จิตตะภาวนา (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 19 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1370479/[/MUSIC]


    ไฟล์ที่แนบมา 2ไฟล์ เป็นไฟล์ต่อกันในเรื่อง

    ผู้ฟังต้องโหลดไว้ฟัง 2ไฟล์ ถึงจะฟังจบเรื่อง จิตภาวนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • CD109-71.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      1,230
    • CD109-72.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      431
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ธรรมะเทศนา
    โดย
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย ​

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา​

    เรื่อง จิตตะภาวนา ​

    ถอดเทปโดย เพื่อน สมาชิก จูโน่​


    (ช่วงที่ ๑ )

    เอาขาขวาทับขาซ้าย มือซ้ายวางลงบนตัก
    เอามือขวาวางทับลงไป เอาหัวแม่มือชิดกัน
    แต่ว่าอย่าให้ถึงกับไปกดดันกัน วางให้เป็นที่สบาย
    ตั้งตัวให้ตรง ดำรงสติให้มั่น
    อย่าให้มีการกดข่มประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย
    ให้กำหนดนั่งให้เป็นที่สบาย อย่าก้มนักและก็อย่าเงยนัก อย่าเอียงซ้าย อย่าเอียงขวา

    เมื่อท่านเตรียมนั่งสมาธิตามแบบวิธีการสำเร็จแล้ว
    ต่อไปขอได้โปรดตรวจดูศีลของตน
    การบำเพ็ญสมาธิตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ต้องขึ้นต้นด้วยศีล อย่างต่ำก็ศีล ๕
    ตั้งแต่เช้ามาจนถึงบัดนี้<O:p</O:p
    ขอให้พิจารณาดูศีลตามขั้นภูมิแห่งตนเอง
    ถ้าตรวจพบว่าศีลของเราบกพร่อง
    ก็ให้อธิษฐานจิตเอาไว้ว่าจะทำให้บริสุทธิ์ ต่อไป
    ถ้ารู้ว่าศีลของตนเองบริสุทธิ์สะอาดดีแล้ว
    ก็ควรจะได้ทำความภูมิใจ
    เบิกบานใจ
    ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์สะอาดดีแล้ว

    โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ เรามานั่งอยู่นิ่งๆไม่ได้ทำอะไร
    กายก็อยู่ในท่าทีที่สงบ วาจาก็สงบ ใจก็สำรวมมีสติสัมปชัญญะ
    เพื่อแน่ว่าเราไม่ได้ละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่งเป็นแน่นอน
    <O:p</O:p

    ดังนั้น

    จึงควรได้อธิษฐานจิตของตัวเองว่า
    ศีลของเราบริสุทธิ์แล้ว ศีลของเราบริสุทธิ์แล้ว ศีลของเราบริสุทธิ์แล้ว
    เมื่อเราตรวจศีลเป็นที่บริสุทธิ์เป็นที่พอใจแล้ว
    ต่อไปโปรดตั้งใจนึกถึง
    พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่า
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ <O:p</O:p
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    <O:p</O:p
    ครั้นจบแล้ว
    แล้วมาสำรวมอยู่ที่จิต รู้อยู่ที่จิต
    ทำความเชื่อมั่นว่า
    พระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี
    อยู่ที่จิตของเรา

    พระพุทธเจ้าคือความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี มีอยู่ที่จิตของเราแล้ว
    พระธรรม คือการทรงไว้ ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้น
    พระสงฆ์คือมีสติ สังวรณ์ ระวัง ตั้งใจ จะละความชั่ว ประพฤติความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาด<O:p</O:p

    ผู้มีความรู้สึก สำนึกผิดชอบชั่วดี และคงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้น<O:p</O:p
    ตั้งใจแน่วแน่ว่า
    เราจะละความชั่ว ประพฤติความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ สะอาด อยู่เสมอ
    ผู้นั้น ได้ชื่อว่า
    มีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ในจิตของเรา
    <O:p</O:p
    ดังนั้น

    เราจึงไม่ควรไปกังวลสิ่งอื่น
    จึงกำหนดเอาจิตตัวผู้รู้ของเราเท่านั้น แล้วทำความเชื่อมั่นว่า
    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในจิตของเรา
    ในขณะที่เรายังไม่ชำนาญ ในการกำหนดรู้จิตของตัวเอง
    เพื่อจะให้การกำหนดรู้นั้นชัดเจนขึ้น
    จึงควรบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ในจิต
    นึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น
    อย่าไปแสดงอาการข่มจิต
    อย่าบังคับจิต
    อย่าไปสะกดจิตให้มันหยุดคิดอย่างอื่น
    เพียงแต่ประคองให้มันอยู่กับพุทโธเพียงอย่างเดียว
    นึกว่าหน้าที่ของเราปัจจุบันนี้
    มีแต่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    หน้าที่อื่นๆของเราไม่มี
    มีแต่ประคองจิตกับพุทโธให้อยู่ด้วยกัน
    เมื่อจิตกับพุทโธอยู่ด้วยกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
    ตอนแรก
    เราอาจจะตั้งใจนึกบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    เมื่อเราไม่ได้ตั้งใจจิตของเราจะไม่บริกรรมพุทโธ
    ต่อเมื่อเราตั้งใจจิตของเราจึงจะนึกบริกรรมภาวนาพุทโธ
    ในตอนแรกๆมันจะเป็นอย่างนี้
    แต่จะด้วยประการใดก็ตาม
    อะอืม ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายจงตั้งใจให้แน่วแน่
    ว่า
    เราจะภาวนาพุทโธเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    การภาวนาพุทโธเป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    พุทโธ เป็นชื่อหนึ่งของพระพุทธเจ้า
    ซึ่งเราแปลพุทโธว่าพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    <O:p</O:p
    เมื่อเราบริกรรมภาวนาพุทโธอยู่
    หนักๆเข้า
    จิตของเราจะเกิดความคล่องตัวต่อการภาวนาพุทโธ
    เราจะรู้สึกว่า เราไม่ได้ตั้งใจจะนึกพุทโธ
    แต่
    จิตของเรานึกพุทโธเอง
    แล้วเราก็มี สติรู้อยู่เอง ในขณะจิตนั้น
    อันนี้เป็นการสังเกตุการภาวนาพุทโธ ในขั้นแรก<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ( ช่วงที่ ๒ )

    ทีแรก เราภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอเผลอปั๊ป
    มันไปคิดอย่างอื่น
    แล้วเราก็มานึกพุทโธขึ้นมาใหม่
    พอเผลอมันไปคิดอย่างอื่น แล้วเราก็เอามาหาพุทโธใหม่

    สำหรับผู้ที่ฝึกหัดภาวนาพุทโธในตอนแรกๆนี่
    ต้องพยายามเอาจิตกับพุทโธให้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
    จงพยายามนึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ
    ไม่เฉพาะแต่เวลามานั่งสมาธิภาวนาเพียงอย่างเดียว
    ในขณะที่ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ
    ควรจะนึกบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ ไว้ทุกขณะจิต
    เพื่อจิตของเราจะได้คล่องตัวต่อการนึกพุทโธ
    นึกพุทโธจนคล่องตัว
    ซึ่งในที่สุด
    จิตของเราจะนึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ เองโดยอัตโนมัติ
    เมื่อจิตของเรานึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ เองโดยอัตโนมัติ
    เราไม่ได้ตั้งใจจะนึกแต่ว่ามันนึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ ของมันเอง
    บางครั้งเราห้ามไม่ให้มันนึก มันก็ไม่ยอมหยุด มันนึกของมันอยู่อย่างนั้น <O:p</O:p
    เมื่อจิตไปนึกถึงบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ เอง มันไม่ยอมหยุด
    จะดึงให้มันหยุดมันไม่หยุด
    มันนึกพุทโธของมันอยู่อย่างนั้น
    อันนี้จิตของท่านติดกับพุทโธแล้วนึกถึงพุทโธเอง
    เรียกว่า
    จิตได้องค์ของฌานที่หนึ่ง คือวิตก
    เมื่อมีสติรู้พร้อมอยู่เอง ในขณะจิตนั้น
    ตัวนึกพุทโธก็นึกคิดอยู่ ตัวระลึกรู้ก็ระลึกอยู่
    คือตัวสติก็ระลึกรู้อยู่เองโดยอัตโนมัติ <O:p</O:p
    จิตนึกพุทโธเอง ตัวรู้ก็รู้เองโดยอัตโนมัติ
    มันนึกจนกระทั่งมันไม่ยอมหยุด ตัวรู้ก็ไม่ยอมหยุด
    ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ มันนึกพุทโธ พุทโธ ของมันอยู่อย่างนั้น
    ซึ่งรู้สึกว่า
    มันนึกอยู่ในส่วนลึกๆของจิตซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจจะนึก
    อันนี้เรียกว่า
    ผู้ภาวนาได้องค์ฌานที่ ๑ กับองค์ฌานที่ ๒
    คือ วิตก กับ วิจาร
    <O:p</O:p
    เมื่อจิตของท่านมานึกพุทโธเอง
    สติก็รู้อยู่เอง
    ท่านอย่าไปรำคาญ
    เขาจะนึกของเขาอยู่อย่างนั้น ก็ปล่อยให้เขานึกไปเถอะ
    โดยธรรมชาติของจิต
    ถ้ามีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    ความสงบละเอียดมันก็จะค่อยก้าวเข้าไปทีละขั้นตอน
    เมื่อจิต มี วิตก วิจาร
    ปิติ คือความเอิบอิ่มใจก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    หนีไปไหนไม่รอด
    ขอให้ได้ วิตก กับ วิจาร แล้วปิติมันจะบังเกิดขึ้นมาเอง

    ในอันดับแรก
    ที่ปิติจะบังเกิดนั้น

    ผู้ภาวนาจะต้องรู้สึกว่า
    เบากาย กายเบา จิตก็เบา
    บางครั้งยังรู้สึกคล้ายๆกับว่าตัวมันจะลอยขึ้นบนอากาศ
    หรือ
    บางทีรู้สึกว่า
    ไม่ได้นั่งอยู่กับพื้นเพราะกายมันเบา
    และ ในอันดับนั้น
    จิตก็ปลอดโปร่ง มีความเบา เบาอกเบาใจ
    อันนี้เป็นอาการเริ่มแรกๆ ที่ปิติมันจะพึงบังเกิดขึ้น

    ทีนี้
    เมื่อเกิดเบากาย เบาจิต
    ต่อไปกายสงบ
    จิตก็สงบ
    คือ
    กายสงบจากทุกขเวทนาต่างๆ
    ความปวด ความเมื่อย และอาการอื่นๆซึ่งเป็นทุกขเวทนาหายไป
    คือ
    มันสงบจากความทุกขเวทนานั้นเอง
    จิตก็สงบ สงบจากความฟุ้งซ่าน รำคาญ
    สงบจากกามะฉันทะพยาบาท ถีนะมิทถะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา
    เพราะจิตอาศัยปิติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
    แล้วก็เกิดความสุขอันเป็นผลเกิดจากปิติ
    จิตมีความเอิบอิ่ม มีความเบิกบาน มีความปราโมทย์บันเทิงในอารมณ์ของกรรมฐานกำลังเริ่มดูดดื่ม
    กำลังเริ่มจะเข้าถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อย่างแท้จริง
    ปิติและความสุขจึงบังเกิดขึ้นอย่างเต็มที่
    <O:p</O:p
    เมื่อมีปิติมีความสุข
    จิตก็หมดความดิ้นรนกระวนกระวายเข้าไปสู่ความเป็นหนึ่ง
    ซึ่งเรียกว่า
    เอกัคคัตตา
    ในอันดับของจิตในเมื่อปีติเริ่มบังเกิดขึ้น
    บางท่านก็มีตัวสั่น มีตัวโยก
    บางทีก็รู้สึกหวิวๆในความรู้สึกภายในจิต
    ซึ่งสารพัดที่จิตมันจะปรุงแต่งขึ้นมา
    เมื่ออาการทั้งหลายแหล่บังเกิดขึ้น
    ผู้ภาวนาควรจะได้กำหนดจิต
    ให้มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ในขณะจิตนั้น
    ถ้าหากว่าจิตยังบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่
    สติก็รู้อยู่ ปิติก็มีอยู่ ความสุขก็มีอยู่ ความสงบก็มีอยู่
    ซึ่งเรียกว่าสมาธิ
    ที่ประกอบไปด้วยองค์
    คือ มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคัตตา จิตดำเนินอยู่ในฌานที่ ๑
    <O:p</O:p
    ถ้าหากว่าจิตดำเนินอยู่ในสมาธิขั้นฌานที่๑
    ซึ่งประกอบด้วยองค์๕
    อืมๆ ผู้ภาวนาเริ่มจะได้สมาธิซึ่งกำลังจะดำเนินเข้าไปสู่ฌานแห่งอริยะมรรค

    แต่ส่วนมากข้อที่ควรระวัง

    บางครั้งเราบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    ยังมิทันใด จิตก็มีอาการวูบวาบ
    สงบลงเป็นสมาธิ
    ซึ่งเรายังไม่สามารถกำหนดรู้องค์ฌานนั้นได้อย่างละเอียด
    พอวูบวาบลงไปแล้ว
    นิ่ง
    สว่าง
    กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก
    ประเดี๋ยวก็ไปเห็นภาพนิมิตต่างๆ
    อันนี่เป็นประสบการณ์ที่นักภาวนาในขั้นต้นจะพึงประสบ

    เมื่อเป็นเช่นนั้น

    สมาธิในระดับอ่อนๆ
    มีลักษณะสะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น
    เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอก
    ย่อมมองเห็นภาพนิมิตต่างๆ
    บางทีก็เห็นนิมิตเป็นรูปคน รูปสัตว์
    หรือบางทีก็เห็นเทวดา อินทร์ พรหม ยมยักษ์
    บางทีก็เห็นภูตผีปิศาจ
    หรือบางทีก็อาจจะเห็นพวกวิญญาณต่างๆ

    ซึ่งในบางครั้ง

    ผู้ภาวนาไปสำคัญว่า

    สิ่งที่เราเห็นในสมาธิในขั้นนี้
    ไปเข้าใจว่า
    วิญญาณมาขอส่วนบุญส่วนกุศล
    แล้วก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้วิญญาณเหล่านั้น

    เพราะสมาธิตอนนี้มันยังมีกำลังอ่อน
    เมื่อเราตั้งใจจะแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้วิญญาณเหล่านั้น

    พอเกิดความตั้งใจ
    สมาธิมันก็ถอน

    เมื่อสมาธิถอนแล้ว
    ภาพนิมิตต่างๆก็หายไปหมดไม่มีอะไรเหลืออยู่
    เพราะนิมิตที่มองเห็นนั้นมันเป็นนิมิตรเป็นรูปภาพที่จิตของเราเอง
    เป็นผู้ปรุงเป็นมโนภาพขึ้นมา
    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น

    เมื่อเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้น
    ผู้ภาวนาควรจะได้กำหนดรู้จิตของตัวเองอยู่
    ถ้าหากว่าจิตยังบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ
    ก็ภาวนาพุทโธเรื่อยไป
    อย่าไปสนใจกับภาพนิมิตที่มองเห็นนั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่หลอกลวง
    เป็นมโนภาพจิตของเราเองนั่นแหล่ะ เป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมาเอง
    <O:p</O:p
    ถ้าหากเรามีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เฉยอยู่
    หรือบางที
    เราอาจจะนึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต
    เป็นของไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
    หรืออาจจะไม่นึกคิดอะไร
    เพียงแต่กำหนดรู้จิตเฉยอยู่เท่านั้น

    โดยถือว่า โดยทำความรู้สึกในทีว่า
    สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นแต่เพียงอารมณ์จิตเท่านั้น
    เหมือนๆกับสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาอย่างธรรมดาๆ
    ถ้าเรากำหนดรู้กันเพียงแต่เป็นอารมณ์จิต
    แล้วก็มีสติระลึกรู้อยู่พร้อมในขณะจิตนั้น
    ไม่เกิดเอะใจ
    หรือไม่ตกใจ ไม่ตื่นใจ <O:p</O:p
    เกี่ยวกับเรื่องนิมิต
    นิมิตนั้นจะดำรงค์ อยู่ได้นาน
    ให้เราได้ดูนานๆ

    บางทีเพ่งดูไป
    นิมิตอาจจะแสดงภาพ อสุภะกรรมฐานให้เราดู
    บางทีก็อาจจะแสดงอาการตายลงไปให้เราดู
    แล้วก็แสดงความขึ้นอืด เน่า เปื่อย ผุพัง
    ไปตามขั้นตอน
    เราก็จะได้มองเห็นอสุภะกรรมฐาน
    ได้รู้อสุภะกรรมฐาน

    ถ้าหากว่าจิตของเรา
    มีความสงบละเอียดลงไป
    มีความมั่นคงพอสมควร
    สมาธิยังไม่ถอน
    อาจสามารถที่จะกำหนดนิมิตนั้น
    ซึ่งจิตของเราจะกำหนดรู้ไปเอง
    เป็นไปเอง
    อาจจะปรุงแต่งขึ้นมา ให้เรามองเห็น
    สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นส่วนของร่างกายอันหนึ่ง
    แล้วก็จะแยกกันออกไปเป็นส่วนๆ
    ตามกฎของธรรมชาติ
    คือ
    ส่วนที่มีลักษณะแน่นและแข็ง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
    ก็จะแยกออกไปเป็นกองหนึ่ง
    ซึ่งเรียกว่าเป็นธาตุดิน

    ส่วนที่เป็นเหลวๆ น้ำเมือก น้ำหนอง เป็นต้น
    ก็จะแยกเป็นส่วนหนึ่ง

    ส่วนที่เป็นไฟก็จะแยกไปส่วนหนึ่ง

    ส่วนที่เป็นลมก็จะแยกไปอีกส่วนหนึ่ง
    ซึ่งจิตของเราอาจจะปรุงแต่งแยกแยะของมันไปเอง
    โดย
    พลังแห่งสมาธิ และสติปัญญา

    เราก็จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม
    อะอืมๆ ได้ รู้ธาตุกรรมฐาน
    <O:p</O:p
    อันนี้คือประสบการณ์ที่นักปฏิบัติควรจะระมัดระวัง อะอืมๆ<O:p</O:p

    แต่ส่วนมากในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว

    เกิดภาพนิมิตอะไรต่างๆขึ้นมา
    เรามักจะเกิดความเอะใจ
    เมื่อเกิดความเอะใจก็ไปตื่น
    ไปตกใจ
    สมาธิก็ถอน
    เพียงแต่ตื่นใจตกใจสมาธิถอนก็ยังดี
    แต่ถ้าบางครั้ง บางที
    อะอืมๆ
    เราอาจจะไปมองเห็นเป็นนิมิต ภาพต่างๆ
    บางทีอาจจะเป็นนิมิตภาพผู้วิเศษ
    ซึ่งในความสัมพันธ์ในใจในจิตของเรา
    อาจจะเป็นเช่นนั้น

    เช่น

    ไปนิมิตเห็นภาพพระอิศวรหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง
    ที่เราถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์
    ในเมื่อเกิดเป็นนิมิตขึ้นมา
    เรามองเห็นเข้า
    บางทีจิตของเราก็อาจจะไปน้อมเอาเทพเจ้าที่มองเห็นนั้น
    เข้ามาสู่จิตสู่ใจของเรา
    เพราะเราเชื่อมั่นว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้วิเศษ
    แล้วจะมาช่วยให้เราได้สมาธิ
    ได้สติปัญญาอย่างรวดเร็วทันใจ
    และให้สำเร็จมรรคผลได้เร็ว
    ซึ่งจิตของเราอาจจะเข้าใจผิดไปเช่นนั้น

    ถ้าหากเราไปน้อมเอาสิ่งนั้นๆเข้ามาในตน
    เช่น
    เห็นเทพเจ้าก็น้อมเอาเทพเจ้าเข้ามาสู่หัวใจของเรา
    ในเมื่อเทพเจ้าเข้ามาสู่หัวใจของเรา
    จิตของเราจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่น
    แทนที่จะมีความสงบนิ่งเป็นสมาธิ มีสภาวะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในจิตในใจ
    พอภาพนิมิตนั้น เข้ามาสิงสถิตอยู่ในจิตในใจของเรา
    ใจของเราจะเปลี่ยนทันที
    มันจะเปลี่ยนไปเป็นรู้สึกว่าหนักหน่วงในตัว
    หนักอกหนักใจคล้ายๆกับว่าหัวใจถูกบีบ
    อึดอัดรำคาญไปหมด
    ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น
    เพราะ
    อำนาจของวิญญาณที่เรามองเห็นนั้น แล้วเราน้อมเข้ามาสิงสู่อยู่ในตัวของเรา
    มันก็มากลายเป็นการทรง กลายเป็นการประทับทรงไป
    อันนั่นเป็นการเดินทางผิด


    เพราะฉะนั้น
    เรื่องนิมิตต่างๆนี่ นักปฏิบัติทั้งหลายควรจะระมัดระวังให้ดี

    <O:p</O:p
    ในเมื่อนิมิตอันนั้นเกิดขึ้นมาเราจะทำอย่างไร
    เราควรจะได้กำหนดจิตรู้ที่จิตของเราอย่างเดียว
    ให้กำหนดหมายว่า
    ภายในจิตของเรานี่
    มีแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น อยู่ในจิตในใจของเรา
    พระพุทธเจ้าก็ดี
    พระธรรมก็ดี
    พระสงฆ์ก็ดี
    ไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวเป็นตน
    เป็นคุณธรรม

    พระพุทธเจ้าคือ คุณธรรม
    ที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า


    ท่านชายสิทธัตถะได้ค้นพบเป็นองค์แรก
    ค้นพบคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า
    โดยที่พระองค์รู้อริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    แล้วก็นำออกมาเผยแพร่
    อบรมสั่งสอนใครต่อใครก็ได้รู้ได้เข้าใจ
    และบรรลุมรรคผลตามพระองค์ไป
    ดังนั้นพระองค์จึงได้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย
    เพราะเหตุที่บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า

    ดังนั้น

    พระพุทธเจ้าไม่ใช่สิ่งที่มีตัวมีตน
    เป็นคุณธรรม


    <O:p</O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  4. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    ไหนๆ ปราบ ลอง อธิบาย จิตตะภาวนา ของ ปราบให้ฟังหน่อยจิ

    [​IMG]
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ( ช่วงที่ ๓ )

    ผู้ภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ แล้ว
    ในเมื่อจิตมี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคัตตา
    อะอืมๆ
    มีสมาธิ มีจิตสว่างไสว
    มีจิต รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ ในขณะจิตนั้น

    อันนี่ได้ชื่อว่า
    คุณของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในจิตของท่านแล้ว
    ทีนี้
    คุณของพระพุทธเจ้าเมื่อเกิดละเอียดลงไป
    คือ สมาธิสงบละเอียดลงไป
    ก็จะปล่อยวาง วิตก วิจาร ยังเหลือแต่ปิติและสุขเอกัคคัตตา
    อันนี่จิตอยู่ในฌานที่สอง

    ทีนี้ถ้าปิติหายไปยังเหลือแต่ สุข เอกัคคัตตา จิตอยู่ในฌานสาม

    ถ้าสุขก็หายไป ยังเหลือแต่ ยังเหลือแต่ เอกัคคัตตากับอุเบกขา อันนี่จิตอยู่ในฌานสี่
    ในเมื่อจิตของท่านอยู่ในฌานสี่
    สภาพจิตเป็นอย่างไร
    เมื่อจิตอยู่ในฌานสี่จะรู้สึกว่าร่างกายตัวตนหายไปหมด
    ตอนนี้ร่างกายของท่านไม่มีแล้ว
    รู้สึก มีจิตนิ่ง สว่างไสว
    รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่เฉพาะในจิต
    ตอนนี้จิตไม่มีอารมณ์
    มีแต่ตัวรู้เป็นอารมณ์ของจิต
    จิตรู้อยู่ที่จิตโดยเฉพาะ รู้นิ่งอยู่อย่างนั้น
    ไม่มีอาการแห่งความรู้หรือความคิดใดๆ
    ได้แต่รู้ นิ่ง นิ่ง นิ่ง อยู่อย่างเดียว
    ความรู้สึกในจิตขณะนี้ อารมณ์ ก็ไม่มี
    มีแต่ตัวรู้ สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี ความคิดอ่านก็ไม่มี
    มีแต่รู้อยู่ในอัปปนาสมาธิ อย่างละเอียด
    หรือว่า
    จิตของท่านอยู่ในสมถะกรรมฐานอย่างละเอียด
    หรือจิตของท่านอยู่ในฌานที่สี่
    จิตอยู่ในฌานที่สี่ ร่างกายหายไปแล้ว
    ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด
    ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวซึ่งสว่างไสวนิ่งอยู่เท่านั้น

    มีแต่ตัวรู้ ความรู้ไม่มี
    มีแต่ตัวรู้ ความรู้ไม่มี

    <O:p</O:p
    ทำไมจึงมีแต่ตัวรู้
    เพราะ
    ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นธาตุรู้
    ธาตุรู้ของจิตคือรู้นิ่งอยู่เฉยๆ
    ไม่ใช่ความรู้ ตัวรู้กับตัว อ่า ตัว ผู้รู้กับตัวความรู้มันคนละอัน
    ตัวผู้รู้ได้แต่นิ่ง รู้เฉยอยู่เท่านั้น
    ส่วนความรู้นั้น ก็คือความคิดธรรมดาธรรมดา นั่นเอง

    <O:p</O:p
    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย
    ทำไมในขณะที่จิตอยู่ในอัปปนาสมาธิหรืออยู่ในฌานสี่
    จิตมันจึงไม่มีความรู้
    ที่จิตไม่มีความรู้
    ก็เพราะเหตุว่า
    จิตมันไม่มีร่างกาย มันทิ้งร่างกายไปเสียแล้ว
    ถ้าท่านผู้ใดทำสมาธิถึงขั้นนี้จะรู้เอง
    เพราะฉะนั้นจึงมีคำกล่าวว่า

    ผู้ภาวนาพุทโธได้แต่สมถะ จิตไม่ถึงวิปัสสนากรรมฐาน
    อันนี้ถ้าจะยอมรับฟัง ฟังเอาไว้เพื่อพิจารณาก็ได้
    แต่ความจริงพอจิตสงบนิ่งลงไปเป็นสมาธิแล้ว
    มันก็มีทั้งสมถะ
    มีทั้งวิปัสสนานั่นแหล่ะ

    เมื่อก่อนท่านยังไม่เคยมีจิตสงบเป็นสมาธิ
    ท่านก็มีความสงสัยข้องใจอยู่ว่า
    สมาธิคืออะไร
    สมาธิเป็นอย่างไร
    ท่านก็ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง
    เมื่อท่านสามารถทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิด้วยภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    เมื่อจิตสงบนิ่งลงสู่สมาธิ
    ความสงบนิ่งของจิตนั่นคือสมาธิ
    สมาธินั่นคือสมถะ<O:p</O:p
    ส่วนความรู้ว่า
    นี่คือสมาธิ
    นี่คือสมถะ
    นี่คือความสงบจิต
    อันนั้นเป็นตัวปัญญา
    เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
    เพราะท่านรู้แจ้งเห็นจริงแล้วหายสงสัย
    ความรู้อันนี้เป็นจุดเริ่มของวิปัสสนากรรมฐาน
    จริงหรือไม่จริงก็ขอให้ท่านพิจารณาเอาเอง
    <O:p</O:p
    เมื่อก่อนท่านไม่รู้ว่าสมาธิคืออะไร
    เมื่อท่านทำสมาธิได้แล้ว
    ท่านก็รู้ว่า
    นี่คือสมาธิแล้วท่านหายสงสัยใช่มั๊ย
    เพราะฉะนั้น
    สิ่งใดที่ทำให้ท่านรู้แจ้งเห็นจริงหายสงสัย
    สิ่งนั้นแหล่ะ คือวิปัสสนา ขอให้ท่านกำหนดหมายเอาอย่างนี้
    จึงจะไม่สับสนและจะไม่ข้องใจ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อันนี้เป็นการกล่าวถึงการภาวนาด้วยบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ช่วงที่ ๔)

    อะอืมๆ

    ทีนี้มีหลายๆท่านกล่าวว่า

    อะอืมๆ

    บริกรรมภาวนาพุทโธอย่างดีจิตได้เพียงแค่สมถะกรรมฐาน
    เอ่อ....อันนี้ก็ยอมรับ
    ถ้าหากว่านักภาวนาทั้งหลายจะพากันโง่กันทั้งหมด
    จิตมันก็ติดอยู่แค่สมถะกรรมฐานเท่านั้นเอง
    <O:p</O:p
    แต่เท่าที่ได้ยินครูบาอาจารย์ท่านเล่าให้ฟังมันเป็นอย่างนี้<O:p</O:p
    ในบางครั้งท่านบอกว่า
    วันนี้จะบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พอให้จิตสงบได้ปิติ
    ได้ความสุข
    ได้ความสงบสบายเพียงนิดหน่อยก็จะพอแล้วเอาแค่นี้ วันนี้
    <O:p</O:p
    แต่พอภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไป
    พอจิตสงบลงสักหน่อย
    ความรู้มันฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้ง ขึ้นมา มันไม่อยู่ซะแล้ว
    ทีนี้ไอ้ความจิตสงบแล้วมันเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเกิดขึ้นมาอย่างน้ำพุ
    ยิ่งสมาธิดีเท่า ไหร่ มันก็ยิ่งเกิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา<O:p</O:p
    เกิดอย่างไม่หยุดหย่อน
    อันเนี๊ยะ ท่านผู้นั้นจะภาวนาให้จิตสงบพอสบาย
    แต่
    พอสงบสบายแล้วจิตมันไม่อยู่แค่สงบสบาย
    มันเกิดไปค้นคว้าพิจารณาอะไรอยู่นู้น
    ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ<O:p</O:p
    แต่ในบางครั้ง
    ตั้งใจว่าวันนี้จะพิจารณาให้มันเกิดสติปัญญาความรู้อย่างกว้างขวาง
    ก็ไปยกเอาหัวข้อธรรมะ
    เรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
    พอพิจารณาไปพิจารณาไป
    จิตมันก็ไปสงบ นิ่งอยู่เฉยๆ
    มันไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น


    ในการพิจารณานี่
    เป็นการปฏิบัติตามแบบของวิปัสสนากรรมฐาน
    เพราะการใช้สติปัญญาค้นคิดพิจารณา
    เป็นการเจริญวิปัสสนา
    แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาด้วยการค้นคิดจิตสงบลงไปแล้ว
    มันไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    มันไม่เกิดความรู้อะไรขึ้นมา มันก็ยังเป็นไปได้
    อันนี้เป็นประสบการณ์ไม่มีพูดไว้ในตำรา<O:p</O:p
    บางทีเราบริกรรมภาวนาจะให้จิตมันหยุดนิ่งพอสบาย
    พอมันหยุดมันสงบลงไปนิดหน่อย
    ความรู้มันก็เกิด ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้ง ขึ้นมาจนกำหนดตามไม่ทัน
    นี่มันเป็นอย่างนี้ ประสบการณ์
    อันนี้เป็นประสบการณ์ซึ่งไม่มีใครเขียนไว้ในแบบตำรับตำรา
    <O:p</O:p
    แต่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเล่าให้ฟัง
    เกี่ยวกับเรื่องการบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ เนี่ยะ
    อะอืม ๆ
    ถ้าหากท่านผู้ใดบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จนจิตเกิดความคล่องตัว
    บางทีอาจจิตอาจจะบริกรรมภาวนาพุทโธอยู่ไม่หยุด
    เมื่อท่านหัดภาวนาจนเกิดความคล่องตัว
    บางทีจิตก็อาจจะสงบเป็นสมาธิตามขั้นตอน
    มีขณิกะสมาธิ
    อุปจาระสมาธิ
    และอัปปนาสมาธิ
    ดังที่กล่าวมาแล้ว

    และบางครั้งจิตของท่านอาจจะไม่สงบลงไปถึงขนาดอัปปนาสมาธิ
    พอบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ <O:p</O:pพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอจิตจะนึกพุทโธเอง สติรู้เอง
    จิตของท่านหยุดนึกพุทโธทันที
    แล้วความคิดอื่นมันบังเกิดขึ้น
    อ่าตอนนี่
    ก็เป็นอีกจุดหนึ่งนะที่นักปฏิบัติจะต้องจะต้องพิจารณา
    <O:p</O:p
    บางทีภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    แล้วจิตสงบไปสู่สมาธิตามขั้นตอน
    อุปจาระสมาธิ
    อัปปนาสมาธิ
    จนหายเงียบจนไม่มีตนมีตัว

    แต่บางครั้งภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปนิดหน่อย
    บางทีอาจจะยังไม่ถึง ๕ คำ หรือ ๑๐ คำ
    จิตก็มีอาการวูบวาบลงไป
    แล้วหยุดภาวนาพุทโธ
    บางครั้งก็ไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    บางครั้งพอหยุดภาวนาพุทโธ
    แล้วความคิดความรู้ มันเกิดผุด ผุด ผุด ผุดขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ
    อันนี่ ท่านอย่าไปเข้าใจว่าจิตของท่านฟุ้งซ่าน
    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น
    วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบริกรรมภาวนาเนี่ย
    เรามีได้ ๒ แบบ

    สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆ
    ถ้าภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    พอจิตทิ้งพุทโธให้นึกพุทโธใหม่ เมื่อรู้สึกตัว

    เมื่อจิตทิ้งพุทโธนึกถึงพุทโธ
    จิตทิ้งพุทโธนึกถึงพุทโธ
    ฝึกไปจนกว่า จะมีความชำนิชำนาญคล่องตัว
    <O:p</O:p
    ทีนี้

    ถ้าผู้ชำนาญ ในการบริกรรมภาวนาแล้ว
    เรามีวิธีการจะพึงปฏิบัติได้ดังนี้
    ในตอนแรกๆ
    ท่านอาจจะภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    อ่าว พอพุทโธ พุทโธ ไป จิตมันไม่นึกพุทโธไปนิ่งว่างอยู่เฉยๆ

    ให้กำหนดดูความว่าง
    อย่าไปนึกคิดอะไรขึ้นมา

    เมื่อจิตมีความคิดขึ้นมาให้มีสติรู้ความคิดทันที
    เมื่อจิตคิดทำสติรู้ความคิด
    จิตมันจะหยุดนิ่งมันไม่คิด ก็ดูความนิ่งของมัน
    เมื่อนิ่งไปสักหน่อยนึง มันจะคิดของมันขึ้นมา
    เราก็ดูความคิด
    นิ่ง ดูความนิ่ง
    คิด ดูความคิด
    สลับกันไปอย่างนี้
    <O:p</O:p
    ในเมื่อสติสัมปชัญญะของท่านดีขึ้น
    พลังจิตมันดีขึ้น
    ตัวคิดมันก็จะคิดไม่หยุด
    ตัวตามดูมันก็จะตามดูของมันไม่หยุด
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น

    ความคิดก็เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
    สติก็ทำหน้าที่รู้เองโดยอัตโนมัติ
    จิตมันก็เดินไปในภูมิแห่งวิปัสสนา
    เพราะความคิดมันย่อมมีความเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต
    เมื่อเรามีสติตามรู้ความคิดที่เกิดดับอยู่นั้น

    เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้มีพลังแก่กล้าขึ้น

    จิตสามารถที่จะกำหนดรู้ ความเกิดดับของความคิด
    ในแง่แห่งพระไตรลักษณ์
    จะมองเห็นพระไตรลักษณ์
    อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวของตัว
    ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา

    ทีนี้

    เมื่อจิตรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รู้พระไตรลักษณ์
    เรามีสติตามรู้อยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ
    <O:p</O:p
    ในบางครั้งจิตอาจจะไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    พอเกิดคิดขึ้นมาแล้ว มันก็เกิดความยินดี
    ถ้าเกิดความยินดีขึ้นมา
    ความยินดีมีแนวโน้มให้เกิดกามตัณหา
    มองเห็นตัวกิเลสแล้วมั้ยหล่ะ

    บางครั้งเกิดความยินร้าย
    ความยินร้ายมีแนวโน้มให้เกิดวิภวตัณหา
    มองเห็นตัวกิเลสแล้ว

    ถ้าไปยึดเอาไว้ทั้งสองอย่างก็กลายเป็นภวตัณหา
    เมื่อจิตมีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาอยู่พร้อม
    ความสุขย่อมบังเกิดขึ้นในขณะที่จิตยินดี
    ความทุกข์ย่อมบังเกิดขึ้นในขณะที่จิตมีความยินร้าย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น สุข ทุกข์เกิดขึ้นสลับกันไป
    ผู้มีสติสัมปชัญญะเฝ้าดูอยู่ที่จิตตลอดเวลา
    ในที่สุดสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น

    ก็จะเกิดญาณคือปัญญา
    เกิดวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมา
    ว่านี่คือทุกข์ อริยะสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

    <O:p</O:p
    เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดดูอารมณ์จิตของตัวเอง
    ซึ่งมีสุข มีทุกข์สลับกันเรื่อยไป
    ลงผลสุดท้ายก็จะมองเห็นว่า

    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

    เมื่อจิตละเอียดลงไปแล้วจะมองเห็นแต่ อะไรล่ะ
    <O:p</O:p
    “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
    <O:p</O:p
    ก็จะได้ดวงตาเห็นธรรม
    เช่นเดียวกันกับท่านอัญญาโกณฑัญญะ
    ซึ่งฟังเทศน์ธรรมจักกัปปวัตนสูตรจบลงแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
    ดังที่กล่าวแล้ว

    พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานขึ้นว่า
    อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
    อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

    นี่มันจะเป็นไปอย่างนั้น <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    (ช่วงที่ ๕ )

    ทีนี้ ข้อสังเกตุมันมีอยู่อันหนึ่ง
    วันนี่พูดแต่เรื่องภาวนาพุทโธก็พอแล้ว
    บางท่านภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จิตสงบดี สงบอย่างดีเลย
    บางทีสงบจนกระทั่งตัวหาย
    บางทีก็ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหม๊ด
    ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวสว่างไสวอยู่เท่านั้น

    แต่หนักๆเข้าภายหลังมานี่
    จิตมันไม่สงบซะแล้ว
    จะกำหนดก็ตาม
    ไม่กำหนดก็ตาม
    มันก็มีอาการสงบนิดหน่อย
    แต่ว่าความคิดมันคิดอยู่ไม่หยุดของมันอยู่อย่างนั่น

    ทีนี้

    บางทียิ่งคิดจิตก็ยิ่งแจ่มใส
    ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งปลอดโปร่ง
    ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งผ่องใส
    ยิ่งคิดก็ยิ่งเบา
    ยิ่งคิดก็ยิ่งสบาย

    อ้าว ...จิตที่มันคิดอยู่ไม่หยุดมันจะสบายได้อย่างไร
    ความคิดที่มันคิดอยู่ไม่หยุดแต่สติตามรู้ไม่ทันเป็นความฟุ้งซ่าน
    ความคิดที่คิดอยู่ไม่หยุด มีสติตามรู้ทันทุกขณะจิตทุกลมหายใจ
    มันกลายเป็นปัญญาบังเกิดขึ้นแล้ว

    เมื่อมีสติรู้ทันความคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา
    จิตไม่ยึดก็จะมีแต่ความปล่อยวาง
    เพราะจิตรู้แจ้งเห็นจริงมีวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริง
    รู้อะไรขึ้นมาจึงไม่ยึดเอาไว้
    เพราะรู้จริงมีแต่ปล่อยวางลูกเดียว
    เพราะฉะนั้น
    เมื่อคิดขึ้นมาแล้ว จิตมีสติรู้ทัน มีแต่ความปล่อยวาง
    จิตของเรามันก็ไม่สับสน วุ่นวาย

    ยิ่งคิดมากมันก็ยิ่งปลอดโปร่ง
    เพราะว่า
    ความคิดอันนี้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ รู้พร้อม มันเป็นองค์ปัญญา
    ปัญญาที่เกิดจากสมาธิ
    มันเป็นปัญญาอบรมจิต

    ก็ศีลอบรมสมาธิไง
    สมาธิอบรมปัญญา
    ปัญญาอบรมจิต
    อันนี่แหล่ะ
    หนังสือท่านอาจารย์มหาบัวเขียน

    ท่านตั้งชื่อว่า ปัญญาอบรมจิต
    หมายถึง ความคิดที่เกิดเพราะพลังสมาธิ

    เมื่อสมาธิดีแล้วมันสามารถบันดาลให้เกิดความคิด
    ความคิดที่ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่นั้น
    ถึงแม้ว่ามันจะคิดตลอดคืนย่ำรุ่ง
    ตลอดวันย่ำค่ำ
    ปล่อยให้มันคิดไปเถอะ
    ขอให้มีสติรู้ทันไม่ใช่ความฟุ้งซ่านของจิตมันเกิดปัญญา
    แต่ถ้าหากว่าสติมันอ่อนรู้ไม่ทันมันจะเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาทันที

    เพราะฉะนั้น

    สติตัวนี้เนี๊ยะจึงเป็นสิ่งสำคัญ
    อันนี้ขอให้ท่านทั้งหลายพึงสังเกตุอย่างนี้
    <O:p</O:p
    ไอ้ปัญหานี่มีผู้ไปถามอยู่บ่อยๆ
    เมื่อก่อนนี้ภาวนาแล้วจิตสงบดี
    แต่เวลานี้มันมีแต่ความคิด
    ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น

    บางทีก็ไปถามท่าน
    บางท่านไม่รู้

    พอถามปั๊บ
    ทำไมจิตของฉั๊นมันจึงเป็นอย่างนี้
    ท่านก็บอกว่า
    ระวังมันจะเป็นโรคประสาทตาย
    บางทีก็สำคัญว่าตัวเองจะเป็นโรคประสาทเข้าจริงๆ
    เพราะความยึดอันนั้น

    เพราะฉะนั้น

    อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง เป็นประสบการณ์
    ที่นักปฏิบัติจะพึงสังเกตุเอาไว้
    อย่าไปติดแต่ความสงบนิ่งของจิต
    โดยไม่มีความคิดเพียงอย่างเดียว<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ช่วงที่ ๖)

    อีกปัญหาหนึ่ง มีท่านกล่าวไว้ ว่า

    ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญวิปัสนากรรมฐาน

    เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่า ใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ
    จะไปรอจนกระทั่ง จิตมันสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ
    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะมันจะไม่ตายก่อนหรือ
    เพราะฉะนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไว้ว่า

    คำว่า สมถะกรรมฐานก็ดี
    วิปัสนากรรมฐานก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า
    เป็นชื่อของวิธีการ
    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    หรือการปฏิบัติด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่น ปฏิบัติตามของ สมถะ

    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด
    หรือกำหนดจิตรู้ตามความคิด ของตัวเอง
    หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่น เรื่องของธาตุขันธ์อายตนะ
    มาพิจารณา
    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี่
    อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้ เข้าไปสู่กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่ง วิปัสนา

    แต่ทั้งสองอย่างนี้เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็ได้

    ถ้าท่านผู้ ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที

    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักทีก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

    พิจารณาไป จนกระทั่ง จิตมันเกิดความคล่องตัว

    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อันนั้นก็ไม่เที่ยงอันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอา ตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้

    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น<O:p</O:p

    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว

    จนกระทั่ง
    เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง

    ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้


    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับบริกรรมภาวนา


    ถ้าจิตมันคิดของมันเองสติรู้พร้อมอยู่เอง

    มันก็ได้ วิตก วิจาร

    ในเมื่อจิต มี วิตกวิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ

    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ<O:p</O:p


    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัตตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง


    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ<O:p</O:p

    ถ้าใครไม่เหมาะกับการ บริกรรมภาวนา

    ก็อย่าก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา

    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่

    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา

    คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น

    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว

    หรือ

    บางทีบางท่าน อาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด

    หรือบางท่าน อาจจะฝึกหัดสมาธิ
    โดยวิธีการ
    ทำสติตามรู้ การ ยืนเดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด

    ทุกลมหายใจก็สามารถที่จะทำจิตเป็น สมาธิได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น

    ถ้าเราจะเป็น นักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว

    อย่าไปติดวิธีการ ให้กำหนดหมาย ว่า


    สมถะก็ดี

    วิปัสนาก็ดี

    เป็น วิธีการปฏิบัติ

    ถ้าบริกรรมภาวนา หรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ

    ถ้าปฏิบัติ ตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป

    หรือกำหนดทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป


    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบ ของวิปัสนากรรมฐาน

    ทั้งสองอย่าง

    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ


    ประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตาด้วยกัน เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น

    อย่าไปสงสัยข้องใจใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป

    และ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่าง อย่าไปติดวิธีการ

    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติ แบบสมถะ

    สัมมาอะระหังก็ แบบสมถะ

    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ
    เพื่อความสงบจิตนั่นเอง
    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา

    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้


    ( ช่วงที่๗ )

    และอีกอย่างหนึ่ง
    เราไปเทศน์ ฟังเทศน์กันที่ไหน ก็ได้ยินพระท่านเทศน์ว่า

    โยม พากันละ โลภ โกรธ หลง ให้มากๆหน่อย
    บางที อาตะมา มาพิจารณาดูแล้ว
    กิเลส โลภ โกรธ หลง เนี่ยะ

    มันเป็นของคู่ใจมาตั้งแต่หลายภพหลายชาติแล้ว
    ที่นี้
    มาพิจารณาดูกันให้ซึ้ง
    ไอ้ความรู้สึก โลภ โกรธ หลงเนี๊ยะ เราจะละ ไม่ได้

    เอ้า..ใครไม่เชื่อก็ลองพิจารณาดูเอาเอง
    ในเมื่อโลภ เกิดขึ้นมาแล้ว เราละไม่ได้
    หลงเกิดขึ้นมา แล้วเราละไม่ได้
    โกรธเกิดขึ้นมา เราละไม่ได้
    มันจะต้องไปจนสุดช่วงมัน ถ้างั้นเราจะทำอย่างไร

    วิธีปฏิบัติ ก็คือว่า
    โลภ โกรธ หลง มันเป็นกิเลสที่คอยกระตุ้นเตือนจิตใจของเรา
    ให้เกิดมีความกระตือรือร้น มีความทะเยอทะยาน

    พระเจ้าพระสงฆ์ท่านมาประชุม
    มาตรวจข้อสอบ นักธรรม ก็เพื่อจะมาตัดสินวุฒิความรู้ของผู้มีความโลภ
    คือ อยากได้นักธรรมตรี
    เรียนแทบเป็นแทบตายแล้วก็มาสอบ
    ก็เพราะความโลภ ความอยากได้นั้น มากระตุ้นเตือน

    เพราะฉะนั้น
    โลภ โกรธ หลงนี่ เราเอาไว้สำหรับกระตุ้นเตือนจิตใจ
    ให้มีความทะเยอทะยาน

    ให้มีความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ...
    โลภ โกรธ หลง เปรียบเหมือนไฟ
    ไฟย่อมมีโทษ มหันต์ มีคุณก็อนันต์

    ใครใช้ไฟไม่เป็นก็ไปเผาบ้านเผาเรือน ให้วอดวายไปหมด
    ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีปัญญาดี
    เอาไปสร้างเป็นพลังงานเหาะขึ้นไปลงดวงจันทร์ก็มี

    นี่.. เพราะฉะนั้น
    กิเลส โลภ โกรธ หลงนี่ ก็เหมือนกัน
    มันเป็นสิ่งที่มีทั้งคุณ มีทั้งโทษ

    ถ้าเราใช้ไม่เป็น มันก็เกิดโทษ
    ถ้าใช้เป็นมันก็เกิดคุณ
    เอาไว้เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตใจให้มีความทะเยอทะยานในทางดี
    เพราะฉะนั้น
    เพราะโลภ โกรธ หลง มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
    กระตุ้นเตือนจิตใจของเรา
    ให้อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น

    พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติศีล ๕ เอาไว้
    สำหรับเป็นขอบเขตของการใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์

    ถ้ามันโกรธจัด นึกถึงศีลข้อปาณาติบาต เราจะไม่ฆ่า ไม่ด่า ไม่ตี มันก็สิ้นเรื่อง

    ถ้ามันโลภจัด นึกถึงศีลข้ออทินนาทาน เราไม่ลัก ไ่ม่ขโมย ไม่ฉ้อ ไม่โกง มันก็สิ้นเรื่อง

    ถ้ามันโลเลไม่ รู้จักประมาณ ในเรื่องของโลกีย์วิสัย ก็นึกถึงศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร

    ถ้ามันนึกอยากจะโกหกพกลมใคร หลอกลวงใคร นึกถึงศีลข้อมุสาวาท

    ถ้ามันมัวเมาใน สิ่งใดจนกินไป มันจะทำให้เสียผู้ เสียคน ควรจะได้นึกศีลข้อสุรา

    ศีล5ข้อนี่ เป็นขอบเขตของการใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์

    ท่านผู้ใด
    มีกิเลส โลภ โกรธ หลง

    แต่ใช้ลงไปไม่ให้มันผิดศีล ๕ ข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง

    เชิญ ใช้ไปเถิด พระพุทธเจ้าท่านไม่ดุแน่<O:p<O:p</O:p




    ( ช่วงที่ ๘ )


    เอาละวันนี้ได้แสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมจิต
    เรียกว่า จิตตภาวนา
    ด้วยวิธีการภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    เมื่อท่านได้ภาวนาพุทโธ เอาจิตจดจ่ออยู่กับพุทโธ
    มีสติสัมปชัญญะ รู้พร้อมอยู่กับพุทโธ
    ทำจิตกับพุทโธ ให้อยู่อ่าให้แนบสนิทกัน
    จนได้ วิตก วิจาร เกิดปิติ สุข เอกัคคัตตา
    ผ่านฌานที่ ๑, ที่ ๒, ๓, ๔ ตามลำดับ

    แล้ว ภายหลังมาเมื่อทำจิตให้มีความสงบ
    เป็น สมาธิขั้นอัปปนาบ่อยๆเข้า <O:p</O:p
    แม้ว่าจิตของท่านจะไม่เกิดความรู้อะไรในขณะที่มันเกิดความสงบก็ตาม

    ให้พึงสังเกตุ

    เมื่อจิตออกจากอัปปนาสมาธิมาแล้ว
    รู้สึกว่ามีกายปรากฏขึ้นเมื่อไร
    ความคิดย่อมเกิดขึ้น
    ท่านอย่าเพิ่งด่วนออกจากที่นั่งสมาธิ
    ให้กำหนดจิตตามรู้ความคิดนั้นไป
    จนกระทั่งจิตมันเกิดความสงบขึ้นมาอีกทีหนึ่ง
    แล้วจึงค่อยออกจากที่นั่งสมาธิ<O:p</O:p
    ถ้าหากว่าท่านมีจิตสงบเป็นสมาธิดีแล้ว
    พอหยุด ก็ผลีผลามออกจากที่นั่งสมาธิ
    โดยไม่ชะลอเวลาอยู่ก่อน
    เพราะอาศัยความยินดีในการได้สมาธินั้น
    <O:p</O:p
    แล้ว ไม่กำหนดสติตามรู้อารมณ์จิต
    เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้ว
    จิตท่านก็จะไม่มีโอกาสก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสนาได้ง่าย
    ถ้าหากว่าจิตออกจากสมาธิ มีความคิดปั๊บ
    ทำสติตามรู้ไปก่อนอย่าเพิ่งออกจากที่นั่งสมาธิ
    ทำนองนี้จะเป็นวิธียกจิตขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสนากรรมฐาน
    และได้กล่าวธรรมะบรรยายพอเป็นคติเตือนใจของบันดาท่านผู้ฟัง
    สิ่งใดพอที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติ
    ก็ขอให้น้อมนำไปเป็นหลักประพฤติปฏิบัติ
    อันใดที่ไม่เป็นสาระแก่นสารก็สลัดทิ้งไป
    <O:p</O:p
    ในท้ายที่สุดนี้
    ด้วยอำนาจแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    <O:p</O:p
    ด้วยบุญญาบารมีที่ท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญมา
    จงดลบันดาลดวงจิตของท่านให้เดินเข้าสู่ทางแห่งอริยะมรรค
    ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นที่สุด โดยทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ <O:p</O:p
    <O:p
    จบ บริบูรณ์ สำหรับกัณฑ์นี้

    เรื่อง จิตตะภาวนา


    ยินดีในบุญ เพื่อน สมาชิก จูโน่ ผู้ถอดเทป

    ขอให้ ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้เจริญรอยตามคำสอน
    พระสงฆ์สาวก
    ผู้ปฏิบัติดี
    ปฏิบัติตรง
    ปฏิบัติถูก
    ปฏิบัติชอบ

    ได้ดวงตาเห็นธรรม
    เห็นถึงพระนิพพานโดยทั่วหน้ากัน
    ในปัจจุบันชาติ
    ทุกท่านเทอญ
    </O:p

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนา น้าปราบ

    รอฟังด้วย
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    แม๊... จะพูด ก็พูดเหมือนหลวงปู่น่ะละคร๊าบ


    แต่ถ้าจะพูดในวลีตัวเอง ก็จะบอกสั้นๆ ว่า

    " อย่าขี้เกียจดูตัวเอง " ​
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาครับ


    อย่าขี้เกียจดูผู้อื่นด้วยนะค๊าบ

    จิตภายในก็ดี จิตภายนอกก็ดี จิตในจิตก็ดี
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ดีละ ดีละ

    เอ... ผมขี้เกียจมากเลยถ้าไปดูผู้อื่นอ่ะครับ

    สำหรับทัศนะผมแล้ว การไปดูผู้อื่นไม่จัดเข้า จิตตภาวนา



    ปุจฉา
    เหตุใด ลุงหลงจึงจัดเข้าการไปดูผู้อื่นหนอ
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075


    ธรรมภายใน ธรรมภายนอกมีอยู่ ในสติปัฏฐานก็มีอยู่

    ประกาศก้องอยู่อย่างนั้น ทั้วโลกธาตุ

    คำตอบนี้ ว่ากันธรรมภายนอกนะ

    คน สัตว์ สิ่งของ ทั้งรูป และ นาม

    ไม่พ้นปรมัตถ์สัจจะ คือเป็นธรรมชาติอยู่อย่านั้น ไม่มีเจ้าของ บังคับไม่ได้

    ธรรมภายนอก ให้ดูคุณสมบัติของธาตุ

    ต้นไม้ ดิน น้ำภูเขา หรือขันธ์ชาวบ้าน

    ทีนี้คนไม่รู้ ก็ไปบังคับน้ำด้วยเขื่อน ด้วยสายยาง สร้างสิ่งก่อสร้าง

    หรือ แม้บังคับลมหายใจตน บังคับจิตตน

    ให้พิจารณาดู ว่ามันเป็นไตรลักษณ์จริงไหม

    น้ำบังคับให้เดือด บังคับให้เย็น ได้จริงหรือ


    ที่ไหนสิ่งก่อสร้างเยอะ อัตตาคนแถวนั้นก็เยอะตาม

    ยิ่งวิจิตรพิศดาน อัตตาย่อมพิศดานไปด้วย



    อนิสงค์การดูธรรมภายนอก ธรรมภายในบ้าง กลับไปมา
    ย่อมเห็นสภาวะจิตบุคคลนั้นได้เป็นธรรมดา
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ดีละ ดีละ


    จิตภาวนามันเป็นเรื่องภายใน

    เห็นแต่ภายในก็จะแจ้งออกภายนอก

    แต่ไปดูนอกๆๆจะไม่แจ้งภายใน


    ไตรลักษณะ ไม่ได้อยู่ภายนอก

    แต่ไตรลักษณะ อยู่ภายในล้วนๆ

    ทุกอย่าง ทั้งภายในภายนอก ล้วนเป็นธรรมซึ่งคงสภาพอยู่ อยู่แล้ว

    แต่ประตูที่ก้าวสู่แห่งวิมุตติ

    กลับอยู่ภายใน


    จิตภาวนา จึงไม่ใช่สิ่งภายนอก


    จงขี้เกียจดูภายนอก และจงขยันดูภายใน [​IMG]
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ชี้ให้เห็น ว่า ดินน้ำลมไฟ คุณลักษณะเป็นเช่นนั้น บังคับไม่ได้

    มีอยู่ทั่วไม่เจาะจง เฉพาะในขันธ์ เหตุนี้ไตรลักษณ์จึงเกิดทุกที่

    หมายให้พิสูจน์ รู้รอบ ไม่ใช่หาวิมุตติภายนอก

    คนละเรื่องกับ อย่าไปอยู่นอกๆ เข้ามาดูในๆแล้ว



    เรื่องวิมุตติเกิดที่ปัญญาเข้าไปรู้ และเห็นจริงตามสภาวะนั้น

    อันนี้เป็นเรื่องปกติ รู้ลงที่จิต

    ดูบุหรี่ เห็นควัน เห็นอนัตตา เป็นไปได้ไหมหนอ



    ที่ว่าทุกอย่างคงสภาพ ลุงปราบเห็นอย่างไรหรือ

    จึงได้ชื่อว่า ทุกอย่างคงสภาพ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    อ๋อ ครับ แปะ

    ในซีดีก็ลองไปฟังแล้วล่ะครับ

    ขอบคุณครับ อุส่า ไปหาความหมายมาให้ได้รู้​
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ชี้ให้เห็น ว่า ดินน้ำลมไฟ คุณลักษณะเป็นเช่นนั้น บังคับไม่ได้

    มีอยู่ทั่วไม่เจาะจง เฉพาะในขันธ์ เหตุนี้ไตรลักษณ์จึงเกิดทุกที่

    อันนี้ผมเห็นไม่ตรงกับ ลุงหลงฮะ

    ไตรลักษณะ ไม่ได้ มีอยู่ทุกที่

    แต่มีอยู่ที่จิตที่เดียว

    เพราะอะไร เพราะว่า

    การจะไปรู้ภายนอก ถ้าไม่มีจิตก็จะไม่รู้


    ผลตัดสินของการเห็นวิปัสนา คือการประจักษ์แจ้งของการเห็นไตรลักษณะ


    ทีนี้ การจะเห็นไตรลักษณะ ที่เป็น ของจริงนั้น จึงไม่ได้มีอยู่ภายนอกแต่อย่างใด แต่อยู่ที่ภายในจิต

    แต่หากจะอธิบาย คำว่าอยู่ทุกที่
    จะอธิบายว่า จิตไปอยู่ที่ใดๆ แล้วเห็นปัจจุบันขณะ ในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง ก็จะเรียกว่าเห็นไตรลักษณะในที่นั้นๆ
    หากจะเจาะจง เป็นสถานที่ ก็คงไม่ได้






    หมายให้พิสูจน์ รู้รอบ ไม่ใช่หาวิมุตติภายนอก

    คนละเรื่องกับ อย่าไปอยู่นอกๆ เข้ามาดูในๆแล้ว

    อ๋อ ตรงนี้ ลุงหลง ชวนผมไปดูคนอื่นไง คำว่าไปดูคนอื่นนี่จึงไม่เกียวกับจิตภาวนา

    เพราะมันเป็นการไปดูข้างนอก ลุงหลงประเด็นแล้วตรงนี้
    ผมยกมาอธิบาย เพิ่มเกี่ยวกับจิตภาวนาไง ว่าเรื่องจิตภาวนา เป็นเรื่องภายในล้วนๆ


    เรื่องวิมุตติเกิดที่ปัญญาเข้าไปรู้ และเห็นจริงตามสภาวะนั้น

    อันนี้เป็นเรื่องปกติ รู้ลงที่จิต

    อันนี้ ถ้าว่าโดยความหมาย ก็เข้าใจเหมือนลุงหลง

    แต่ถ้าเรียงพยัญชนะ ผมจะเรียงว่า

    เรื่องของวิมุตติ เกิด ที่จิต เข้าไปรู้ โดยมี สติ ส่องให้เห็น จิต ตามความเป็นจริงที่ปรากฎ หากถามว่าปรากฎที่ไหน ก็ตอบว่า ปรากฎที่จิต เมื่อจิตเห็นตัวเองที่กระจกอย่างชัดเจนแล้ว ในส่วนนี้ผมเปรียบ สติเหมือนกระจกที่ส่องให้เห็นตัวมันเอง คือจิต
    ย่อมเห็นตามจริง ก็จะได้ปัญญาขึ้นมา และก็ อ้อ อ้อ อ้อ

    ....กูโง่มานานเหลือเกิน....


    และก็อธิบายเพิ่มอีกด้วยว่า

    รู้ลงที่จิต

    จึงเป็นเรื่องที่มารู้ภายใน
    ไม่ได้ไปรู้ภายนอก

    อย่าง วลีที่ผมบอกสั้นๆว่า

    " อย่าขี้เกียจดูตัวเอง "
    ตรงนี้จึงเป็นเรื่อง จิตภาวนาล้วนๆ




    ดูบุหรี่ เห็นควัน เห็นอนัตตา เป็นไปได้ไหมหนอ

    เป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มาเห็นที่ตัวเอง ถ้าไปมองข้างนอกเป็นไตรลักษณะ มันได้แต่คิดเอา
    เป็นแค่การคิด ตรึกตรอง ก็จะได้ความเข้าใจ ในการคิดเฉยๆ

    การจะเข้าไปเห็นไตรลักษณะ มันต้องไปเห็นที่ตัวมันกำลังคิดในขณะที่จิตเกิดผัสสะ แล้วไปเห็นรู้ทันที่จิต อันนี้ ว่าตามรูปประโยค

    แต่ หากเป็น ลักษณะ ที่ ว่า เห็นควัน แล้วไปรู้เท่าทัน ยินดี ยินร้าย เฉยๆ
    ที่ปรากฎหลังจากที่กระทบผัสสะ เป็นปัจจุบัน ขณะ อันนี้ไม่แน่ อยู่ที่ปัญญาอินทรี ที่อบรมมามากพอหรือยัง



    ที่ว่าทุกอย่างคงสภาพ ลุงปราบเห็นอย่างไรหรือ

    จึงได้ชื่อว่า ทุกอย่างคงสภาพ


    ที่ ว่าคงสภาพ ผม อธิบายความหมาย ของ คำว่า ธรรมเฉยๆครับ

    สิ่งใด มีอยู่ คงสภาพอยู่ สิ่งนั้นเรียกว่า ธรรม

    ซึ่งจะรวมไปถึง ภายนอกและภายใน

    คราวนี้หากจะแจกแจง คำว่าธรรม ก็จะแยกไปอีกเยอะ ไปเปิดพระไตรอ่านจะสะดวกกว่าเน๊าะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เหมือนวนอยู่ในอ่าง ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน

    เห็นควัน เห็นอนัตตา

    ถ้าไม่มีปัญญามันก็เห็นแต่ควันบุหรี่

    ชี้ให้เห็นว่า มันลงที่ใจถูกไหม

    ปัญญาเข้าไปรู้ถูกไหม

    นั้นแล ลุงปราบ ธรรมภายนอก


    ที่ว่าเห็นอนัตตาภายนอก ก็คือเรานี่แหละที่เข้าไปเห็น เห็นธรรม

    ไม่เถียงว่า ธรรมเกิดที่จิตนะค๊าบ พี่น้อง

    ดำริชอบ คือเห็นถูกต้อง ธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สำนวนนี้ เหมือนเราเคยไปสร้างทิฐิไม่ดีแก่น้าปราบมาก่อนรึเปล่าหนอ

    จำได้ว่า เคยคุย แบบเฉียดไปมาเฉยๆ

    คงสภาพ คงหมายถึงบัญญัติ ถึงเชียร์ให้เปิดตำรา หุหุ

    ก็รับฟังกันนะ


    ลุงปราบไม่ต้องสนใจว่านี่นายหลง หรือนายไหนๆนะ

    อะไรเกิดที่ใจตอนนี้ รู้ไปเลย ว่าอนัตตา

    ไม่ใช่รู้อาการจิต แต่ไม่เห็นจิต โดดไปรู้นิ่งๆ

    :cool:
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849


    ไม่หลอก ลุงหลง หลงประเด็น ที่ชวนไปดูคนอื่นตะหาก
    เพราะลุงชวน เรื่อง จิตตภาวนา

    ลำพัง จิตตัวมันเองโดยธรรมชาติ แทบจะไม่ว่างจากการส่งออก อยู่แล้ว


    ไม่ต้องไปดูข้างนอก มันก็ไปเองโดยอัตโนมัติ ตามทันได้ยาก
    จึงต้องจับมาอบรมให้ดูที่ตัวมันเอง นั่นคือภายใน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...