วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    glassbuddha2009 : ย้อนประโยคของคุณ poisian ตั้งแต่ต้นใหม่อีกทีครับ

    หน้า 6 #118

    poisian : " ผมทำแก้วชุดทดลองในห้องlab "

    glassbuddha2009 : ผมเป็นผู้จัดการโรงงานหลอมแก้วเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานแก้ว

    Sodalimesilica เกรดค่าอัลฟ่าประมาณ 100 ทุกสีทุกความหนาและแทบทุกเทคนิคในสมัยนั้น เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานแก้วทุกชนิด เช่น โคมไฟทุกชนิดทุกขนาดทุกวิธีการสร้าง, ถ้วยชามจานด้วยวิธี Pressed Galss, แก้วน้ำต่อขาสูง ขาเตี้ย Hand Made, ตาไฟรถยนต์ชนิดความร้อนต่ำของรถสิบล้อสมัยก่อน, พระพุทธปฏิมากร ๒๕ พุทธศตวรรษกึ่งตันกึ่งกลวงหน้าตัก 0.5 นิ้ว - 5 นิ้วทั้งปางยืน นั่ง ไสยาสน์ในระบบ Pressed Glass

    Borosilicate เกรดต่ำปานกลางหลอมในโรงงานเองเพื่อขึ้นรูปตาไฟหน้ารถยนต์ความร้อนปานกลาง 20 ํ - <200 ํC เป็นไฟหน้ารถยนต์สมัยนั้น

    Lead Oxide Glass เพื่อให้ได้แก้วสีนมสอดไส้ในแก้วทุกชนิด ทำให้ได้ชิ้นงานทั้งแบบสอดไส้ และแบบไม่สอดไส้เป็นองค์พระแก้วสีนมล้วน

    และยังมีอีกหลายชนิดของแก้วที่อาจารย์ผมทดลองอยู่หลายปี ที่สำเร็จก็มีที่ไม่สำเร็จก็มีมากครับ

    ...........................

    poisian : " แต่ถ้าอบ650องศาเซลเซียส แก้วมีแบนลงนิดๆครับ แต่สำหรับแก้วตันยังไม่เคยลองที่650องศาเซลเซียสครับ "

    glassbuddha2009 : แก้วโบโรหนา 3 - 5 ม.ม. โดยไม่มีส่วนใดหนาน้อยกว่า 3 ม.ม. เลย ถ้า soak ที่ 650 ํ C แล้วแค่แบนนิด ๆ ถือว่าโชคดีครับ ( แปลว่าเคย soak ที่ 650 ํC นาน 1.5 - 2 ชั่วโมงถึงรู้ว่าผลออกมาแบนนิด ๆ )

    ที่ถูกต้องผมขอคัดมาจากตารางที่ผมเคยให้คำตอบไว้ที่หน้า 2 #37 ครับ


    ในหน้า 2 #37 คำตอบที่อ้างอิงเป็นคำตอบแบบยึดถือตามตำราฝรั่งนะครับ แต่สามารถอธิบายได้ ว่าหากแก้วหนาเราลดช้า แต่แก้วบางเราลดเร็วได้ ในที่นี้คือความหนาของพระแก้ว 9 นิ้ว ผมจึงใช้ช่วงลดช่วงต้น ๆ ช้า คือใช้เวลาเป็นชั่วโมง และเนื่องจากชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์ปูนทนไฟ จึงไม่กลัวการแบน ยิ่งเรามักให้แก้วที่หลอมส่วนก้นให้อยู่บนสุด up side down และผมจะได้อธิบายต่อไปในความคิดเห็นต่อไปนี้
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เปลี่ยนโจทย์จากความหนา 9 นิ้วลงมาเหลือ 0.5 นิ้ว

    คราวนี้ผมจะเปลี่ยนโจทย์จากความหนา thickness 9 นิ้ว ลงมาเหลือแค่ 0.5 นิ้ว หรือก็คือขนาดความหนาของแก้วโบโรที่คุณ poisian ใช้งานอยู่ เพียงแต่ว่า ผมไม่แน่ใจว่า ชนิดของแก้วที่ต่างกันคือแก้วของคุณ poisian เป็นแก้วโบโร จะสามารถใช้ได้กับตำรานี้หรือไม่ ? เพียงแต่ผมเชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะคล้าย ๆ กัน

    ..................................................................

    ..................................................................


    คำถาม " ชิ้นงานแก้วหนา 0.5 นิ้วหรือ 12 ม.ม. ต้องอบนานแค่ไหน ? อย่างไร ? " เอาแบบยึดถือตามตำราซึ่งในที่นี้ตำราหมายถึงแก้วก้อนเพื่อการหลอมต่อของบริษัทแห่งหนึ่ง ไม่ใช่แก้วโบโร

    แต่ผมจะตอบแบบว่าเป็นแก้วโบโรและชิ้นงานเป็นแก้ววิทยาศาสตร์ท่อกลวง ขึ้นรูปเสร็จภายนอกแม่พิมพ์นะครับ

    เมื่อเป็นการขึ้นรูปชิ้นงานขณะที่แก้วเย็นแล้วทั้ง 2 ส่วน คือส่วนหม้อต้มและส่วนท่อทางเดิน... ดังนั้นเฉพาะส่วนรอยเชื่อมเท่านั้นที่ถูกความร้อนสูงเกิน 1,400 ํC เป็นช่วง ๆ และช่วงสั้น ๆ เพราะฉะนั้นลักษณะการอบอย่างนี้น่าจะเรียกว่า reheat ซึ่งการรีฮีทนั้น ไม่ค่อยเหมือนกับการหลอมเหลวแก้วทั้งหมดของชิ้นงานในจุดหลอมเหลว เป็นการจับท่อแก้วกลวงมาเชื่อมกับหม้อต้ม เหมือนงานช่างเชื่อมท่อทองแดงอะไรประมาณนั้น การรีฮีทจึงต้องการเปิดเตาอบทิ้งไว้ให้ร้อนทั่วทั้งเตาก่อน ส่วนจะเปิดก่อนนานเท่าใดแล้วแต่เตาแต่ละเตา โดยเปิดความร้อนของเตารอไว้เลยที่ 565 ํC ตามที่คุณ poisian ถนัดก็ได้ หรือจะเปิดที่ 650 ํC ก่อน เมื่อนำชิ้นงานเข้าเตาอบที่ 650 ํC ไม่ soak ให้รีบลดอุณหภูมิลงด้วยการเปิดฝาเตาหรือฝาด้านบน อุณหภูมิจะลดลงเร็วมาก ไม่ถึง 5 นาทีก็ลงถึง 565 ํC อย่างง่ายดาย ไม่ทันที่ชิ้นงานจะแบน จาก 565 ํ C หรืออาจจะต่ำกว่านั้นหน่อยก็ได้ เช่นที่ 540 ํC แล้ว soak ( คือคงที่อุณหภูมิเอาไว้ ) ต่อเนื่องนานประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมง แล้วดับไฟ ปิดเตาที่ซีลได้ดีทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 วันค่อยนำชิ้นงานออก แต่ถ้าเป็นเตาที่บังคับได้อย่างใจจริง ๆ อย่างเตาของคุณอจินไตยดูแลอยู่ก็ไม่ต้องทิ้งเป็นวัน ๆ ครับ ไม่กี่ชั่วโมง รวม ๆ แล้วคงไม่ถึงสิบชั่วโมงก็เอาชิ้นงานออกมาได้แล้ว แต่เตาที่บังคับได้ขนาดนั้น ราคาคงไม่ถูกครับ

    เพื่อความสบายใจจากความเคยชินวิธีเดิมก็ใช้จุด soak ที่ 565 ํC เหมือนเดิมทุกประการครับ เพียงแต่ที่ผมไปเปิดเตาสูงไว้ก่อนที่ 650 ํC เพราะเห็นว่า
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สาเหตุที่ผมเลือกจุดหน่วงเริ่มต้นที่ 650 ํC เพราะในธรรมชาติของแก้ว ถ้าเราไม่ไปตั้งรับที่ 650 ํC ชิ้นงานจะลดอุณหภูมิเร็วมาก แค่ 1 นาทีอาจลงถึง 450 ํC ได้ การที่ผมไปตั้งรับแล้วหน่วงอีก 4 - 5 นาทีต่อช่วง ผมเชื่อว่าการเรียงตัวของโมเลกุลน่าจะคลาย stress ในช่วงนี้ได้ดีกว่าปล่อยตามธรรมชาติ ผมยังเชื่ออีกว่า ถ้าเราค่อย ๆ ลดแต่ละช่วง ช่วงละ 5 นาที ช่วงละ 50 ํC ทั้งหมดเราเพิ่มเวลาหน่วงอีกเพียงไม่กี่นาทีในแก้วบาง ๆ อีกเพียงไม่เกิน 20 - 30 นาที แก้วจะคลาย stress ได้ดีกว่าธรรมชาติ

    พอถึงจุดที่เราเชื่อว่าเราต้อง soak แล้ว คือตั้งแต่ 565 ํC ลงมาถึงแก้วเพื่อการหลอมต่อของบริษัทนี้เขาเชื่อว่าเขาต้อง soak ที่ 430 ํC นาน 1.5 ชั่วโมง

    พอผ่าน 1.5 ชั่วโมงจะเข้าสู่ช่วงที่ 2 หลังการ soak

    ช่วงนี้ทางฝรั่งเขากลับเรียกว่า ช่วงแรก
    ( หมายถึงช่วงแรกที่ต้องลดอย่างถูกวิธี )
    [ ก่อนหน้านี้อาจถูกบ้างผิดบ้าง แก้วก็อาจไม่มีผลเสียเท่าใดนัก แต่จากประสบการณ์ผมว่าแล้วแต่ปัจจัยหลายด้านมาก ]

    ช่วงแรกนี้อุณหภูมิระหว่าง 430 ํC - 360 ํC ช่วงนี้ลดด้วยความเร็วชั่วโมงละ 67 ํ C
    ( ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษนิดเดียว )

    ช่วงที่ 2 นี้อุณหภูมิระหว่าง 360 ํC - 310 ํC ช่วงนี้ลดด้วยความเร็วชั่วโมงละ 133 ํC
    ( ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมง )

    ช่วงสุดท้่ายอุณหภูมิระหว่าง 310 ํC - 21 ํC ช่วงนี้ลดด้วยความเร็วชั่วโมงละ 402 ํC
    ( ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณไม่ถึง 1 ชั่วโมง )

    รวมเวลาการอบถ้าเตาสั่งได้ทุกอย่างจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเศษไม่เกิน 5 ชั่วโมง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2015
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    ก้อนแก้วโซดาไลม์กล๊าสสีฟ้าใต้พระแก้วนั้น เป็นแก้วโซดาไลม์ที่ตักออกมาจากช้อนเหล็กยาวประมาณ 3 เมตร เมื่อตักแก้วออกมาก็เคาะออกจากช้อนเป็นรูปก้อนแก้วนี้นี่แหละครับ ไม่ได้ผ่านการอบลดอุณหภูมิใด ๆ เนื่องจากเป็นแก้วก้นเบ้าที่ต้องตักทิ้งทุกวันตอนจะเติมวัตถุดิบใหม่ นี่ขนาดเขาไม่ผ่านการอบใด ๆ เพราะไม่มีเหตุผลใดจะไปเสียค่าไฟให้ก้อนแก้วที่จะทิ้ง ก้อนแก้วแบบนี้มักแตกครึ่ง ร้าวผ่าครึ่ง หรือร้าวรานเยอะมาก แต่ก้อนนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผมนำมาถ่ายประกอบกับพระพุทธปฏิมากร

    ดังนั้น การอบลดอุณหภูมิในแก้วชนิดและขนาดอื่น ๆ ก็อาจจะดูด้วยตาเปล่าไม่ออก นอกจากมองผ่านเลนส์ดู Stress ของแก้ว ส่วนจะอยู่ได้นานเท่าใดจึงจะร้าวเล็ก ๆ ไปถึงจะร้าวมากขึ้นหรือไม่ ? ส่วนมากก็จะแตกครึ่งในทันทีที่ออกจากเตา และมีอีกส่วนหนึ่งที่จะแตกร้าวภายใน 1 - 2 ปี อย่างมากก็ 3 - 4 ปีมักมีอาการออกหากอบได้ไม่ดี
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    [​IMG]

    พระพุทธรูปแก้วตัน ๆ เนื้อตันหน้าตัก 9 นิ้วองค์นี้ สร้างจากแก้วโซดาไลม์กล๊าสในระบบ pressed glass คือการกดปั๊มเนื้อแก้วในแม่พิมพ์เหล็ก ชิ้นงานเสร็จแล้ว ไม่ได้อยู่ในแม่พิมพ์ ผมนำออกมาเข้าเตาอบหลังปั๊มเสร็จทันที 1 - 2 นาทีขณะนั้นก้อนแก้วอุณหภูมิลดจาก 1,400 ํC ลงมาเป็นประมาณ 800 ํC ( ลดไวมากครับ แค่ 1 - 2 นาทีจาก 1,400 เมื่อแก้วสัมผัสแม่พิมพ์เหล็กที่เราเผาแม่พิมพ์เหล็กให้ร้อนที่ประมาณ 700 ํC แก้วจะลดเหลือ 800 ํ C ในไม่เกิน 1 นาที ผมรีบนำเข้าเตาอบโดยให้ช่างเฝ้าเตาอบเปิดอุณหภูมิรอไว้ที่ 650 ํC ผมยืนเ้ฝ้าอยู่หน้าเตาอบพักหนึ่ง เพราะทราบดีว่า ช่างเตาอบจะต้องพยายามลดอุณหภูมิให้ลงเหลือประมาณ 550 ํ C เร็วที่สุดภายในไม่กี่นาที เพราะว่าในเตาอบนั้นมีพระแก้วขนาดเดียวกัน แต่สร้างเป็นแบบกลวงเป่าด้วยปอด แก้วพระหนาเพียง 2 ม.ม. ส่วนที่หนาที่สุดคือขอบทับเสร็จที่หนาถึง 5 ม.ม. ครั้งนั้นเราสร้างพระแก้วเป่าด้วยปอดจำนวนประมาณ 50 องค์ ( ในจำนวน 500 องค์ ) วันนั้นสร้าง 50 องค์เข้าเตาอบอุโมงค์ปิดเตานี้ไปก่อนแล้ว องค์สุดท้ายคือองค์ตันองค์นี้ ผมให้เปิดไฟที่ 650 ํC จนกระทั่งช่างเฝ้าเตาไม่ยอม ขอลดลงเหลือ 595 ํC และพักอยู่ที่ 595 ํC อีกพักสั้น ๆ ก่อนที่จะลดไปเรื่อย ๆ ตามที่เขาเคยทำงาน เพราะถ้าผมเสี่ยงกับองค์หนาตันนี้องค์เดียว พระแก้วอีก 50 องค์ต้องเสียหมด ต้องแบนหรือยุบหมด

    และเมื่ออบอยู่ 1 วันกับอีก 1 คืน จึงเปิดเตาอุโมงค์แบบปิด นำพระแก้วทั้งแบบกลวงและแบบตันออกมาโดยไม่เสียหาย ไม่แบน ไม่ยุบตัวเลยแม้แต่องค์เดียว และพระแก้วแทบทุกองค์ผมนำไปทดลองโหดครับ สังเกตุในภาพผมทดลองกับหลอดไฟทังสเตนที่ให้ความร้อนประมาณ 230 ํC ในแบบกลวงก็ทดสอบหลากหลายวิธีรวมทั้งความร้อนด้วย ผลคือผ่านการทดสอบได้ทุกองค์อย่างน่าภาคภูมิใจครับ องค์ตันน้อมถวายพระ อ. ยุทธและพระ อ. อำนาจวัดพระธาตุผาซ่อนแก้วนานแล้วครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    พระแก้วหน้าตัก 9 นิ้ว กลวงเป่าด้วยปอด ผมทดลองด้วยหลอดสปอตไล้ท์ที่ให้ความร้อนสูงที่สุดในบรรดาสปอตไล้ท์ประเภทฉาบปรอท เปิดส่องแบบนี้ตั้งแต่ 10.00 น. ถึง 20.00 น. วันละ 10 ชั่วโมงต่อเนื่องไม่มีพัก ไม่มีดับ นานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน โดยไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ เลย แก้วยังคงใสปิ๊งไม่มีหมอง ไม่มีเหลืองลงไปเหมือนพลาสติคเรซิ่น
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    กลับมาที่การไม่อบแต่แก้วไม่แตกผ่าครึ่ง แตกรานที่ผิว หรือแตกสะเก็ดผิว

    [​IMG]
    ก้อนแก้วสีฟ้าใต้องค์พระหน้าตัก 4 นิ้ว ก้อนนี้เป็นแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าของโรงงานแก้วเจษฏาที่ภาษาช่างแก้วเรียกว่า เศษแก้วก้นเบ้า คือเมื่อตักน้ำแก้วในเบ้า 250 ก.ก. ใช้ไปเรื่อย ๆ จนถึงด้านล่าง น้ำแก้วมักมีฟองมากขึ้น ทำให้ชิ้นงานออกมาไม่สวย มีฟองในชิ้นงาน ช่างแก้วต้องตักแก้วก้นเบ้าพวกนี้ทิ้งไปเลย วิธีการตักก็จะมีช้อนขนาดใหญ่เท่ากับก้อนแก้วก้อนนี้ ( ก้อนแก้วก้อนนี้คือรูปของช้อนตัก ) ช้อนตักมีลักษณะเหมือนทัพพีตักข้าว ( ที่ตักก้อนแก้วนี้รูปร่างคือก้อนแก้วก้อนนี้เลย ) มีด้ามเหล็กยาวประมาณ 2 - 3 เมตรแล้วแต่แต่ละโรงงาน เมื่อตักแล้ว จะทิ้งลงบริเวณที่ไม่มีความสำคัญ เช่น ทิ้งตรงพื้นที่รกร้างก็ได้ แต่ที่โรงงานผมจะตักแล้วทิ้งข้างเตาไปเลย จะมีจับกังมาเอาออกตอนเย็นแล้ว สังเกตุว่ามีบางก้อนแตกผ่าครึ่ง บางก้อนไม่แตก ดังนั้น ผมจึงเห็นความสำคัญว่า ชิ้นงานแก้วหลายอย่าง ขนาดหนาขนาดนี้ไม่อบยังไม่แตก แต่ไปอยู่บนยอดเจดีย์เรากลับไม่เห็นความสำคัญ วันไหนแตกผ่าครึ่งลงมาแล้วถูกคน อาจถึงกับชีวิตได้

    [​IMG]

    [​IMG]

    2 รูปบนนี้เป็นก้อนแก้วที่ตักทิ้ง หรืออาจจะเบ้าทะลุ น้ำแก้วรั่วจากเบ้าหลอมไปสู่เตาด้านล่าง จะมีช่างแก้วไปเปิดช่องล้วงออกจากเตาด้านล่าง ล้วงไปทิ้งครับ รูปร่างจึงต่าง ๆ กันไป นี่ก็ไม่ได้อบ เพราะค่าอบแพงมากหากอบนาน เขาจึงไม่มีใครอบก้อนแก้วทิ้งแบบนี้ นี่ก็อีกตัวอย่างที่ไม่แตก แต่อันตรายหากไปอยู่บนที่สูง เพราะโอกาสแตกร้าว แตกผ่าครึ่งมีมาก และหากตกจากที่สูงถูกคนถึงตายได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2015
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    วัตถุดิบที่ใช้ในการทำแก้วเจียระไน

    1. ทราย เป็นตัวทำให้เกิดเนื้อแก้ว ต้องเป็นทรายละเอียดและมีความบริสุทธิ์สูง มีปริมาณเหล็กต่ำควรน้อยกว่า 0.013 หากมีมากกว่านี้แก้วจะไม่ใส เพราะเหล็กจะทำให้แก้วเป็นสีเขียว

    2. ตะกั่ว ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือตะกั่วแดง และตะกั่วเหลือง ตะกั่วจะเป็นตัวช่วยให้อุณหภูมิของการหลอมต่ำลง การใช้ตะกั่วต้องระวังเพราะเป็นสารพิษ

    3. โพแทสเซียมคาร์บอเนต เป็นวัตถุดิบที่ช่วยลดจุดหลอมตัว แต่มักมีซัลเฟตปน

    4. โซเดียมคาร์บอเนต, แบเรียมคาร์บอเนต, ซิงค์ออกไซด์ และบอแรกซ์ จะเป็นตัวเพิ่มช่วงการอ่อนตัวของแก้วให้ยาวนานขึ้น

    5. สารหนู ใช้คู่กับเกลือไนเตรตและโคบอลท์ออกไซด์ โดยใช้เป็นตัวไล่ฟองอากาศและเป็นตัวฟอกสี สารหนูจะทำให้เหล็กออกไซด์ในแก้วซึ่งทำให้เนื้อแก้วเป็นสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่สารหนูเป็นสารพิษ ส่วนโคบอลท์ออกไซด์จะทำให้แก้วมีสีฟ้า ซึ่งจะได้เนื้อแก้วใส

    6. เศษแก้วบด ใช้เร่งความร้อน

    สูตรแก้วเจียระไน ที่นิยมใช้กัน คือ ซิลิกา ร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ตะกั่วออกไซด์ ร้อยละ 23-31 โพแทสเซียมออกไซด์ ร้อยละ 12-18 (อาจใช้โซเดียมออกไซด์แทนประมาณร้อยละ 2) นอกจากนี้มีแบเรียมคาร์บอเนต ซิงค์ออกไซด์ หรือบอแรกซ์เล็กน้อย อัตราส่วนของตัวฟอกสีคือ 100 กิโลกรัมของทรายจะใช้สารหนู 300-500 กรัม เกลือไนเตรต 1,500-3,500 กรัม โคบอลท์ออกไซด์ 0.1 กรัม

    ขั้นตอนการผลิตแก้วเจียระไน

    1. การหลอม (melting) ใช้อุณหภูมิ 1,400 องศาเซลเซียส ในเบ้าทนไฟ (pot furnace) เป็นเวลา 11 ชั่วโมง จะได้น้ำแก้ว ระหว่างการหลอม ตะกั่วจะถูกเผาแบบลดออกซิเจนได้ lead metal ซึ่งจะตกตะกอนสู่พื้นเตาและกัดกร่อนก้นเบ้า ควรเติม oxidizing agent ลงไปในส่วนผสมด้วย

    2. การขึ้นรูป (forming) จุ่มน้ำแก้วด้วยไม้ซาง แล้วใช้คนเป่าในแบบพิมพ์โลหะ หรือเป่าโดยอิสระ

    3. การอบ (annealing) ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส เพื่อลดความร้อนก่อนนำไปตัด เป็นเตาต่อเนื่องมีสายพานเคลื่อนที่ เวลาที่ใช้ขึ้นกับความหนาของผิวแก้ว ปกติใช้ 1 ชั่วโมงต่อแก้วหนา 1 เซนติเมตร แล้วนำไปตัดปากแก้วด้วยแก๊ส ลบคมและส่วนเกินพร้อมทั้งขัดให้เรียบ แล้วนำไปอบอีกครั้งที่ 430 องศาเซลเซียส

    4. การเจียระไนและการตกแต่ง (engraving & decorating) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีด้านมุมรับแสง เกิดเป็นประกาย

    5. การกัดด้วยกรด (etching) เพื่อเอาตะกั่วที่ผิวแก้วออกและทำให้ผิวแก้วแวววาวขึ้น โดยใช้กรดกัดแก้วร้อยละ 5 ผสมกับกรดซัลฟูริก ร้อยละ 95 แช่ไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง

    คุณสมบัติของแก้วเจียระไน

    1. ช่วงการอ่อนตัวยาว ขณะเป่าขึ้นรูปต้องมีช่วงการอ่อนตัวอยู่นานพอสมควร เพื่อให้ช่างมีเวลาในการตกแต่ง

    2. มีดรรชนีหักเหสูง มีความเป็นประกายแวววาว ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของตะกั่วที่ผสม

    3. เคาะมีเสียงดังกังวาน พบในแก้วที่มีตะกั่วอยู่ในปริมาณปานกลางจนถึงสูง

    4. ป้องกันการทะลุทะลวงของกัมมันตภาพรังสีได้ดี กันรังสีแกรมมาได้เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง


    ที่มา : - แก้วเจียระไน Crystal Glass วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฉบับที่ 116 มค. 2531
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ..........................

    ผมขออธิบายเพิ่มเติม

    ในข้อ 1. ทราย นี่เขากำลังหมายถึงการหลอมแก้วคริสตัล หรือบางคนเรียกแก้วเจียรนัย ในภาษาอังกฤษเรียก lead crystal glass


    หมายเหตุความเห็นส่วนตัว
    ยังมีการหลอมแก้วอีกหลายชนิดมาก แต่เกือบทั้งหมดมีทรายเป็นวัตถุดิบ และถ้าหากต้องการแก้วที่ใสก็ควรใช้ตามที่กล่าวมาด้านบน
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ....................

    ผมขออธิบายเพิ่มเติม

    ในข้อ 2. ตะกั่วหรือ lead oxide ( PbO ) ยิ่งปริมาณตะกั่วมาก ยิ่งทำให้ใช้อุณหภูมิในการหลอมเหลวต่ำลง เช่น เคยได้ยินในปี 2514 ว่า มีการหลอมแก้วที่เติมปริมาณตะกั่วมากถึง 45% PbO เขาสามารถหลอมเหลวได้ที่อุณหภูมิเพียง 7 - 800 ํC แทนที่จะเป็นประมาณ 1,400 ํC

    และเคยได้ยินอีกเช่นกันว่า มีการพยายามหลอมเหลวแก้วที่ผสมตะกั่วในอัตราสูง แต่เขาไม่ได้บอกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ัจุดหลอมเหลวที่เพียง 5 - 600 ํC

    หมายเหตุความเห็นส่วนตัว
    แต่อย่างไรก็ดี ผมทราบมาว่าบริษัทแก้วชั้นนำของโลกอย่าง Lalique หรือ Baccarat ยังคงใช้อุณหภูมิการหลอมเหลวแก้วของเขาที่ประมาณ 1,400 ํC ในแก้วคริสตัลชนิด Full Lead Crystal ของเขา โดยใช้เวลาหลอมเหลวจนกว่าแก้วจะสุกประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง

    แต่มีการสร้างพระพุทธรูปแก้วหน้าตัก 8 นิ้วของ Lalique ที่ทางลาลีคบอกว่า เขาใช้อุณหภูมิหลอมที่ 1,480 ํC และเลือกที่จะหลอมนานพิเศษถึง 48 ชั่วโมงก่อนการนำมาขึ้นรูปพระพุทธรูป และทราบว่า เขาเลือกเติมตะกั่วจากประมาณ 24% เพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 28 - 29% ซึ่งผมคิดว่าเป็นการเลือกที่ถูกต้องมาก เพราะ 24% เป็นชิ้นงานทั่ว ๆ ไปของเครื่องแก้วเจียรนัย ถ้าถึง 30 - 33% PbO ผมว่าก็สูงเกินในลักษณะไม่เจียรมุมเพชร
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ตั้งคำถามเพิ่มตรงถ้าเช่นนั้น เพิ่มตะกั่วแต่กลับเพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มเวลา

    ...........................

    ในการสร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 8 นิ้วเศษของลาลีคครั้งนั้น ทางลาลีคบอกว่า ใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 7 ปีเต็ม บริษัทหลอมแก้วคริสตัลที่ดีและเก่งทีสุดของโลกบริษัทหนึ่ง คงไม่ทำอะไรเล่น ๆ เพราะค่าแรงทีมช่างแก้วของเขาแพงมาก ช่างแทบทุกคนของเขาติดอันดับ 1 - 2 ของโลกตลอดเวลา มีการแข่งขันฝีมือทุก 2 ปีโดยสมาคมระหว่างประเทศ ทีมงานเกือบ 20 คนที่มีเงินเดือนคนละหลาย ๆ แสนหรือเป็นล้านต่อคนต่อเดือน มารวมหัวกันสร้างพระพุทธรูปทรงเอเซีย ใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 7 ปี คงไม่คิดทำเล่น ๆ

    การที่ลาลีคเลือกใช้แก้ว 28 - 29% PbO ก็ในเมื่อตะกั่วเพิ่มขึ้น ทำไมเขาจึงเลือกหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงขึ้นอีกถึง 80 ํC และเพิ่มเวลาการหลอมออกไปจาก 8 - 12 ชั่วไปเป็น 48 ชั่วโมง นี่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ กันเลยทีเดียว

    ผมคาดว่า สาเหตุคงเพราะต้องการให้ได้แก้วที่ไม่มีฟองเลย ไม่ีมีเส้นวุ้นเลย และต้องให้ช่างแก้วอันดับหนึ่งของโลกของเขาม้วนก้อนแก้วให้ได้ก้อนละ 15 ก.ก. ขึ้นไป ( ช่างไทยเก่ง ๆ ม้วนได้แค่ 2 - 3 ก.ก. ) โดยที่ก้อนแก้วที่ม้วนนั้น ต้องไม่มีฟอง ไม่มีวุ้น และชิ้นงานออกมาได้สีแก้วดังใจของผู้ออกแบบ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    .....................

    ไม่มีความคิดเห็นในข้อนี้
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ........................

    ในข้อนี้เข้าสู่ช่วงความลับของสูตรเคมีแก้ว แต่ละสูตรของแต่ละโรงงานแก้วมักเป็นความลับ การผสมเคมีตัวนั้นมากหน่อย น้อยหน่อย ก็เพราะเขารู้ว่า งานของเขาต้องเพิ่มเคมีตัวไหน ดังนั้น การเลือกใช้เคมีให้ถูกต้องตรงตามงานแต่ละงาน ก็มีความจำเป็น เช่น ถ้าโรงงานแก้วนี้ต้องใช้เวลาในการขึ้นรูปชิ้นงานนานมาก เขาต้องผสมเคมีพวกนี้ลงไป เพื่อเพิ่มช่วงเวลาให้ขึ้นรูปชิ้นงานให้เสร็จก่อนที่แก้วจะแข็งตัว ( ผมไม่ทราบว่าแก้วโบโรหลอดทดลองวิทยาศาสตร์มีผสมเคมีตัวนี้มากหรือเปล่า ? )

    ถ้าใส่เคมีพวกนี้มากเกินไป เมื่อขึ้นรูปชิ้นงานเสร็จแล้วไปอบที่ความร้อนสูง ๆ เช่น 650 ํC ในชิ้นงานที่มีความหนาประมาณ 2 - 5 ม.ม. แก้วก็อาจแบน ยุบตัวได้ง่ายทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่การ soak คือไม่ใช่ 650 ํC ต่อเนื่องเป็นชั่วโมง

    เอาละครับ มาถึงตรงนี้ก็เข้าใจได้แล้วว่า แก้วที่มีเคมีบางตัวมากหน่อย อาจยุบตอนอบได้หากร้อนสูง คราวนี้ก็มาถึงเหตุที่ ทำไมผมจึงเลือกโรงงานแก้วโรงนั้นในขณะนั้น ก็เพราะว่า โรงงานแก้วโรงนั้นขณะนั้นมีคุณสมบัติที่ผมต้องการในขณะนั้นครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ................

    ไม่มีความคิดเห็นในข้อนี้ขณะนี้ แต่มีความคิดเห็นในบางเกร็ดเรื่องโคบอลท์ที่ว่า ส่วนโคบอลท์ออกไซด์จะทำให้แก้วมีสีฟ้า ซึ่งจะได้เนื้อแก้วใส นั้น ในปีไหนผมจำไม่ได้ แต่นานมากแล้ว ประเทศทางยุโรปได้ทำแก้วโคบอลท์ได้หลายหลากสี โดยไม่จำเป็นต้องสีฟ้าตลอด และสีของโคบอลท์ไม่ใช่ใสที่เป็นกลาง
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ......................

    ยังไม่มีความคิดเห็นในข้อนี้
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ..................................

    glassbuddha2009 :
    ขั้นตอนการผลิตแก้วเจียรนัย หรือ crystal glass

    1. การหลอมแก้วคริสตัลในที่นี้หมายถึงหลอมจากทรายผสมเคมีต่าง ๆ เพื่อนำน้ำแก้วคริสตัลไปขึ้นรูปด้วยวิธีเป่าแก้วด้วยปอด, การปั๊ม, การต่อขาแชมเปญ หรืออาจเรียกตอนเต็มขั้นว่า การปั้นแก้วฟรีฟอร์ม หรือแฮนด์เมด ใช้อุณหภูมิ 1,400 องศาเซลเซียส ในเบ้าทนไฟ ( pot furnace ) เป็นเวลา 8 - 12 ชั่วโมง จะได้น้ำแก้วสุกพร้อมขึ้นรูป ระหว่างการหลอม ตะกั่วจะถูกเผาแบบลดออกซิเจนได้ lead metal ซึ่งจะตกตะกอนสู่พื้นเบ้าและกัดกร่อนก้นเบ้า ควรเติม oxidizing agent ลงไปในส่วนผสมด้วย
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ................

    glassbuddha2009 :
    2. การขึ้นรูป ( forming ) ในที่นี้ใช้แค่ 3 วิธีกับ 3 ชนิดชิ้นงาน คือ
    2.1 แก้วเป่าด้วยปอดธรรมดา ๆ ชิ้นงานมักหนาเฉลี่ย 2 - 4 ม.ม.
    2.2 แก้วเป่าด้วยปอดมีหูจับหรือขายาวที่ใช้วิธีแฮนด์เมดร่วมกัน ตรงแฮนด์เมดมักหนา 5 - 9 ม.ม.
    2.3 การปั๊มหรือ pressed glass ชิ้นงานมักหนา 5 - 12 ม.ม.


    ในการเป่าด้วยปอดโดยอิสระในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีช่างคนไหนทำได้ นอกจากทำเครื่องมือลักน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช้กันในโรงงานแก้ว เพื่อนำน้ำที่ลักลงครกเหล็กเวลาเลี้ยงลูกโป่ง

    แต่ถ้าเป็นการปั้นแก้วฟรีฟอร์มโดยใช้แค่คีมเหล็ก หรือเครื่องมือง่าย ๆ ไม่กี่ชิ้น อันนี้พอมีช่างไทยทำได้อยู่บ้าง แต่ไม่เก่งและชิ้นงานไม่ครบวงจรเหมือนเมืองนอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    .......................

    ขอทำความเข้าใจกับข้อความด้านบนนี้ที่ว่า " 3. การอบ (annealing) ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส เพื่อลดความร้อนก่อนนำไปตัด เป็นเตาต่อเนื่องมีสายพานเคลื่อนที่ " ผมอ่านแล้วเข้าใจเลยว่า ผู้เขียนข้อความเบื้องต้นนั้น ไปดูงานมาในสมัยก่อนปี 2515 เพราะหลังปีนั้น เขาสามารถสร้างชิ้นงานได้โดยตัดปาก หรือต่อขาแก้วแชมเปญก่อนแล้วตัดปาก จากนั้นจึงเข้าเตาอบโดยไม่ต้องอบหลายครั้งซ้ำซ้อนได้ อันนี้เนื่องจากการผลิตที่ต่อยอดเทคนิคหรือวิธีขึ้นมาสำเร็จครับ ส่วนชิ้นงานแก้วอื่น ๆ ที่ต้องตัดปากภายหลังผ่านการอบนั้น เช่น ชิ้นงานที่ไม่ต้องต่อขาหรือต่อหู เมื่อตัดแล้วไม่จำเป็นต้องผ่านการอบซ้ำเหมือนสมัยก่อนโน้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ....................

    เป็นอย่างนั้นครับ แก้วคริสตัลที่มีตะกั่วประมาณ 24%PbO จนถึงประมาณ 33%PbO มักเจียรนัยแล้วได้มุมที่ดี ได้แสงประกายที่ดี ปัจจุบันการเจียรนัยพัฒนาไปมาก มีการตัดชิ้นงานออกเป็นหลายชิ้นก่อน เมื่อเจียรนัยเสร็จแล้วค่อยนำมาต่อติดกันให้เป็นชิ้นงานเดียวกัน จึงทำให้ชิ้นงานออกมาดูดีกว่าสมัยโบราณที่ยึดถืองานแบบชิ้นเดียวไม่ตัดไม่ต่อ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ควรตัดต่อหลายชิ้นจึงดีนะครับ ความจริงชิ้นงานที่ไม่ตัดไม่ต่อก็ยังดีที่สุด เพียงแต่ผู้ออกแบบชิ้นงานพริ้ว ๆ เช่น ม้ายืนสี่ขามีหางยื่น นกอินทรีย์กางปีก อย่างนี้ถ้าไม่ตัดไม่ต่อคงทำยากมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ..................

    ไม่มีความเห็นในข้อนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...