Share this photo with your friends.

เนื้อหาหาช่วงแรกคือตำนานสมเด็จเจ้าพระโคะ ตามตำนานกล่าวว่า สมเด็จเจ้าพะโคะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ จากสมเด็จพระธรรมราชา สมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และกล่าวไว้ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะวันศุกร์เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ.2515 บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้ว อยู่ที่บ้านสวน ตำบลชุมพร เมืองจะทิ้งพระ ได้คลอดบุตรชายชื่อปู ตาหูและนางจันทร์เป็นคนยากจนมาก พักอาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่ง วันหนึ่งนางจันทร์อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนาเพื่อเกี่ยวข้าว ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้าทำเป็นเปลให้ลูกนอนแล้วลงไปเกี่ยวข้าว ขณะสองสามีภรรยาเกี่ยวข้าวอยู่ก้อได้มีงูใหญ่ได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เด้กชายปูนอนอยู่ สองสามีภรรยาตกใจร้องขึ้น งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้นแล้วส่งเสียงคำราม จึงไม่มีใครกล้าเข้าใกล้เปล สองสามีภรรยานิ่งไปสักครู่ จึงเกิดความสงสัยว่าว่างูใหญ่น่าจะมาดี เพราะงูใหญ่ไม่ได้ทำร้ายเด็กเลย คิดดังนั้นจึงหารวงข้าวกับดอกไม้มาไหว้งูเพื่อขอให้ลูกน้อยปลอดภัยด้วยการกล่าวคำอธิษฐาน สักครู่หนึ่งงูจึงอันตรธานหายไป ซึงเด็กน้อยก็ปกติ แตปรากฎว่ามีลูกแก้วลูกหนึ่งอยู่ใต้คอลูกกระเดือก มีหลายสี สองสามีภรรยาจึงตกลงที่จะเก็บรักาาไว้ แต่เมื่อความทราบถึงคหบดีผู้มีความโลภ จึงอยากได้ลูกแก้วมาครอง สองสามีภรรยาจึงต้องจำใจมอบให้ แต่เมื่อคหบดีได้รับลูกแก้วก็มีเหตุร้ายต่างๆเกิดขึ้น คหบดีจึงตัดสินใจคืนลูกแก้วให้แก่สามีภรรยาคู่นั้นด้วยเกรงว่าภัยร้ายจะมาถึง หลังจากนั้นคหบดีก็มีชีวิตที่มีความสุข กาลเวลาล่วงมาสามีภรรยยยาได้นำเด็กชายปู ไปถวาย สมภารจวง วัดดีหลวง สามเณรปูมีสติปัญญาที่ฉลาด ไม่นานก็เรียนจบ จึงลาสมภารเพื่อไปเรียนต่อสำนักพระครูกาเดิม และได้อุปสมบทมีฉายาว่า สามีราโมเมื่อเรียนจบพระภิกษุปูได้ลาพระครูกาเดิมเพื่อกลับภูมิลำเนา และหลังจากนั้นได้ขอโดยสาร เรือสำเภาจากนายอินทร์เพื่อไปศึกษาธรรมที่กรุงศรีอยุธยาพระนครหลวง ขณะที่เรือกำลังเดินทางอยู่นั้นได้เกิดพายุสามวันติดต่อกัน หลังจากพายุสงบเรือไม่สามารถแล่นต่อได้ ทุกคนบนเรือไม่มีน้ำดื่ม นายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นร้อนมากและได้โทษตัวการของเรื่องนี้คือพระภิกษุปูู ว่าเป็นต้นเหตุ และได้ไล่พระภิกษุปูลงจากเรือโดยให้นั่งเรือเล็กหมายให้ปลอยไปตามยถากรรม ซึ่งพระภิกษุปูได้แสด

Loading...