{O}อัตตกิลมถานุโยคคือการบำเพ็ญทุกกิริยาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ {O} <ไม่ใช่ความโง่หลงปฎิบัติผิดทาง>

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 25 พฤษภาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เป็นการยากที่จะรู้ แต่ด้วยภูมิของ เสขะปฎิสัมภิทา เรารู้ดีว่า สามารถที่จะค้นหาความจริงได้อีกมากในปริยัติสัทธรรมทั้งหลายฯ

    ไม่แปลกใจที่ใครๆก็จักด่วนสรุปตามคำบอกเล่านั้นมา เราจึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งว่าในห้วงกึ่งพุทธกาลนี้จะมีผู้บรรลุธรรมระดับปฎิสัมภิทาและมาช่วยเรายืนยันอีกที หากถามว่าจะได้อะไรจากความรู้นี้

    "ปลดสภาวะที่ติดขัดในธรรมทั้งหลาย การพิจารณาธรรมจะละเอียดอ่อนมากขึ้น ยังไม่รวมกับสิ่งอื่นๆที่จักได้ปรากฎตามมาอีก"



    เราจะรอท่านทั้งหลายฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ว่าใครในพระพุทธศาสนานี้ที่เป็น ผู้ทรงปริยัติ ปฎิบัติ และปฎิเวธ ดีแล้ว ไม่อาจจะปฎิเสธได้คือ ต้องพิจารณารู้ได้ว่า พระมหาโพธิสัตว์ทรงบรรลุโมกษะและสิทธศิลาและรู้ชัดเจนยิ่งกว่านั้นในวิสัย จึงทรงทราบดีว่าไม่ใช่ทางที่จะหลุดพ้น

    และที่ทรงบรรลุพระโพธิญานในขั้นต้นจึงทรงทราบถึง เอกายนะมรรคของพระปัจเจกพุทธเจ้า และแน่นอนที่สุดเราท่านจึงไม่เห็นการแสดง"มรรค๘"ของพระปัจเจกพุทธเจ้าไว้เลยในพระไตรปิฎก วิสัชนาขึ้นไปอีก ถ้ามีแสดงไว้ล่ะก็ ยิ่งจะรู้อะไรอีกมากมายด้วยญานทัสสนะวิสุทธิของปฎิสัมภิทามรรค
    ซึ่งสามารถค้นหาและวิสัชนาหาเหตุที่มาของธรรมตามภูมิวิสัยได้
    (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
    ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    เอกายนํ ชาติขยนฺตทสฺสี
    มคฺคํ ปชานาติ หิตานุกมฺปี
    เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ
    ตริสฺสเร เจว ตรนฺติ โจฆํ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นธรรมเป็นที่สิ้นชาติ
    ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบ
    ชัดเอกายนมรรค พระพุทธะทั้งหลายในอดีต พากันข้าม
    โอฆะ (โอฆะ ๔) ด้วยมรรคนั้นมาแล้ว พระพุทธะทั้งหลาย
    ในอนาคตก็จักข้ามโอฆะด้วยมรรคนั้น และพระพุทธะทั้ง
    ปัจจุบัน ก็ข้ามโอฆะด้วยมรรคอย่างเดียวกันนั้นแล.

    ด้วยสาวกบารมีญานอย่างเหล่าปัญจวัคคีย์ผู้แน่แน่วแล้ว ยังมิใช่ฐานะที่จะเข้าใจญานวิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงปลีกตนไป ข้อนี้สามารถถือทิฏฐิได้
    จากนั้นแลเมื่อทรงทราบภูมิวิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทรงทราบฐานะที่ควรแก่พระองค์เอง

    ...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย...

    ใครแสดงไว้? นี่แหละคือคำตอบที่ผู้มีปัญญาญานจักรู้และวิสัชนาต่อไป

    อยากบวชไวๆ ภาระกรรมยึดเหนี่ยวไว้ช่างหนาเหลือเกิน จะออกบวชก็ถูกมารดากล่าวว่า เห็นแก่ตัว ไฟคหบดีนี้ ต้องดูแลก่อน

    เฮ้อ!

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2017
  3. ouam

    ouam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +285
    ธรรมมะที่เชื่อมต่อกันมาหลายภพหลายชาติ มิอาจนำมาขยายความได้ทั้งหมดทั้งสิ้น แต่ธรรมมะที่ได้ในชาติปัจจุบันนี้ ยาวนานและละเอียดยิ่ง มิใช่จะนำออกมาเผยแผ่ได้ง่าย เหตุเพราะคนทั้งหลาย มีธรรมยาก-ง่าย เป็นปฐมเหตุ

    เราจึงต้องคิดแยก-แยะ ให้พอดีต่อฐานะ และปัญญาของเรา-ท่านทั้งหลายให้ครบถ้วน ไม่เช่นนั้นธรรมะก็จะเป็นธรรมแห่งความโศกเศร้า และเป็นธรรมวิบัติแห่งกาลเวลา


    19.11.60
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    " ...แม้เลือดเนื้อในกายจักเหือดแห้งไป จนเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที ตราบใด ที่เรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักไม่ยอมลุกจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด"

    ด้วยน้ำพระหฤทัยอันแรงกล้า ยังพระมหาสัตยาอธิษฐานนี้
    นี่เป็นทางสายกลางระดับไหน มรรค๘ ของใคร?

    ดังที่เคยแสดงไว้มาแล้ว ในกระทู้พร่องศีลฯ

    ถ้ารู้ว่าสำเร็จ เสร็จแน่นั้นจงทำไปเถอะ ถ้าทนได้ ทำแล้ว อย่าตายไปก่อน นั่นล่ะ การรู้ขีดจำกัดของตนแล้วจึงมาปรับให้ถูกกับจริตและขันธ์๕ของตนเองนั้นด้วย

    ไม่อยากจะคาดคิดเลยว่า ระดับพระมหาปุริลักษณะที่สุดทานทนแข็งแกร่ง ค่อยๆเสื่อมลงด้วยการทรมานตนนั้น จะปวดร้าวสักปานใด

    น้ำพระทัยช่างมากล้นเหลือคณานับจริงๆ


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    .
    โอฆะ คือ อ่าว หรือ ห้วงน้ำ เป็นห้วงน้ำที่ไหลวน มีลักษณะที่ดูดสัตว์ให้จมลง....สู่ที่ต่ำ

    กล่าวคือ จมอยู่ในระหว่าง อบายภูมิ ถึง พรหมภูมิจนกว่าจะแหวกว่ายขึ้นมา....ไปถึง "โคตรภูญาณ"
    โอฆะ ๔
    ๑. กาโมฆะ (กาม-โอฆะ) คือ ห้วงแห่งกามซึ่งพาหมู่สัตว์ให้จมอยู่ใน กามคุณทั้ง ๕

    องค์ธรรม คือ โลภเจตสิก ใน โลภมูลจิต ๘.

    ๒. ภโวฆะ (ภพ-โอฆะ) คือ ห้วงแห่งภพซึ่งพาหมู่สัตว์ให้จมอยู่ ในความยินดีแห่งอัตภาพของตนตลอดจน ความชอบใจ อยากได้ถึง รูปภพ หรือ อรูปภพองค์ธรรม คือ โลภเจตสิก ใน ทิฏฐิคตวิปยุตตจิต ๔

    ๓. ทิฎโฐฆะ (ทิฏฐิ-โอฆะ) คือ ห้วงแห่งความเห็นผิดซึ่งพาหมู่สัตว์ให้จมอยู่ ในความเห็นผิด เห็นผิดจากความเป็นจริง ของสภาวธรรมองค์ธรรม คือ ทิฏฐิเจตสิก ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

    ๓. อวิชโชฆะ (อวิชชา-โอฆะ) คือ ห้วงแห่งความหลงซึ่งพาหมู่สัตว์ให้ลุ่มหลง และจมอยู่ในความไม่รู้ไม่รู้ เหตุ และ ผล ตามความเป็นจริง ของสภาวธรรมจึงมีความ โลภ โกรธ หลงองค์ธรรม คือ โมหเจตสิก ใน อกุศลจิต ๑๒
    โอฆะ มี ๔ แต่ องค์ธรรม มี ๓คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก โมหเจตสิก
    .
    .
    .
    ข้อความบางตอน จาก สมุจจยสังคหวิภาค พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ อกุสลสังคหะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2017
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สารีบุตร ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้
    เห็นอย่างนี้ว่า ชั่วเวลาที่บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท
    ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย, ก็ยังคง
    ประกอบด้วยปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวอยู่เพียงนั้น,
    เมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้ว
    มีอายุ ๘๐ ปี, ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี จากการเกิด, เมื่อนั้น เขา
    ย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้นจากปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไว.
    สารีบุตร ! ข้อนี้ เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้น, เรานี้แล
    ในบัดนี้เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้ว
    วัยของเรานับได้ ๘๐ ปี, ...ฯลฯ...
    สารีบุตร ! ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น ก็มิได้
    แปรปรวน บทพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคต ก็มิได้
    แปรปรวน ปฏิภาณในการตอบปัญหาของตถาคต ก็มิได้
    แปรปรวน ฯลฯ,
    สารีบุตร ! แม้ว่าเธอทั้งหลาย จักนำเราไปด้วย
    เตียงน้อย (สำหรับหามคนทุพพลภาพ), ความแปรปรวนเป็น
    อย่างอื่น แห่งปัญญาอันเฉียบแหลม ว่องไว ของตถาคต
    ก็มิได้มี.
    สารีบุตร !
    ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า

    “สัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดา
    บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก,
    เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

    ดังนี้แล้ว ผู้นั้นพึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึง
    ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วลูบคลำทั่วพระกายของพระผู้มีพระภาคอยู่ พลาง
    กล่าวถ้อยคำนี้ ว่า :)
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์; ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
    เหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไป
    ข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ
    ฆานะ ชิวหา กายะ”
    อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น; คือ
    ความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม,
    ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค,
    ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต;
    ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็
    เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย
    ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัส
    ข้อความนี้ (เป็นคำกาพย์กลอน) อีกว่า :-
    โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย !
    อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย !
    กายที่น่าพอใจบัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว.
    แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
    ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
    ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใคร ๆ
    มันย่ำยีหมดทุกคน.

    อานนท์ ! บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุ
    สังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์นี้. (พระอานนท์ได้สติจึงทูลขอให้
    ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนา กัปป์หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปป์;
    ทรงปฏิเสธ)
    อานนท์ ! อย่าเลย, อย่าวิงวอนตถาคตเลย มิใช่
    เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้ว. (พระอานนท์ทูลวิงวอนอีกจน
    ครบสามครั้ง ได้รับพระดำรัสตอบอย่างเดียวกัน, ตรัสว่าเป็นความผิดของ
    พระอานนท์ผู้เดียว, แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่ง ที่เคยให้โอกาสแก่
    พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์รู้ไม่ทันสักครั้งเดียว)
    อานนท์ ! ในที่นั้น ๆ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต
    ตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง แล้วจักรับคำในครั้งที่สาม,
    อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือ ว่าสัตว์
    จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น, สัตว์จะได้
    ตามปรารถนา ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า, ข้อที่สัตว์จะหวัง
    เอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับ
    เป็นธรรมดา ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะ
    ที่มีได้ เป็นได้.
    มู. ม. ๑๒/๑๖๓/๑๙๒, มหาวาร. สํ ๑๙/๒๘๗/๙๖๓.

    สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
    ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
    ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
    ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.
    เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
    ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
    ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
    ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น
    วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
    เราจักละพวกเธอไป
    สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว
    ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
    มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
    มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
    ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด
    ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
    จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

    มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2017
  6. ouam

    ouam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +285
    มีกายไว้ทดสอบ มีใจไว้พิสูจน์
     
  7. ouam

    ouam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +285
    หมดทุกข์เมื่อไหร่ (กรรมเก่า) เปิดได้ทันที

    27.11.60
     

แชร์หน้านี้

Loading...