“ออมสิน-ไอแบงก์” ออกมาตรการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสาน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 1 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b899-e0b984e0b8ade0b981e0b89ae0b887e0b881e0b98c-e0b8ade0b8ade0b881e0b8a1e0b8b2e0b895e0b8a3e0b881.jpg

    ธนาคารออมสินออกมาตรการช่วยบรรเทาภัยน้ำท่วม พักชำระเงินต้นสูงสุด 3 ปี ให้กู้ 50,000 บาท ปีแรกไม่คิดดอกเบี้ย ผ่อนชำระ 5 ปี สินเชื่อบ้านให้กู้เพิ่มเติม ดอกเบี้ยปีแรกร้อยละ 0 ผ่อนชำระ 30 ปี ขณะที่ไอแบงก์ออกมาตรการพักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะกำไรระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคอีสาน

    นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เหตุอุทกภัยน้ำท่วมหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อลูกค้า และประชาชนทั่วไป ธนาคารออมสินจึงมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อน โดยสำรวจความเสียหายด้วยการออกเยี่ยมประชาชน และลูกค้าในพื้นที่ พร้อมทั้งนำถุงยังชีพออกแจกจ่าย ขณะเดียวกัน ธนาคารฯ ได้ออกมาตรการบรรเทาภาระลูกค้าสินเชื่อของธนาคารออมสินเป็นกรณีเร่งด่วน วงเงินรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท โดยสามารถยื่นความจำนงได้ที่ธนาคารออมสินสาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้หรือสาขาในพื้นประสบภัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560

    สำหรับมาตรการ ประกอบด้วย มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับลูกค้าสินเชื่อปัจจุบันของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ โดยธนาคารพิจารณาผ่อนปรนการชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1. พักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี หรือ 2. พักชำระเงินต้น และพักชำระดอกเบี้ย อีกร้อยละ 50 ไม่เกิน 3 ปี หรือ 3. พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน (สำหรับผู้ไม่มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน) โดยหลังครบกำหนดแล้วยังไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติได้สามารถใช้ทางเลือกตามข้อ 1 หรือข้อ 2 เพิ่มได้ ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนและความเสียหายที่ได้รับแล้วแต่กรณี

    ส่วนมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ธนาคารฯ ให้สินเชื่อเพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นวงเงินเพื่อใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร ผ่อนชำระภายในเวลา 30 ปี โดยธนาคารฯ ไม่คิดดอกเบี้ยปีแรก หรือร้อยละ 0 ต่อปี หลังจากนั้น ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.00 ต่อปี ปีที่ 4 เป็นต้นไป ร้อยละ MRR-0.75 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน = 7.00%) ส่วนลูกค้าที่ประกันความเสียหายของหลักประกัน ธนาคารออมสินร่วมกับบริษัททิพยประกันภัย จะเร่งดำเนินการจ่ายเงินสินไหมให้ทันทีตามเกณฑ์ผ่อนผันสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ

    ด้านมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธนาคารให้สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติกับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมของธนาคาร วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินกู้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมทุกประเภท สูงสุดไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท ผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี ผ่อนผันให้ปลอดชำระเงินต้นได้ไม่เกิน 1 ปี โดยชำระดอกเบี้ยทุกเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปีที่ 1 ร้อยละ 3.50 ต่อปี ในปีต่อไปคิดอัตรา MLR ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MLR ปัจจุบัน = 6.50%) โดยใช้หลักประกันเดิมตามสัญญากู้เงิน และสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเพิ่มได้ และมาตรการสุดท้าย บรรเทาความเดือดร้อนสำหรับประชาชนรายย่อย โดยให้กู้ตามความจำเป็น รายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชำระคืนภายใน 5 ปี ปลอดการชำระคืนเป็นเวลา 3 เดือน โดยปีที่ 1 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อเดือน ปีที่ 2-5 ร้อยละ 1.00 ต่อเดือน (Flat Rate)

    ด้านนางสาววีณา เตชาชัยนิรันดร์ กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยรุนแรงในหลายพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไอแบงก์ให้ความสำคัญเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น โดยชำระเฉพาะกำไร ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน หลังจากนั้น ให้ชำระเงินต้นและกำไรตามสัญญาเดิม สำหรับลูกค้าธนาคารที่อยู่ในประกาศเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครพนม และพื้นที่ประสบภัยตามประกาศของทางราชการ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ทั้งนี้ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไอแบงก์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ Call Center โทร. 1302



    ขอบคุณที่มา
    http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9600000078102
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...