“ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ เพื่อส่งเสริมศาสนา การศึกษา และสังคม”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b89ee0b887e0b8a8e0b98ce0b89ee0b8b1e0b899e0b898e0b8b8e0b98c-e0b980e0b89e.jpg


    “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์” สานเจตนารมณ์ต่อเนื่องปีที่ 8ส่งเสริมศาสนา มอบขุมทรัพย์ทางปัญญา ปันสุขสู่สังคม



    สู่ปีที่ 8 ของการ “ให้”…ด้วยเจตนารมณ์ของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และด้วยความเชื่อที่ว่าศาสนาคือพื้นฐานแรกของการมีชีวิตที่ขัดเกลาจิตใจให้คนมีสติและสำนึกที่ดีการศึกษาคือที่มาของความรู้ ความคิดที่จะช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์คนที่มีคุณภาพ และสังคมคือเพื่อนมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงเป็นที่มาของ “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ เพื่อส่งเสริมศาสนา การศึกษา และสังคม” ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 โดยทองมาได้ใช้เงินทุนส่วนตัวสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา การศึกษา และสังคม ผ่านมูลนิธิ สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ ในประเทศที่ขาดแคลนและต้องการความช่วยเหลือ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ได้มอบเงินสนับสนุนองค์กรที่ทำประโยชน์และสร้างสรรค์ทางศาสนา การศึกษา และสังคม ไปแล้วรวม 68 องค์กร รวมเงินสนับสนุนกว่า 144 ล้านบาท

    ปีนี้นับเป็นปีที่ 8 ที่ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ได้สานต่อเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ โดยได้มีการมอบเงินให้กับวัดและองค์กรที่เผยแพร่และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา8 แห่ง รวม 5.4 ล้านบาทสถาบันการศึกษา 16 แห่ง รวม 16.7 ล้านบาท และช่วยเหลือด้านสังคมผ่านมูลนิธิ สถานสงเคราะห์ โรงพยาบาลอีก36 แห่ง รวม 24.3 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น46.4 ล้านบาท

    “ผมต้องการช่วยเหลือสังคม และเล็งเห็นว่ายังมีหน่วยงานการกุศลจำนวนมากที่ต้องการการสนับสนุนจึงบริจาคเงินทุนส่วนตัวในนาม “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์” โดยแยกออกมาจากการตอบแทนสังคมในนามของบริษัทพฤกษาฯ จึงทำให้ผมสามารถพิจารณาเลือกบริจาคเงินให้กับมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ ได้ด้วยตัวเองตามที่ต้องการ” ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์และประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเหตุผลที่ใช้เงินส่วนตัวในการบริจาคผ่านทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์

    ทองมากล่าวถึงขั้นตอนการคัดเลือกองค์กรที่จะบริจาคว่า “ผมมีคณะทำงานจิตอาสาที่จะออกไปสำรวจตามองค์กรและมูลนิธิต่างๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ ก็มีทั้งองค์กรและมูลนิธิต่างๆ ติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามาด้วย ซึ่งเราก็จะนำข้อมูลมาพิจารณาถึงความต้องการของแต่ละองค์กรก่อนที่จะให้เงินสนับสนุนตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป หากถามว่าผมได้อะไรจากการบริจาคเงินปีละหลายสิบล้านแบบนี้ คำตอบคือความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากการที่ได้แบ่งปันและทำประโยชน์ให้แก่สังคม”

    พระมหาประสิทธิ์ สิริปญริศ ผู้อำนวยการแผนกธรรมมหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารหนึ่งในองค์กรที่ได้รับทุนส่งเสริมด้านศาสนากล่าวว่า“วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯ ได้รับทุนวิจิตรพงศ์พันธ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยทางวัดมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้ไปใช้ในกิจกรรมของแผนกธรรม ใช้เป็นค่าจัดการเรียนการสอนธรรมะให้กับพระ เณร และฆราวาสซึ่งมีทั้งการจัดการเรียนการที่วัด และออกไปจัดในโรงเรียนต่างๆ ทั้งกรุงเทพและพัทยา นอกจากนี้ เงินนี้จะใช้เป็นทุนในการจัดสอบนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก และธรรมศึกษา จึงกล่าวได้ว่าเงินทุนนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทำให้ธรรมะสามารถเข้าถึงพุทธศาสนิกชนได้มากขึ้น เพราะการเรียนและการสอบแต่ละครั้งมีจะผู้เข้าร่วมโครงการหลายร้อยจนถึงหลักพัน การจัดสรรทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายทุกครั้งวัดคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่า เพื่อให้ทุนนี้ก่อให้เกิดประโยชน์กับศาสนามากที่สุดดังเจตนารมณ์ของผู้มอบทุน”

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์มาตั้งแต่ปีแรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวถึงการได้รับทุนนี้ว่า“ในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเฉพาะคนที่มีเงินเรียนเท่านั้น แต่ยังมีนิสิตอีกมากที่ขาดแคลน เราไม่อยากเห็นนิสิตคนไหนต้องถูกรีไทร์ด้วยเหตุเพราะไม่มีเงินเรียน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดสรรทุนปีละประมาณ 2,000 ทุน ซึ่งต้องใช้เงินหลายร้อยล้าน การที่คุณทองมามีจิตกุศลด้วยการมอบทุนให้นิสิตจุฬาฯ นับว่าเป็นการแบ่งเบาภาระของมหาวิทยาลัยได้มาก มหาวิทยาลัยได้รับทุนนี้มาเป็นปีที่ 8 แล้ว ปีนี้ได้รับเพิ่มเป็น 2 ล้าน ซึ่งจะทำให้มีนิสิตได้รับทุนราว 20 คน เราจะเปิดโอกาสให้นิสิตจากทุกคณะมีสิทธิ์ขอรับทุน โดยพิจารณาความเดือดร้อนและผลการเรียนไม่ใช่คนเรียนเก่งที่จะได้ทุนนี้แต่ต้องเป็นคนที่มีจิตอาสาทำกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยด้วย ทุนนี้จะไปเป็นค่าเทอม เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนให้นิสิตยังชีพอยู่ได้ ถือว่าเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษาให้นิสิตได้เรียนต่อปัจจุบันมีนิสิตที่เรียนจบด้วยทุนนี้และออกไปเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศแล้วหลายคน”

    สำหรับองค์กรด้านสังคมที่ถือว่ามีผลงานที่โดดเด่นในการช่วยเหลือเด็กและสตรี คือ มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีซึ่งปีนี้องค์กรนี้ก็ได้รับทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ด้วยเช่นกันโดยปวีณา หงสกุลประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีกล่าวว่า“ในแต่ละวันมูลนิธิฯต้องรับเรื่องร้องทุกข์มากถึง30-80 เคสจำนวนเคสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งเข้ามาขอความช่วยเหลือที่มูลนิธิฯ และแจ้งเบาะแสให้เราออกไปช่วย ทำให้มูลนิธิฯ มีค่าใช้จ่ายสูง เฉลี่ยเดือนละ3.5-4 แสนบาท ทั้งค่าเช่าที่ดิน ค่าผ่อนรถตู้ ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงาน และอื่นๆ แม้จะช่วยกันประหยัดอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ คณะกรรมการจึงต้องช่วยกันหาทุน และตั้งกล่องรับบริจาคตามจุดต่างๆ ปีนี้เป็นปีแรกที่มูลนิธิฯ ได้รับทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ พวกเรารู้สึกขอบคุณเป็นอย่างมาก เงิน1 ล้านบาทที่ได้มาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของมูลนิธิฯ ได้มาก รู้สึกชื่นชมคุณทองมาที่มีแนวคิดที่ให้ทุนที่ส่งเสริมทั้งทางด้านศาสนา การศึกษา และสังคม โดยส่วนตัวเชื่อว่าถ้าคนเราดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาและมีการศึกษาเป็นพื้นฐานปัญหาสังคมก็จะลดน้อยลง”

    ความเหลื่อมล้ำและปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้นนับว่าหนักหนาเกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งจะจัดการได้ การช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือตามกำลังที่มีน่าจะช่วยแบ่งเบาปัญหาให้ทุเลาได้ เช่นเดียวกับที่ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ได้เข้ามาโอบอุ้มสังคมด้วยการมอบทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์เป็นประจำทุกปีทุนนี้ไม่เพียงสร้างรอยยิ้มและมอบความสุขให้กับผู้ให้และผู้รับเท่านั้นแต่ยังอาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนหันมามองรอบๆ ตัวและหยิบยื่นแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้คนที่ด้อยโอกาสยิ่งมีพลังแห่งน้ำใจมากขึ้นเท่าไหร่ สังคมก็จะน่าอยู่มากขึ้นเท่านั้น

    ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

    ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th

    อุษณีย์ ถาวรกาญจน์ โทร.081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/28440
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 สิงหาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...