‘เบิกบุญ-โอนบุญ’ใครสอน?หรือคำนี้..มีใช้ในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 20 พฤษภาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>‘เบิกบุญ-โอนบุญ’ ใครสอน? หรือคำนี้..มีใช้ในพระพุทธศาสนา




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </B></TD><TD vAlign=top width=155></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>รายงานโดย :วรธาร ทัดแก้ว:

    </TD><TD>วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เมื่อหลายเดือนมาแล้วมีคำสองคำที่โผล่ขึ้นมาในสังคมไทย แม้จะไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วไม่สบายอุราชีวาจิตเอามากๆ

    ก็คือคำว่า “เบิกบุญโอนบุญ” ด้วยในฐานะชาวพุทธคนหนึ่งก็ต้องบอกตรงนี้ตรงๆ ว่าตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินคำนี้แม้แต่ครั้งเดียว เพิ่งมาได้ยินก็ในช่วงที่มีข่าวเกรียวกราวที่พระรูปหนึ่งสอนคนไม่ให้ไหว้พระพุทธรูป แต่ก็ไม่รู้ว่าใครกันนะที่เป็นผู้ที่ยกคำสองคำนี้มาพูด หรือใครได้ทำการสอนคนให้ทำตามคำที่ตนแต่งขึ้นนี้หรือไม่อย่างไร
    เรื่องนี้จะต้องขยายให้ชัด เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะมีชาวพุทธหลายต่อหลายคนที่เมื่อได้ยินคำเหล่านี้แล้วอาจเกิดความฉงนสงสัยว่า แท้จริงแล้วเรื่อง “การเบิกบุญโอนบุญ” ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยหรือ หรือถ้าไม่ได้ทรงสอนอย่างนี้ล่ะ ทำไมไม่เห็นมีผู้รู้ทางศาสนาสักรูปหรือสักคนออกมาชี้แจงอะไรบ้าง หรือคิดว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความใส่ใจกระนั้นหรือ วันนี้จึงขอนำความรู้จากท่านผู้รู้มาบอก พร้อมให้ผู้อ่านได้ใช้วิจารณปัญญาของตนไปด้วย

    ไม่มี ‘เบิกโอนบุญ’ ในพุทธศาสนา

    [​IMG]

    ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า บุญในพระพุทธศาสนาไม่สามารถเบิกได้ถ้าในลักษณะแบบเบิกเงินจากธนาคาร แต่เมื่อถึงคราวทุกข์ยากขึ้นมาแล้วไม่มีที่พึ่งก็สามารถอ้างอานุภาพของบุญไว้ได้ เช่น ปุญญานุภาเวนะ แต่บุญจะให้ผลหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง เหมือนอย่างการอ้างคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขออานุภาพคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นจงคุ้มครองอย่างนี้
    ดร.บรรจบ กล่าวต่อว่า ในพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่อง “การเบิกบุญโอนบุญ” แต่มีคำศัพท์หนึ่งที่พระพุทธศาสนาใช้ก็คือ “ปัตติทาน” แปลว่า การให้ส่วนแห่งบุญหรือส่วนแห่งความดี หมายถึงการที่ได้ทำความดีแล้วก็ตั้งจิตปรารถนาต่อคนอื่นแล้วแผ่บุญไปให้ผู้นั้น

    “พระพุทธศาสนาจะใช้คำว่า ‘ทาน’ ที่แปลว่า ‘ให้’ เช่น ให้อามิส ให้ความรู้ ( ธรรมทาน) ให้อภัย ไม่ใช่ด้วยการโอนและไม่เรียกว่าโอนแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนา เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดความสับสนในหมู่ชาวพุทธ”

    นอกจากการใช้คำว่า “ทาน” แล้วมีคำหนึ่งที่ใช้ก็คือ “การอุทิศ” ซึ่งคำนี้ตามรูปศัพท์ แปลว่า เจาะจง เช่น ทำบุญให้บิดามารดา หมายถึง เจาะจงไปที่บิดามารดา ภาษาไทยนำมาใช้รวบรัดว่าอุทิศส่วนกุศลให้ ซึ่งก็หมายถึงการให้ แต่เป็นการให้โดยการเจาะจงผู้รับ

    ดร.บรรจบ กล่าวว่า เดิมคำว่าอุทิศใช้กับอะไรก็ได้ เช่น ถวายทานอุทิศสงฆ์ ก็คือถวายทานเจาะจงสงฆ์ “อุทิศ” ในสมัยพุทธกาลใช้ได้กับทั้งคนตายและคนที่มีชีวิตอยู่ เช่นมีคนถามว่าท่านบวชอุทิศใคร ก็หมายถึงท่านบวชเจาะจงใครเป็นศาสดา แต่มาถึงภาษาไทยความหมายเปลี่ยนไปเป็นอุทิศ หมายถึงการอุทิศส่วนกุศลให้กับคนที่ตายแล้ว ซึ่งสังคมไทยใช้คำว่าอุทิศแคบไป แท้ที่จริงอุทิศใช้ได้ทั้งกับคนที่มีชีวิตและคนที่ตายไปแล้ว

    <TABLE class=content_caption cellSpacing=0 cellPadding=2 width=130 align=left border=0><TBODY><TR><TD class="">[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=""></TD></TR></TBODY></TABLE>
    แค่มองบุญเป็นวัตถุก็ผิดแล้ว

    ความเห็นของ ดร.บรรจบสอดคล้องกับ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี ที่มองว่า การเบิกบุญหรือโอนบุญไม่มีในพระพุทธศาสนา และการที่มีผู้พูดเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่าจะต้องมีคนอนุมัติ และเราต้องไปฝากไปอะไรไว้ ซึ่งการที่พูดเช่นนั้นเสมือนมองบุญเป็นวัตถุ
    “แท้ที่จริงบุญเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ การเบิกบุญโอนบุญจึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่การให้บุญหรือความดีที่ตนทำแก่ผู้อื่นต่างหาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ส่วนการให้บุญหรือความดีแก่ผู้อื่นนั้น เพียงแค่ตั้งการเจตนาที่บริสุทธิ์แล้วแผ่บุญกุศลนั้นเจาะจงผู้นั้นก็สำเร็จประโยชน์แล้ว ไม่ต้องกรวดน้ำ ไม่ต้องกล่าวคำถวายอย่างนั้นอย่างนี้เช่นที่ทำกันในปัจจุบัน เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่คนแต่งขึ้นในภายหลัง และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงสอน”
    ส่วนการอุทิศบุญนั้น พระอาจารย์ กล่าวว่า สามารถอุทิศให้ทั้งแก่คนที่มีชีวิตอยู่และคนที่จากโลกนี้ไปแล้ว ทุกชีวิตต่างๆ ที่เกิดมาล้วนไปสู่ความแตกสลาย โดยเฉพาะคนที่จากไปแล้ว ดวงจิตเมื่อดับแล้วก็จะสร้างอัตภาพใหม่อยู่แล้ว ฉะนั้นคนเราสามารถตั้งเจตนาปรารถนาดีต่อเขาแล้วอุทิศบุญกุศลที่มีอยู่ให้เขา

    “ทั้งนี้ เรื่องการอุทิศบุญไม่ใช่ตัวหลัก แต่เป็นเพียงตัวเสริม ตัวหลักก็คือกรรมของใครก็ของคนนั้น บุคคลทำกรรมแล้วย่อมจะได้รับสิ่งที่ตัวเองกระทำไว้ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มาคอยแก้กรรม หรือวนไปวนมาเกี่ยวกับเรื่องกรรม แต่พระพุทธเจ้าสอนวิธีดับกรรม ที่เรียกว่ากัมมนิโรธคามินีปฏิปทา คือสอนให้ออกนอกระบบของกรรม ซึ่งก็คือการถอนตัวตนออกจากขันธ์ 5”

    อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้พูดว่าบุญของแต่ละคนมีมาก และส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้บนเบื้องบน คือสวรรค์เพื่อรอใช้ชาติหน้า ถ้ามีความต้องการก็สามารถเบิกบุญเหล่านั้นมาใช้หรือให้กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราได้นั้น พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องเหลวไหลมาก และพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนี้ แต่สอนว่าบุญและบาปใครทำก็เป็นของผู้นั้น จะไปเก็บไว้ที่ไหนไม่ได้ ก็อยู่ที่ตัวผู้นั้นเอง

    อย่ามองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กๆ!

    [​IMG]

    จะเห็นว่าการเบิกบุญโอนบุญในพระพุทธศาสนานั้นไม่มีแน่นอน ซึ่งการที่มีผู้คิดใช้คำคำนี้แล้วนำมาถ่ายทอดวิธีการต่างๆ ในการเบิกบุญโอนบุญนั้น ถ้าเป็นการกระทำด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ก็เป็นบาปสำหรับผู้นั้น และเป็นอันตรายต่อพระศาสนา หรือถ้าทำด้วยความไม่รู้ ผู้รู้ทั้งหลายจะต้องเข้ามาชี้แจง เพราะการใช้คำว่าเบิกบุญโอนบุญอาจทำให้คนเกิดความสับสน และในพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้มีการใช้คำนี้

    “เป็นที่น่าเสียดายว่าสังคมพระสงฆ์เราเพิกเฉยในปัญหาหลายเรื่อง แม้จะเป็นคำพูดเล็กน้อยก็ตาม แต่ว่าเป็นคำพูดที่ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งทุกวันนี้จะเห็นสำนักนั้นสำนักนี้มีการคิดคำขึ้นมาใหม่ ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคณะสงฆ์โดยเฉพาะ มหาเถรสมาคม สำนักพุทธฯ ไม่ได้มีระบบการป้องกันพระพุทธศาสนาอย่างดีไม่ได้”

    ดร.บรรจบ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องพูดไปถึงการศึกษาของคณะสงฆ์ที่ไม่ได้จัดอย่างทั่วถึง การอบรมของครูบาอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ ก็ไม่ได้ทำอย่างเป็นกิจจะลักษณะก็เลยกลายเป็นชิ้นโรคระบาดไปทั่ว ทางที่ดีคณะสงฆ์น่าจะมาช่วยกันพิจารณาเรื่องใดที่เป็นปัญหาต่อพระพุทธศาสนา หนัก กลาง เบา ก็ต้องมาพิจารณา เช่น ปัญหาการตีความหลักธรรม การใช้คำในเรื่องของการสอน และถ้าจะแก้เรื่องนี้ต้องมีคณะนักวิชาการที่เป็นพระมาช่วยกันชี้แจงการใช้ศัพท์ตรงนี้

    ชาวพุทธต้องหันมาศึกษาพุทธวจนะ

    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า เมื่อมีการสอนผิดๆ อย่างนี้ พระสงฆ์ต้องออกมาพูดว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนั้น สิ่งสำคัญต้องส่งเสริมให้ชาวพุทธศึกษาพุทธวจนะหรือธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง
    พระอาจารย์ กล่าวว่า พระสาวกพูดผิดบ้าง ถูกบ้าง พระพุทธเจ้ามิให้ไปสนใจ มิให้ไปฟัง พระองค์ตรัสว่า สุตตันตะเหล่าใดที่นักกวีหรือนิพนธ์แต่งขึ้นใหม่จะเป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะคือคำสอนเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตที่จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนว่าควรศึกษาเล่าเรียน

    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าตรัสว่าคำที่คนแต่งใหม่ หรือคำของสาวกอย่าไปฟัง และตรัสบอกด้วยว่าคำนั้นๆ จะเป็นเหตุเสื่อมในอนาคตกาล ฉะนั้น สาวกที่พูดผิดพูดพลาดไป ถ้าไปฟังแล้วจักเกิดความสับสน จักไม่สามารถเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ จักไม่บรรเทาความสงสัยทั้งหลายที่สงสัยให้คลายลงไปได้ ถ้ามัวไปฟังคำสาวกหรือคำที่คนแต่งใหม่ นี่พระองค์ตรัส ไม่ใช่อาตมาพูดเอง ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันมีผู้ที่แต่งหรือประดิดประดอยคำขึ้นใหม่ ซึ่งคำบางคำนั้นก็ไม่ถูกต้องและไม่มีใช้ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่าสาวกจะต้องจดจำคำสอนของตถาคตแบบก๊อบปี้ เมื่อจดจำคำสอนแบบก๊อบปี้ก็ให้แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นแล้วเอาไปโยนิโสมนสิการเอาไปใช้ธัมมวิจยะใคร่ครวญตรวจสอบตาม
    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงการที่ภิกษุศึกษาพระพุทธวจนะไม่ละเอียดนั้น เวลาบอกสอนจะพลัดหลงเข้าไปสู่มิจฉาทิฐิโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นจะเห็นว่าการที่พระสอนแตกต่างกันหลายสำนักในปัจจุบันมีผิดเพี้ยนบ้างนั้น ตรงนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาเสื่อม
    “ต้องถามว่าทุกวันนี้ชาวพุทธปฏิบัติตามใคร ปฏิบัติตามสาวก หรือว่าปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า” คำถามชาวพุทธจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์
    เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะช่วยกันรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนา ถ้าสิ่งใดที่เห็นไม่ถูกตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอน หรือบางครั้งมีความสงสัยในสิ่งที่เห็นที่ทำ ควรถามผู้รู้หรือค้นคว้าในพระไตรปิฎกว่าแสดงไว้อย่างไร ไม่ควรไปหลงเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ผ่านการพิจารณาด้วยปัญญาอย่างถ่องแท้

    ------------------
    [​IMG]
    ��ʵ� ������ - �ſ������ - ���ԡ�ح-�͹�ح� ����͹? ���ͤӹ��..�����㹾�оط���ʹ�
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ^_^
    อ่านเจอ มีคำถามในใจเล็กๆ มีคำตอบให้ตัวเองแต่ไม่รู้ถูกต้องหรือไม่
    เลยหยิบยกมา..
    เพื่อจะได้มีผู้ความรู้หลากหลายท่านมาให้ความคิดเห็น..นานาทัศนะ
    เพื่อให้ผู้อ่านอย่างเราๆได้ใช้วิจารณปัญญาของตนไปด้วย

    [​IMG]


     
  3. มิกกิ

    มิกกิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +52
    เบิกบุญโอนบุญ อาจจะเป็นศัพท์ใหม่สำหรับคนยุคปัจจุบัน แต่ความหมายคงหมายถึง
    การขออานุภาพบุญที่ทำดลให้ประสบแต่สิ่งดีงามก็เป็นไปได้ ส่วนโอนบุญ น่าจะหมายถึง
    การอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่เราต้องการ
     
  4. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง
    เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน
    เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะช่วยกันรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนา
    ถ้าสิ่งใดที่เห็นไม่ถูกตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอน หรือบางครั้งมีความสงสัย
    ในสิ่งที่เห็นที่ทำ ควรถามผู้รู้หรือค้นคว้าในพระไตรปิฎกว่าแสดงไว้อย่างไร
    ไม่ควรไปหลงเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ผ่านการพิจารณาด้วยปัญญาอย่างถ่องแท้
     
  5. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903
    เบิกบุญโอนบุญ เขาต้องการแต่งไว้ใช้เฉพาะเพื่อให้คนที่ตามๆกราบไหว้เขาลุ่มหลงไปใน

    ทางที่เขากําหนดนอกคําสอนของพระพุทธเจ้าเช่นใส่บาตให้รีบ อธิฐานก่อนปล่อยของหลุด

    มือไม่เช่นนั้นแสงแห่งบุญจะหายไปไม่สามารถอุทิศให้ใครได้อีก*หรือ เช่นเทวดาเดินทาง

    มาขอความช่วยเหลือจากเขาใช้เวลาต้องหลายปีกว่าจะถึงสํานักเขาเพราะระหว่างทางหยุด

    พักนอนหลับพอตื่นขึ้นเทวดาองค์นั้นกลับไปอยู่ที่จังหวัดเดิมก่อนเดินทาง *หรือ อย่าไหว้

    สิ่งนั้นมันไม่ใช้พระพทุธเจ้าเป็นวัตถุ แต่วัตถุนี้ไม่กินไม่ถ่าย ไม่หลอกลวงใคร ระหว่างคนที่

    หลอกลวง บวชเข้ามาเป็นสาวก แต่ไม่เอาคําสอนของบรมครู เป็นที่ตั้ง อะไรสมควรกราบ

    มากกว่ากัน**แต่คนที่ยังตามไปกราบเขาเพราะเขาเคยตามกันมา แล้วก็จะตามกันไปต่อไป

    อีกไม่รู้จบสิ้น
     
  6. chomkamon

    chomkamon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +344
    ผมคิดว่าน่าจะดูในพระไตรปิฏกเป็นหลัก ถ้ามี ก็ โอเค
     

แชร์หน้านี้

Loading...