{o}จิตประภัสสร{o}

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 12 ธันวาคม 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    หมากกระดานนี้ ที่ท่านทิ้งไว้ให้เป็นปริศนา เป็นของยาก ที่ใครก็ยากที่จะวิสัชนา

    ถ้าขืน วิสัชนา มั่วๆ ทิฏฐิ ก็ตกทันที จึงไม่ค่อยมีใคร จะยกเมฆมาวิสัชนากัน

    จิตประภัสสร
    ของ เสขะปฎิสัมภิทาระดับ ๑ / ๑๖
    จะวิสัชนา อย่างไร?

    และคืออะไร? มาจากไหน?ทำอย่างไรจึงจะได้เป็น จิตประภัสสร?


    (
    ส่วนที่มาอย่าถามเลย นานมาก อจิณไตย เดียวจะบ้าเอา)


    ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ในปลายเล็บของพระองค์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะคิดเห็นเป็นไฉน ระหว่างฝุ่นเล็กน้อย ที่เราได้ช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บ กับฝุ่นในแผ่นดินใหญ่ที่เธอเห็นนี้ อันไหนจะมากกว่ากัน


    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝุ่นในแผ่นดินใหญ่นี้แล มีมากกว่าพระเจ้าข้า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา (เล็บ) มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่อยู่บนปลายเล็บของพระพุทธองค์ ย่อมไม่สามารถจะเทียบกันได้เลย แม้เพียงส่วนเสี้ยวก็ตาม พระเจ้าค่ะ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอย่างนั้นนั่นแล สัตว์ที่ตายแล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยมาก ซึ่งเทียบเท่ากับฝุ่นที่อยู่บนปลายเล็บของตถาคต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากโลกมนุษย์แล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัย มีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากเทวดาแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากสัตว์เดรัจฉานแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากเปรตวิสัยแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    เพราะสัตว์เหล่านั้น ที่ไม่ได้กลับมาเป็นมนุษย์ และต้องไปเกิดในอบายภูมิ ก็เพราะว่า สัตว์เหล่านั้น ไม่ได้เห็นอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 เป็นไฉน? คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนี้แล เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้คือทุกข์ นี้คือสมุทัย นี้คือนิโรธ นี้คือมรรค

    ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล


    -----------------------------------------------------------------

    เว้น อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ แล้ว พรหมรูปพรหม ทั้ง ๑๕ ภูมิ

    "กว่าจะเป็น ประภัสสร "
    จะต้องใส่ตระกร้าล้างแล้วล้างอีกจนหมดจด เหลือเพียงเศษอกุศลมูลจิตและกรรมอันแท้ เกิดๆตายๆตั้งจิตอธิษฐาน และทำแต่กรรมดีสร้างบารมีหลายภพหลายชาติเป็นอเนกปริยาย จนจิตผ่องใส แม้มีกรรมอยู่แต่กรรมฝ่ายกุศลนั้นมีมากจนเบาบาง และเศษธรรมอกุศลอันเป็นวิบาก ยังให้มิจฉาทิฏฐิเจริญไปอยู่ เมื่อถึงกาลแล้วดังจิตอธิษฐานไว้ ก็สามารถพ้นได้ดังที่มีมา

    ตายจากพรหม ๑๕ มานั้นแล ดังพรหมที่หลงตนผู้เกี่ยวข้องกับภพวิสัยโดยเฉพาะมนุษยโลกผู้ดึงอัตตาและมานะพรหมให้เกิดขึ้น



    จริงๆเป็นสิ่งที่เราควรจะตระหนี่
    แต่มาคิดพิจารณาดูแล้ว ขอยก มหาวัฎร โดย อัตตกิลามถานุโยค เป็นประธานยังพรหมจรรย์ ๔ มหาวิกัฎให้เป็นไป ถ้าไม่ใช่ศาสนาเชน หรือพราหมณ์ที่อินเดีย ก็ยากที่จะกระทำได้ในประเทศราชนี้ เรายังไม่เห็นใครจะสามารถวิสัชนา "ประภัสสร" ผู้ที่รู้เห็นเท่าเรายังไม่มี ฉนั้นเราจึงสงวนไว้ให้ผู้ที่สามารถปฎิบัติได้ และมีจุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ ปุถุชนผู้ยังไม่ใช่พระอริยะบุคคล ยากนักที่จะปฎิบัติตามได้

    เพราะอย่างนั้นแล้ว ถึงจะรู้ไปก็ได้แค่รู้ ไม่ได้หวงว่าจะมาบรรลุธรรมก่อนเราหรือเก่งกาจกว่าเรา

    ใครทำได้ ผู้นั้นย่อมเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ดี


    เรื่องนี้ที่ผ่านมาไม่มีใครกล้าตีความ และตีความได้ แต่ถ้าไต่ระดับ ไล่ระดับการสั่งสมบารมี ในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า

    และการบำเพ็ญในชาตินี้ก่อนจะได้เป็นกว่าจะเข้าถึง จึงจะชัดเจน ถ้าจะเรียกว่า การขัดเกลาตนเองในแต่ละชาติ จนเบาบางที่สุด บาปเบาบางลง จนถึงขั้นมีแต่กรรมขาว เกิดใหม่ก็ทำแต่กรรมขาว จนเหลือแต่ ล๊อกไว้แต่กรรมที่จะต้องเผชิญและจบสิ้นในชาติ พระชาติสุดท้ายบุพกรรมของพระองค์จึงได้เข้ามาเพียง ๑๔ ประการ เพียงเท่านั้น เรื่องนี้ยากนะ อจิณไตยนะ (ยังไม่รวมเรื่องบุพกรรมของพระสาวกที่มีอีกมาก {ผลกรรมที่ล๊อคไว้แก้ในชาติสุดท้าย} )

    ถ้าจะถึงความเลื่อมพรายระยับเจิดจรัสได้ ต้องหลุดออกจาก สูงสุดของ โมกษะและสิทธศิลาเพียงเท่านั้น ไม่แปลกอะไรที่ ฮินดูหรือพราหมณ์หรือเชนจะตีความคิดเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าทรงอวตารมาจากเทพเจ้าของฮินดู ถ้าไปไม่ถึงและก้าวข้ามโมกษะและสิทธศิลา พรหมชาลสูตรทิฏฐิ ๖๒ ย่อมไม่มีทางปรากฎ แน่นอนนอนต้องทรงก้าวข้ามอหังการวิเศษมารนั้นด้วย ส่วนศาสนาอื่นๆลัทธิอื่นๆที่หวังแค่สวรรค์ ในโลกธาตุอื่นๆ มฤตยูอื่นๆ ไม่ต้องกล่าวถึงเลย ในทิฏฐิ ๖๒ นั้น ทรงรู้ทรงทราบคติที่ไปของทุกทิฏฐิ คำว่า นอกจากนี้้ไม่มีทิฏฐิอื่นอีก เรื่องนี้ อจิณไตยในฐานะทิฏฐิของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เพราะทรงมีพระญานที่กว้างไกลมากไม่อาจจะคิดคำนวนได้ มีแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงเท่านั้นที่เสมอพระองค์ ไม่แปลกอะไร จึงเป็นเสมือนนอแรดดั่งอุปนิสัยของท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า ไประลึกคิดเปรียบไม่ได้เลย

    การบำเพ็ญการปฏิบัติแบบอุกฤษฎ์ แม้เราเองก็อยากทำและอยากให้ปรากฎในประเทศราชนี้ในอนาคต ลองนึกภาพที่่สถานที่ที่มีเหล่า ผู้บำเพ็ญเพียรชนิดนี้ในประเทศเกิดขึ้้น จะเป็นอย่างไร?

    เทพเจ้าแบบไหนไม่มีและไม่ต้องรับผลกรรมที่ตนกระทำ แบบนี้ก็ผูกขาดเกินไป กรรมดำกรรมขาวและกรรมไม่ดำไม่ขาวนี้ลึกซึ้งมาก แม้เข้าสู่พระอรหัตผลแล้วกรรมยังส่งผลได้ อจิณไตย จริงๆ หากไตร่ตรองให้กว้างขวาง ของยากนะ บางท่านมีแต่ฝ่ายดี บางท่านไม่มีปรากฎ ไม่มีบันทึกไว้

    รู้ไว้จะได้ไม่หลง ในจิตประภัสสรนี้ ไปถึงระดับจะได้ไม่ไปสงสัยที่มาของ ประภัสสรอื่น สักวันหนึ่งถ้าเราพบหรือสามารถพิจารณารู้เห็นจริงมากกว่านี้ จักบอก แม้ชาตินี้ ชาติหน้าก็ตาม


    "
    ข้อควรระวัง ที่ครุ่นคิดเตือนตนเองและผู้ที่เหมาะจะรับฟังอยู่เสมอๆ "
    เธอสามารถพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนได้อีกตามสามารถของเธอ แต่ไม่ควรเปิดเผย เพราะเป็นของยาก เมื่อเขาไม่ยินดีตาม เขาจึงละความพยายามไป ให้เขาทั้งหลายฯสั่งสมไปตามเหตุและปัจจัยเถิด

    โมกษะและสิทธศิลาไปไม่ถึงอสังขตะ ไปได้เต็มที่คือ พรหม ๑๕ พระมหาโพธิสัตว์เป็นพระพรหม ดาบส ไม่รู้กี่ชาติ นั่นล่ะ "ประภัสสร "มีอาคันตุกะคือ อวิชชาโคจรมา


    "ข้อคิด"

    ก่อนจะบำเพ็ญให้บรรลุในชาติ พระพรหม อรูปพรหม เคยเกิดเคยเป็นมาหรือยัง? ทำฌานสมาบัติได้แล้วหรือ ฌาน ๔ น่ะมีปัญญาได้มาและชำนาญแล้วเหรอ ถึงจะมาเอาพระนิพพาน

    "เตือน"

    อกุศลกรรมเก่าก็มี อกุศลกรรมใหม่ก็สร้าง อยากจะวิสัชนาถึง จิตประภัสสร ไปจนถึงอยากจะเอาพระนิพพาน คงได้สักวันน่ะนะ(ประชดถึงตนเองนั้นด้วย) แต่ถ้าสร้างแต่อกุศลกรรมหลงตัณหาเป็นทาสบ้าปัญญาประดิษฐมารอย่างนี้ อย่าหวังเลยในชาติ


    "ความหวัง"
    ท่านปฎิสัมภิทา ผู้ทรงพหูสูตฯระดับ ๒ ถึง ๑๖ รู้ชัดรู้แจ้งกว่านี้อีก รอท่านมาโปรด มาแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2017
  2. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +708
    ตอนนี้ท่านมาเกิดยังฮะ
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่รู้ชัด ไม่ตอบจร้า
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    รู้แต่ว่ามาแน่ ก็พอ ไม่อย่างนั้นเหงาแย่ จะได้ไปกราบคาราวะท่านเหมือนกัน อัฟเกรดตนเอง
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ผู้ทรงพระนามว่า อสุรินทราหู ผู้จักมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตทรงพระนามว่า “พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า”

    พระนารทะ (พระยาอสุรินทราหู)

    สตฺถา สมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูเจ้าของเราตรัสพระธรรมเทศนาว่า ในกาลเมื่อสิ้นศาสนาพระยามาราธิราช ผู้เป็นธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โลกทั้งหลายจะสูญจากสมเด็จพระพุทธเจ้าสิ้นกาลช้านานถึง ๘ กัปป์ แผ่นดินตั้งขึ้นมาใหม่ได้แสนแผ่นดิน แผ่นดินนั้นสูญเปล่าเป็นสุญญกัปป์ หาบังเกิดสมเด็จพระพุทธเจ้าไม่ ในเมื่อสุญญกัปนับได้แสนแผ่นดินล่วงไปแล้ว จึงบังเกิดแผ่นดินมาใหม่ มีชื่อว่ามัณฑกัปนั้น เป็นแผ่นดินทรงพระพุทธเจ้าได้ตรัส ๒ พระองค์ คือ
    - พระยาอสุรินทราหู ๑
    - โสณพราหมณ์ ๑
    อันว่าพระยาอสุรินทราหูจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ลำดับนั้นโสณพราหมณ์จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสืบไปฯ
    เมื่อพระยาอสุรินทราหูได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงพระนามว่าพระนารทะ
    - มีพระองค์สูงได้ ๒๐ ศอก
    - มีพระชนมายุยืนได้หมื่นปีเป็นกำหนด
    - มีไม้จันทร์เป็นพระมหาโพธิ
    - ประกอบไปด้วยรัศมีสว่างรุ่งเรืองทั้งกลางวันและกลางคืน เปรียบประดุจดังว่าสายฟ้าในกลีบเมฆ พระพุทธรัศมีที่เป็นแผ่นแผ่ทึบเป็นแท่งเดียวนั้น ปรากฏสัณฐานดุจดอกปทุมชาติอันตั้งขึ้นมา
    - ครั้นศาสนาพระยาอสุรินทราหูนั้น ในแผ่นดินประเทศทั้งปวงเกิดรสภักษาหาร ๗ ประการ มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคภักษาหาร ๗ ประการ อันเกิดแก่แผ่นดิน ก็ประพฤติเลี้ยงชีวิตของอาตมาเป็นสุขสำราญมิได้ขาด

    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร อันว่าพระนารทผู้ทรงพระภาคนั้น มีพระรัศมีเห็นปานดังนี้ คือพระยาอสุรินทราหูแต่ก่อนได้สร้างบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ๑๐ ประการมาเป็นอันมากแล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ แต่กองบารมีอันหนึ่ง พระยาอสุรินทราหูได้กระทำเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่ง ปรากฏเป็นอัศจรรย์ พระองค์มีพระพุทธฎีกาดังนั้นแล้ว จึงนำมาซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงแล้วช้านาน ในเมื่อพระสาสนาพระพุทธกัสสปทศพลญาณ พระยาอสุรินทราหูนี้ได้เสวยพระชาติเป็นบรมกษัตริย์ เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในมัลลนคร เป็นเอกราชอันประเสริฐ ทรงพระนามว่า พระยาสิริคุตตมหาราช มีพระราชอัครมเหสีพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระราชบุตร พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชบุตรมีนามว่า เจ้านิโครธกุมาร พระราชธิดามีนามว่า นางโคตมี อยู่มาวันหนึ่งยังมีพราหมณ์ ๘ คน พากันมาสู่สำนักแห่งพระยาสิริคุตต์ กราบทูลขอพระนคร พระองค์ก็ทรงโสมนัสบังเกิดพระราชศรัทธาโปรดพระราชทานพระนครให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ ยังแต่พระราชอัครมเหสีและพระราชโอรสกับพระราชธิดาทั้ง ๒ ก็พากันออกจากพระนครเข้าไปในอรัญประเทศ กระทำอาศรมอาศัยอยู่บนยอดเขาใหญ่ พร้อมกันทั้งสี่กษัตริย์ทรงเพศเป็นบรรพชิตอยู่ในอาศรมบทฯ

    ในกาลครั้งนั้นยังมียักษ์ตนหนึ่ง มีนามว่ายันตะ ยักษ์ใหญ่สูงได้ ๑๒๐ ศอก ออกจากประเทศราวป่ามาเฉพาะต่ออาศรมแห่งกษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ยืนอยู่ในที่นั้นแล้วจึงกล่าววาจาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐ ข้าพเจ้านี้เกิดมาเป็นยักษ์รักษาพนาลี มีแต่เลือดและเนื้อเป็นภักษาหารเลี้ยงชีวิต ข้าพเจ้ามาทั้งนี้ ปรารถนาจะขอพระราชโอรสและพระราชธิดา ทั้ง๒องค์ เป็นภักษาหาร ถ้าพระองค์ทรงพระราชศรัทธาโปรดพระราชทานให้แล้ว ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งเป็นแม่นมั่น เมื่อหน่อพระชินวงศ์ได้ทรงฟังยันตะยักษ์ทูลขอพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๒ นั้น พระยาสิริคุตตราชฤาษีผู้แสวงหาพระโพธิญาณก็ชื่นบานในกมลหฤทัยแสนทวี ท้าวเธอจึงมีสุนทรสารทีตรัสแก่ยันตะยักษ์ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญเอ๋ย พระราชกุมารและพระราชกุมารีทั้ง ๒ องค์นี้ ใช่ว่าเราจะไม่มีความเสน่หาอาลัยหามิได้ ด้วยเรารักใคร่ในพระโพธิญาณยิ่งกว่ากุมารทั้ง ๒ ได้ แสนเท่าพันทวี เราจะสละพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๒ ศรี ให้เป็นทานแก่ท่านในกาลบัดนี้ ตรัสแล้วเท่านั้นก็เสด็จลุกจากอาสน์ จูงเอาข้อพระหัตถ์พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง๒ ผู้ร่วมพระราชหฤทัย มาพระราชทานให้แก่ยันตะยักษ์ แล้วหล่อหลั่งอุทกธาราให้ตกลงเหนือมือแห่งยักษ์ พระองค์จึงประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าและนางพระธรณีให้เป็นสักขีพยานว่า เดชะแห่งผลทานนี้จงสำเร็จแก่พระสร้อยเพชุดาญาณในอนาคตกาลด้วยเถิด พอสิ้นความปรารถนาก็บังเกิดมหัศจรรย์ทั่วโลกทุกห้องจักรวาล ปานแผ่นพสุธาจะทรุดจะทำลายฯ
    เบื้องหน้ายันตะยักษ์ครั้นได้รับพระราชทานพระราชกุมารและพระราชกุมารีแล้ว ก็บังเกิดมีความชื่นชมยินดี พาตรุณสองศรีไปยังหลังพระบรรณศาลา ก็ก้มศีรษะลงกัดเอาคอกุมารและกุมารีทั้งสองให้ขาดด้วยอำนาจของอาตมา แล้วก็ดื่มโลหิตกินเป็นภักษาหาร แล้วก็เคี้ยวซึ่งเนื้อและกระดูกกลืนเข้าไป เสียงเคี้ยวนั้นดังกร้วมๆ พระฤๅษีผู้เป็นบิดาและมารดาเห็นเห็นหยาดเลือดย้อยลงจากปากยันตะยักษ์ในขณะเมื่อเคี้ยวนั้น มิได้มีพระทัยไหวหวาดด้วยโลกธรรม จึงร้องประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าทุกหย่อมหญ้าลดาวัลย์ทั้งปวงจงมาชื่นชม ด้วยทานของเราบัดนี้เป็นอันประเสริฐแล้วฯ

    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ในเมื่อพระศาสนาของของพระยาอสุรินทราหูได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
    - ฝูงชนทั้งปวงประกอบไปด้วยรูปศิริวิลาสเป็นอันงาม ควรจะนำมาซึ่งความสิเนหา ด้วยเดชะผลานิสงส์ที่ให้ลูกทั้งสองเป็นทานฯ
    - ซึ่งพระองค์ประกอบได้ด้วยพระพุทธรัศมีส่องสว่างสิ้นทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นด้วยเดชะผลานิสงส์ที่เห็นโลหิตกุมารทั้ง ๒ หยดย้อยลงจากปากยักษ์ มิได้มีความหวาดหวั่นไหวในมหาทานเลย
    แสดงมาด้วยเรื่องราบพระยาอสุรินทราหูบรมโพธิสัตว์คำรบ ๕ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ



    ยักษ์นิลกาฬ อย่าง จขกท. ในชาตินี้ คงไม่อยากจะมีเอี่ยว เพราะเห็นว่าพระพุทธภูมิเป็นของยาก สู้เป็นพระสาวกภูมินี่ก็เลือดเข้าตาแล้ว และอีกอย่างก็รักพระพุทธเจ้ามาก จะหวังเพ้อไปบำเพ็ญมุ่งเป็นพระพุทธเจ้า เหมือนหิ่งห้อยอยากเป็น "โอลซัน" คงจะไม่ไหว เหนื่อยเกิน!!!
     
  6. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +708
    สาธุในความรู้ครับ
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [​IMG]
    [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
    ย่อมควรแก่การงาน ฯ

    [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน
    จิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
    ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
    เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่าง
    ใหญ่ ฯ

    [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

    [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

    จบวรรคที่ ๓

    [๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิต
    ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
    ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
    ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครอง
    แล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
    ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่าง
    ใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว
    สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

    จบวรรคที่ ๔

    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
    ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
    ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล
    ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
    ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ

    [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูกฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิดจักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ

    [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล
    บางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
    พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขา
    อันโทษประทุษร้ายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
    สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

    [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
    ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
    ผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มี
    จักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
    ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
    จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
    คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
    จิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ

    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษ
    ผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
    ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
    จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
    คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
    จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ

    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ
    ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
    ย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
    นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ

    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
    จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

    จบวรรคที่ ๕

    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว
    ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
    จากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็น
    จริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ

    [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัด
    นิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
    พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ
    กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
    เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
    พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าว
    ไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียง
    ลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
    ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ
    กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไป
    ในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม
    เกิดหลังเทียว ฯ

    [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปใน
    ฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิด
    หลังเทียว ฯ

    [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
    เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่
    ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

    [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
    เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
    เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศล-
    *ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

    จบวรรคที่ ๖
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (9).jpg
      images (9).jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.5 KB
      เปิดดู:
      76

แชร์หน้านี้

Loading...