สติปัฏฐานสี่อีกนัยหนึ่ง หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 3 กันยายน 2011.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    [FONT=&quot]สติปัฏฐานสี่อีกนัยหนึ่ง


    [/FONT]
    [FONT=&quot]พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์

    [/FONT]
    [FONT=&quot]แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ[/FONT][FONT=&quot].ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    [/FONT]
    [FONT=&quot]วันที่ [/FONT][FONT=&quot]๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕


    [/FONT]
    [FONT=&quot]จงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาต่อไป พวกเรามีหลายก๊กหลายเหล่าหลายครูหลายอาจารย์มารวมในสำนักเดียวกัน การฟังเทศน์ก็อาจจะมีแตกต่างกันบ้างแต่ละครูแต่ละอาจารย์ซึ่งสอนไปตามมติของตนๆ คนเราเกิดขึ้นมามันจะต้องแตกแยกกันเป็นธรรมดา เบื้องต้นเกิดแต่ท้าวมหาพรหมที่เดียวกัน กาลเวลาล่วงเลยมาหลายหมื่นหลายแสนปีก็แยกย้ายกันไปเป็นชาติต่างๆ มีภาษาต่างกันตลอดจนเป็นตระกูลแล้วก็มีอาชีพแตกต่างกันออกไป ค้าขายบ้าง ทำมาหากินทางกสิกรรมบ้าง พาณิชยกรรมบ้าง ตลอดจนเป็นคนรับจ้างทำไร่ ทำนา ทำสวนด้วยประการต่างๆ ในผลที่สุดคนเหล่านั้นดิ้นรนกระเสือกกระสนทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด เพื่อไม่ให้ตายอย่างเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่า สพ[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]เพสต[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]ตา อาหารจิต[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]ติกา สัตว์ทั้งหลายอยู่ด้วยอาหาร[/FONT][FONT=&quot]มีอาหารเป็นเครื่องอยู่ ถ้าไม่มีอาหารแล้วก็ตาย เครื่องนุ่งห่มหรือที่อยู่อาศัย หยูกยาเภสัชต่างๆ เป็นของประกอบ ไม่สำคัญเท่าไรนัก เมื่อมีชีวิตอยู่ก็จำเป็นจะต้องมีชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร ฉะนั้น ใครจะทำอะไรที่ไหนก็ตามเพื่อความอยู่รอดเพื่อไม่ให้ตายเท่านั้นฉันใด ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธศาสนาเผยแพร่มาเมืองไทยเกือบสองพันปีแล้ว ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนตักเตือนพุทธบริษัทให้เข้าใจ ให้ฉลาดด้วยประการต่างๆ ถึงอย่างไรๆ ความประสงค์ก็ลงอันเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ผู้ที่อบรมสั่งสอนในการให้ทาน การสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการเปรียญอะไรต่างๆ ผู้ที่ต้องการอย่างนั้นก็ช่วยส่งเสริมชักจูงอุดหนุนให้เขาสร้างแต่ทางนั้น ผู้ที่สอนในทางศีลธรรมเห็นดีเห็นชอบอะไรก็สอนไปในทางศีลธรรม ผู้ที่สร้างคุณงามความดีด้วยการทำสมาธิภาวนาก็อบรมสั่งสอนไปทางนั้น โดยเฉพาะในสมัยนี้พากันอบรมยุบหนอพองหนอ ตั้งสติกำหนดยุบหนอพองหนอให้เห็นเกิด [/FONT][FONT=&quot]–[/FONT][FONT=&quot] ดับ มันก็ลงอันเดียวกันนั่นแหละ กำหนดสัมมาอรหังให้เห็นองค์พระพุทธรูปอยู่ที่ตรงสะดือ หรือเลื่อนขึ้นมากลางหัวอก แล้วให้จดจ้องอยู่ที่ตรงองค์พระเป็นอารมณ์ ผู้ที่ภาวนาพุทโธ ไม่ต้องนึกอะไร คือ ให้จิตมาอยู่ในพุทโธอันเดียว ไม่ต้องกำหนดเอารูปมาเป็นอารมณ์ แต่ทำจิตให้แน่วแน่อยู่ในที่เดียว หมายความว่าให้จิตรวมนั่นเอง ยุบหนอพองหนอก็หมายความให้จิตรวมเป็นอันเดียว สัมมาอรหังก็หมายความให้จิตมารวมเป็นอันเดียว พุทโธก็หมายความให้จิตมารวมเป็นอันเดียว ตกลงว่า รวมจิตให้เข้ามาเป็นอันหนึ่งนั่นเอง คือ สมถะไม่ใช่วิปัสสนา[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] สำนักต่างๆ เขาเรียกว่า สำนักวิปัสสนา แต่คนที่มาปฏิบัติฝึกหัดสมถะก็ยังไม่ได้ ถ้าหากว่าปัญญามันเกิดเอง มันเป็นขึ้นมาเอง ไม่ได้แต่ง รู้แจ้งแทงตลอดหมดทุกสิ่งทุกประการ หายสงสัยไม่มีเครื่องข้องใจ โล่งหมดเป็นธรรมหมดทุกสิ่งทุกประการ ลงสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นจึงจะเป็นปัญญาวิปัสสนา แต่นี่สมถะก็ยังไม่ทันเป็น พิจารณากายก็ยังไม่ทันเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่าย กายเรากายเขาก็ยังไม่เห็น พิจารณาอายตนะทั้งหกก็ยังไม่เข้าใจดี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไปอยู่ที่ไหนก็ยังไม่ทราบ ปัญญาวิปัสสนามันต้องเป็นอริยมรรค องค์อริยมรรคมันรวมเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่ามัคคสมังคี มัคคสมังคีนี้เป็นหนหนึ่งแล้วไม่กลับไม่กลับมาเป็นอีก นี่อะไร ใครภาวนาที่ไหนก็เป็นวิปัสสนากันหมดทั้งบ้านทั้งเมือง ก็เลยได้เป็นพระอริยเจ้ากันหมดทุกคนละซิ ใครจะหุงข้าวตักบาตรให้กินเล่า[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] อาตมาจะอธิบายเรื่องสติปัฏฐานสี่อีกนัยหนึ่งให้ฟัง สติปัฏฐานสี่ คือ กายานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน ๑ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ เป็น ๔ สติปัฏฐานแปลว่าที่ตั้งของการตั้งสต การงานทั้งหมดไม่ว่าการงานของทางกายและทางจิต ต้องมีที่ตั้งการงานนั้นๆ จึงจะสำเร็จ เราจะทำการงานของจิต เราก็ตั้งลงที่สี่สถานนี้ คือ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ธรรม ๑ เมื่อตั้งลงในที่สี่สถานนี้แล้ว การงานนั้นย่อมสำเร็จแน่ (คือ ๗ ปีอย่างน้อยต้องได้ อนาคามี)[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] สติปัฏฐานสี่นี้เมื่อรวมแล้วก็มีสองเท่านั้น คือ รูปกับนาม กายเป็นรูปอยู่ตามเดิม เวทนา จิตและธรรมเป็นนาม ท่านให้พิจารณา (คือการทำงานของจิต) ว่ากายนี้สักแต่ว่ากายมิใช่ตัวตนเราเขา คือ เห็นสภาพของกายตามเป็นจริง เมื่อมันเกิดเราก็ไม่ได้บอกให้มันเกิด มันหากเกิดเองตามบุญวาสนาตกแต่งให้ (คือ กรรม ตัณหา อุปาทาน อวิชชา) เมื่อมันจะดับใครจะห้ามอย่างไรมันก็ไม่ฟัง เพราะสันตติไม่ติดต่อ คือ เครื่องหล่อเลี้ยงมันขาดไป ใครจะทำอย่างไรจะทำได้แต่กายนี้ ที่ยังเป็นอยู่เท่านั้นแหละ ส่วนกายที่จะต้องแตกสลายแล้วใครจะทำด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ไม่ฟัง ย่อมดับแตกสลายไปตามสภาพของมัน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เห็นว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย (คือ ของมนุษย์สัตว์เป็นอันเดียวกัน) มิใช่สัตว์ตัวตนเราเขา เช่น สภาพเกิดแล้วก็ดับอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] นาม คือ เวทนา จิต ธรรม ก็เช่นเดียวกัน เราบอกไม่ให้เกิดมันก็เกิดเองตามอายตนะ ภายในภายนอกสัมผัสกัน แล้วก็เกิดมาเอง เมื่อมันจะดับโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยมันก็ดับไปเอง กายดับกายแตกสลายไปเป็นอะไร เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นของใคร มันมาเกิดอีกก็ ดิน น้ำ ไฟ ลมของเก่านั่นแหละ ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น ส่วนจิตก็เหมือนกัน ผู้ไปคิด ไปนึก ไปปรุง ไปแต่ง เรียกว่า จิตยินดี ยินร้าย เกลียด โกรธ รัก ชังอะไรต่างๆ นั่นเป็นจิตเหมือนกัน เราไปยึดของพรรค์นั้นเป็นของเรา เราไม่ยึดก็เป็นของธรรมดาของเขาอยู่อย่างนั้น ไม่เป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]การเห็นของจริงตามเป็นจริงแล้วสละความยึดถือว่าเป็นของเรา มันก็หมดเรื่องกันไป เรียกว่า พิจารณาสติปัฏฐานสี่ พระพุทธเจ้าท่านสอนก็สอนอย่างนี้ ใครจะสอนก็สอนไปเถิด สอนอย่างไร สอนที่ไหนก็สอนไป สอนเพื่อให้ละ ให้ทิ้งกาย ให้ทิ้งจิต ปล่อยวางกาย ปล่อยวางจิตเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]การที่จะปล่อยวางกาย ปล่อยวางจิต จะทำอย่างไร เราต้องตั้งสติกำหนดจิตให้เข้มแข็งกล้าหาญที่สุด ต้องตั้งสติพิจารณาจิต พิจารณากาย เราทำอะไรทุกวันนี้ เดี๋ยวนี้เรามาสู่สถานที่นี้ เพื่อมาอบรมภาวนาสมาธิมิใช่หรือ มันต้องทำให้เต็มความสามารถของตัวเท่าที่จะทำได มิใช่มานอนเล่นตากแดดตากลมสบายเฉยๆ ไม่ใช่มาคุยกันเรื่องบ้านเรื่องเมือง เรื่องลูกเรื่องหลาน เราต้องตั้งใจฝึกหัดอบรมจิตของเราจริงๆ จังๆ คุยก็ต้องคุยกันในเรื่องธรรมะธรรมโม สนทนากันในเรื่องธรรมะธรรมโม จึงสมควรจึงไม่เสียเวลา เรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ถ้าไม่อย่างนั้นเรียกว่า เป็นผู้ประมาททำเวลาล่วงเลยไปเฉยๆ หมดวันหมดคืนไป ไม่ใช่หมดแต่วันแต่คืน อายุของเราก็หมดไปด้วย อย่าให้เสียเวลา โอกาสที่จะได้มาทำมันหายาก เราอยู่บ้านอยู่เรือนเรายุ่งด้วยภาระกิจต่างๆ ร้อยแปดพันเก้ายากที่จะได้คิดถึงเรื่องภาวนา วันหนึ่งๆ จะคิดถึงเรื่องภาวนาสัก ๕ นาทีก็แสนยาก เหตุนั้น เมื่อมาถึงที่เช่นนี้แล้ว ทำให้จริงๆ จังๆ ศาสนาไม่ใช่สอนเฉยๆ สอนให้ทำ การทำย่อมได้สำเร็จผลประโยชน์ ทำอะไรก็ทำไปเถิด ไม่ว่าภายนอกภายในถ้าทำแล้วก็สำเร็จประโยชน์ทั้งนั้นไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการทำกัมมัฏฐานให้พิจารณากายกับจิตเท่านี้แหละ ให้พิจารณาถึงกายถึงจิตดังที่อธิบายมานี้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาจิต ให้เห็นจิต ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง หรือสัญญาอารมณ์ต่างๆ เรียกว่า จิตทั้งหมด ถ้าเราเอาสติเข้าไปคุมจิต จิตที่ว่า เป็นของเร็วที่สุด เมื่อเอาสติเข้าไปควบคุมแล้วมันก็จะช้าลงทันที มันคิดอะไรก็เห็น มันปรุงแต่งอะไรก็เห็น คราวนี้เราจะให้มันคิดก็ได้ จะไม่คิดก็ได้ เรียกว่า เราควบคุมจิตอยู่ในอำนาจของเราได้แล้ว ไม่ใช้ให้จิตคุมเรา ถ้าจิตคุมเราๆ ไม่รู้ตัวหรอก มันไปร้อยแปดพันประการ มันคุมให้รัก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้ชัง ทำไปได้หมดทุกสิ่งทุกอย่างเพราะเราคุมจิตไม่ได้ จิตมันคุมเรา ให้ชอบ ให้โกง ให้ลักให้ขโมย ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จิตคุมเราต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าสติคุมจิตๆ มันอยู่ในอำนาจของเราแล้ว กรรมที่ชั่วเราก็ไม่ทำ เราทำแต่กรรมที่ดีที่ชอบ ทำแต่ที่เป็นบุญเป็นกุศล ทำให้จิตเพลิดเพลินสนุกสนานแต่ความดีละซี มันจะมีทุกข์โศกอะไร มีแต่จะอิ่มเอิบไปกับคุณงามความดีละซี อันนั้นละจึงจะได้ชื่อว่าแสวงหาบุญ หากุศล หาผลประโยชน์ใส่ตัวแท้ เรียกว่า คุมจิตอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]จิต มีอันเดียวไม่มีมาก ตัวเดียวเท่านั้น ควบคุมจิต คือ เลือกแต่จิต อาการของจิตไม่เอาแล้วมันจะรวมมาเป็นใจ โดยที่เราไม่ตั้งใจจะให้รวม มันมารวมเอง เมื่อมันรวมมาเป็นใจแล้วจะรู้สึกตัวเอง ใจคือผู้รู้สึกเฉยๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่งทั้งหมด หัดพิจารณาให้เห็นกาย ให้เห็นจิต ให้ถึงใจทั้งสามประการนี้ เราปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือ ปฏิบัติทั้งสามอย่างนี้เอง นอกเหนือจากนี้แล้วไม่มี สติเป็นผู้ควบคุมจิต (คือ ผู้คิด-นึก-ปรุง-แต่ง) ไม่ต้องไปควบคุมใจ (คือ ผู้รู้สึกเฉยๆ แต่ไม่ปรุงแต่ง) เมื่อคุมจิตได้แล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ คราวนี้สติและจิตจะรวมเข้าเป็นใจอันเดียวกัน การปฏิบัติพระพุทธศาสนาถึงที่สุดเพียงเท่านี้ ใครจะปฏิบัติอย่างไรๆ ก็เอาเถิดจะมารวมลงจุดเดียวที่ใจเท่านั้น แต่ความรู้สึกพิสดารนอกเหนือจากนี้ยังมีอีกเยอะ ที่ใจนั่นมิใช่ที่จะให้เกิดความรู้ เป็นแต่เพียงจุดรวมเท่านั้น ผู้ปฏิบัติถึงขั้นนั้นแล้วหากจะเข้าใจด้วยตนเอง[/FONT]



    [FONT=&quot] นั่งสมาธิ[/FONT]


    [FONT=&quot]ฟังแล้วทำ เรียกว่า ฟังธรรม คือทำตามนั่นเอง[/FONT][FONT=&quot] ฟังเทศน์ คือบอกสอนแล้วก็แล้วไป ไม่ได้ทำตาม ฟังแล้วไม่ทำตามก็ไม่ได้ประโยชน์ ฟังไปเฉยๆ ฟังมาแล้วมากมายเก็บกองๆ ไว้ ตายไปแล้วเลยทิ้งเสียเปล่าๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ถ้าหากฟังธรรมแล้ว ฟังคำเดียวเท่านั้นแหละมันถึงใจเลย ปฏิบัติอันเดียวเท่านั้นหมดเรื่อง พุทธศาสนาไม่ต้องมีมากมาย มรรคมีองค์แปดรวมกันเป็นหนึ่ง มรรคเป็นหนึ่งแต่ความเป็นหนึ่งนั้นกว้างขวางกว่าเรียนเป็นไหนๆ ข้อสำคัญเมื่อถึงหลักธรรมแล้ว อุบายแยบคายต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นมาเอง เอาอันเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปหา คนหาคือคนไม่เห็นจึงต้องหา คนเห็นแล้วไม่ต้องหา อาจารย์นั้นก็ดี อาจารย์นี้ก็ดี อุบายธรรมะคนนั้นก็ดี คนนี้ก็ดี บริกรรมอันนั้นก็ไม่ถูกกับจริตนิสัยของตน โอย ไม่ไหวแล้ว เหตุนั้นแหละ พวกฝึกหัดปฏิบัติทั้งหลายมันจึงไม่ถึงธรรม หากันอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้าเราปฏิบัติกันจริงๆ อันเดียวเท่านั้นแหละเป็นถึงธรรมเลย พุทโธ อันเดียวเท่านั้นล่ะ จิตแน่วลงไปอันเดียว พุทโธไม่ต้องไปเอาอื่นใด พุทโธไม่ต้องสัมมาอรหัง ไม่ต้องยุบหนอพองหนอ พุทโธอยู่ตรงไหนจิตใจให้แน่วแน่ลงในพุทโธ เห็นใจแน่วแน่อยู่ในที่นั้นอันเดียวนั่นแหละจะเห็นคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระองค์มากมายเหลือประมาณจนเกิดความรู้ถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาว่า พระองค์รู้แจ้งแทงตลอดทุกสิ่งทุกประการ ไม่มีสิ่งขัดข้อง เห็นคุณของพระพุทธเจ้า เห็นประโยชน์ในการทำพุทโธอันเดียว เราว่าแต่พุทโธๆ บ่นแต่พุทโธ บ่นไปถึงไหนก็ไปเถิด ไม่ถึงพุทโธสักที เมื่อถึงพุทโธ ๆ เลยหายยังเหลือแต่พุทธคุณ ยังเหลือแต่ความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมที่เทศนาให้ฟังนั้นมากมายก็เพื่อประกอบอุบายภาวนาเท่านั้น จับอันใดอันหนึ่งชัดจริงแจ้งลงไปแล้ว เป็นอันว่าได้ความเลย ครั้งพุทธกาลพระภิกษุองค์หนึ่งไปนั่งภาวนาอยู่ริมสระ เห็นนกกระยางกินปลาเท่านั้นล่ะ เอามาเป็นคำบริกรรมยังได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน ไม่เห็นจะต้องเรียนมากอย่างพวกเรา เหตุนั้น เมื่อภาวนาไม่ต้องเอามากมาย เอาอันเดียวก็พอ เอาอะไรก็ตั้งใจจริงๆ จัง ๆ ลงให้แน่วแน่เดี๋ยวจะเป็นพาวนไปฉิบ[/FONT]


    คัดลอกจาก www.thewayofdhamma.org/page3_2/3_2_93.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...