48.สุดเขตที่หนองคาย

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 6 พฤษภาคม 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เช้านี้ทางไกด์นัด ๖ ๗ ๘ เหมือนเดิม ทีแรกจะนัด ๕ ๖ ๗ แต่คงจะเช้าเกินไป ก็เลื่อนออกไปอีกหนึ่งชั่วโมง ทานอาหารเสร็จไกด์บอกว่า รถคันที่นั่งมาไปต่อไม่ได้แล้ว เกียร์พัง ต้องกระจายไปกับรถคันอื่น นั่นไงนึกแล้วไม่มีผิด ก็เป็นอันต้องระเห็จไปกับรถคันอื่น แต่รถคันอื่นก็มีเจ้าที่อยู่แล้ว ก็ต้องไปนั่งอยู่ชั้นล่าง แล้วชั้นล่างก็แอร์ไม่เย็นเพราะเขาทำรางแอร์แค่รางเดียว ส่วนอีกรางที่ไปนั่งนั้น มีแต่ช่องแอร์ที่ทำหลอกตาเอาไว้ไม่มีลมออก อืมมม. หายใจลำบาก.......

    [​IMG]


    [​IMG]


    เช้านี้แดดดีมากเหมือนอย่างที่ผ่านมา พวกเราจะไปเยี่ยมชมชุมชนโนนอุทุมพร ไม่รู้จักอีกแล้ว มาเยี่ยมชมแต่ละที่ไม่รู้จักเลย เขาหาที่ให้พวกเราไปดูแต่ละที่เกินความคาดหมาย ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านจอมแจ้งก็ตาม ที่โนนอุทุมพรก็ตาม แต่สิ่งที่ดีๆ ที่ได้รู้คือ คนในชุมชนมีความตั้งใจในการช่วยกันทำให้ชุมชนที่พวกเขาอยู่นั้นเป็นชุมชนที่น่าอยู่ เกื้อกูลกัน มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และสิ่งของที่เหลือใช้นำมาใช้อีกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นการลดปริมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อน บางอย่างสามารถนำไปขายได้ เกิดรายได้เข้าสู่ครัวเรือน แต่ถ้าคิดมาใช้กับชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานครคงจะลำบาก

    [​IMG]


    [​IMG]
    <O:p

    ชุมชนโนนอุทุมพรมีคณะกรรมการชุมชนและกลุ่มเยาวชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในชุมชน ที่ชุมชนนี้มีมาตรการการจัดการขยะด้วยกิจกรรมหลายๆ อย่างเช่น ขยะแลกไข่ เพื่อแยกขยะรีไซเคิลออกมาได้ร้อยละ ๓๐ การใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์มีมากถึงร้อยละ ๖๐ มาผลิตก๊าซชีวะภาพ มาทำเป็นอาหารสัตว์ ใช้เป็นอาหารไส้เดือนได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยเพื่อใช้กับสวนผักชุมชนขยะทั่วไปไม่ถึงร้อยละ ๑๐ นำมาใช้ทำประโยชน์ต่างๆ เช่น ถุงพลาสติกนำมาทำถุงเพาะกล้าไม้ โฟมนำมาใช้ผสมปูนทำบล็อกคอนกรีตส่วนขยะอันตรายที่เหลือเพียงร้อยละ ๐.๓ถูกนำไปกำจัดโดยเทศบาล


    [​IMG]


    ชุมชนโนนอุทุมพรได้ขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่าจากเจ้าของที่ดินในชุมชนเพื่อจัดทำเป็นแปลงผักปลอดสารพิษและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชาวชุมชนตลอดจนหน่วยงานและชุมชนอื่นๆโดยให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการปลูกดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่ผลิตได้ และสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่ว่างสามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์เป็นกระถางการปลูกผักโดยจัดวางไว้หน้าบ้านอย่างสวยงาม


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เมื่อเยี่ยมชมชุมชนเสร็จ พวกเราก็ไปทานอาหารกลางวันกันที่ร้าน.... จำชื่อไม่ได้อีกแล้วนึกไม่ออก.....


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    ที่ร้านอาหารนี้ เป็นร้านอาหารไม่ใหญ่โตอะไรมากมาย แต่ดันมีกรุ๊ปอื่นมาลงด้วย เลยทำให้เกิดความโกลาหลกันขึ้น จนกลุ่มเพื่อนที่มาด้วยกันบางกลุ่มเดินออกจากร้านไปหาทานกันเองข้างนอก....เพราะหงุดหงิดกับการเดินไปถึงโต๊ะโน้นก็บอกว่าจองแล้วโต๊ะนี้มีคนนั่งแล้ว.... สร้อยฟ้าฯ กับเพื่อนในกลุ่ม ก็หาโต๊ะนั่งไม่ได้ ถูกกั๊กที่หมด จนจะเดินออกจากร้านไปหาทานข้างนอกบ้างซื้อข้าวกินเองก็ได้... แต่พอดีมีพี่ในกลุ่มอีกคนไปได้โต๊ะในหลืบห้องในสุดก็เลยได้นั่ง..........


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3306_1a.jpg
      IMG_3306_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      349.2 KB
      เปิดดู:
      794
    • IMG_3308_1a.jpg
      IMG_3308_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      357.9 KB
      เปิดดู:
      801
    • IMG_3310_1a.jpg
      IMG_3310_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      401.9 KB
      เปิดดู:
      767
    • IMG_3313_1a.jpg
      IMG_3313_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      288.6 KB
      เปิดดู:
      776
    • IMG_3315_1a.jpg
      IMG_3315_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      305.3 KB
      เปิดดู:
      754
    • IMG_3317_1a.jpg
      IMG_3317_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.3 KB
      เปิดดู:
      732
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    รูปขนาดเล็ก
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ที่ร้านเขาจัดจานสวยหรือคนถ่ายภาพถ่ายได้สวยเนี๊ย


    ... แล้วอร่อยไหมครับ ถึงขนาดมีกลุ่มอื่นมาแย่งที่นั่ง
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    น้องสร้อยนำเที่ยวได้น่าสนใจมากค่ะ ภาพสวย บรรยายแจ๋ว
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536

    ร้านอาหารเขาก็บรรยากาศใช้ได้นะพี่ปอฯ.....

    อาหาร ก็ รสชาดดี......
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบคุณจ่ะ ก็โม้ไปเรื่อยๆ อิ อิ........
     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    พอทานข้าวกลางวันเรียบร้อย ที่ต่อไปที่จะไปกันก็คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง พวกเรามาถึงบ้านเชียงเกือบบ่ายสามโมง มีเวลาน้อยที่จะเข้าชม ต้องรีบ เขาให้เวลาแค่ชั่วโมงเดียวจึงไม่สามารถเก็บเกี่ยวอะไรได้มากนัก ก็รีบเดิน รีบถ่ายรูป บางจุดให้ถ่ายรูปได้แต่ห้ามเปิดแฟลช บางจุดห้ามถ่ายเฉพาะเจาะจงวัตถุ บางจุดห้ามถ่ายรูปเด็ดขาด ยังไม่เข้าใจอยู่ว่าทำไมถึงห้ามถ่ายรูปมีใครทราบช่วยบอกหน่อย ที่ให้ถ่ายรูปได้แต่ห้ามเปิดแฟลชเหตุผลตรงนี้เข้าใจอยู่เพราะแสงแฟลชอาจจะเป็นตัวเร่งปฏิกริยาการทำลายความคงสภาพของโบราณวัตถุ แต่ตรงที่ห้ามไม่ให้ถ่ายรูปเลยนี่เพราะอะไรอ่ะ หรือว่ากลัวถ่ายไปแล้ว แล้วรูปออกสู่ภายนอกจะกลัวใครมาขโมยเหรอ.... งง งง งงงงงง ..... แล้วคนภายนอกจะรู้ไหมว่าในนี้มีอะไร เมื่อไม่รู้ ความสนใจก็จะไม่เกิด.... แล้วตรงจุดไหนห้ามถ่ายรูปเด็ดขาด ป้ายบอกห้ามถ่ายก็เป็นรูปเล็กๆ พร้อมคำพูดห้ามถ่ายรูป ติดอยู่ตรงมุมตู้โชว์สูงจากพื้นประมาณไม่เกินหัวเข่าไม่ได้เป็นที่สะดุดตา แล้วจะเห็นไหมเนี่ยะ... สร้อยฟ้าฯก็ยกกล้องถ่ายอย่างเดียว ก็เลยถูกเจ้าหน้าที่ห้ามเสียงดัง อายนะ ไม่ใช่ไม่อาย หมดอารมณ์ถ่ายภาพ.....[​IMG]


    มาอ่านประวัติบ้านเชียงกันดีกว่า เรื่องนี้ขอยกมาทั้งเว็ปเลยอาจจะยาวไปหน่อยแต่ข้อมูลดี.....





    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
    ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๕ก่อให้เกิดความตื่นตัวของคนในท้องถิ่นที่จะช่วยดูแลรักษาทำนุแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่กำลังถูกขุดทำลายจากขบวนการค้าโบราณวัตถุเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป


    [​IMG]

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๘กรมศิลปากรจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงโดยเปิดให้สาธารณชนเข้าชมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๖มูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างอาคารหลังที่ ๒ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามว่า “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิด “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐
    ปี พ.ศ.๒๕๔๙ กรมศิลปากรได้รับงบประมาณตามโครงการปรับปรุงแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในภูมิภาคอินโดจีนมาดำเนินการก่อสร้างอาคารจัดแสดงนิทรรศการ และปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรและส่วนบริการต่างๆ ให้มีความทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามของอาคารหลังใหม่ว่า “อาคารกัลยาณิวัฒนา” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารกัลยาณิวัฒนา ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

    การจัดแสดงและการให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
    ที่ตั้ง
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หมู่ที่ ๑๓ ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง
    อำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี ๔๑๓๒๐
    โทรศัพท์ ๐ ๔๒๒๐ ๘๓๔๐ โทรสาร ๐ ๔๒๒๐๘๓๔๑


    [​IMG]



    สถานที่เปิดให้บริการ
    ๑.อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร จำนวน ๔ หลังโดยมีส่วนจัดนิทรรศการและส่วนบริการภายในอาคารต่างๆ ดังนี้
    ๑.๑ อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นอาคารหลังแรกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๔ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นอาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงและคลังเก็บรักษา โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
    ๑.๒ อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเดิมเป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงต่อมาได้รับการปรับปรุงพัฒนาเป็นอาคารส่วนบริการ ประกอบด้วย ห้องจำหน่ายบัตรหนังสือและของที่ระลึก ห้องประชุม ห้องควบคุมและรักษาความปลอดภัยและห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน
    ๑.๓อาคารกัลยานิวัฒนาเป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลังใหม่ที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นเมื่อครั้งที่มีการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ในปีพ.ศ.๒๕๔๙โดยเป็นอาคารที่สร้างเชื่อมต่อจากอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีภายในมีส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร จำนวน ๙ ส่วน ประกอบด้วย

    ส่วนจัดแสดงที่ ๑พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับบ้านเชียง
    จัดแสดงเรื่องราวเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ทรงเยี่ยมราษฎรอย่างใกล้ชิดพร้อมพระราชทานแนวพระราชดำริอันทรงคุณประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นบ้านเชียงและความก้าวหน้าในการศึกษาวิชาการโบราณคดีของประเทศไทยสืบมาถึงปัจจุบัน
    ส่วนจัดแสดงที่ ๒ การดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง
    จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของการทำงานด้านโบราณคดีที่บ้านเชียงเริ่มตั้งแต่การค้นพบโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่บ้านเชียงและการค้นพบโดยบังเอิญของนายสตีเฟน ยัง ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ซึ่งนำไปสู่การทำงานด้านโบราณคดีอย่างเป็นระบบโดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นต้นมานอกจากนี้ยังนำเสนอลำดับเหตุการณ์และบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง
    ส่วนจัดแสดงที่ ๓ การปฏิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง
    จัดแสดงบรรยากาศการทำงาน ณ หลุมขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงโดยจำลองเอาสภาพของหลุมขุดค้นและบริเวณใต้ถุนของชาวบ้านซึ่งนักโบราณคดีใช้เป็นสถานที่ในการทำงานด้านต่างๆทั้ง การคัดแยก การวิเคราะห์โบราณวัตถุตลอดจนเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการทำงานของนักโบราณคดี ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๗–๒๕๑๘นอกจากนี้ยังมีสื่อวิดีทัศน์ที่นำเสนอบทสัมภาษณ์นักโบราณคดีและนักวิชาการที่เคยมีส่วนร่วมในการขุดค้นทางโบราณคดี
    ส่วนจัดแสดงที่ ๔ บ้านเชียง : หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
    จัดแสดงต่อเนื่องจากส่วนจัดแสดงที่ ๓ นำเสนอบรรยากาศและสภาพการทำงานโบราณคดีโดยจำลองหลุมขุดค้นจำลองและมีหุ่นจำลองนักโบราณคดีกำลังปฏิบัติงานในขั้นตอนต่างๆอาทิ การถ่ายภาพ การจดบันทึกหลักฐานโดยผู้ชมสามารถเดินผ่านเข้าไปชมในหลุมจำลองได้อย่างใกล้ชิด
    ส่วนจัดแสดงที่ ๕โบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีใน
    จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีในและนำมาจัดแสดงตามลำดับอายุสมัย อาทิภาชนะดินเผาสมัยต้นเนื้อดินสีดำตกแต่งที่ผิวภาชนะด้วยลายขูดขีดหรือภาชนะดินเผาสมัยปลายที่นิยมเขียนลายสีแดงที่ผิวภาชนะในรูปแบบต่างๆเครื่องมือและเครื่องประดับทำจากหิน เครื่องประดับสำริด และเครื่องมือเหล็กเป็นต้น
    ส่วนจัดแสดงที่ ๖ วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์
    จัดแสดงเรื่องราวและวิถีชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยนำเสนอในลักษณะของหุ่นจำลองเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมในอดีตการอยู่อาศัยและการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ อาทิ การล่าสัตว์ การเกษตรกรรมการทำภาชนะดินเผา การทำโลหกรรม การทอผ้า รวมถึงสภาพแวดล้อมในขณะนั้นโดยจัดแสดงควบคู่ไปกับหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้อง
    ส่วนจัดแสดงที่ ๗ บ้านเชียง : การค้นพบยุคสำริดที่สาบสูญ
    การจัดแสดงส่วนนี้ปรับปรุงและพัฒนามาจากชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ซึ่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้จัดทำขึ้นและนำไปจัดแสดงในประเทศสหรัฐอเมริการและสิงคโปร์เป็นชุดนิทรรศการที่ทำให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศโดยมีการนำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในแถบเอเชียอาคเนย์จนกระทั่งมีการค้นพบยุคสำริดของวัฒนธรรมบ้านเชียง
    ส่วนจัดแสดงที่ ๘ บ้านเชียง : มรดกโลก
    จัดแสดงเรื่องแหล่งโบราณคดี “บ้านเชียง” ที่ได้รับการยกย่องและประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้านวัฒนธรรมในลำดับที่ ๓๕๙ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกข้อ ๓ คือ “เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่งหรือเป็นพยานหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณีหรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่หรือสูญหายไปแล้ว”


    [​IMG]


    ส่วนจัดแสดงที่ ๙ การกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียง
    จัดแสดงโบราณวัตถุจากการสำรวจของกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕เพื่อศึกษาการกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณแอ่งสกลนคร ปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงมากถึง ๑๒๗แหล่ง กระจายอยู่หนาแน่นตามลุ่มน้ำสำคัญในเขตจังหวัดอุดรธานี หนองคาย และสกลนครอาทิ ห้วยหลวง-แม่น้ำสงคราม หนองหานภุมภวาปีเป็นต้น
    ๑.๔ อาคารนิทรรศการไทพวน (ส่วนจัดแสดงที่๑๐)จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิตเอกลักษณ์และภูมิปัญญา รวมทั้งประเพณีต่างๆ ของชาวไทยพวน บ้านเชียงที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมื่อราว ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา โดยได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านเชียง” และได้อยู่อาศัยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
    <O:p
    ๒. หลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีในตั้งอยู่ภายในวัดโพธิ์ศรีในซึ่งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕๐๐ เมตรเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จมาทอดพระเนตรการทำงานของนักโบราณคดี ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๕กรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในและเก็บรักษาหลักฐานทางโบราณคดีไว้ในสภาพดั้งเดิมโดยจัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย
    <O:p
    ๓. บ้านไทพวน (อนุสรณ์สถานในการเสด็พระราชดำเนิน)เดิมเป็นบ้านของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ชาวบ้านเชียงที่อนุญาตให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินการทางโบราณคดี ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕และเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการทำงานของนักโบราณคดีพร้อมกับเสด็จขึ้นชมเรือนไทพวนของนายพจน์มนตรีพิทักษ์

    นายพจน์ ได้มอบบ้านและที่ดินให้แก่กรมศิลปากรจึงได้ปรับปรุงเรือนไทพวนเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในการเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรหลุมขุดค้นมนตรีพิทักษ์และจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทพวนบ้านไทพวนได้รับรางวัลพระราชทานด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปีพุทธศักราช๒๕๕๐ จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3319_1a.jpg
      IMG_3319_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340.5 KB
      เปิดดู:
      704
    • IMG_3324_1a.jpg
      IMG_3324_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      366 KB
      เปิดดู:
      776
    • IMG_3376_1a.jpg
      IMG_3376_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      324.8 KB
      เปิดดู:
      826
    • xbepe.gif
      xbepe.gif
      ขนาดไฟล์:
      8.3 KB
      เปิดดู:
      3,212
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]



    [​IMG]


    การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก
    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว


    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปีร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญาอันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานวัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้วด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก


    [​IMG]


    ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖๐ กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๔๐๐ไร่ กลางเนินสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ราว ๘ เมตรราษฎรชาวบ้านเชียงในปัจจุบันมีเชื้อสายลาวพวนที่อพยพเคลื่อนย้ายชุมชนมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาวเมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว


    "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทยโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการทั้งด้านเศรษฐกิจวิทยาการและศิลปะอย่างแท้จริงและพัฒนาการเหล่านั้นได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมานับพัน ๆ ปี


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3363_1a.jpg
      IMG_3363_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      337.1 KB
      เปิดดู:
      727
    • IMG_3321_1a.jpg
      IMG_3321_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      358.9 KB
      เปิดดู:
      1,589
    • IMG_3323_1a.jpg
      IMG_3323_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334.6 KB
      เปิดดู:
      1,351
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
    เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์


    วัฒนธรรมบ้านเชียงจึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลกมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันๆ ปี โดยมีการพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านรู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรกคือเมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้วรวมทั้งมีการจัดระบบเช่น การฝังศพเป็นประเพณีสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายสมัยนับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดระบบสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่น "การผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง", "การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ"โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเองมิได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกัน


    <O:p
    นอกเหนือไปจากโบราณวัตถุประเภทต่างๆทำจากวัสดุนานาชนิดที่ช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมและเทคโนโลยีแล้วการขุดค้นที่บ้านเชียงยังพบกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ และเปลือกหอยด้วยซึ่งทำให้นักโบราณคดีสามารถเข้าใจและอธิบายถึงวิถีทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงนั้นได้จากหลักฐานการใช้เหล็กและจากกระดูกควายที่พบนักโบราณคดีสรุปได้ว่ามนุษย์รู้จักการทำนาในที่ลุ่มและมีการไถนาแล้วเมื่อราวเกือบ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนหลักฐานกระดูกสัตว์ต่าง ๆ และเปลือกหอยหลายชนิดนักโบราณคดีสามารถบอกได้ว่าสัตว์ชนิดใดน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ที่ถูกล่าหรือจับมาเป็นอาหาร


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    นอกจากนี้ยังได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ - ๒๕๔๘ที่วัดโพธิ์ศรีใน ได้พบหลักฐานโครงกระดูกสัตว์ที่สำคัญแบบเต็มโครงสมบูรณ์ได้แก่โครงกระดูกควาย โครงกระดูกปลา และโครงกระดูกสุนัข เป็นต้นจากการวิเคราะห์เบื้องต้นโดยดร.อำพัน กิจงามนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระดูกสัตว์ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงกระดูกควายที่พบว่าน่าจะเป็นควายที่ถูกนำมาเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน เนื่องจากกระดูกเท้ามีลักษณะผิดปกติซึ่งเกิดจากการกดทับจากการใช้แรงงาน นอกจากนี้ขณะดำเนินการขยายผนังหลุมขุดค้นเพื่อวางโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้พบโครงกระดูกสุนัขแบบเต็มโครงสมบูรณ์ซึ่งน่าจะเป็นสุนัขที่ถูกนำมาเลี้ยงไว้เช่นกันโครงกระดูกสุนัขที่สมบูรณ์พบภายหลังจากขุดค้นทางโบราณคดีจนถึงระดับชั้นดินที่ไม่พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์แล้วและได้ขุดขยายผนังหลุมเพื่อวางโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและใช้เป็นผนังสำหรับทำหลุมขุดค้นจำลองการขุดค้นดังกล่าวได้ใช้วิธีการขุดค้นและเก็บข้อมูลแบบเดียวกับที่ใช้ภายในหลุมขุดค้นโดยขุดขยายออกไปจากขอบหลุมเดิมประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ยกเว้นพื้นที่บริเวณ PSN-๑ด้านทิศตะวันออกที่ต้องขุดขยายออกไป ๙๐ เซนติเมตรบริเวณนี้เองที่ทำให้เราได้พบหลักฐานโครงกระดูกสุนัขในพื้นที่ S ๓-๔ E ๑๖-๑๗ลึกจากระดับผิวดินประมาณ ๑๘๐ - ๒๑๐ เซนติเมตร (๒๕๐ – ๒๘๐ cm.dt.) วางตัวอยู่ตรงกับตำแหน่งโครงกระดูกมนุษย์หมายเลข ๐๔๖ บริเวณใต้แขนข้างซ้ายแต่มีระดับความลึกใกล้เคียงกับโครงกระดูกมนุษย์หมายเลข ๐๖๙ซึ่งวางอยู่บริเวณใกล้ปลายเท้าโดยมีโครงกระดูกมนุษย์ที่ฝังอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน คือ โครงกระดูกมนุษย์หมายเลข๐๗๖, ๐๗๐ และ ๐๖๘


    [​IMG]


    ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างโครงกระดูกสุนัขกับหลักฐานทางโบราณคดี
    จากการศึกษาการทับถมของชั้นดินหลังขุดค้นพบว่าลักษณะหน้าตัดของดินใต้โครงกระดูกสุนัขเป็นเส้นโค้งคล้ายหลุมซึ่งน่าจะเป็นภาพตัดขวางของหลุมฝังศพ โดยมีความลึกจากระดับมาตรฐานสมมติ ๒๕๐ - ๒๘๐ cm.dt. อยู่ใกล้กับหลุมฝังศพหมายเลข ๐๖๙ ซึ่งมีความลึกจากระดับมาตรฐานสมมติ ๒๑๐ -๒๕๐ cm.dt. จากหลักฐานวัตถุอุทิศที่พบบริเวณปลายเท้าของโครงกระดูกหมายเลข ๐๖๙ และ๐๗๖ แสดงให้เห็นว่ามีพิธีกรรมการฝังศพที่วางเครื่องเซ่นไว้ที่ปลายเท้าจึงมีความเป็นไปได้ว่าโครงกระดูกสุนัขที่พบน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหลักฐานหลุมฝังศพโดยอาจเป็นเครื่องเซ่นสำหรับพิธีกรรมการฝังศพของโครงกระดูกมนุษย์ที่ถูกฝังในตำแหน่งถัดออกไปทางทิศตะวันออกในผนังหลุม ซึ่งไม่ได้ขุดค้น อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นจากหลักฐานข้างเคียงซึ่งยังไม่สมบูรณ์มากนักเนื่องจากพื้นที่แวดล้อมโดยรอบของโครงกระดูกสุนัขไม่ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีจึงไม่สามารถสรุปข้อมูลดังกล่าวได้อย่างชัดเจนซึ่งอาจพบหลักฐานบางอย่างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโครงกระดูกสุนัขที่ยังถูกฝังอยู่ในชั้นดินข้างเคียงก็อาจเป็นได้


    การดำเนินงานอนุรักษ์เบื้องต้นภายหลังการค้นพบโครงกระดูกสุนัข (ตั้งแต่ ปี.พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙ )
    ภายหลังการแต่งโครงกระดูกสุนัข ได้บันทึกสภาพและเก็บหลักฐานขึ้นจากหลุมขุดค้นโดยการตัดเป็นแท่นดินมีแผ่นเหล็กทำเป็นกรอบป้องกันและรองรับน้ำหนักดินใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดทำเป็นกล่องเจาะรูครอบปิดไว้แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงโครงกระดูกนี้ได้รับการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นจาก ดร.อำพันกิจงามซึ่งจะได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวในโอกาสต่อไป และได้รับคำแนะนำจากคุณจิราภรณ์ อรัญยะนาคหัวหน้ากลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ในการรักษาสภาพเบื้องต้นว่าให้ใช้กระจกหรืออเครลิคครอบปิดส่วนบน โดยให้มีรูระบายอากาศหากปรากฏเชื้อราหรือเกลือที่ผิวกระดูกให้ทำความสะอาดออกทันทีและให้มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด


    [​IMG]


    ปัจจุบันได้นำโครงกระดูกสุนัขไปจัดแสดงไว้ที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในร่วมกับข้อมูลหลักฐานอื่นๆ บางส่วนที่ขุดพบเพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้าชมก่อนที่จะดำเนินการจัดทำหลุมจัดแสดงจำลองต่อไปในภายหน้าซึ่งจะทำการจัดแสดงหลักฐานข้อมูลเดิมก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนี้


    การอนุรักษ์และการจัดแสดงโครงกระดูกสุนัข
    ๑.ทำความสะอาดด้วยพู่กัน ปัดฝุ่นและเกลือ เบื้องต้นเป็นระยะ ๆ
    ๒.ใส่ดินเทียม(ป่น) ลงในรอยแยก ( crack )
    ๓.นำโบราณวัตถุจริงเก็บไว้ในห้องคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
    ๔.ประสานนักวิชาการช่างศิลป์ออกแบบแท่นฐานโบราณวัตถุและป้ายจัดแสดง (จำนวน ๓ ชุด แท่นสำหรับโบราณวัตถุ ๑ ชุด, แท่นสำหรับจำลองโบราณวัตถุ ๒ ชุด ) พร้อมทั้งทำครอบแก้วหรือพลาสติกอเครลิกสำหรับครอบโบราณวัตถุพร้อมเจาะรูระบายอากาศ
    ๕.ประสานนักอนุรักษ์ตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุ (กระดูกสุนัข)เพื่ออนุรักษ์ก่อนจะครอบแก้ว
    ๖.ประมาณราคาทั้งหมด


    บทสรุปของหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับกระดูกสัตว์ที่ผ่านมา
    ดร. อำพันกิจงาม นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสัตว์ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงผลการศึกษาระบุว่า ได้พบกระดูกสัตว์มากกว่า ๖๐ ชนิด (Kijngam, ๑๙๗๙)โดยชนิดของสัตว์ที่พบในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงสามารถนำมาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรวมไปถึงปัจจัยต่างๆที่เอื้อประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์แต่ละชนิดซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันไปตามชนิดและประเภทของสัตว์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้นๆณ ระยะเวลาหนึ่งทั้งนี้ต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ชนิดของพืชประกอบด้วย


    [​IMG]


    สัตว์เลี้ยงของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงตั้งแต่สมัยต้นจนถึงสมัยปลายได้แก่ วัว หมู และสุนัขจากการศึกษาพบว่าสัตว์เลี้ยงดังกล่าวมีอายุค่อนข้างน้อยเมื่อตายต่อมาในสมัยกลางได้พบกระดูกควาย ซึ่งสามารถระบุได้ว่าเป็นควายเลี้ยงเพื่อใช้งานเพราะมีการนำกระดูกกีบเท้าของควาย (III phalange) ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมาศึกษาเปรียบเทียบกับควายปัจจุบันพบว่ามีร่องรอยการลากไถเหมือนกันโดยมีความแตกต่างกับวัวซึ่งไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการใช้วัวในการลากไถเลยผลการศึกษายังระบุอีกว่า เมื่อปรากฏหลักฐานการเลี้ยงควายในสมัยกลางก็ปรากฏหลักฐานการใช้เครื่องมือเหล็กที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
    สัตว์จำพวก วัวป่า หมูป่า กวาง สมันละอง/ละมั่ง เนื้อทราย เก้ง เป็นสัตว์ที่ถูกล่ามาเพื่อใช้เป็นอาหารมีหลักฐานประการหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปริมาณความหนาแน่นของสัตว์เหล่านี้ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากขึ้นตั้งแต่สมัยกลางลงมา ส่วนสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกจับมาเป็นอาหารได้แก่ กระต่าย ชะมด อีเห็น พังพอน หนู นาคใหญ่ เสือปลา แมวป่า สัตว์น้ำ ได้แก่หอยและปลาชนิดต่างๆสัตว์เหล่านี้จะพบมากในสมัยต้นและเริ่มลดจำนวนลงในสมัยต่อมานอกจากนี้ยังพบสัตว์จำพวก จระเข้ หมาหริ่ง ตัวนิ่ม อึ่งอ่าง คางคก ตะกวด และเม่นรวมอยู่ด้วย
    ประเภทและชนิดของสัตว์ที่พบทำให้สามารถระบุลักษณะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ได้โดยอาศัยรูปแบบการดำรงชีวิตของสัตว์เป็นตัววิเคราะห์สภาพแวดล้อม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในสมัยต้น พบว่ามีสัตว์ที่ชอบอยู่อาศัยในภูมิประเทศแบบป่าดิบแล้ง(Dry decidous forest) และมีแหล่งน้ำที่มีน้ำตลอดทั้งปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสมัยกลางผลการศึกษาระบุว่าความต้องการในการขยายพื้นที่เพาะปลูกเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางประการอันได้แก่ การใช้เครื่องมือเหล็ก และรู้จักใช้ควายเป็นเครื่องทุ่นแรงในการลากไถเป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพแวดล้อมของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเกิดการเปลี่ยนแปลงยังผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วยทำให้หลักฐานกระดูกสัตว์ที่พบเกิดการเปลี่ยนแปลงไป



    ทั้งนี้วัฒนธรรมบ้านเชียงมิใช่จะมีอาณาบริเวณเฉพาะตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานีเท่านั้นหากแต่ครอบคลุมอาณาเขตหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและแหล่งอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับบ้านเชียงก่อให้เกิดความคิดเห็นใหม่ ๆในการศึกษาประวัติวัฒนธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในความคิดเห็นในเรื่องกำเนิด และพัฒนาการของการเกษตรกรรมและการโลหกรรม
    จึงสรุปได้ว่าหลักฐานที่ได้มาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานศึกษาวิจัยวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์และยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวของมนุษยชาติทั้งของประเทศไทยและของโลกอีกด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    ประวัติการค้นคว้าเรื่องโบราณคดีที่บ้านเชียง
    ราวพุทธศักราช ๒๕๐๐ราษฎรชาวบ้านเชียงบางท่านได้เริ่มให้ความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งด้วยการเขียนเป็นลายสีแดงซึ่งมักพบเสมอเวลาขุดดินในหมู่บ้านจึงมีการเก็บรวบรวมไว้และนำไปมอบให้นายพรมมี ศรีสุนาครัว ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเชียง (ประชาเชียงเชิด) เก็บรักษาและจัดแสดงให้คนเข้าชมที่โรงเรียนอย่างไรก็ตามในช่วงเวลานี้เรื่องราวทางโบราณคดีของบ้านเชียงก็ยังไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป


    [​IMG]


    พุทธศักราช ๒๕๐๓นายเจริญ พลเตชา หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่นได้ไปสำรวจที่บ้านเชียง และได้รับมอบโบราณวัตถุส่วนหนึ่งมาจากนายพรมมี ศรีสุนาครัวแต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยยังไม่เป็นรู้จักกันนักจึงยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ กับแหล่งโบราณคดีแห่งนี้


    [​IMG]

    พุทธศักราช ๒๕๐๙นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบุตรชายเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เดินทางไปที่บ้านเชียงเพื่อรวบรวมข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์และได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผากระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่บ้านจึงได้นำตัวอย่างภาชนะดินเผาลายเขียนสีจำนวนหนึ่งมาให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดีผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ตรวจสอบซึ่งท่านก็ได้ลงความเห็นว่าเป็นโบราณวัตถุของยุคโลหะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง


    [​IMG]


    พุทธศักราช ๒๕๑๐นายประยูรไพบูลย์สุวรรณ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๗ พร้อมด้วยนายวิรัช คุณมาศได้เดินทางไปสำรวจที่บ้านเชียง และในปีเดียวกันนี้เองนายวิทยา อินทโกศัยนักโบราณคดีจากกองโบราณคดีก็ได้ทำการขุดค้นที่บ้านเชียงในบริเวณที่ดินของนายสิทธาราชโหดี
    พุทธศักราช๒๕๑๕เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ประกอบด้วยนายพจน์ เกื้อกูล และนายนิคมสุทธิรักษ์ได้ทำการขุดค้นที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งและในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๕พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปบ้านเชียงและทอดพระเนตรการขุดค้นครั้งนี้


    [​IMG]


    และในปีเดียวกันนี้คณะปฏิวัติได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๘๙ห้ามขุดค้นหรือลักลอบทำลายแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงในเขต ๙ ตำบลได้แก่ ตำบลบ้านเชียง ตำบลบ้านธาตุ ตำบลบ้านดุง ตำบลศรีสุทโธตำบลบ้านชัย และตำบลอ้อมกอ ของจังหวัดอุดรธานี ตำบลม่วงไข่ ตำบลแวง และตำบลพันนาของจังหวัดสกลนคร


    [​IMG]


    พุทธศักราช ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘กรมศิลปากรร่วมกับพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจัดตั้งโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อดำเนินการขุดค้นบ้านเชียงโดยมีนายพิสิฐ เจริญวงศ์ เป็นผู้อำนวยการโครงการฝ่ายไทย และดร.เชสเตอร์ กอร์แมนเป็นผู้อำนวยการโครงการฝ่ายสหรัฐ


    โครงการขุดค้นดังกล่าวจัดทำเป็นโครงการระยะยาวและเป็นโครงการลักษณะสหวิทยาการ (multi – disciplinary) ผลการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานหลายประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาการสาขาต่างๆ ได้ปรากฏเป็นบทความและเอกสารทางวิชาการหลายฉบับซึ่งช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของบ้านเชียงในเรื่องต่าง ๆตั้งแต่เรื่องอายุสมัย ลักษณะของประชากร เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ฯลฯ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3347_1a.jpg
      IMG_3347_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      364.7 KB
      เปิดดู:
      891
    • IMG_3389_1a.jpg
      IMG_3389_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      395.5 KB
      เปิดดู:
      843
    • IMG_3330_1a.jpg
      IMG_3330_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      395.1 KB
      เปิดดู:
      1,134
    • IMG_3334_1a.jpg
      IMG_3334_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      386.7 KB
      เปิดดู:
      779
    • IMG_3337_1a.jpg
      IMG_3337_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      330.6 KB
      เปิดดู:
      952
    • IMG_3342_1a.jpg
      IMG_3342_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      403.1 KB
      เปิดดู:
      1,425
    • IMG_3344_1a.jpg
      IMG_3344_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      336.8 KB
      เปิดดู:
      721
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    สังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง
    เจ้าของวัฒนธรรมบ้านเชียง
    การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘โดยโครงการร่วมระหว่างกรม-ศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียได้พบโครงกระดูกคนราว ๑๓๐ โครง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้นำไปวิเคราะห์จำนวน ๑๒๗ โครงผลการวิเคราะห์พบว่าสามารถแยกเพศได้ชัดเจนเพียง ๙๓ โครง โดยมีโครงกระดูกผู้ชาย ๕๔โครง และผู้หญิง ๓๙ โครง
    ผู้ชายมีความสูงเฉลี่ยราว ๑๖๕ – ๑๗๕ เซนติเมตรส่วนผู้หญิงสูงเฉลี่ยราว ๑๕๐ – ๑๕๗ เซนติเมตร คนพวกนี้มีรูปร่างล่ำสัน แข็งแรงมีช่วงขายาว ใบหน้าค่อนข้างใหญ่ หน้าผากกว้าง สันคิ้วโปน กระบอกตาเล็กโหนกแก้มใหญ่
    คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงอายุไม่ยืนนักโดยระยะสมัยต้นมีอายุเมื่อตายโดยเฉลี่ยประมาณ ๒๗ ปีส่วนระยะสมัยปลายมีอายุเมื่อตายโดยเฉลี่ยประมาณ ๓๔ ปีโครงกระดูกส่วนใหญ่ไม่มีร่องรอยแสดงถึงการเสียชีวิตเนื่องจากบาดแผลร้ายแรงซึ่งชี้ให้เห็นว่าประชากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงน่าจะมีชีวิตและสังคมที่สงบสุข


    [​IMG]

    ด้านเศรษฐกิจ
    ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยบนเนินดินบ้านเชียงเมื่อประมาณ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นเป็นกลุ่มชนที่พัฒนาแล้วมีเทคโนโลยีการทำภาชนะดินเผามีการเลี้ยงสัตว์บางชนิด ได้แก่ วัว หมู หมาและไก่ รวมทั้งยังทำการเพาะปลูกข้าวแล้ว
    การเพาะปลูกข้าวของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆ ที่บ้านเชียงนั้น คงจะเป็นการทำนาหว่านในที่ลุ่มมีน้ำขัง ต่อมาในสมัยหลัง ๆ ราว๓,๐๐๐ปีมาแล้วจึงอาจพัฒนามาทำการเพาะปลูกข้าวโดยการทำนาดำในแปลงนาข้าวที่ต้องไถพรวนเตรียมไว้

    นอกเหนือจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้วคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงยังคงทำการล่าสัตว์ป่า และสัตว์น้ำนานาชนิดเช่น เก้ง กวาง สมัน เสือ แรด หมูป่า นิ่ม ชะมด พังพอน นาก กระรอก กระต่าย จระเข้เต่า ตะพาบ กบ ปลาดุก ปลาช่อน และหอยหลายชนิด ฯลฯ


    [​IMG]

    จากหลักฐานทางด้านโลหกรรมที่บ้านเชียงพบว่าสำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติในบริเวณบ้านเชียงดังนั้นช่างสำริดที่บ้านเชียงจึงต้องได้โลหะทั้งสองชนิดนี้มาจากชุมชนอื่น ๆอันแสดงให้เห็นว่าการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชนอื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ปีมาแล้ว


    ด้านสังคม
    ร่องรอยของหลุมเสาบ้านที่พบชี้ให้เห็นว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนั้นประกอบด้วย บ้านใต้ถุนสูง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลูกร่วมอยู่กันเป็นหมู่บ้านถาวรบนเนินดินสูงที่ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม
    ในด้านสังคมนี้คงจะมีผู้ชำนาญงานหรือช่างฝีมือในงานเฉพาะด้านบางด้านอยู่ด้วยอย่างน้อยก็พบหลักฐานว่าในระยะแรก ๆ มีนายพรานผู้ชำนาญการล่าสัตว์ มีช่างทำภาชนะดินเผา และในระยะหลัง ๆมีช่างโลหะสำริดและช่างเหล็กเพิ่มขึ้นมา

    หลุมฝังศพหลายหลุมที่ได้พบว่ามีสิ่งของเครื่องใช้สอย เครื่องประดับฝังอยู่ด้วยในปริมาณที่ต่าง ๆ กันรวมทั้งเป็นของที่มีค่าต่าง ๆกันแสดงให้เห็นว่าในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงน่าจะประกอบด้วยสมาชิกที่มีฐานะแตกต่างกัน


    [​IMG]


    ภาชนะดินเผา
    การทำภาชนะดินเผาของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงมีวิธีการปั้นขึ้นรูป๒ วิธีใหญ่ ๆ คือ
    วิธีที่ ๑ประกอบด้วยการปั้นดินเป็นเส้นแล้วนำมาวางขดเป็นวงต่อขึ้นบนดินที่ทำเป็นแผ่นเรียบจากนั้นจะใช้วิธีตีแต่งขึ้นรูปด้วยไม้ลายและหินดุให้เป็นภาชนะโดยส่วนดินแผ่นเรียบนั้นจะตีให้เป็นส่วนก้นภาชนะและส่วนขดดินจะตีให้เป็นส่วนผนังหรือภาชนะส่วนบนและปาก
    วิธีที่ ๒ประกอบด้วยการปั้นดินเป็นก้อนวางต่อลงบนดินที่ทำเป็นแผ่นเรียบแล้วบีบส่วนก้อนดินให้ด้านในกลวงเป็นทรงกระบอกจากนั้นจึงตีด้วยหินดุและไม้ลายให้เป็นภาชนะโดยส่วนดินแผ่นเรียบจะตีให้เป็นก้นภาชนะและส่วนก้อนดินนั้นจะกลายเป็นผนังหรือตัวภาชนะส่วนบนและปาก หลังจากนั้นขึ้นรูปแล้วก็นำไปเผาโดยวิธีเผากลางแจ้งหรือวิธีสุมไฟ ซึ่งใช้อุณหภูมิในการเผาระหว่าง ๕๐๐ – ๗๐๐ องศาเซลเซียส


    [​IMG]
    <O:p
    การโลหกรรม
    การโลหกรรมของบ้านเชียงเริ่มต้นโดยการใช้สำริดเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ววัตถุเกี่ยวเนื่องกับการโลหกรรมด้านสำริดที่บ้านเชียงนั้นมีตั้งแต่เบ้าดินเผาสำหรับหลอมโลหะ แม่พิมพ์หินทรายสำหรับหล่อโลหะให้เป็นวัตถุและตัววัตถุสำริดประเภทต่าง ๆ เช่น ใบหอก หัวขวาน หัวลูกศรกำไลข้อมือ/ข้อเท้า เบ็ดตกปลา ฯลฯ
    วัตถุสำริดชิ้นที่มีอายุเก่าที่สุดที่พบจากการขุดค้นคือใบหอกที่มีส่วนปลายงอพับซึ่งพบฝังอยู่ในหลุมศพที่กำหนดอายุได้ราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วผลการวิเคราะห์พบว่าใบหอกชิ้นนี้มีกรรมวิธีการทำคือ เริ่มต้นด้วยการหล่อโดยใช้แม่พิมพ์ชนิด ๒ ชิ้นประกบกันจากนั้นนำไปตีเพื่อตกแต่งรูปร่างให้สมบูรณ์เสร็จแล้วได้ถูกนำไปเผาไฟจนร้อนแดงแล้วปล่อยให้เย็นตัวลงอย่างช้าๆเพื่อลดความเปราะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตีตกแต่งกรรมวิธีเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าช่างสำริดรุ่นแรก ๆ ที่บ้านเชียงมีความเข้าใจพื้นฐานของการโลหกรรมสำริดเป็นอย่างดียิ่ง


    [​IMG]


    หลังจากนั้นราว ๒,๗๐๐ – ๒,๕๐๐ปีมาแล้วจึงเริ่มมีการใช้เหล็ก มีผลการวิเคราะห์แสดงว่าเหล็กที่ใช้ตั้งแต่ครั้งแรกๆ นั้นไม่ใช่เหล็กจากอุกาบาต แต่เป็นเหล็กที่ได้มาจากการถลุงสินแร่เหล็กให้ได้เป็นก้อนโลหะเหล็กเสียก่อนแล้วจึงนำไปตีขึ้นรูปให้เป็นสิ่งของมีรูปร่างตามต้องการขั้นตอนสุดท้ายในการทำเครื่องมือเหล็กคือการชุบให้เหล็กแข็งแรงขึ้นด้วยการเผาให้ร้อนแดงแล้วจุ่มลงไปในน้ำเย็นทันที
    เครื่องมือเหล็กที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นส่วนใหญ่จะเป็นใบหอก หัวขวาน และหัวลูกศร นอกจากนั้นก็มีเคียวและมีด


    [​IMG]

    <O:p
    ผ้าและสิ่งทอ
    เทคโนโลยีการทอผ้าถือกำเนิดมาจากการทำเชือก เสื่อและเครื่องจักสานเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงรู้จักทำเชือกมานานไม่ต่ำกว่า๕,๖๐๐ปีมาแล้ว
    หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเส้นด้ายหรือผืนผ้าที่พบเสมอในแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงคือแวดินเผา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปั่นด้าย ส่วนใหญ่มีลักษณะทรงกลมครึ่งทรงกลม กลมรี แผ่นกลมแบน รูปกรวย กรวยสองอันประกบกัน เป็นต้น หลักฐานที่แสดงถึงเทคโนโลยีการทอผ้าปรากฏชัดเจนในยุคโลหะมีการพบผ้าและร่องรอยของผ้าบนเครื่องสำริดและเครื่องมือเหล็ก จากการตรวจสอบเส้นใยโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ไม่พบร่องรอยของสีย้อม ผลการวิเคราะห์เส้นใยด้วยวิธีวิทยาศาสตร์พบว่าผ้าจากแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยป่านกัญชาหรือที่ปัจจุบันเรียกว่า กัญชง (Hemp หรือ Cannabis Sativa) และส่วนน้อยทอจากใยฝ้าย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    อายุสมัยของวัฒนธรรมบ้านเชียง
    ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียงที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว ๕,๖๐๐ ปีมาแล้วและมีความต่อเนื่องมาจนถึงราว ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะเวลายาวนานนับพันๆปีของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตลอดเวลาซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นทั้งในด้านพฤติกรรมและวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมซึ่งได้แก่ประเพณีการฝังศพ และภาชนะดินเผา
    ดร.จอยซ์ ซี ไวท์ (Dr. Joyce C. White) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรื่องหลักฐานจากบ้านเชียงคนล่าสุดได้ใช้ลักษณะความแตกต่างของภาชนะดินเผาและการฝังศพประกอบกับหลักฐานเสริมอื่นเป็นตัวบ่งชี้ เพื่อจัดลำดับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้สรุปว่า
    วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงแบ่งออกได้เป็น ๓ สมัยใหญ่ดังนี้


    [​IMG]
    ศพเด็กหรือทารกจะใส่ไว้ในภาชนะ


    สมัยต้น (Early Period) มีอายุตั้งแต่ราว ๕,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวมีภาชนะวางอยู่ที่เท้าหรือศีรษะศพ ฝังงอตัว มีหรือไม่มีของฝังรวมอยู่ด้วยภาชนะดินเผาระยะแรก ๆ ของสมัยต้น คือ ภาชนะดินเผาสีดำ-เทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ย ๆตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง ในระยะที่ ๒ ของสมัยต้นมีภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพเด็ก ในระยะที่ ๓ ของสมัยต้นมีภาชนะแบบที่มีผนังด้านข้างตรงถึงเกือบตรง รูปร่างเป็นภาชนะทรงกระบอก (Beaker) และในระยะที่ ๔ ของสมัยต้น มีภาชนะประเภทหม้อก้นกลมตกแต่งบริเวณไหล่ภาชนะด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้งผสมกับการระบายสีมีการตั้งชื่อเรียกว่า “ภาชนะแบบบ้านอ้อมแก้ว” เนื่องจากได้พบเป็นครั้งแรกที่บ้านอ้อมแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเชียง

    [​IMG]


    สมัยกลาง (Middle Period) มีอายุตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ – ๒,๓๐๐ ปีมาแล้วมีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว มีเศษภาชนะดินเผาที่ถูกทุบคลุมศพภาชนะดินเผาประเภทเด่นที่พบ ได้แก่ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ผิวนอกสีขาวทำส่วนไหล่ภาชนะหักเป็นมุมหรือโค้งมากจนเกือบเป็นมุมค่อนข้างชัดมีทั้งแบบที่มีก้นภาชนะกลมและก้นภาชนะแหลมบางใบมีการตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนสีที่บริเวณใกล้ปากภาชนะในช่วงปลายสุดของสมัยกลางเริ่มมีการตกแต่งปากภาชนะดินเผารูปแบบนี้ด้วยการทาสีแดง


    [​IMG]


    สมัยปลาย (Late Period) มีอายุตั้งแต่ราว ๒,๓๐๐ – ๑,๘๐๐ ปีมาแล้วการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว มีภาชนะดินเผาเต็มใบวางอยู่บนลำตัวภาชนะดินเผาที่พบในช่วงต้นของสมัยปลายได้แก่ ภาชนะเขียนลายสีแดงบนพื้นสีขาวนวลต่อมาในช่วงกลางสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดงถัดมาในช่วงท้ายสุดของสมัยจึงเริ่มมีภาชนะดินเผาทาด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมัน (อ้างอิง: กรมศิลปากร, มรดกวัฒนธรรมบ้านเชียง, ๒๕๕๐)


    [​IMG]


    เกี่ยวกับการกำหนดอายุสมัยของบ้านเชียงนั้นล่าสุดจากการบรรยายเรื่องหลักฐานทางโบราณคดีของบ้านเชียงเมื่อเดือนมิถุนายนพุทธศักราช ๒๕๕๐ ดร.จอยซ์ ซี ไวท์ (Dr. Joyce C. White) ได้เสนอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับผลการกำหนดอายุอินทรีย์วัตถุที่ผสมอยู่ในภาชนะดินเผาสมัยแรกสุดของบ้านเชียงว่ามีอายุประมาณ๔,๓๐๐ ปีมาแล้วจึงนำไปสู่การเกิดข้อคิดเห็นใหม่ขึ้นมาว่าการอยู่อาศัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ครั้งแรกสุดที่บ้านเชียงนั้นอาจเกิดขึ้นเมื่อราว๔,๓๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนยุคก่อนประวัติศาสตร์ระยะสุดท้ายที่บ้านเชียงมีอายุระหว่าง๒,๓๐๐ – ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องอายุสมัยของการอยู่อาศัยแรกเริ่มที่บ้านเชียงนี้ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ยังไม่เป็นที่ยุติ (อ้างอิง: สุรพล นาถะพินธุ, รากเหง้าบรรพชนคนไทย: พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์, ๒๕๕๐)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3354_1a.jpg
      IMG_3354_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      356.4 KB
      เปิดดู:
      616
    • IMG_3361_1a.jpg
      IMG_3361_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      349.1 KB
      เปิดดู:
      613
    • IMG_3369_1a.jpg
      IMG_3369_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.6 KB
      เปิดดู:
      606
    • IMG_3387_1a.jpg
      IMG_3387_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      330.6 KB
      เปิดดู:
      602
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ออกจากพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงได้ พวกเราก็มุ่งหน้ากลับที่พัก คืนนี้มีการแสดงโดยเหล่าไกด์ประจำรถ ทีแรกกะว่าจะไม่นำภาพมาลงเพราะกลัวโดนใบแดง ขอนำภาพมาลงนิดหน่อยพอให้นึกมโนภาพออก ก็ไม่ใช่เป็นการแสดงประเจิดประเจ้อเกินควรนะ อย่าคิดมาก....หุ หุ


    [​IMG]
    ภาพนี้ crop แล้ว ชุดเริดมาก


    [​IMG]
    นั่งไปนั่งมา เจอกระป๋องเบียร์ใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่ของเค้านะเพราะกินไม่เป็น


    [​IMG]
    ตัวเอง มาเที่ยวกับใครอ่ะ ท่าทางหล่อเหมือนกันนะเนี่ยะ...เจ้าของเดินไปตักอาหารเลยจับมาเป็นนายแบบเสียเลย


    พอทานอาหารเสร็จก็ชมการแสดงอีกนิดหน่อย แล้วก็ขึ้นห้องพักเลยไม่ได้อยู่ตลอดงาน.......
    ขึ้นนอนดีกว่า ไม่มีเสียงพูดแล้วตอนนี้เวลาพูดแต่ละครั้งต้องใช้พลังมาก ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเวลาเจ็บคอแล้วเสียงหาย พูดแต่ละทีต้องใช้พลังจนเหนื่อยขนาดนี้....





    [​IMG]
    ใครออกมาจ๊ะเอ๋เจอภาพนี้คนเดียวตอนดึกๆ คงจะหลอนเหมือนกัน


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  15. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    [​IMG]


    ถ้าเฮียไปจะเจอเจ้าหน้าที่ท่านนี้ไหมครับ ?




    ท่าทางเธอใจดี ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เจออยู่แล้วหล่ะจ่ะ รู้สึกว่าจะอยู่อาคารสองนะ.....
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เช้านี้จะต้องตื่นเร็วเพราะต้องทำเวลากลับกรุงเทพมหานคร รถบัสของพวกเรายังซ่อมไม่เสร็จเห็นช่างต้องถอดเกียร์ออกแล้วสั่งเกียร์จากกรุงเทพฯ ขึ้นมาส่งที่อุดรธานี แต่เกียร์ยังมาไม่ถึง ทางไกด์จึงจัดหารถบัสคันใหม่ให้ ค่อยโล่งอกนึกว่าต้องถูกเกลี่ยไปนั่งคันอื่นอีกทรมานกับแอร์ไม่เย็น..... เช้านี้ออกจากโรงแรมเวลาเจ็ดโมงเช้า แต่ก่อนหน้านั้นก็ทานอาหารที่ห้องอาหารของโรงแรม ได้พบกับคณะอีกคณะนึงไปๆ มาๆ ก็ดันเป็นคนที่รู้จักกันอีก จากการถามข่าวคราวว่าจะไปไหนกัน ได้ความว่ากำลังจะไปหนองคาย แล้วก็เข้าลาวด้วย ก็เลยถามถึงเรื่องที่เขาห้ามไม่ให้ข้าราชการในสังกัดข้ามไป เขาก็ไม่สน ก็ไม่ได้ข้ามไปในฐานะข้าราชการนี่ เข้าไปเป็นนักท่องเที่ยว โห ดีจังได้ไปเวียงจันทน์ งานนี้พวกเราเลยเกิดอาการเซ็ง....


    [​IMG]
    ยามเช้า เมืองอุดรธานี


    แต่ก่อนที่จะออกจากตัวเมืองอุดรธานี ทางคณะได้ให้พวกเราไปละลายทรัพย์เล็กน้อยซื้อของฝาก แหนมเนือง อันเลื่องชื่อของอุดรธานี แต่สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ซื้อ ขี้เกียจหิ้ว ถ้าจะซื้อก็โทรศัพท์จากกรุงเทพฯ สั่งซื้อแล้วส่งมาทางรถไฟก็ได้ เมื่อก่อนทำอยู่บ่อยๆ เดินเข้าเซเว่นหาขนมกับน้ำเย็นๆ กินดีกว่า.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3481_1a.jpg
      IMG_3481_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      353.9 KB
      เปิดดู:
      817
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เมื่อต่างคนต่างซื้อของเสร็จแล้ว พวกเราก็เดินทางออกจากตัวเมืองมุ่งสู่วัดป่าบ้านตาด ไปสักการะครูบาอาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ก็ขอยกข้อมูลของวัดมาจากเว็ปไซด์หลวงตา มาหมดเลย....


    [​IMG]

    <O:p
    วัดป่าบ้านตาดเริ่มก่อตั้งเมื่อปีเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ให้ชื่อว่าวัดเกษรศีลคุณซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในนามวัดป่าบ้านตาด
    ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖กิโลเมตรโดยมีศรัทธาญาติโยมชาวบ้านตาดถวาย พื้นที่ในกำแพงล้อมรอบประมาณ ๑๖๓ ไร่และบริเวณรอบกำแพงที่มีผู้ซื้อที่ถวายอีกหลายแปลง ตลอดทั้งทางวัดซื้อที่เพิ่มอีกประมาณ ๑๔๐ ไร่ รวมประมาณ ๓๐๐ ไร่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อันสงบเรียบง่ายร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่นานาพันธุ์ เป็นสถานที่พึ่งพิงของสัตว์น้อยใหญ่ในเขตอภัยทานหลากชนิด อาทิ ไก่ป่า กระรอก กระแต กระต่าย เต่า แย้ นก ฯลฯ

    เมื่อก้าวย่างเข้าสู่บริเวณวัด จะพบศาลาการเปรียญซึ่งเป็นศาลาไม้หลังใหญ่เดิมทีเป็นศาลาชั้นเดียวยกพื้นเตี้ย แต่ภายหลังถูกยกให้สูงขึ้น ๒ ชั้นเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ด้านบนศาลานั้น ให้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เป็นพระประธานของวัดใช้เป็นที่แสดงธรรมอบรมแก่พระภิกษุสามเณรในวัดตลอดจนเป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมร่วมกัน เช่น สวดพระปาฏิโมกข์ อธิษฐานเข้าพรรษาสวดปวารณา และกรานกฐินเป็นต้น ตู้ด้านขวาขององค์พระประธาน นั้นเป็นที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงตามหาบัว รวมทั้งอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์องค์อื่นๆส่วนด้านล่างศาลานั้นใช้เป็นที่สำหรับฉันภัตตาหารเช้าสถานที่ที่หลวงตามหาบัวใช้ในการแสดงธรรมเทศนาและปฏิสันถารกับศรัทธาฆราวาสญาติโยมที่มาจากทุกสารทิศอย่างไม่ขาดสายไม่เว้นแต่ละวัน


    [​IMG]


    สำหรับศาลาใหญ่ด้านนอกกำแพงนั้น สร้างเสร็จเมื่อปลายปี ๒๕๔๔มีศรัทธาญาติโยมขอสร้างถวาย หลวงตาท่านพิจารณาดูแล้วเพราะเกี่ยวกับงานช่วยชาติที่จัดหลายๆ ครั้ง เช่น กฐินช่วยชาติเป็นต้นญาติโยมจากทุกสารทิศไม่มีที่พักอาศัย และที่ร่มบังในเวลามีงานแต่ละวาระจึงเมตตาให้สร้างเพื่ออาศัยประโยชน์จากจุดนี้


    กุฏิของพระภิกษุสามเณรแต่ละรูป เป็นกุฏิเรียบง่าย พอแก่การบังแดด ลม ฝนจะสูงจากพื้นดิน ประมาณ ๑ เมตร เพื่อกันการรบกวนจากสัตว์เลื้อยคลานความชื้นจากพื้นดิน ฯลฯ มีขนาดเพียงพอ สำหรับอยู่เพียงองค์เดียวฝาผนังส่วนใหญ่ใช้จีวรเก่าขึงแทน เพื่อกันลม กันฝน ใช้มุ้งกลดกันยุงภายในกุฏิจะมีเพียงกลด เสื่อปูนอน ผ้าห่ม เครื่องอัฏฐบริขาร ตะเกียงหรือเทียนไขและของใช้ ที่จำเป็นอื่นๆ ด้านหัวนอนจะมีพระพุทธรูปหรือรูปครูบาอาจารย์ติดไว้เพื่อกราบไหว้บูชาเป็น กำลังใจในการบำเพ็ญภาวนา ทุกกุฏิจะมีทางเดินจงกรมอย่างน้อย ๑เส้น ยาวประมาณ ๒๕ ก้าว อยู่ใต้ร่มไม้ดูร่มเย็น ในยามค่ำคืนการเดินจงกรมจะใช้โคมเทียนจุดสว่างพอให้เห็นทาง กุฏิแต่ละหลัง จะมองไม่เห็นกันประหนึ่งว่าอยู่ท่ามกลางป่าเพียง องค์เดียว เพื่อให้สัปปายะสะดวกในการบำเพ็ญ สมณธรรม


    กุฏิที่สร้างถาวรมีอยู่รวมประมาณ ๑๐ กว่าหลัง เป็นกุฏิของหลวงตาภิกษุสูงอายุ กุฏิของญาติโยม ตามปกติญาติโยมทั้งหญิงและชายมักมาขออยู่พักปฏิบัติธรรมภาวนา เป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง ประมาณ ๕๐-๑๐๐ คนจัดแยก เขตกันระหว่างพระภิกษุสามเณร ญาติโยมชายและหญิงอย่างเป็นระเบียบ


    [​IMG]


    สำหรับวัดป่าบ้านตาดนี้ หลวงตาท่านเน้นย้ำถึงเรื่องมหาภัย ๕ประเภทที่ไม่ให้พระเกี่ยวข้องเด็ดขาด คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดิโอโทรศัพท์ เพราะเป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญสมณธรรมโดยตรง อีกทั้งไฟฟ้าก็ไม่ให้ต่อเข้ามาในวัด มีเพียงเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในบางกาลที่ประชาชนมาทำบุญมาก เป็นกรณีพิเศษในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น


    กิจวัตรประจำวันหลักของพระเณรก็คือ การนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรมเพื่อฝึกสติปัญญา และชำระกิเลสตัวร้อนรุ่มกระวนกระวายภายในจิตใจให้เหือดแห้งไปพระในวัดนี้จะไม่รับกิจนิมนต์ ไปฉันในที่ต่างๆเพื่อมีเวลาสำหรับบำเพ็ญเพียรภาวนาเพียงอย่างเดียว


    ที่วัดป่าบ้านตาดปัจจุบัน (ปี ๔๔) ในพรรษามีพระเณรจำพรรษา ๔๙ รูปสามเณร ๑ รูป นอกพรรษาจะมีพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ เข้ามาพักศึกษาข้อวัตรปฏิบัติเพิ่มขึ้นรวมเป็น ๕๐-๖๐ รูปเป็นประจำ สำหรับในยามเช้าก่อนออกบิณฑบาตทั้งพระและเณรต่างช่วยกันขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบๆเสร็จแล้วเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ระยะทางไปกลับประมาณ ๓ กิโลเมตรขากลับแวะรับบาตรที่หน้าวัดอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงประมาณ บ่าย ๓ โมงเย็นท่านก็จะออกมาทำข้อวัตรปัดกวาด เสนาสนะ ขัดถู กุฏิ ศาลา บริเวณวัด ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วม อย่างพร้อมเพรียงกัน


    [​IMG]

    หลวงตาได้พยายามสอนพระเณรอยู่เสมอ ในเรื่อง ความเรียบง่าย มักน้อยสันโดษ การใช้สอยปัจจัยสี่ที่ศรัทธาญาติโยมถวายมานั้น ให้เป็นไปด้วยความประหยัดใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้นหลายท่านที่ตั้งใจจะมากราบหลวงตาที่วัดอาจจะแปลกใจหากไม่พบป้ายชื่อวัด แต่นั่นก็อาจจะทำให้หลายคนได้นึกคิดจากปริศนาธรรมนี้ว่า หลวงตาท่านทำมีความหมายอย่างไร หลายคนอาจจะตีความหมายไปต่างๆนานามีบางท่านตีความหมายนี้ ซึ่งดูเหมือนจะเข้าทีที่สุดว่า การเดินทางถ้าเดินตามแผนที่ที่บอกเป็นระยะ ว่าเส้นทางจะผ่านจุดที่สำคัญจุดไหนบ้าง เป็นลำดับจนกระทั่งการเดินทางตามเส้นทางไปถึงจุดหมาย ถึงแม้จุดหมายจะไม่มีชื่อบอกก็ตามทุกคนที่เดินทางไปก็จะทราบเองว่า ถึงจุดหมายหรือยัง ชื่อก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปหรือเส้นทางไปสู่วิมุตตินิพพานก็เช่นกัน ปฏิบัติไปตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าวางไว้เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องถามใครว่าถึงจุดมุ่งหมายหรือไม่ ปริศนาธรรมนี้อาจทำให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายพอจะทราบว่า หลวงตาท่านสอนอะไรตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามาในวัดนี้....



    นโยบายของวัด
    ๑. ด้านจิตภาวนา
    พระภิกษุสามเณร
    วัดป่าบ้านตาด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นสถานที่ที่สงบสงัดอุดมด้วยต้นไม้ร่มเย็น เหมาะแก่การบำเพ็ญจิตตภาวนาหลวงตาท่านจึงเข้มงวดกวดขันต่อพระภิกษุสามเณร ที่เข้ามาพักปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งพระภิกษุสามเณรจะต้องรักษาธรรมวินัย และข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังระยะแรกมีพระที่จำพรรษาไม่มาก ประมาณ ๑๐-๑๕ รูป ต่อๆ มาก็รับเพิ่มขึ้นกระทั่งปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ ๕๐ รูป


    ฆราวาส
    ในระยะแรกหลวงตาท่านไม่รับฆราวาสที่มุ่งมาปฏิบัติธรรมแต่เมื่อมีผู้สนใจมากขึ้นๆ ท่านจึงอนุโลมผ่อนผัน มีฆราวาสทั้งชายและหญิง ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มุ่งมาพักปฏิบัติธรรมจำนวนมากในปัจจุบันทางวัดจัดให้มีเขตชาย-หญิงชัดเจน ไม่คลุกเคล้าปะปนกันผู้มุ่งมาปฏิบัติธรรมล้วนแต่อยู่ในความสงบสำรวมตามกฎระเบียบของวัดที่มุ่งเน้นด้านจิตตภาวนา ระยะเวลาที่ให้พักทางวัดไม่ให้อยู่ถาวร แต่อนุญาตให้อยู่พักได้ไม่เกิน ๗-๑๐ วัน

    สำหรับผู้มุ่งมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์หลวงตาท่านจะแสดงธรรมเป็นประจำวันทุกวัน การบิณฑบาตจะเริ่มประมาณ ๖.๐๐ น.เริ่มฉันประมาณ ๗.๐๐ น.พระภิกษุสามเณรที่วัดป่าบ้านตาดนี้ฉันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้นเพื่อมิให้เป็นความกังวลและเสียเวลา หลวงตาจะเริ่มเทศนาประมาณ ๗.๓๐ น.หากมีคณะผู้แสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศมุ่งมาฟังเทศน์ของหลวงตาในยามบ่ายหลังจากท่านกลับจากการเดินทางเพื่อมุ่งสงเคราะห์โรงพยาบาล ฯลฯท่านมักจะเมตตาเทศนาแก่คณะดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

    ๒. ด้านสงเคราะห์โลก
    โรงพยาบาล โรงเรียน หน่วยราชการสถานสงเคราะห์ ฯ
    หน่วยงานต่างๆเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายทำสาธารณประโยชน์ต่างๆ แต่ขาดแคลนงบประมาณต่างมุ่งหน้าเข้ามาขอการสงเคราะห์จากหลวงตาท่านจะพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนมากน้อยเพียงไร หากพิจารณาแล้วเป็นที่ลงใจและท่านมีปัจจัยเพียงพอที่จะให้การอนุเคราะห์ ท่านจะช่วยเหลือทันทีเพราะจตุปัจจัยไทยทานที่บริจาคเข้ามาที่วัดป่าบ้านตาดหลวงตาท่านไม่เคยเก็บสั่งสมไว้ ท่านมุ่งสงเคราะห์ช่วยเหลือกระจายไปทั่วประเทศไทย

    การบริจาคช่วยชาติ
    มีประชาชนเข้ามาวัดเพื่อบริจาคช่วยชาติประจำวันจำนวนไม่น้อยเพื่อนำเงินดอลลาร์-ทองคำเข้าสู่คลังหลวง ซึ่งเป็นหัวใจของชาติเพราะเป็นเงินทุนสำรองของประเทศ เป็นการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของชาติเป็นเครดิตในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศ ประชาชนที่เห็นถึงความสำคัญของคลังหลวงต่างมุ่งหน้ามาบริจาคกับหลวงตาทั้งที่วัด และทางบัญชีธนาคาร

    และมีไม่น้อยที่เป็นหน่วยงานต่างๆที่ทำหนังสือนิมนต์หลวงตาเพื่อขอความเมตตาให้ท่านเดินทางไปเทศนาและรับผ้าป่าช่วยชาติในสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3565_1a.jpg
      IMG_3565_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.1 KB
      เปิดดู:
      1,065
    • IMG_3487_1a.jpg
      IMG_3487_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393 KB
      เปิดดู:
      830
    • IMG_3488_1a.jpg
      IMG_3488_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      373.2 KB
      เปิดดู:
      1,414
    • IMG_3524_1a.jpg
      IMG_3524_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      371.4 KB
      เปิดดู:
      828
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]



    ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    กำเนิดในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี
    วันเกิด๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖
    นามบัว โลหิตดี
    พี่น้องทั้งหมด๑๖ คน

    สมัยเด็กเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

    วัยหนุ่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็งทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง

    คู่ครองเดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัวแต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

    เหตุที่บวชเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มากจึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น

    วันบวช๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี

    พระอุปัชฌาย์ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์

    [​IMG]


    เคารพพระวินัยด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆและตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่อย่างเคร่งครัดในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาตจะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้

    เรียนปริยัติเมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้าจนถึงประชาชน หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้วต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียรในป่าเขาอย่างจริงจังเดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผาในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง

    สงสัยช่วงเรียนปริยัติอยู่นี้ มีความลังเลสงสัยในใจว่าหากท่านดำเนินและปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้นจะบรรลุถึงจุดที่พระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และบัดนี้จะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่เหมือนในครั้งพุทธกาลหรือไม่

    ตั้งสัจจะด้วยความมุ่งมั่นอยากเป็นพระอรหันต์บ้าง ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ว่าจะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้นส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียวจะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด

    เรียนจบท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เองเป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน

    ออกปฏิบัติเมื่อเรียนจบมหาเปรียญแล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯสนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปก็ตามแต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาสท่านจึงเข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจังโดยมุ่งหน้าไปทางป่าเขาแถบจังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าจำพรรษาที่อำเภอจักราชนับเป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช


    [​IMG]

    พากเพียรท่านเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา ไม่ทำการงานอื่นใดทั้งนั้นมีแต่ทำสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืนจนจิตได้รับความสงบจากสมาธิธรรม

    มุ่งมั่นแม้พระเถระผู้ใหญ่ท่านอุตส่าห์เมตตาตามมาสั่งให้กลับเข้าเรียนบาลีต่อที่กรุงเทพฯอีกแต่ด้วยความมุ่งมั่นและตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว ที่จะพ้นทุกข์ให้ได้ภายในชาตินี้ท่านจึงหาโอกาสปลีกตัวออกปฏิบัติได้อีกวาระหนึ่ง

    จิตเสื่อมจากนั้นท่านกลับไปบ้านเกิดของท่านเพื่อทำกลดไว้ใช้ในการออกวิเวกตามป่าเขา จิตที่เคยสงบร่มเย็น จึงกลับเริ่มเสื่อมลงๆ เพราะเหตุที่ทำกลดคันนี้นี่เอง

    เสาะหา..อาจารย์เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่าดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพานเขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจหากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ

    ปริยัติ..ไม่เพียงพอจากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะต่อว่าธรรมที่เรียนมาถึงขั้นมหาเปรียญมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้แต่กลับจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา เพราะอดจะเป็นกังวลและนำธรรมที่เรียนมานั้นมาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่นจนกลายเป็นคนไม่มีหลักได้


    [​IMG]

    ดังนั้นเพื่อให้สะดวกในเวลาทำความสงบหรือจะใช้ปัญญาคิดค้นให้ยกธรรมที่เรียนมานั้นขึ้นบูชาไว้ก่อน ต่อเมื่อถึงกาลอันสมควรธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามาประสานกันกับด้านปฏิบัติและกลมกลืนกันได้อย่างสนิท

    โหมความเพียรจากการได้ศึกษากับผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย และหักโหมความเพียรเต็มกำลังชนิดนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐ คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้างทำให้ก้นของท่านระบมจนถึงกับแตกพอง เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียวแต่จิตใจที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จนสามารถตั้งหลักได้

    จริงจังท่านถูกจริตกับการอดอาหาร เพราะทำให้ท่านตัวเบา การภาวนาง่ายสะดวกและจิตใจเจริญขึ้นได้ดี จึงมักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานานคราวหนึ่งท่านออกวิเวกแถบป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่งชาวบ้านไม่เห็นท่านออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกตถึงขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียกประชุมกัน ด้วยลือกันว่าไม่ใช่ท่านตายแล้วหรือก็เคยมี

    นักรบธรรมท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังนั้นในช่วงบำเพ็ญเพียรสภาพร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอกตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมากแม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เห็นท่านซูบผอมจนผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูกทั้งผิวก็ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับทักว่า "โฮ้ ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ"แต่ด้วยเกรงว่าลูกศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูดให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า "มันต้องอย่างนี้ซิจึงเรียกว่า นักรบ" ท่านเคยเล่าถึงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลสเพื่อจะเอาแพ้เอาชนะกันว่า "ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตายจะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้"

    ปัญญาก้าวเดินด้วยความมุ่งมั่นจริงจังดังกล่าว ทำให้จิตใจของท่านได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคง ท่านทรงภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้าต่อท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายอย่างหนักเพื่อให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญาทั้งทางอสุภะ(ซากศพ) กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลางและส่วนละเอียด จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับ ๆในช่วงนี้ท่านมีความเพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุดตั้งแต่เช้าหลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอนบ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย


    [​IMG]

    สิ้น..อาจารย์ท่านพระอาจารย์มั่นได้มรณภาพลง เมื่อ ๑๐พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนครยังความเศร้าสลดสังเวชใจแก่ท่านอย่างเต็มที่ ด้วยรู้สึกว่าหมดที่พึ่งทางใจแล้วจากนั้นท่านพยายามปลีกตัวจากหมู่เพื่อน อยู่ป่าเขาตามลำพังแต่มุ่งอยู่กับความเพียรตลอด สติแนบแน่นกับจิตเป็นอัตโนมัติด้วยภาวนามยปัญญา

    ป่วย..แต่กายคราวหนึ่งที่ท่านออกวิเวกชาวบ้านป่วยเป็นโรคขัดหัวอก ล้มตายวันหนึ่ง ๆ จำนวนตั้งแต่ ๓-๘ คนเพราะหากใครเป็นโรคนี้แล้ว จะต้องตายภายใน ๒-๓ วันอย่างแน่นอน ท่านก็เมตตาสวด กุสลามาติกา ให้คนตายที่ป่าช้า ชนิดไม่มีเวลาลุกไปไหน เพราะเดี๋ยวหามคนตายมาใหม่อีกแล้วสักครู่ใหญ่ ก็หามมาใหม่อีกแล้ว กระทั่ง จู่ ๆ ท่านก็มาเป็นโรคเดียวกันนี้เข้าบ้างท่านจึงบอกชาวบ้านเพื่อขอหลบนั่งสมาธิภาวนา ต่อสู้กับทุกขเวทนาใหญ่นี้ด้วยธรรมโอสถด้วยการพิจารณาอริยสัจ ผลปรากฏว่าพิจารณาตก โรคหายเป็นปลิดทิ้งในเที่ยงคืนนั้นเอง

    คืนแห่ง..ความสำเร็จจากนั้นไม่นานท่านก็มุ่งสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ (ปัจจุบันอยู่อ.โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๖ ของท่านบนเขาลูกนี้นี่เองของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ (จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓) เวลา๕ ทุ่มตรง ท่านได้บรรลุธรรมด้วยความอดทนพากเพียร พยายามอย่างสืบเนื่องตลอดมานับแต่วันออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างเต็มเหนี่ยวรวมเวลา ๙ ปี

    คืนแห่งความสำเร็จระหว่างกิเลสกับธรรมภายในใจของท่านจึงตัดสินกันลงได้ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตายกิเลสตัณหา อาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้นเอง

    ยืนยัน...ชาตินี้ ชาติหน้า อดีตชาติ มีจริงสภาวะธรรมในใจของท่านขณะนั้นท่านเคยเล่าให้พระภิกษุในวัดป่าบ้านตาดฟังว่า "เกิดความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตน และเกิดความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้าพระสาวกอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมาอย่างนี้แต่คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้าย ได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจเพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้วแต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใดบัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว..."


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3530_1a.jpg
      IMG_3530_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      413.5 KB
      เปิดดู:
      1,404
    • IMG_3537_1a.jpg
      IMG_3537_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      372.8 KB
      เปิดดู:
      970
    • IMG_3540_1a.jpg
      IMG_3540_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      395.6 KB
      เปิดดู:
      902
    • IMG_3542_1a.jpg
      IMG_3542_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      359.6 KB
      เปิดดู:
      939
    • IMG_3544_1a.jpg
      IMG_3544_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      351 KB
      เปิดดู:
      1,027
    • IMG_3554_1a.jpg
      IMG_3554_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      339.5 KB
      เปิดดู:
      791
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    สงเคราะห์...พระเณรกิจสูงสุดในพระพุทธศาสนาท่านสมบูรณ์แล้วเหมือนพระในครั้งพุทธกาลที่ออกบวชมุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นหลังจากนั้นท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก

    เนื่องจากพระเณรหมู่เพื่อนเคยได้ยินท่านพระอาจารย์มั่นปรารภถึงท่านอยู่เนืองๆ ว่า "ท่านมหาฯฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก" ดังนั้นหลังพิธีศพท่านพระอาจารย์มั่นเสร็จสิ้นลง พระเณรหมู่คณะหลายสิบรูปจึงต่างพากันติดตามท่าน เพื่อหวังพึ่งพิงและขอรับคำแนะนำข้ออรรถธรรมและข้อวัตรปฏิบัติจากท่าน ท่านก็ให้การเมตตาอนุเคราะห์แต่นั้นมา จนทุกวันนี้

    การเทศนาพระเณร-ฆราวาสปรากฏออกมาเป็นเทป-หนังสือจำนวนมากโดยแจกเป็นธรรมทานตลอดมาไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด เฉพาะหนังสือธรรมะภาษาไทยมีจำนวนกว่า ๑๐๒ เล่มภาษาอังกฤษกว่า ๘ เล่ม เทปเฉพาะที่มีการบันทึกการเทศนามีหลายพันกัณฑ์


    [​IMG]

    ตอบแทนพระคุณ..มารดาท่านแนะสอนธรรมะแก่โยมมารดา และให้บวชปฏิบัติธรรมด้วยหวังอยากให้รู้เห็นและพบความสุขจากธรรมนี้บ้างจึงจำเป็นต้องตั้งวัดป่าบ้านตาดขึ้นมาท่านคอยเอาใจใส่ดูแลโยมมารดาทั้งทางด้านร่างกาย พวกปัจจัย ๔ อาหาร หยูกยาปัจจัยใช้สอยทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งให้คำแนะนำทางด้านจิตใจด้วยจิตภาวนาอย่างจริงจังด้วยระลึกพระคุณ แม้โยมมารดาจะสิ้นไปแล้วก็ตามท่านก็ไม่เคยลืมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้โดยทำบุญในวันคล้ายวันเสียชีวิตประจำทุกปีตลอดมา

    ในวาระสุดท้ายก่อนหน้าโยมมารดาจะจากโลกไปท่ามกลางทุกขเวทนากล้าที่พร้อมจะให้สิ้นชีวิตได้ทุกเมื่อ ท่านได้เข้าเยี่ยมและถามอาการ โยมมารดาตอบว่า "ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยก็จริงแต่ใจนั้นใสสว่างกระจ่างแจ้งอยู่ตลอดเวลา" จึงเป็นที่เชื่อแน่ได้ว่าโยมมารดาของท่านได้ทรงอริยธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งอย่างแน่นอนนับว่าสมเจตนารมณ์ของท่านที่ได้ทดแทนพระคุณโยมมารดาอย่างเต็มที่



    [​IMG]


    โปรด...ชาวอังกฤษฝรั่งชาวพุทธในอังกฤษมีความสนใจต่อการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมากกราบขออาราธนานิมนต์ให้ท่านเมตตาเดินทางไปโปรด เพื่อบรรยายสอนธรรมท่านก็เมตตาไปในช่วง ๗-๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ โดยมีพระชาวอังกฤษและแคนาดา ที่จำพรรษาอยู่ณ วัดป่าบ้านตาด ติดตามไปด้วย แม้ระยะต่อมาก็ประสงค์อยากกราบขอนิมนต์ท่านไปอีกแต่ด้วยปัญหาเรื่องสุขภาพและวัยชรา ท่านจึงงดเดินทางไปเทศนาตามสถานที่ต่าง ๆในต่างประเทศ

    สงเคราะห์...โรงพยาบาลด้วยเหตุที่ท่านเคยเห็นสภาพคนไข้ ที่ต่างรอความหวังจากหมอว่าเป็นสภาพที่น่าสงสารมาก เหมือนคนจนตรอกจนมุม เมื่อวิ่งมาหาหมอหากไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยที่ดีพอ ก็ก้าวไม่ออกรักษาไม่ได้และสภาพคนชนบทก็เป็นคนยากจนส่วนมากการบำบัดรักษาถ้าพอเป็นไปได้ก็ควรให้การรักษาใกล้บ้านจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองมากในการเดินทางตลอดสถานที่พักอาศัยการกินอยู่หลับนอน


    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงให้ความเอาใจใส่ต่อสถานพยาบาลต่าง ๆ ตลอดมาแบบเงียบๆจนถึงขณะนี้ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๑๐๐ โรงโดยทั้งก่อสร้างตึกอาคารผู้ป่วย สงฆ์อาพาธ ห้องผู้ป่วย ห้องผ่าตัดตั้งกองทุนศูนย์พิทักษ์ดวงตา กองทุนสงเคราะห์คนพิการ ซื้อที่ดิน บริจาครถยนต์พยาบาลและเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องเอกซเรย์ อุลตร้าซาวด์ เครื่องตรวจคลื่นหัวใจเครื่องช่วยชีวิตเด็ก ช่วยหายใจเด็กทารก เครื่องคลอด เตียงทำฟัน ฯลฯรวมแบ่งเป็นประเภท ๆ ของรายการการสงเคราะห์ รวมแล้วกว่า ๕๐๐ รายการ


    สงเคราะห์...หน่วยราชการการช่วยเหลือหน่วยราชการท่านก็เมตตาให้ตามเหตุผลความจำเป็น ตัวอย่างหน่วยงานที่ท่านช่วยเหลือ เช่นกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๒๔ ค่ายเสณีรณยุทธ์, ตำรวจทางหลวงจังหวัด, สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง, สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท, สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอภูพาน, สถานีตำรวจภูธรอำเภอน้ำหนาว, ตำรวจสันติบาลจังหวัด, เรือนจำจังหวัด, สถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานี



    [​IMG]

    สงเคราะห์...โรงเรียนท่านเมตตาช่วยด้านอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่างสื่อการเรียนการสอน และอื่น ๆ ตัวอย่างโรงเรียน ได้แก่ ร.ร.สตรีราชินูทิศร.ร.บ้านตาด ร.ร.อุดรธรรมานุสรณ์ ร.ร.หนองแสงวิทยา ร.ร.บ้านดงเมือง ร.ร.บ้านหนองตุเป็นต้น


    สงเคราะห์...ผู้ด้อยโอกาสตัวอย่างเช่นสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ปากเกร็ดท่านอนุเคราะห์ให้ตั้งกองทุนโดยนำดอกเบี้ยออกมาใช้จ้างพี่เลี้ยงจำนวน ๑๒ คนจ่ายเป็นรายเดือนเริ่มแต่ปี ๒๕๓๓ สถานสงเคราะห์อื่น ๆ เช่นบุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เด็กหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ทัณฑสถานหญิง กรมราชทัณฑ์ บางเขน ท่านอนุเคราะห์ช่วยก่อสร้างเรือนนอน ๑หลังมูลค่า ๓ ล้านกว่าบาท ตั้งกองทุนยารักษาโรค ๑ ล้านบาทและเคยช่วยเหลือจ่ายค่าจ้างเลี้ยงดูเด็กรายเดือนอยู่หลายปี (ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ปัจจุบันไม่ได้ให้แล้ว)


    [​IMG]

    สงเคราะห์...สัตว์ท่านอนุเคราะห์สัตว์ป่าในวัดอย่างทั่วถึงตลอดมาโดยเข้มงวดกับพระเณรให้ดูแลเรื่องอาหาร(กล้วย ข้าวสาร) น้ำไม่ให้ขาดตกบกพร่องแก่สัตว์ เช่น ไก่ป่า กระรอก กระจ้อน กระแต กระต่ายท่านว่าเรามีปากมีท้องมีหิว เขาก็เช่นกันกับเรา เราต้องเมตตาสงสารเขาเขาเกิดมาตามวิบากวาระแห่งกรรม เขาก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์เหมือนกับเราเราเองก็มีโอกาสกระทำผิดพลาดกลายเป็นสัตว์แบบเขาได้ จึงไม่ควรประมาทกันแต่ให้เห็นใจสงสารกัน ช่วยเหลือสงเคราะห์กันไป

    บ้านสัตว์พิการซอยพระการุณย์ ปากเกร็ด เป็นสถานที่อาศัยของสัตว์พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุนัขมีจำนวนมากหลายร้อยตัว อื่น ๆ เช่น แมว ไก่ เต่า นก ฯลฯ ท่านช่วยเหลือโดยซื้อที่ดิน๒ งาน สร้างอาคาร ๓ ชั้นเป็นที่พัก และที่ทำการรักษาสัตว์ที่เจ็บป่วย เช่นสุนัขโดนรถชน เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังช่วยค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆโดยให้เป็นรายเดือน ๆ ละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมาและสถานที่อีกแห่งหนึ่งคือ บ้านสงเคราะห์สุนัข ถ.พุทธมณฑลสาย ๓มีสุนัขกว่าสองร้อยตัว ท่านช่วยเหลือขยายที่ดินเพิ่มให้ ๒ แปลงและช่วยเหลือค่าอาหาร ยา และอื่น ๆ เป็นรายเดือน ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท


    ช่วยชาตินับแต่ท่านบำเพ็ญกิจของสมณเพศอันเป็นกิจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเรียบร้อยลงแล้วท่านก็หันมาให้การสงเคราะห์ด้านธรรมะแก่พระเณร-ฆราวาสมาโดยตลอดควบคู่ไปกับการบริจาคช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของ ทั้งจตุปัจจัยไทยทานแก่ประโยชน์ส่วนรวมตลอด ๔๐ กว่าปีนับแต่ตั้งวัดป่าบ้านตาดขึ้นในปี ๒๔๙๘ท่านเคยเล่าว่าหากจะนับเป็นมูลค่าน่าจะเป็นหมื่นล้านบาทขึ้นไปเพราะมีเท่าไรไม่เคยเก็บสั่งสมไว้หากจะนำมาใช้จ่ายในวัดก็เพียงเล็กน้อยตามจำเป็นจริง ๆเพราะไม่มีกิจการงานก่อสร้างอื่นใด มุ่งเน้นแต่งานด้านจิตภาวนามาโดยตลอดมีการเดินจงกรมนั่งสมาธิเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับปัจจัยไทยทานส่วนใหญ่จึงมุ่งออกช่วยเหลือโลกตลอดมา


    ในยามปกติ ท่านก็ให้ความเมตตาสงเคราะห์สังคมชาติบ้านเมืองอยู่อย่างเต็มที่จริงจัง ดังกล่าวข้างต้นโดยย่อเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อถึงยามนี้เกิดปัญหาหลายด้านหลายทาง ท่านจึงปรารภขึ้นอย่างจริงจังที่จะช่วยชาติไทยโดยช่วยเหลือด้านวัตถุเงินทองอุดหนุนชาติ ให้มีความแน่นหนามั่นคงท่านว่าแม้การเสียสละช่วยเหลือดังกล่าว จะเป็นการช่วยเหลือปลายเหตุก็ตามแต่ก็มีความจำเป็น เพราะขณะนี้สมบัติรวมของชาติยังขาดตกบกพร่องอยู่จึงต้องร่วมไม้ร่วมมือกัน ต่างเสียสละช่วยกันอุดหนุนครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งอิ่มพอ เหมือนเรารับประทานอาหาร หากยังไม่อิ่มก็เติมเข้าเรื่อยช้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตักเติมเข้าปากจนอิ่ม การเสียสละมากบ้างน้อยบ้างก็เช่นกันต่างมีความจำเป็นต้องช่วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า ความสามัคคีกันร่วมมือและเสียสละเช่นนี้ ยังเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่เด็กและกุลบุตรสุดท้ายภายหลังให้ได้รับเครื่องฝังใจที่ดี ให้รู้จักมีแก่จิตแก่ใจเสียสละซึ่งกันและกันไม่เพิกเฉยท้อถอยง่าย ๆ ต่อปัญหาใด ๆ แต่กลับให้มีใจเป็นนักต่อสู้ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เด็กเหล่านี้จะเห็นตัวอย่างนี้จากพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายในคราวเสียสละครั้งนี้เอง


    [​IMG]


    ท่านกล่าวถึงพระเณรควรแสดงน้ำใจ ออกมาช่วยชาติด้วยเหตุว่าพ่อแม่ของพระสงฆ์อยู่ตามป่าตามเขาบ้าง ในเมืองบ้าง อยู่ทั่วประเทศไทยเวลานี้กำลังตกทุกข์ได้ยากลำบาก ลูกสงฆ์คือลูกมีพ่อมีแม่ ย่อมควรมีเมตตาสงสารพ่อแม่ด้วยการออกมาช่วยพ่อแม่ของสงฆ์ซึ่งอยู่ในชาติเมื่อพ่อแม่กำลังตกทุกข์ได้ยากลำบากเข็ญใจลูกสงฆ์ทำไมถึงจะใจดำน้ำขุ่นช่วยพ่อช่วยแม่ไม่ได้ การช่วยแม้ไม่มากก็น้อยควรรู้จักช่วยตามกำลังของตนถึงจะถูก ถึงจะสมกับเป็นลูกศิษย์พระตถาคตที่มีพระเมตตามหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แก่โลก ดังคำว่า มหาการุณิโก นาโถ หิตายะสัพพะปาณินัง


    ท่านกล่าวว่าการช่วยชาติที่แท้จริงให้ต่างหันมาแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ การทรงมรดกธรรมของพระพุทธศาสนา เอาศีลเอาธรรมความประพฤติดีงาม ด้วยเหตุผลหลักเกณฑ์เข้ามาอุดหนุนจิตใจ จนมีหลักประกันภายในใจเรียกว่า มีหลักใจ โดยหันกลับมาปรับปรุงตัวเราแต่ละคน ๆ ให้มีความประหยัดไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ด้วยการอยู่การกินการใช้การสอยการไปการมาโดยให้ดูแบบของพระผู้มีหลักเกณฑ์ภายในใจ เป็นแบบอย่างของความประหยัดของผู้มีหลักเกณฑ์เหตุผลให้มีธรรมคอยเหนี่ยวรั้งไว้ในใจไม่ให้ถูกลากจูงด้วยกิเลสตัณหาราคะด้วยความโลภโมโทสัน จนเลยเขตเลยแดน เหมือนรถที่มีแต่เหยียบคันเร่ง ไม่เหยียบเบรกย่อมเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุดหากต่างมีการหันมาอุดหนุนทั้งทางด้านหลักทรัพย์ และหลักใจควบคู่กันไป ปัญหาต่าง ๆของชาติย่อมทุเลาเบาบางลงเป็นลำดับ ๆ ไป


    [​IMG]



    วัดป่าบ้านตาด เป็นสถานที่สัปปายะ สงบ ร่มเย็น ทีแรกนึกว่าจะไม่ได้มา เพราะว่าวัดป่าบ้านตาดจะอยู่ในกำหนดการของเมื่อวาน แต่การเดินทางทำเวลาไม่ทัน ก็เลยถูกย้ายมาวันนี้แทน ทุกอย่างก็เลยค่อนข้างรีบเร่งนิดหน่อยด้วยระยะทางจากอุดรธานีสู่กรุงเทพมหานครยังอีกไกลโข....

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3496_1a.jpg
      IMG_3496_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393 KB
      เปิดดู:
      1,202
    • IMG_3492_1a.jpg
      IMG_3492_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      364.6 KB
      เปิดดู:
      773
    • IMG_3523_1a.jpg
      IMG_3523_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      350.7 KB
      เปิดดู:
      882
    • IMG_3560_1a.jpg
      IMG_3560_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      396.6 KB
      เปิดดู:
      2,196
    • IMG_3568_1a.jpg
      IMG_3568_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      364.5 KB
      เปิดดู:
      876
    • IMG_3578_1a.jpg
      IMG_3578_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.3 KB
      เปิดดู:
      809
    • IMG_3574_1a.jpg
      IMG_3574_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      338.5 KB
      เปิดดู:
      879
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...