พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รศ.ศรีศักร วิพากษ์น้ำท่วม “น้ำล้างแผ่นดินได้ แต่ล้างความชั่วของคนไม่ได้” <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">4 พฤศจิกายน 2554 17:14 น.</td></tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่น้ำเริ่มเข้าท่วมพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย และไหลต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งมายังกรุงเทพมหานคร จนในขณะนี้เมืองหลวงของประเทศหรือกรุงเทพฯ เหลือพื้นที่แห้งอยู่อีกไม่มากนัก เพราะส่วนที่เหลือได้ถูกสายน้ำเข้าไปจับจองพื้นที่ไว้เป็นที่เรียบร้อย

    รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยา ผู้ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมกรุงมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2485 ได้มาบอกเล่าความรู้สึก ความคิดเห็น ต่อเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้

    "ช่วงปี 2485 ผมอายุ 4 ขวบ ตอนนั้นผมอยู่แถวๆ บางลำพู แถวตรอกบวรรังษี น้ำท่วมจนพ่อต้องต่อเรือบดเล็กๆ ไปทำงาน กรุงเทพฯ ก็ท่วมกันหมด รู้สึกว่าคนก็สนุกกันดี ผมก็ยังเล่นน้ำสนุก สมัยนั้นคนไม่เป็นโรคกลัวน้ำ ตอนนั้นน้ำท่วมทั่วกรุงเทพฯ แต่ท่วมแบบไม่มีสิ่งกีดกั้น น้ำมาแล้วก็ไป แล้วก็เป็นน้ำสะอาด สนุกจะตายไป เพราะถิ่นฐานของกรุงเทพฯ มันอยู่กับน้ำ"

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">น้ำท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "ในสมัยรัชกาลที่ 5 เราสร้างถนนขึ้นมาหลายสาย แต่เราก็ยังอยู่กับน้ำ กรุงเทพมีคลองสานไปสานมาตลอด มีการระบายน้ำออกระบายน้ำเข้า เมื่อน้ำมาแล้วมันก็ไป แต่ตอนนี้ที่น้ำไม่ไปเพราะบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม เราทำทุกอย่างขวางทางน้ำทั้งนั้น พูดง่ายๆ ว่ารัฐบาลห่วยมาหลายรัฐบาลแล้ว เห็นพื้นที่เศรษฐกิจดีกว่าพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน" รศ.ศรีศักร กล่าว

    รศ.ศรีศักร ยังกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของเมือง ที่มีผลทำให้น้ำท่วมหนักขึ้นว่า "การเปลี่ยนแปลงของเมืองมีผลมาก ต้องท้าวความไปถึงสมัยจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม ในยุคนั้นมีการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยังแหล่งทรัพยากรต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่เกษตรกรรม อะไรเข้าถึงทรัพยากรได้ก็ทำ อย่างพื้นที่ที่เสียหายมากๆ ที่นิคมโรจนะ ที่นั่นเป็นพื้นที่รับน้ำ เป็นท้องทุ่งของอำเภออุทัย แต่คนดันไปสร้างนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมที่นวนคร ลาดกระบัง มันเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งนั้น ทางซีกตะวันออกของกรุงเทพฯ ก็พื้นที่รับน้ำทั้งนั้นเลย มันเอาความเป็นทุนนิยมเข้าไปใส่ ละเมิดพื้นที่ของน้ำ ก็เจอน้ำท่วมน่ะสิ"

    "สมัยโบราณที่เขาสร้างบ้านแปงเมือง ตั้งแต่โคราชลงมาถึงกรุงเทพมีลำน้ำลำคลองแยกแตกแขนงเป็นเหมือนซี่โครงเลย เพราะเขาจะระบายน้ำออกท้องทุ่งโดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของกรุงเทพ คลองเชียงรากเป็นคลองแรกที่ระบายน้ำออกมา พอถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสั่งให้ขุดคลองระพีพัฒน์เชื่อมเพื่อจะเทน้ำออกทางตะวันออก อันนั้นสำคัญที่สุด และตอนที่เกิดน้ำท่วมปีนี้ เมื่อคลองเชียงรากแตก ก็กะจะผันน้ำออกคลองระพีพัฒน์ แต่มันไปไม่ได้เพราะติดพื้นที่อุตสาหกรรม ส่วนทางคลองรังสิตมาถึงคลองหก คลองพวกนี้ต้องผันน้ำออกไปทางตะวันออกทั้งนั้น แต่ก็ติดพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งนั้นเหมือนกัน ที่จริงถ้าดูโครงสร้างสมัยรัชกาลที่ 5 คลองเหล่านี้มันต่อเชื่อมถึงคลองไชยานุชิตที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วไล่น้ำลงแถวๆ คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ เขาทำระบบไว้หมดแล้ว แต่พอไล่น้ำไปไม่ได้เพราะติดพื้นที่อุตสาหกรรม น้ำก็เข้ามากระแทกกรุงเทพฯ กรรมเวรก็ตกมาถึงคนกรุงเทพฯ"

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">น้ำท่วมครั้งนี้ชาวกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางเดือดร้อนหนัก</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อถามถึงวิธีแก้ปัญหา รศ.ศรีศักร กล่าวว่า "วิธีที่ดีที่ สุด ต้องรื้อโครงสร้างใหม่หมดเลย สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการปกครองแบบอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ มันไม่กระจายไปให้ท้องถิ่นดูแล รัฐบาลฉ้อฉล อีกอย่างหนึ่งคือโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นทุนนิยมเสรีหรือทุนนิยม สามานย์ เน้นทำแต่อุตสาหกรรม พอน้ำท่วมคราวนี้ทั้งโครงสร้างการปกครองและโครงสร้างเศรษฐกิจก็พังหมด แต่ที่พังกว่าคือโครงสร้างสังคม ชาวบ้านรับเละเลย ถามว่าเวลานี้บอกให้คนอพยพๆ เขาจะออกได้ยังไง เพราะเขาต้องระวังสมบัติเขา ถามว่ารัฐบาลดูแลความปลอดภัยหรือเปล่า ตำรวจหายไปไหน ถ้าเป็นสังคมแบบเมื่อก่อน เวลาน้ำท่วมท้องถิ่นจะดูแลกันเอง หัวหน้าหมู่บ้านจะประชุมลูกบ้าน จะย้ายคนไปที่ตรงไหน จะไม่มาปล้นฆ่าขโมยของกัน เวลามีใครแปลกหน้าเข้ามาในท้องถิ่นเขาจะรู้ แต่ชุมชนแบบนี้ไม่มีแล้วในกรุงเทพ"

    นอกจากนั้น ความวุ่นวายหลังน้ำท่วมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าวิตก "หลังน้ำท่วมจะยิ่งหนักกว่านี้ คนจนจะไม่มีที่อยู่อาศัย ที่ดินชาวบ้านก็ไม่มีเพราะนายทุนยึดหมด รัฐบาลก็มุ่งฟื้นอุตสาหกรรม ไม่เคยฟื้นชาวบ้านเลย มีแต่ประชานิยมแจกเงินให้ชาวบ้านไปขอทาน ความเสื่อมของสังคมจะตามมา เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาต้องแก้จากท้องถิ่น ไม่ว่าจะเสื้อเหลืองเสื้อแดงไม่ต้องคำนึง แต่ให้ช่วยกันรักษาแผ่นดินเกิดก่อน ทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกว่าตรงนี้เป็นแผ่นดินเกิดของเรานะ คนไทยแม้จะหลากหลายเรื่องชาติพันธุ์ก็ตาม แต่เรามีแผ่นดินเกิดร่วมกัน อย่าไปสนใจรัฐบาลที่มันรวบอำนาจ ซื้อเสียงหาเสียง มันเป็นอสูรร้าย รัฐเป็นทรราชย์ คนในสังคมส่วนมากเป็นทรชน แต่คราวนี้ทรชนจมน้ำไปเยอะ"

    น้ำท่วมในครั้งนี้ได้นำพาเอาความเดือดร้อนไปทุกๆ ที่ที่เดินทางผ่าน แต่ก็ยังมีจุดดีเล็กๆ ที่ รศ.ศรีศักรกล่าวว่า ให้ถือว่าน้ำได้ชะล้างเอาความสกปรกของแผ่นดินออกไป

    "ข้อดีของน้ำท่วมคือมันช่วยล้างมลภาวะ สารพิษต่างๆ ล้างแผ่นดินได้สะอาดขึ้น และทำลายสังคมอุตสาหกรรมยับเยิน เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็มาตั้งตัวเป็นสังคมเกษตรกรรมสิ เลิกอุตสาหกรรมหนักไปเลย หันมาทำสังคมเกษตรด้วยเศรษฐกิจพอเพียง บ้านเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก เรายังสามารถฟื้นได้ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งของอาหารโลกได้ แต่ไม่ใช่ด้วยเศรษฐกิจแบบทุนนิยม"

    "น้ำล้างมลภาวะของบ้านเมืองได้มาก ไล่น้ำเสียออกไป แต่ที่ไล่ไม่ได้คือความชั่วของคน คนสมัยนี้ทำบาปเยอะ ไม่พึ่งศาสนา ไม่มีจริยธรรม น้ำอาจจะล้างแผ่นดินได้สะอาดขึ้น แต่ถ้าล้างความชั่วของคนไม่ได้มันก็กลับสกปรกอย่างเก่า หรืออาจจะแย่กว่าเก่าเสียอีก" รศ.ศรีศักร กล่าวปิดท้าย</td></tr></tbody></table>

    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140854-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    “สุขุมพันธุ์” เปิดโรงครัว กทม.โชว์ฝีมือผัดระเพรา-ข้าวผัด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">4 พฤศจิกายน 2554 16:40 น.</td> </tr></tbody></table>

    ผู้ว่าฯ กทม.เปิดครัว กทม.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เปิดครัว กทม.ที่ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการ กทม.ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการประกอบอาหารจากส่วนกลาง เพื่อที่จะให้ทางสำนักงานเขตที่ประสบอุทกภัยมารับไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ ได้รับเดือดร้อน โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายและองค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องของอุปกรณ์วัตุดิบในการทำอาหาร รวมถึงกำลังรถและเรือที่จะมาช่วยรับอาหารที่ส่วนกลางไปส่งมอบถึงมือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ไม่สามารถประกอบอาหาร หรือออกมาซื้ออาหารเองได้ เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมามีระดับน้ำท่วมสูงในพื้นที่

    ผู้ว่าฯ กทม.ได้ลงมือผัดข้าวผัดไก่ไส้กรอก และข้าวผัดกะเพราบรรจุกล่อง เพื่อจะไปมอบให้ประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในวันนี้จะนำไปมอบให้ประชาชนในพื้นที่เขตทวีวัฒนาเป็นเขตแรก ทั้งนี้ ในเบื้องต้นครัว กทม.จะทำอาหารสำเร็จวันละ 4,000 กล่อง และอาจเพิ่มตามความต้องการของผู้เดือดร้อน จึงอยากเชิญชวนผู้มีจิตอาสามาร่วมสนับสนุนใการบริจาคอาหารหรือสมทบซื้อวัตถุ ดิบและร่วมเป็นอาสาสมัครไปแจกอาหารในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยด้วย

    รับมอบเรือห่วงยางจากชาวนครพนม

    วันเดียวกัน นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหา นคร รับมอบ “เรือห่วงยางชาวนครพนม” เพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 125 ชุด จากนายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมและคณะ ซึ่งเดินทางมอบด้วยตนเอง โดยชุดอุปกรณ์เรือห่วงยาง 1 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งหมด 7 ชิ้น ได้แก่ ห่วงยาง กะละมัง ใบพายซึ่งใช้น๊อตประกอบ ไฟฉายสำหรับรัดศรีษะ กระเป๋าเป้สะพายหลัง กระเป๋าชูชีพสำหรับสะพานด้านหน้า และเชือก การใช้งานของเรือห่วงยางนี้จะสามารถโดยสารได้ครั้งละ 1 คน น้ำหนักไม่เกิน 80 กิโลกรัม ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ลึกมากและกระแสน้ำไม่รุนแรง ซึ่งหากพ้นภาวะน้ำท่วมไปแล้วอุปกรณ์ประกอบชิ้นต่างๆ ของเรือห่วงยางจะสามารถน้ำไปใช้งานในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140836-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    อาหารที่ควรมีติดบ้านในยามน้ำท่วม / ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138984-
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">1 พฤศจิกายน 2554 10:51</td></tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ภาพจากเฟซบุ๊กสภากาชาดไทย (The Thai Red Cross Society)</td> </tr> </tbody></table>


    ในช่วงเวลาน้ำท่วมเมือง อาหารเป็นปัจจัยแรกที่ทุกคนต่างกลัวว่าจะขาดแคลน ผู้คนจึงพากันกักตุนอาหารที่คิดว่าจำเป็นต่อการยังชีพ นี่เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มและอาหารสะดวกรับประทานซึ่งไม่ต้องมี ขั้นตอนยุ่งยากในการประกอบเป็นอาหาร

    อาหารที่ผู้คนส่วนใหญ่เลือกกักตุนคือ อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกระป๋อง อาหารกระป๋องในน้ำเกลือ เช่น ปลากระป๋อง ผักดองกระป๋อง ขนมขบเคี้ยวที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น กุนเชียง หมูหยอง อาหารทอดน้ำมัน น้ำอัดลม โดยที่ไม่รู้ว่าอาหารประเภทเหล่านี้ถ้ารับประทานในปริมาณมากและเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ การขาดสารอาหารจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยและติดเชื้อโรคได้ง่าย สำหรับกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคแย่ลงไปอีก ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพตามมาหลังจากน้ำลดหรือในกรณีเจ็บป่วยในขณะที่น้ำยังท่วม อยู่ก็จะทำให้ลำบากมากขึ้นในการเดินทางไปหาหมอหรือหายามารักษา

    คำแนะนำสำหรับอาหารที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในยามน้ำท่วม

    • น้ำดื่มสะอาดร่างกายควรได้รับน้ำในแต่ละวันเฉลี่ยประมาณ 2-3 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน

    • ซีเรียล ธัญพืชอบแห้ง หรือข้าวอบแห้ง เช่น ซีเรียลที่นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ควรใส่รวมกับนมหรือนมถั่วเหลืองหรือหากใส่ผลไม้เพิ่มก็ยิ่งมีประโยชน์มาก ขึ้น ซีเรียลควรที่จะเป็นชนิดโฮลเกรน น้ำตาลและไขมันต่ำ ข้าวอบแห้งที่สามารถหาได้ง่ายๆ ในบ้านเรา ได้แก่ข้าวตังหน้าธัญพืช ลูกเดือยอบกรอบ ข้าวพอง ข้าวแต๋น

    • เมล็ดธัญพืชพร้อมรับประทาน เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วแดงกระป๋อง หรือจะเป็นธัญพืชอัดแท่งก็ได้ อาหารในกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงและทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน

    • ถั่วเปลือกแข็งเช่น อัลมอนด์ แมกคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัท พีแคน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง อาหารในกลุ่มนี้ให้คุณค่าทางอาหารสูงเนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัว โปรตีน ใยอาหาร และสารพฤกษาเคมีที่ช่วยขับสารอนุมูลอิสระที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับในตาลในเลือดให้คงที่ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรค เบาหวาน

    • เส้นหมี่แห้งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของอาหารประเภทข้าวแป้งที่สะดวกในนำมา ปรุงประกอบอาหาร ในกรณีที่ไม่มีไฟฟ้าและมีเพียงเตาถ่านหรือเตาแก๊ส เส้นหมี่จะช่วยเราประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่มีอยู่จำกัด แค่นำเส้นหมี่มาแช่น้ำก็สามารถนำมาผัด หรือต้มก็ได้ตามชอบ

    • ข้าวเหนียวเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างข้าวสวยกับข้าวเหนียว ข้าวเหนียวจะสามารถทำให้อิ่มได้นานกว่าและมีอายุการเก็บรักษาได้นาน ข้าวสวยปกติจะเก็บได้ 4-5 ชั่วโมงก็จะเริ่มบูด ในขณะที่ข้าวเหนียวเก็บได้ประมาณ 1 วันและเหมาะกับการนำเป็นอาหารกล่องไปแจกให้กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมโดยแยก ข้าวเหนียวกับตัวกับข้าวคนละถุงกันก็จะทำให้อาหารเก็บได้นานขึ้นอีก

    • เนื้อสัตว์แห้งหรือกระป๋องเช่นปลากรอบ หมูฝอย เนื้อฝอยโปรตีนเกษตรพร้อมรับประทานแผ่นแห้ง รวมถึงสาหร่ายอบแห้ง เหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี

    • น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง

    • ขนมปังกรอบแห้ง จะเก็บได้นานกว่าขนมปังสดเนื่องจากอายุการเก็บของขนมปังโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 3-7 วัน ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นแม้ว่าจะตัดบริเวณที่เป็นเชื้อราทิ้งไปแล้วก็ไม่ควรที่ จะรับประทานเพราะเชื้อราส่วนใหญ่จะแพร่กระจายไปทั่วแม้ว่าจะมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า

    • น้ำผลไม้ 100% หรือน้ำสมุนไพรกระป๋องเช่นน้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น ดื่มแทนน้ำหรือแทนผลไม้สด

    • นม นมถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์ธัญพืชพร้อมดื่มบรรจุกล่อง ในภาวะที่น้ำท่วมและอาหารขาดแคลนการเลือกเครื่องดื่มเช่น นมกล่องอาจเลือกประเภทที่มีไขมันปกติหรือนมที่ให้พลังงานสูงเพราะจะทำให้ อิ่มได้นาน 3-4 ชั่วโมงและให้ของเหลวแก่ร่างกายแทนที่น้ำได้บางส่วน

    • น้ำผึ้ง น้ำหวานหรือลูกอมเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ควรเก็บกักตุนไว้บ้างเพราะพื้นฐานของ ร่างกายจะต้องการน้ำตาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง หากไม่มีอาหารอย่างอื่นรับประทานได้แล้วและไม่มีแรงหรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รับประทานน้ำผึ้ง น้ำหวาน หรือลูกอมก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีลูกอมหรือน้ำหวานแบ่งใส่ขวดเล็กๆ เอาไว้ใช้เมื่ออยู่ในภาวะขาดน้ำตาล

    • ช็อกโกแลตแบบดำ หรือ Dark Chocolate ก็เป็นสิ่งที่ควรมีติดบ้านไว้บ้าง เนื่องจากในโกโก้มีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระสารคาเฟอี นเล็กน้อยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีสารที่ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินทำให้มีอารมณ์ดีและลดความ เครียดลงได้

    • ถั่วเขียวดิบ เป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตชั้นดี สามารถน้ำมาต้มกับน้ำตาลเพื่อให้พลังงานทำให้อิ่มได้นานหรือจะใช้ถั่วเขียว มาเพาะเป็นถั่วงอกก็ได้หากไม่มีผักจะรับประทาน

    • ผักที่เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น เช่นกระเทียม หัวหอม แครอท ฟักเขียว ฟักทองกะหล่ำปลีมันฝรั่งหรือจะเป็นผักอบแห้ง เช่น มะเขือเทศแห้ง หรือผักที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแบบ Freeze – Dry ผักจะมีลักษณะแห้งและกรอบ เช่น ถั่วฝักยาว แครอท บล็อกโคลี่ กระเจี๊ยบ

    • ผลไม้ที่เก็บได้นาน เช่น กล้วย(เลือกแบบที่ยังเขียวอยู่จะสามารถเก็บได้ 1 อาทิตย์) ส้มแอปเปิ้ล หรือจะเป็นผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุน ลูกเกด ฝรั่งอบแห้ง มะม่วงกวน มะม่วงอบแห้งมะขามแห้งเป็นต้น

    • น้ำพริกแห้งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนำมาคลุกกับข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติและได้ ประโยชน์จากพริกที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และมีวิตามินซี

    • สมุนไพรตากแห้ง หรือสมุนไพรป่นในขวดที่วางขายกันอยู่ เช่น พริกไทย ขมิ้น ใบมะกรูด ตะไคร้ผง ข่าผง เป็นต้น หากจะนำมาปรุงประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติก็ทำได้ง่ายและยังเพิ่มคุณค่าให้ กับอาหารอีกด้วย

    ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
    อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล



    .

    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138984

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เหอๆๆๆๆๆๆ

    คน(เกือบ)เก่ง พาประเทศบรรลัย




    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    --------------------------------------------------------------------------


    กลุ่มไหนไม่ว่าพวกเสื้อสีต่ีางๆ , พวกเสื้อไม่มีสี ที่ ด่า หรือ นำ สถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

    อย่าไปเลือกพวกมัน

    ที่สำคัญ ต้องพัฒนาความคิด , เปิดโลกทัศน์ให้กว้างมากขึ้น จะได้ตัดสินใจถูก


    หากเลือกผิด กาผิด มีสิทธิ์น้ำตาตกได้อีก




    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปรับปรุงล่าสุด ปิดถนนเพิ่มเป็น 50 สาย หลีกเลี่ยง 12 สาย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">4 พฤศจิกายน 2554 22:00 น.</td></tr></tbody></table>

    วันที่ 4 พ.ย. เวลา 19:00 น. ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร แจ้งปิดเส้นทางจราจร 50 เส้นทาง และเส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยง 12 เส้นทาง ดังนี้
    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้
    1) ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า -ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 20 – 30 ซม.
    2) ถ.ไมยลาภ ขาเข้า – ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซม.
    3) ถ.ประชาร่วมใจ ขาเข้า – ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซม. วันที่04/11/2011 20:03:31

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้
    1) ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า –ขาออก ตั้งแต่แยกรัชโยธิน ถึงหน้าศาลอาญา ระดับน้ำ 30 ซม.
    2) ถ.สายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40-50 ซม.
    3) ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซม.
    4) บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซม.
    5) ถ.นาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.
    6) ถ.คู้บอน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.คู้บอน 19 ถึง หน้า สน.คันนายาว ระดับน้ำ 30-50 ซม.
    7) ถ.บูรพา (ดอนเมือง) มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.
    8) ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกวังหิน ถึงหน้าวัดใหม่เสนา ระดับน้ำ 30 ซม.
    9) ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า –ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ประเสริฐมนูญกิจ ถึงหน้าวัดลาดปลาเค้า ระดับน้ำ 30- 40 ซม. วันที่04/11/2011 19:56:13

    ทิศตะวันออก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 2 แห่ง
    1) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกการไฟฟ้ามีนบุรี ระดับน้ำ 60 ซม.
    2) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า – ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์ ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า ระดับน้ำ 60 ซม.

    ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 2 แห่ง
    1) ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    2) ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถ.สุวินทวงศ์ ถึงซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 60 ซม. วันที่04/11/2011 19:55:36

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 14 แห่ง
    1) ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำ 60-70 ซม.
    2) ถ.สวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 70-100 ซม.
    3) ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-90 ซม.
    4) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    5) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-เขาออก ตั้งแต่ ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    6) ถ.พุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    7) ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า –ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก ระดับน้ำ 80-120 ซม.
    8) ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    9) ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    10) ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    11) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.
    12) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-80 ซม.
    13) ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-70 ซม.
    14) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80-150 ซม. วันที่04/11/2011 19:55:04

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 9 แห่ง
    1) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึง ซ.เพชรเกษม 36 ระดับน้ำ 60 -80 ซม.
    2) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7 ระดับน้ำ 70-150 ซม.
    3) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับน้ำ 60-150 ซม.
    4) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    5) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ถึงแยก รพ.ศิริราช ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    6) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า) ระดับน้ำ 60- 150 ซม.
    7) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้
    8) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-80 ซม.
    9) ถ.กาญจนาภิเษก ขาเข้า –ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึง คลองบางไผ่ ระดับน้ำ 60-80 ซม. วันที่04/11/2011 19:54:29

    ทิศเหนือ ถนนสายรองปิดการจราจร จำนวน 17 แห่ง
    1) ถ.พระยาสุเรนทร์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    2) ถ.เทอดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    3) ถ.แจ้งวัฒนะซ. 5 ปิดการจรารตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.
    4) ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า – ขาออก ตั้งแต่ ซ.นวมินทร์ 163 ถึง รามอินทรา กม.8 ระดับน้ำ 70 ซม.
    6) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 80-120 ซม.
    7) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ. ระดับน้ำ 80 ซม.
    8) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    9) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    10) ถ.เดชะตุงคะ (เส้นทางปิดการจราจร) วันศุกร์ที่ 4 พ.ย.54 เวลา 19:00 น. ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    11) ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    12) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    13) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน ระดับน้ำ 60 ซม. วันที่04/11/2011 19:52:44
    14) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ(คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา ระดับน้ำ 60 ซม.
    15) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล ระดับน้ำ 60 ซม.
    16) ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    17) ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม. วันที่04/11/2011 19:53:40

    ทิศเหนือ ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 6 แห่ง
    1) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ถึงห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 80 - 120 ซม.
    2) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ถึง ห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 90 -130 ซม.
    3) ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรจากแยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.5 ระดับน้ำ 100 - 110 ซม.
    4) ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา ระดับน้ำ 90- 100 ซม.
    5) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ระดับน้ำ 100 ซม.
    6) ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกรัชโยธิน ถึงทางต่างระดับรัชวิภา ระดับน้ำ 60 ซ.ม. วันที่04/11/2011 19:52:15

    ผู้ที่จะสัญจรในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงนี้ ควรตรวจสอบเส้นทางก่อนออกจากบ้าน สามารถตรวจสอบเส้นทางได้ที่หมายเลข 1197 ช่วงนี้ควรติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด / บก.จร.

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140953-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สมุทรสาครแจ้งเตือน “สวนหลวง-ท่าไม้” เตรียมตัวอพยพ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">4 พฤศจิกายน 2554 22:25 น.</td> </tr></tbody></table>
    [​IMG]

    [​IMG]

    รองผู้ว่าฯ สมุทรสาครออกประกาศเตือน ต.สวนหลวง และ ต.ท่าไม้ เตรียมตัวอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย หลังเป็นพื้นที่รับน้ำต่อจาก ต.อ้อมน้อย เปิดศูนย์อพยพ 7 แห่ง รองรับได้ 3 พันคน

    (4 พ.ย.) นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้ออกประกาศให้ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสวนหลวงและองค์การบริหารส่วน ตำบล (อบต.) ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เตรียมตัวอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยระบุว่า จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัยของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหา อุทกภัยจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าขณะนี้ พื้นที่ อ.กระทุ่มแบนได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่

    เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสวน หลวงและองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำต่อจากพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย ในการรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งเพื่อลดความสูญเสียจากอุทกภัย จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวไปลงทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาลตำบลสวนหลวง และที่ทำการ อบต.ท่าไม้ เพื่อให้รายละเอียดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการให้ความช่วยเหลือต่อไป

    นอกจากนี้ ขอให้ผู้ป่วยติดเตียง คนชรา คนพิการ เด็ก สตรี ควรจะอพยพไปอยู่บ้านญาติที่ปลอดภัย หรือที่ศูนย์อพยพที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เป็นศูนย์พักพิงชั่ว คราว เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ศูนย์อพยพในเขตพื้นที่ ต.สวนหลวง จำนวน 4 แห่ง สามารถรองรับได้ทั้หงมด 2,100 คน ติดต่อได้ที่นายวิเชิญ ชื่นกรมรักษ์ ผู้ประสานงาน โทร. 0-2429-4741 ถึง 2 ส่วนศูนย์อพยพในเขตพื้นที่ ต.ท่าไม้ จำนวน 3 แห่ง สามารถรองรับได้ทั้งหมด 1,100 คน ติดต่อได้ที่นายอัครินทร์ จันทวิโรจน์ ผู้ประสานงาน โทร. 0-2429-4860 ถึง 4


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140961-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]ปฏิกิริยาที่เกิดจากภัยน้ำท่วม

    คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา


    ในสภาพน้ำท่วมเช่นนี้ทำให้แต่ละคนมีพฤติกรรม และการแสดงออกที่เกิดจากความเครียดในหลายรูปแบบ เช่น

    - ด้านร่างกาย ส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายผิดปกติ มีอาการเมื่อยล้า ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ความรู้สึกทางเพศลดลง เกิดความเครียด และมีปัญหาการนอน

    - ด้านอารมณ์ อาจเกิดอาการช็อก หวาดกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย หงุดหงิด โกรธ เสียใจ สิ้นหวัง เศร้า รู้สึกผิด และสับสน

    - ด้านความคิด การตัดสินใจไม่ดี ไม่มีสมาธิ วุ่นวาย สับสน ตำหนิตนเอง คิดมาก ซ้ำซาก และมีปัญหาความจำ

    - ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ต่างฝ่ายต่างพยายามช่วยเหลือตนเอง เพื่อเอาตัวรอด จึงทำให้ละเลยความใส่ใจต่อผู้อื่น อาจเกิดความขัดแย้งกับคนอื่นได้

    ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจเกิดจากความ กังวล ความเครียด ความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์น้ำ และจะค่อยๆ หายไปเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3-6 เดือน
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPVEExTVRFMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB3TlE9PQ==-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กลุ่มข้าราชการทั้งหลาย ที่ละทิ้ง "ศักดิ์ศรี" , "เกียรติยศ" ของ "วงศ์ตระกูลของคุณเอง" ที่ไปรับใช้นักการเมืองชั่วที่กอบโกยผลประโยชน์ให้ตัวเองและคณะ และลบลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

    กลุ่มพวกนี้ ต้องสำนึกบ้างว่า เงินเดือนพวกคุณได้ไปเลี้ยงชีพคุณและครอบครัว มาจากภาษีอากรของประชาชน ต้องช่วยดูแล และ ปกป้อง ประเทศไทย , ศาสนาพุทธ และ สถาบันพระมหากษัตริย์

    หากยังไม่สำนึก ก็ไปตายซะ อยู่ไปก็หนักแผ่นดินเปล่าๆ



    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320403335&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


    ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำ ท่วมในปัจจุบัน

    ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้

    EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น

    โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

    อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ

    กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา



    กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน


    ดังนั้น เมื่อโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำใน บริเวณที่มีการท่วมขังอีกทางหนึ่ง โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวที่ยังคงเหลืออยู่ย่อมก่อให้เกิดความต้องการออกซิเจน ในน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงได้ และแม้แต่จุลินทรีย์ใน EM เอง เมื่อตายไปก็นับเป็นแหล่งสารอินทรีย์ในน้ำเช่นกันซึ่งก็ยังต้องใช้ออกซิเจน ในการย่อยสลายเช่นกัน ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณสารอินทรีย์ (ดังที่กล่าวถึงข้างต้น)

    ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำ

    ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่ อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง

    ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว

    นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู

    ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320403335&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตอนแรก ผมว่าจะหาไปให้พี่เขย

    ตอนนี้ ยกเลิกแล้วครับ



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    กางคู่มือ"เกร็ดความรู้และการปฏิบัติตน ในภาวะน้ำท่วมและหลังน้ำลด"

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320388694&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดย สำนักความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำคู่มือ เกร็ดความรู้และการปฏิบัติตน ในภาวะน้ำท่วมและหลังน้ำลด แจกเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนการใช้ชีวิตในช่วงระหว่างน้ำท่วม แก่พนักงานบริษัทภายในเครือ จากการรวบรวมเกร็ดความรู้ จากประสบการณ์ และจากแหล่งความรู้ที่อ้างอิงได้ เพื่อเผยแพร่ให้พนักงานได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติก่อนน้ำท่วม เมื่ออยู่อาศัยขณะน้ำท่วม ตลอดจนการจัดการที่พักอาศัยภายหลังน้ำลดแล้ว พร้อมกับระบุในบทนำว่า พนักงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างมีสติ เข้าใจ และอยู่อย่างเป็นปกติสุข

    สำหรับหัวข้อในคู่มือที่ สำนักความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จัดทำนั้นแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนน้ำท่วม เริ่มตั้งแต่การป้องกันน้ำเข้าบ้านรับมือน้ำที่จะมาถึง เตรียมยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ของใช้จำเป็นขณะน้ำท่วม เตรียมการด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ การอพยพ

    นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อการปฏิบัติตนเมื่อต้องอาศัยอยู่ในบ้านขณะน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น การเตรียมน้ำดื่ม(สำรองน้ำ จิบน้ำบ่อยๆ แต่พออิ่ม) อาหารการกิน (ปรุงสุก ทานแต่พออิ่มดื่มน้ำสะอาด) การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วย (เตรียมอาหารให้เพียงพอ พร้อมในการเคลื่อนย้าย พูดคุยเพื่อผ่อนคลาย) การสื่อสาร(ชารต์แบตโทรศัพท์มือถือให้เต็ม ติดต่อสื่อสารเพื่อนบ้าน รวมถึงวิทยุสื่อสาร) การเดินทางเข้าออก (หลีกเลี่ยงการลุยน้ำใกล้เสาไฟฟ้าใช้เรือสวมเสื้อชูชีพ ติดเรือ-รถเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ ) ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า (ตัดการจ่ายไฟ เช็คไฟรั่ว ไม่สัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า) การดูแลสุขภาพ (ทั้งกายและใจ รวมถึงการทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ไม่ลุยน้ำขณะมีบาดแผล ไม่ทิ้งขยะเรี่ยราด) ปฐมพยาบาล (ทั้งจากอุบัติเหตุทางน้ำ จมน้ำเป็นแผลไฟฟ้าดูด) โรคที่มากับน้ำท่วม (ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ตาแดง ฉี่หนู ไข้เลือดออก)


    ส่วนหัวข้อการจัดการที่พักอาศัยหลังน้ำลด ก็จะมีพวกระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ (ตรวจไฟรั่ว แผงสวิสต์ ปลั๊กไฟ เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์) ระบบสุขาภิบาล (ท่อระบายน้ำ ส้วม ระบบประปา) ตัวบ้าน (รั้วบ้าน อาคาร เสา คาน กำแพง ผนัง พื้น บันได แตกหัก ชำรุด) และงานตกแต่งภายใน (วัสดุอุปกรณ์ในบ้านต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายหลังน้ำลด) ตามด้วยหัวข้อยานพาหนะและการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระหว่างน้ำท่วม (ศึกษาเส้นทาง วางแผนการเดินทาง เตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉิน ฟังการรายงานข่าว สำรองอาหาร หลีกเลี่ยงขับรถผ่านน้ำท่วม การใช้รถยนต์ขนย้ายสิ่งของหรืออพยพ (กำหนดจุดที่นั่งจัดเตรียมและเรียงสิ่งของ ตั้งสติก่อนอพยพ ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ) วิธีขับรถลุยน้ำ (ประเมินระดับน้ำ ห้ามเปิดแอร์ เปิดกระจกรถ ใช้เกียร์ต่ำเว้นระยะห่างคันหน้า หลีกเลี่ยงประทะคลื่น ห้ามเบรกขณะลุยน้ำ) เมื่อรถดับขณะลุยน้ำ (สังเกตอาการ ทดลองสตาร์ท เช็คคเรื่องจ่ายไฟ ตรวจสอบฟิวส์) การเดินทางหลังน้ำลด และการกู้รถจมน้ำ ปิดท้ายด้วยสองหัวข้อรายการสิ่งของจำเป็นในภาวะน้ำท่วม รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินและเว็บไซต์ เป็นต้น


    โดยในคู่มือดังกล่าวได้มีภาพประกอบต่างๆ ที่บอกวิธีการทำตามคำแนะนำอย่างครบถ้วนจากการนวบรวมข้อมูลมาจากที่ต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารพัดที่ด้วย เนื้อหาข้อมูลทั้งหมดรวม 44หน้า กระดาษ เอ 4

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320388694&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อ่า ช่างคิดจริงๆ

    ดีครับ เป็นอุปกรณ์ประหยัดเงินได้มากครับ


    .-------------------------------------------------------

    เครื่องตรวจไฟฟ้ารั่ว นวัตกรรมช่วงน้ำท่วม

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=281&contentId=172781-

    [​IMG]


    มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ ยังไม่มีท่าทีจะบรรเทาลงเลย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ตอนนี้กำลังอกสั่นขวัญแขวนเพราะมวลน้ำขนาดใหญ่กำลังจ่ออยู่ทางด้านเหนือ และโอบล้อมซ้ายขวาอยู่ในขณะนี้

    ปัญหาที่ผู้ประสบภัยพบเจอไม่เพียงแค่เรื่องไร้ที่พักอาศัย อาหารการกิน การดำรงชีวิตที่ผิดไปจากปกติ การเฝ้าระวังสัตว์มีพิษ สัตว์เลี้อยคลานที่กำลังหนีน้ำ อีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมากก็คือ การถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งที่ผ่านมาจะมีข่าวผู้ประสบภัยเสียชีวิตเพราะถูกไฟฟ้าดูดหลายราย ซึ่งเกิดจากน้ำท่วมปลั๊กไฟ ขณะที่ผู้ประสบภัยแช่อยู่ในน้ำ และเป็นพื้นที่ที่การไฟฟ้ายังไม่ได้งดจ่ายไฟฟ้า ซึ่งปัญหานี้ยังทำให้ผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้นด้วย

    ขณะเดียวกัน การจะสังเกตว่าจุดใดมีกระแสไฟฟ้ารั่วด้วยตาเปล่าจะทำได้ยาก ข้อแนะนำที่ดีที่สุดก็คือ หากบ้านที่ถูกน้ำท่วมถึงระดับปลั๊กไฟชั้นล่าง ควรจะตัดกระแสไฟฟ้าภายในบ้านชั้นล่างของตนเองทันที

    ล่าสุดได้มีการแชร์ความรู้การทำ “อุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว” ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำง่ายได้ด้วยตนเอง โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในบ้าน เพียง 6 ชนิดเท่านั้น ประกอบด้วย ไขควงวัดไฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีติดอยู่ทุกบ้านอยู่แล้ว ท่อพีวีซี ขนาดความยาว 2–3 เมตร สายไฟยาวกว่าท่อพีวีซีเล็กน้อย ตะปู เทปพันสายไฟ และดินน้ำมัน

    ขั้นตอนแรกก็ให้นำสายไฟต่อเข้ากับปลายไขควงวัดไฟ สอดสายไฟใส่เข้าไปในท่อพีวีซี โดยให้ไขควงโผล่ด้านบนของท่อ พันเทปกาวให้ไขควงและท่อพีวีซีให้ติดกัน พันสายไฟอีกด้านเข้ากับตะปู ก่อนจะใช้ดินน้ำมันอุดปลายท่อโดยให้ปลายตะปูโผล่ออกมา และพันเทปเพื่อความแน่นหนาอีกรอบ

    บางคนไม่สามารถหาอุปกรณ์ได้ครบถ้วน ก็อาจจะหาวัสดุอย่างอื่นใกล้ ๆ ตัว อย่างเช่น ถ้าไม่มีท่อพีวีซี ก็อาจจะใช้ไม้ กิ่งไม้แห้ง แทนท่อพีวีซี เป็นต้น

    วิธีการใช้งานก็คือ ให้หย่อนปลายท่อไปในน้ำและกดนิ้วลงบนหัวไขควง หากมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นที่ไขควงแสดงว่าบริเวณนั้นมีไฟฟ้ารั่ว และในขณะที่ใช้งาน ผู้ใช้ควรอยู่บนที่แห้ง หรืออยู่เหนือน้ำ โดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสน้ำ

    ขณะเดียวกัน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ยังได้พัฒนาเครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่มีน้ำท่วม มีชื่อเรียกว่า “เป็ดน้อยกู้ภัยน้ำท่วม” เพื่อให้ทีมกู้ภัยได้ใช้ตรวจสอบในกรณีที่เข้าไปช่วยผู้ประสบภัย

    โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวแสดงผลเป็นหลอด LED และลำโพง Buzzer ส่งสัญญาณไฟและเสียงเตือน หากมีกระแสไฟรั่วบริเวณน้ำท่วม หากหน่วยงานใดประสงค์จะนำเป็ดน้อยกู้ภัยฯ ไปใช้ ติดต่อได้ที่ “ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมพระจอมเกล้า ลาดกระบัง” โทร.0-2329-8277, 0-2329-8288 และ 0-2329-8299 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    อย่างไรก็ตาม หากพบผู้ถูกไฟฟ้าดูด บุคคลที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง ควรหาฉนวน เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ ดึง หรือ ผลักออกไป เพราะหากเราสัมผัสร่างกายโดยตรง กระแสไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่ตัวผู้เข้าไปช่วยเหลือด้วย

    สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยปกติผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดจะหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง เราต้องปั๊มหัวใจหรือผายปอด โดยการเป่าปาก และนำส่งโรงพยาบาลทันที.

    นภาพร พานิชชาติ
    -napapornp@dailynews.co.th-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=281&contentId=172781-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    EM Ball อีกหนึ่งตัวช่วย แก้ปัญหาน้ำเน่าได้จริงหรือ ?????


    !!!!!!!!!!




    --------------------------------------------------------


    EM Ball อีกหนึ่งตัวช่วย แก้ปัญหาน้ำเน่า


    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก youtube.com โพสต์โดย poramateminsiri

    "น้ำท่วมพอทนได้ แต่น้ำเน่าสิเกินทน"
    หลาย เสียงของชาวบ้านในกรุงเทพมหานครที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังกำลังโอดโอยอย่าง หนัก เนื่องจากน้ำที่ไหลมาจากภาคกลาง ผ่านอะไรต่อมิอะไรมามากมายกว่าจะลงมาถึงกรุงเทพฯ ทำให้ขณะนี้น้ำที่ท่วทขังมาหลายเดือนได้เน่าเสียจนส่งกลิ่นเหม็นที่ทรมาน ประสาทการดมกลิ่นไปเสียแล้ว

    อย่าง ไรก็ตาม ยังมีหนึ่งวิธีที่พอจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียเช่นนี้ได้ ก็คือ การใส่ EM Ball ลงไปในน้ำเน่า ว่าแต่ EM Ball คืออะไรล่ะ??

    EM Ball (อีเอ็มบอล) ย่อมาจาก Effective Microorganism Ball หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้คิดค้นขึ้น เพื่อจะนำมันมาใช้บำบัดน้ำเน่าเสีย ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้

    ทั้ง นี้ EM Ball ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทั้งซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบไปด้วยก้อนจุลินทรีย์ธรรมชาติสามกลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลกติก ยีตส์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยย่อยตะกอนให้กลายเป็นอาหารของสัตว์เล็ก ๆ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในน้ำทำให้เกิดการย่อยสลายที่มากขึ้น และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ทำให้สภาพของน้ำสมดุล

    อย่าง ไรก็ตาม การเก็บรักษา EM Ball นั้นต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิประมาณ 20-45 องศาเซลเซียส และหากยังไม่ได้เปิดใช้สามารถเก็บไว้ได้นาน 1 ปี แต่ถ้าเปิดใช้แล้ว จะสามารถเก็บไว้ได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น

    ทีนี้เรามาดูการทำ EM ball หรือ จุลินทรีย์บอลกัน

    [​IMG] ส่วนผสมส่วนที่ 1

    [​IMG]1. รำละเอียด 2 ส่วน

    [​IMG]2. แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน

    [​IMG]3. ดินทราย หรือ โคลนตะกอน 1 ส่วน

    [​IMG] ส่วนผสมส่วนที่ 2

    [​IMG]1. น้ำยา EM 10 ช้อนแกง

    [​IMG]2. กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง

    [​IMG]3. น้ำสะอาด 10 ลิตร

    วิธีทำ

    [​IMG]1. นำส่วนผสมที่ 1 มาคลุกเคล้ากับส่วนผสมที่ 2

    [​IMG]2. วัดความชื้นพอเหมาะ ปั้นเป็นก้อนกลม หรือดัดแปลงได้ตามต้องการ (ก้อนขนาดลูกเปตองสามารถบำบัดน้ำได้ 10 ลูกบาศก์เมตร)

    [​IMG]3. นำไปวางไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วจึงสามารถนำไปใช้ได้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เพื่อรอให้จุลินทรีย์เจริญเติบโต

    เมื่อ ปั้น EM Ball ได้จำนวนตามต้องการแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลานำ EM Ball ไปใช้ โดยให้โยน หรือเหวี่ยงไปทั่ว ๆ บริเวณน้ำเน่าเสีย ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ น้ำจะมีคุณภาพดีขึ้น

    สำหรับ ใครที่มีเวลาว่าง วันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ชวนพรรคพวกเพื่อนฝูงไปช่วยกันปั้น EM Ball ให้ได้ 1 แสนลูก ที่ชั้น 1 อัมรินทร์พลาซ่า ถ.เพลินจิต (รถไฟฟ้าชิดลม) ตั้งแต่เวลา 11.00-18.00 น. ด้วยกันนะคะ และสำหรับบ้านไหน ชุมชนใดที่กำลังเดือดร้อนกับปัญหาน้ำขังและส่งกลิ่นเหม็น สามารถติดต่อขอรับ EM Ball ได้ในงานเดียวกันนี้ จำกัดบ้านละ 30 ลูก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

    นอกจากนี้ ในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน การไฟฟ้านครหลวง ก็ขอเชิญชวนอาสาสมัครมาร่วมปั้้้น EM Ball 50,000 ลูก ณ ลานเอนกประสงค์ อาคารสำนักงานใหญ่ เพลินจิต การไฟฟ้านครหลวง รอบเช้า เวลา 09.00-12.00 รอบบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.





    อย่างไรก็ตาม ล่าสุด กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพของ EM Ball ลูกบอลมหัศจรรย์นี้ว่าสามารถแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือไม่ เนื่องจากแม้ว่า EM Ball เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะในการย่อยสลายสารอินทรีย์ก็จริง แต่ปัญหาน้ำเน่านี้เกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำซึ่งมีอยู่อย่าง จำกัดอยู่แล้ว กลับมีปริมาณลดลงไปอีก และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ

    นอก จากนี้ จุลินทรีย์ใน EM ไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด อีกทั้ง องค์ประกอบของ EM ball ก็เป็นสารอินทรีย์เช่นกัน ทั้งกากน้ำตาลและรำข้าว ซึ่งหากโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำ ทำให้น้ำต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายเพิ่มมากขึ้นไปอีก ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงมีปริมาณสารอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] [​IMG]

    - emro-asia.com



    -http://hilight.kapook.com/view/64413-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม 3 พ.ย. โดย อ.ศศิน

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ

    ชั่วโมงนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเฝ้าหน้าจอโทรทัศน์หรือเข้าอินเทอร์เน็ต เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะข่าวสารที่มาจากการวิเคราะห์ การประเมินสถานการณ์ของ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ หนุ่มมาดเข้มผู้วิเคราะห์และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยวิธีต่าง ๆ ผ่านคลิปวิดีโอได้อย่างเข้าใจง่าย จนกลายเป็นที่ฮอตฮิตอยู่ในขณะนี้

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุด อาจารย์ศศิน ได้ประเมินสถาณการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผ่าน เฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ ซึ่งรวบรวมโดย Annie Handicraft เนื้อหามีดังนี้…

    เมื่อเย็นไปประชุมกับเครือข่ายประชาชนที่สมุทรสาคร พ่อค้า ส.ว. ส.ส. ประชาสังคม นายก มาครบ ประชุมกับเขาแล้วมีความหวังมาก กับจังหวัดนี้ ว่าจะได้เห็นการ "จัดการ" อะไรดี ๆ เขาเพิ่งมารวมกัน แต่การเก็บข้อมูลสุดยอด ภาพนี้เป็นภาพที่เขา แปลภาพน้ำท่วมจากภาพดาวเทียมตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2554 เพื่อดูสถานการณ์น้ำที่กำลังอยู่ที่คลองมหาสวัสดิ์


    [​IMG]


    จากรูปนี้ 30 ตุลาคม 2554 เราจะเห็นว่าน้ำย้อยลงมาทางแม่น้ำท่า จีนบริเวณนครชัยศรี และข้ามคลองมาติดกับทางรถไฟ และถนนที่ศาลายาเป็นแนวยาว ก่อนที่ค่อย ๆ เพิ่มมาทางพุทธมณฑล ทวีวัฒนา ส่วนแนวสีม่วง ที่เป็นเส้นลงมาคือคลองทวีวัฒนา และภาษีเจริญ

    [​IMG]

    พอวันที่ 31 ตุลาคม 2554 น้ำลงมาเกือบเต็มพื้นที่เขตทวีวัฒนา มาเร็วกว่าพุทธมณฑลอีก เพราะมีคลองทวีวัฒนาพามา เหลือง ๆ ด้านล่างเขาลงพื้นที่ลุ่มต่ำ ของจังหวัดเขาไว้

    [​IMG]


    วัน ที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ท่วมหมดโค้งน้ำที่นครชัยศรี ต่อมาเต็มที่โค้งสามพราน ทางฝั่งตะวันออกนี้คือ วัดไร่ขิง น้ำไล่ลงมาที่พื้นที่นครปฐม แถวสามพราน ตามแม่น้ำ น้ำเต็มท่าจีนไล่มาสู่สมุทรสาครเรื่อยแล้ว น้ำเต็มคลองภาษีเจริญด้วย

    [​IMG]


    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 น้ำเริ่มลงคลองอะไรไม่ทราบมาถึงรอยต่อนครปฐม-สมุทรสาคร ในอำเภอพุทธมณฑล น้ำท่าจีนที่สามพรานท่วมสองฝั่งแต่เป็นบริเวณแคบ


    [​IMG]


    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ชัดเจนมากว่าน้ำข้ามเพชรเกษมที่ตลิ่งชัน แผ่แหลมไปตามถนน ทางทิศเข้ากรุงเทพ สามพรานฝั่งตะวันออกได้รับผลน้ำท่วมมากกว่าตะวันตก และน่าจะเริ่มเข้าสู่กระทุ่มแบนแล้ว

    [​IMG]


    จะเห็นได้ว่าประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร เขาเฝ้าดูน้ำอยู่ตลอด แต่ปัญหาคือ จังหวัดนี้ไม่เคยมีน้ำหลากมากท่วมจากน้ำเหนือเช่นนี้ จริง ๆ สามพรานก็แทบไม่เคยเหมือนกัน ดังนั้น ความคิดที่เห็นข้อมูลเฝ้าระวังก็เกิดคำถามว่า พื้นที่ชายทะเล บนที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง จะมีน้ำเหนือมาท่วมได้หรือ เพราะปกติเมื่อเข้ามาพื้นที่แบบนี้ก็จะหายไปกับระบบคลองชายทะเล ป่าชายเลน และระบบคลองสวนที่เรียกว่า แพรกลำประโดง

    [​IMG]


    สรุปจากภาพดาวเทียมได้ว่า นครปฐมเริ่มลงมาแล้ว ผมยังคาดเหมือนเดิมว่า จะเฉียดเมืองมาทางฝั่งกรุงเทพฯ ครับ อาจจะเทให้ท่าจีนเพิ่มเต็ม ๆ แล้วเบี่ยงดอนตูมลงมายังสามพรานฝั่งนี้เยอะกว่าฝั่งโน้น (ตะวันตก) ตลิ่งชันโดนแล้ว ใต้นั้นรอข้ามภาษีเจริญ ได้ไม่ได้ก็ลุ้นนะครับ แต่น้ำขาดนี้ข้ามมั้งครับ โซนในกรุง บิ๊กแพ็คเป็นไงครับ ไม่ได้ตาม น้ำก็ยังแผ่เข้าทางถนน และคลองที่ผมบอกไว้เมื่อวาน ต้องอ่านเมื่อวานประกอบครับ นอกคันร่มเกล้ามาช้าดีกว่าไม่มา เพราะน้ำจะระบายหมด ข้างบนไงก็ต้องยอมให้ลงมาครับ

    วันนี้ผมไปคุยชาวบ้านที่คลองจินดา ใต้สุดของสามพรานกำลังใช้เรือดันน้ำออกจากคลอง ให้ลงท่าจีนรักษาระดับน้ำในคลองให้ไม่ท่วมสวนต่าง ๆ เขาเชื่อแน่ว่าอีกไม่กี่วันน้ำมาแน่ ลองคำนวณมวลน้ำใหญ่ที่จะลงมาจากดอนตูมนครชัยศรี ก็น่าจะมาใน 7-10 วัน ดังนั้น จะตรงช่วงลอยกระทง เท่ากับคลองจินดาจะเจอน้ำเหนือพร้อมน้ำหนุน พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำท่าจีน แต่พอลงมาที่บางยาง ดำเนินสะดวก พื้นที่ต้นคลองดำเนิน แถว ๆ บางยางซึ่งอยู่ที่กระทุ่มแบนไม่ใช่ หมายถึงตัวอำเภอดำเนิน ชาวบ้านมั่นใจว่าระบบน้ำขึ้นลง และคลองดำเนินของเขาเอาอยู่ และไม่กลัวน้ำเหนือ ขนาดปี 38 ยังไม่มีอะไร ปี 18 ก็ไม่มีอะไร หนัก ๆ คือปี 39 น้ำมาจากฝั่งคลองหมาหอนจากแม่กลอง เขากลัวอันนั้น...มากกว่า

    สอง ฝั่งสมุทรสาคร ฝั่งตะวันตกยังคงเป็นสวนผลไม้ หากน้ำท่วม "คลัง" อาหารใหญ่ของประเทศกระทบแน่นอน และต้นไม้ยืนต้นแบบชาวสวนจะเสียหาย ยาว หนัก ส่วนฝั่งอ้อมน้อย กระทุ่มแบน เป็นโรงงาน พื้นที่เปลี่ยนไปลาดปุนเกือบหมด ไม่มีคลองที่เป็นคลองจริง ๆ มากนัก ดังนั้น ผลจากน้ำท่วมไม่น่าต่างจากพื้นที่ตอนบน ส่วนตัวเมืองสมุทรสาคร หรือมหาชัยวันนี้ทุกฝ่ายประเมินตรงกันว่าปีนี้ จะเป็นปีแรกที่น้ำเหนือมาท่วมครับ ท่วมนานด้วยเพราะไม่มีระบบระบาย น้ำหนุนตลอดเดือนหน้า แม้ว่าเทศบาลเตรียมลอกคลองแต่ก็ยังไม่พอ ระบบแก้มลิงสองฝั่งคลองมหาชัยที่ต่อมาถึงบางขุนเทียน ก็แทบไม่มีจริง ถูกรุกเป็นโรงงานไปเยอะ ประเมินแล้วคงต้องเตรียมพร้อมครับ

    วันนี้สมุทรสาครคุยกันเยอะ ในภาคประชาชน ภาคการเมือง ทุกคนแน่ใจว่า "มา" แต่ฝ่ายราชการเหมือนจะยังไม่รับเท่าไหร่ คุยกันถึงทางออกและความเสียหาย กำลังคิดกันว่าจุดอ่อนของตะวันตก คือ ระบบคลองแนวตั้งและการระบายน้ำที่น้อยกว่าตะวันออก มีพระรามสอง เอกชัยขวางน้ำ แก้มลิงโดนถมรุก แต่โอกาสคือเทศบาลตื่นตัวลอกคลองไว้เยอะ การประกาศเตือนภัยพร้อมจะทำได้เลย น้ำมาช้ามากตามหน้าตัดที่เข้ามาไม่น่าเกิน 50 ล้านคิวต่อวัน หากหาระบบมาดูดและหาที่พักแก้มลิงมันได้ก็มีลุ้น นอกจากนี้ ยังอาจจะประยุกต์ใช้คันสองชั้นน้ำดันน้ำได้ตามความเหมาะสมในแต่ละที่ สมุทรสาครกำลังหาทางระบายน้ำลงทะเล ให้พวกเราทุกคนที่โดนท่วมตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาครับ เอาใจช่วยเขาครับ เขาจะช่วยเราด้วย !!!!

    ฝั่งบางขุนเทียน ต่อบางบอน หนองแขม จอมทอง ผมว่าต้องดูว่าภาษีเจริญเป็นไง และน้ำข้ามคลองภาษีเจริญมาเมื่อไหร่ก็ยาว แต่บางขุนเทียนบางส่วนจะเหมือนแถวดำเนิน ที่ยังมีระบบคลองช่วยได้ แต่น้ำหนุนก็หนักครับ จะถึงพระรามสองหรือเปล่า? ถ้าข้ามภาษีเจริญก็ถึงครับในอีกสัก 7-15 วัน อะไรก็เกิดได้ เพราะมันต้องผ่านอะไรมาเยอะ ชะลอได้มาก แต่อย่าลืมว่าคลองและถนนก็นำน้ำมาได้มากเช่นกัน


    [​IMG]



    ผม Save ภาพนี้ไว้แต่เมื่อวาน ไม่ชัดเท่าไหร่หาของจริงไม่ได้ แต่คร่าว ๆ คือความขัดแย้งว่าจะเปิดประตูน้ำคลองสามวา เข้ามาในคันถนนร่มเกล้าหรือไม่ ที่มีคนให้ข้อมูลกันมามากมาย ถ้าประตูเปิดดังภาพก็เข้าข้างในครับ แต่ผมยังไม่ได้ update สถานการณ์ น้ำสายนี้ส่งผลต่อเนื่องสู่แสนแสบโดยตรงด้วยครับ - ลองเช็ค อ้อมน้อยดูมาแล้ว มาแน่ลงทางใต้นะครับ


    -http://hilight.kapook.com/view/64424-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.4 KB
      เปิดดู:
      355
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.4 KB
      เปิดดู:
      338
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.5 KB
      เปิดดู:
      361
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.9 KB
      เปิดดู:
      371
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.9 KB
      เปิดดู:
      339
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      359
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.3 KB
      เปิดดู:
      332
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95 KB
      เปิดดู:
      318
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.1 KB
      เปิดดู:
      318
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กังหันน้ำชัยพัฒนา


    หน้า 1 จาก 3

    [​IMG]

    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

    กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากที่เกิดขึ้นนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสีย
    ในระยะแรกระหว่างปี พ.ศ. 2527-2530 ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผัก ตบชวาและพืชน้ำต่างๆ ซึ่งก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่ง

    กังหันน้ำพระราชทาน

    [​IMG]

    ต่อ มาในช่วงปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่างๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเท่า ที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงขอพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกล เติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ "ไทยทำไทยใช้"โดยทรงได้แนวทางจาก "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทาง หนึ่งด้วย

    การนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไประเทศในปัจจุบันคือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

    พระราชดำริ
    เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ

    การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร

    [​IMG] [​IMG]

    การศึกษา วิจัย และพัฒนา
    กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี

    คุณสมบัติ
    กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร


    -http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/2010-01-15-07-20-55/19/18-chaipattana-water-turbine-development-
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หลักการทำงาน

    เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" แบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของน้ำ ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โครงกังหันรูป 12 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร มีซองน้ำขนาดบรรจุ 110 ลิตร ติดตั้งโดยรอบจำนวน ซอง เจาะรูซองน้ำพรุน เพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย ซองน้ำนี้จะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า ระบบแรงดัน 380 โวลต์ 3 เฟส 50 เฮิร์ท ผ่านระบบส่งกำลังด้วยเฟืองเกียร์ทอรอบและ/หรือ จานโซ่ ซึ่งจะทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำวิดตักน้ำด้วยความเร็ว 56รอบ/นาที สามารถวิดน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำด้วยความสูงประมาณ 1.00 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศกว้างขวางมากขึ้น เป็นผลทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ นั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย อีกทั้งในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้นตามไปด้วย หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้ว จะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำด้วยความเร็ว ของการไหล 0.20 เมตร/วินาที จึงสามารถผลักดันน้ำออกไปจากเครื่อง มีระยะทางประมาณ 10.00 เมตร และผลพลอยได้อีกประการหนึ่งได้แก่ การโยกตัวของทุ่นลอยในขณะทำงาน จะส่งผลให้แผ่นไฮโดรฟอยล์ที่ติดตั้งไว้ในส่วนใต้น้ำ สามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ ผิวน้ำเป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน
    [​IMG]


    สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย

    [​IMG]

    เป็น ที่น่าปีติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออก สิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวนั้นเป็น

    "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"

    -http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/2010-01-15-07-20-55/19/18-chaipattana-water-turbine-development?start=1-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รางวัลเทิดพระเกียรติ
    กังหันน้ำชัยพัฒนามีชื่อ เสียงโด่งดังยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ในประเภทรางวัลผลงานคิดค้น หรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2536 และทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสดุดีถึงพระปรีชาสามารถในการคิดค้นเครื่องกลเติมอากาศชนิดนี้ว่าสามารถ บำบัดน้ำเสียได้ดียิ่ง
    นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ซึ่งสืบเนื่องจากการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536
    [​IMG]

    สำหรับรางวัลเทิดพระเกียรตินานาชาตินั้น The Belgian Chamber of Inventor ซึ่งเป็นองค์กรสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป ได้จัดงาน Brussels Eureka 2000: 49th Anniversary of the World Exhibition of Innovation, Research and New Technology ระหว่างวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม



    [​IMG]

    ในงานนี้ คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติ ได้มีพิธีประกาศรางวัลต่อนักวิจัย นักประดิษฐ์ และผู้เข้าชมงานว่า "รางวัลต่างๆ ที่ประกาศในวันนี้ มิใช่ว่าจะพิจารณามอบให้กันอย่างง่ายๆ สิ่งประดิษฐ์ทุกๆ สาขา จะต้องสามารถนำไปใช้งานได้กว้างขวาง เกิดประโยชน์ต่อากรพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ทั่วโลก ดังนั้น Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model Rx-2 เป็นที่น่าสรรเสริญให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นในครั้งนี้"
    [​IMG]
    นอกจากนี้ คณะกรรมการนานาชาติได้กล่าวสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า
    "พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นนักพัฒนา มีพระวิริยะอันสูงส่งรวมทั้งพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่ดีทรงงานหนัก เพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ในพระองค์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก"
    รางวัล เหรียญรางวัล และประกาศนียบัตร ที่คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการประดิษฐ์ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ดังนี้

    ถ้วยรางวัล MINISTER J. CHABERT เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น มอบโดย Minister of Economy of Brussels Capital Region
    [​IMG]

    ถ้วยรางวัล Grand Prix International เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น มอบโดย International Council of the World Organization of Periodical Press
    [​IMG]

    เหรียญรางวัล Prix OMPI Femme Inventeur Brussels EUREKA 2000 พร้อมประกาศนียบัตรเป็นรางวัลด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก มอบโดย World Organization of Intellectual Property
    [​IMG]

    [​IMG]
    ถ้วยรางวัล Yugoslavia Cup เป็นรางวัลสรรเสริญในพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบโดยกลุ่มประเทศยูโกสลาเวีย



    เหรียญรางวัลGold Medal with Mention พร้อมประกาศนียบัตร เป็นรางวัลสรรเสริญในพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ มอบโดย Brussels Eureka 2000
    [​IMG]

    การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลสำเร็จดีน่าพึงพอใจ สามารถทำให้นำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงไปได้มาก และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่างๆ อาทิ เต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวงสารต่างๆ ให้ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทานเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัดน้ำ เสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น วัด โรงพยาบาล สถานที่ราชการอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
    กังหันน้ำชัยพัฒนา จึงเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่ายแต่ผลที่ได้รับนั้นยิ่งใหญ่และมีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง


    -http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/2010-01-15-07-20-55/19/18-chaipattana-water-turbine-development?start=2-
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รัฐบาลญี่ปุ่นมอบเครื่องสูบน้ำ 10 ตัว มอบให้ไทย



    รบ.ญี่ปุ่นมอบเครื่องสูบน้ำ10ตัวมอบให้ไทย (ไอเอ็นเอ็น)

    รัฐบาลญี่ปุ่น ส่งมอบเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง ให้กับทางการไทย เพื่อนำไปใช้รับมือวิกฤติน้ำท่วม ในกรุงเทพมหานคร

    นายเคียวอิชิ ซึชิมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น ร่วมในพิธีส่งมอบเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง ให้กับ ทางการไทย มี นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่น เป็นผู้รับมอบในพิธี ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองโยโกฮามา

    นาย ซึชิมา ระบุว่า ความช่วยเหลือครั้งนี้ เกิดขึ้น เพื่อเป็นการขอบคุณทางการไทยและประชาชนชาวไทย ที่ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นอย่างแข็งขัน ในช่วงที่ ญี่ปุ่น เผชิญภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เครื่องสูบน้ำที่ญี่ปุ่นมอบให้ทางการไทยในครั้งนี้ สามารถสูบน้ำที่ท่วมขังได้ถึง 30 ลูกบาศก์เมตร/นาที และนับเป็นครั้งแรกที่ ญี่ปุ่น ส่งเครื่องสูบน้ำดังกล่าวไปยังต่างประเทศ




    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64427-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แผนที่เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ไปภาคเหนือ

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมทางหลวง

    กรมทางหลวง จัดทำแผนที่เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบภัยที่ต้องการเดินทางขึ้นเหนือ

    ณ เวลานี้ พี่น้องชาวกรุงเทพมหานครจำนวนมากเริ่มนั่งไม่ติด หลังสถานการณ์ "น้องน้ำบุกกรุง" เริ่มทั่วถึง(ทุกพื้นที่)ไปทุกขณะ หลายเขตกลายเป็นพื้นที่สีแดง ต้องเฝ้าระวัง หลายแขวงร้างผู้คนเพราะถูกประกาศให้อพยพ....

    สิ่งหนึ่งที่ชาวกรุงผู้มีบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยกำลังคิดไม่ตก คงจะหนีไม่พ้น การจำยอมต้องละทิ้งเคหะสถานอันเป็นที่รักเป็นการชั่วคราว และควานหาบ้านเช่าหนีน้ำท่วมไว้สำรอง เพราะไม่อาจคาดเดาได้ว่ามวลน้ำจำนวนมหาศาลที่ใคร ๆ พูดถึงนั้นจะส่งตรงถึงบ้านของเราด้วยหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการประมาทจนเกินไป การคิดหาหนทางไปพักให้ไกลจากรัศมี "น้องน้ำ" คงจะเป็นการดีที่สุด

    ด้วยเหตุนี้ สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จึงได้อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนด้วยการจัดทำแผนที่เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ดูง่าย ๆ สำหรับผู้ประสบภัยที่กำลังมีแผนเดินทางขึ้นเหนือ มาฝากกัน เพราะบางเส้นทางยังถูกน้ำท่วมขังพอผ่านได้ แต่บางเส้นทางปิดการจราจร เอ้า...ใครที่แพ็คกระเป๋าแล้ว มาดูกันสิว่า จะออกเดินทางถนนสายไหนกันได้บ้าง...

    ปล.ขอให้ทุกคนเดินทางหนีน้ำท่วมกันโดยสวัสดิภาพทุกคนนะจ๊ะ^^



    -http://hilight.kapook.com/view/64423-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bypass1.jpg
      bypass1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      749.2 KB
      เปิดดู:
      1,359

แชร์หน้านี้

Loading...