Album: ฝึกจิตให้มีพลัง

โอวาทธรรม<br /> <br /> ของ<br /> <br /> พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)<br /> <br /> วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ<br /> <br /> <br /> <br /> เรื่อง วิธีฝึกจิตให้มีพลัง<br /> <br /> <br /> (เริ่มทำสมาธิ)<br /> <br /> ต่อไปนี้ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจที่จะทำความสงบกันต่อไป<br /> ในเบื้องต้นนี้อาตมาจะเป็นผู้นำทุกๆ คนให้ว่าตาม<br /> <br /> &quot;ข้าพเจ้าระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์<br /> คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาลให้ใจของข้าพเจ้า<br /> จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ (๓ ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ&quot;<br /> <br /> นี่ก็ให้นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย<br /> มือขวาหงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตานึกพุทโธในใจ<br /> กำหนดใจของเราไว้ที่ใจ<br /> <br /> การทำสมาธิต้องการความเป็นหนึ่ง<br /> ความเป็นหนึ่งเป็นต้นเหตุของการที่จะให้เกิดพลังจิต<br /> พลังจิตนั้นก็คือกระแสธรรม ทำอย่างไรพลังจิตของเราจะเกิดขึ้นได้<br /> <br /> การทำจิตให้เป็นหนึ่งคือการที่จะทำจิตนี้ให้เกิดพลังจิต<br /> พลังจิตนี้ ที่จะเป็นกำลังที่จะทำวิปัสสนาต่อไปในกาลข้างหน้า<br /> แต่การที่จะเป็นหนึ่งได้นั้น ต้องอาศัยคำบริกรรม<br /> คำบริกรรมนั้น อย่างที่เราบริกรรมว่าพุทโธๆ เป็นคำบริกรรม<br /> ผู้ที่นึกพุทโธได้แล้ว ถือว่าจิตนั้น เริ่มที่จะเข้าเป็นหนึ่ง<br /> เมื่อจิตเป็นหนึ่งได้แล้ว พุทโธก็ไม่ต้องนึก<br /> <br /> เมื่อเราไม่นึกพุทโธ แต่ว่าจิตของเราเป็นหนึ่งได้<br /> ก็ถือว่าจิตของเราได้เลื่อนไปอีกขั้นนึง การที่เรากระทำสมาธินั้น<br /> เราจะต้องรู้ว่าเมื่อเวลาทำจิตของเราได้ผลอย่างไร<br /> เราจะต้องทำอย่างนั้นไปเสมอๆ เพราะว่าต่างคนก็ต่างมีนิสสัยวาสนาบารมีต่างกัน<br /> <br /> เมื่อใครจะกำหนดจิตอย่างไรที่เป็นผลเป็นประโยชน์แก่ตนนั้น<br /> เราก็จะต้องกำหนดจิตอย่างนั้น และเมื่อกำหนดจิตอย่างนั้นอยู่ตลอดไป<br /> ความชำนาญเกิดขึ้น ความชำนาญนั้นในภาษาบาลีท่านกล่าวว่า วสี<br /> <br /> <br /> (ความชำนาญในสมาธิ)<br /> <br /> วสี แปลว่า ความชำนาญ<br /> ความชำนาญนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการบำเพ็ญจิต<br /> เหมือนกันกับผู้ที่เขียนหนังสือเกิดความชำนาญ<br /> เค้าย่อมจะต้องเขียนได้อย่างสบาย แม้จะหลับตาเขียนก็ได้ เพราะความชำนาญ<br /> และเขาก็ได้ประโยชน์จากการเขียนนั้น อย่างรวดเร็ว<br /> <br /> ผู้ที่บำเพ็ญจิตก็เช่นเดียวกัน ต้องแสวงหาความชำนาญให้เกิดขึ้น<br /> หรือเรียกว่าแสวงหาวสี การที่เราตั้งจิตนั้น<br /> เมื่อเราตั้งได้อย่างนี้ เราทำอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าถูกต้อง<br /> เพราะความถูกนั้น อยู่ที่จิตเราตั้งได้<br /> เมื่อจิตตั้งได้ ความตั้งของจิตนั้น ถือว่า สติ<br /> <br /> <br /> (สติ)<br /> <br />

ฝึกจิตให้มีพลัง

อัปเดต 19 พฤศจิกายน 2012
There is no photo in this album yet.
ล้อเล่น
โอวาทธรรม

ของ

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)

วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ



เรื่อง วิธีฝึกจิตให้มีพลัง


(เริ่มทำสมาธิ)

ต่อไปนี้ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจที่จะทำความสงบกันต่อไป
ในเบื้องต้นนี้อาตมาจะเป็นผู้นำทุกๆ คนให้ว่าตาม

"ข้าพเจ้าระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาลให้ใจของข้าพเจ้า
จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ (๓ ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ"

นี่ก็ให้นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย
มือขวาหงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตานึกพุทโธในใจ
กำหนดใจของเราไว้ที่ใจ

การทำสมาธิต้องการความเป็นหนึ่ง
ความเป็นหนึ่งเป็นต้นเหตุของการที่จะให้เกิดพลังจิต
พลังจิตนั้นก็คือกระแสธรรม ทำอย่างไรพลังจิตของเราจะเกิดขึ้นได้

การทำจิตให้เป็นหนึ่งคือการที่จะทำจิตนี้ให้เกิดพลังจิต
พลังจิตนี้ ที่จะเป็นกำลังที่จะทำวิปัสสนาต่อไปในกาลข้างหน้า
แต่การที่จะเป็นหนึ่งได้นั้น ต้องอาศัยคำบริกรรม
คำบริกรรมนั้น อย่างที่เราบริกรรมว่าพุทโธๆ เป็นคำบริกรรม
ผู้ที่นึกพุทโธได้แล้ว ถือว่าจิตนั้น เริ่มที่จะเข้าเป็นหนึ่ง
เมื่อจิตเป็นหนึ่งได้แล้ว พุทโธก็ไม่ต้องนึก

เมื่อเราไม่นึกพุทโธ แต่ว่าจิตของเราเป็นหนึ่งได้
ก็ถือว่าจิตของเราได้เลื่อนไปอีกขั้นนึง การที่เรากระทำสมาธินั้น
เราจะต้องรู้ว่าเมื่อเวลาทำจิตของเราได้ผลอย่างไร
เราจะต้องทำอย่างนั้นไปเสมอๆ เพราะว่าต่างคนก็ต่างมีนิสสัยวาสนาบารมีต่างกัน

เมื่อใครจะกำหนดจิตอย่างไรที่เป็นผลเป็นประโยชน์แก่ตนนั้น
เราก็จะต้องกำหนดจิตอย่างนั้น และเมื่อกำหนดจิตอย่างนั้นอยู่ตลอดไป
ความชำนาญเกิดขึ้น ความชำนาญนั้นในภาษาบาลีท่านกล่าวว่า วสี


(ความชำนาญในสมาธิ)

วสี แปลว่า ความชำนาญ
ความชำนาญนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการบำเพ็ญจิต
เหมือนกันกับผู้ที่เขียนหนังสือเกิดความชำนาญ
เค้าย่อมจะต้องเขียนได้อย่างสบาย แม้จะหลับตาเขียนก็ได้ เพราะความชำนาญ
และเขาก็ได้ประโยชน์จากการเขียนนั้น อย่างรวดเร็ว

ผู้ที่บำเพ็ญจิตก็เช่นเดียวกัน ต้องแสวงหาความชำนาญให้เกิดขึ้น
หรือเรียกว่าแสวงหาวสี การที่เราตั้งจิตนั้น
เมื่อเราตั้งได้อย่างนี้ เราทำอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าถูกต้อง
เพราะความถูกนั้น อยู่ที่จิตเราตั้งได้
เมื่อจิตตั้งได้ ความตั้งของจิตนั้น ถือว่า สติ


(สติ)

จัดการ

แชร์หน้านี้

Loading...