10 ข้อควรรู้เมื่อเริ่มเจ็บเข่า อาการข้อเข่าเสื่อมอาจถามหาคุณอยู่

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ployinbag, 16 พฤศจิกายน 2016.

  1. ployinbag

    ployinbag สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +2
    ปัจจุบันอาการข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคยอดฮิตในสังคมบ้านเรา หลายคนอาจเคยมีปัญหากับอาการเจ็บเข่ามาบ้าง ซึ่งสาเหตุของอาการเจ็บ อาจมาจากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไปทั้งการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของร่างกาย ทำให้ตอนนี้อาการข้อเข่าเสื่อมนั้นไม่ได้เป็นเป็นเฉพาะโรคของคนสูงอายุอีกต่อไป คนหนุ่มสาวที่ใช้ร่างกายหนักก็เป็นได้ไม่ต่างกัน ฉะนั้นใครที่มีอาการเจ็บเข่าบ่อยๆมาดูกัน หากวันนึงเป็นข้อเข่าเสื่อมเราควรเตรียมตัวอะไรบ้าง??

    1. คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมและเจ็บเข่า มักจะมีอาการปวดเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าฝืดหรือติดขัด ได้ยินเสียงดังในเข่า เข่าบวม รู้สึกขาไม่มีกำลังหรือเข่าอ่อน ปวดเข่าบ่อยๆเวลาขึ้น-ลงทางชันหรือบันได ปวดเวลานั่งกับพื้น เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิหรือคุกเข่า ปวดเวลาเดินบนพื้นราบ
    2. สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นประกอบด้วยหลายสาเหตุรวมกัน อาจเป็นเพราะอายุที่มากขึ้น, เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น, ใช้งานข้อเข่ามากเกินไป, มีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด มีประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์, มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย

    3. ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้ในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี แต่อาจมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่ามาก่อน ส่งผลให้แนวแกนรับน้ำหนักข้อเข่าผิดปกติไป มีกระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บหรือมีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคกระดูกตายบริเวณข้อเข่าซึ่่งส่งผลต่อมาทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย
    4. ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะมีปัญหาอาการเจ็บเข่า เวลาเดิน นั่งกับพื้น หรือลุกจากนั่ง ซึ่่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในกรณีที่อาการไม่มาก การปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น นั่งกับเก้าอี้แทนการนั่งกับพื้น การใช้แขนช่วยยันตัวขึ้นตอนลุกจากนั่ง หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน รวมถึงการบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเข่าได้ แต่ในกรณีที่มีอาการมาก หรือปรับเปลี่ยนท่าทางแล้วอาการปวดไม่บรรเทา แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ให้การรักษาและคำแนะนำต่อไป

    5. การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรปฏิบัติด้วยวิธีที่ไม่สร้างภาระให้กับข้อเข่า หลีกเลี่ยงการกระโดด กระแทก การบิดเข่า เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำ จะช่วยให้ข้อเข่ารับภาระน้อยลง มีการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานนั้นสามารถทำได้ การบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาโดยไม่ใช้น้ำหนักต้าน เช่น การนั่งเกร็งต้นขาและยกปลายเท้าขึ้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ผู้ที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อเข่าด้านหน้า ซึ่งมีความเสื่อมของข้อสะบ้า ให้หลีกเลี่ยงการลุกนั่ง การก้าวขึ้นที่สูง การออกแรงเหยียดเข่าโดยมีแรงต้าน เป็นต้น เพราะจะทำให้เจ็บและมีการเสื่อมมากขึ้น

    6. จากการศึกษาแบบวิเคราะห์พบว่าอาหารเสริมในกลุ่ม glucosamine หลายยี่ห้อไม่สามารถช่วยลดอาการปวดหรือเพิ่มการทำงานของข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้ดีกว่ายาหลอก (placebo) อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของอาหารเสริมอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม
    7. การฉีดยาน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าช่วยรักษาได้แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนเท่านั้น ในคนปกติจะมีเนื้อเยื่อรอบหัวเข่าผลิตสารหล่อลื่นช่วยในการเคลื่อนไหวในข้อเข่า เมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อมน้ำมันหล่อลื่นในข้อเข่ามีการเปลี่ยนสภาพไป ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม รวมถึงอาจมีปริมาณน้อยกว่าเดิมในผู้ป่วยบางคน จากการศึกษา (meta-analysis) พบว่าการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเทียมสามารถช่วยลดอาการปวดและเพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ในผู้ป่วยบางคนเท่านั้น โดยจะช่วยรักษาอาการได้ประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย

    8. การใช้งานข้อเข่าที่รุนแรงหรือในท่าผิดปกติ ต่อเนื่่องเป็นระยะเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องนั่งยองหรือคุกเข่านานๆ สามารถส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อมและเจ็บเข่าได้ในระยะต่อมา
    9. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาทุกคน เพราะอาการข้อเข่าเสื่่อมจะแบ่งความรุนแรงทางภาพเอกซเรย์ได้ 4 ระดับ ซึ่งความรุนแรงระดับที่ 3 หรือ 4 เป็นระดับที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด อย่างไรก็ตามการจะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดยังต้องพิจารณาร่วมกับกับอาการปวด และคุณภาพชีวิตในด้านการยืน เดิน ของผู้ป่วยด้วย
    10. การป้องกันข้อเข่าเสื่อมทำได้หลายวิธีทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่่หลีกเลี่ยงได้คือการปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าที่รุนแรงติดต่อกันระยะเวลานาน หรือออกกำลังกายบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงเป็นต้น แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ อายุที่มากขึ้นนั่นเองที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

    สำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่องเจ็บเข่า หรือ ไม่สามารถการลงน้ำหนัก เช่น หลังผ่าตัดใหม่ๆบริเวณขาหัวเข่าข้อเท้าหรือเท้า ผู้ที่เจ็บเข่าเวลาวิ่ง หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจนการวิ่งอาจทำให้มีปัญหาของขาหรือเข่าในภายหลังได้ ผู้ป่วยอาจใช้ Alter G ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงช่วยในการออกกำลังกายได้ สามารถติดต่อได้ที่ BASEM สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ


    อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/10-questions-about-knee
     

แชร์หน้านี้

Loading...