เรื่องเด่น “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี” แนะวิธีป้องกันวิปลาสเพราะการเจริญภาวนา อย่างง่ายและแก้ไขได้ตนเอง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 18 ตุลาคม 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี” แนะวิธีป้องกันวิปลาสเพราะการเจริญภาวนา อย่างง่ายและแก้ไขได้ตนเองเพียงเท่านี้ก็ผ่านสบายๆ

    161003-1(1).jpg

    วิธีแก้วิปลาส
    อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้


    161003-2.jpg


    ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลส เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌาน หาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตาม ด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น
    พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา
    เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี
    แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นได้หลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย
    ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย
    แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆนานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้ได้
    ๓. วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีด เอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ




    161003-3.jpg

    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก
    โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
    ที่มา :FB เพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น



    เรียบเรียงโดย

    กิตติ จิตรพรหม : สำนักข่าวทีนิวส์
    ------------------------

    http://www.tnews.co.th/contents/dp/368684
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,222
    กระทู้เรื่องเด่น:
    996
    ค่าพลัง:
    +70,034
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    [178] วิปัลลาส หรือ วิปลาส 4 (ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง - distortion)
    วิปลาส มี 3 ระดับ คือ
    1. สัญญาวิปลาส (สัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู - distortion of perception)
    2. จิตตวิปลาส (จิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร - distortion of thought)
    3. ทิฏฐิวิปลาส (ทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล - distortion of views)

    วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ
    1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (to regard what is impermanent as permanent)
    2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (to regard what is painful as pleasant)
    3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (to regard what is non-self as a self)
    4.. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม (to regard what is foul as beautiful)

    A.II.52. องฺ.จตุกฺก. 21/49/66
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,222
    กระทู้เรื่องเด่น:
    996
    ค่าพลัง:
    +70,034
    ในเชิงอภิธรรม

    วิปลาส หมายถึง ความคลาดเคลื่อน, ความตรงกันข้าม, ความผันแปร หมายถึง ความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงด้วยอาการ ๓ ที่เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น คือสัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปปลาส ๑ วิปลาส ๓ นี้เป็นไปในอาการ ๔ คือ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ จึงกลายเป็นวิปลาส ๑๒ อย่าง คือ
    ๑. สัญญาวิปลาส จำผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้
    ๒. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้
    ๓. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้
    ๔. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันจึงละได้
    ๕. จิตตวิปลาส คิดผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้
    ๖. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้
    ๗. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้
    ๘. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้
    ๙. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่ารูปเป็นงาม พระโสดาบันละได้
    ๑๐. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระโสดาบันละได้
    ๑๑. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันละได้
    ๑๒. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้
    พระโสดาบันและพระสกทาคามี ละวิปลาสได้ ๘ ประเภท คือ สัญญาวิปลาสในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ ในธรรมที่เที่ยง ๑ จิตตวิปลาสในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ ในธรรมที่เที่ยง ๑ และทิฎฐิวิปลาสในอาการทั้ง ๔
    พระอนาคามี ละวิปลาสได้อีก ๒ คือ สัญญาวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑ และจิตตวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑

    พระอรหันต์ ละวิปลาสที่เหลือทั้งหมดอีก ๒ คือ สัญญาวิปลาส และจิตตวิปลาสในเวทนาที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๒
    อกุศลจิตทุกดวงเป็นจิตตวิปลาสอย่างหนึ่งในอาการ ๔ สัญญาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทุกดวง เป็นสัญญาวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตทิฎฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง เป็นทิฏฐิวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละวิปลาสทั้ง ๔ แต่ไม่ควรเจาะจงละวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
    เพราะว่าทุกท่านที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลย่อมมีวิปลาสครบทั้ง ๔ ขณะที่สติปัฎฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยความเป็นอนัตตา เพราะความเข้าใจจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้องจึงเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติ ฯ เกิดขึ้น ขณะนั้นย่อมเป็นสติปัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ และความเข้าใจสภาพธรรมที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น ก็ย่อมค่อยๆ ละคลายวิปลาสนั้น ๆ จนกว่าจะละได้เด็ดขาดเมื่อมรรคจิตเกิดขึ้น
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,222
    กระทู้เรื่องเด่น:
    996
    ค่าพลัง:
    +70,034
    วิปลาสทั้ง ๑๒ ประการนี้ เกิดขึ้นเพราะไม้ได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูปนั่นเอง และวิปลาสธรรมเหล่านี้ เกิดจากอำนาจของกิเลสอย่างละเอียด ทั้งศีล และสมาธิ ก็ไม่สามารถจะละได้ ต้องอาศัยกำลังของวิปัสสนาภาวนา ที่จะละได้
    เพราะเหตุว่า วิปัสสนานั้น เป็นปัญญาที่เข้าไปกำหนดรู้ความจริงของนามรูป

    ฉะนั้น การเจริญวิปัสสนา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจในนามรูป

    เพื่อจะได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูป แต่วิธีการที่จะกำหนดนามรูปนั้น ต้องกำหนดตามนัยของสติปัฏฐาน ๔ เพราะสามารถละวิปลาสธรรมได้ดังนี้ คือ....

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุภวิปลาส
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุขวิปลาส
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ นิจจวิปลาส
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ อัตตวิปลาส


    โดยเหตุนี้ การเจริญวิปัสสนากับการเจริญสติปัฏฐาน จึงเป็นอย่างเดียวกัน
    และการเจริญสติปัฏฐานก็เป็นการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา.
    เมื่อการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ก็ชื่อว่า เป็นการเจริญมรรคมีองค์ ๘ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง
     
  5. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ใช่ครับ ทุกวันนี้ก็วิปลาสกันเยอะครับ จนกล้าเถียงว่าบาปกรรมไม่มีจริง
    อธิบายยังไงก็ไม่ยอมฟัง บอกว่านรก สวรรค์ มีจริง พรหมโลก นิพพาน มีจริง ก็ไม่ยอมเชื่อ

    ไม่รู้จะอธิบายยังไงดีถึงจะหายจากความเข้าใจผิดแบบนี้

    ส่วนผมเองแม้จะทำจิตให้เป็นเอกัคตารมณ์ก็ยังไม่ได้เลย
    คงต้องทำให้ได้ก่อนแล้วถึงจะรู้ว่าอาการวิปลาสที่ว่านั้นเป็นอย่างไร ตอนนี้นึกไม่ออกจริง ๆ เพราะยังทำไม่ถึง
     
  6. madeaw23

    madeaw23 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +188
    กราบสาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...