Share this album with your friends.

ประวัติท้ายน้ำ เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัด ท้ายน้ำเป็นประจำพอ ๆ กันกับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมากราบไห้วหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัด วังตะโก ทางคณะกรรมการวัดจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำ เหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้ง และมอบหมายให้พระครู วัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อ องค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ และต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล โดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอำเภอบางคลาน พระครูวัฏะสัมบัญได้ดำริจัดสร้างรูปหล่อ หลวงพ่อเงินไว้ จนกาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำ การหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัด ท้ายน้ำ ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบท กับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูป หล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมา ถอดพิมพ์ แต่ไม่ได้บอกปีที่สร้าง ได้ไปจ้างช่างทองสุข เป็นนายช่างใหญ่ และตกลงราคากันเป็นเงิน๕๐๐ บาท ช่างทองสุขจึงเดินทางไปวัดวังตะโกเพื่อ ทำการสร้าง พอไปถึงก็ลงมือปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินกันทันที โดยไม่ได้บอกเล่าอะไรต่าง ๆ กับหลวงพ่อ ปรากฏว่าการปั้นหุ่นครั้งที่ 1 ไม่เหมือนรูปเดิม ช่างเลยลบรูปเดิมใหม่ แล้วลงมือปั้นครั้งที่ ๒ ก็ยังไม่เหมือนอีก พอดีคุณโยมผึ่ง (ไม่ทราบนามสกุล) ได้แนะนำนายช่างว่าควรทำอย่างนี้ คือต้องใช้หัวหมู ๓ หัว เครื่องกระยาบวช ๓ สำรับ บายศรีซ้าย และชวา บอกเล่าให้เรียบร้อยเสียก่อน นายช่างทองสุขก็ทำตามที่โยมผึ่งแนะนำทุกประการ การปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินครั้งที่๓ นี้ จึงสำเร็จตามความประสงค์ คือเหมือนรูปเดิมอย่างกับ

Loading...