Share this photo with your friends.

ผมได้นำพระกรุโบราณ อายุ ๒๓๐ ปีมาบันทึกไว้เพื่ออนุรักษ์ศิลปะพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนจะทราบที่มาที่ไปของพระกรุวัดเชิงท่า จ.นนทบุรีซึ่งปัจจุบันนี้เป็น"วัดร้าง"ไปแล้ว ก็คงต้องเท้าความเพื่ออ้างอิงอายุของวัดเชิงท่านี้ก่อนว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มีน้อยมากครับ... เท่าที่ผมประมวลดูแล้ววัดเชิงท่านี้มี ๔ แห่งด้วยกัน คือ ๑. วัดเชิงท่า จ.พระนครศรีอยุธยา ๒. วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี ๓. วัดเชิงท่า จ.นนทบุรี ๔. วัดเชิงท่า สามโคก จ.ปทุมธานี ดังนั้นคำว่าวัดเชิงท่า ในกระทู้นี้ ผมจะหมายถึง วัดเชิงท่า จ. นนทบุรี เท่านั้น (ต่อไปขอเรียกว่า "วัดเชิงท่า") พญาเจ่ง เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดี ได้นิพนธ์เป็นคำกลอนไว้ว่า "เสร็จศึก สร้างวัด สลัดบาป แสวงบุญ คือวัดเชิงท่าบางตลาด วัดเกาะบางพูด นุสสรณ์บุญ" "นำพล ๓๐๐๐ จากรัฐมอญมาพึ่งพระบารมี เมื่อปี ๒๓๑๘ โปรดให้อยู่ที่ปากเกร็ด สามโคก เป็นนายทัพรบศึก ชราสร้างวัดเชิงท่าก่อนวัดเกาะ มตะปี ๒๓๖๕ อายุ ๘๓ ปี" วัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะรามัญ หรือวัดเกาะบางพูด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ๒๓๑๘ โดยพญาเจ่ง อดีตแม่ทัพมอญผู้พาไพร่พลเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทย ณ ที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อปี ๒๓๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐(รัชกาลที่ ๑) พญาเจ่ง ได้ช่วยไทยรบพม่ามีความดีความชอบมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ ต่อมาบุตรชายคนโต(ทอเรียะ) ก็ได้รับพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธาเช่นกัน ท่านได้สร้างวัดนี้ต่อจากบิดา และถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านเป็นต้นสกุล "คชเสนี" พระอุโบสถวัดเกาะพญาเจ่งเป็นเขตโบราณสถาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรื่องทศชาติชาดก จากบันทึกนี้ทำให้เราทราบว่า วัดเชิงท่าเป็นวัดที่สร้างในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๑๘(หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๘ ปี) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พิจารณาจากการตั้งบ้านเรือนของ ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดังนี้:- ชุมชนเดิมในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากคลองเชียงรากที่บ้านพร้าวผ่านบริเวณตำ

Loading...