“กลุ่มเพื่อนมนุษยธรรม” รณรงค์ส่งข้อความเเห่งความรักเเละเมตตาต่อชาวโรฮีนจา ไม่ใช้กำลังแก้ปัญหา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 21 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b8a1e0b899e0b8b8e0b8a9e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b8a3.jpg




    กลุ่มผู้ผลักดันและสนับสนุนการให้ความให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หลบภัยหลบภัยชาวโรฮีนจา รณรงค์ส่งข้อความเเห่งความรักเเละเมตตาต่อชาวโรฮีนจา




    เมื่อวันที่ 21 ก.ย. กลุ่มเพื่อนผู้สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้อพยพลี้ภัยชาวโรฮีนจา อาทิ พระกว้างใหญ่ไพศาล วิสาโล ธัมมนันทาพระภิกษุณี นักวิชาการ นักปรัชญาและก็ศาสนาคนไทย อีกหลายท่าน ได้เผยแพร่จดหมายสู่สาธารณะ เรียกร้องขอให้ส่งเสริมการให้ความให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยหนีภัยชาวโรฮีนจา โดยบอกว่า


    ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเราได้ติดตามข่าวสารเหตุการณ์ความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเมืองยะไข่ ประเทศพม่า อย่างใกล้ชิด ความร้ายแรงที่มนุษย์ทำต่อมนุษย์ร่วมกัน นำมาซึ่งการทำให้มีผู้คนชาวโรฮิงญาเจ็บตายจำนวนไม่ใช่น้อย เรื่องดังที่กล่าวถึงมาแล้วได้สร้างความรู้สึกสะเทือนใจรวมทั้งความรู้สึกกังวลใจต่อโชคชะตาอันไม่มีแนวทางของผู้มีชีวิตรอด


    ในศาสนาพุทธ “การไม่ฆ่า”หมายถึงศีลข้อแรก ที่บอกให้เห็นถึงจุดยืนทางมนุษยธรรมสำหรับในการไม่ใช้กำลังสำหรับการแก้ปัญหา ในกรณีชาวโรฮีนจาการพยายามหาเรื่องผลให้กับการนองเลือดเพื่อนมนุษย์ด้วยอคติทางเผ่าพันธุ์หรือศาสนา ก็เลยเป็นสิ่งที่สังคมพุทธไม่สมควรนิ่งเฉยหรือเห็นด้วย


    เราในฐานะกรุ๊ปเพื่อนพ้องผู้ให้การสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หลบภัยหนีภัยชาวโรฮีนจา (ชื่อย่อ “กรุ๊ปเพื่อนฝูงเพื่อมนุษยธรรม”) ขอชักชวนทุกคนด้วยกันส่งข้อความที่ความรักความปรานี ส่งความรู้ความเข้าใจเพื่อลดอคติทางเชื้อชาติ แล้วก็ส่งผ่านความให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมนิดๆหน่อยๆเท่าที่พอเพียงจะทำเป็น ผ่านทางหน่วยงานพุทธศาสนิกสโมสรนานาประเทศ (International Network of Engaged Buddhists: INEB) ซึ่งจะนำทรัพยากรดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นไปช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่ลี้ภัยอยู่ในชายแดนบังคลาเทศถัดไป


    ร่วมส่งข้อความที่มนุษยธรรมและลงชื่อได้ที่


    https://goo.gl/forms/M76mYdFktaQRogmv2


    สำหรับคนที่อยากบริจาคเงินบริจาคสามารถโอนเงินผ่านบัญชี “มูลนิธิเสฐียรโกเศศ – นาคะไฟ” แบงค์ไทยการค้า สาขารุ่งเรืองนคร บัญชี ออมทรัพย์ เลขที่ 024-2-59705-9 แล้วแนบหลักฐานการโอนเงินมาที่ อีเมล์: thaihumanitarian@gmail.com


    – พระกว้างใหญ่ไพศาล วิสาโล

    – ธัมมนันทาพระภิกษุณี

    – สุลักษณ์ ศิวรักษา

    – การไหว้ ลุกรุธัช

    – สราวุธ เฮ้งความเจริญรุ่งเรือง

    – บริบูรณ์ ก็เลยเปรมปรีดิ์

    – วิจะขณ์ พานิช

    – ปฐพี อุดมฤทธิ์โคตร

    – ให้พร เขื่อนแก้ว

    – กฤษดาวรรณ ความรู้วิกุล

    – สนิทลูกผู้หญิง เอกชัย

    – อภิญญา เวชยชัย

    – สวยวันศุกร์ รัตนเสถียร

    – มุทิตา เชื้อชั่งน้ำหนัก

    – กษิดิศ อนันทนาธร

    – ศุภโชค ชุมสายในอยุธยา

    – สุรพศ ทวีศักดา

    – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง


    ############################################



    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b8a1e0b899e0b8b8e0b8a9e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b8a3-1.jpg



    ข้อความแห่งมนุษยธรรมต่อกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจา


    “พุทธศาสนานอกจากปฏิเสธความรุนแรงแล้ว ยังไม่สนับสนุนการแบ่งเขาแบ่งเรา จนเห็นคนอื่นเป็นศัตรูที่ต้องเกลียดชัง ยิ่งการมองเห็นผู้คนเป็นตัวเลวร้ายเพียงเพราะเขามีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาต่างจากเรา ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะเราไม่พึงตัดสินคนโดยดูที่“สมมุติ” หรือ “ยี่ห้อ”ของเขาเท่านั้น ถึงที่สุดแล้วทุกคนต่างเป็นมนุษย์และเพื่อนร่วมทุกข์กันทั้งนั้น จึงควรมีเมตตาต่อกัน (ดังเวลาแผ่เมตตา เราก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ไม่เลือกว่าเป็นคนหรือสัตว์ด้วยซ้ำ จะกล่าวไปไยถึงการแบ่งแยกว่าเป็นพุทธ มุสลิม คริสต์ ไทย พม่า หรือโรฮิงญา) ดังนั้นเมื่อเห็นใครประสบทุกข์ เราจึงควรช่วยเหลือตามกำลัง โดยไม่เลือกว่าเป็นคนชาติใดศาสนาใด เพราะแท้จริงแล้วเรากำลังช่วยเพื่อนมนุษย์ มิใช่ใครอื่น”



    พระไพศาล วิสาโล

    วัดป่าสุคโต


    ======================


    ก่อนที่จะเป็นโรฮินจา เขาก็เป็นมนุษย์ที่มีชีวิต มีความปรารถนาที่จะใช้ชีวิตที่สงบสุข เหมือนกับเรา ขอสนับสนุนให้เขาได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์เพื่อนร่วมโลก เช่นเดียวกันกับเรา


    ธัมมนันทาภิกษุณี


    วัตรทรงธรรมกัลยาณี


    ======================


    “โรฮิงญาเป็นคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ไม่ว่าในพม่า ในอินเดีย ในบังคลาเทศ พวกเขาเป็นคนที่น่าสงสารมาก เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่ถือพุทธ เราต้องมองว่าทั้งหมดเนี่ย คือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เราจึงควรมีเมตตากรุณาต่อคนโรฮิงญา ต้องช่วยเป็นปากเป็นเสียงแทนเขา เค้าถูกรังแก ก็ควรช่วยอุดหนุนเกื้อกูลเขา ถ้าเขาขอร้องให้ช่วยอะไรก็ควรช่วยเขา แม้เขาไม่ขอร้องก็น่าจะหาทางช่วยเหลือเขาเท่าที่เราจะทำได้ ตามหนทางของชาวพุทธ


    พุทธะแปลว่าตื่น ชาวพุทธจะต้องไม่ติดในชาตินิยม ไม่ติดในการรังเกียจ… บางทีไปรังเกียจเขาว่าเป็นมุสลิมบ้างอะไรบ้าง ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ชาวพุทธจะต้องมีความรักเป็นเจ้าเรือน ตระหนักถึงความทุกข์ของคนที่เขาเดือดร้อน พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกขสัจจ์นั้นสำคัญมาก ความทุกข์ไม่ใช่ของเราคนเดียว …เพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะคนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหง เราจะต้องช่วยกันออกมาเป็นปากเป็นเสียง ช่วยเหลือเกื้อกูลเขา เรียนรู้จากเขา”


    ส. ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม


    =======================


    “ชาวโรฮิงญานับพันถูกฆ่าและถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยม พวกเขานับแสนต้องอพยพหนีออกจากเมียนมาร์ หมู่บ้านนับร้อยถูกเผาทำลายด้วยกองกำลังทหารติดอาวุธ เช่นเดียวกับที่คนยิวและคนเขมรนับล้านที่ถูกฆ่าโดยนาซีและเขมรแดงในอดีต เช่นเดียวกับชาวธิเบตที่ถูกฆ่าถูกกักขังทรมาน เช่นเดียวกับชาวพุทธบังกลาเทศที่ถูกฆ่าและขับไล่


    เราจะเลือกมีส่วนร่วมกับความทุกข์มหันต์นี้อย่างไร ด้วยการเติมเชื้อเพลิงแห่งความเกลียดชังและความรุนแรง ด้วยการเพิกเฉยเบือนหน้าหนี ด้วยการเปิดใจรับรู้ หรือด้วยการก้าวเข้าร่วมแก้ไข


    ณ ตอนนี้เราเห็นใจและให้ความช่วยเหลือใครอยู่บ้าง ในหัวใจของเรา มีความอ่อนโยนและรับรู้ความทุกข์ของใคร – เด็กกำพร้าขาดความรักความอบอุ่น, ขอทานพิการไร้ที่ซุกหัวนอน, สุนัขจรจัดโหยหิว, ผู้ป่วยใกล้ตายขาดญาติมิตร, ทหารที่พิการจากการปฏิบัติหน้าที่, ผู้ถูกข่มขืน, ผู้ถูกทำร้ายทรมาน, ศิลปินอดอยาก, เด็กเรียนดีไม่มีอนาคต, ผู้ประสบภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว จากน้ำท่วม จากความแห้งแล้ง จากสงคราม ฯลฯ


    หากหัวใจเรามีพื้นที่ให้กับความเมตตากรุณาแม้กับใครสักคนแล้ว เราลองสมมุติตัวเองเป็นชาวโรฮิงญาตอนนี้ เราจะมองเห็นความทุกข์อันใหญ่หลวงของคนที่ถูกฆ่าถูกตามล่า คนที่สูญเสียครอบครัวและทุกสิ่ง หากเราเจอชะตากรรมเช่นเดียวกัน เราจะเป็นอย่างไรหากโลกไม่ไยดี แล้วเราจะเห็นได้ว่าพวกเขาคือเพื่อนมนุษย์ของเรา”


    อัญชลี คุรุธัช ผู้ช่วยเหลือด้านภาษาให้แก่บ้านพักฉุกเฉินชาวเอเชียในซานฟรานซิสโก (Asian Women Shelter) กรรมการที่ปรึกษาองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์นานาชาติ (INEB)


    ==========================


    “หากมองด้วยแว่นการเมือง เราอาจพบว่าประเด็น ‘โรฮิงญา’ นั้นมีความซับซ้อนหลากหลายแง่มุม แต่ถ้าลองถอดแว่นการเมืองออก แล้วมองชาวโรฮิงญาในฐานะเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกันนี้ เราอาจพบว่านี่คือโจทย์ที่จำเป็นต้องร่วมทำความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และเปิดพื้นที่ให้ความเมตตากรุณาซึ่งกันและกัน แน่นอนว่าเราไม่สามารถตัดสินได้หรอกว่าแต่ละฝ่ายควรจัดการปัญหานี้อย่างไร แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งซึ่งสามารถรับรู้ได้ถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนของมนุษย์อีกหลายคน สิ่งที่พอจะทำได้คือให้ความช่วยเหลือตามวิธีและความสามารถของแต่ละคน โดยมองข้ามเส้นแบ่งของชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือสิ่งต่างๆ ที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกัน ในฐานะพี่น้องร่วมโลก เราสามารถช่วยเหลือพี่น้องที่เดือดร้อนได้เสมอ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นย่อมทำให้หัวใจของเราเปิดออก โอบรับความต่าง และรู้สึกรู้สากับความทุกข์ของผู้อื่น เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นย่อมเป็นแบบฝึกหัดทดสอบจิตใจของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายได้เป็นอย่างดี”


    สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) นักเขียน


    ==============================


    “ผมเห็นว่าเราต้องหลงเหลือความเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม หรืออื่นๆ ให้น้อยที่สุด แต่มีความเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด ซึ่งความเป็นมนุษย์สำคัญมากและเป็นพื้นฐานของศาสนาต่างๆ ด้วย พวกเราจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความทุกข์ยาก โดยเฉพาะพี่น้องชาวโรฮิงยาที่กำลังลำบากอยู่ ณ ตอนนี้ซึ่งมีจำนวนหลายแสนคนที่ต้องอพยพ และอีกหลายแสนต้องเผชิญกับอันตรายอยู่เราจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานของความเป็นมนุษย์เพื่อแก้ปัญหานี้มากกว่า เชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้แต่กรอบอันคับแคบของประเทศชาติ และเราจำเป็นต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในเรื่องปัจจัยพื้นฐานของพี่น้องชาวโรฮิงยาเหล่านี้ และช่วยในระยะยาวอีกด้วย”


    สมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์นานาชาติ; INEB (International Network of Engaged Buddhist)


    ======================


    “เมื่อวันก่อน ผมได้พบกับชาวโรฮิงญาคนหนึ่งที่มาใช้ชีวิตอยู่ในไทย พูดไทยได้ เขาสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป 3 คนและญาติมิตรอีกนับไม่ถ้วน ความรู้สึกโศกเศร้าของเขานั้นเอ่อล้น แต่ยังคงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะสื่อสารกับชาวโลก เพื่อขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจต่อความโหดร้ายทารุณที่พวกเขาประสบอยู่


    คำว่า “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม” ไม่ใช่การเข้าข้าง หรือไม่ใช่การให้การสนับสนุนที่ซับซ้อนอะไร แต่มันคือการให้ความช่วยเหลือพื้นฐานที่สุดที่มนุษย์คนหนึ่งพึงกระทำต่อมนุษย์อีกคนหนึ่งในสถานการณ์ลดทอนความเป็นมนุษย์อย่างเลวร้าย การเห็นอกเห็นใจและให้ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่าที่พอจะทำได้ เพื่อที่ผู้คนชาวโรฮิงญามีน้ำดื่ม อาหาร เสื้อผ้า ที่พักพิง ยารักษาโรค เพียงพอต่อการมีชีวิตรอดผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากนี้ไปได้ เป็นสิ่งที่เราควรกระทำ เพราะนอกจากจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวโรฮิงญาแล้ว ยังจะช่วยปลดปล่อยหัวใจของเราออกจากกำแพงอคติและการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและศาสนาอีกด้วย”


    วิจักขณ์ พานิช สถาบันวัชรสิทธา


    ===============================


    ไม่กี่วันก่อน ท่านทะไลลามะบอกสื่อว่า “ถ้าพระพุทธองค์ยังอยู่ พระองค์ต้องช่วยเหลือชาวมุสลิมที่น่าสงสารเหล่านี้แน่นอน” และบอกต่อว่า “ท่านรู้สึกเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก” เพราะในช่วงแค่สองสัปดาห์เราเห็นเกือบหนึ่งในสามของชาวโรฮิงญาต้องกระเสือกกระสนดิ้นรน อพยพหลบหนี เป็นจำนวนมากกว่าผู้อพยพที่เดินทางจากแอฟริกาไปยุโรปทั้งปี (2559) บางคนถูกยิงด้วยกระสุน บางคนบาดเจ็บเพราะกับระเบิดของทหารพม่า หลายสิบคนจมน้ำตาย ระหว่างข้ามแม่น้ำในช่วงฤดูมรสุม แม้คนที่ข้ามมาได้แล้วก็อยู่กันอย่างอนาถา ฝนตก น้ำท่วม เต็มไปด้วยดินโคลน คนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากรร้าย เป็นเพลเรือนผู้บริสุทธิ์ เป็นแค่ “เหยื่อ” ของสงคราม เป็นเหยื่อของความคิดชาตินิยมสุดโต่ง สิ่งที่โดดเด่นของเราชาวพุทธ คือการไม่แยกชนชั้นวรรณะและศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าให้ช่วยเหลือมีเมตตาต่อพุทธด้วยกันเอง แต่ให้คำนึงว่าเราเป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เราจะนิ่งดูดายได้อย่างไร


    พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

    นักแปลและนักวิชาการอิสระ


    ============================


    ความทุกข์สาหัสของชาวโรฮิงยากว่าสามแสนคนที่ถูกผลักออกจากประเทศพม่าในช่วงที่ผ่านมาเรียกร้องให้เราเปิดหัวใจเพื่อให้ความเมตตา ความกรุณาความเห็นใจ และมนุษยธรรมของเราหลั่งไหลออกมา เพราะพวกเขาคือเพื่อนมนุษย์ที่สูญเสียบ้านเกิด หลายคนสูญเสียสมาชิกครอบครัว คนจำนวนมากได้รับบาดเจ็บ มีคนที่ยังหลบซ่อนตัวเพราะกลัวถูกทำร้าย และแม้จะมีที่พักพิงในบังกลาเทศแต่ก็ขาดอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่มและอนาคตของชีวิตที่ปลอดภัย


    อวยพร เขื่อนแก้ว

    ผู้อำนวยการศูนย์ผู้หญิงบ้านดินเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมคะ


    ============================


    ในขณะที่พวกเรามีชีวิตที่อยู่ดีมีสุขและมีเวลาภาวนา ชาวโรฮิงญา เพื่อนบ้านของเรากำลังประสบชะตากรรมอย่างหนัก พวกเขาไม่มีแม้ความหวังสำหรับอนาคต การช่วยเหลือพวกเขาจึงสำคัญและจำเป็นไม่เพียงด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมเท่านั้น แต่คือหน้าที่และความรับผิดชอบของชาวพุทธทุกคนที่ได้รับการสอนให้รักและกรุณาต่อทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าพวกเขาจะนับถือศาสนาใด ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นมนุษย์หรือไม่


    กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล

    มูลนิธิพันดารา


    ===========================


    “หัวใจที่ด้านชาต่อความทุกข์ร้อนของผู้อื่น ไม่ใช่หัวใจของผู้ที่ยึดถือคำสอนของพระพุทธเจ้า”


    สนิทสุดา เอกชัย

    คอลัมนิสต์ Bangkok Post


    ============================


    ชาวโรฮิงญาคือคนที่มีเลือดเนื้อจิตวิญญาณ มีสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่แตกต่างจากเรา ความต่างเชื้อชาติ ศาสนา ไม่ได้ทำให้ความเป็นมนุษย์ของคนโรฮิงญาด้อยค่ากว่าเรา ตรงกันข้ามการที่ชาวโรฮิงญาต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความเกลียดชังของโลก อดทนต่อความเมินเฉยเย็นชา การเหยียดหยามตีตราจากอคติของผู้คนในทุกแห่งหน และทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องลูกหลานของตนเอง พวกเขาคือชาติพันธุ์กล้าหาญและมีศรัทธาต่อการมีชีวิต


    การมองเห็นชาวโรฮิงญาและลูกหลานของเขาในฐานะมนุษย์ คือการที่บอกว่าเราต่างมีภาระหน้าที่ทางมนุษยธรรมต่อกัน ความเอื้ออาทรและความเห็นอกเห็นใจชาวโรฮิงญาแม้อาจไม่ได้ช่วยเขาให้พ้นทุกข์อย่างเต็มที่ แต่ก็บอกให้เรารู้ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์ในโลกนี้ยังคงมีมนุษยธรรมหลงเหลืออยู่


    อภิญญา เวชยชัย


    นายกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราห์


    ===========================


    “ข้าพเจ้าได้คุยกับเพื่อนถึงเหตุผลในการช่วยเหลือโรฮิงญา เขาบอกว่า เราในฐานะชาวพุทธ ควรจะมีความเมตตาต่อคนเหล่านี้ในฐานะ “เพื่อนร่วมทุกข์” ซึ่งในบทสวดแผ่เมตตาพระพุทธเจ้าก็สอนให้เราทุกคน มีจิตใจเมตตาต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์ที่รู้จัก หรือไม่รู้จักก็ตาม ข้าพเจ้าค่อนข้างเห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าว นอกจากนั้นยังคิดว่า แม้ว่า เขา/เธอจะมีความแตกต่างกับเราเช่นไร แต่ในวันที่พวกเขากำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข่นฆ่าสังหารจนถึงแก่ชีวิต การทรมานและทำร้ายร่างกายพลเรือนผู้บริสุทธิ์จนทำให้เขา/เธอเหล่านี้ ต้องอพยพหนีออกจากบ้านเกิดอันเป็นที่รัก ในสภาพการณ์เช่นนี้เราในฐานะ “เพื่อนร่วมทุกข์” จะเพิกเฉยอยู่ได้อย่างไร อย่างน้อยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ น่าจะเป็นก้าวแรกที่จะพาเราเดินไปรับฟังเสียงความทุกข์ของเขา/เธอ ที่อยู่อีกฟากฟ้าหนึ่ง จากประสบการณ์ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า การได้ยินเสียงและสัมผัสความรู้สึกของกันและกัน อาจจะทำให้เรารู้สึกอยากจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเขา/เธอเหล่านั้น”


    งามศุกร์ รัตนเสถียร

    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล)


    ================================


    “อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เขียนในบทความ ‘คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ ตอนหนึ่งว่า


    “เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง …”


    และเน้นย้ำอยู่เสมอว่า สังคมที่พึงปรารถนานั้น นอกจากจะต้องมีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ และมีความยุติธรรมในสังคมแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องมีความเมตตากรุณาด้วย


    ก็ชาวโรฮิงญานั้นเป็นคนเหมือนเรา ควรหรือที่เขาจะต้องตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้า ๆ ถ้าเรามีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์บ้าง ก็น่าที่จะเห็นใจและช่วยเหลือเขาตามสมควร”


    กษิดิศ อนันทนาธร

    ผู้จัดการโครงการ 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


    ==========================


    เรื่องของชาวโรฮิงญานั้นน่าเศร้ามานมนาน เป็นชายขอบในทุกที่ โศกนาฏกรรมที่เกิดเร็วๆ นี้ยิ่งน่าหดหู่ใจ แต่ที่หดหู่ใจยิ่งกว่าคือ สังคมของเราก็เต็มไปด้วยความไม่เข้าใจ ความเพิกเฉย ซ้ำเติมเข้าไปอีกผ่านกำแพงศาสนา ชาติพันธุ์ และเราไม่รู้จะหยุดยั้งความโหดร้ายนั้นอย่างไร หยุดยั้งความไม่เข้าใจนั้นอย่างไร เรื่องราวความโหดร้ายก็ไม่ได้มีพยานรู้เห็น ไม่มีภาพรันทดหดหู่แพร่กระจายในโลกโซเชียล

    แต่ถึงอย่างนั้นเราก็จินตนาการถึงได้ในฐานะมนุษย์ด้วยกัน และเมื่อรู้สึก เราอาจทลายกำแพงความเพิกเฉย พอทำอะไรได้ก็จะทำ โดยไม่ต้องอ้างอิงหลักศาสนาไหนๆ เลยก็ได้


    มุทิตา เชื้อชั่ง


    นักข่าวสิทธิมนุษยชน รางวัล AFP


    =================================


    ทำไมมนุษยธรรมจึงหายไปจากความรู้สึกหรือ “สามัญสำนึก” ของพวกเรา หากคณะสงฆ์ มหาวิทยาลัยสงฆ์ และองค์กรชาวพุทธต่างๆ ในไทยร่วมกันส่งเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าและชาวพุทธพม่าแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาอย่างมีมนุษยธรรมและเคารพหลักสิทธิมนุษยชน แม้ถึงที่สุดแล้วอาจเปลี่ยนแปลงความโหดร้ายป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ได้รู้ว่าตัวตนของ “ความเป็นชาวพุทธ” ของเรายังมีอยู่ ยังอยู่ที่นี่ และยังเปล่งเสียงมนุษยธรรมออกมาได้


    สุรพศ ทวีศักดิ์

    นักวิชาการด้านพุทธศาสนา


    ===========================


    “เมื่อเรามองมนุษย์ในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น วรรณะ, ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะเพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เว้นแต่ว่าเราจะมองชาวโรฮิงญาอย่างไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์, การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อพวกเขาจึงเป็นการแสดงออกว่าเราเองนั่นแหละคือมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อเราถือตนนักหนาว่าเป็นเมืองพุทธ เราก็ควรมีความรักความเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์อย่างไม่ลำเอียง เหตุการณ์ที่พระสงฆ์ออกมาปลุกระดมให้เกิดความชิงชังชาวโรฮิงญาในพม่า เป็นตัวอย่างเราควรสลดใจ เรื่องนี้ควรตระหนักอย่างไม่จำเป็นต้องคิดจากมุมมองศีลธรรมของศาสนา แต่ตระหนักได้ด้วยจริยธรรมของมนุษย์พื้นฐาน ต่อเหตุการณ์นี้เอง มันกลับเป็นการพิสูจน์ถึงความเป็นมนุษย์ของตัวเรา”


    ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา

    อาจารย์มหาวิทยาลัย, แอดมินเพจ zen smile, zen wisdom


    ==============================


    “หัวใจของพุทธศาสนาคือคำสอนเรื่องความกรุณาที่ไม่มีประมาณ ไม่แบ่งแยกเรา-เขา ไม่ว่าจะด้วยลัทธิศาสนาความเชื่อหรือชาติพันธุ์ แต่มองเห็นความเป็น”เพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น” และพุทธศาสนาไม่มีแนวคิดเรื่องอาฆาตแก้แค้น แค่นี้ก็เป็นเหตุผลเพียงพอแล้วที่เราควรเห็นอกเห็นใจและให้ความช่วยทางมนุษยธรรมกับชาวโรฮิงญา”


    คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

    อาจารย์มหาวิทยาลัย, ภาคปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร


    ==============================


    สถานการณ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ของพม่าและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม


    ความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธยะไข่ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่กับชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 มีการปะทะกันระหว่างทั้งสองชุมชน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และมีประชากรที่พลัดถิ่นฐานนับแสนคน ภายหลังเหตุการณ์ปะทะกันครั้งนั้น รัฐบาลพม่าได้นำชาวโรฮิงญาที่พลัดถิ่นจำนวนนับแสนคนไปกักบริเวณไว้ในพื้นที่ของเมืองซิดเหว่ (Sittwe) ที่เป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่หรืออาระกัน มีการจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง จำกัดเสรีภาพในการหางานทำ


    การอพยพของชาวโรฮิงญาครั้งใหญ่ในปีนี้ เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์โจมตีป้อมยามของตำรวจพิทักษ์ชายแดนของพม่า กองทัพพม่าได้ตอบโต้ด้วยการรวมตัวกับกลุ่มชาวบ้านที่เป็นชาติพันธุ์ยะไข่ วางเพลิงบ้านเรือนของชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายร้อยหมู่บ้าน (จากการยืนยันด้วยภาพถ่ายดาวเทียม เช่น https://www.amnesty.or.th/latest/news/86/) มีการใช้ปืนยิงสังหารประชาชนโดยไม่เลือกเป้าหมาย ทั้งเด็กและคนชรา และมีการข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง


    การปราบปรามทางทหารของกองทัพพม่าครั้งนี้ ถือเป็นปฏิบัติการ “กวาดล้างให้สิ้นซาก” (scorched earth campaign) โดยมุ่งทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สิน เรือกสวนไร่นา ปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากองทัพพม่าได้วางกับระเบิดตามแนวพรมแดนติดกับบังคลาเทศ ทั้งนี้เชื่อว่าเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีข้ามพรมแดนไปแล้ว กลับมายังที่ทำกินของตนเองได้อีก กับระเบิดเหล่านี้ส่งผลให้ชาวโรฮิงญา รวมทั้งที่เป็นเด็กและผู้หญิงเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายคน (เช่นรายงานข่าวสามมิติ
    )


    ตามข้อมูลของหน่วยงานบรรเทาทุกข์กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงญาสี่แสนกว่าคนเป็นเด็ก และสองในสามเป็นผู้หญิงและเด็กผู้หญิง 13% อยู่ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร (https://nyti.ms/2y3evbG) นอกจากนี้ยังมีผู้สูงวัยอีกจำนวนมาก และ UNICEF พบเด็กชาวโรฮิงญากว่าพันคนที่เดินทางหลบหนีมาถึงบังคลาเทศเพียงลำพัง ไม่มีพ่อแม่มาด้วย (http://bit.ly/2xb0Ct1) ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่าครั้งนี้ว่า เป็นการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ตามตำรา (textbook ethnic cleansing) (http://aje.io/3lfeu) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่มและทุกวัย รวมทั้งพลเรือนผู้บริสุทธิ์ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการโจมตีด้วยอาวุธของกลุ่มโรฮิงญาสุดโต่ง (ARSA) เลย


    ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นมา ทางการพม่าสั่งห้ามหน่วยงานบรรเทาทุกข์ไปให้ความช่วยเหลือในรัฐยะไข่ ทั้งยังมีการออกข่าวโจมตีว่าหน่วยงานบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา เป็นเหตุให้การดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเกิดขึ้นได้เฉพาะฝั่งประเทศบังคลาเทศ และผู้ลี้ภัยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องหาทางกระเสือกระสนข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งบังคลาเทศให้ได้แม้จะขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์หรือพาหนะในการเดินทาง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากเรือคว่ำหลายสิบคน รวมทั้งที่เป็นเด็ก


    ในฐานะประชาชนคนไทย เราควรมีส่วนร่วมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อบุคคลเหล่านี้อย่างไร เพราะในอนาคตอันใกล้ แทบไม่มีความเป็นไปได้ที่ชาวมุสลิมโรฮิงญาเหล่านี้จะสามารถเดินทางกลับไปพำนักอาศัยในบ้านเกิดของตนเองในพม่าได้ ท่ามกลางกระแสความเกลียดชังของกลุ่มชาตินิยมสุดโต่งในพม่า และกระแสเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) ที่ลุกลามขึ้นอย่างรวดเร็ว



    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b8a1e0b899e0b8b8e0b8a9e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b8a3-2.jpg





    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b8a1e0b899e0b8b8e0b8a9e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b8a3-3.jpg







    ขอบคุณที่มา
    http://www.posttoday.com/social/general/516089
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...