46./ศ.28 มี.ค.51/ อนุตตริยสูตร (ภาวะอันเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 26 มีนาคม 2008.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


    ๑๐. อนุตตริยสูตร

    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้
    ๖ ประการเป็นไฉน
    คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑
    ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ

    ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ
    ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่
    หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระ
    ตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

    ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือ
    ได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
    ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของ
    พระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ
    ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

    ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษา
    ศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้น
    เป็นการศึกษาเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะสิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

    ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
    นี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
    บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก
    ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวก
    ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนา
    นุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

    ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
    นี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึก
    ถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ

    ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ

    จบอนุตตริยวรรคที่ ๓

    ที่มา.. http://d71233.u23.bangkokserver.net/tipitaka/read/?22/301/363


    ............

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.302520/[/MUSIC]​

    (๑๒๖) อนุตตริยะ ๖ (ภาวะอันเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2009
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,884
    ขออนุโมทนาคะพี่ผ่อน

    เสียงพี่ผ่อนเหมาะสมกับการอ่านธรรมะคะ
     
  3. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    การฟังธรรมของพระตถาคต หรือ สาวกของพระตถาคต เป็นการฟังอันยอดเยี่ยกว่าการฟังทั้งหลายจริงๆ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้แก่พระนิพพาน จริงๆ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นิพพานะปัจโยโหตุ
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ....ดีแล้ว ชอบแล้ว
     
  5. charttida

    charttida สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณค่ะ..ได้ฟังแล้วรู้สึกดีมากๆค่ะ..ไว้นุกจะไปฝึกอ่านให้ได้จังหวะเสียงที่ฟังง่ายนะค่ะเพราะปกตินุกจะออกเสียงเร็วไปค่ะ..คงได้ทำบุญด้วยเสียงนะค่ะ.
     
  6. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    อนุโมทนา ดีครับ คุณนุก ก่อนนั้นผมมาอ่านใหม่ๆก็อ่านเร็ว เร่งมาก ทำให้รู้สึกเครียดมาก ก็ตามฟัง เพื่อนๆสมาชิกอ่าน หลายๆคน ดูที่เขาเก่งๆ ก็รู้สึกว่าเขาอ่านไม่เหมือนเราคือ อ่านช้าๆ เว้นจังหวะ วรรคตอนได้ดีกว่าเรา ก็มาฝึกบ้าง

    แรกๆฝึกให้อ่านช้าลง และฝึกเว้นวรรคตอนนั้น รู้สึกไม่คุ้น ต้องฝึกบ่อยๆ เพื่อความคุ้นเคย กับการค่อยๆอ่านและ การเว้นวรรคตอน

    ที่สำคัญที่พบกันตนเองคือ การวางใจให้ปกติสบายๆ อย่าเร่ง อย่ารีบ อย่าใจร้อน ค่อยๆอ่านอย่างเอาใจใส่ ด้วยความจดจ่อ ด้วยความพยายามอย่างเป็นสายกลางไปน่ะครับ

    ถึงพยายามฝึกแล้ว ผมก็ยังรู้สึกว่าเผลอเร่งอยู่เรื่อยๆ ฉะนั้นจึงต้องตั้งสติให้ดีครับ

    ที่ผมประสบมากับตัวเอง คือ ถ้าเราจะให้งานออกมาดี ก็ซ้อมอ่าน หลายๆ เที่ยว ไม่ต้องรีบอัดอัพขึ้นเว็บมา แต่หากเราอ่านหลายๆเที่ยว แล้วพักเหนื่อยใจเย็นๆ พักเว้นช่วงเป็นเวลาหลายๆชั่วโมง ระหว่างนั้นก็ทำกิจอื่นๆไปก่อน

    แล้วก็มาฝึกอ่านอีก สัก 1- 2 เที่ยวแล้วพัก เมื่อพักนานแล้วก็อ่านอีก 1-2 เที่ยว ก็พักอีก พักนานแล้วก็ซ้อมอ่านอีก จนรู้สึกคล่องแม่นดี ก็จึงอัด ระหว่างอัดมีอ่านผิด พลาดก็มี ก็หยุดออกเสียง แต่ปล่อยโปรแกรมเดินไป แล้วค่อยอ่านต่อ ตรงไหนอ่านพลาดก็หยุดออกเสียง สักครู่แล้วค่อยอ่านใหม่ เมื่ออ่านจบแล้ว จึงเปิดเสียง ตัดเสียงที่ใช้ไม่ได้ออกไป (ผมใช้โปรแกรม WavePad)

    ผมเคยอ่านซ้อมหลายเที่ยวมากมาย เช่นมากกว่า 3-4-5 เที่ยวกะว่าให้คล่องตัว ได้ผลลัพท์คือ เจ็บคอมาก จึงเปลี่ยนมาอ่าน 1-2 เที่ยวก็พักนานๆ เช่นนาน 2 ชม.เป็นต้น แล้วค่อยมาอ่านซ้อมอีก รู้สึกว่าได้พักหลอดเสียง ได้พักจิตใจ และได้พิจารณาที่เราอ่านไปแล้ว และปรับปรุงให้ดีครับ

    ควรรักษาสุขภาพนอนให้พอ ผมนอน 7 ชม. ทำใจให้สบายๆ สุขภาพกาย ใจดี สิ่งที่เราทำก็จะออกมาดีกว่าที่เรา นอนน้อย และใจไม่สบาย

    ลองฝึกดูนะครับ การอ่านพระไตรฯนี้ ได้บุญมาก ผมเชื่อว่าใครๆที่ได้มาอ่าน นับว่าได้มีโอกาสดี ที่ฝ่าฟันอุปสรรค์มาอ่านได้ ทำให้ผู้คนอื่นๆได้ยินได้ฟังพระไตรปิฎก เท่ากับเราทำกุศลแก่ผู้ฟังด้วยดี

    ขออนุโมทนาทุกท่านครับ[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2008
  7. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ธรรมประจำจุติ ๑
    คืออนุตตริยะ ทั้งหก ผู้ที่มีจุติ ดาวอาทิตย์
    ปัญญาจริต

    ศึกษาได้จาก คัมภีร์สุวรรณโคมคำ เพื่อพิจารณาจุติของตน
    คลิก เวปไซด์ ข้างล่าง

    อนุโมทนาสาธุการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...