เรียนถามคุณ ชัชวาล เพ่งวรรธนะเกี่ยกับเรื่องปรามาสพระรัตนตรัย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เพชรกร, 16 มิถุนายน 2010.

  1. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ด้วยข้อความที่ท่านเขียนไว้เกี่ยวกับวิธีเเก้การปรามาสไว้ว่า

    ขึ้นชื่อว่าความคิดนั้น เราห้ามไม่ได้ เดี๋ยวก็คิดดี คิดชั่วทั้งวัน
    ขึ้นชื่อว่าจิตย่อมไหลไปหาเหตุ และก็ดับเป็นธรรมดาเมื่อหมดอารมณ์ชนิดนั้น
    ก็ย่อมซัดส่ายหาอารมณ์ชนิดใหม่ตลอดเวลาอันเป็นธรรมชาติของจิต

    แรกเริ่มเดิมที... จิตก็ไม่ได้ปรามาส ทุกอย่างเริ่มมาจากไม่มีมาเป็นมีก็เพราะสะสม
    เพราะไม่รู้ ขึ้นชื่อว่ากิเลส ก็คือ อวิชา ตัณหา อุปทาน

    เราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยการกดข่มจิตด้วยสมาธิ เพราะเท่ากับการสร้างเขื่อน
    ภายในใจให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ก่อร่างสร้างกำแพงใจให้ยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น

    เมื่อสมาธิมีกำลังก็พอกดข่มใจได้ แต่พอเขื่อนเอ่อล้นมากขึ้น
    ความที่ไม่อยากคิดชั่ว
    ความที่ติดดี ไม่อยากล่วงเกิน ไม่อยากปรามาส

    ก็กลับเข้ามาทำลายจิตตนเองเพราะการกดข่ม การหนีอารมณ์

    เราหนีความจริงแห่งอารมณ์ชนิดนี้ไม่ได้

    ขึ้นชื่อว่าดีก็เป็นธรรม ชั่วก็เป็นธรรม
    ขึ้นชื่อว่าโลกธรรม๘ก็มีทั้งสิ่งสองอย่างเป็นคู่

    เรามารู้ธรรมสองสิ่งเพื่อพบธรรมอีกสิ่งหนึ่งคือ เป็นเอก เข้าสู่ความเป็นกลาง
    ไม่เอาทั้งดีและชั่ว

    ขอเพียงแต่ไม่กดข่มใจ ไม่หนีอารมณ์ หันหน้ากลับมาสู้กับความจริงอย่างกล้าหาญ

    ในจุด ในตำแหน่งของใจที่รู้สึกตัว ว่า จิตไหลไปหาเหตุ ...

    จิตไหลเข้าไปแวบนึงและเห็นรูปนามปรากฏ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้เป็นรูป
    จิตผู้รู้สึกเห็นจิตเป็นนาม...

    เราจะตื่นขึ้นอย่างฉับพลัน จิตที่มีสภาพแห่งอกุศลจะถูกจิตที่เป็นมหากุศล
    ที่เป็นสิ่งที่แตกต่างกันเข้าไปรู้และเข้าไปปัดอารมณ์ชนิดนั้นด้วยการเห็นโทษ เห็นทุกข์ด้วยสติที่อบรมมาดีแล้ว

    ขึ้นชื่อว่าอริยสัจ๔ ต้องแจ้งทุกข์เพื่อละ สมุทัยคือตัณหา ที่หิวอารมณ์และไม่อยากให้มีอารมณ์ชนิดนี้ปรากฏ

    ถ้าเราเอาแต่หนี กดข่มใจ ใช้สมาธิเข้าข่ม ก็จบ แก้อย่างไรก็ไม่มีทางที่จะพ้น
    ใจตนเองได้แน่นอน...

    ดังนั้น มีแต่สติเท่านั้น ที่จะเตือนตน เพราะเมื่อมีสติที่รู้สึกตัวปรากฏ...
    ย่อมมีศีลสังวรปรากฏ จิตที่มีศีลย่อมปราศจากการเบียดเบียนเพราะจิตที่มีศีล
    มีความสะอาด บริสุทธิ์ มีกำลัง

    เราต้องชินกับจิตซึ้งเป็นวิเสสลักษณะ เราต้องเรียนรู้จิตชนิดนี้
    จิตที่ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง จิตที่ไม่มีศีล ไม่มีหิริ โอตัปปะ เราต้องเข้าไปเรียนรู้ เข้าไปจดจำ เพื่ออะไร

    ชั่วก็เป็นธรรม...ปลุกเราให้รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาได้

    สิ่งที่เพื่อนๆเป็นกันอยู่นี้คือ การกลัวบาป กลัวการล่วงเกินพระรัตนตรัย กลัวว่าจะไปนรก แต่สิ่งที่เพื่อนๆลืมก็คือ การกลัวก็เป็นจิตที่มีลักษณะชนิดหนึ่ง
    จิตที่ไม่มีศีลก็มีลักษณะชนิดหนึ่ง จิตที่ไม่มีหิริ โอตัปปะ ก็เป็นจิตชนิดหนึ่ง

    มันฝังรากลึกอยู่ในสันดานของพวกเรา เป็นเชื้อ เป็นภพ

    ถ้าเรามาศึกษาธรรม ก็ขออย่าลืมว่า...
    เรามารู้ทั้งดี และไม่ดี เพื่อให้จิตมันตื่นขึ้นมากับความจริงที่ปรากฏตามจริงของธรรมชาติ เรามาเรียนรู้ธรรมชาติตามจริง และเราจะหนีธรรมชาติ

    ที่จิตเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้เช่นไร

    จิตที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ชนิดนี้ เราวางไม่ได้ ถ้าจิตมันไม่เห็นความจริงบ่อยๆ
    จนมันตื่นขึ้นมาและเห็นเป็นทุกข์เป็นโทษ แต่ในขณะที่เราเห็นทุกข์ที่ปรากฏ

    ใจมันยังมีอุปทานในขันธ์๕ปรากฏ ถ้าเราเอาแต่หนี เราก็ไม่มีวันรู้และละมันได้

    ขอให้เพื่อนๆพึงพิจารณาตามจริงเช่นว่านี้...

    ผิดหรือถูก ข้าพเจ้าก็เคยมีอารมณ์ชนิดนี้คือติดดี แต่ล่วงเกินพระรัตนตรัย
    แต่เพราะไม่หนีอารมณ์ ในวิกฤตมักมีโอกาส ถ้าจะทำให้จิตเป็นกลางถึงที่สุด
    เราจึงต้องเรียนรู้ธรรมคู้ทั้งดีและเลว

    ปลุกสติให้ตื่นอย่างบริบูรณ์และเข้มแข็ง เพื่อ ดีก็ไม่หวั่นไหว เลวก็ไม่คล้อยตาม
    มหาสติจึงมีสุขเวทนาปรากฏและมีอุเบกขาปรากฏ

    จิตที่เราพัฒนาด้วยสมาธิในอารมณ์หนึ่งจนเข้าสู้เหนือธรรมชาติแห่งการปรุงแต่ง
    คิดนึก เข้าสู่สภาพจิตรวมกลายเป็นใจที่มีสภาพเป็นกลาง เที่ยงธรรม
    และให้ใจที่ยังมีอุปทานในขันธ์๕เข้าไปขัดเกลากิเลสที่ปรากฏทั้งดีและเลว

    ก็ย่อมเห็นความจริงว่า มีปต่รูปนาม มีแต่ความไม่เที่ยงเป็นอนิจลักษณะ
    มีสภาพคงอยู่ทนไม่ได้เป็นทกุข์ลักษณะ และเป็นอนัตลักษณะที่ขันธ์ทั้งหลาย
    ไม่ใช่เราย่อมดับสลายเสื่อมไปเมื่อหมดเหตุนั้นๆ

    ข้าพเจ้าขอเอาแปะกระทู้ของตนด้วยเพื่อสอนเพื่อนๆน้องๆนะครับ

    ผิดพลาดขออภัย...<!-- google_ad_section_end -->


    พอดีผมเปิดเจออ่านเเล้วก็อยากทราบว่าท่านได้เขียนเองหรือว่าคัดมากจากคำสอนของท่านอื่นที่ถามเพราะอยากให้ช่วยออกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ผมจะถามท่านว่าสิ่งที่ผมทำนั้นถูกหรือไม่

    ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากพอสมควรเกือบจะรีเซ็ทชีวิตตัวเองใหม่ไปเเล้วเเต่ได้อาศัยการปฏิบัติมาเกือบ 10 ปีจนบัดนี้อาการต่างๆก็ยังไม่หายดีสักเท่าไหร่เเต่ที่หายคือทุกข์

    จะถามว่าสิ่งที่ผมคิดนั้นถูกหรือไม่
    การปรามาส(ความคิด)นั้นกำเนิดมาจากขันธ์ไหนใช่สังขารหรือเปล่าหรือสัญญาหรือทุกขันธ์เเต่มาตามลำดับ
    เเล้วถ้ามาจากขันธ์เราก็ไม่สามารถใช้อะไรข่มมันได้ใช่หรือเปล่าครับ
    ยังงี้เราก็ตามดูการเกิดดับของมันไปโดยเราใช้สติตามดูเเล้วใช้ปัญญาลากลงสู่ไตรลักษณ์ อนิจัง ทุกขัง อนัตนาได้หรือเปล่าเพราะเวลาเกิดผมจะดึงมันสู่ไตรลักษณ์ทั้งสิ้นความทุกข์จะไม่เกิดขึ้นกับจิตเลยเเต่อาจเกิดกับรูปคือความร้อนตามร่างกายซึ่งมันก็เป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์เหมือนกันเพราะไม่ใช่ตัวตนของเราเราก็ไม่ต้องไปสนใจจิตเดิมผ่องใสนั้นคือตัวเราใช่หรือเปล่าครับหรือเราต้องลากจิตลงสู่ไตรลักษณ์ไปด้วยถ้าใช่อยากทราบวิธีการปฏิบัติด้วยครับวิญญาณคือตัวรู้ไม่ทราบว่าเป็นตัวเดียวกับจิตหรือเปล่าครับเพราะเป็นตัวรู้เหมือนกัน

    ตอนนี้เวลาผมปฏิบัติจะใช้วิธีเเยกรูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์โดยใช้สติคุมจิตไว้พอสติเผลอความคิดปรุงเเต่งเข้ามาผมจะใช้ปัญญาดึงสู่ไตรลักษณ์เลยจากอดีตจะเกิดทุกข์เเต่ปัจจุบันกลับเกิดปิติขึ้นมาเเทนเเต่ผมผมดึงปิติเข้าสู่ไตรลักษณ์อีกจะเหมือนว่าเกิดปิติเป็นอาการที่รูปเเต่จิตมันรู้เฉยเฉยเหมือนเวลาถ้าพลาดความคิดไม่ดีเกิดเพราะสติอ่อนใช้ปัญญาดึงไม่ทันเกิดทุกข์ขึ้นที่รูป(กาย)ร้อนตามตัวผมก็จะให้จิตรู้เฉยๆไม่บ้าไปตามันความทุกข์ที่จิตเกิดช่วงวินาทีเดียวมันก็ดับไปอีก

    ที่ท่านบอกว่า
    เรามารู้ธรรมสองสิ่งเพื่อพบธรรมอีกสิ่งหนึ่งคือ เป็นเอก เข้าสู่ความเป็นกลาง
    ไม่เอาทั้งดีและชั่ว


    อยากทราบวิธีปฏิบัติเข้าสูความเป็นกลางด้วยครับ

    ผิดยังไงก็อย่าสนใจนะครับถือว่าฟังเสียงนกกาไปล่ะกันครับ
     
  2. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    เเก้นึดนึงครับตรงที่บอดว่า
    "ความคิดปรุงเเต่งเข้ามาผมจะใช้ปัญญาดึงสู่ไตรลักษณ์เลยจากอดีตจะเกิดทุกข์เเต่ปัจจุบันกลับเกิดปิติขึ้นมาเเทน"
    ไม่ใช่ว่าปิติจากการได้คิดไม่ดีนะครับเเต่ปิติจากการที่เราสามารถเเยกรูปนามขันธ์ห้าได้พอเกิดเเล้วก็ลางลงสูพระไตรลักษณ์เหมือนกันคือรู้เฉยๆเเต่ไม่บ้าไปตามมัน
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    คำแนะนำ สั้น ๆที่พระพุทธองค์สอน คือ อย่าไปสนใจ
    กายนั้นก็ไม่ใช่ของเรา เราเห็นได้ง่ายเพราะกายหยาบ

    แม้จิตนั้นก็ไม่ใช่ของเรา เป็นการปรุงแต่งตามสังขารขันธ์ทั้งสิ้น

    การไปยึดถือสังขารขันธ์ว่าเป็นความคิดเรานั้น เป็นการยึดโยงกับอัตตาตน
    ว่าเป็นความคิดของตนอยู่

    มองให้เห็นการเกิดดับของความคิดนั้นถูกต้องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความคิดฝ่ายดี หรือไม่ดีก็ตามที เพราะดีไม่ดี เป็นสิ่งที่ความคิดจิตใต้สำนึกเป็นผู้ปรุงแต่งสั่งการ

    จิตเหนือสำนึก เราบังคับไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย
    หากต้องการผลที่ดีๆ ก็ต้องปรุงแต่งกดข่มด้วยสมถะ ซึ่งความเป็นจริงทำไม่ได้ตลอดเวลา ปล่อยให้เห็นไปเลยว่าจิตวิ่งไหลไป มา ทั้งดี และไม่ดี
    คราวนี้จึงจะเป็นการตามดู รู้เห็นตามความเป็นจริงโดยแท้
    รู้เพียงเท่านี้ ก็ถือว่ารู้แล้ว ไม่ต้องไปจัดแจง ปรุงแต่งอีก
     
  4. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ขอบคุณครับ
    เห็นด้วยขันธ์ห้าสมาธิได้เเค่ข่มไว้ชั่วคราวพอสมาธิอ่อนพวกมันก็จะมาอีกไม่ว่าจะมีสมาธิมากขนาดไหนจิตจะเก่งกาจยังไงหรือสามารถเหาะเหินเดินอากาศดำดินโผล่ไปจักวาลไหนตีลักกานั่งสมาธิได้ยังไงก็ไม่สามารถพ้นจากขันธ์ห้าบ่วงของมารไปได้นอกจากใช้สติปัญญาซึ่งเเค่อุปจารสมาธิเท่านั้นก็เพียงพอที่จะเห็นไตรลักษณ์เข้าสู่นิพพานได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...