ชินราชอินโดจีน,ลพ.ปาน,นาดูน,กริ่งชินบัญชร,ชินกรุ วร.อยุธยา,อ.ฝั้น อาจาโร

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 19 สิงหาคม 2010.

  1. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ว่าด้วยเรื่องการสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน 2485 และโค๊ตใต้ฐานก่อนจะมาเป็นโค๊ตตอกในปัจจุบัน <O:p</O:p
    เมื่อครั้งที่สร้างพระพุทธอินโดจีนตอนแรกจะเป็นโค๊ตหล่อแบบอกเลานูนแต่เพียงอย่างเดียว
    ดั้งในรูปซึ่งเป็นพระที่คุณ exia ได้นำเสนอไว้...ในกระทู้ของท่าน…..
    โดยแรกเริ่มนั้นกำหนดให้มีการหล่อพระพุทธชินราชให้มีแบบอกเลานูนในหุ่นเทียน เมื่อหล่อพระได้จำนวนหนึ่ง
    พอหล่อเสร็จ ช่างที่หล่อได้นำพระมาตั้งวาง ปรากฏว่าองค์พระไม่สามารถที่จะตั้งได้ทุกองค์ที่ตั้งได้องค์พระก็จะเอียง
    ไม่สวยงาม ตลอดจนอกเลาติดไม่ชัดเจน รวมทั้งไม่สะดวกขณะเททองหล่อพระ คณะกรรมการจึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นฐานเรียบ แล้วทำโค๊ดขึ้นมาตอกที่ใต้ฐานแทน
    ดังที่พบเห็นในปัจจุบัน ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นเราก็คงได้เห็นพระพุทธชินราชราชอินโดรจีนแบบมีโค๊ดอกเลานูนแต่เพียงอย่างเดียว
    โค๊ดใต้ฐานมี 2 โค๊ด
    โค๊ดอกเลารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นสัญญาลักษณ์ของ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    โค๊ดธรรมจักรรูปกลม ๆ มีดุมล้อตรงกลาง มีแกนล้อ 8 แกน เป็นสัญญาลักษณ์ของ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2010
  2. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ประวัติ....พระพุทธชินราชอินโดจีน
    ชินราชรุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดย พลเรือตรี หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราว ปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา
    ต่อมาในปีพ.ศ.2485 สงคราม โลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มการจัดสร้างพระ พุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้นในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์ แทนเนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยน สถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน
    กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงานทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยและได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วยชนวนโลหะของวัดสุทัศน์แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศรวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

    หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักร และรูปอกเลาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกพระส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ดเนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์

    การสร้างพระเครื่องชุดนี้ยึดเอา พระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราชจากจังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย
    1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงามีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพุทธชินราชองค์ปัจจุบันการจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจองโดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน 150 บาทไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น (ต่อ 1 องค์)และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 องค์ ทั่วประเทศ
    2. พระเครื่อง แบ่งการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ แบบรูปหล่อและเหรียญพระรูปหล่อมีพุทธ-ลักษณะเหมือนพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์ ประกอบด้วย พิมพ์สังฆาฏิยาวพิมพ์สังฆาฏิสั้น และ พิมพ์ต้อ
    3. เหรียญ สร้างด้วยวิธการปั๊มมีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
    สถานที่จัดสร้าง

    พระพุทธชินราชจัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ)เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำรา การสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการนอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่งจึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่งซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ 108 รูปที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว
    พระพุทธชินราชอินโดจีนลอยองค์ ปี2485 พิมพ์ตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อและปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
    เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่ง-พระชัย
    ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า
    พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
    ในยุคนั้น ดังปรากฏพระรายนาม ดังต่อไปนี้
    รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก รูปจำลอง พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485

    1. สมเด็จพระสังฆราช( แพ ) วัดสุทัศน์เทพวราราม ประธาน
    2. พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธ์)วัดสุทัศน์เทพวราราม แม่งาน
    3. พระครูใบฎีกา (ประหยัด)วัดสุทัศน์เทพวราราม
    4. พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดราชบูรณะ
    5. พระครูพิพัฒนบรรณกิจ (วิเชียร) วัดราชบูรณะ
    6. พระครูสรกิจพิศาล (ศุข)วัดราชบูรณะ
    7. พระครูสุนทรศิลาจารย์ (เจิม) วัดราบุรณะ
    8. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร (สนิท) วัดราบุรณะ
    9. พระครูสมถกิติคุณ (ชุ่ม)วัดราบุรณะ
    10. พระธรรมเจดีย์ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกส
    11.พระสุธรรมธีรุคณ (วงษ)์ วัดสระเกศ
    12. พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) วัดคูยางกำแพงเพชร
    13. พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ
    14. พระครูอรุณธรรมธาดา (บัว)วัดอรุณฯ
    15. พระครูสังฆพินิจ (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์
    16. พระมหาโพธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม
    17. พระปลัดเสง วัดกัลยาฯ
    18. พระสังฆวรา (สอน) วัดพลับ
    19. พระสมุทห์เชื้อ วัดพลับ
    20. พระครูถาวรสมณวงศ์ (อ๋อย) วัดไทร บางขุนเทียน
    21. พระพิษณุบุราจารย์ (แพ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก
    22. พระครูวิสุทธิศีลาจาร (พริ้ง) วัดบางประกอก ธนบุรี
    23. หลวงพ่อหลิม วัดทุ้งบางมด
     
  3. joenok

    joenok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +2,157
    ขอบคุณครับท่าน stoes สำหรับความรู้
    พิธีดีมากเลยครับ
    ถ้ามีวาสนาคงมีโอกาสได้ครอบครองสักองค์ครับ
     
  4. Zapp!

    Zapp! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    2,000
    ค่าพลัง:
    +3,191
    เยี่ยมครับคุณ stoe.......................................
     
  5. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    Posted by ศูนย์พุทธศรัทธา on July 12th, 2010 1



    [​IMG] [​IMG]<CENTER>ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    (ฉบับนอกวัด)</CENTER>
    เนื่องในวันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ จึงขอนำประวัติของหลวงพ่อปาน ซึ่งพระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน มาให้อ่านกัน
    เพื่อร่วมกันน้อมระลึกในพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของหลวงพ่อท่าน ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และศิษยานุศิษย์


    วัดบางนมโค
    วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่า มีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดนมโค
    ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่น พม่าก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอาวัวควายจากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ
    ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโค จึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโค
    อาณาเขตของวัดบางนมโค
    วัดบางนมโคมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๔ ไร่ ๒๑ วา ๓ งาน
    ทิศตะวันออกจดที่ดินเลขที่ ๑๖๓ ทางสาธารณะประโยชน์
    ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา
    ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ ๑๓๔ มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา
    ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ ๑๖๒, ๑๖๓, ๑๖๕ ทางสาธารณะประโยชน์
    ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค
    เจ้าอาวาสวัดบางนมโค จะมีกี่รูปไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐานก็ตั้งแต่
    ๑.เจ้าอธิการคล้าย
    ๒.พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘
    ๓.ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) โสนันโท รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง ๒ ปี ก็มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค.๒๔๘๐
    ๔.พระอธิการเล็ก เกสโร
    ๕.พระอธิการเจิม เกสโร
    ๖.พระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ)
    ๗.พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน
    ๘.พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) ได้รับการอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๓



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
    (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)</CENTER>
    ชาติภูมิ ของหลวงพ่อปาน
    ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา
    สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า “ปาน” เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว
    หลวงพ่อปานในวัยเด็ก
    พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า
    “…ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก ๓-๔ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส
    ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่น อยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก ๒-๓ โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ
    คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่ แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟัง เขาว่าอรหันกันทำไม
    พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน พอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่ อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไป เขาจะหาว่าไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น
    พอมาถึงตอนเย็น เวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือเรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้ เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง
    เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเขาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆว่า อรหัง อรหัง ว่า ๒-๓ คำ
    ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวด จับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกน “เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่า อรหัง ที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหัง ที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”
    ท่านแปลกใจ คิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกัน ในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า
    พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า “คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหังหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้…
    แต่ว่าแม่ของฉัน นี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหังเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน….”
    สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาคเป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อย
    ท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก
    ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งเรียกกันว่าทาส ชื่อว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ
    เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัว เป็นทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้ บอกว่า “พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก”
    พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ ๒ กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน
    บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน
    แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า “ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร” เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้ว ก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกับที่ท่านตั้งใจทุกประการ
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์
    หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม
    โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์
    มีฉายาว่า “โสนันโท”
    หลวงพ่อปานเรียนวิชา
    หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้น หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคม และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
    เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในการเบื่อหน่ายกิเลสว่า
    ๑.อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
    ๒.เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
    ๓.อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
    ๔.เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
    ๕.ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
    ๖.เมื่อถูกนินทาก็ไม่พอใจ
    ๗.มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
    ๘.เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ
    จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา
    อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก
    จงระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่าถอยหลังแล้วเป่า ให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้
    หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๔๐ ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ
    หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตาหลวงพ่อปาน ในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้
    จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น “พระหมอ” หลวงพ่อสุ่น สอนว่า “การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ให้คนไม่ตายไม่ได้ หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้
    องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน
    การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้
    เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน
    จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้
    เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม
    หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไร ก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง
    ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่าน ท่านจึงหยุดเรียน และเตรียมตัวสำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่
    หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย
    เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว
    โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่มีญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัด ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขาย ได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัว
    จะลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้าย (เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น) ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน
    ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก
    นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย
    จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๑ ปีหลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัตคัตมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ
    ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ ๓ ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น
    ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวย แล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่านั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอก ถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย
    ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึง วิธีการปลุกเสกพระและวิธีสร้างพระตามตำราซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้า ได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า
    “ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้ว ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ ให้บูชาพระอาจารย์ของท่าน แต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร”
    ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้มหายันต์เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย
    หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำ เขียนไว้ว่า “หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุดและปรารถนาที่สุด คือ พระกัมมัฏฐาน
    เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีความปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น
    สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบ ก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
    สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่า เดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์ สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียกว่าใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว
    ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก
    ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับ ไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง
    ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริง หลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ ๑ ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด
    หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียม เห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่ง เข้าไปถึงก็กราบๆ หลวงพ่อปานบอกว่า “เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับ กระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน”
    หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอน พร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่อง ก็เลี้ยวหาพระในวัดไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียม ล่ะ
    พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียม เลยสั่งว่า ๒ ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ
    พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มี ท่านนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ ร่างกายก็สมบูรณ์ หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส สวยบอกไม่ถูก
    หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ ๓ ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า “แปลกใจรึคุณ” หลวงพ่อปานก็ยกมือนมัสการ บอกว่า “แปลกใจขอรับหลวงพ่อ รูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน”
    ท่านก็บอกว่า “รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้ มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยนี่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ”
    หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก
    พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิด ท่านจะร้องบอกไปทันที บอก “คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้” นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก
    ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม ๓ เดือน แล้วจึงกลับ ก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า “ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน”
    หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
    ตอนนั้นครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ ๙๙ ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอ ให้คนละ ๑ บาท สมัยนั้นเงิน ๑ บาท มีค่ามาก เงิน ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท สามารถสร้างบ้านได้ ๒ หลัง มีครัวได้ ๑ หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ ๑๐๐ บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย
    เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติ และมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้
    กลับมาตุภูมิ
    หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง ๓ ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา
    ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือ เมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปู่คล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน
    จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมา พอจะอนุมานได้ดังนี้ จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า
    “หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะ เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือก เศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม
    ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมัวเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”
    ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ
    บางคนก็เรียกว่าหลวงพ่อ บางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆ น่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่มนั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ
    ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป ตามกำลังความสามารถเท่านั้น
    ด้วยความไม่ติดอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงได้ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปก่อนมรณภาพลง ทายกทายิกาพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่าน ขึ้นครองวัดบางนมโคแทน
    ท่านก็ไม่รับ ท่านให้เหตุผลว่า ท่านหน่ายเสียแล้วจากกิเลสอันจะมาเป็นเครื่องขวางกั้นทางพระนิพพาน กลับแนะนำท่านสมภารเย็น ซึ่งเวลานั้นเป็นพระลูกวัดธรรมดาขึ้นรับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม
    ด้วยความที่ท่านได้เสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโค และสถานที่อื่นๆ มากมาย โดยไม่ได้หวังจะได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ตอบแทน แม้ว่าจะมีเชื่อพระวงศ์ชั้นสูง จะมาเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่มากมายก็ตาม
    ในที่สุดความดีของท่าน ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่าน ด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่าน เป็นที่ “พระครูวิหารกิจจานุการ” ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ โดยมี
    ๑.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
    ๒.พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ
    ๓.หม่อมเจ้าโฆษิต
    ๔.หม่อมเจ้านภากาศ
    ๕.ท้าววรจันทร์
    ข้าราชการและบรรดาสานุศิษย์ของท่าน ได้นำพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการ ท่ามกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างแซ่ซ้องสาธุการกันถ้วนหน้า แต่หลวงพ่อปานเองท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา
    และแม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูวิหารกิจจานุการแล้ว ท่านเองก็ยังคงเป็นหลวงพ่อปานรูปเดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆ มา แต่ผู้ที่ยินดีที่สุด กลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์
    หลวงพ่อปานรักษาโรค
    ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จ และนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย
    ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น
    บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อน ท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย
    น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นัก และกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงระยะ คือ
    ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง
    คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่าใช้ดังนี้ จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ “ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ”
    เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามที กลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตุดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นก็จะทำการรักษาตามวิธีของท่าน หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นบอกโรคได้ดังนี้
    รสเปรี้ยว แสดงว่า ต้องเสนียดที่อยู่อาศัยเข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกส่วนต้นสาวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่า ปลูกเรือนคล่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ญาณดูแล้วบอกว่ามีอย่างไหนบ้าง ให้แก้เสียก่อน
    รสหวาน แสดงว่า ต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออกว่า ตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้บนให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป
    เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีกว่า หมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดูก็ต้องแก้บนอีก แล้วจึงรักษาหาย
    รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือ ถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชานำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากบาทบ้าง ด้ายตราสังข์มัดศพ เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวดเสียดแทงในร่างกายเป็นที่ทรมานนัก
    คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรม ถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้แล้วขอสัญญา ให้เลิกอาชีพนี้เสีย
    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษใส่กระป๋องน้ำ เพื่อให้คนไข้แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เพื่อเวลารดน้ำมนต์ ของที่อยู่ในตัวจะได้หลุดออกมาทางเท้าอยู่ในกระป๋องน้ำมนต์
    มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะเวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือมีอาการใช้ผีมาเข้าสิง คนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ
    ถ้าผียังสิงอยู่ จะไม่ยอมกินหมากเสกหลวงพ่อ ต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไปชั่วระยะ คนไข้จะยอมกินหมากแล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้เป็นผีตายโหง ที่มีผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคน ทำให้เสียสติเพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น
    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษจากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไปจนกว่าผีจะออก ถ้าดิ้นรนก็ต้องมีคนมาช่วย จับและรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่
    คนไข้ประเภทนี้เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคลไว้คล้องคอ กันถูกกระทำซ้ำอีก
    รายที่มีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะอาการป้ำๆ เป๋อๆๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่า ลมเพลมพัด ขาดสติ ปวดศีรษะบ่อยๆ คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้าในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมา เป็นฝ้าน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น
    หลวงพ่อบอกว่า คนไข้ประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพราย และท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย
    หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นโรคฝีในท้อง วัณโรค ประเภทนี้นอกจากรดน้ำมนต์แล้ว ยังต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการขับถ่ายพิษร้ายออกจากร่างกาย
    รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ
    นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาคุณพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค
    คือ ยานี้เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กิน เวลาท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว
    ยาของท่าน ท่านจะบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า ตำรับยานี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่าน มอบให้ท่านเป็นทายาทแทนเมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว มี ๒ ขนาน(คัดมาจากหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อปาน)
    พระคาถาของหลวงพ่อปาน
    (ว่า “นะโม ฯลฯ” ๓ จบ)
    พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
    “พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ”
    พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
    ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
    “วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม”
    คาถามหาพิทักษ์
    “จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง”
    ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ
    คาถามหาลาภ
    “นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง”
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ
    พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์
    ท่านมรณภาพวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๔๘๑ รวมสิริอายุ ๖๓ ปี ๔๓ พรรษา.
    ---------
    ขอขอบคุณ.... เว็บศูนย์พุทธศรัทธา

     
  6. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ตามด้วยประวัติของท่านหลวงพ่อปาน เป็นลิ้งไฟล์wmv จากเว็บพลังจิตครับ
    ฟังดูนะครับ และอนุโมทนาบุญกับทุก ๆ คนครับ...
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84.4128/
     
  7. armchi

    armchi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,631
    ค่าพลัง:
    +2,031
    ขอบคุณครับพี่ stoes
     
  8. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    หลวงพ่อปานได้สร้างพระชุดเนื้อดินเผา แบบย่อนะครับ
    ท่านนิมิตเห็นสัตว์ 6 ชนิด จึงสร้างพระเนื้อดินพิมพ์ต่าง ๆ ขี่สัตว์ตามนิมิต
    1 พิมพ์ขี่ไก่ และแยกเป็นไก่ต่าง ๆ
    2 พิมพ์ขี่ครุฑ ยังแยกเป็นพิมพ์ครุฑต่าง ๆ
    3 พิมพ์ขี่หนุมาน มีแยกเป็นพิมพ์ย่อยอีก
    4 พิมพ์ขี่ปลา มีแยกเป็นพิมพ์ย่อย
    5 พิมพ์ขี่เม่น มีย่อยอีก
    6 พิมพ์ขี่นก พิมพ์บ้วยสุด มีแยกอีก
    การสร้างทั้งหกพิมพ์นี้ เป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเหมือน
    ก่อนที่สร้างชุดนี้ยังมีพิมพ์โบราณยังไม่สวย เป็นยุคแลก แต่มีคุณค่าทางศิลป
    ปีที่สร้างประมาณ 2460 ถึง 2480 ถ้าผิดก็ช่วยบอกด้วยเพราะอ่านนานแล้ว
    ตามประวัติท่านสร้างไว้ถึง 885 ปี๊บ นำมาแจกครึ่งนึงและนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่
    ในวัดบางนมโค และองค์ท่านปรารถนา พุทธภูมิ
    เนื้อหาของพระหลวงพ่อปานอยากให้สังเกตคือ
    1. เม็ดทราย....เม็ดทรายที่ว่านี้คือเม็ดทรายเล็ก ๆ ทำจากดินขุยปูโดยการร่อนในตะแกรง
    ฉะนั้นเม็ดทรายเม็ดใหญ่จะหลุดรอดปะปนเข้าไปได้นั้น จะมีก็น้อยเต็มที
    2.ร่องรอยสากเป็นตุ่มแหลมมนบนผิวพระ นอกเหนือจากเม็ดทรายเล็ก ๆ ที่โผลให้เห็นแล้ว
    ยังมีทรายที่จมอยู่ใต้ผิวพระเป็นแง่มุมของทรายเม็ดเล็กจะปะทุดันเนื้อพระนูนเป็นตุ่ม ๆ เล็ก ๆ
    ตามพื้นผิวองค์พระที่ไม่โดนสัมผัส
    3.รอยร่องแกลบ ถ้าเราเห็นหรือสังเกตอิฐมอญที่ใช้ในการก่อสร้าง จะพบร่องรอยแกลบที่ชาวบ้าน
    นำแกลบมาสุมตอนเผา เมื่ออิฐสุกได้ที่ ปล่อยให้เย็นที่ผิวของอิฐจะมีรอยร่องแกลบ พระเครื่อง
    ของหลวงพ่อปานก็เผ่าด้วยแกลบครับ สภาพเนื้อพระจะมีร่อยรอยการเผาแกลบ แต่ไม่มากเท่าอิฐมอญ
    เพราะพระถูกใส่ไว้ในบาตรพระแล้วนำมาสุมด้วยแกลบตอนเผา จุดนี้จึงเป็นข้อสังเกตพระได้ดี...
    พระมีสภาพทั้งแกร่งและเนื้อไม่แกร่งนะครับ เกี่ยวกับสีเท่าที่พบมีประมาณ 4 สีแล้วแต่สภาพการเผา
    มีสีอิฐอมแดง, สีเหลืองอมแดง, สีเหลืออมชมพู,สีชมพูอมเหลือ ตรงนี้อธิบายยาก

    รอยอุดผงวิเศษ..เท่าที่พบเห็นเดิม ๆ ค่อนข้างหายาก หลวงพ่อปานท่านสร้างพระเสร็จแล้วก็นำ
    ไปเผาไปแล้วจึงนำมาบรรจุผงวิเศษลงในรูรอยก้านไม้ไผ่แล้วใช้ซีเมนต์อุดอีกที จุดสังเกตถ้าปูนเยิ้ม
    ลงมาเป็นเหมือนฟองสังขยาก็จะสังเกตง่ายไปอีกแบบหนึ่ง สีของผงวิเศษถ้าได้เห็นหรือส่องดูจะเป็น
    สีเหลืองตองอ่อน และด้านหลังจะมีรอยยกของไม่ไผ่ รูรอยยกนี้แหละเป็นที่ปัจจุผงวิเศษ

    ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บารมีหลวงพ่อปานดลบันดาลให้
    ผู้ที่นับถือบูชาพระหลวงพ่อปาน ประสบแต่ความสุข ความสำเร็จทุกประการ
     
  9. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ภาพพระหลวงพ่อปานที่ผมว่าดีโดยการโหลดมาจากเว็บ
    ถ้าเจ้าของภาพมาเห็นผมขออนุญาตด้วยครับเพื่อเป็นวิทยาทาน

    องค์แรกพิมพ์หนุมานทรงเครื่องใหญ่ เนื้อไม่ถึงกับแกร่งหรือแน่นมาก
    รอยกรวดดินขุยปูมีเห็นทั่วองค์ในด้านหลัง
    --------------------------------
    องค์ที่สองพิมพ์หนุมานหาวเป็ดาวเป็นเดือน พิมพ์นี้ด้านบนใหญกว่าด้านล่างเป็นทุกองค์ครับ
    ---------------------------------
    องค์ที่สามพิมพ์เม่นหัวกลับ พิมพ์นี้สมัยก่อนบอกว่าหายากมีผ่านมือมา 2 องค์ แท้หนี่งองค์เก๊หนึ่งองค์
    ---------------------------------
    องค์ที่สี่พิมพ์เม่นมังกร อุโค้งบรรจบ สังเกตยันต์อุ วิ่งมาบรรจบอยู่ใต้ฐานจริง ๆ
    ----------------
    องค์ที่5 เม่นเล็ก และ ตามด้วยไก่หาง 5 เส้น
    -------------
    และเม่นขี่นกบัว 9 จุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2010
  10. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    ขอบคุณครับพี่สโต เด๋วมานั่งอ่านครับทำงานแปลบ ยังไม่มีปัญญาเช่า สักองค์ ผมเลยใช้คู้สลอตไปก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2010
  11. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  12. chalermchon1

    chalermchon1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    652
    ค่าพลัง:
    +1,134
    ขอขอบพระคุณพี่ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->stoes และพี่เจ้าของกระทู้มากครับ ที่ทำให้ผมได้มีโอกาส หาความรู้:cool:
     
  13. เด็ก3ขวบ

    เด็ก3ขวบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ถึงใครว่าเก๊ผมก็จะแขวนต่อไปพระหลวงพ่อปาน.....5555:cool:
     
  14. นัท พิดโลก

    นัท พิดโลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +308
    ขออนุญาติมาช่วยเต็มให้เต็มนะครับผม 108 เกจิอาจารย์ชั้นนำ ยุึคสงคราม

    1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
    2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
    3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
    4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
    7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
    9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
    10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
    12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
    13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
    15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
    16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
    17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
    19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
    21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
    22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
    23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
    24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
    25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
    27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
    28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
    29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
    30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
    31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
    32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
    33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
    34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
    35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
    36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
    37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
    38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
    40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
    41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
    42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
    43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
    44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
    45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
    46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
    47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
    48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
    49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
    50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
    51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
    52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
    53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
    54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
    55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
    56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
    57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
    58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
    59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
    60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
    61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
    62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
    63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
    64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
    65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
    66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
    67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
    68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
    69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
    71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
    72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
    73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
    74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
    75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
    76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
    77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
    78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
    79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
    80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
    81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
    82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
    83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
    84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
    85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
    86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
    87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
    88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
    89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
    90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
    91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
    92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
    93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
    94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
    95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
    96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
    97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
    98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
    99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
    100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
    101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
    102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
    103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
    104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
    105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
    106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
    107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
    108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
     
  15. น้อง 2710

    น้อง 2710 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    492
    ค่าพลัง:
    +906
    นั่งอ่านจนตาลาย ขอบคุณท่าน stoes จริง ๆ ครับ

    รบกวนถามนิดนึงครับ คาถาบูชาหลวงพ่อปาน ตรง มาณี มามะ ผมเห็นตำราหลาย ๆ เล่มเขียนว่า มาณี มานะ ที่ถูกควรเป็นอันไหนครับ



    “วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม”
     
  16. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    โมทนาด้วยครับ ได้ความรู้มากๆเลยครับ (^_^)
     
  17. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496

    ผมก็ท่อง มาณี มานะ เหมือนกันงะ แหะๆ
     
  18. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    ขอบคุณมากครับพี่................
     
  19. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    คาถาพระปัจเจกโพธิ์พุทธเจ้า ของหลวงพ่อปานวัดบางนมโค อยุธยา
    ถ่ายกับมือให้เห็น ที่วัดก็มีแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ไปทำบุญครับ คุณnong2710
    และคุณnarmjaครับ
    และคนที่นับถือหลวงพ่อมาก ๆ คือนายห้างยาเขียวตราใบโพธิ์ ปัจจุบันไม่ทราบยังมีชีวิตหรือไม่
    ท่านชื่อ นางห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร ท่านนี้ท่องคาถานี้เป็นประจำและใส่บาตรทุกเช้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    โอ้วผมทอ่งผิดมาตลอดเลยนะเนี้ยพี่ ขอบคุณครับ โอ้วใบคาถาเงินล้านผมจะผิดด้วยป่าวหว่าเด๋วกลับไปดูดีกว่า ในเน็ตก็มีเยอะแยะเลยผมก็ไม่ได้ดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...