๒-๘ พ.ค. มหกรรมการเทศน์มหาเวสสันดรนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 23 เมษายน 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    มหกรรมการเทศน์มหาเวสสันดรนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ


    วันที่ ๒-๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ โรงพิธีท้องสนามหลวง
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p

    วันเสาร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒<O:p</O:p
    พิธีถวายภัตตาหารเพลเจ้าอาวาสวัดในเขตกรุงเทพฯ ๗ วัน ๆ ละ ๘๙ รูป รวม ๖๒๓ รูป<O:p</O:p
    และพระภิกษุ สามเณี ที่เข้ารับพัดยศ ป.ธ. ๖ (๒๙๐ รูป) รวม ๓๓๐ รูป
    <O:p</O:p
    ๐๖.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. เปิดให้บูชาข้าวทิพย์ แก่ประชาชน ที่โรงพิธีเทศน์มหาชาติ และอีก ๔ จุด ๔ มุม รอบบริเวณท้องสนามหลวง ตลอดงาน โดย พระครูชยาภิวัฒน์ โทร ๐๘๑ ๘๓๘ ๓๑๒๘
    <O:p</O:p
    ๐๘.๐๙ น. อาจารย์ ฉัตรชัย ทองสวัสดิ์ ประกอบพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และพระสยามเทวาธิราช ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง หน้าพลับพลาพิธีรับเสด็จฯ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะสาวพรหมจารี คณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อต้า ประชาชน
    <O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. ขบวนรถเอกลักษณ์พระพุทธศาสนา และขบวนประเพณีโบราณอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ออกจากพระบรมมหาราชวัง เข้าสู่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑ <O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศเวียตนาม โดย พระอาจารย์ ริมแสง (Rim Sang) ปณิตธัมโม วัดจันทรังษี นครโฮจิมินซิตี้
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานี่มณฑป ณ มณฑลลพิธีท้องสนามหลวง
    <O:p</O:p
    ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป (๗ วัน รวม ๖๒๓ รูป ฉันภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๙ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล ที่พลับพลารับเสด็จ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒<O:p</O:p
    ๑๒.๐๐ น. เทศน์มหาชาติทรงเครื่อง ๓ รูป โดยพระครูสมุห์ กิตติศักดิ์ วัดวังแดง อ. ตรอน จ. อุตรดิถต์ กับพระครูธรรมธร ฉลาด อธิปัตโต วัดหมอนไม้ อ. เมือง จ. อุตรดิตถ์ และพระครูวินัยธร สุรินทร์ จนวโส วัดสว่างอารมณ์ อ. ลัแบ จ. อุตรดิตถ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒<O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๓<O:p</O:p
    ๐๘.๐๐ น. เทศน์คาถาพัน โดย พระครูปลัดสมพงษ์ วรญาโณ วัดสมรโกฏิ อ. เมือง จ. นนทบุรี และ พระมหาสุภักษร ภาจาโร วัดกาญจนสิงหาสน์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉันภัตตาหารเพล รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๔<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคาถา โดย พระปัญญาวิมลมุนี วัดอรุณราชวาราม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กัณฑ์ที่ ๕<O:p</O:p
    ๑๔.๐๐ น. กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ โดย พระราชนันทมุนี วัดระหาร จ.นนทบุรี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กัณฑ์ที่ ๖<O:p</O:p
    ๑๕.๐๐ น. กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๒๐๙ โดย พระกิตติศักดิ์ โคตมทิสโส วัดพระเชตุพนฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กัณฑ์ที่ ๗<O:p</O:p
    ๑๖.๐๐ น กัณฑ์ประเวศน์ ๕๗ โดย พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ วัดราชสิทธาราม<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    กัณฑ์ที่ ๘<O:p</O:p
    ๑๘.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศกัมพูชา โดย พระมหาตี๋ ภทพโก วัดพระอินทร์โกษา จ.เสียมเลียบ ประเทศกัมพูชา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วันจันทร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒<O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ <O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศลาว สามเณรคำมณี บัวทิพย์ นครจำปาสัก
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉันภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๐<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. กัณฑ์ชูชก ๗๙ โดย พระครูวินัยธร มานพ กนตสีโล วัดพระเชตุพนฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๑<O:p</O:p
    ๑๔.๐๐ น. กัณฑ์จุลพน ๓๕ โดย พระมหาลำดวล ธนิโก วัดไก่เตี้ย กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๒<O:p</O:p
    ๑๕.๐๐ น. กัณฑ์มหาพน ๘๐ โดย พระมหาเฉลิม อุทโย วัดชิโนรสาราม กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๓<O:p</O:p
    ๑๘.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศลาว พระมหาคำพุฒ อนุพทโธ วัดหินวัน บ้านห้วยเสร็จ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒<O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๔<O:p</O:p
    ๐๘.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศอินโดนีเซีย โดย พระอาจารย์ คำสัง สุมโน วัดพุทธเมตตา เมืองจากาต้า อินโดนีเซีย
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉันภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล<O:p</O:p
    <O:p

    กัณฑ์ที่ ๑๕<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ โดย พระราชธรรมวาที วัดประยูรวงศาวาส
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๖<O:p</O:p
    ๑๔.๐๐ น. กัณฑ์มัทรี ๙๐ โดย พระราชวิสุทธิดิลก วัดสามพระยา
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๗<O:p</O:p
    ๑๕.๐๐ น. กัณฑ์สักบรรพ ๔๓ โดย พระครูธรรรุจิณรงค์ อภิชาโต วัดสุวรรณาราม
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๘<O:p</O:p
    ๑๖.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ ประเทศพม่า พระครูสุจิณธรรมสาร วัดสรีจอมทอง อ. เมือง จ. พะเยา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วันพุธที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒<O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๑๙<O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. เทศนามหาชาติ โดย พระครูชศรีปริยัติคุณ วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล ะเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉันภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๐<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. กัณฑ์มหาราช ๖๓ โดย พระครูสิริพรหมคุณ วัดพรหมรัตนาราม อ. พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๑<O:p</O:p
    ๑๕.๐๐ น. กัณฑ์กษัตริย์ ๓๖ โดย พระมหาเรวัตร อาวุธปัญโญ วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๒<O:p</O:p
    ๑๖.๐๐ น. กัณฑ์นครกัณฑ์ ๔๘ โดย พระราชพัฒนโสภณ วัดชิโรรสาราม กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๓<O:p</O:p
    ๑๗.๐๐ น. เวสสันดรนานาชาติ รามัญ โดยพระครูวิมลชัยธรรม (วิชาญ) วัดปรก ยานนาวา กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ (ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) <O:p</O:p
    พิธีรับพระราชทานพัดยศ ป.ธ. ๖ (๒๙๐ รูป) แ.. ๙ (๔๐ รูป) รวมทั้งสิ้น ๓๓๐ รูป ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๔<O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. นิเทศมหาชาติ โดย พระครูวิมลสรสิทธิ์ วัดราษฎรบำรุง เขตบางแค กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. ถวายภัตตาหารภิกษุ สามเณร ที่เข้ารับพระราชทานพัดยศ ป.ธ. ๖ และ ป.ธ. ๙ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง แล้วเข้ารับพัดยศที่วัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวัง
    <O:p</O:p
    ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล ะเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉันภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๕<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. เพชรมหาชาติภาคใต้ โดย พระครูโสภิตพุทธาภิรัตน์ (ฉลาด) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๖<O:p</O:p
    ๑๔.๐๐ น. เพชรมหาชาติภาคเหนือ โดย พระครูวิสุทธิประภากร เจ้าอาวาสวัดหัวดง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๗<O:p</O:p
    ๑๕.๐๐ น. เพชรมหาชาติภาคอีสาน โดย พระครูปลัดอารยเดช จารุวณโณ รองเจ้าอาวาสวัดทอง เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๘<O:p</O:p
    ๑๖.๐๐ น. มหาชาติเทศน์เสียง โดย พระครูประโชติรัตนากร วัดดอนมูลชัย อ.เมือง จ.ตาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) วันวิสาขบูชา<O:p</O:p
    (International Recognition of The Day of VESAK (Visakhapuja) at UNITED NATION เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒)
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๒๙<O:p</O:p
    ๐๙.๐๐ น. กัณฑ์เพชรมหาราช สามเณี ชัชวาล จันทร์อดิศรชัย วัดราชสิทธาราม คณะ ๑ กุฏิพระธรรมรัตน วิสุทธิ์
    <O:p</O:p
    ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล ะเจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานคร ๘๙ รูป ฉัน ภัตตาหาร รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้น ๙๘ รูป ประกอบพิธีถวายพระราชกุศล
    <O:p</O:p
    กัณฑ์ที่ ๓๐<O:p</O:p
    ๑๓.๐๐ น. กัณฑ์อริยสัจจ์ ๔ โดย พระครูสิริธรรมภาณ เลขานุการรองเจ้าคระจังหวัดนนทบุรี วัดละหาร อ. บาง บัวทอง นนทบุรีและพระครูศรีประจันคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี
    <O:p</O:p
    ๑๗.๓๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    <O:p</O:p
    ๑๘.๐๙ น. นายกรัฐมนตรี ประกอบพิธี ประชาชนทั่วราชอาณาจักร อสดงตนเป็นพุทธมามกะ และเวียนเทียนรอบมณฑปพระบรมสารีริกธาตุ
    <O:p</O:p
    ๑๙.๐๐ น. สมเด็จพระสังฆราช ประทานอนุโมทนาสัมโททนียกถา ณ พลับพลาเสด็จฯ
    <O:p</O:p
    ๒๐.๐๐ น. ประกอบพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ และพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ๔ เหล่าทัพ ๔ มุม
    <O:p</O:p
    ๒๑.๐๐ น. พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กลับพระบรมมหาราชวัง<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04157.JPG
      DSC04157.JPG
      ขนาดไฟล์:
      142.5 KB
      เปิดดู:
      93
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ความเป็นมาเทศน์มหาชาติ

    ในสมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์จึงได้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์จำนวนมาก พระบรมวงศานุวงศ์และชาวเมืองได้ออกมาต้อนรับเสด็จมากมาย มีพระประยูรญาติบางท่านไม่ทำความเคารพ พระบรมศาสดาจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์เหาะขึ้นสู่อากาศและเปล่วงฉัพพรรณรังสี ขณะนั้นเกิดฝนโบกขพรรษ น้ำฝนมีสีแดง ผู้ใดปรารถนาเปียกก็จะเปียก ไม่ปรารถนาก็จะไม่เปียก เป็นที่ประหลาดใจในพุทธานุภาพในหมู่สมาคม พระพุทธองค์ตรัสว่า เหตุกรร์เช่นนี้เคยเกิดมีในอดีตกาล พระภิกษุทั้งหลายจึงได้วิวอนให้พระพุทธองค์ทรงตรัสเล่า “พระคาถาเวสสันดรชาดก” <O:p</O:p

    ชาดก หมายถึง เรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
    <O:p</O:p
    เนื้อเรื่องเดิมของพระเวสสันดรชาดก มีมาในพระบาลีเป็นพุทธวัจนะแท้ ความที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฏกรูปแบบพระคาถา คือคำร้อยกรอง ต่อมาบรรพบุรุษไทยเราทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนาจักรได้เห็นพ้องความำคัญที่จะได้เชิดชูเป็นหลักประธานในการเสริมสร้างอัธยาศัยของคนในชาติ จึงได้มีการแปลพระคาถาเวสสันดรชาดกออกสู่ภาษาไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้นมาในยุคกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิต แต่งเวสสันดรชาดกเป็นคำกลอน โดยมีพระราชประสงค์ที่จะโน้มน้าวจิตใจของประชาชนพลเมืองให้สนใจใฝ่การพระพุทธศาสนาเรื่อยมาได้ปรากฎผู้ร่วมทรงแปลและแปลมากมายหลายสำนวน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมเด้จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เจ้าประคุณพระเทพโมฬี (กลิ่น) พระยาธรรมปรีชา (บุญ) ขุนวรรณวาทวิจิตร เป็นต้น
    <O:p</O:p
    การเทศน์มหาชาติ จัดเป็นพระราชพิธีประจำปี คือ ระหว่าง เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนอ้าย ถือกันว่า ใครได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทุกกัณฑ์ จะได้รับอานิสงฆ์ใหญ่ แม้น้ำมนต์ ที่ตั้งไว้ในพิธีก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อาจชำระล้างอัปมงคลทั้งปวงได้ ธงชัย กล้วย และสิ่งของที่เข้าพิธี ก็ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธ์<O:p</O:p
    <O:p
    ความนิยมเทศน์ นิยมกันมาตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย และ กรุงศรีอยุธยา เดิมแต่งเป็นภาษามคธ มีพระคาถาพันหนึ่ง เรียกว่า “ พระคาถาพัน”ปัจจุบันแต่งเป็นร่ายยาว พิธีเทศน์ของราษฎรนิยมทำกันในวันออกพรรษา (เดือน ๑๑) นิยมฟังให้จบภายในวันเดียว แต่ปัจจุบันขึ้นอยู่กับความสะดวก มิใคร่ถือฤดูกาลเป็นที่แน่นอน<O:p

    เนื้อหาเรื่องเทศน์มหาชาติหรือเวสสันดรชาดก มีสาระความดีงามหลายอย่าง แต่หนักไปในทางเสียสละ ความไม่เห็นแก่ตัว เป็นเรื่องเร้าใจให้ผู้ฟังปลูกฝังนิสัยเมตตาการุณย์ และแสวงหาโอกาสสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้ตกยาก แม้ตนจะลำบากก็ยินดี ดังพระเวสสันดรเป็นอุทาหรณ์ คนส่วนใหญ่ได้ฟังเทศน์มหาชาติ ก็จะเกิดอุปนิสัยโน้มเอียงตามเยี่ยงของพระเวสสันดร นั่นคือความเห็นแก่ตัวจะค่อยๆ เบาบาง หากเป็นไปได้ว่า ทั้งโลกไม่มีคนเห็นแก่ตัวเลยแล้ว โลกสมัยพระศรีอาริยเมตตไตรก็จะผ่านเข้ามาหาเอง ความทุกข์ร้อนความทุกข์ยากจะไม่มี มีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข โดยมิต้องรอให้ตายเสียก่อนแล้วจึงไปเกิดประสบพบพานยุคพระศรีอาริย์ในชาติหน้า
    <O:p</O:p
    การที่ชาวพุทธไทย นิยมการฟังเทศน์มหาชาติกันอย่างไม่เบื่อหน่าย นอกจากจะเพลิดเพลินในการฟัง เพราะประกอบด้วยท่วงทีลีลาทำนองที่แตกต่างกันไปแล้ว ก็เห็นจะเป็น อานิสงฆ์ของเทศน์มหาชาติ ท่านกล่าวว่า ผู้ใดได้ฟังมหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ พระคาถา จบในวันเดียว จะมีอานิสงฆ์ถึง ๕ ประการคือ
    <O:p</O:p
    ๑. จะเกิดในศาสนาพระศรีอาริยเมตตไตรย ซึ่งมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต<O:p</O:p
    ๒. จะได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพย์สมบัติอันโอฬาร<O:p</O:p
    ๓. จะไม่ไปเกิดในอบาย เมื่อตายแล้ว<O:p</O:p
    ๔. จะเป็นผู้มีลาภ ยศ ไมตรี มีความสุข<O:p</O:p
    ๕. จะได้บรรลุมรรคผลพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เหตุที่เรียก มหาชาติเพราะเป็นการประชุมงแห่งบารมีครั้งยิ่งใหญ่ คำว่า “บารมี” หมายถึง การบำเพ็ญคุณธรรมที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จ คือ พระโพธิญาณ บารมีของพระโพธิสัตว์มีถึง ๓๐ เรียกว่า “บารมี ๓๐ ทัศน์” ท่านแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ
    <O:p</O:p
    ๑. บารมีธรรมดา มี ๑๐ เป็นบารมีขั้นต้น เริ่มปฏิบัติ มีผิดบ้าง ถูกบ้าง บกพริองบ้าง<O:p</O:p
    ๒. อุปบารมี มี ๑๐ เป็นบารมีระดับกลาง คือ ขั้นแก้ไข จนการปฏิบัตันั้นถูกต้องมากขึ้น ใกล้ขั้นสำเร็จมากขึ้น<O:p</O:p
    ๓. ปรมัตบารมี มี ๑๐ เป็นบารมีขั้นสูงสุด คือ ขั้นบีลุผลสมบูรณ์ คือเต็มที่สุด เปี่ยมที่สุด สามารถบำเพ็ญแลกด้วยชีวิต
    <O:p</O:p
    ในทศชาติ หรือที่เรียกว่า พระเจ้าสิบชาติ คือ เรื่องราวชาดก ก่อนที่พระพุทธองค์จะอุบัติมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในจำนวนเก้าชาติ นับแต่ พระเตมีย์ จนถึง พระวิธูรบัณฑิต ก็บำเพ็ญบารมีเฉพาะข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. พระเตมีย์ใบ้ - ทรงบำเพ็ญ เนขัมมบารมี คือ การถือบวช<O:p</O:p
    ๒. พระมหาชนก - ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี คือ ความเพียร<O:p</O:p
    ๓. พระสุวรรณสาม –ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี คือ ความรัก ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข<O:p</O:p
    ๔. พระเนมราช – ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจอันแน่วแน่<O:p</O:p
    ๕. พระมโหสถ – ทรงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี คือ ความรอบรู้<O:p</O:p
    ๖. พระภิรทัต – ทรงบำเพ็ญ ศีลบารมี คือ สำรวมกาย วาจา ใจ<O:p</O:p
    ๗. พระจันทกุมาร – ทรงบำเพ็ญ ขันติบารมี คือ ความอดทน<O:p</O:p
    ๘. พระนารทะ -ทรงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี คือ การวางใจเป็นกลาง<O:p</O:p
    ๙. พระวิฑูรบัณฑิต – ทรงบำเพ็ญ สัจจบารมี คือ การรักษาความสัตย์ และความซื่อตรง <O:p

    ในจำนวนเก้าพระชาติ ที่กล่าวมา หาได้บำเพ็ญครบทุกบารมีไม่ เพราะเหตุนี้ ในจำนวนเก้าชาติ ท่านจึงมีชื่อเรียกว่า มหาชาติ แต่ในชาติสุดท้าน ที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรชาดก ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นยอดนักเสียสละของโลกนี้ บารมีทั้งหมดสิบประการมาประชุมสมบูรณ์ในชาตินี้ ท่านจึงเรียกเวสสันดรตอนนี้ว่า มหาชาติ

    ด้วยความเชื่อ อันเป็นพื้นฐานดั่งเดิม มหาชาติเวสสันดรชาดกนี้ เป็นค้มภัร์แห่งมงคล เป็นคัมภีร์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพราะเนื้อความเนื้อหาในท้องเรื่องนั้น มีกระแสความเมตตา การเสียสละ ความช่วยเหลือเจือจุน อยู่ในนั้น สอนให้รู้จักความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มิเห็นแก่ตัว อันจะเป็นเหตุบันดาลให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้น จึงถือว่าผู้ใดได้สดับรับฟังศึกษาเทศน์มหาชาติ ย่อมจะเป็นแนวทางอันจะโน้มไปสู่ความสุข ความเจริญ ถึงกับมีความเลื่อมใส ยึดมั่นว่า แม้จะฟังไม่รู้เรื่อง เช่น ฟังคาถาพันก็จะเกิดเป็นสิริมงคลมากมาย และมักนิยมเอาน้ำพุทธมนต์ นำพรจากพระคาถาที่พระเทศน์มาอาบและประพรมอาคารบ้านเรือน เพื่อหวังให้เกิดความสงบร่มเย็นเป้นสุขแก่สมาชิกในครอบครัว สังคม บ้านเมือง<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    นอกจากนี้ ท่านยังได้พรรณาอานิสงฆ์ ไว้อีก ๖ ประการคือ
    <O:p</O:p
    ๑. เป็นวรรณกรรมชั้นสูง เป็นรัตนกวีของชาติ และของโลกที่ได้รจนาขึ้น<O:p</O:p
    ๒. เป็นแม่แบบของการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข<O:p</O:p
    ๓. เป็นคัมภีร์ที่สอนให้รู้ถึงการแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย (ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) ดุจในกัณฑ์หิมพานต์ และทานกัณฑ์ เป็นต้น)<O:p</O:p
    ๔. สอนให้ผ่อนหนักผ่อนเบา โดยใช้หลักนิติศาสตร์ ควบคู่กับหลักรัฐศาสตร์ รู้จักการประนีประนอม ผ่อนปรน ยามบ้านเมืองเข้าการณ์คับขัน<O:p</O:p
    ๕. สอนให้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่นุ่มนวล มุ่งผูกมิตรกับทำลายความเป็นศัตรูให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ<O:p</O:p
    ๖. สอนการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี มีน้ำใจ เสียสละ ให้อภัย และให้เกียรติกันและกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ฉะนั้น การศึกษารับฟังเรื่องเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตน จำเร็ญรอยตามปฏิปทาพระโพธิสัตว์เวสสันดร นั่นคือบูชาคารวะพระองค์ท่านด้วยความเสียสละ กำจัดความเห็นแก่ตัวให้ลดลงทีละเล็กทีละน้อย จะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีส่วนช่วยให้โลกสันนิวาส คือ สังคมมนุษย์น่าอยู่ น่าอาศัย อบอุ่นขึ้น ดังพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้ว<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04141.JPG
      DSC04141.JPG
      ขนาดไฟล์:
      156.4 KB
      เปิดดู:
      104
    • DSC04159.JPG
      DSC04159.JPG
      ขนาดไฟล์:
      149.4 KB
      เปิดดู:
      122
    • DSC04151.JPG
      DSC04151.JPG
      ขนาดไฟล์:
      147.3 KB
      เปิดดู:
      94
    • DSC04167.JPG
      DSC04167.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145 KB
      เปิดดู:
      107
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG] สาธุ
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สาธุ ทุก ๆท่านค่ะ
    จะพยายามเข้ามา update ข้อมูล หรือเก็บภาพมาเล่าบรรยากาศนะคะ
    เพื่อให้สาธุชนร่วมกันให้ ความสำคัญ วันวิสาขบูชาโลก และ การเทศน์มหาชาติ ค่ะ :)

     
  6. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อนุโมทนาคะ
    ถ้ามีโอกาศจะต้องติดตามมหาเวสสันดรนานาชาติคะ

    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 1
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 2
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 3
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 4
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 5
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 6
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 7
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 8
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 9
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 10
    [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 11
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 12
    [​IMG] [​IMG] เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 13
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สาธุ สาธุการ คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->vilawan ม้าก มากจ้ะ

    ขอบุญแห่งชาติเรา ในฐานะศูนย์กลางพระบวรพระพุทธศาสนา จะได้ส่งพลังคุณงามความดี จรรโลงปฐพีโลกา ดังปณิธานของพระมหาบรรพบุรุษ แต่ท่านที่ทรงให้ความสำคัญกันไว้ นะคะ สาธุค่ะ



    ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมระหว่างพุทธศักราช ๒๑๔๔ -๒๑๗๐ ก็ได้โปรดแต่งกาพย์มหาชาติขึ้นอีกชุดหนึ่งในสมัยที่อยู่ในพระราชนิยมนั้นเจ้านายต่างทรงสนพระทัยเชิดชูบูชามหาชาติผูกขาดสำนวนภาษายอมรับกันว่ามหาชาติคำหลวงเป็นเลิศในด้านไวยากรณ์ศาสตร์ฉัทพฤติ...

    และมีการประดิษฐ์ลีลาสำเนียงการอ่านการเทศกันอย่างวิจิตรไพเราะจนกลายเป็นแบบฉบับเรียกว่าทำนองคำหลวงหรือทำนองหลวงมีการแข่งขันกันในหมู่ของเจ้านายผุ้มีวาสนาแสวงหาพระภิกษุผู้มีเสียงดีมาฝึกหัดและรับเป็นอุฎฐากบำรุงด้วยปัจจัยไทยทานทำให้เกิดมีพระนักเทศน์มหาชาติดีๆเด่นๆกันมากรูปเมื่อถึงฤดูกาลเดือน๑๑ เดือน๑๒ และเดือนอ้าย ก็นิมนต์มาเทศน์แข่งขันแสดงศิลปะทางสำเนียงกันเป็นที่ครึกครื้น แต่ละกัณฑ์ก็มีท่วงทำนองไม่ซ้ำและเป็นลีลาทำนองที่รักษาบุคลิกภาพของตัวละคร และบทบาทเหตุการณ์ในท้องเรื่อง
    <O:p</O:p
    เวสสันดรชาดก เป็นเรื่องใหญ่ยืดยาว ท่านจึงจัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า ทศชาติ แต่อีก ๙ เรื่อง เหตุใดจึงไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดี่ยวว่า มหาชาติข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดประทานอธิบายว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ ประการ คือ
    <O:p</O:p
    ๑)ทานบารมี ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี

    ๒)ศีลทาบารมีทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต

    ๓)เนกขัมมบารมีทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต

    ๔)ปัญญาบารมีทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช

    ๕)วิริยบารมีทรงปฏิบัติธรรมมิได้ย่อหย่อน

    ๖)สัจจบารมี ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามมาให้

    ๗) ขันติบารมีทรงอดทนต่อความยากลำบากต่างๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณที่นั่น แม้เมื่อทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุน พระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้

    ๘)เมตตาบารมี เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์ เพราะเมืองกลิงคราษฏ์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตาประทานให้และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร โดยอ้างว่าตนได้รับความลำบากต่างๆพระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย

    ๙)อุเบกขาบารมีเมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือพระองค์ก็ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว

    ๑๐) อธิษฐานบารมีคือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณเบื้องหน้า แม้จะมีอุปสรรคก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่างๆเพราะตระหนักในน้ำพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์<O:p</O:p
    จึงเรียกกันว่า มหาชาติหมายถึง พระโพธิสัตว์ในกำเนิดพระเวสสันดรได้สร้างแบบของมนุษย์ผู้ก้าวถึงขั้นสูงสุดแห่งการดำเนินในทางวิวัฒนาการอันนำไปสู่ความเต็มเปี่ยมทางจริยธรรมและความรู้เหมาะแก่การข้ามพ้นโอฆะห้วงสุดท้าย ซึ่งจะแยกออกเสียได้จากการเกิดเป็นเทวดาเพราะเหตุนี้กำเนิดสุดท้ายจึงได้นามว่ามหาชาติ<O:p</O:p
    <O:p
    การที่เรียก มหาเวสสันดรชาดกว่า มหาชาตินี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยของเรานิยมเรียก และเป็นที่หมายรู้กันมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี เพราะปรากฏตามศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๓ ที่เรียกว่าจารึก นครชุมซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐ ในสมัยพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่๑) มีกล่าวไว้ว่าธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระพระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลยเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า การมีเทศน์มหาชาตินี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมมีเทศน์กันมานานแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล : เทศน์มหาชาติ และข้าวทิพย์ อนุสรณ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลังศพ พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก) ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ เมรุปราสาทรามัญ วัดอรุณราชวราราม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • mahachat001.jpg
      mahachat001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.9 KB
      เปิดดู:
      301
    • kan00_01.jpg
      kan00_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27 KB
      เปิดดู:
      123
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระประมุขแห่งศาสนา
    ประทานพระ โอวาทวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒ความตอนหนึ่งว่า
    <O:p</O:p


    “ ... เมื่อวันวิสาขบูชามาถึง ควรที่เราจะบูชาและน้อมรำลึกถึง
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้ง พระธรรม และ พระอริยสงฆ์
    เพื่อน้อมนำมาเป็นที่พึ่งของตนเป็นแนวทางในการปฏิบัติดำเนินชีวิต
    เพื่อความสวัสดีและความสงบสุขร่มเย็นแก่เพื่อนร่วมโลกสืบไป...”<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ตั้งใจจะหาเวลา ย่อความแต่ละกัณฑ์มาขยาย หากมาได้มีโอกาสกราบอนุโมทนา สาธุการ
    กระทู้ของพระอาจารย์ อธิมุตโต ได้อย่างเกี่ยวเนื่อง - ขอเชื่อมโยงสายบุญพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

    http://palungjit.org/private.php?do=showpm&pmid=1117707


    สาธุ สาธุ สาธุการค่ะ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...