การปฏิบัติภาวนาจิต (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 13 มกราคม 2014.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ธรรมเทศนา เรื่อง

    การปฏิบัติภาวนาจิต

    โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)


    ณ โอกาสต่อไปนี้ ขอเชิญชวน ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
    น้อบน้อมต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ผู้พระบรมศาสดา ตรัสรู้เองโดยชอบ

    ทำสติกำหนดรู้จิตของตนเอง เอาตัวรู้กำหนดรู้ที่จิต นึกว่า
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่จิต
    พระธรรมก็อยู่ที่จิต
    พระอริยะสงฆ์ก็อยู่ที่จิตของเรา

    เราไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งอื่น
    โดยที่สุดแม้ กระแสเสียงการบรรยายธรรม หรือ แสดงธรรม

    เราก็ไม่ต้องไปสนใจใดๆทั้งสิ้น อ่ะอื๊มๆ

    เพียงแต่ให้มีสติกำหนดรู้จิต เพียงอย่างเดียว
    เมื่อเรามี สติกำหนดรู้จิตของเรา ผู้รู้คือพระพุทธเจ้าก็ปรากฎขึ้นที่จิต
    การทรงตัวอยู่ด้วยความมีสติสัมปชัญญะก็ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม
    สติที่สังวรระวังตั้งใจจะสำรวมจิต ก็ได้ชื่อว่า
    ความมีกิริยาแห่งความเป็นพระสงฆ์อยู่ในจิต

    ดังนั้น

    เมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว
    หมดปัญหาที่เราจะไปกังวลกับสิ่งอื่นๆ
    เพราะธรรมชาติของจิต และกาย ถ้ายังมีความสัมพันธ์กันอยู่
    ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

    จิต เค้าเป็นผู้มีหน้าที่รับรู้ เค้าจะรู้เองโดยอัตโนมัติ

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นแต่เพียงเครื่องมือ
    เป็นเครื่องมือของจิต ที่จะสื่อสารกับโลกภายนอก

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2014
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ดังนั้น เมื่อเราจะปฏิบัติธรรม จึงสำคัญอยู่ที่
    การที่มีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว
    ปฏิปทา ของครูบาอาจารย์ ที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพ่อลี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ที่เราเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง

    ท่านจะย้ำสอนอยู่ที่อานาปานะนุสติ
    อานาปานุสติ คือ การ ที่มีกำหนด มีการกำหนดสติ
    กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก

    ที่นี้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจ อ่ะอื๊มๆๆ

    เราก็เพียงแต่ว่า มีสติกำหนดรู้จิตอยู่เท่านั้น
    เมื่อกายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กันอยู่
    สิ่งที่จะปรากฎเด่นชัดที่สุด ก็คือ ลมหายใจ

    เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็จะรู้ธรรมชาติของกาย
    ธรรมชาติของกายนี่ ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ ลมหายใจเท่านั้น
    เมื่อลมหายใจเข้าไปแล้วไม่ออกมา เราก็ตาย
    ลมหายใจออกไปแล้ว ไม่ย้อนกลับเข้ามา เราก็ตาย
    นี่เรามองเห็นความจริงได้เด่นชัด

    ในเมื่อรู้ว่า เราจะตาย เราก็รู้ มรณานุสติ
    คือ สติระลึกถึงความตาย

    เพราะฉะนั้น

    ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รับสั่งถามพระอานนท์ว่า
    " อานนท์ เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้งกี่หน "
    ท่าน อานนท์ก็ทูลตอบว่า " วันละพันหน "

    พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า "อานนท์ ยังประมาทอยู่
    เราตถาคต ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจ "

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ทีนี้เมื่อเรามาวิเคราะห์ หรือ พิจารณาตามความเป็นจริง
    ตามพระดำรัสนี้ โดยธรรมชาติของผู้ที่เป็นพุทธะ คือ พระพุทธเจ้า
    ย่อมมีพระสติ สัมปชัญญะ รู้พร้อมทั่ว อยู่ ทุกขณะจิต
    ดังนั้น
    คำที่ว่า ระลึกถึง ลมหายใจทุกขณะจิตนั้น ก็หมายถึง
    พระองค์รู้ถึงลมหายใจเข้าหายใจออกอยู่เป็นปกตินั้นเอง

    ทีนี้ วันนึงๆ คนเราเนี๊ยะ หายใจ วันละกี่ครั้ง กี่หน
    เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ ลมหายใจของเรา เข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
    ก็ได้ชื่อว่า เราระลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา

    เพราะฉะนั้น

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ ว่า
    เราระลึกถึง ลมหายใจทุกขณะจิต ทุกขณะที่มีลมหายใจ
    นี่ ความหมายของพระองค์เป็นอย่างนี้

    สมัยที่ท่านพ่อลี ยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ถือว่า อาตมะ
    นอกจากจะเป็นลูกศิษย์แล้ว ยังเป็นหลานของท่านด้วย ท่านมีศักดิ์เป็นปู่
    เวลาท่านไปโกรดเยี่ยมเมื่อไหร่
    ท่านจะบอกว่า" มหาพุธ "
    กำหนดจิต รู้ลมหายใจเดี๋ยวนี้ ท่านไม่เคยสอนอย่างอื่น
    ท่านบอกว่า ให้กำหนดรู้ลมหายใจ พอมีสติกำหนดรู้ลมหายใจซักพักนึง

    ท่านจะถามว่า สะบายมั๊ย

    เวลาอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ ทำอะไรมันก็สะบายหมด
    เพราะมันกลัว กลัวบารมีของครูบาอาจารย์
    ก็ต้องตอบท่านว่า สะบายมาก

    แล้วท่านก็ย้ำว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนา สำคัญอยู่ที่ อานาปานุสติ
    ทำไมถึง ว่า สำคัญอยู่ที่อานาปานุสติ เรียนถามท่าน

    ท่านก็บอกว่า

    ใครจะบริกรรมภาวนาอะไร หรือ จะพิจารณาอะไรก็ตาม
    เมื่อจิตจะเข้า เมื่อจิตสงบแล้ว
    ซึ่งยังไม่ใช่สมาธิ เป็นแต่เพียงความสงบ จิตหยุดนิ่ง
    ไม่นึกถึงอะไรอีกแล้ว ในขณะที่จิตอยู่ว่างๆ ลมหายใจจะปรากฎเด่นชัดที่สุด

    ซึ่งจิตมันจะวิ่งไปหาลมหายใจเอง นี่ท่านว่าอย่างนี้

    สรุปความว่า

    ใครจะภาวนาแบบไหน อย่างไรก็ตาม
    เมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์เดิม
    ที่กำหนดพิจารณาอยู่ก็ดี
    บริกรรมภาวนาอยู่ก็ดี
    จิตจะวิ่งเข้าหาลมหายใจ อันเป็นธรรมชาติของร่างกาย
    เมื่อจิต มาจับลมหายใจ

    ในช่วงนั้น

    จิตจะกำหนดรู้ลมหายใจเองโดยอัตโนมัต
    เพียงแต่ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก
    จิตจะไม่นึกว่า
    ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว
    ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด

    เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเอง เฉย อยู่
    เหมือนๆกับเราไม่ได้ตั้งใจ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2014
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ที่นี้ เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ
    บางครั้งลมหายใจจะปรากฎว่าหายใจแรงขึ้นเหมือนกับคนเหนื่อยหอบ
    ท่านก็เตือน ให้มีสติกำหนดรู้อยู่เฉยๆ
    บางครั้งจะรู้สึกว่าลมหายใจแผ่วเบาลงไป เหมือนใจจะขาด เหมือนจะหยุดหายใจ
    ท่านก็เตือน ให้กำหนดรู้อยู่เฉยๆ อย่าไปตกใจ อย่าไปตื่นใจ
    กับความเป็นเช่นนั้น

    สติเค้าจะกำหนดรู้ของเค้าอยู่เองโดยธรรมชาติ
    ถ้าหากผู้สติยังไม่เข้มแข็ง
    เมื่อเหตุการณ์อันนี้บังเกิดขึ้น ก็เกิดเอะใจ ตกใจ แล้วสมาธิก็ถอน
    ก็ตั้งต้น บริกรรมภาวนา หรือ พิจารณาไปใหม่
    จนกว่าจิตจะไปถึง ความเป็นเช่นนั้น คือไปถึงจุดนิ่งว่าง

    ที่นี้จิตที่ไปหยุดนิ่งว่างอยู่เฉยๆ
    อันนั้นอย่าเข้าใจว่า จิตมีสมาธิ มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น

    เมื่อจิตจะเป็นสมาธิ มันเปลี่ยนสภาพจากความสงบ
    พอมันไปเกาะลมหายใจปั๊ป จะรู้สึกว่า สว่างนิดๆ ตามกำลังของจิต

    ทีนี้ ถ้าหากว่า จิตมีพลังสมาธิ มีพลังสติเข้มแข็ง
    จิตสงบละเอียดลงไปแล้ว ความสว่างไสว มันจะปรากฎขึ้น
    ในช่วงที่จิต สงบ สว่างไสวปรากฎขึ้นนั้น ร่างกายยังปรากฎอยู่
    จิต จับลมหายใจเป็นอารมณ์
    คือ
    วิตก ถึงลมหายใจ อันนี้เป็นองค์แห่งวิตก

    ทีนี้ สติ สัมปชัญญะ ที่เตรียมพร้อม รู้ตัวอยู่ในขณะนั้น เป็นวิจาร
    เมื่อจิตมีวิตก วิจาร จิตแน่วแน่ ต่ออารมณ์ที่ตนวิตกถึง
    ย่อมมีความดูดดื่มซึมซาบ แล้วก็เกิดมีปีติ

    ปีติ เป็น อาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม
    เมื่อปีติบังเกิดขึ้น กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ
    ผู้ใจอ่อน มีปีติอย่างแรง ตัวจะสั่น ตัวจะโยก น้ำตาไหล
    ขนหัวลุก ขนหัวพอง

    ท่านพ่อลี ท่านเตือนให้กำหนดสติ รู้ตัวอยู่เฉยๆ
    พยายามรักษา สภาพจิต ให้เป็นปกติ
    ไม่ต้องหวั่นไหว ต่ออาการที่เป็นไปเช่นนั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เมื่อจิตมีปีติ ก็มีความสุข เมื่อมีความสุขก็ย่อมมีความเป็นหนึ่ง
    กำหนดรู้อยู่ที่ ลมหายใจ ความเป็นหนึ่งก็คือ เอกัคคัคตา

    ถ้าหากสมาธิในขั้นนี้ดำรงค์อยู่ได้นานๆ
    หรือผู้ปฏิบัติ สามารถเข้าสมาธิ ออกสมาธิได้คล่องตัว ซึ่งเรียกว่า วสี
    ความชำนาญ ในการออกการเข้าสมาธิ

    แล้วสมาธิก็ดำรงค์อยู่นานๆ จะให้อยู่นานเท่าไหร่ก็ได้
    อันนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติได้ปฐมฌาน

    ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตา

    นักปฏิบัติที่เคยผ่านแล้ว ย่อมเข้าใจดี

    ทีนี้ เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ละเอียดลงไป จิตนิ่งอยู่เฉยๆ
    ไม่นึกถีงอะไร แต่มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง
    สมาธิจิต ก้าวขึ้นสู่ ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ คือ ปีติ สุข เอกัคคัคตา

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอีกขึ้นหนึ่ง อาการ แห่งปีติ ขนหัวลุก ขนหัวพอง
    หายไปหมดสิ้น ยังเหลือแต่สุข กับเอกัคคัคตา
    ตอนนี้จะรู้สึกว่า กายค่อยจากๆ เกือบจะหายไป แต่ยังปรากฎอยู่
    สุขก็เป็นสุขที่ละเอียด สุขุม
    อันนี้ สมาธิอยู่ในขั้น ตติยฌาน มีองค์ประกอบสอง คือ สุข กับ เอกัคคัคตา

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ละเอียดลงไป
    จนกระทั่งกายจางหายไป
    ตอนนี้ กายหายหมดแล้ว
    ยังเหลือจิตดวงนิ่ง สว่าง ไสว รู้ตื่น เบิกบาน
    ร่างกายตัวตนไม่มี จิตไม่ได้นึกถึงอะไร จิตรู้อยู่ที่จิต
    สมาธิขั้นนี้
    ถ้าเรียกโดยจิตก็เรียก ว่า อัปนาจิต
    เรียกโดยสมาธิก็เรียก ว่า อัปนาสมาธิ
    เรียกโดยฌานก็เรียก ว่า จตุถฌาน
    มีองค์ประกอบ สอง คือ
    เอกัคคัคตาความเป็นหนึ่ง
    กับ
    อุเบกขา ความเป็นกลางของจิต
    เป็นสมาธิอยู่ในขั้น จตุถฌาน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    สมาธิขั้นนี้ ร่างกายตัวตนหายหมด ยังเหลือแต่จิต ดวง สว่าง ไสวอยู่
    แต่ยังยึดความสว่างเป็นอารมณ์จิต

    จิตเป็นอัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน
    อัตตะสรณา มีตนเป็นที่ระลึก คือระลึกรู้อยู่ที่ตน
    อัตตาทีปะ มีตนเป็นเกราะ
    ผู้ภาวนาได้ชื่อ ว่า ได้สมาธิขั้น สมถะกรรมฐาน

    ทีนี้

    สมาธิ ขั้นสมถะกรรมฐาน ที่ยังไม่มีพลังงานเพียงพอ
    ก็ได้แต่หยุดนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นฐานสร้างพลังจิต
    แม้ว่า ความรู้ ความเห็นอะไร จะไม่บังเกิดขึ้น
    ในขณะ ที่จิต ทรงอยู่ในสภาพเช่นนั้นก็ตาม
    แต่จะได้พลังจิต คือ พลังทางสมาธิ ทางสติ

    เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิมาแล้ว พอรู้สึกว่า มีร่างกาย
    ถ้าจิตดวงนี้จะไม่เดิน วิปัสนา ก็จะถอย พรวดๆๆ ออกมา
    มาจนกระทั่ง ถึง ความเป็นปกติ อย่างธรรมดา เหมือนกับที่ยังไม่ได้ภาวนา

    แต่ถ้า จิตบางดวง มีอุปนิสัยเบาบาง จะก้าวขึ้นสู่ภูมิ วิปัสนา
    พอถอนออกมา พอรู้สึกว่ามีกายเท่านั้น
    จิตดวงนี้ก็จะเกิดความรู้ ความคิด ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อย่างกับน้ำพุ
    ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    ในตอนนี้นักปฏิบัติบางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่า จิตฟุ้งซ่าน
    แต่ ความจริงไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน จิตจะก้าวสู่ภูมิ แห่งวิปัสนาเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ถ้าจิตถอนจากสมาธิมาแล้ว
    มาเกิดความคิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อม
    ตรงที่จิตมันเกิดความคิด คิดแล้วก็ปล่อยวาง คิดแล้วก็ปล่อยวาง
    ไม่ได้วิ่งตามเรื่องราว ที่จิตคิด กำหนดรู้เพียงจุดที่เกิดความคิดเท่านั้น
    อันนี้เรียกว่า สมาธิวิปัสนา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    จิตที่มันคิดไปนั้น มันคิดเรื่องอะไร
    สาระพัดจิปาถะ ที่จิตมันจะปรุ่งแต่งขึ้นมา
    มันจะมีลักษณะเหมือนๆกันกับเราผูกลิงไว้บนต้นไม้

    มันจะกระโดดไปกิ่งโน้น กระโดดไปกิ่งนี้ บางทีมันก็แยกเขี้ยวยิงฟัน
    มันจะมีลักษณะอย่างนั้น มันไม่เป็นเรื่อง ไม่เป็นราว
    เพราะความคิดอันนี้ จิตมันปรุงแต่งขึ้นมา

    ทีนี้ เมื่อจิตปรุงแต่งขึ้นมา
    ถ้าสติสัมปชัญญะมันรู้พร้อม มันก็สักแต่ว่า คิด
    คิดแล้วปล่อยวาง คิดแล้วปล่อยวาง
    ไม่ได้ยึดอะไรไว้เป็นปัญหา สร้างความเดือนร้อนให้แก่ตัวเอง

    ทีนี้ เมื่อ จิตของท่านผู้ใดเป็นเช่นนี้ อ่ะอื๊มๆ
    ถ้าหากไม่ไปเผลอ คิดว่าจิตฟุ้งซ่าน
    ปล่อยให้มันไปตามธรรมชาติของมัน มันอยากคิดปล่อยให้มันคิดไป
    แต่ว่าเรามีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ รู้เรื่อยไป

    เอาความคิดนั้นแหล่ะเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ
    ตอนนี้ สมาธิมันเป็นเองโดยธรรมชาติ ปัญญาก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

    เรากำหนดหมายเอาความดีจากความเป็นเช่นนี้ของจิต
    ด้วยความมี สติ สัมปชัญญะ รู้พร้อม อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว

    เมื่อจิตไปสุดช่วงมันแล้ว บางทีมันจะหยุดนิ่งปั๊ปลงไป
    บางทีก็รู้สึกแจ่มๆอยู่ภายในจิต บางทีก็สงบละเอียดลงไปถึงขั้น จตุถฌาน
    ไปยับยั้งอยู่ใน จตุถฌาน ตามสมควร แล้วก็ไหวตัวออกมาจากสมาธิขั้นนี้

    พอมาถึง จุดที่มีร่างกาย เกิด วิตก วิจาร ขึ้นมา
    แล้วก็จะพิจารณา อธิบายเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้ตัวเองฟัง ช๊อด ช๊อด

    บางทีเค้าอาจจะบอกว่า

    ความคิด เป็นอาหารของจิต
    ความคิด เป็นการบริหารจิตให้เกิดพลังงาน
    ความคิด เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด
    ความคิด นี่แหล่ะ มันมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ ยินดี ยินร้าย
    แล้วจิตจะสามารถกำหนดหมาย ความยินดี ความยินร้าย

    ว่า

    ความยินดีคือ กามตัณหา
    ความยินร้ายคือ วิภวตัณหา
    ความยึด คือ ภวตัณหา
    ในเมื่อจิตมี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อยู่พร้อม
    ความยินดี ความยินร้ายมันก็บังเกิดขึ้น
    สุข ทุกข์ ก็บังเกิดขึ้น สลับกันไป

    เมื่อผู้มีสติ สัมปชัญญะ มีพลังทางสมาธิ ทาง สติ ปัญญา
    จิตก็สามารถที่จะกำหนดหมาย รู้ สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้น ดับไป อยู่ภายในจิต

    ว่า นี่คือ ทุกอริยสัจที่พระพุทธเจ้ตรัสรู้ แล้วจิตก็จะกำหนดดู
    รู้อยู่ที่จิต สิ่งที่เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่กับจิต แล้วในที่สุดจะรู้ว่า

    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
    ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
    ทุกข์เท่านั้นดับไป

    ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม นี่ทางหนึ่งที่จิตของนักปฏิบัติ จะเป็นไป

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    แล้วอีกทางที่สอง

    ในเมื่อจิตสงบ ลมละเอียด ลงไป ละเอียดลงไป สมาธิ จิตเกิดความสว่างไสว
    แต่ร่างกายตัวตนยังปรากฎอยู่ จิตยังเสวย ปิติสุข ที่เกิดจากสมาธิ

    ในช่วงนี้ ถ้าจิต ส่งกระแสออกไปนอก จะเกิด ภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา
    บางทีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์
    บางทีเห็นครูบาอาจารย์มาหา หรือ มาเทศน์ให้ฟัง
    บางทีเห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระอรหันต์ เสด็จมาโปรด แล้วก็มาเทศน์ให้ฟัง

    ทีนี้

    เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ ท่านพ่อลี สอนว่าอย่างไร
    ท่านว่า อย่าไปแปลกใจ อย่าไปตกใจ อย่าไปเอ่ะใจ
    อย่าไปยึดในนิมิตนั้น แล ะอย่าไปสำคัญมั่นหมาย

    ว่า

    มีอะไร มาปรากฎตัวให้เรารู้เราเห็น ถ้ายังกำหนดจิตได้อยู่
    ท่านก็ให้กำหนดรู้ว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คือ จิตของเราปรุงแต่งขึ้นเท่านั้น
    ไม่ใช่อื่่นไกล มันเป็น มโนภาพ ซึ่งเกิดขึ้นกับจิตของเราเอง
    จิตของเราเป็นผู้ปรุงผู้แต่ง ขึ้นมา

    ทางแก้ ก็คือ

    ให้มีสติกำหนดรู้จิต เฉยอยู่เท่านั้น
    ถ้าหากนิมิตที่มองเห็นในสมาธิเป็นภาพนิ่ง แน่ว แน่ ไม่ไหวติง
    หรือ บางทีออกจากสมาธิมาแล้ว

    ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น อันนี้ ท่านเรียกว่า อุคหนิมิต
    คือนิมิต ติดตา หรือจิตกำหนดดูภาพนิ่ง

    ทีนี้ ถ้าหากว่า จิตมีพลังแก่กล้าขึ้น
    จิต สามารถปรุงแต่งนิมิตนั้นให้มีการปรุงแต่ง นิมิตนั้น
    ให้มีการ เปลี่ยนแปลง ยักย้าย

    บางทีนิมิต ล้มตายลงไป ขึ้นอืด เน่าเปลื่อย ผุ พัง
    แล้วก็สลายตัวไปต่อหน้าต่อตา หรือ บางทีก็ปรากฎเป็นนิมิต ขึ้นมาว่า
    ร่างกายที่แตกสลายแล้ว แยกออกไปเป็น ดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ
    หรือบางทีเกิดไฟลุกไหม้ ร่าง ที่นอนตายอยู่นั้น
    เป็นเถ้า เป็นถ่าน เป็นผงลงไปหมด

    หรือบางที นิมิตนั้นเกิดขึ้น แล้วก็หายไป เกิดขึ้นมาใหม่
    มีอันเปลี่ยนแปลง ยักย้าย อยู่ตลอดเวลา อันนี้ท่านเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

    เมื่อ จิตกำหนดหมายรู้ ความเปลี่ยนแปลงแห่งนิมิตนั้น
    แสดงว่า จิตของผู้ปฏิบัติ กำลังจะก้าวขึ้นสู่ ภูมิ วิปัสนา

    จิตถอนจากสมาธิมาแล้ว เกิดความคิดก็ดี นั่น เป็นจุดเริ่มของวิปัสนา

    ทีนี้
    จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ได้อุคหนิมิต เป็นสมถะกรรมฐาน
    ถ้าได้ ปฏิภาคนิมิต จิตกำลังเริ่มจะก้าวขึ้นสู่ภูมิ วิปัสนา
    ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น จิตเค้าจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ


    อ่ะอื๊มๆๆ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ถ้าสิ่งใดที่เราตั้งใจปรุงแต่ง
    จะให้เป็นไปอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น
    อาศัยความคิดที่แน่วแน่ มันก็เกิดเป็นนิมิตขึ้นมา
    อันนั้น เรียกว่า นิมิตที่เราปรุงแต่ง

    แต่ถ้าหากว่า
    จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว มันเกิดนิมิตขึ้นมาเอง
    อันนั้นเรียกว่า นิมิตมันเป็นเอง

    อันนี้ลักษณะของจิต ที่พุ่งกระแสออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างนี้
    ยิ่งกว่านั้น ในบางครั้ง เมื่อ จิต พุ่งกระแสออกไปข้างนอก
    ก็ไปเห็นอะไร ที่ ติดอก ติดใจ เช่น เห็นครูบาอาจารย์
    หรือ เห็น เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์
    ไปติดใจในภาพนิมิตนั้น ก็เดินตามเขาไป
    จะปรากฎเหมือนกับว่า เรามีร่าง ร่างนึง เดินตามเขาไป
    เขาจะพาเราไปเที่ยวนรก
    เขาจะพาเราไปเที่ยวสวรรค์
    หรือ บางที เขาจะพาเราไปดูเมืองนิพพาน
    ซึ่งทั้งนี้ ทั้งนั้น มันก็เป็นมโนภาพขึ้นมาทั้งนั้น

    ทีนี้ ตอนนี้
    ในมื่อจิตเป็นไปอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติ ไม่มีทางที่จะไปบังคับ
    ไม่มีทางที่จะไปตกแต่งจิตให้เป็นอย่างไร
    นอกจากจิตของเราจะปรุงแต่งไปเองโดยอัตโนมัติ
    ในเมื่อไปสุดช่วงของมันแล้ว มันก็จะย้อนกลับมาเอง
    อันนี้ธรรมชาติของสมาธิที่มันเป็นไป
    ถ้าหากกระแสจิตส่งออกไปนอกมันจะเป็นอย่างนี้

    ยิ่งกว่านั้นในบางครั้ง มันอาจจะไปรู้ เรื่อง ลับๆ ลี้ๆ
    อันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
    เช่นไปรู้วาระจิตของคนอื่น ไปรู้ความประพฤติของคนอื่น
    หรือไปรู้ทุกอย่างอันเป็นผลพลอยได้ จากการปกิบัติสมาธิ

    ซึ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
    อันนี้เป็นทางนึง ที่จิตจะเป็นไป
    ถ้าท่านผู้ใด มีประสบการณ์ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้
    ก็ปล่อยจิต ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน
    มันไปสุดช่วงมันแล้ว มันจะย้อนกลับมาเอง
    จิตมันไปดูข้างนอก มันไปสำรวจโลก
    เพื่อมันจะได้รู้ว่า โลกะวิทู นั้น คืออะไร

    อันนี่เป็นสองทางแล้ว ที่จิตมันจะเป็นไป

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    แล้วอีกทางหนึ่ง ในเมื่อจิตมาจับลมหายใจ เมื่อจิตสงบสว่าง
    จะมองเห็นลมหายใจเป็นท่อยาว วิ่งออก วิ่งเข้า
    แล้วจิตก็จะไปยึดอยู่ที่ท่อลม วิ่งออก วิ่งเข้า
    ซึ่ง สว่างไสว เหมือนหลอดนีออน
    บางทีเป็นท่อยาว บางทีก็เดิน ตั้งแต่จมูก
    ลงไปถึงเหนือสะดือ สองนิ้ว
    บางทีก็มองเห็นแต่ข้างใน เห็นแต่อยู่ภายในกาย
    บางทีก็มองเห็นพุ่งออกมาข้างนอกด้วย ซึ่งแล้วแต่จิตจะปรุงแต่งขึ้นมา

    อันนี้เป็นประสบการณ์

    ทีนี้ ถ้าหากจิตไม่เป็นอย่างนั้น
    พอวิ่งออก วิ่งเข้า ตามลม
    ซึ่ง เข้า-ออก เข้า-ออก
    เมื่อจิตสงบนิ่ง เข้าไป มันจะไปนิ่งสว่าง
    อยู่ในท่ามกลางของร่างกาย
    เรียกว่า ดวงสว่างอยู่กลางกายนั่นเอง

    ทีนี้
    นอกจากจะสงบนิ่งสว่าง เป็นดวงสว่าง อยู่ท่ามกลางของกายแล้ว
    ยังสามารถพุ่งกระแสความสว่างออกมารอบตัว

    ในขณะนั้น จิตจะมองเห็นอวัยวะต่างๆภายในกาย ของตนเอง
    ทั่วหมด ในขณะจิตเดียว

    ตั้งแต่

    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
    จนกระทั่งถึง มัตถะเก มัตถะลุงคัง มันสมองเป็นทึ่สุด
    จะรู้เห็นในขณะจิตเดียว

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ทีนี้

    ในเมื่อ จิตไปกำหนดรู้เห็นอยู่ภายใน ภายในกาย
    รู้เห็นอวัยวะครบถ้วน อาการ สามสิบสอง จิตค่อย สงบ ละเอียด ละเอียด
    ละเอียด ลงไป ทีละน้อย ละน้อย แล้วในที่สุด เข้าไปสู่ อัปนาสมาธิ ถึงฌานที่สี่
    ร่างกายตัวตนหายไปหมด ยังเหลือแต่จิตดวงเดียว นิ่งสว่าง ไสวอยู่

    ทีนี้ ถ้าหากว่าจิต ผ่านความเป็นอย่างนี้ แล้วไปสู่จุดซึ่งเรียกว่า จตุถฌาน
    จิตอาจจะมาลอยเด่นอยู่เหนือร่างกาย แล้วจะมองเห็นร่างกาย
    ขึ้นอืด เน่าเปลื่อย ผุพัง สลายตัวไป ทีละอย่าง ละอย่าง ละอย่าง
    ในที่สุดจะยังเหลือแต่โครงกระดูก
    โครงกระดูก ก็จะทรุดฮวบลงไป แหลกละเอียด
    หายสาปสูญไปกับผืนแผ่นดิน แล้วก็ยังเหลือแต่จิต สว่างไสว
    อยู่เพียงดวงเดียว

    บางทีอาจจะเป็นย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้ง หลายหน อันนี้ก็พึงเข้าใจว่า
    จิตเป็นผู้แต่งขึ้นมา ปรุงแต่งขึ้นมา เพื่อให้เรารู้ความจริงว่า
    ร่างกายของเราจะเป็นไปเช่นนั้น ทีนี้ บางทีอาจจะมอง เห็นร่างกายแยกกันป็นกองๆ
    เป็นกองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ

    ทีนี้ เมื่อจิต ถอนจากสมาธิมาแล้ว
    พอรู้สึก ว่า มีกาย

    ถ้าสมาธิจิต ที่กายหายไปแล้วนี่ พอจิตย้อนกลับมาหากาย

    ตอนนี้ นักปฏิบัติ ต้องประครองสติให้ดี เพราะเมื่อจิตมาสัมพันธ์กับกาย
    เราจะรู้สึกซู่ซ่า ทั่วร่างกาย เหมือนๆ กับ ฉีดยาแคลเซี่ยม เข้าเส้นอย่างแรง
    จะวิ่งซู่ ไปทั้วกาย ตั้งแต่หัวสุดเท้า

    ตอนนี้ นักปฏิบัติผู้มีสติ สัมปชัญญะ
    จะไม่ตื่นตกใจ จิตจะมีสติ กำหนดรู้ความเป็นไป จนกระทั่ง
    มีความรู้สึกเป็นปกติ พอมีความเป็นปกติ สมาธิยังอ่อนๆ

    จิตก็จะบอกกับตัวเองว่า นี่แหล่ะ คือ การตาย
    ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เน่าเปลื่อย ผุ พัง
    ทุกสิ่งทุกอย่าง สลายตัวไป เป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ไหนเล่า สัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา มีที่ไหน

    แน๊ !! จิตมันจะว่าอย่างนี้

    ในขณะ ที่มันรู้เห็น นิ่ง อยู่เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น
    เห็นร่างกายตาย มันก็เฉย เห็นร่างกายเน่าเปลื่อย ผุ พัง มันก็เฉย
    แต่มันรู้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถบันทึกข้อมูลเอาไว้หมดทุกอย่าง
    อันนี้เรียกว่า ความรู้เห็น ในขั้น สัจจะธรรม
    สัจจะธรรมย่อมไม่มีภาษา สมมุติบัญญัติ
    และก็เป็นความรู้ ความเห็นใน สมาธิขั้นสมถะ ซะด้วยนะ

    เพราะงั้น นักปฏิบัติที่ภาวนาไม่ถึงขั้น อย่าด่วนไปปฏิเสธ ว่า
    สมาธิ ขั้น สมถะ ไม่เกิดภูมิความรู้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2014
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    จิตของคนเราแม้ไม่มีร่างกายตัวตน
    สามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่พูดไม่เป็น รู้เห็นเหมือนกับคนใบ้
    รู้เห็น นิ่งๆ อยู่เฉยๆ แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆเอาไว้พร้อมหมด
    ทำไมจึงไม่พูด ทำไมจึงไม่คิด

    ในขณะนั้น กายไม่มี จิตไม่มีเครื่องมือ จึงคิดไม่เป็น พูดไม่เป็น

    สงสัยหรือเปล่า ถ้าสงสัย ปฏิบัติให้มันถึงขั้นนี้ แล้วจะหายสงสัย
    อย่ามัวแต่ไปเถียงกันว่า สมาธิขั้นสมถะ มันไม่เกิดภูมิความรู้ ไม่เกิดภูมิความรู้
    ขอประทานโทษ ไม่ใช่ตำหนิยกโทษ
    แท้ที่จริง ตัวภาวนาไม่ถึงขั้น ไปอ่านกันแต่เพียงตำหรับตำราเท่านั้น อ่ะอื๊ม
    ถ้าหากว่านักปฏิบัติสมาธิภาวนาชาวพุทธนี่ ยังเห็นว่า
    สมาธิขั้นสมถะ ไม่เกิดภูมิความรู้อยู่ตราบใด
    พุทธบริษัทก็จะพากันโง่ จนกระทั่ง ศาสนาสาปสูนย์ไปจากโลก

    ไม่ใช่ด่านะ

    ให้พยายาม ไปพิจารณาดูให้ดี
    สมาธิ ตามความเข้าใจของนักปฏิบัติ
    เท่าที่สังเกตุดู ในปัจจุบันนี้ มันเป็นอย่างนี้
    เช่น อย่างมาภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ แล้วก็ข่มจิตลงไป
    น้อมจิตลงไป น้อมจิตลงไป อาศัยการฝึกให้คล่องตัว ชำนิ ชำนาญ
    ในเมื่อมันเกิดความคล่องตัว เราจะสะกดจิต ตัวเองให้หยุดเมื่อไหร่ก็ได้

    แต่

    ความหยุดนิ่งของจิต ตามที่เราตั้งใจ จะให้หยุดนิ่ง
    มันไม่ใช่สมาธิน๊า พระเดชพระคุณ มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น

    สมาธิจริงๆ เมื่อจิตหยุดนิ่ง มันจะเปลี่ยนสภาวะ
    คิดปั๊ป เป็น นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน
    ถ้าหากกายปรากฎ ในขณะนั้น จะมี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคัคตา พร้อม
    นิวรณ์ห้าทั้งหลาย มันจะสงบระงับไปหมด
    อันนี้ มันจึงจะเรียกว่า สมาธิที่เป็นเองโดยธรรมชาติของสมาธิ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เมื่อสมาธิธรรมชาติ มันเกิดขึ้นแล้ว
    นักปฏิบัติ ไม่สามารถที่จะน้อมจิตน้อมใจไปไหนได้ดอก
    นอกจาก จิตจะปฏิวัติตัวไปเอง
    โดยพลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ประชุมพร้อมแล้ว

    ซึ่ง เราสวด สติปัฏฐานสี่ เมื่อซักครู่นี้ว่า
    เอกายะโน มัคโค สัมมะทักขาโต สัตตานัง วิสุทธิยา
    เมื่อ อริยะมรรค เมื่อศีล สมาธิ ประชุมพร้อมรวมเป็นหนึ่ง
    ศีลก็เป็นอธิศีล สมาธิก็เป็นอธิจิต ปัญญาก็เป็นอธิปัญญา
    ในเมื่อศีล สมาธิ เป็นอธิ ผู้ยิ่งใหญ่
    ก็สามารถปฏิวัติ ภูมิจิต ภูมิธรรม ไปตามขั้นตอน
    ซึ่งสุดแท้แต่ พลังนั้น จะบันดาลให้เป็นไปอย่างไร
    ผู้ปฏิบัติ ไม่มีทางที่จะมีสัญญาเจตนาจะน้อมจิตไปอย่างไร
    จิตจะออกนอกเป็นเรื่องของจิต
    จะจะเข้าในเป็นเรื่องของจิต
    จิตจะมากำหนดรู้อยู่ที่จิตเป็นเรื่องของจิต
    ซึ่งเค้าจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ในขณะที่จิตเป็นไปเช่นนั้น

    จะไปรู้ไปเห็นอะไรก็เพียงแต่ว่าเฉยๆ นิ่งๆ อยู่เฉยๆ เท่านั้นแหล่ะ
    เช่นอย่างรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รู้ความเปลี่ยนแปลง ของสภาวะทั้งหลายทั้งปวง
    ก็สักแต่ว่ารู้อยู่เฉยๆ

    คำว่าอนิจจังก็ไม่มี ทุกขังก็ไม่มี อนัตตาก็ไม่มี
    ถ้าขืนไปมีแล้ว สมาธิมันจะถอน

    เราอาจจะพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกเป็นอนัตตา
    เราว่าได้ตั้งแต่จิตยังไม่สงบเป็นสมาธิ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิดีแล้วนี่
    มันจะปรากฎแต่ สิ่งที่ เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่เท่านั้น

    แล้วคำพูดที่ว่า อะไรเป็นอะไร มันจะไม่มี

    มันจะมีต่อเมื่อ จิตถอนจากสมาธิมาแล้ว
    มันจึงจะพูดเป็น เพราะมันมีกายเป็นเครื่องมือแล้ว
    อันนี่ ทางเป็นไปของจิตทางหนึ่ง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เพราะฉะนั้น ในเมื่อสรุป รวมลงไปแล้วว่า
    เราจะบริกรรมอะไรก็ตาม
    จะพิจารณาอะไรก็ตาม

    การบริกรรมภาวนา เรียกว่า ปฏิบัติตามแบบสมถะ
    การพิจารณา เรียกว่า ปฏิบัติตามแบบของ วิปัสนา

    ทั้งสองอย่างนี้

    เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อจะให้จิต สงบ เป็นสมาธิ
    เพื่อได้เกิดสติปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ตามความเป็นจริง
    และทั้งสองอย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้วเนี๊ยะ
    ภาษาคำพูดอะไรต่างๆ มันจะไม่มี

    ผู้ปฏิบัติแบบวิปัสนาก็ดี แบบ สมถะก็ดี

    ในเมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์แล้ว
    มันจะไปนิ่งว่างอยู่เฉยๆ

    ทีนี้ จุดที่มันนิ่งว่างเนี๊ยะ

    ทางหนึ่ง มันพุ่งกระแสออกนอกเกิดภาพนิมิต ตามที่กล่าว

    อีกทางหนึ่ง มันวิ่งตามลมเข้ามาข้างใน
    จะมารู้เห็นอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งเรียกว่า รู้อาการ สามสิบสอง
    มันจะไปจนกระทั่ง ถึง จตุถฌาน

    ทีนี้

    อีกทางหนึ่งมันไม่ไปไหนละ จิตกำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว
    ไม่เข้านอก ไม่ออกใน

    แล้วจะว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าจิตรู้จิตอย่างเดียว
    ถ้ากายยังมีอยู่ มันก็จะเห็นอารมณ์ที่ เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างละเอียด

    นี่ทางไปของจิตมันมีอยู่สามทางเท่านี้
    อันนี้ขอฝากนักปฏิบัติทั้งหลาย เอาไว้พิจารณา

    ก่อนที่จะจบเรื่องราวเนี๊ยะ อยากจะขอนำ
    พระโอวาทคำสั่งสอน ของครูบาอาจารย์มาเล่าสู่กันฟัง
    เพื่อเป็นเครื่องประดับ สติ ปัญญา

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มกราคม 2014
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    โอวาท ของ หลวงปู่เสาร์

    มีอยู่เพียงสั้นๆ

    ท่านพูดเป็นปริศนาว่า

    .....เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิด....


    พอถามว่า จิตฟุ้งซ่านหรือไงท่านอาจารย์
    ท่านจะตอบว่า ถ้ามันเอาแต่นิ่ง มันก็ไม่ก้าวหน้า
    ลองฟังดูซิ นักปฏิบัติทั้งหลาย
    เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิดจิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร
    อ้าว.. ถ้ามันเอาแต่นิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า
    ... เอ้าไปนอน นั้งคิด นอนคิด
    ความหมายของโอวาทครูบาอาจารย์ให้แตก
    ถ้าตีโอวาทของครูบาอาจารย์ใหเเตกแล้ว
    .. เราจะได้หลักในการปฏิบัติ สมาธิภาวนาอย่างถูกต้อง
    อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เสาร์ ฝากไว้สั้นๆแต่เพียงแค่นี้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    โอวาทของหลวงปู่มั่น
    ฐีติภูตัง

    ฐีติภูตัง มีพระเถระผู้หลักผู้ใหญ่เคยถาม
    ฐีจิภูตังของพระอาจารย์มั่นมายความว่าอย่างไร
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันนี่แหล่ะ

    ก็ทูลตอบท่านว่า สวดมนต์ถวายท่าน
    ธัมมัตถิ ตัตตา ธัมมะนิยามะตา เพราะความที่จิต ตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว
    ธัมมะนิยามะตา เพราะความ ที่สภาวะธรรมทั้งหลาย มาหมุนรอบจิต
    คือ

    จิต สงบ นิ่ง อยู่ในท่ามกลาง แห่ง กิเลสและอารมณ์

    แต่

    ไม่มีความหวั่นไหวตามกิเลสและอารมณ์นั้นๆ
    จึงได้ชื่อว่า ฐีติ ภูตัง

    ฐีติ ความตั้งมั่นของจิตโดยธรรมชาติของสมาธิ
    ภูตัง ความไหลไป ความเปลี่ยนแปลงไป ความวิ่งไป
    ของสภาวะธรรมที่ เกิด-ดับ กับจิตอยู่ตลอดเวลา
    อันนี่คือโอวาท ของหลวงปู่มั่น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    โอวาทของหลวงปู่ฝั้น

    ... อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง ...

    ความหมายของท่านตีความหมายว่าอย่างไร
    บางท่านอาจจะว่าไม่ปล่อยให้จิตว่างนี่
    มันจะต้องคิด
    ต้องสวดมนต์
    ต้องท่องอะไรอยู่ไม่หยุดไม่หย่อน
    อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น

    คำว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่างนี้ หมายความว่า
    ให้มีสติกำหนดรู้จิตอยู่ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ทำไมหนอท่านผู้นี้จึงสอนว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่าง
    แล้วให้มีสติกำหนดจิต ท่านเอาความรู้และหลักฐานมาจากไหน

    ในเมื่อมองไปในหลักปริยัติ มีพุทธภาษิตที่ทรงตรัสไว้ว่า

    เอฐะปัสสะติมัง โลกังจิตตัง ราชะระถู ปะมัง ยัตฐะ พาราวิสีรันติ
    ระฐิสังโฆ วิจานะตัง เอจิตตัง สัญญะเมตสันติ โมกขันติ
    มานะปัณฑะนา

    สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้
    อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรง
    ของพระราชา ที่พวกคนเขาหมกอยู่
    แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    ผู้ใดจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    ชัดเจนหรือเปล่า อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง

    คือ มีสติสำรวมจิตอยู่ตลอดเวลา
    ผู้มีสติสำรวมจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร


    นี่หลวงปู่ฝั้นท่านอาศัยหลักฐาน ตามพุทธโอวาทตอนนี้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ทีนี้ อ่ะอื๊ม ๆ

    หลวงปู่เทศก์

    ... สมาธิในฌานมันโง่
    สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด ...

    สมาธิในฌานจิตสงบนิ่งรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียว
    ความรู้อื่นความเห็นอื่นไม่ปรากฏขึ้น
    เป็นสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌาน
    เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ

    ที่นี่สมาธิในอริยมรรค มันฉลาด
    คือ จิตสงบนิ่งลงไปนิดนึง ความรู้ความคิด
    มันเกิดขึ้นมาฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมายังกับน้ำพุ
    ที่นี้ในเมื่อความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาแล้ว
    มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร

    ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
    สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิด
    คือ วิจารใช่หรือเปล่า
    ในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    สมาธิในวิปัสนานี่อาศัย องค์ฌานคือ
    วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตาเหมือนกัน
    เหมือนกันกับสมาธิในฌานสมาบัติ
    แตกต่างกันโดยที่ว่า สมาธิในฌานสมาบัติไม่เกิดภูมิความรู้
    เป็นแต่เพียงทำจิตให้ละเอียด ละเอียด ละเอียด
    จนกระทั่ง เกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
    แต่สมาธิในอริยะมรรคนี้ พอจิตสงบนิ่งลงไปปั๊บ
    บางทีก็รู้สึกแจ่มๆ แต่ความคิดมันผุดขึ้นมาผุดขึ้นมา
    ผุดขึ้นมาแบบรั้งไม่อยู่

    ซึ่งนักปฏิบัติบางท่านเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อย่าไปเข้าใจผิด
    บางทีพอจิตสว่างแล้วก็เกิดเห็นโน่นเห็นนี่ทางนิมิตรขึ้นมา
    เมื่อจิตเลิกรู้เห็นนิมิตรแล้วก็มาเกิดภูมิความรู้ความคิดขึ้นมายังกับน้ำพุอีกเหมือนกัน

    นี่เป็นสมาธิในอริยะมรรค
    ซึ่งเรียกว่า สมาธิวิปัสนา เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจถูกต้อง
    ในช่วงใดจิตต้องการสงบนิ่งปล่อยให้นิ่ง
    ช่วงใดจิตต้องการคิดปล่อยให้คิด แต่มีสติกำหนดตามรู้

    ทีนี่ถ้าหากสมาธิถึงขนาดที่เกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเองเนี่ยะ
    เราไม่ต้องไปกำหนดอะไรหรอกเขาจะเป็นไปเองของเขา

    จิตของเราจะรู้...เฉยอยู่เท่านั้น
    บางครั้งพอจิตสงบแล้วมันเกิดมีความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง
    ฟุ้งขึ้นมา จิตอาจจะแบ่ง ออกเป็นแยกออกเป็น 3 มิติ

    มิติหนึ่ง คิดอยู่ไม่หยุดยั้ง
    อีกมิติหนึ่ง เฝ้าดูงาน
    อีกมิติหนึ่ง ถ้าร่างกายปรากฎ
    จะมาสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย

    ตัวที่คิดอยู่ไม่หยุด เป็นจิตเหนือสำนึก
    ตัวที่เฝ้าดู คือ ตัวผู้รู้ได้แก่ สติ
    ตัวที่หยุดนิ่ง คือ จิตใต้สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน

    ลองไปปฏิบัติดูนะ จะเป็นไปได้มั๊ย อย่างที่ว่านี้
    อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เทศก์

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  19. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    โอวาทของหลวงปู่มหาบัว
    ปัญญาอบรมสมาธิ
    ลักษณะปัญญาอบรมสมาธิ
    ตามความหมายของหลวงปู่องค์นี้มันเป็นอย่างไร
    มันเป็นอย่างนี้ เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปได้นิดนึง
    ความคิด ความรู้ มันผุด ขึ้นมา
    เหมือนกับสมาธิ ในอริยะมรรคของหลวงปู่เทศก์

    ทีนี้ความคิดอันใดที่มี สติ สัมปชัญญะ รู้ทันกันอยู่ โดยอัตโนมัติ
    มันเป็นจิตเดินวิปัสนา

    ทีนี้ จิตดวงนี้ เอาความคิดที่เกิดขึ้นมาเองเป็นอารมณ์จิต
    เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อความคิด ความรู้ มันเกิดขึ้นมา
    สติ สัมปชัญญะ ก็ กำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ
    ความตั้งใจหรือเจตนาจะให้จิตเป็นไปนั้น อย่างไรนั้นไม่มี
    มีแต่ความเป็นเองของจิตโดยธรรมชาติของสมาธิและปัญญา

    ทีนี้

    ในเมื่อเกิดความคิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติมีสติ สติรู้พร้อมอยู่โดยอัตโนมัติ
    สมาธิมันก็ค่อยเด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น
    คือ จิตมันสงบละเอียดลงไปนั้นเอง
    แล้วในที่สุด อารมณ์กับจิต มันจะแยกออกจากกัน
    กลายเป็น สามมิติ ดังที่กล่าวมาแล้ว

    อันนี้ คือ ลักษณะของ ปัญญาอบรมสมาธิ

    ทีนี้

    ความหมาย
    และความเป็นไปของมติของครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วนี้
    จุดมุ่งหมาย อยู่ที่จุดเดียว คือ ความเป็นตรงกัน
    แต่เมื่อท่านพูด ท่านใช้ โวหาร คนละอย่าง

    หลวงปู่เสาร์ว่า จิตข้าไม่สงบมีแต่ความคิด
    หลวงปู่มั่น ฐีติภูตัง
    หลวงปู่ฝั่้น อย่าปล่อยให้จิตว่าง
    หลวงปู่เทศก์ สมาธิในฌานมันโง่ สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด
    หลวงปู่มหาบัว ปัญญาอบรมสมาธิ

    ความหมาย มันก็คือ อันเดียวกันนั้นเอง แต่ท่านใช้ภาษาคนละภาษา

    อันนี้ โอวาท ของครูบาอาจารย์ ดังที่กล่าวมานี่

    นักปฏิบัติ ควรจะได้นำไปพิจารณาได้จดจำดำเนิน ตามปฏิปทาของท่าน

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มกราคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...