ศีล สมาธิ ปัญญา

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ฤดูใบไม้ผลิ, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. ฤดูใบไม้ผลิ

    ฤดูใบไม้ผลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +1,723
    [​IMG] <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันอังคาร ที่ 11 พ.ค. 2536สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอนไว้มีความสำคัญดังนี้



    1. "อย่าทิ้งศีล-สมาธิ-ปัญญา ให้ขาดออกจากจิตเป็นอันขาด การรักษาศีล ยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ จะทำให้สมาะและปัญญาละเอียดมากขึ้นเท่านั้น"

    2. "การปฏิบัติศีลทุกข้อ เพื่อทำให้จิตพ้นจากการเบียดเบียนจากอารมณ์ของกิเลส มรรค 8 ซึ่งย่อยลงมาเหลือศีล สมาธิ ปัญญานั้น ต้องไปด้วยกันเสมอ ในขณะที่จิตเจริญ พระกรรมฐาน พระอริยเจ้าทุกองค์ ไม่ใครทิ้งศีล สมาธิปัญญาให้ขาดจากกัน"

    3. "คำว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องมีครบถ้วนในพระอริยเจ้าทุกระดับ สักแต่ว่ากำลังย่อมแตกต่างกันตามระดับบารมีนั้นๆ จำไว้พวกเจ้าอย่าทิ้งศีล และตราบใดที่ยังไม่ถึงพระอรหันต์ คำว่า ศีล บริสุทธิ์หมดจดยังไม่มีในจิตของพวกเจ้าซึ่งพระอรหันต์ท่านมีศีลบริสุทธิ์ถึงที่สุด คือ มโนกรรมบริสุทธิ์แต่ก็มิได้ หมายความว่า ท่าน ทิ้ง ศีล เพียงแต่อธิจิต อธิปัญญา ทรงตัวอยู่ในจิตของท่าน โดยไม่ต้องระมัดระวังในการรักษา จิตของท่านทรงตัวอยู่ในโลกุตรธรรมเบื้องสูง คำว่าโทษ อันเกิดจากการละเมิดศีล สมาธิปัญญานั้น ไม่มีในจิตของท่าน อาบัติทั้งปวงจึงไม่มี สำหรับท่านอีกต่อไป"


    4. "จงศึกษาจรณะ 15 ให้ดีๆหากทรงได้ครบ ก้ได้ชื่อว่าเดินตามรอยบาทของตถาคต ศีล สมาธิ ปัญญา จักไม่มีวันบกพร่องและอาศัยอิทธิบาท 4 ปฏิบัติธรรมทุกข้อให้ทรงตัว มีพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจิตของตนเองเป็นหลักสำคัญเข้าไว้ วิชชา 8 ประการ คือญาณ ทั้ง 8 อย่างก็จักก็ทรงตัว เมื่อสีลมี สมาธิมี ปัญยาก็เกิด การเจริญพระกรรมฐานหมวดไหน ก้ย่อมได้ผลทุกเมื่อ การเข้าถึงพระอริยเจ้าเบื้องสูงก็มิใช่เป็นของยาก"

    5." จงใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ คำว่าเจริญพระกรรมฐาน จงจำไว้ คือการที่เจริญจิตให้ทรงอยู่ในธรรม หรือกรรมซึ่งมีฐานแห่งความดี ดีในในที่นี้คือโลกุตรธรรมยังอารมณ์จิตให้พ้นโลก วิสัยโลก ก็ คือ อารมณ์จิตที่เต็มไปด้วย โมหะ โทสะ ราคะ นั้นเอง"

    6." อย่าลืม ศีลทุกข้อละเมิดแล้ว ทำให้เกิดอารมณ์ที่เป็นวิสัยโลกียะทั้งสิ้น ศึกษากันให้ดีๆๆ"


    พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
     

แชร์หน้านี้

Loading...