OOนโม โพธิสัตวา / พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์OO

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ?????????, 2 มกราคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [​IMG]
     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    มหาปณิธานของพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์

    พระกษิติครรภ โพธิสัตว์ที่ยิ่งใหญ่

    มหากรุณาจิต โปรดสัตว์ทุกตัวตน
    สรรพสัตว์ไม่ข้ามฝั่ง โพธิญาณไม่บรรลุ
    หากนรกยังไม่ว่าง ไม่ขอสำเร็จพุทธ

    แสงธรรมเปรียบดังฟ้า โปรยปรายทั่วเวหา
    ไม่ทำใครจะทำ ค่อยทำไปทุกคืนวาร
    ไม่ถดและไม่ถอย ไม่พักและไม่เพียร
    จิตหนึ่งที่มุ่งมั่น โปรดสัตว์ว่างอบาย

    สรรพสัตว์ไม่คืนฝั่ง สัมโพธิไม่ขอรับ
    ทางตรงเวียนลงนรก ทางรกวกขึ้นสวรรค์
    เหน็ดเหนื่อยไม่ว่างเว้น สัตว์นรกก็ยังเต็ม
    มหาปณิธาน สัตว์นรกข้ามวัฏฏา



    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    นี่คือ รักแท้ ในแบบมหาโพธิสัตว์

    วันนี้ วันแห่งความรัก


    ขอให้ทุกชีวิตเป็นสุข
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    เราพระพุทธกษิติครรภ์

    อยู่ในยมโลกได้รับฏีกามากมาย ได้ลบล้างหนี้กรรมของชนทั้งหลายไปมากแล้ว
    แต่ชนทุกท่านยังต้องระมัดระวังและจดจำไว้ ยังมีหนี้ของพวกท่านอีกจำนวนมาก ยังลบล้างไม่หมดสิ้น
    ดังนั้น จะต้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลบล้างหนี้กรรมไปเรื่อยๆ
    เพราะอดีตชาติที่ได้ก่อหนี้กรรมไว้ไม่รู้สักเท่าไหร่

    นอกจากนั้นยังทำร้ายชีวิตคน ไม่รู้ว่าจะชดใช้ได้อย่างไร
    ดังนั้น ทุกเวลานาที มีจิตสำนึกขอขมาอยู่ตลอด
    สำนึกขอขมาที่อดีตชาติได้กระทำความผิดไว้
    สำนึกขอขมาที่ในชาตินี้ได้กระทำความผิดไว้

    วจีกรรมจะต้องระมัดระวัง วจีสุจริต แต่ละคำ แต่ละประโยคจะต้องตรึกตรองโดยรอบคอบก่อน แล้วจึงค่อยพูด
    ลองคิดตามคำพูดของตัวเองว่า ถ้าพูดออกมาแล้ว

    จะให้ร้ายกับใครบ้างหรือเปล่า
    จะทำให้อาณาจักรธรรมเสียหายหรือเปล่า
    คำพูดนี้ไม่น่าจะพูดออกมาเลย

    คำพูดแต่ละคำต้องระมัดระวังให้มาก
    ถ้อยคำเพียงคำเดียว หากพูดได้ดี สามารถสร้างชาติได้ หากพูดให้เสียหาย ก็ก่อให้เกิดสงครามทำลายไปหลายชาติ
    มีคำกล่าวว่า

    หนึ่งคำพูดสร้างชาติ
    หนึ่งคำพูดทำให้สูญเสียชาติ

    ในอาณาจักรธรรม

    หนึ่งคำให้กำลังใจ ช่วยให้คนท้อแท้สูญเสียกำลังใจ กลับมามีความเชื่อมั่นอีก
    ทำให้หนทางการบำเพ็ญของเขาเต็มไปด้วยความหวัง มีความหวังในการเดินบนเส้นทางนี้ต่อไป
    นี่เท่ากับขยายต่อปัญญาญาณของผู้บำเพ็ญ

    หากแต่หนึ่งคำพูด ทำให้เกิดความโกรธแค้น อาจทำให้การบำเพ็ญปัญญาญาณของเขาขาดไป
    ทำให้เขาหมดหวังกับอาณาจักรธรรม รู้สึกว่าอาณาจักรธรรมไม่อบอุ่น
    ไม่ให้ความสนใจ จึงเหินห่างอาณาจักรธรรม

    คำพูดไม่ถูกใจเกิดความโกรธแค้น ทำให้การบำเพ็ญปัญญาญาณของคนอื่นขาดไป
    ทำให้เขาระเหเร่ร่อนไปบนเส้นทางเวียนว่าย บาปกรรมนี้หนักหนามาก
    ดังนั้น เมธีทุกท่านต้องระมัดระวังและเข้มงวดกับคำพูด
    ทุกอย่างจงคิดแล้วคิดอีก จึงค่อยพูดค่อยทำ
    คำที่จะกล่าวออกมา ควรตรองแล้วตรองอีก
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2010
  5. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก

    ได้กล่าวถึงเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระกษิติครรภ์และพระมาลัยไว้ว่า ...

    ความเข้าใจผิดอีกประการของศาสนิกชนทั่วไป กล่าวว่า พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ คือพระมาลัย ที่แท้แล้ว พระมาลัยนั้นเป็นเรื่องที่พระภิกษุชาวสิงหลแต่งขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ เศษ กล่าวถึง พระอรหันต์องค์หนึ่งซึ่งมากด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ดวงจิตสงบจากกิเลส มีนามว่าพระมาลัยเทวเถระ ท่านอาศัยบ้านกัมโพชะ ซึ่งเป็นชนบทเล็กๆ ของตามพปัณณิทวีป ซึ่งปัจจุบันคือเกาะลังกา เป็นที่โคจรบิณฑบาต ท่านได้เข้าฌาณสมาบัติชำแรกแผ่นดินไปเมืองนรกบ่อยๆ และทุกครั้งที่ท่านไปถึง ท่านจะสำแดงฤทธิ์บันดาลให้โทษทัณฑ์ในนรกทุเลาเบาบางลงต่อจากนั้นก็แสดงธรรมโปรด พวกสัตว์นรกทั้งหลายเมื่อได้ฟังเทศน์จบแล้ว ก็พากันยกมือไหว้แล้วขอร้องท่านว่า "พระคุณเจ้าขอรับ ได้โปรดเวทนาพวกข้าพเจ้าด้วย เมื่อพระคุณเจ้ากลับไปถึงโลกมนุษย์แล้ว ขอได้แวะไปบ้านนั้น เมืองนั้น บอกญาติของข้าพเจ้าชื่อนั้น ให้เร่งทำบุญแล้วอุทิศส่วนบุญมาให้ข้าพเจ้าด้วยเถอะ ข้าพเจ้าจะได้พ้นกรรมเร็วๆ เจ้าข้า"

    ฝ่ายพระมาลัยครั้นกลับมาถึงโลกมนุษย์ ก็นำความตามที่สัตว์นรกขอร้องมาบอกแก่ ญาติ พี่ น้อง ตามตำบลที่ระบุไว้ทุกประการ บรรดาญาติครั้นได้ฟังท่านบอกก็ทำบุญให้ทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ สัตว์นรกผู้เสวยกรรม เมื่อได้อนุโมทนาส่วนกุศลแล้วก็พ้นกรรมไปเกิดบนสวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์เป็นที่สำราญในทันที
    ต่อมา หลังจากที่ท่านไปโปรดสัตว์นรกแล้ว พระมาลัยก็ไปสวรรค์บ้าง ครั้นได้เห็นเทพบุตร เทพธิดาเสวยสุขสำราญในสวรรค์ ก็กลับมาบอกชาวบ้านให้เร่งทำบุญสุนทาน เพื่อจะได้ไปเกิดในสวรรค์อย่างเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา ทำบุญให้ทานเป็นการใหญ่ และเมื่อสิ้นชีวิตลงไปก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์เสวยสุขสำราญตามควรแก่ผลบุญของตน
    เช่นนี้แล้ว ทำให้เราทราบว่า พระมาลัยนั้นคือพระอรหันต์ที่มากด้วยเมตตา ท่านได้เจริญฌานสมาธิเพื่อไปโปรดสัตว์ในนรก แล้วนำเอาเรื่องบาปกรรมมาเล่าให้ชาวโลกฟัง จากนั้นท่านก็ไปสวรรค์แล้วนำเอาเรื่องบุญกุศลมาบอกกล่าวให้มนุษย์ได้รับรู้ แต่พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ มีมหาปณิธานว่าจะโปรดสัตว์นรกให้หมดสิ้นแล้วจึงจะเข้าสู่พุทธภูมิ เหตุผลนี้เราจึงทราบว่าพระมาลัยและพระกษิติครรภ์เป็นละพระองค์กัน
     
  6. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ในสมัยพุทธกาล

    หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

    เมื่อถึงคราวที่พระองค์จักได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เยือนกรุงกบิลพัสดิ์ เพื่อโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติ

    ในครานั้น พระน้านางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นแม่นมและมีศักดิ์เป็นน้าแท้ๆของพระพุทธเจ้าได้ทราบข่าว ก็มีความปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้น ได้ดำริที่จะทอผ้าไตรจีวรเนื้อดีไว้ถวายพระพุทธองค์ พระนางได้ลงมือปลูกหม่อนเลื้ยงไหมด้วยตัวเอง ในภาชนะทองคำบริสุทธิ์แท้ราคาแพงทั้งหมด และได้ทำการทอผ้าไตรจีวรเป็นผ้าไหมอย่างดีไว้ถวายพระบรมศาสดา เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จ พระน้านางได้น้อมนำผ้าเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ(พระพุทธเจ้าทำอะไรพระองค์มีเหตุผลเสมอ และมักจะมีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นเสมอ) พระน้านางก็เสียใจและทรงพระกันแสง(ร้องให้) พระน้านางจึงได้นำไปถวายพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ไม่รับ ถวายพระโมคคัลลานะพระโมคคัลลานะก็ไม่รับ ถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ก็ไม่มีใครรับ ในที่สุดก็ได้ไปถวายพระภิกษุบวชใหม่ที่นั่งอยู่ท้ายสุด พระภิกษุรูปนั้นได้รับไว้ พระภิกษุรูปนั้นเป็นพระภิกษุหนุ่มบวชใหม่ ยังเป็นพระธรรมดาอยู่ ชื่อว่า "อชิตภิกษุ" พระน้านางได้ทรงพระกันแสงและรำพึงรำพันว่า ตัวเรานี้บุญวาสนาน้อยนัก เป็นถึงน้าของพระพุทธเจ้า ตั้งใจทอผ้ากาสาวพัสต์อย่างดีมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ พระที่รับกลับเป็นพระบวชใหม่ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ พระบรมศาสดาทรงแย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม) แล้วตรัสให้พระอานนท์นำบาตรของพระองค์มา ทันใดนั้นพระพุทธเจ้าได้ขว้างบาตรของพระองค์ขึ้นไปบนอากาศ หายลับตาไป และได้ตรัสให้พระอรหันต์ทั้งหลายหาบาตรของพระองค์ให้เจอ โดยพระองค์ได้พยากรณ์ว่า จะไม่มีพระอรหันต์รูปใดหาบาตรของพระองค์เจอ แต่องค์ที่หาเจอจะเป็นพระบวชใหม่ที่ชื่อพระอชิตภิกษุ แล้วตอนนั้นพระองค์จะเฉลยว่าพระอชิตภิกษุเป็นใคร (เพื่อเป็นอุบายให้พระน้านางคลายความเศร้าโศกลงบ้าง) ในลำดับนั้นพระสารีบุตรได้เหาะขึ้นไปเป็นองค์แรกก้หาไม่เจอ พระโมคคัลลานะผู้เลิศด้วยฤทธิ์เหาะขึ้นไปหาก้หาไม่เจอ พระอรหันต์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เป็นอเนกอนันต์ได้เหาะขึ้นไปหาก็หาไม่เจอ (ประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า) ไม่มีองค์ไหนหาเจอ ในที่สุดพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้พระอชิตภิกษุเป็นผู้หาบาตรให้เจอ พระอชิตภิกษุน้อมรับพุทธบัญชาได้ออกมายืนอยู่ ณ ที่โล่งแจ้ง ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าหากแม้นความปรารถนาของอาตมาภาพในพระสัมมาสัมโพธิญาณ ในการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตจักสัมฤทธิ์ผล ขอให้บาตรของพระชินษีร์จงลอยลงมาสู่มือของอาตมา ณ บัดนี้เถิด ทันใดนั้นบาตรของพระพุทธเจ้าก็ได้ลอยลงมาสู่พระหัตถ์ของพระอชิตภิกษุ และทันใดนั้นเองพระพุทธเจ้าก็ได้บันลือสีหนาทให้กับพระอชิตภิกษุโดยการพยากรณ์ว่า หลังจากสิ้นศาสนาของพระองค์ พระอชิตภิกษุรูปนี้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อจากพระองค์ มีพระนามว่า "พระศรีอริยะเมตไตรย์"



    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO



    พระมหาโพธิสัตว์ที่อยู่ในปรมัตถบารมี

    มีจิตสะอาด ทรงสภาวะจิตใกล้เคียงพระอริยเจ้า

    เพียงแต่ไม่ตัดสังโยชน์ขั้นสูง เพราะ ต้องรอกลับมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า

    จิตทรงวิปัสสนาญาณ ไม่ต่ำกว่าโคตรภูญาณเป็นนิสสัย



    สามารถทำวิกขัมภนวิมุตติ, ตทังควิมุติ ฯลฯ

    คือ ทำจิตหลุดพ้นชั่วคราว ด้วยอำนาจสมาบัติแห่ง สมถวิปัสสนา

    สัมผัสพระนิพพานได้ขณะหนึ่ง เป็นระยะๆไป

    แต่ ยังต้องทรงมีขันธ์ห้าอยู่

    รอเวลาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามคิว เท่านั้นเอง


    เมื่อลาจากพุทธภูมิจึง ตรัสรู้อริยสัจจ์ เป็นพระสาวกขั้นสูงได้ง่าย

    ด้วยบารมีทำมามากล้น กว่าความเป็นสาวกปกติ

    ( นี่กล่าวถึง ผู้บำเพ็ญบารมีสามสิบทัศน์ขั้นปรมัตถบารมีมามาก แล้ว )



    การเคารพ การสักการะ การนับถือ พระมหาโพธิสัตว์เหล่านี้

    หากไม่ประเสริฐแล้ว พระพุทธองค์คงไม่ส่งเสริมมหาอุบาสิกาท่านนั้นให้ได้ทำบุญกับพระอชิตเถระโพธิสัตว์


    ....การที่ใครมีกำลังใจ นับถือ สักการะ ทำบุญ กับพระมหาโพธิสัตว์ นั่นก็ประเสริฐ

    อย่าทำลายกำลังใจที่ดีของเค้าเลย


    วิถีจิตของแต่ละคน ในระหว่างก่อนเข้าพระนิพพานอาจต่างกัน

    ไปสนใจ ขัดแย้ง กับลีลาที่ต่างกันทำไม

    จะนิกายไหน ชาติไหน ภาษาไหน
    เพศไหน
    มหายาน หินยาน

    ฯลฯ

    ..ก็แค่ ผ้าต่างสี ที่ห่อดวงแก้วบริสุทธิ์ไว้ภายใน...


    สุดท้าย ก็เพื่อความพ้นทุกข์เป็นที่สุด


    ....การบูชาผู้มีจิตสะอาด เป็นมหาโพธิสัตว์ มีธรรมเป็นที่ตั้งเช่นนี้ ก็เป็นมงคลอย่างยิ่ง....<!-- google_ad_section_end -->


    แต่ ขอประการใหญ่ ประการหนึ่ง

    สำหรับผู้นับถือพระโพธิสัตว์มหายาน


    คือ .... การ นำคำสอนที่บิดเบือน หรือ แย้งกับพระพุธพจน์

    มาแอบอ้างเป็นธรรมพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา

    จะเป็นบาปมหันต์



    เจตนาดี แต่ ด้วยวิธีการที่พลาด ... อาจนำสรรพชีวิต หลงไปอีกนาน ....

    ผลกระทบข้างเคียงที่แรงกว่านั้น คือ

    ทำลายพระธรรม อันเป็นแก่นแห่งการหลุดพ้น ซึ่งมาจากพุทธวจนะ

    เป็นการทำลายหนทางหลุดพ้นในพุทธศาสนา หรือ ทำลาย
    พระศาสนา นั่นเอง


    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เราพระพุทธกษิติครรภ์

    อยู่ในยมโลกได้รับฏีกามากมาย ได้ช่วยลบล้างหนี้กรรมของชนทั้งหลายไปมากแล้ว
    แต่ชนทุกท่านยังต้องระมัดระวังและจดจำไว้ ยังมีหนี้ของพวกท่านอีกจำนวนมาก ยังลบล้างไม่หมดสิ้น
    ดังนั้น จะต้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลบล้างหนี้กรรมไปเรื่อยๆ
    เพราะอดีตชาติที่ได้ก่อหนี้กรรมไว้ไม่รู้สักเท่าไหร่

    นอกจากนั้นยังทำร้ายชีวิตคน ไม่รู้ว่าจะชดใช้ได้อย่างไร
    ดังนั้น ทุกเวลานาที มีจิตสำนึกขอขมาอยู่ตลอด
    สำนึกขอขมาที่อดีตชาติได้กระทำความผิดไว้
    สำนึกขอขมาที่ในชาตินี้ได้กระทำความผิดไว้

    วจีกรรมจะต้องระมัดระวัง วจีสุจริต แต่ละคำ แต่ละประโยคจะต้องตรึกตรองโดยรอบคอบก่อน แล้วจึงค่อยพูด
    ลองคิดตามคำพูดของตัวเองว่า ถ้าพูดออกมาแล้ว

    จะให้ร้ายกับใครบ้างหรือเปล่า
    จะทำให้อาณาจักรธรรมเสียหายหรือเปล่า
    คำพูดนี้ไม่น่าจะพูดออกมาเลย

    คำพูดแต่ละคำต้องระมัดระวังให้มาก
    ถ้อยคำเพียงคำเดียว หากพูดได้ดี สามารถสร้างชาติได้ หากพูดให้เสียหาย ก็ก่อให้เกิดสงครามทำลายไปหลายชาติ
    มีคำกล่าวว่า

    หนึ่งคำพูดสร้างชาติ
    หนึ่งคำพูดทำให้สูญเสียชาติ

    ในอาณาจักรธรรม

    หนึ่งคำให้กำลังใจ ช่วยให้คนท้อแท้สูญเสียกำลังใจ กลับมามีความเชื่อมั่นอีก
    ทำให้หนทางการบำเพ็ญของเขาเต็มไปด้วยความหวัง มีความหวังในการเดินบนเส้นทางนี้ต่อไป
    นี่เท่ากับขยายต่อปัญญาญาณของผู้บำเพ็ญ

    หากแต่หนึ่งคำพูด ทำให้เกิดความโกรธแค้น อาจทำให้การบำเพ็ญปัญญาญาณของเขาขาดไป
    ทำให้เขาหมดหวังกับอาณาจักรธรรม รู้สึกว่าอาณาจักรธรรมไม่อบอุ่น
    ไม่ให้ความสนใจ จึงเหินห่างอาณาจักรธรรม

    คำพูดไม่ถูกใจเกิดความโกรธแค้น ทำให้การบำเพ็ญปัญญาญาณของคนอื่นขาดไป
    ทำให้เขาระเหเร่ร่อนไปบนเส้นทางเวียนว่าย บาปกรรมนี้หนักหนามาก
    ดังนั้น เมธีทุกท่านต้องระมัดระวังและเข้มงวดกับคำพูด
    ทุกอย่างจงคิดแล้วคิดอีก จึงค่อยพูดค่อยทำ
    คำที่จะกล่าวออกมา ควรตรองแล้วตรองอีก
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  8. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [MUSIC]http://www.amitabha-gallery.org/chantDZ_stream2.m3u[/MUSIC]
     
  9. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เขมาเขมสรณาคมน์
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><TBODY><TR><TD width="58%">พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ</TD><TD width="42%">ปพฺพตานิ วนานิ จ</TD></TR><TR><TD>อารามรุกฺขเจตฺยานิ</TD><TD>มนุสฺสา ภยตชฺชิตา</TD></TR><TR><TD>เนตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เนตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เนตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR><TR><TD>โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ</TD><TD>สงฺฆญฺจ สรณํ คโต</TD></TR><TR><TD>จตฺตาริ อริยสจฺจานิ</TD><TD>สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ</TD><TD>ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ</TD></TR><TR><TD>อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ</TD><TD>ทุกฺขูปสมคามินํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เอตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้. ​
    <!-- google_ad_section_end -->__________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  10. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]อมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนรกให้โอกาสทำดี

    เพื่อสร้างสม กุศล บารมี

    เป็นบันได สู่สุคติ ..ไยไม่ใช้โอกาสอันงาม

    โลกมนุษย์ มีกรรมมากมายให้เลือกกระทำ
    ก็ควรกระทำแต่กรรมดี ที่จะเป็นที่พึ่งต่อจิตตน ในภายภาคหน้า

    เวลาในโลก ...ยืนยาวเพียงใดกัน


    ...ก่อนหมดเวลา ขอทุกดวงจิต ในทุกกายสังขารสำนึกได้
    ที่จะทำดี เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเอง

    ไม่ช่วยตนก่อน พระองค์ใด จะช่วยได้ตลอดรอดฝั่งเล่า...<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  12. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  13. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  14. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  15. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  16. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  17. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    A Prayer To Dizang Bodhisattva (Kshitigarbha)



    We invoke your name, Kshitigarbha. We aspire to learn your way so as to be present where there is darkness, suffering, oppression, and despair, so that we may bring light, hope, relief, and liberation to those places.

    We are determined not to forget about or abandon those who are in desperate situations. We will do our best to establish contact with them when they cannot find a way out of their suffering and when their cries for help, justice, equality, and human rights are not heard.

    We know that hell can be found in many places on earth and we do not want to contribute to making more hells on earth. Rather we want to help unmake the hells that already exist. We will practice to realize the qualities of perseverance and stability that belong to the earth so that, like the earth, we can always be supportive and faithful to those who need us.


    --- From the [ame="http://www.amazon.com/Plum-Village-Chanting-Recitation-Book/dp/0938077910"]Plum Village Chanting Book[/ame]
     
  18. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  19. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    คนจำนวนไม่น้อยมีความเห็นผิดว่า พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์จะโปรดเฉพาะสรรพสัตว์ในนรกภูมิ แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่


    เพราะพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์นั้นโปรดสัตว์ทั่วทั้ง ๖ ภูมิ โดยที่พระศากยมุนียังทรงมอบหมายพระธุระในการแสดงธรรมต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในช่วงเวลาที่พระสุคตเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน และพระศรีอารยเมตไตรยังไม่ได้มาอุบัติเพื่อประกาศพระศาสนา ซึ่งสามารถจำแนกนิรมาณกายแห่งพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ ตามการโปรดสรรพสัตว์ทั้ง ๖ ภูมิ ได้ดังนี้



    ๑. ทัณฑกษิติครรภ พระหัตถ์ทรงซ้ายคทาทัณฑ์ (คทาชนิดหนึ่ง ที่ยอดเป็นรูปศรีษะของมนุษย์) พระหัตถ์ขวากระทำน้ำทิพย์มุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในนรกภูมิ

    ๒. มณีรัตนกษิติครรภ พระหัตถ์ซ้ายทรงแก้วจินดามณี พระหัตถ์ขวากระทำน้ำทิพย์มุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในเปตภูมิ
    ๓. รัตนลัญจกรกษิติครรภ พระหัตถ์ซ้ายทรงรัตนลัญจกร พระหัตถ์ขวากระทำมโนรสรัตนมุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในติรัจฉานภูมิ
    ๔. ธรณีกษิติครรภ พระหัตถ์ซ้ายทรงคทาวัชระ พระหัตถ์ขวากระทำทานมุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในอสุรภูมิ
    ๕. สรวนิรวณวิสกัมภินกษิติครรภ พระหัตถ์ซ้ายทรงคทาขขร (คทาที่บรรพชิตจีนถือเวลาเดินทาง) พระหัตถ์ขวากระทำปณิธานมุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในมนุสสภูมิ อันจักระงับแล้วซึ่งทุกข์แห่งสรรพชีวิตทั้ง ๘ ประการ อันประกอบไปด้วย ๑. เกิด ๒. แก่ ๓. เจ็บ ๔. ตาย ๕. อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ๖. ปิยวิปปโยค (ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก) ๗. อัปปปิยสัมปโยค (ต้องพบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก) และ ๘. ปัญจุปาทานักขันธ์ (อุปาทานยึดมั่นในขันธ์ ๕)
    ๖. สุริยประภากษิติครรภ พระซ้ายทรงมโนรสจินดามณี หระหัตถ์ขวาทรงแสดงธรรมมุทรา ทรงสำแดงนิรมาณกายนี้เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในเทวภูมิ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  20. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2011
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...