{O}กระทู้เตือนภัยจากการสนทนากับบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ {O}

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 23 ธันวาคม 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    "สงสารและเวทนา" ขอให้พลวปัจจัยในบุญเก่าของเขาเหล่านั้นมีบ้างก็ยังดี แผ่เมตตาให้เขากันครับ สำหรับสรรพสัตว์ผู้เกิดมาอาภัพที่ไร้ที่พึ่งพาไร้ทิฏฐิความเชื่อไร้ศาสนา ซึ่ง เพจศาสนาวิจารณ์ ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรที่เป็นมรรคผลหรือองค์คุณความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฎิบัติตามหลักศาสนาต่างๆ อีกทั้งย่อมไม่ปรากฎ"หัวข้อที่จะสนทนาไปให้ถึงที่สุดได้ จากผู้ที่ไม่มีศาสนาครับ

    ถ้าท่านสหธรรมิกหวังความเจริญในพระสัทธรรม ไม่ควรบ้าน้ำลายกับผู้ไร้ทิฏฐิ อย่างบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิซึ่งเป็นอวิชชาห้อมล้อม

    ไม่ใช่แอนตี้นะครับ แต่ขนาดเดียร์ถีย์เขายังเป็นไม่ได้ เขาจะไปเป็นอะไรได้ ยังไม่สามารถติด ๑ ในอันดับของบัว ๔ เหล่าได้เลย

    แม้ในพระพุทธศาสนาขนาดกับพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีคุณสมบัติก็ยังทรงห้ามปรามไม่ให้ไปสนทนาธรรมด้วยครับ เพราะจะได้แต่สัทธรรมปฎิรูปความรู้ผิดเห็นผิดกลับมา

    พระพุทธองค์ก็ใช้วิธีการที่คนฝึกม้ากล่าวไว้นั้น ย้อนกลับมาเป็นอุปกรณ์การสอนของพระองค์ ด้วยพระดำรัสว่า “เราย่อมฝึกคนด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีที่ทั้งละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง และถ้าฝึกไม่ได้ก็ฆ่าเสีย” แต่ในกรณีการฆ่าของพระองค์นั้น หมายถึงการไม่เอาใจใส่ต่อบุคคลที่ไม่มีความสนใจในธรรม จึงฆ่าเสียคือปล่อยให้หล่นไปสู่หนทางที่ไม่ดี เพราะสาเหตุจากการไม่สนใจของบุคคลนั้น การทำในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็นแนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น...
    ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคำนึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และหย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดำรงชีวิตอยู่อย่างไร จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนำไปใช้เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตของเขาได้

    ("คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว นั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรมงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน")

    เป็นไม่ได้แม้แต่ที่นาเลวๆ

    มหาจัตตารีสกสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิรู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผลผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

    ไม่เชื่อในมหาจัตตารีกสูตร

    พระพุทธดำรัส
    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.


    คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีไว้เพื่อสั่งสอน ผู้มีปัญญามีสัมมาทิฏฐิ
    ไม่ควรอบรมปะทะคารมกลับกลุ่มคนที่ไร้ทิฏฐิความเชื่อและไร้ศาสนาครับ เพราะไม่เป็นปัจจัยแก่เขาเพราะเขาจะพูดและกระทำยิ่งกว่าผู้ที่ถือบวชในพระพุทธศาสนา



    นะ เต อะหัง อานันทะ ตะถา ปะรักกะมิสสามิ, ยะถา กุมภะกาโร อามะเก
    อามะกะมัตเต,

    อานนท์ ! เราจะไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
    เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,


    นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ, ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
    วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,

    อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
    อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,



    เรื่องพระพูดถลากไถลนอกเรื่อง
    เล่ากันว่า ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติชื่อนี้และชื่อนี้. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผมเดินทางไปนาคทวีป. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส พวกเราไม่สนใจเรื่องที่ท่านไปนาคทวีป แต่พวกเราถามท่านว่า ท่านต้องอาบัติหรือ.
    ภิกษุหนุ่ม. ท่านขอรับ ผมไปนาคทวีปแล้วฉันปลา.
    ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส เรื่องฉันปลาของคุณ พวกเราไม่เกี่ยว เขาว่าคุณต้องอาบัติ.
    ภิกษุหนุ่ม. ครับผม ปลาไม่ค่อยสุก ทำให้ผมไม่สบาย.
    ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส คุณจะสบาย หรือไม่สบาย พวกเราไม่เกี่ยว (แต่) คุณต้องอาบัติ.
    ภิกษุหนุ่ม. ขอรับ กระผมเกิดไม่สบาย ตลอดเวลาที่อยู่ในนาคทวีปนั้น.
    ด้วยเรื่องตามที่เล่ามานี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าย่อมพูดถลากไถลไปนอกเรื่อง โดยการเอาเรื่องอื่นเข้ามาพูดซอกแซก.

    ไม่ว่าจะเป็นสรรพสัตว์เหล่าใดก็ตามทั้งทั้งอนันตริยจักรวาลมีทิฏฐิความเชื่อเพียง ๖๒ ประการเพียงเท่านั้นครับ พรหมชาลสูตรนี้คือ พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนคนไม่เชื่อไม่นับถืออะไรเลย แต่คิดว่ามีหรือไม่มีก็ตาม ชนกลุ่มนั้นตกทิฏฐิ ๖๒ ออกข้างนอก ไม่เป็นผู้ที่สามารถที่จะถือทิฏฐิใดๆได้เลย ทรงตรัสว่่า "ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน." คือ อวิชชา เต็มเครื่องครับ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย

    คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น

    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ

    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต ... มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้นไม่ต้องสั่งสอน) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ... มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ



    สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภนิรุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕

    ทำไมจึงสำคัญนัก ทำไมจึงต้องบรรลุ
    ปฎิสัมภิทา เลิศอย่างไร? แล้วท่านจะได้อะไร?จากผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ และจะได้อะไร?จากผู้ไม่บรรลุปฎิสัมภิทา

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
    ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
    องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
    องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
    ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ

    อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา
    นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔
    บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญและในการกระทำพระนิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอาปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันพระอริยบุคคลนั่นแหละจะต้องได้ ขึ้นแสดงต่อจากผัสสนญาณนั้น.

    แม้ในปฎิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใครๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงยกอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่นั้นก็ยกธรรมปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัยแห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฎิสัมภิทาญาณ เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น.

    อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
    ว่าด้วยวิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
    ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.
    จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณเป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณเป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
    แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทากถาว่า๑-ธรรมปฏิสัมภิทา.
    ส่วนญาณในนิพพานเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.

    ผู้ได้พบได้เห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ย่อมจักเป็นผู้ได้เสวยวิมุตติธรรมตั้งแต่ระดับ วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ ตลอดจนขึ้นไปถึง สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ

    ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นกำลังที่ครอบคลุมได้ทั้งอภิญญา ๖ วิชชา ๓ และสุกขวิปัสสโก บุคคลอย่างน้อยต้องปฏิบัติจนถึงระดับพระอนาคามีขึ้นไป กำลังของปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ถึงจะปรากฏขึ้น
    ปฏิสัมภิทาญาณนอกจากความสามารถแบบเดียวกับอภิญญา ๖ แล้ว ยังมีความสามารถพิเศษ ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธัมมาปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้รู้ทั้งเหตุและผล รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นตรงนี้ สาวไปแล้วมาจากเหตุอะไร รู้ว่าเหตุนี้ถ้าเราทำแล้วจะเกิดผลอะไร แล้วก็ละในเหตุที่ไม่ดี ทำแต่ในเหตุที่ดีเท่านั้น ก็จะได้แต่ผลที่ดี

    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้เฉลียวฉลาด สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างไปโดยสะดวกง่ายดาย นิรุกติปฏิสัมภิทา มีความชำนาญในภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษากาย ภาษาใจทุกอย่าง ก็เลยกลายเป็นความสามารถพิเศษที่ครอบคลุมอภิญญา ๖ ไปอีกชั้นหนึ่ง พูดง่ายๆ ว่ามีมากกว่าอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง
    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    อรรถาธิบายผมครับ

    ปุจฉา

    การสนทนาแลกเปลี่ยนธรรม กันเพียงครั้งเดียว..มีค่ากว่าการอ่านตำราหนังสือถึง 100 เล่มเกวียนทีเดียว กัลย ณ มิตร พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเลิศประเสริฐกว่าใครๆหรือตำราใด เหตุใด ท่านไม่ตระหนัก ไม่ตระหนัก ถึงปัญญานี้ น่าเสียดายยิ่ง


    วิสัชนา

    ท่านต้อง เข้าใจคำว่า มงคลนี้เถิดว่า มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล [ อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง) ]. พาล แปลว่า โง่เขลา ... มงคลที่ ๒ - คบบัณฑิต [ ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) ]


    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ท่านไม่ส่งเสริมให้เจรจาพาทีกับผู้ไม่พร้อมรับการฟังธรรม ยกเว้น แต่ พระประสงค์ ณ ที่พระองค์ ที่ท่านทรงพระทศพลณญาณ ๑๐ พิจารณาแล้ว ว่าสำเร็จได้ อันมีเหตุให้เกื้อกูลกัน


    ถ้าหมายจะแลกเปลี่ยนธรรม ผู้มีปัญญาท่านกล่าววาจางาม กล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต เป็นอุปมาพิศดารเสวนาธรรมกัน ไม่ใช่ สากกระเบือยันเรือรบอะไรก็ได้ที่คิดจะพูดจะกล่าว นี่เรียกว่าไม่รู้ภาษิตในการเสวนา

    ดูพระสูตรที่กล่าวกับอุรุเวละ เวรัญชพราหมณ์ เถิด

    ไพเราะเพราะพริ้งเจ็บแสบถูกต้องตามหลักธรรม สัมมาทิฐิ กับ มิจฉาทิฐิปะทะกันน่ะรู้จักไหม ประเภทท่านกับเราน่ะ คือ นิวรณ์ วิจิกิจฉาธรรมในธรรม ปะทะกับ สัมมาธรรม คือไข่กระแทกหิน ใครทรงจำได้มากกว่าเจริญในธรรมหนึ่งธรรมใดมากกว่าย่อมเป็นผู้รู้ ท่านอาจจะมองธรรมอื่นได้ละเอียดกว่าเรา เราก็ให้ท่านแสดงมาได้ ไม่ถูกเราโต้กลับคลายสงสัย เราไม่รู้ไม่เห็นเราไม่ตอบ เราพึงถามท่าน เราพึงพิจารณาจากธรรมที่ท่านสาธยายมา นี่เรียกว่า เคารพกันด้วยธรรม ฐานะเราไม่ใช่ต้องเอาธรรมใหญ่ที่มีมาข่มท่าน แต่ให้ท่านพิจารณา จงแสดงธรรมอย่างเอื้อเฟื้อเมตตาเถิด จงยึดถือเป็นแบบอย่างตาม

    ถ้าเป็น[สัมมาทิฏฐิ] ใครมีต้องยอมรับครับว่าเขามี และมีเพื่อความเจริญในธรรมเพียงฝ่ายเดียว เพราะนี่คือเรื่องธรรม ถ้าเป็น[มิจฉาทิฏฐิ]เป็นเรื่องนำไปสู่อธิกรณ์ยังความปั่นป่วนวุ่นวายในใจ ใครมีก็ต้องยอมรับว่ามีครับ ต้องล้างใจให้สะอาดเริ่มต้น นับ ๑ ใหม่นี่คืออริยวินัยครับ มีแต่ฉุดช่วยไม่มีซ้ำเติมกันเกินกว่าธรรม

    การที่เราจะถ่อมลดตัว ถอยสัก ๑ ก้าวเพื่อให้เกียรติบุคคล ในอดีตสักครั้ง ทั้ง ทาง กาย วาจา ใจ สำหรับฐานะบุรุษแล้ว นับเป็นการน่านับถือใจ แต่หากไม่เป็นที่ชอบใจ ก็ไม่ใช่ว่าจะต้อง ทุกข์ร้อนอันใด เพราะเราได้แสดงความจริงใจ ที่มีนั้นแล้ว สำหรับผู้มีปัญญา ย่อมมองเห็นว่า ไม่เป็นการเสียหายอะไร ในฐานะปุถุชน แต่ในฐานะอื่นที่เจริญปัญญา มากกว่านี้ ใน[พระสัทธรรม] นั่นมิอาจยอมเสียได้ รู้ดังนี้ก็วางเฉย ผู้หวังความเจริญ ย่อมมองเห็น และสามารถประเมินกาล ล่วงหน้าถึงกาลอนาคตได้ ย่อมปล่อยวาง

    พระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ

    ๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

    ๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผล คือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี

    ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง

    ๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่าง เป็นเรื่องไร้สาระบ้างตั้งคำถามผิดบ้าง พูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า "ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น"

    คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
    คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
    ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็นกาลวาที สัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรมวาที วินัยวาที

    "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ

    เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
    เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
    เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
    เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
    เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น "

    {O} ว่าด้วยกำเนิดบุคคล ๑๐ จำพวก หลังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน{O}

    จำพวกที่ ๑ มีโอกาสที่จะได้รับรู้มีความเข้าใจ และปราถนาโดยเห็นว่า " ในรูปลักษณะต่างๆ ในสิ่งก่อสร้างในพระปฏิมาใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้น เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธวจนะ ในพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๒ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " พระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด ที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าตามพระพุทธวจนะ ตามพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๓ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ทั้งรูปพระปฏิมาและพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ควรอยู่เคียงคู่กันตลอดไปโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๔ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " จะมีพระธรรมปฏิมาใดใดก็ตาม พระธรรมคำสั่งสอนใดใดก็ตาม แม้จะมีแค่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๕ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ถึงแม้จะมีหรือไม่มีสิ่งใดก็ตาม จะเกิดธรรมอันประเสริฐ มีคุณวิเศษเพียงใดก็ตาม ที่ปรากฎในพระพุทธศาสนานี้ ก็หาได้มีความหมายหรือมีประโยชน์ ในการใดใดแก่ตนและพวกพ้อง

    จำพวกที่ ๖ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ยังลังเลสงสัยอยู่เมื่อได้ยิน และได้พบเห็นทุกๆสิ่งที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนา และยังก็ลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น โดยตลอดโดยไม่มีความเข้าใจว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ และสิ่งใดไม่มีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๗ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " สมควรเกลียดชัง กล่าวให้ร้ายป้ายสีและจ้องจะทำลาย อยู่เสมอๆในทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีโอกาส ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    " จำพวกที่ ๘ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " เห็นดีเห็นงามตามบางสิ่งบางอย่าง ในพระพุทธศาสนาและนำเอาไปประพฤติใช้ โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๙ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนา โดยเห็นว่า " ทุกสิ่งทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสำนัก และในลัทธิ ในศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่แล้ว โดยถือเอาเป็นของตน ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๑๐ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ด้วยห่างไกลตามภาวะกรรมบันดาล ทั้งไม่มีความเข้าใจและความปราถนา โดยการใดๆเลยในพระพุทธศาสนา ด้วยขาดการศึกษา,การเรียนรู้,การเจริญภาวนา,การพิจารณาไตร่ตรอง จึงไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดใด แก่ตนและพวกพ้อง


    อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูให้เห็นกับตา (สันทัสสนา)
    ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้อยอมรับ และนำไปปฏิบัติ (สมาทปนา)
    เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
    ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากกาปฏิบัติ (สัมปหังสนา)
    อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน


    ผู้ใดถ้าไม่มีพื้นฐานศรัทธาอันมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันดีอย่างแรงกล้าแล้ว ย่อมมีความฉงนสงสัย ในพระพุทธคุณ ในพระธรรมคุณ ในพระสังฆคุณที่ตนเองไม่สามารถรับรู้พึงพิจารณามองเห็นได้ เนื่องด้วยจริตธรรมของตนยังไม่ถูกพัฒนาในเหมาะสมแก่การรับรู้พระธรรม ต่อให้มียอดพระธรรมคัมภีร์ อยู่ตรงหน้าไว้ครอบครองเปิดอ่าน ต่อให้ท่องจำได้หมดก็มิอาจเข้าถึงสำเร็จธรรมได้ ฉันใด

    ผู้ที่ได้สดับรับฟังในการศึกษาใคร่ครวญดีแล้วควรหมั่นเพียรพยายามด้วยตนเองเป็นที่ตั้ง พระพุทธศาสนาไม่ได้มีการยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเอาชนะด้วย วาทะ อรรถพยัญชนะทั้งมวล เป็นศาสนาที่ต้องพึ่งพระธรรมพึ่งพาตนเอง ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทำพระนิพพานให้แจ้ง ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงไม่ควรคาดหวังว่า ตนเองอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรสิ่งใดก็ได้ อีกหน่อยก็จะมีใครสักคนที่รู้แจ้งเอาพระนิพพานมาแจก ไม่ใช่เรื่องไม่ใช่ฐานะในพระพุทธศาสนา ขอจงใคร่ครวญ ควรเรียน การใช้วจีในการเสวนา จากวาทีสูตรนั้นก่อนจะช่วยเพิ่มสติปัญญา ในการระลึกถามผู้อื่นในคราต่อไป เพราะการถามอย่างมีเหตุอันสมควรจะช่วยเพิ่มสติปัญญาความเข้าใจ มากกว่าการถามโดยทั้งๆที่ไม่มีเหตุอันควร แม้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องดีงามเข้าใจง่าย ก็จะไม่มีสติปัญญาในการรับรู้และเข้าใจเนื้อความอย่างลึกซึ้งใดๆนั้นได้


    ฉนั้นการถามการใช้อรรถพยัญชนะบางทีก็บ่งบอกถึงสติปัญญาของผู้ถามที่มี ดังที่ปรากฎในพระสูตรหลายบท ซึ่งเป็นคำถามที่ไร้ประโยชน์ไม่มีคุณค่าที่สมควรให้ความสนใจในการประพฤติธรรมตามหัวข้อนั้นๆตามลักษณะกาลเวลา เช่นแสดงเรื่องความสว่าง กับอยากรู้เรื่องอาหารการกิน นี่เรียกว่า ไม่เข้าใจในการลำดับความสำคัญสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นกับประพฤติย่อหย่อนไม่พยายามด้วยตนเอง จงพึงพิจารณา

    ข้าพเจ้าขอให้ธรรมที่เป็นทานอานิสงค์องค์แห่งความรู้ต่อท่านทั้งหลายว่า" บุคคลใดที่มีจิตใจซื่อตรง บริสุทธิ์ ละเอียดอ่อน อุปมาประดุจเด็กอ่อนทารกต้องการเพียง ความรักและนมของมารดาเลี้ยงชีพ ผ่อนคลายความหิวเพียงเท่านั้น ! บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงสภาวะธรรมอันละเอียดอ่อนที่สามารถเข้าถึงได้โดยยาก


    ส่วนบุคคลใดที่ถูก อวิชชา ที่บีบคั้นตามสภาพครอบครัวและวัฒนธรรม ตามสังคมครอบงำจนกลายเป็นคน ไร้จริยธรรม คุณธรรม ในหลักธรรมตามพระพุทธศาสนานี้เพราะถือดี จะไม่มีทางได้เข้าถึงองค์คุณในการตรัสรู้ธรรมได้เลย

    ฉนั้นขอจงกลับเนื้อกลับตัว ละวาง อวิชชา มิจฉาธรรมที่มีในตน อย่าดูถูกตนเองว่าจะไม่เห็นธรรมอันบริสุทธิคุณ ขอจงมีความศรัทธา ความเพียร ท่านจะได้พบธรรมตามสถานะธรรมที่สมควรแก่ท่าน ดังที่เคยได้สั่งสมไว้และพยากรณ์ไว้แล้วนั้นเทอญฯ

    ธรรมนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน เหล่าพุทธบริษัทและเวไนยสัตว์ตามกรรมทั้งหลายเพื่อความพ้นทุกข์โดยตรง มิใช่เพื่อสิ่งอื่นใด ตั้งใจนะครับ ขอเป็นหนึ่งแรงใจให้ท่านพ้นทุกข์


    " จงตั้งใจ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ยังไม่เคยสร้างกรรมใหญ่ ชาตินี้มีโอกาส "
    จงเลือก ไม่เลือกไม่ได้ มนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ ไม่เลือกไม่ได้

    หากจะให้เลือกระหว่าง การขุดแงะชอนไชกัดเซาะที่เป็นที่ไปที่มาของพระธรรมคำสั่งสอน๑ กับ การสรรเสริญพระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้๒ ควรเลือกอย่างที่๒จะเป็นการดีเป็นมรรคเป็นผล ที่ไม่มีเหตุแห่งความเสื่อมเลย ผู้ใดยังสงสัยและหลงทางอยู่ ไปไม่ถูก ให้ล้างใจให้สะอาด และกล้าที่จะเผชิญกับความจริง ขอจงเดินกลับไปเริ่มต้นยังจุดเริ่มต้นใหม่ สร้างวิริยะศรัทธาให้มากขึ้นกว่าเดิม อย่าดูถูกดูแคลนตนเอง อย่าดูถูกผู้อื่น แต่จงชี้แจงเหตุและผลตามความเป็นจริง และตามฐานะอุตริมนุษยธรรมที่มีในตน และอย่าหมายใจหวังในตนและผู้อื่นเพื่อการสรรเสริญตนเอง จงสรรเสริญพระธรรมนั้นเถิด มีพระธรรมนั้นแล จึงมีเรา ผู้ใดเห็นเรา จึงเห็นธรรม


    หวังว่าจะได้ประโยชน์จากกระทู้นี้ไม่มากก็น้อย สาธุธรรมฯครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    โปรดจงพิจารณา

    จะเรียนธรรมของพระพุทธเจ้าให้ได้สามัญผล ต้องตัดความสนใจจากเรื่อง ที่พระองค์ไม่ยินดีออกเสียก่อนจึงจะเป็นเหตุและผล ทำให้ได้ให้ถึงก่อน ค่อยว่ากันทีหลัง ทำไม่ได้ไม่ถึงมันจะขวางทางธรรมของตนเอง ไม่สามารถพิจารณาธรรม อันจักเจริญสูงขึ้นไปกว่านั้นได้


    ๙. ปฐมวัตถุกถาสูตร
    ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
    เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัย
    นั้นแล ภิกษุเป็นอันมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่
    หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่อง
    โจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่อง
    น้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
    เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ
    เรื่องตรอก เรื่องทำนา เรื่องคนล่วงลับไปแล้ว เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
    เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น.

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จ
    เข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนอาสนะอันเขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้ว จึงตรัส
    ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุม
    สนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้าง
    ไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-
    วโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุม
    กันที่หอฉัน สนทนาซึ่งดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา
    เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มี
    พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายสนทนากันถึง
    ดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ
    เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร
    ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
    คือ อัปปิจฉกถา ๑ สันตุฏฐิกถา ๑ ปวิเวกกถา ๑ อสังสัคคกถา ๑ วิริยา

    รัมภกถา ๑ สีลกถา ๑ สมาธิกถา ๑ ปัญญากถา ๑ วิมุตติกถา ๑ วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลายยึดถือเอากถาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้
    แล้ว กล่าวเป็นกถาไซร้ เธอทั้งหลายพึงครอบงำเดชแม้ของพระจันทร์
    และพระอาทิตย์ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยเดชได้ จะป่วยกล่าวไปไย
    ถึงปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเล่า.

    จบสูตรที่ ๙

    เอาไปวางแล้วค้นหาความหมายแต่ละกถา แล้วศึกษาตามกาลก่อน แม้แต่เราเองก็จะต้องพิจารณาธรรมข้อนี้ศึกษาอย่างละเอียดอ่อนเหมือนกัน เพราะถ้าไม่เริ่มจากตรงนี้ก็ตีไม่แตก ย่อมไม่มีปัญญาแทงตลอดได้ จะเป็นคนกลวง มีข้างนอกแต่ไม่มีข้างใน


    สำหรับเรื่องอื่น
    ดูหัวข้อแล้วพิจารณาอ่านให้ถึงข้อความข้างใน ว่าเรื่องไปในแนวทางใด ออกจาก กถาวัตถุทั้ง ๑๐ หรือไม่ เรื่องของธรรมะไม่ใช่เงาะหรือลิ้นจี่กระป๋อง แซนวิช ที่จะมาสอดไส้ผสมปนเปกัน

    พยายามตัดให้ขาด นั่งคิดนอนคิดเวลาว่างๆ ว่าชีวิตๆหนึ่งสมควรคิดพิจารณาในเรื่องที่หาประโยชน์ได้จริงๆ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์แห่งทรัพย์ภายนอก ควรเป็นประโยชน์อันเป็นที่มาแห่งทรัพย์ภายในให้เจริญงอกงามในตน จะอดตายหรือถูกทอดทิ้งก็ช่างมัน

    ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ อย่ารีบ อย่าบีบคั้นตนเอง ไม่อย่างนั้น จะถูกสภาวะสังคมคนรอบข้าง บีบคั้นความรู้สึกตนเอง เมื่อไม่มีที่ยึด ศรัทธาไม่มั่นคง อาจเสื่อมถอยและเกิดความท้อแท้ใจ จนละทิ้งจากมรรคผลที่จะได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126 KB
      เปิดดู:
      484
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204

    ถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง

    ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
    ตรงข้ามกับคำชักจูงให้เกิดความโลภโมโทสัน

    ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้

    ตรงข้ามกับ คำชักนำให้เกิดการแสวงหา ในสิ่งที่สะสมกิเลส

    ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ

    ตรงข้ามกับ ถ้อยคำส่อเสียดนินทา เพ้อเจ้อ เหลวไหล
    ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส

    ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชั
    ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่


    ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารถนาความเพียร


    ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล


    ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ


    ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
    กนำให้เกิด ความรู้เห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    โลกของคนไร้ศาสนาไร้ทิฏฐิความเชื่อแต่อวดตนว่าดีกว่า จึงไม่มีอยู่จริง ไม่มีอยู่จริง เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

    ในประวัติศาสตร์

    เห็นจะมีแต่โอ้อวดมีมารยาและหลงใน มานะ๙

    มิจฉาทิฏฐิ 10
    1.นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่าทานที่ให้ไม่มีผล
    2.นตฺถิ ยิฏฺฐํ เห็นว่าการบูชาไม่มีผล
    3.นตฺถิ หุตํ เห็นว่าการสักการะไม่มีผล
    4.นตฺถิ สุกทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าไม่มีผล แห่งกรรมดี-กรรมชั่ว
    5.นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่าไม่มีโลกนี้
    6.นตฺถิ ปรโลโก เห็นว่าไม่มีโลกอื่นหรือชาติหน้า
    7.นตฺถิ มาตา เห็นว่าพระคุณของแม่ไม่มี
    8.นตฺถิ ปิตา เห็นว่าพระคุณของพ่อไม่มี
    9.นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าไม่มีสัตว์ที่จะผุดเกิด เชื่อว่าตายแล้วสูญ
    10.นตฺถิ โลโก สมณพฺราหฺมณา สมฺมาปฎิปนฺนา
    เห็นว่าไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติจนบรรลุมรรผลเป็นพระอริยะ

    มานะ คือ ความสำคัญตนว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ มีอยู่ 9 ประการดังนี้

    1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

    2. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

    3. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

    4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

    5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

    6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

    7. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

    8. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

    9. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

    ในมานะ 9 ประการนี้ มีทั้งที่เข้าใจหรือสำคัญตัวเองถูกต้อง และเข้าใจคนอื่นถูกต้อง และเข้าใจตนเองไม่ถูกต้อง และเข้าใจคนอื่นหรือประเมินคนอื่นไม่ถูกต้องด้วย


    สงสารและเวทนาผู้ไร้ศาสนาไร้คติความเชื่อ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้าไม่รู้ดีรู้ชั่ว เขามีชีวิตอยู่ในสังคมกันมาได้อย่างไรจนถึงบัดนี้ คนหูหนวกตาบอดยังรู้ดีรู้ชั่วมีศาสนามีคติความเชื่ออยู่บ้าง แม้แต่ผู้อยู่ป่าอาศัยเป็นคนป่าคนดอยก็มีคติความเชื่อตามสภาพและสังคมนั้นๆ ฉนั้นแล้ว บุคคลผู้ประกาศยกตัวเองให้สูงส่งกว่าผู้มีศาสนา โดยที่ตัวเองก็ไม่มีศาสนาและก็ไม่มีคติความเชื่อใดๆ

    "เป็นเพียงผู้ป่วยที่บกพร่องทางจิตและมีความสับสนรักอิสระภาพและอยากจะใช้ชีวิตแบบแหกกฎเกณฑ์ในชีวิตเพียงเท่านั้น "

    "สงสารและเวทนา" ขอให้พลวปัจจัยในบุญเก่าของเขาเหล่านั้นมีบ้างก็ยังดี แผ่เมตตาให้เขากันครับ สำหรับสรรพสัตว์ผู้เกิดมาอาภัพที่ไร้ที่พึ่งพาไร้ทิฏฐิความเชื่อไร้ศาสนา ซึ่ง เพจศาสนาวิจารณ์ ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรที่เป็นมรรคผลหรือองค์คุณความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฎิบัติตามหลักศาสนาต่างๆ อีกทั้งย่อมไม่ปรากฎ"หัวข้อที่จะสนทนาไปให้ถึงที่สุดได้ จากผู้ที่ไม่มีศาสนาครับ

    มหาจัตตารีสกสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิรู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผลผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
    ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
    ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

    ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด

    ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ
    ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
    ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
    ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
    จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
    กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
     
  5. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    สาธุในธรรมค่ะ

    ท่านสหธรรมิก ..... ในสมัยนี้ผู้คน มองเห็นผู้มีศีล
    ผู้มีศาสนาเป็นตัวตลก ยังจะปรามาสด้วยความเขลา
    ยังจะวิจารณ์เขาด้วยความดูถูก บุคคลเหล่านั้น เขลา ในปัญญา อภัยเขาเถิด เพราะคนที่ชอบว่าชอบวิจารณ์ดูถูกคน มีกระแสไม่ดีติดตยตามคำพูดไม่ดีนั่นๆ และมักจะทำแบบนี้ เป็นเนืองนิตย์ เป็นสันดาน...

    ยิ่งในกลุ่มผู้หญิงทางโลกด้วยแล้ว ...ไฉนเลย จะไม่พ้น เรื่อง “อวด” ข้อนี้ข้อใหญ่ อันสตรี มักจะมีวจีกรรมได้ง่ายกว่าบุรุษ ต้องพึงสำรวม ... แต่ปัจจุบัน ยกย่องสตรีที่ความงามภายนอก ไม่/ด้ดูถ้อยคำและปัญญา เพราะความก้าวหน้าทางเครื่องสำอางค์ ก็เสกสรรค์ให้เจ้าหล่อนสวยงามได้ดั่งใจ แต่นิสัยและถ้อยคำ กลับแก้ไขไม่ได้ เพราะเป็น วจีกรรม ...

    มีตัว อวดตัว มีลูกอวดลูก มีผัวอวดผัว อวดกับสิ่งที่ไม่จีรัง ว่ายวนอยู่กับกิเลสราคะตัญหาทั้งหลาย อันนั้นเราไม่ว่าหรอก เรื่องของหล่อน แต่ปากนินทา นี้ เราเห็นว่าไม่ควร...

    การเป็นเพื่อน การคุยกันถูกจริต ถูกคอ ล้วนเป็นกระแสบุญทั้งสิ้น .. บุญและบาปเท่านั้น จึงดึงดูดมาให้คุยด้วย ผู้ที่มีบุญร่วมกันเย็นจิต สบายใจ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเสเเสร้งและแนะนำตักเตือนให้พบแต่สิ่งดีงามอย่างแท้จริง...

    เมื่อก่อน มล ก็คิดโทษตัวเอง ไหลไปกับสังคม หน้ากากนี้ ตอบเลยว่า “ไร้สาระโคตระ “
    เราหยิบหน้ากาก มาใส่ดูความกาก ของใครอีกหลายคน ตอนนี้ จึงเงียบ วางอุเบกขา ช่วยได้เยอะ

    จาก เคยร้อนรนกระวนกระวายคำพูด มิจฉาทิฎฐิ กับคนอื่น ตอนนี้ ไม่สนใจและฆ่าให้ตายด้วยความสงบ
    พูดไปสิ ... ทำให้เห็น เย็นและนิ่ง อย่างเดียว ...

    คนที่มองเราแต่ข้างนอกนึกว่า ใจร้อน แต่ใจข้างในเราเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็งอลาสก้าเสียอีก...
    พวกเขาไม่รู้ ว่า มลปฏิบัติ และไม่ใช่เรื่องที่คนปฏิบัติต้องไปบอกใคร เราถือศีล 5 เป็นพื้นฐาน กระนั้น คนยังยึดถือคำพูดคนไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ มากกว่า ตัวมล เสียอีก...

    ตอนนี้ ไม่เสียใจ เพราะมีพระพุทธเจ้าเป็นร่มไทร
    บุญกุศลหนุนนำพบเจอมิตรภาพดีดี เข้ามาเอง

    ทำไมต้องไปให้ราคา คนตอแหล สร้างภาพ ทั้งที่ข้างในเน่าเฟะด้วยเล่า?

    บุญรักษาค่ะ
     
  6. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    ____________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2018
  7. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    ___________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2018
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อาการ หลง นี่น่ากลัว หลงทางจนมารบังคับควบคุมจิตใจ จนกลายเป็นทาสมาร

    "เป็นเพียงผู้ป่วยที่บกพร่องทางจิตและมีความสับสนรักอิสระภาพและอยากจะใช้ชีวิตแบบแหกกฎเกณฑ์ในชีวิตเพียงเท่านั้น "


    ก็ไม่รู้ว่าอยู่รอดมาได้อย่างไรในสังคมและในครัวเรือน ทั้งๆที่เป็นประเภทที่สร้างอนันตริยกรรม ๕?
    ฉนั้นบาปจากกรรมและอนันตริยกรรมทั้งหลายฯที่เกิดในโลก ก็ล้วนเกิดจากผู้ไม่มีศาสนาและไม่เอาศาสนา ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนา มีแต่เปลือกอย่างมือถือสากปากถือศีลทั้งนั้น
    มีแต่คนชั่วที่ไม่มีศาสนาและไม่ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาเท่านั้นที่กระทำความชั่ว (เว้นไว้แด่ศาสนาที่ละความพยาบาทเบียดเบียนเพียงเท่านั้น)

    นั่นจึงเรียกว่า ปุถุชนคนพาลพาโล อสัตบุรุษ

    จำพวกที่ ๗ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " สมควรเกลียดชัง กล่าวให้ร้ายป้ายสีและจ้องจะทำลาย อยู่เสมอๆในทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีโอกาส ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง




    จำพวกที่ ๑๐ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ด้วยห่างไกลตามภาวะกรรมบันดาล ทั้งไม่มีความเข้าใจและความปราถนา โดยการใดๆเลยในพระพุทธศาสนา ด้วยขาดการศึกษา,การเรียนรู้,การเจริญภาวนา,การพิจารณาไตร่ตรอง จึงไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดใด แก่ตนและพวกพ้อง


    บัญญัติบุคคล ๑๐ จำพวก นี้ได้มาในวันสำคัญทางศาสนา คือ7 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา

    ทำสมาธิเพียงชั่วอึดใจเดียวก็ปรากฎ ต่อให้เป็นอารมณ์บัญญัติของเราเองก็สามารถทำลายมิจฉาทิฏฐิ และ อคติ ๔ ที่จะเกิดในใจของเราได้ ต่อยอดไปจนถึงอุปกิเลส ๑๖ จึงทำให้รู้สึกเวทนาสงสารเขามากกว่าที่จะไปเกลียดชัง จึงควรมองตามความเป็นจริง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิอัน
    ชั่วช้า ฯ


    มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากฉันใด สัมมาทิฏฐิก็มีคุณมากฉันนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 831.jpg
      831.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.8 KB
      เปิดดู:
      207
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    NewyearLppRuesri.jpg
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    "ถ้าข้าไม่ลงนรกแล้วใครจะลง ขึ้นสวรรค์ไปให้หมดนั่นแหละ"

    คิดแล้วอยากเป็นพระเจ้าเองเลย

    สูงสุดในใจก็รักหมดน่ะล่ะ ห่วงหมด ไม่งั้นคงไม่ขอให้ตนเองตกนรกหมกไหม้หรอกถ้าว่าผลกรรมมันมีอยู่จริง ยอมทนทุกข์มากกว่าคนอื่น นี่คือ ปณิธานผม แต่จะต้องยอมรับว่า ความรู้แบบนี้มีอยู่ ศึกษาให้มันได้บ้างไปให้กว้างขวาง ให้อิสระเสรีภาพแก่ทุกๆคน ไม่ใช่ขัดลำกันเอง จะไปรักกันตอน พ.ศ.ไหน ตายแล้วก็ยังจะสมน้ำหน้ากันหรือ ก่อนนี้ ผมเดินไปแผ่เมตตาให้กับศพที่ตากใบ 87 ศพ ผมยังไม่ได้เป็นคนศาสนาอิสลามเลยยังเศร้าใจ จะประสาอะไรกับน้ำตาและความห่วงใยที่ผมจะมีให้กับคนที่คิดอย่างอื่นเล่า

    ห่วงมากจนบางที ถ้าเราเป็นมารร้ายได้แบบในตำนานตำราเป็นยักษ์เป็นมาร ก็อยากจะเป็นคนบาป ที่ฆ่าคนตายแล้วคนที่ตายนั้นได้ขึ้นสวรรค์ ถึงแม้เราตกนรกคนเดียวก็ยังอยากฆ่า ถ้ามันเป็นแบบนั้นได้จริงๆ มันก็น่าฆ่าทำลายล้างมนุษย์ให้หมดสิ้น จะได้เลิกเถียงกัน ไปให้หมดนั่นล่ะสวรรค์ ขออยู่ในนรกคนเดียวเอง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2017
  12. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    ____________________________________________________________
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2018
  13. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    __________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2018
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    "สมมุติ" แบบนี้มันก็เป็นลัทธิความเชื่อและศาสนาใหม่ ศาสนาสิ้นโลกของจริง คติเกิดจุติ ๔ จะปรากฎจริง แน่นอน

    ถ้ามันเป็นแบบนั้นได้จริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • angulimala.jpg
      angulimala.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206.3 KB
      เปิดดู:
      257
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2017
  15. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,198
    ท่านค่ะ เป็นอย่างไรค่ะ ลัทธิความเชื่อและศาสนาใหม่ ศาสนาสิ้นโลกของจริง
    คติ เกิดจุติ ๔ มีอะไรบ้างค่ะ
     
  16. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,198
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำสิ่งใดไว้ เขาย่อมได้รับผลตามนั้น แม้พระพุทธเจ้าท่านยังสามารถช่วยใครได้ ท่านได้แต่ชี้แนวทาง คำทำนาย ก็ออกมาพระโอษฐ์ท่านเอง คนไทยจึงเชื่อเรื่องพุทธทำนาย พระองค์ทรงตรัสว่า ผู้มีศีลธรรม จะอยู่รอด ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านที่ต้องการปกป้องทุกคน ส่วนตนเองก็ต้องวางอุเบกขา เราจิตหนึ่งเดียวคือพุทธะ ทุกดวงจิตมีเนื้อแท้มาจากจุดเดียวกัน แตกต่างกันตรงกรรมที่กระทำ เป็นไปตามวาระเหตุปัจจัย เรียนรู้บทเรียนในโลก ส่วนตนเองเพียงปราถนาให้ทุกสรรพจิตที่เวียนว่ายตายเกิดได้พ้นทุกข์ เกิดสัมมาทิฐิมุ่งหน้าเดินตามรอยบาทพระศาสดาสั่งสมเป็นบุญบารมีทุกชาติไป แต่ถ้าเป็นคนเลวมารังแกคนดี ก็จะไม่ยอมเช่นเดียวกัน ขจัดคนพาล อภิบาลคนดี หากจะทำได้ก็เพียงแค่นี้ และขอให้เปลี่ยนใจจากคนไม่ดี สามารถเป็นคนดีได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2017
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ส่วนใหญ่จึงอยากไปเกิดในยุค(พระศรีอาร์ย)
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,198
    ถามว่า ทำไมคนส่วนใหญ่จึงอยากไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ยุคนั้นมีอะไรดีหนักหนาหนอ! หากแม้จักอยากพ้นทุกข์ทำไมไม่ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ในเมื่อศาสนาสมณโคดมยังอยู่ หากผู้ใดปฏิบัติไปตามทางอริยมรรรมรองค์แปด โลกนี้จะไม่สิ้นพระอรหันต์

    ทุกสรรพจิตทุกดวงที่ลงมาเวียนว่ายตายเกิด ปราถนาอยู่ในโลก เกิดในโลก เมื่อจิตหนึ่งคือพุทธะ ต่างเวียนว่ายในวัฏสงสารกันทำไม? ทุกสรรพจิตส่วนลึกในใจแท้จริงแล้วต่างมีเมตตาเป็นพื้นฐานจิตเสมอ ส่วนลึก ๆ คือ การไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน แต่ที่เห็นเป็นอยู่ที่ผิดแผกไปจากธรรมชาติจิตเดิม เนื่องด้วยความหลงไม่รู้ เนื่องด้วยผลกรรม อันเป็นวิบากที่ต้องแสดงไปตามเหตุ นอกจากเสียว่าจะเจอผู้ชี้ทางให้ การปราถนาอยู่ในโลก ติดอยู่ในโลก การเรียนรู้บทเรียนโลกของแต่ละคน เหมือนบทละครชีวิตที่กำกับไว้ ต้องเรียนรู้แสดงไปตามเหตุปัจจัย ถึงจุดอิ่มตัว หรือ เรียนรู้โลกเข้าใจโลกอย่างถ่องแท้เมื่อไร ถึงจุด ๆ หนึ่ง จะพบและเดินเข้าเส้นทางที่ทำให้ถึงจุดหมายที่ปลายทาง แต่ไม่ใช่ทุกคนหรอกนะ บุคคลเหล่านี้ที่น่าสงสารที่เขาต้องพบกับความมืดมิดตลอดกาล หากไม่พบผู้ชี้ทาง ต้องเวียนว่ายไม่รู้จุดจบ บางทีอาจจะไม่มีโอกาสเลยก็ได้

    ยุคพระศรีอาริ์ย เป็นยุคที่ทุกดวงจิตปราถนา ปราถนาเมื่อเกิดมาในโลก ได้สมบัติในโลก ครั้งหนึ่งเป็นความสมบูรณ์แบบของการเกิด เป็นรางวัลแห่งความดีที่ได้ฝ่าฟันอุปสรรคแรงดึงเหยื่อเครื่องล่อใจ ที่สามารถชนะฟันฝ่า จนประสบผลสำเร็จของการเป็นมนุษย์ทีดีงามที่สมบูรณ์แบบ ธรรมชาติเลยตบรางวัลให้ สมกับเขาเป็นผู้ชนะและฟันฝ่าอุปสรรคนานานับประการ กับความดีทีได้ทำ นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งก็ได้มั้งค่ะ จึงทำให้คนอยากไปเกิดในยุคนั้น แต่ใครจะไปรู้ที่เราเวียนว่ายเกิดตายมา เราอาจจะได้รางวัลที่มากกว่านั้น จนนับไม่ถ้วน เราอาจจะพลาดพลั้งไปอยู่ที่แย่ ๆ จนนับไม่ได้ แต่ถ้าถึงวาระสมัยส่งให้เหตุปัจจัยถึงพร้อม ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น แม้จะอยากได้หรือไม่อยากได้ก็ตาม
     

แชร์หน้านี้

Loading...