รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 16 พระอุบาลีเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 10 เมษายน 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ต่อจากนี้ไปผมจะขอรวมรวบร่วมเรื่องเกี่ยวพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและองนิสงค์เกี่ยวกับการทำการบุญกับพระปัจเจกและเพื่อรวบรวมเป็นความรู้ต่อไป



    <O:p</O:p
    [​IMG]


    ประวัติพระอุบาลีเถระ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระอุบาลีเถระเป็นหนึ่งในพระมหาเถระที่มีความสำคัญยิ่งท่านหนึ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพระวินัยปิฎกทั้งนี้เป็นเพราะเหล่าพระเถระทราบดีว่าพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้ท่านเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าพวกภิกษุผู้ทรงวินัย ในการที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านเช่นนั้นก็มีเหตุเนื่องมาจากความปรารถนาของท่านในอดีตนั่นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความปรารถนาในอดีต<O:p</O:p
    ในสมัยหนึ่ง ท่านเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาต ในหงสาวดีนครสะสมทรัพย์ไว้ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกนับไม่ถ้วน เป็นผู้มีความรู้อย่างยิ่งมหาชนต่างนับถือ แต่ตัวท่านเองในครั้งนั้นไม่นับถือผู้ใดด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัส ในครั้งนั้นท่านมีมานะ กระด้างไม่เห็นผู้ที่ควรบูชา<O:p</O:p
    ครั้นต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จเข้ามายังนครหงสาวดี.เพื่อทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดามหาชนหลั่งไหลเข้ามาฟังธรรมเป็นอาณาบริเวณประมาณ ๑ โยชน์โดยรอบดาบสท่านหนึ่งชื่อสุนันทะได้สร้างปะรำดอกไม้ขึ้นบังแสงแดดเพื่อประโยชน์แห่งมหาชนตลอดทั่วทั้งพุทธบริษัท<O:p</O:p
    ในครั้งนั้น.เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศอริสัจ ๔บริษัทแสนโกฏิก็ได้บรรลุธรรม.พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนครั้นถึงวันที่ ๘ พระองค์ทรงพยากรณ์สุนันทดาบส ดังนี้ว่า ในแสนกัปนับจากนี้ไปจักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพจากราชตระกูลพระเจ้าโอกกากราช พระนามโดยพระโคตรว่าโคดม ดาบสนี้จักเกิดเป็นพุทธสาวกโดยนามว่าปุณณมันตานีบุตร.และจะได้เป็นเอตทัคคะยิ่งกว่าสาวกอื่น<O:p</O:p
    ท่านได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธองค์แล้วก็ปรารถนาจะได้ตำแหน่งผู้เป็นเลิศในพระวินัย ท่านจึงได้ซื้อสวนชื่อว่า โสภณะ ด้านหน้าพระนครด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ท่านได้สร้าง เรือนยอด ปราสาท มณฑป ถ้ำคูหา และที่จงกรม สร้างเรือนอบกาย โรงไฟ โรงเก็บน้ำและห้องอาบน้ำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์. ท่านได้ถวายปัจจัยคือ ตั่ง เตียง ภาชนะเครื่องใช้สอยและยาประจำวัดนี้ทุกอย่าง ท่านให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคงสร้างที่อยู่อาศัย ให้ท่านผู้มีจิตสงบผู้คงที่ไว้ในสังฆารามทั้งหมดนี้ด้วยทรัพย์อีกจำนวนแสนหนึ่ง รวมเป็นสองแสน<O:p</O:p
    ครั้นเมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้นิมนต์พระปทุมุตตระพุทธเจ้าให้เสด็จมาเพื่อถวายพระอาราม ครั้นเมื่อถึงเวลาพระปทุมุตตรพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพพันหนึ่ง ได้เสด็จเข้าไปสู่อารามท่านได้ถวายภัตตาหารแล้ว จึงได้ทูลถวายอารามนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นทรงรับสังฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้วได้ทรงอนุโมทนาและทรงพยากรณ์พราหมณ์สุชาตว่า ในอีกแสนกัปข้างหน้าจักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพในราชตระกูลโอกกากราช พระนามโดยพระโคตรว่า โคตมะพระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรมทายาท เป็นพุทธสาวก ชื่อว่า อุบาลี.เธอจักบำเพ็ญบารมีในพระวินัย ดำรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระชินะและเป็นผู้หาอาสวะมิได้. พระสมณโคดมจักทรงแต่งตั้งเธอไว้ในเอตทัคคะ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2008
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ทำกรรมไว้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติก่อนจึงต้องเกิดมาในตระกูลที่ต่ำ<O:p</O:p
    ในกัปที่สองภายหลังภัทรกัปนี้ไปท่านเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอัญชสะ ผู้มีพระเดชานุภาพยิ่งใหญ่ มีทรัพย์หลายแสนโกฏิชื่อว่า เจ้าชายจันทนะ เจ้าชายด้วยความเมาในชาติตระกูล ยศ และโภคะ<O:p</O:p
    ในวันหนึ่งท่านได้เสด็จออกประพาสอุทยานนอกพระนครโดยทรงช้างชื่อว่า สิริกะ แวดล้อมด้วย กองทัพไพร่พลและบริวารเป็นอันมากในทางที่จะไปนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่าเทวละทรงพระดำเนินผ่านหน้าช้างไปท่านจึงไสช้างพระที่นั่งไปล่วงเกินพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าด้วยพระบารมีในพระปัจเจกพุทธเจ้าช้างพระที่นั่งนั้นกลับแสดงอาการโกรธท่านซึ่งเป็นผู้บังคับช้าง และไม่ยอมย่างเท้ายืนหยุดนิ่งอยู่ ตัวท่านเมื่อได้แสดงกิริยาต่ำช้าเช่นนั้นต่อพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วข้าพเจ้าเห็นช้างไม่พอใจ จึงได้โกรธพระปัจเจกพุทธเจ้าเบียดเบียนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปยังพระอุทยาน ข้าพเจ้าไม่พบความสำราญ ณที่นั้น เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ถูกความกระวนกระวายแผดเผา เหมือนปลาติดเบ็ดพื้นแผ่นดินเป็นเสมือนไฟลุกไปทั่วสำหรับข้าพเจ้า เมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระราชบิดาเล่าความทั้งหมดให้ฟัง<O:p</O:p
    พระเจ้าอัญชสะได้ฟังก็ตกพระทัย ตรัสว่าเพราะกระทำความไม่เอื้อเฟื้อในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พวกเราทั้งหมดจักพินาศพวกเราจักให้พระปัจเจกสัมพุทธมุนีนั้นอดโทษจึงจักไม่ฉิบหาย.หากเราทั้งหลายไม่ไปขอให้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทรงยกโทษ ภายใน ๗ วันแว่นแคว้นอันสมบูรณ์ของเรา จักทำลายหมด.<O:p</O:p
    ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าขอขมาต่อพระองค์พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงยกโทษให้ด้วยกรรมเช่นนี้ท่านจึงต้องเกิดมาในตระกูลที่ต่ำในชาตินี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กำเนิดในพุทธกาล<O:p</O:p
    พระอุบาลี เกิดในตระกูลช่างกัลบก ในกรุงกบิลพัสดุ์เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กทำหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานภูษามาลามีหน้าที่ตัดแต่งพระเกศา และดูแลเครื่องแต่งพระองค์ประจำราชสกุลศากยะได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงรักภักดี เสมอต้นเสมอปลายจนเป็นที่ไว้วางพระหฤทัย<O:p</O:p
    ออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก<O:p</O:p
    เมื่อครั้งพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ตามคำทูลอาราธนาของพระกาฬุทายีเถระเมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วจึงเสด็จจาริกพร้อมภิกษุแสนรูปเป็นบริวารเสด็จออกจากรุงราชคฤห์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันที่ถึงก็ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดหมู่พระญาติ แล้วในวันที่ ๒ทรงเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกในกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมถวายพระพุทธบิดาทรงอนุเคราะห์พระญาติที่พึงทรงกระทำในที่นั้น แล้วทรงบรรพชาให้ราหุลกุมารต่อมาก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์จาริกไปในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวันของมัลลกษัตริย์ ฯ<O:p</O:p
    จากนั้นเหล่าขัตติยกุมารในแต่ละมหาสาขาของศากยวงศ์เป็นอันมากก็ออกบรรพชาตามเสด็จพระพุทธองค์ครั้งนั้น เจ้าชายแห่งศากยวงศ์ ๖ พระองค์ก็มีพระประสงค์จะออกผนวชตามเสด็จบ้างจึงได้เดินทางออกจากกรุงกบิลพัสดุ์โดยกระบวนพยุหยาตราให้เป็นเสมือนเสด็จประภาสราชอุทยาน โดยในครั้งนั้นนายอุบาลีภูษามาลาก็ได้ตามเสด็จด้วยในฐานะมหาดเล็กคนสนิทครั้นย่างเข้าพรมแดนอื่นแล้ว ก็สั่งให้กระบวนตามเสด็จกลับทั้งหมดทรงพระดำเนินตามลำพัง ๖ พระองค์ต่อไป พร้อมด้วยนายอุบาลีภูษามาลาเมื่อเห็นว่าได้มาไกลพอสมควรแล้วทั้ง ๖พระองค์จึงได้ส่งนายอุบาลีภูษามาลากลับและทรงเปลื้องเครื่องประดับออกเอาภูษาห่อแล้วมอบให้กับนายอุบาลีเพื่อใช้เป็นทรัพย์ในการเลี้ยงชีพต่อไป<O:p</O:p
    ครั้งนั้น นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาก็ได้เดินทางกลับพร้อมห่อเครื่องประดับที่ได้รับมานั้นเมื่อเดินทางมาได้ระยะหนึ่งก็ฉุกใจคิดว่า ถ้าเรากลับไปแล้วเจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ก็จะคิดว่าเราลวงเจ้าชายมาประหารแล้วชิงเอาเครื่องประดับตกแต่งมาก็ศากยกุมารทั้ง ๖ นี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจึงจะบวชบ้างไม่ได้เล่าเขาจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่าของนี้เราให้แล้ว ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเดินตามไปเฝ้าศากยกุมารเหล่านั้นศากยกุมารเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเดินกลับมาจึงรับสั่งถามว่ากลับมาทำไม<O:p</O:p
    นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาจึงเล่าความให้ทราบเหล่าขัติยกุมารก็เห็นด้วยจึงพาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอบวชโดยทรงขอให้พระพุทธองค์ บวชให้นายอุบาลีนี้ก่อนด้วยเหตุเพื่อลดมานะความถือตัวของตนเองที่เป็นวงศ์กษัตริย์เมื่อบวชหลังนายอุบาลีก็ต้องทำความเคารพผู้ที่บวชมาก่อนแม้ผู้นั้นจะเคยเป็นมหาดเล็กรับใช้ก็ตาม<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อนให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กราบทูลขอออกปฏิบัติธรรมในป่า แต่ไม่ทรงอนุญาต<O:p</O:p
    ครั้นเมื่อบวชแล้วท่านก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเพื่อขอออกปฏิบัติธรรมในป่าและราวป่าอันสงัด<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามท่าน โดยทรงพระดำริว่าถ้าท่านเลือกที่จะอยู่ในเสนาสนะป่านั้นท่านก็จะสามารถบำเพ็ญได้แต่วาสธุระ (การปฏิบัติวิปัสสนาธุระ) ได้เพียงอย่างเดียวบำเพ็ญคันถธุระ (การเล่าเรียนด้านปริยัติ) ไม่ได้แต่ถ้าท่านเลือกที่จะอยู่ในสำนักพระบรมศาสดาจะสามารถบำเพ็ญกิจทั้งสองนี้ได้แล้วทรงเล็งเห็นว่าในอนาคตท่านพระอุบาลีจะบรรลุพระอรหัตและจะเป็นหัวหน้าในฝ่ายวินัยปิฎกเมื่อทรงดำริความข้อนี้จึงไม่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระ.<O:p</O:p
    พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้วได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมอยู่ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตและพระศาสดาก็ทรงสอนพระวินัยปิฎกให้พระอุบาลีด้วยพระองค์เอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระอุบาลีเถระกับการบัญญัติพระวินัย<O:p</O:p
    ท่านได้ทำหน้าที่ทรงจำพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นอย่างดีจนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค เสนาสนขันธกะ ได้แสดงไว้ว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงวินัยกถา สรรเสริญพระวินัยและยกย่องการเรียนพระวินัยได้ทรงยกพระอุบาลีเป็นตัวอย่างและทรงชักชวนให้พระภิกษุทั้งหลายเรียนพระวินัยในสำนักของพระอุบาลี
    <O:p</O:pทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ทรงวินัย<O:p</O:p
    ครั้งนั้น พระศาสดาทรงให้ท่านเรียนพระวินัยปิฎกทั้งสิ้นด้วยพระองค์เอง ต่อมาท่านวินิจฉัยเรื่อง ๓เรื่อง คือ เรื่องพระภิกษุเมืองภารุกัจฉะ เรื่องพระอัชชุกะ และเรื่องพระกุมารกัสสปซึ่งพระศาสดาประทานสาธุการรับรองแต่ละเรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้วเทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ<O:p</O:p
    พระอรรถกถาเขียนไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่านพระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...