“เสรี”เตือนไทยเสี่ยงแผ่นดินไหวรุนแรง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 25 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    “เสรี”เตือนไทยเสี่ยงแผ่นดินไหวรุนแรง




    e0b980e0b895e0b8b7e0b8ade0b899e0b984e0b897e0b8a2e0b980e0b8aae0b8b5e0b988e0b8a2e0b887e0b981e0b89c.jpg


    นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัตมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงการครบรอบ 13 ปี แผ่นดินไหว และสึนามิมหาสมุทรอินเดีย จนถึงประเทศไทยวันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมหรือไม่ในการรับมือในอนาคต ว่า เหตุการณ์สีนามิครั้งใหญ่ปี 2547 สร้างความสูญเสียกับหลายประเทศ มีผลกระทบถึง 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย จนปัจจุบันเกิดแผ่นดินไหวในระดับรุนแรงมากกว่า 6.5 ริกเตอร์ หลายครั้ง ทั้งในทะเล และบนแผ่นดินต่างประเทศ ดังเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ บริเวณประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2552 เหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซียหลายครั้ง และเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6 ริกเตอร์ บริเวณทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 10 ก.ย. ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กน้อยกว่า 5 เซนติเมตรที่วัดได้บริเวณทุ่นน้ำลึกในมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งข่าวลือเรื่องคลื่นสึนามิจากหลายแหล่ง สร้างความกังวลไม่มั่นใจในระบบเตือนภัยของภาครัฐที่มีอยู่ และเกิดคำถามมากมาย ถ้าแผ่นดินไหวเพิ่มความรุนแรงอีก 1 ระดับเป็น 8.6 ริกเตอร์ อะไรจะเกิดขึ้น พลังงานของแผ่นดินไหวจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 30 เท่า เราจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และอาจเป็น มัจจุราชอันดามัน ภาค 2 ที่มีความรุนแรง

    นายเสรี กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเฝ้าติดตาม สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา เพราะข้อมูลในการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต บ่งบอกถึงความเสี่ยงของไทยจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง 3 แหล่ง แหล่งแรก อยู่บนแผ่นดินในประเทศพม่า บริเวณรอยเลื่อนสะแกง ที่พาดผ่านตอนกลางของประเทศพม่าซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนไทย ประมาณ 300 กม. เป็นรอยเลื่อนลักษณะเฉือน และมีพลังสูง ซึ่งในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6-8 ริกเตอร์กว่า 20 ครั้ง โดยมีครั้งที่รุนแรงที่สุด 8 ริกเตอร์ ในปี พ.ศ. 2455 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนวชิราลงกรณ์ และ เขื่อนศรีนครินทร์ และมีแผ่นดินไหว ขนาด 6.8 ริกเตอร์ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 บริเวณเมือง Taungdwingy ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน วัด สะพานหลายแห่งในพม่า อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความเสียหายต่อตัวเขื่อนทั้งสองของไทย

    ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศฯ กล่าวว่า ประเด็นที่สำคัญ เป็นเรื่องความพร้อมในการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้น ระบบหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้น ระบบการจัดการฉุกเฉิน จึงมีความจำเป็นสำหรับเขื่อน ขนาดใหญ่ที่สูงเกิน 15 เมตร หรือปริมาตรกักเก็บเกิน 100,000 ลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนต้องมีการติดตั้งระบบการตรวจวัด ระบบการตัดสินใจ ระบบการแจ้งเตือน ส่วนชุมชนที่อยู่ท้ายน้ำ ก็ต้องมีระบบเตือนภัย และระบบการอพยพหนีภัย ในการแจ้งเตือน ของเจ้าของเขื่อนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์ เช่น มีการแจ้งเตือนตั้งแต่ระดับ 1-4 ระดับ จากระดับปกติที่ยังไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของตัวเขื่อน แต่อาจตรวจพบความผิดปกติที่ยอมรับได้ จนถึงรุนแรงที่สุด ตรวจพบรอยรั่วซึมผ่านตัวเขื่อน ตรวจพบรอยร้าวของตัวเขื่อน เจ้าของเขื่อนจะแจ้งให้ชุมชนเริ่มการอพยพทันที

    สำหรับแหล่งที่ 2 อยู่บริเวณรอยเลื่อนซุนดา ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนเดียวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันยังคงเกิด แผ่นดินไหวบริเวณนี้บ่อยครั้ง มีการติดตั้งทุ่นน้ำลึกบริเวณนี้ 5 ทุ่น เป็นทุ่นที่ได้รับความช่วยเหลือ จากประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ทุ่น และเป็นทุ่นของประเทศอินเดีย 4 ทุ่น การเฝ้าระวังติดตาม โดยอาศัยทุ่นน้ำลึกเพียงลำพังไม่เพียงพอ เนื่องจากปัญหาด้านเสถียรภาพของทุ่นที่ติดตั้ง การบำรุงรักษาที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นระบบการประเมินการเกิด คลื่นสึนามิจึงมีความจำเป็นเพื่อให้ชุมชนได้ทราบถึงเวลา และความสูงคลื่นที่จะมีผลกระทบ ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต และพังงา โดยความช่วยเหลือจาก มูลนิธิ อาสา เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้มีการใช้ระบบนี้อยู่

    ในส่วนแหล่งที่ 3 อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณ รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ ซึ่งจากการประเมินพบว่า หากเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรงประมาณ 8 ริกเตอร์พื้นที่ชุมชนชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยก็จะได้รับผลกระทบ เพราะอยู่ห่างจากรอยเลื่อน ฟิลิปปินส์ประมาณกว่า 2,000 กิโลเมตร ซึ่งน่านน้ำของไทยมีความลึกน้อยกว่า 100 เมตร คลื่นจึงใช้เวลาในการเดินทางนาน และสูญเสียพลังงานไปมาก ก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าปะทะชายฝัง โดยชายฝั่งทะเลจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และสงขลา จะมีคลื่นสูงเกือบ 1.0 เมตร ภายในเวลา 14 ชั่วโมงหลังจากการเกิดแผ่นดินไหว คลื่นยังคงเคลื่อนตัวผ่านชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคิรีขันธ์ และเพชรบุรี โดยมีความสูงคลื่นประมาณ 0.50-1.0 เมตร และจะเข้าปะทะเกาะสมุย และ เกาะพงัน ภายในเวลา 16 ชั่วโมง จากนั้นคลื่นยังคงเคลื่อนตัวอย่างช้าๆเข้าสู่บริเวณอ่าวไทยภายในเวลา 18 ชั่วโมงโดยมีความสูงคลื่นน้อยกว่า 0.50 เมตรตั้งแต่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด ระยอง พัทยา ชลบุรี รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา

    “แม้ว่าความสูงคลื่นสึนามิ จะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่คลื่นสึนามิเป็นคลื่นยาวที่มีพลังงานมากกว่าคลื่นชายหาด ในอดีตมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากคลื่นสึนามิที่ไม่สูงมากนักในต่างประเทศ จึงเป็นอันตราย ถึงชีวิตหากไม่หนีขึ้นฝั่ง” นายเสรี กล่าว







    ขอบคุณที่มา
    http://www.lokwannee.com/web2013/?p=292416
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2017
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,422
    ค่าพลัง:
    +3,197
    อ่านกระทู้นี้แล้ว ก็เลยไปค้นหาข้อมูล อยากรู้ถ้าเกิดแผ่นดินไหว ในกรุงเทพและปริมณฑล ความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และรอยเลื่อนใดที่มีอิทธิพลต่อเมืองเจริญของไทยมากที่สุด

    ได้ข้อมูลที่น่าสนใจที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้

    พบสำหรับรอยเลื่อนที่พบใหม่ซึ่งพาดผ่านทิศใต้ของ กทม. จะเป็นกิ่ง ก้าน สาขา หรือรอยเลื่อนใหม่ เราคงได้แต่ติดตามข้อมูล เพื่อการตั้งรับอย่างมีสติ

    หลังมีข่าวคราว พบรอยเลื่อนแขนงพาดผ่านทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร อ้อมมาทาง จ.สมุทรปราการ และเลยลึกไปถึง จ.ชลบุรี อีกแขนงหนึ่งไปทางองครักษ์ และ ท่าจีน ทำให้กรมทรัพยากรธรณีคงจะอยู่เฉยไม่ได้

    นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาให้ความเห็นเกี่ยวกับรอยเลื่อนที่พบใหม่นี้ น่าสนใจทีเดียว งบประมาณก็ไม่มาก แต่งานนี้ไม่เร่งศึกษาไม่ได้เสียแล้ว เพราะไม่มีใครให้คำตอบได้ด้วยว่า ยักษ์ใหญ่ที่หลับใหลจะพลิกตัว หรือ ขยับตัว หรือตื่นขึ้นมาเมื่อไหร่ ????

    ลองฟังกันดูนะฮับ

    ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว กล่าวว่า ข้อมูลรอยเลื่อนใกล้กทม.นี้คณะ กรรม การแผ่นดินไหวแห่งชาติ เคยทำเรื่องเสนอเข้าครม.ไปตั้งแต่ปี 2547 เพราะเห็นว่ายิ่งอยู่ใกล้กับกทม.ก็ควรต้องเร่งทำให้ชัดเจนเท่านั้น เพื่อจะรู้สถานะว่าต้องเฝ้าระวังอย่างไร เหมือนกับรอยเลื่อนมี พลัง 13 รอยที่ต้องศึกษาพฤติกรรมของมัน


    earth6.jpg

    รอยเลื่อน เป็นลักษณะของรอยแตกหรือแนวแตกในหิน โดยหินทั้งสองฟากของรอยแตก มีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กัน และทิศทางการเคลื่อนที่ขนานไปกับระนาบของรอยเลื่อนนั้นๆ รอยเลื่อนเกิดจากกระบวนการที่ทำให้หินแตกและเลื่อน / เคลื่อนไหว เนื่องจากความเค้นในเนื้อหินที่เปลือกโลก การเลื่อนของรอยเลื่อนอาจเป็นไปได้ทุกทิศทางที่เป็นแนวเปราะบาง ระยะทางของการเลื่อนตัวอาจน้อยเป็นเซนติเมตร

    พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลตกอยู่ในความเสี่ยงแผ่นดินไหว จาก 3 ปัจจัย ได้แก่
    - รอยเลื่อนนอกประเทศ เช่น รอยเลื่อนตะแกงในพม่า จุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างกรุงเทพฯ 400 กม.
    - รอยเลื่อนในประเทศที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ
    - รอยเลื่อนใต้ดินที่เพิ่งพบเมื่อไม่นานมานี้ และยังไม่มีข้อมูลการเคลื่อนตัวที่ชัดเจน ยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้



    ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์แตก!!! จะเป็นอย่างไร?

    นายธำรง ธวัชชัยประชา อดีตวิศวกรโยธา กฟผ.
    ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษาที่ดูแลรักษาเขื่อนศรีนครินทร์มาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ยอมรับว่า ในการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ มั่นใจระบบการก่อสร้าง และไม่เคยยอมฟังคำทัดทานของใคร กระทั่งเขื่อนสร้างเสร็จระยะหนึ่ง กฟผ.ให้บริษัทที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา สวีเดน และแคนาดา ตรวจประเมินเขื่อนจากข้อมูลเรื่องการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 3 แห่งสรุปผลออกมาเหมือนกันว่า จ.กาญจนบุรีอาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 7.5-8.0 ริกเตอร์ นั่นคือ มากกว่าที่ กฟผ.ออกแบบเขื่อนไว้ 500-4,000 เท่า และทั้งหมด แนะนำให้ กฟผ.เพิ่มมาตรการเสริมความแข็งแรงของเขื่อน

    และการที่ กฟผ.บอกกับสาธารณะว่า เขื่อนรับแรงไหวของแผ่นดินได้ 7.5 ริกเตอร์นั้น ก็ไม่เป็นจริง เพราะความจริงคือ ตัวเลข 7.5 ริกเตอร์ ที่เขื่อนจะรองรับความเสียหายได้ จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว จะต้องห่างจากตัวเขื่อนมากกว่า 250 กิโลเมตร แต่จากข้อมูลใหม่และความรู้ในปัจจุบัน พบว่า แนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่มีพลังนั้น อยู่บริเวณเดียวกับที่เขื่อนสร้างอยู่นั่นเอง

    บริษัทที่ปรึกษา เหล่านั้น ยังระบุอีกว่า หากเขื่อนศรีนครินทร์แตกแล้ว โอกาสที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุม 13 จังหวัด 65 อำเภอ เป็นพื้นที่ถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือราว 4,700,000 ไร่

    พื้นที่ ที่จะได้รับผลกระทบหนักสุด คือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งน้ำจะไหลเข้าสู่เมืองภายใน 5 ชั่วโมง ไหลถึง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ภายในเวลา 11 ชั่วโมง
    สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น น้ำจะไหลมาถึงเขต บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ธนบุรี ภาษีเจริญ จอมทอง ราษฎรบูรณะ และบางขุนเทียน ภายใน 35 ชั่วโมง


    ทิ้งท้ายดูเหมือนน่ากลัว หากแต่เป็นข้อมูล ที่ กฟผ.เองบอกว่า ต้องรับฟัง และนำกลับไปทบทวน เพื่อเพิ่มเติมในส่วนของการป้องกัน และเสริมความแข็งแรงของเขื่อน แต่ส่วนหนึ่ง ที่ส่วนตัว Vickie เอง อยากให้ตระหนัก คือ การให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับทุกฝ่าย รวมถึงประชาชน ทั้งที่จะได้รับผลกระทบหรือไม่ได้รับก็ตาม เพื่อเราจะได้ตั้งรับอย่างมีสติ

    http://oknation.nationtv.tv/blog/vickie/2007/07/04/entry-2
     
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,422
    ค่าพลัง:
    +3,197
    แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ

    อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผ่นดินไหว

    แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...