รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 15 ทานที่ให้ผลมาก และเรื่องของเศรษฐีผู้อยู่ในนรก

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 10 เมษายน 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ทานที่ให้ผลมากนับประมาณไม่ได้และเรื่องของเศรษฐีที่อยู่ในนรก

    ในข้อนี้จะเห็นได้ว่าเจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มาก
    หรือได้น้อยในบางครั้ง

    ทานที่ให้ผลมากนับประมาณไม่ได้

    ในข้อนี้จะเห็นได้ว่าเจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มาก
    หรือได้น้อยในบางครั้งบุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับ
    พระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้

    ......พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน ฉฬังคทานสูตร
    จตุตถวรรคแห่งปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ว่า


    " ภิกษุทั้งหลายทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖
    คือ องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง องค์ของผู้รับ ๓อย่าง
    องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง ( เจตนา ๓ ) คือ ก่อนให้
    ก็ดีใจกำลังให้ก็มีใจผ่องใส ครั้งให้เสร็จแล้วมี
    ความเบิกบานใจ

    องค์ของผู้รับ๓ อย่าง คือ เป็นผู้
    ปราศจากราคะหรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีราคะ
    เป็นผู้ปราศจากโทสะหรือปฎิบัติเพื่อความไม่
    มีโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะหรือปฎิบัติเพื่อ
    ความไม่มีโมหะ

    ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖
    ประการนี้ เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่
    ได้ ยิ่งใหญ่นักเหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือ
    คำนวณไม่ได้ว่ามีขนาดเท่าใดทานที่พรั่งพร้อม
    ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นที่หลั่งไหล
    แห่งบุญหลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้
    ให้อารมณ์เลิศด้วยดี มีวิบากเป็นสุขเป็นไป
    พร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์ ( มีบุญที่สะสม
    ไว้ดีแล้วมากพอที่จะเกิดในสวรรค์ ) ย่อมเป็น
    ไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่า
    พอใจ "


    .......ดังนั้น ถ้าเราต้องการทำทานให้ได้บุญมากให้เกิดบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ ก็ควรที่จะประกอบ
    เหตุแห่งทานให้ครบองค์ ๖ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ข้างต้น ในองค์ ๖ ที่กล่าวมานั้นเป็นส่วน
    ของผู้ให้ ๓ อย่าง เป็นส่วนของผู้รับ ๓ อย่าง ถ้าเราได้ผู้รับที่ดีแต่เจตนาเราไม่ดี บุญย่อมหกย่อมหล่นไป
    แต่ถ้าเจตนาเราดีบุญย่อมเกิดขึ้นเต็มที่

    ในข้อนี้จะเห็นได้ว่าเจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มาก
    หรือได้น้อยในบางครั้งบุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับ
    พระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้


    พระราชาทำบุญกับคนทุศีล


    .......สามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนมาก หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทานเดินทางมาอาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง
    ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองในขณะที่พักอยู่นั้น ภรรยาซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้องอยากจะบริโภค
    อาหารที่พระราชาเสวย จึงอ้อนวอนสามีให้ไปหามาให้บอกว่าหากมิได้บริโภคอาหารที่ต้องการนี้จะต้องตาย
    เป็นแน่แท้ฝ่ายสามีผู้มีกรรมทนคำอ้อนวอนต่อไปไม่ไหว และเกรงว่านางจักตายจึงคิดอุบายปลอมตัวเป็น
    พระภิกษุ และด้วยความที่ปลอมตัวมาใหม่ๆจึงระมัดระวังตัวมาก ดูเหมือนเป็นผู้สำรวม เดินอุ้มบาตรไปใน
    พระราชวังเพื่อรับบิณฑบาต

    ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระราชาจักเสวยพระกระยาหารพอดีเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุเดินด้วยกิริยา
    อาการสำรวมมากเช่นนั้นทรงจินตนาการว่า " ภิกษุนี้มีกิริยาอาการสำรวมน่าเลื่อมใสเป็นหนักหนาคงเป็น
    พระที่ทรงคุณวิเศษสักอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแม่นมั่น "จึงเกิดพระราชศรัทธา ทรงนำพระกระยาหารอันเลิศ
    รสที่จะเสวยใส่ลงในบาตรจนหมดด้วยจิตที่เลื่อมใสยิ่ง

    เมื่อพระภิกษุปลอมรับอาหารแล้วเดินจากไปด้วยความเลื่อมใสอันมีอยู่มากมายในพระทัยของพระราชา
    จึงรับสั่งอำมาตย์คนสนิทให้รีบสะกิดรอยตามไปเพื่อให้รู้ว่าพระท่านมาจากไหน จะไปพักที่ไหนเพื่อว่า
    วันต่อไปจะนิมนต์มารับบาตรในพระราชวังอีก


    .......ฝ่ายพระภิกษุปลอมนั้นเมื่อได้อาหารเต็มบาตรสมความปรารถนาแล้วก็ดีใจรีบเดินไปจนสุดกำแพงพระราชวัง
    เมื่อเห็นว่าปลอดผู้คนแล้วจึงเปลื้องจีวรและสบงออกเป็นเพศคฤหัสถ์ตามเดิมแล้วนำเอาพระกระยาหารนั้น
    ไปให้ภรรยาแพ้ท้องบริโภคตามความประสงค์

    อำมาตย์ซึ่งสะกดรอยติดตามมาได้เห็นพฤติการณ์นั้นโดยตลอดก็บังเกิดความตกใจและสังเวชใจคิดว่า
    มาเจอคนที่ปลอมตัวเป็นพระเสียแล้วนี่ถ้าหากพระราชาทรงทราบเรื่องนี้เข้าจะต้องเสียพระทัยเป็นอย่างมาก
    และผลบุญที่ได้ก็จะตกหล่นไปเพราะอปราปรเจตนา คือ เจตนาหลังจากที่ให้แล้วไม่สมบูรณ์เมื่อคิดดังนี้แล้ว
    ก็เดินทางกลับไปเฝ้าพระราชา

    พระราชาจึงตรัสถามว่า "ได้ความว่าอย่างไร บอกมาเร็วๆ พระนั้นอยู่วัดไหน ? " อำมาตย์จึงใช้กุศโลบาย
    เพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้ กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าได้สะกด
    รอยตามพระรูปนั้นไปจนออกนอกกำแพงพระราชวัง พอตามไปสุดพระราชวังโน้น ท่านก็หายวับไปทันที "
    ( ในที่นี้หมายถึงหายจากความเป็นพระกลายเป็นคฤหัสถ์ไป )

    พระราชาได้ฟังดังนั้นทรงโสมนัสมาก มิได้ซักความเพิ่มเติมอีกทรงคิดเอาเองว่า " บุญของเราแท้ๆ ที่ได้
    ถวายทานแด่พระอรหันต์ทรงคุณวิเศษท่านเป็นพระอรหันต์จริงๆปาฎิหาริย์หายตัวได้
    ทานที่ได้ถวายท่านในวันนี้มีอานิสงส์มากเป็นทานที่ประเสริฐอย่างแน่ๆ "พระราชาทรงบังเกิดความปีติเบิกบาน
    ใจในบุญที่ได้ทำเป็นยิ่งนัก

    พระราชาพระองค์นี้มีเจตนาทั้ง๓ ระยะครบบริบูรณ์ และมีความเข้าใจว่าปฎิคาหกสมบูรณ์ด้วยองค์๓
    ผลบุญที่ได้จึงมากมาย ส่งผลให้พระราชาเมื่อถึงคราวสวรรคตแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ยิ่งถ้าหาก
    พระรูปนั้นเป็นพระจริงและปฎิบัติตามองค์ของผู้รับ ๓ ได้อย่างสมบูรณ์ผลบุญที่พระราชาได้จะมากมาย
    มหาศาลยิ่งขึ้น เพราะทำทานครบองค์ ๖ซึ่งจะให้ผลมากนับประมาณมิได้


    ส่วนข้อที่ว่าทำบุญกับพระอรหันต์แล้วตกนรกนั้นมีเรื่องเล่าดังนี้


    บุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับ
    พระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้

    ......พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน ฉฬังคทานสูตร
    จตุตถวรรคแห่งปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ว่า


    " ภิกษุทั้งหลายทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖
    คือ องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง องค์ของผู้รับ ๓อย่าง
    องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง ( เจตนา ๓ ) คือ ก่อนให้
    ก็ดีใจกำลังให้ก็มีใจผ่องใส ครั้งให้เสร็จแล้วมี
    ความเบิกบานใจ

    องค์ของผู้รับ๓ อย่าง คือ เป็นผู้
    ปราศจากราคะหรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีราคะ
    เป็นผู้ปราศจากโทสะหรือปฎิบัติเพื่อความไม่
    มีโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะหรือปฎิบัติเพื่อ
    ความไม่มีโมหะ

    ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖
    ประการนี้ เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่
    ได้ ยิ่งใหญ่นักเหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือ
    คำนวณไม่ได้ว่ามีขนาดเท่าใดทานที่พรั่งพร้อม
    ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นที่หลั่งไหล
    แห่งบุญหลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้
    ให้อารมณ์เลิศด้วยดี มีวิบากเป็นสุขเป็นไป
    พร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์ ( มีบุญที่สะสม
    ไว้ดีแล้วมากพอที่จะเกิดในสวรรค์ ) ย่อมเป็น
    ไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่า
    พอใจ "


    .......ดังนั้น ถ้าเราต้องการทำทานให้ได้บุญมากให้เกิดบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ ก็ควรที่จะประกอบ
    เหตุแห่งทานให้ครบองค์ ๖ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ข้างต้น ในองค์ ๖ ที่กล่าวมานั้นเป็นส่วน
    ของผู้ให้ ๓ อย่าง เป็นส่วนของผู้รับ ๓ อย่าง ถ้าเราได้ผู้รับที่ดีแต่เจตนาเราไม่ดี บุญย่อมหกย่อมหล่นไป
    แต่ถ้าเจตนาเราดีบุญย่อมเกิดขึ้นเต็มที่

    ในข้อนี้จะเห็นได้ว่าเจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มาก
    หรือได้น้อยในบางครั้งบุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับ
    พระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้


    พระราชาทำบุญกับคนทุศีล


    .......สามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนมาก หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทานเดินทางมาอาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง
    ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองในขณะที่พักอยู่นั้น ภรรยาซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้องอยากจะบริโภค
    อาหารที่พระราชาเสวย จึงอ้อนวอนสามีให้ไปหามาให้บอกว่าหากมิได้บริโภคอาหารที่ต้องการนี้จะต้องตาย
    เป็นแน่แท้ฝ่ายสามีผู้มีกรรมทนคำอ้อนวอนต่อไปไม่ไหว และเกรงว่านางจักตายจึงคิดอุบายปลอมตัวเป็น
    พระภิกษุ และด้วยความที่ปลอมตัวมาใหม่ๆจึงระมัดระวังตัวมาก ดูเหมือนเป็นผู้สำรวม เดินอุ้มบาตรไปใน
    พระราชวังเพื่อรับบิณฑบาต

    ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระราชาจักเสวยพระกระยาหารพอดีเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุเดินด้วยกิริยา
    อาการสำรวมมากเช่นนั้นทรงจินตนาการว่า " ภิกษุนี้มีกิริยาอาการสำรวมน่าเลื่อมใสเป็นหนักหนาคงเป็น
    พระที่ทรงคุณวิเศษสักอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแม่นมั่น "จึงเกิดพระราชศรัทธา ทรงนำพระกระยาหารอันเลิศ
    รสที่จะเสวยใส่ลงในบาตรจนหมดด้วยจิตที่เลื่อมใสยิ่ง

    เมื่อพระภิกษุปลอมรับอาหารแล้วเดินจากไปด้วยความเลื่อมใสอันมีอยู่มากมายในพระทัยของพระราชา
    จึงรับสั่งอำมาตย์คนสนิทให้รีบสะกิดรอยตามไปเพื่อให้รู้ว่าพระท่านมาจากไหน จะไปพักที่ไหนเพื่อว่า
    วันต่อไปจะนิมนต์มารับบาตรในพระราชวังอีก


    .......ฝ่ายพระภิกษุปลอมนั้นเมื่อได้อาหารเต็มบาตรสมความปรารถนาแล้วก็ดีใจรีบเดินไปจนสุดกำแพงพระราชวัง
    เมื่อเห็นว่าปลอดผู้คนแล้วจึงเปลื้องจีวรและสบงออกเป็นเพศคฤหัสถ์ตามเดิมแล้วนำเอาพระกระยาหารนั้น
    ไปให้ภรรยาแพ้ท้องบริโภคตามความประสงค์

    อำมาตย์ซึ่งสะกดรอยติดตามมาได้เห็นพฤติการณ์นั้นโดยตลอดก็บังเกิดความตกใจและสังเวชใจคิดว่า
    มาเจอคนที่ปลอมตัวเป็นพระเสียแล้วนี่ถ้าหากพระราชาทรงทราบเรื่องนี้เข้าจะต้องเสียพระทัยเป็นอย่างมาก
    และผลบุญที่ได้ก็จะตกหล่นไปเพราะอปราปรเจตนา คือ เจตนาหลังจากที่ให้แล้วไม่สมบูรณ์เมื่อคิดดังนี้แล้ว
    ก็เดินทางกลับไปเฝ้าพระราชา

    พระราชาจึงตรัสถามว่า "ได้ความว่าอย่างไร บอกมาเร็วๆ พระนั้นอยู่วัดไหน ? " อำมาตย์จึงใช้กุศโลบาย
    เพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้ กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าได้สะกด
    รอยตามพระรูปนั้นไปจนออกนอกกำแพงพระราชวัง พอตามไปสุดพระราชวังโน้น ท่านก็หายวับไปทันที "
    ( ในที่นี้หมายถึงหายจากความเป็นพระกลายเป็นคฤหัสถ์ไป )

    พระราชาได้ฟังดังนั้นทรงโสมนัสมาก มิได้ซักความเพิ่มเติมอีกทรงคิดเอาเองว่า " บุญของเราแท้ๆ ที่ได้
    ถวายทานแด่พระอรหันต์ทรงคุณวิเศษท่านเป็นพระอรหันต์จริงๆปาฎิหาริย์หายตัวได้
    ทานที่ได้ถวายท่านในวันนี้มีอานิสงส์มากเป็นทานที่ประเสริฐอย่างแน่ๆ "พระราชาทรงบังเกิดความปีติเบิกบาน
    ใจในบุญที่ได้ทำเป็นยิ่งนัก

    พระราชาพระองค์นี้มีเจตนาทั้ง๓ ระยะครบบริบูรณ์ และมีความเข้าใจว่าปฎิคาหกสมบูรณ์ด้วยองค์๓
    ผลบุญที่ได้จึงมากมาย ส่งผลให้พระราชาเมื่อถึงคราวสวรรคตแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ยิ่งถ้าหาก
    พระรูปนั้นเป็นพระจริงและปฎิบัติตามองค์ของผู้รับ ๓ ได้อย่างสมบูรณ์ผลบุญที่พระราชาได้จะมากมาย
    มหาศาลยิ่งขึ้น เพราะทำทานครบองค์ ๖ซึ่งจะให้ผลมากนับประมาณมิได้


    ส่วนข้อที่ว่าทำบุญกับพระอรหันต์แล้วตกนรกนั้นมีเรื่องเล่าดังนี้
     
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ต่อจากนี้ไปผมจะขอรวมรวบร่วมเรื่องเกี่ยวพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและองนิสงค์เกี่ยวกับการทำการบุญกับพระปัจเจกและเพื่อรวบรวมเป็นความรู้ต่อไป



    <O:p</O:p
    [​IMG]




    อปุตตกเศรษฐี



    ........ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งไร้ความศรัทธา
    ทั้งตระหนี่เหนียวแน่นแสนหนักหนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเศรษฐีจะไปเข้าเฝ้าพระราชาได้เห็น พระปัจเจกพุทธเจ้า
    นามว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ เกิดใจดีจึงสั่งคนรับใช้ให้นิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปรับอาหาร
    ที่บ้านของตนแล้วรีบรุดไปเฝ้าพระราชา ส่วนคนรับใช้นั้นเมื่อนำ พระปัจเจกพุทธเจ้าไปถึงเรือนของเศรษฐีแล้ว
    จึงบอกกับภรรยาเศรษฐีตามคำสั่งที่ได้รับมาทุกประการ

    ฝ่ายภรรยาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการทำบุญอยู่แล้วพอได้ยินคำนั้นก็ดีใจว่า " เป็นเวลานานทีเดียว กว่าที่เรา
    ได้ยินคำว่าทำบุญถวายทาน จากปากของเศรษฐี ความตั้งใจของเราจะเต็มเปี่ยมในวันนี้เราจักได้ถวาย
    ทาน " นางจึงรีบจัดแจงโภชนาหารอันประณีตครบทุกอย่างแล้วได้ถวายอาหารอันประณีตแด่ พระปัจเจกพุทธเจ้า
    องค์นั้นฝ่าย พระปัจเจกพุทธเจ้า พอรับอาหารแล้วก็เดินจากไปด้วยสีหน้าเบิกบานผ่องใสเป็นปกติ

    เศรษฐีครั้นเฝ้าพระราชากลับมาแล้วได้สวนทางกับ พระปัจเจกพุทธเจ้า นั้นมีความเข้าใจว่าท่านคงรับบิณฑบาต
    ที่บ้านตนมาแล้ว จึงดูยิ้มแย้มแจ่มใสทำให้สงสัยว่าจะต้องมีอาหารอะไรพิเศษแน่ ว่าแล้วก็ขอดูในบาตรครั้นเห็น
    อาหารในบาตรมีความประณีตมาก จึงเกิดความร้อนใจเสียดายขึ้นมาแล้วคิดในใจว่า " ให้พวกทาสหรือกรรมกร
    กินอาหารนี้ยังดีกว่าเพราะพวกเขากินแล้วจะทำการงานให้เราได้ส่วนสมณะนี้เมื่อบริโภคอาหารอันประณีต
    นี้แล้วก็มิได้ทำการงานใดอาหารที่เราถวายไปจะเปล่าประโยชน์ "เมื่อคิดอย่างนี้จึงไม่อาจจะรักษาเจตนา
    ระยะสุดท้ายให้บริบูรณ์ได้


    .......อีกคราวหนึ่ง เศรษฐีได้ฆ่าหลานชายคนหนึ่งของตน (พ่อของหลานชายเป็นพี่ชายได้ไปบวชเป็นดาบส )
    เพราะความโลภในสมบัติเนื่องจากหลายชายชอบพูดว่า " ยานพาหนะนี้เป็นของพ่อฉัน โคนี้เป็นของอา "
    พอเศรษฐีได้ยินคำนี้จึงโกรธ เกิดความริษยาและคิดว่า " ตอนนี้หลานยังเล็กอยู่ยังพูดถึงขนาดนี้ ถ้าโตขึ้นจะ
    ไม่พูดถึงสมบัติยิ่งกว่านี้หรือ "จึงลวงหลานไปในป่าแล้วฆ่าทิ้งเสีย

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมนี้ให้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบแล้วตรัสว่า " มหาบพิตรด้วยผล
    แห่งกรรมที่เศรษฐีได้ถวายบิณฑบาตแด่ พระปัจเจกพุทธเจ้า นั้นทำให้ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้งและผล
    ที่เป็นเศษกรรมทำให้เข้าถึงความเป็นเศรษฐี ๗ครั้ง

    ผลกรรมที่ถวายทานแล้วร้อนใจ เสียดายในภายหลัง (กระแสกิเลสบังคับใจให้คิดตระหนี่ถี่เหนียว )ทำให้
    จิตใจของเศรษฐีนั้นไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหาร เพื่อใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ยานพาหนะ เพื่อความสุขสบาย
    อย่างเต็มที่ (คือไม่สามารถใช้สมบัติที่ตนมีอยู่ได้อย่างเต็มที่และความสุขที่จะได้จากสมบัตินั้นก็ไม่เต็มบริบูรณ์ )

    ด้วยกรรมที่เศรษฐีนั้นฆ่าหลานชายจึงเข้าถึงอบายภูมิเป็นเวลานานผลที่เป็นเศษกรรมทำให้ถูกยึดสมบัติเข้า
    พระคลังหลวง ดูก่อนมหาบพิตรด้วยว่าบุญเก่าของเศรษฐีหมดแล้วและบุญใหม่ก็ไม่ได้สั่งสมไว้

    ดังนั้นในวันนี้เศรษฐีนั้นจึงยังอยู่ในมหาโรรุวนรก "


    พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร บุคคลผู้มีปัญญาทรามได้โภคะแล้วย่อมไม่แสวงหาพระนิพพาน
    อนึ่ง ตัณหาเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลายย่อมฆ่าคนเหล่านั้นตลอดกาลนาน "


    .......ฉะนั้นบุญที่ได้ถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์มีองค์แห่งผู้รับครบทั้ง ๓ ประการแล้ว
    ถ้าผู้ให้รักษาเจตนา ๓ ได้ครบด้วยจะเกิดผลบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้และบุญส่งต่อไปให้มีความสุข
    ต่อเนื่องตลอดไป ดังเรื่องที่เล่านี้เศรษฐีได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเนื้อนาบุญที่เลิศ ที่บริสุทธิ์แต่ไม่รักษา
    เจตนาให้บริบูรณ์ โดยเฉพาะเจตนาระยะสุดท้าย คือ เกิดความร้อนใจเสียดายทรัพย์ ไม่สามารถตัดความตระหนี่
    ขาดจากใจ บุญจึงหกหล่นไปส่งผลไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่ และบุญที่จะส่งต่อเกื้อกูลให้ทำความดียิ่งๆขึ้นไปก็ไม่มี
    ทั้งยังมีใจที่โลภ ริษยา จึงเป็นเหตุให้ฆ่าหลานชายและต้องตกนรกไปในที่สุด



    .......บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุผล ๒ อย่างคือ
    ความตระหนี่ ๑ ความประมาท ๑ บัณฑิตผู้รู้แจ้ง
    เมื่อต้องการบุญพึงให้ทานแท้

    คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจน จึงไม่ให้อะไรๆ
    แก่ผู้ใดเลยความกลัวยากจนนั่นแหละจะเป็นภัย
    แก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอดอยาก ข้าวน้ำ
    ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งใน
    โลกนี้และโลกหน้า

    เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทินกำจัด
    ความตระหนี่เสียแล้วพึงให้ทานเถิด

    เพราะบุญย่อมเป็นที่พึงของสัตว์ทั้งหลายใน
    โลกหน้า

    ....( ๔๒ / ๔๒๕ พิลารโกสิชาดก )<O:p</O:p
    http://www.thaihomemaster.com/webboard-readtopic.php?id=423


    คาถาเงินล้าน<O:p</O:p



    ตั้ง นะโม ๓ จบ


    นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
    มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
    วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
    มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
    สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
    เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา

    <O:p</O:p


    (บูชา 30 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)

    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)<O:p</O:p


    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี




    บทสวดคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือคาถาเงินล้าน
    นำสวดโดยหลวงพ่อและวิธีสวด
    รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 20 หลวงพ่อเล่าเรื่องประวัติคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า<
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...