้น ทุกวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อแสนทอง
    ออกไปแห่รอบเมือง ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลสืบมา

    สำหรับ วัดมณีบรรพตวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดเขาแก้ว
    ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งวัดที่เป็นภูเขา
    และมีหินลักษณะแก้วสีขาว หรือหินเขี้ยวหนุมานเป็นจำนวนมาก

    สันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
    ดังมีความปรากฏตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ว่า
    ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธรูปที่วัดดอยเขาแก้วและได้ตรัสกับภิกษุที่วัด
    ว่า พระองค์ได้เคยกระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงพระบารมีที่วัดแห่งนี้

    มีความเข้าใจตรงกันว่าวัดเขาแก้วคงเป็นวัดร้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    จนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ หลวงพ่อเณร หรือชาวบ้านเรียกว่า
    ขรัวเณร หรือขรัวตาเณร เป็นผู้ริเริ่มปฏิสังขรณ์วัดและปกครองเป็นรูปแรก
    โดยมีฆราวาสที่สร้างวัดและบูรณะตั้งแต่ต้นคือ ท่านเผือก
    เศรษฐีเจ้าของตลาดในจังหวัดสุโขทัย ได้ทำการก่อสร้าง
    พระอุโบสถและศาลาการเปรียญขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๕

    วัดมณีบรรพตวรวิหารได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
    เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๓๖
    และได้รับสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
    เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘พระเจ้าตนหลวง’
    วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา


    “วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน
    ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา

    กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑
    ในภาคเหนือของประเทศไทย

    เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา
    มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา
    คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่
    มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด
    และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย
    ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ

    ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก
    จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔
    สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา
    ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
    ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก
    ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน
    จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา’

    [​IMG]

    “วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา
    เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง
    ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง”
    ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง”
    โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗

    “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง
    ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา
    มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร
    สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว
    ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
    เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง


    ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔
    โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่
    และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น

    เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล
    ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

    [​IMG]

    มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล
    แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง
    ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป
    ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี
    วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ

    ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา
    เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
    ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา
    ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน
    ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์
    กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง

    นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์
    สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ
    โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ
    “จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ
    ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน
    ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”

    [​IMG]

    ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า
    “พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา
    พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ
    ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา
    พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก
    ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ

    พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ
    พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ
    พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ
    กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา
    ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา
    ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา

    พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ
    ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา
    กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ
    ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”

    [​IMG]

    “พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง”
    มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
    แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย


    ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา
    จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง”
    จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

    เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง
    เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา
    ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า
    ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป

    [​IMG]
    พระวิหารหลวงวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

    [​IMG]
    พระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘พระเจ้าพลาละแข่ง’
    วัดหัวเวียง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน


    “พระเจ้าพลาละแข่ง” หรือ “พระมหามุนี”
    พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
    ประดิษฐานอยู่ ณ วัดหัวเวียง ต.จองคำ อ. เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

    ด้วยเหตุที่วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเวียงตั้งอยู่ใจกลางเมือง
    จึงมักใช้เป็นที่จัดงานวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยใหญ่ตลอดปี

    ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือเทศกาลต่างๆ เช่น
    เทศกาลออกพรรษา เทศกาลปีใหม่สากล และเทศกาลปี๋ใหม่เมือง
    วัดหัวเวียงจะได้จัดพิธีการสรงน้ำพระเจ้าพลาละแข่งเป็นประจำทุกปี
    พอถึงเทศกาลสำคัญ จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
    ต่างเดินทางมานมัสการเป็นจำนวนมาก
    เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์
    อยู่คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมานับหลายร้อยปี

    [​IMG]

    พระเจ้าพลาละแข่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่อง
    ฝีมือช่างชาวเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า องค์พระหล่อจากทองเหลือง
    แต่พระพักตร์มีส่วนผสมของทองคำอยู่จำนวนหนึ่ง
    ทำให้พระพักตร์เงาแวววาวอยู่เสมอ ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

    “พระเจ้าพลาละแข่ง” นี้จำลองมาจาก “พระมหามุนี”
    ในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งชาวพม่านับถือกันมาก

    เนื่องจากเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทานลมหายใจให้แก่พระมหามุนี
    การหล่อพระเจ้าพลาละแข่ง ช่างได้หล่อเป็นท่อนๆ จำนวน ๙ ท่อน

    ส่วนประวัติความเป็นมาของพระเจ้าพลาละแข่ง หรือพระมหามุนี
    พระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
    มีตำนานเล่าว่า ในสมัยเมื่อ ๙๐ ปีล่วงมาแล้ว
    ก่อนที่มีการจำลองพระพุทธรูปองค์นี้มาไว้บูชาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    มีประวัติเล่าว่า มีพ่อเฒ่าคนหนึ่งชื่อว่า “ลุงจองโพหย่า” เป็นพ่อค้าวัว
    ในสมัยนั้นการคมนาคมลำบาก เวลาจะไปทำการค้าขายในต่างอำเภอ
    ในระหว่างเดินทางนั้นต้องรอนแรมไปในป่าตลอดทาง
    วันหนึ่งพ่อลุงจองโพหย่ากินหมากเสร็จเรียบร้อย
    แล้วก็ไม่ได้เก็บเชี่ยนหมาก และไม่ได้ปิดฝาด้วยแล้วก็เข้านอนพักผ่อน

    พอตื่นเช้าได้ทำธุระส่วนตัวเรียบร้อยก็หาเชี่ยนหมากเพื่อจะกินหมาก
    พอมองดูในเชี่ยนหมากก็พบว่า มีพระบรมธาตุ ๑ องค์
    ใหญ่ขนาดเมล็ดข้าวโพดอยู่ในเชี่ยนหมาก

    พ่อลุงจองโพหย่า รู้ว่าเป็นพระบรมธาตุแน่นอน จึงได้บอกกล่าวแก่เพื่อนฝูง
    ที่เป็นพ่อค้าด้วยกันทราบ แล้วก็บอกกับเพื่อนฝูงว่าเราจะเข้าไปในเมือง
    เพื่อจะเอาผอบทองมาใส่พระบรมธาตุนี้ เมื่อได้ผอบทองคำมาแล้ว
    ได้นำไปใส่พระบรมธาตุมาไว้ที่บ้านปางหมูก่อน
    แล้วกลับเข้าไปในเมืองแม่ฮ่องสอนอีกครั้งหนึ่งเพื่อบอกข่าว
    ให้แก่ประชาชนทั้งหลายที่มีจิตศรัทธาในเมืองแม่ฮ่องสอนโดยทั่วถึงกัน

    ในขณะที่คณะศรัทธาบ้านปางหมู ได้เตรียมฆ้องกลอง
    พร้อมเครื่องสักการะร่วมกับคณะศรัทธาชาวในเมืองแม่ฮ่องสอน
    ได้จัดขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุแห่แหนเข้าไปยังตัวเมือง
    เพื่อจะนำไปไว้ที่บ้านพ่อลุงจองโพหย่า
    วันรุ่งขึ้น ได้จัดให้มีการถวายอาหารบิณฑบาต
    พร้อมบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้มาร่วมอนุโมทนาเป็นการใหญ่

    เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วพ่อลุงจองโพหย่าได้กลับไปทำหน้าที่ของตนเอง
    ทำการค้าขายกับเพื่อนๆ เป็นเวลานานแรมเดือน
    เมื่อเก็บเงินเก็บทองได้พอประมาณ ได้กลับมายังบ้านของตนเอง
    เพื่อที่จะนำพระบรมธาตุ ไปประดิษฐานบรรจุไว้ในพระธาตุดอยกองมู

    โดยพ่อลุงจองโพหย่า ได้ปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านและกลุ่มพ่อค้าด้วยกัน
    แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยที่จะนำเอาพระบรมธาตุ
    ไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ เนื่องจากเป็นองค์พระเจดีย์ที่เก่าแก่

    ในที่ประชุมได้เสนอให้พ่อลุงจองโพหย่าและพ่อลุงจองหวุ่นนะ
    เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ประเทศพม่า เพื่อติดต่อขอจำลองพระมหามุนี
    หรือเจ้าพลาละแข่ง โดยฝีมือช่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    เป็นผู้จำลองขึ้นเมื่อ จ.ศ.๑๒๗๙ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๑๖ รวมน้ำหนัก ๙๙๙ กิโลกรัม

    พ่อลุงจองโพหย่าและพ่อลุงจองหวุ่นนะ ได้ทำการบูชา
    เพื่อนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดหัวเวียง ตลอดจนถึงปัจจุบัน
    โดยได้อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นบรรจุไว้ในพระเศียรของเจ้าพลาละแข่ง

    พระเจ้าพลาละแข่ง มีความศักดิ์สิทธิ์ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏไว้หลายประการ
    อาทิ อัญเชิญมาสู่วัดหัวเวียงจะมีฝูงผึ้งบินอยู่รอบโดยไม่ได้ทำอันตรายผู้ใด
    ครั้นถึงเวลาจัดงานสมโภชจะมีกระแสลมอยู่เฉพาะภายในวิหาร
    ส่วนภายนอกไม่ปรากฏ สมัยเมื่อครั้งยังไม่มีไฟฟ้า ในวันเพ็ญเดือน ๑๑
    หรือ ๑๒ พระเจ้าพลาละแข่งจะเปล่งพระรัศมีทำให้วิหารสว่างไสวเสมอ

    ชาวเมืองแม่ฮ่องสอน จึงถือว่าพระเจ้าพลาละแข่ง
    เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
    ใครที่เดินทางไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรไปสักการบูชากราบไหว้
    เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อผาเงา’
    วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย


    “วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก
    ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ ๓ กิโลเมตร
    มีพื้นที่ทั้งหมด ๗๔๓ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ
    ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจัน และมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ

    ชื่อของวัดแห่งนี้มาจากชื่อของ “พระธาตุผาเงา”
    ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน)
    ก้อนผาหรือหินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์
    และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา”

    [​IMG]

    ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า “วัดสบคำ” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง
    ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด
    คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

    ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก
    วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด
    สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้
    จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้
    ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน)
    ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

    แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน
    ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจาย
    ได้มีการค้นพบพระพุทธรูป “หลวงพ่อผาเงา”
    เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา
    เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างปีติยินดี
    เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้หน้าฐานพระประธาน มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้
    เมื่อยกอิฐออก จึงได้พบพระพุทธรูปมีลักษณะสวยงามมาก

    [​IMG]

    ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุ ได้วิเคราะห์ว่า
    พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง ๗๐๐-๑,๓๐๐ ปี
    คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อผาเงา”
    และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    “หลวงพ่อผาเงา” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน
    ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย โดยเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ
    ปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว
    มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑ เมตร และสูงประมาณ ๑.๕ มตร
    ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่กลางพระวิหารหลวงพ่อผาเงา
    ที่ชาวบ้านได้สร้างครอบเอาไว้ตั้งแต่เมื่อครั้นค้นพบองค์พระใหม่ๆ


    [​IMG]

    สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ที่เล่าขานกันมาเกี่ยวข้องกับความเมตตา
    ก่อนจะมีการเข้าไปบุกเบิก เพื่อบูรณะวัดพระธาตุผาเงา
    บริเวณดังกล่าวยังเป็นยอดดอยและมีป่าไม้หนาแน่น
    ชาวบ้านเล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและหลายคนประสบพบเจอด้วยตัวเอง
    ว่าคราใดที่เข้าป่าล่าสัตว์ และติดตามสัตว์ป่าไปจนถึงบริเวณที่ตั้งของ
    วัดพระธาตุผาเงาในปัจจุบัน สัตว์ป่าส่วนใหญ่จะหยุดนิ่งและไม่วิ่งหลบหนี

    แต่ที่น่าอัศจรรย์ คือ ไม่ว่าพรานป่าจะใช้ปืน ธนู หรืออาวุธใดๆ ยิง
    ก็ไม่ถูกเนื้อต้องตัวสัตว์ หรือสัตว์มักจะหายเอาตัวรอดไปได้ทุกครั้ง
    ซึ่งเรื่องเล่านี้ยังคงตกทอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    ความมหัศจรรย์ของบริเวณดอยอันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุผาเงา
    ยังมีเรื่องเล่าขานจากผู้ที่เดินทางไปสักการะว่า เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
    และเข้าไปสักการะจะหายหรือทุเลาจากโรคต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
    ทำให้มีนักท่องเที่ยวหรือญาติโยมหลายคนที่ไปเยือน จ.เชียงราย
    เพื่อไปสักการะอย่างต่อเนื่อง ด้วยเห็นผลแห่งความอัศจรรย์ดังกล่าว

    [​IMG]

    ส่วนเรื่องโชคลาภ เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ไปขอโชคลาภและได้ดังใจหวัง
    มักจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างพื้นที่หรือกรุงเทพฯ
    โดยบางครั้งได้รับโชคลาภถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่ ๑

    นอกจากนี้ ช่วงที่มีญาติโยมอุปถัมภ์อุปัฏฐากวัดมากที่สุด
    คงหนีไม่พ้นช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.๒๕๔๐
    เพราะมีญาติโยมจากกรุงเทพฯ ที่ประสบกับปัญหา
    เดินทางไปเยือนวัดพระธาตุผาเงาเป็นจำนวนมาก
    เมื่อคนเหล่านี้พ้นจากวิกฤต ได้ปวารณาตนขอเป็นโยมอุปถัมภ์วัด

    แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ หลวงพ่อผาเงายังคงความเป็นพระพุทธรูป
    ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาต่อสัตว์โลก

    [​IMG]
    พระวิหารหลวงพ่อผาเงา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อผาเงา”

    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อปากแดง’
    วัดพราหมณี อ.เมือง จ.นครนายก


    “นครนายก” เดิมมีชื่อว่า “บ้านนา” เล่ากันว่า
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน
    ทำนาหรือเพาะปลูกอะไร ไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม
    ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนที่นี่กลายเป็นเมืองร้าง

    ต่อมา พระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมือง
    จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกภาษีนาเพื่อจูงใจชาวเมืองให้อยู่ที่เดิม
    ทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น จนเป็นชุมชนใหญ่
    และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า “เมืองนายก”

    [​IMG]

    นครนายกเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
    ประมาณ ๑๐๗ กิโลเมตร ตามถนนเลียบคลองรังสิต
    สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี
    มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคู อยู่ที่ตำบลดงละคร

    แต่ชื่อนครนายกนั้น ปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ว่าเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก สมัยพระเจ้าอู่ทอง
    ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล
    นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕
    ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทน

    “วัดพราหมณี” ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดนครนายก
    ตั้งอยู่ที่ถนนสาริกา-นางรอง หลักกิโลเมตรที่ ๔ ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

    วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ ปัจจุบันนี้มีอายุ ๑๐๐ กว่าปีแล้ว

    [​IMG]

    วัดพราหมณี มีพระประธานศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง
    มีชื่อว่า “หลวงพ่อปากแดง” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์
    หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว สูง ๑ เมตร เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง จีวรเป็นลายดอกพิกุล
    พระโอษฐ์แย้มทาสีแดงเห็นชัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หลวงพ่อปากแดง”

    สิ่งที่เด่นสะดุดตาคือ ที่ปากของหลวงพ่อมีสีแดงสด เหมือนมีผู้นำลิปสติกไปทาไว้
    ผู้เฒ่าผู้แก่ย่านนั้นยืนยัน ว่าเห็นปากท่านแดงแบบนี้มาตั้งแต่เกิด
    แม้แต่ปู่ย่าตายายของผู้เฒ่าเหล่านี้ก็บอกว่าเห็นมาตั้งแต่เกิดเหมือนกัน


    พระครูโสภณพรหมคุณ หรือ “หลวงพ่อตึ๋ง” เจ้าอาวาสวัดพราหมณี
    เล่าว่า ตำนานเชื่อกันหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับ
    หลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่ จ.หนองคาย ในปัจจุบัน
    ที่ได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ครั้นพอมาถึงประเทศไทย
    ชาวบ้านได้แยกย้ายไปตามวัดต่างๆ ส่วน “หลวงพ่อปากแดง” นั้น
    ถูกชาวบ้านอัญเชิญและนำมาหยุดยังพื้นที่ว่างบริเวณที่เป็นวัดพราหมณีปัจจุบันนี้
    จากนั้นก็ลงมือสร้างวัดแล้วก็อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

    [​IMG]

    ซึ่งต่อมา “หลวงพ่อปากแดง” ก็กลายมาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    ของชาวจังหวัดนครนายก จนทุกวันนี้ โดยความเชื่อของประชาชนนั้น
    ประชาชนที่เดินทางไปเที่ยวน้ำตกสาริกา จะต้องแวะกราบสักการบูชา
    พร้อมกับบนบานด้วยกล้วยน้ำว้า ๙ หวี, หมากพลู ๙ ชุด,
    พวงมาลัย ๙ พวง และน้ำแดง ๑ ขวด กันอย่างล้นหลาม
    พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานให้สมความปรารถนาตัวเอง

    วัดพราหมณี ยังคงมีเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
    คือ เมื่อครั้งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ ๒
    กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกบริเวณที่ตั้งของวัดพราหมณีเป็นจุดพักทัพ
    ของกองพันทหารที่ ๓๗ ซึ่งมีจุดหมายจะไปรวมพลกันที่บริเวณเขาชะโงก
    (ปัจจุบันคือสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก)

    จึงมีทหารญี่ปุ่นล้มตายอยู่ในเขต จ.นครนายก หลายแห่งด้วยกัน
    ปรากฏว่ามีการค้นพบกระดูกของทหารญี่ปุ่นใกล้วัดพราหมณี
    ดังนั้น สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ ๓๗
    จึงได้สร้าง อนุสรณ์สถานไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่น
    เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ วัดพราหมณี

    [​IMG]

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สร้างเป็นศาลาจตุรมุขเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน
    พระพุทธรูปปางประทานพร ด้านหน้าพระพุทธรูปเป็นแท่นหินจารึกอักษรญี่ปุ่น
    ด้านซ้ายพระพุทธรูปเป็นแท่นหินอ่อน โดยมีการจารึก
    ข้อความไว้อาลัย สดุดีความกล้าหาญ และระลึกถึงไว้ที่ฐานพระพุทธรูป

    ป้ายจารึกด้านซ้ายของพระพุทธรูป และแท่นหินบูชาหน้าพระพุทธรูป
    ดังข้อความโดยสรุปของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนี้

    “อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ ๓๗ จัดสร้างโดยสมาคมทหารสหายสงคราม
    กองพลทหารญี่ปุ่นที่ ๓๗ เมื่อปี ๒๕๓๒ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณ
    ของบรรดาทหารซึ่งสังกัดกองพลทหารญี่ปุ่นที่ ๓๗ จำนวน ๗,๙๒๙ นาย
    ที่สูญเสียชีวิตในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี ๒๔๘๒-๒๔๘๘”


    นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวภายในวัด ประกอบด้วย วิหารเจ้าแม่กวนอิม
    ซึ่งจัดสร้างโดยกลุ่มนักธุรกิจจากไต้หวัน, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,
    อุทยานการศึกษา มีรูปปั้นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่รอบบริเวณวัด
    เช่น ช้างพันธุ์แอฟริกา, กวาง, ควายป่า เป็นต้น
    สวนพักจิตร (สวนต้นไทร) ใช้เป็นที่พักผ่อนทำสมาธิหรือทำกิจกรรมยามว่าง

    [​IMG]
    ประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพราหมณี จ.นครนายก
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

    ‘หลวงพ่อพระลับ’
    วัดธาตุ อ.เมือง จ.ขอนแก่น


    “หลวงพ่อพระลับ” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์
    มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว และสูง ๒๙ นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ
    พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระขนงโก่ง
    พระเนตรเรียว เหลือบตาลงต่ำ พระนาสิกสันปลายแหลม
    พระโอษฐ์แย้ม ขนาดพระเกศาเล็กแหลม พระเกตุมาลาใหญ่

    รัศมีเป็นเปลวตั้งอยู่บนฐานกลีบบัว ครองจีวรห่มเฉียง
    เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี
    นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ฐานปัทม์ยกสูงทรงสี่เหลี่ยมบัวคว่ำหงาย
    และแนวลูกแก้วอกไก่งอนขึ้นทางด้านบน

    “หลวงพ่อพระลับ” จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว
    “สกุลช่างเวียงจันทน์”
    คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้ว
    เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔

    ประวัติเล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ (พ.ศ.๒๐๗๗-๒๑๑๔)
    เป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง
    พ.ศ.๒๐๙๐ พระองค์อพยพไปตั้งเมืองหลวงใหม่ชื่อ “เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค”
    การอพยพครั้งนี้ได้นำพระแก้วมรกต พระบางพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ไปด้วย
    ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหมดสร้างในสมัยเชียงแสน สมัยเชียงใหม่
    และสมัยพระเจ้าโพธิสารมหาธรรมิกราชาธิราช

    จากการศึกษาพระพุทธลักษณะจึงสันนิษฐานว่า หลวงพ่อพระลับ
    สร้างขึ้นโดย “พระเจ้าโพธิสาร พระมหาธรรมิกราชาธิราช”

    ประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๖๘ ณ นครหลวงพระบาง
    ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ สวรรคต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๔
    พระเจ้าศรีวรมงคล ผู้น้องขึ้นครองราชสืบมา พระนามว่า “พระยาธรรมิกราช”
    (พ.ศ.๒๑๓๔-๒๑๖๕) มีโอรส ๑ พระองค์ ชื่อ เจ้าศรีวิชัย

    เมื่อพระยาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์
    กลุ่มของพระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้
    เจ้าศรีวิชัยจึงหลบหนีพร้อมนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไม่ทราบจำนวน
    ซึ่งมี “หลวงพ่อพระลับ” รวมอยู่ด้วย
    ไปอาศัยอยู่กับท่านพระครูหลวง (เจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ด)

    เจ้าศรีวิชัย มีโอรสอยู่ ๒ คน คือ เจ้าแก้วมงคล และเจ้าจันทร์สุริยวงศ์

    พ.ศ.๒๒๓๓ ท่านราชครูหลวงได้อพยพชาวเวียงจันทน์บางส่วน
    ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ไปบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม
    แล้วพาครอบครัวเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง
    เนื่องจากท่านราชครูได้รับความเคารพจากประชาชนมาก
    สองพี่น้องชื่อ นางเพา นางแพง ซึ่งปกครองดูแลเมืองจำปาศักดิ์
    จึงได้อาราธนาท่านราชครูให้ไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์

    เมื่อท่านไปปกครองได้ขยายอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ให้กว้างขวางออกไป
    และสร้างเมืองใหม่ ไม่ขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบาง
    ได้อัญเชิญ “เจ้าหน่อกษัตริย์” หรือ “เจ้าหน่อคำ” มาเสวยราชสมบัติ
    เป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาศักดิ์ใหม่ ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรี สมุทรพุทธางกูร”
    (พ.ศ.๒๒๕๖-๒๒๘๐) และได้ให้เจ้าแก้วมงคล อพยพครอบครัว พร้อมประชาชนพลเมือง
    นำเอาพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเวียงจันทน์
    ไปสร้างเมืองทง หรือ “เมืองสุวรรณภูมิ” (ปัจจุบันคือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด)

    เจ้าแก้วมงคล ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนแรก (พ.ศ.๒๒๕๖-๒๒๖๘)
    จากนั้นก็มีเจ้าเมือง สืบต่อมาจนถึงปีพุทธศักราช ๒๓๒๖
    “ท้าวภู” ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงษา”
    ได้แต่งตั้งให้ลูกชาย “ท้าวศักดิ์” ไปดำรงตำแหน่ง “เมืองแพน”
    มียศเป็น “เพีย” เทียบเท่าพระยาฝ่ายทหาร
    ให้ไปตั้งรักษาการอยู่ริมแม่น้ำชี สถานที่นั้นเรียกว่า “ชีโหล่น”

    ต่อมาถึงปีพุทธศักราช ๒๓๓๒ ก็ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือ
    เขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ดในขณะนั้น
    “ท้าวศักดิ์” อพยพประชาชนพลเมืองประมาณ ๓๓๐ ครอบครัว
    พร้อมนำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ไปไว้เคารพสักการะเป็นมิ่งขวัญเมืองด้วย
    ตั้งบ้านใหม่เรียกว่า “บ้านบึงบอน” และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกบึง

    เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้น ๔ วัด
    คือ “วัดเหนือ” ให้เจ้าเมืองพร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก
    “วัดกลาง” ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก
    “วัดใต้” ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฏฐาก
    “วัดท่าแขก” อยู่ฝั่งบึงด้านทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะ
    จากถิ่นอื่นๆ มาพำนักเพื่อประกอบพุทธศาสนพิธี

    เมื่อสร้างวัดเหนือแล้วจึงสร้างพระธาตุมีอุโมงค์ภายใน นำเอาพระพุทธรูป
    ไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเหนือเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า
    “พระลับ” หรือ “หลวงพ่อพระลับ” สืบมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

    กระทั่ง พ.ศ.๒๓๔๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น”
    ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า “พระนครศรีบริรักษ์”

    เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในพระธาตุ
    ก็จะเรียกว่า “พระลับ” เพราะไม่มีใครเคยเห็น


    ปัจจุบันบ้านพระลับกลายเป็นเทศบาลเมืองขอนแก่น
    ที่คงเหลือเป็นอนุสรณ์ คือ ตำบลพระลับ
    ส่วน “วัดเหนือ” เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดธาตุ” (พระอารามหลวง)

    สมัย หลวงปู่พระเทพวิมลโมลี (เหล่ว สุมโน) เป็นเจ้าอาวาส
    (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์)
    เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อพระลับ
    จึงเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มาเป็นสักขีพยานเปิดเผย
    พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองขอนแก่น
    เมื่อวันออกพรรษาปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ซึ่งตรงกับวันอังคาร
    ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ (วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗)

    พระลับจึงประจักษ์แก่สายตาเป็นพระคู่เมืองขอนแก่นนับแต่นั้น
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2008
  15. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ในกรุงเทพฯเคยไปหลายวัดกับพระนอนตะแคงซ้ายที่ระยอง
    มีรูปวัดเบญจมบพิตรฯแบบกว้างๆรูปนึง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,349
    รออ่านต่ออยู่ครับๆๆ

    สุดยอดมากๆ
     
  17. naraiyana

    naraiyana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +628
    ยอดมาก ในการนำพระประธานทั่วประเทศมาให้ได้ทราบ
    ได้ไปหลายแห่ง แต่ก็ยังมีที่ไม่ได้ไปนมัสการอีกมากมาย
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ และจะรออ่านต่อนะครับ
    ขออนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ
     
  18. unigodx

    unigodx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +607
    งดงามมาก
    มีข้อมูลของพระประธานวัดสุทัศน์มั้ยครับ ผมเคยไปกราบ สวย และองค์ใหญ่มากกกกกก
    อยากรู้จริงๆว่าถ้าจะสร้างพระองค์เท่านั้นต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ใช้ช่างฝีมือมากขนาดไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2008
  19. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ขอบคุณครับพี่
     
  20. นาย เอ

    นาย เอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +535
    ขอบพระคุณมาก..อนุโมทนาบุญด้วยครับ..
    ++รู้สึกสบายจิตใจขึ้นเยอะเลยครับ++
    อยากไปทุกๆที่เลย..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...