กึ่งพุทธกาล..เปิดธรรมโลกุตระ! ไขความลับจักรวาล ไขขปริศนาแห่งธรรมจักร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jityim, 24 พฤษภาคม 2016.

  1. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ธรรมจักรในตนเองของมนุษย์ทั้งสองมิตินั้น หากมันจะหมุนได้อย่างต่อเนื่อง ก็ต้องอาศัยอารมณ์รู้สึกอันสุขสงบ หรือ การอิ่มเอิบอยู่กับความว่าง อารมณ์รู้สึกด้านบวกอย่างต่อเนื่องเท่านั้น

    การเวียนว่ายตายเกิด หรือ ผู้ที่มีกฏแห่งกรรม มีการเกี่ยวกรรมกับผู้อื่น เพราะหมุนกงล้อแห่งธรรมชาติในตนเองไม่เป็น และหมุนมันอย่างไม่ถูกต้อง นอกจากจะก่อผลทางด้านการกระทำแล้ว ยังมีผลต่อมิติพลังงาน ต่อจิตวิญญาณของตนอีกด้วย

    นั่นคือ การหลงมิติ เพราะจิตหยาบไม่เป็นไปตามคุณสมบัติธรรมชาติแห่งตน ด้วยเหตุนี้จิตวิญญาณจึงเสื่อมคลายความบริสุทธิ์แต่เดิมลงไป จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่พ้นออกไปจากระบบโลก เพราะจิตวิญญาณเป็นรูปธรรมพลังงานที่ไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว ซึ่งเกิดจากจิตหยาบของมนุษย์ถ่ายทอดเอาไว้

    จิตวิญญาณรูปใดที่ไม่เป็นสุญญตา ไม่ว่างไปจากคลื่นความถี่ทางอารมณ์ จะไม่สามารถนิพพานได้ จนกว่าจะชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ดังเดิม โดยมี 3 วิธี

    1.ผ่านบททดสอบจิตสำนึกตนเองให้ได้

    2.ผ่านบทเรียนกรรมของตนเองให้ได้

    3.ผ่านบทเรียนโลกให้ได้

    คือ ให้จิตหยาบของตนไม่สั่นสะเทือนสภาวะจิตให้เสียสมดุลไปจากคุณสมบัติเดิมเด็ดขาด

    มนุษย์จะต้องรู้ว่า ในสภาวะจิตที่สั่นสะเทือนเป็นปกติในยามปกติ คือ จิตมีความสุขและสงบเป็นอารมณ์สูงสุดด้านบวก ยิ่งคลื่นความถี่สูงด้านบวกสูงมาก ทุกคนจึงเข้าใจว่า ตนเองรู้สึกเฉย ๆ เสมือนว่าไปจากอารมณ์รู้สึกทั้งหลายทั้งปวง อันเป็นการคิดเข้าใจที่ไม่ถูกต้องโดยแท้

    การที่ต้องวางเฉยต่อสิ่งใดเรื่องใดที่ตนรับรู้มันอยู่ในขณะนั้นให้จงได้ ซึ่งหมายถึง จิตที่เป็นอุเบกขา คือ การรับรู้แต่ไม่รับเอาแต่อย่างใด เพื่อให้ธรรมชาติของจิตตนเองมิให้ลดทอนลงเพราะถูกรบกวนให้จงได้

    เครื่องมือชิ้นสำคัญ เพื่อค้ำจุนสภาวะจิตตนเองมิให้ถูกรบกวนด้วยเงื่อนไขสิ่งเร้าทังหลายจนทำให้สภาวะจิตเสียสมดุลจากเดิมไปโดยง่าย ก็คือ การเป็นผู้มีสติอย่างมั่นคง

    เพราะว่า "สติ" คือ เครื่องค้ำจุนสภาวะจิตของมนุษย์ที่แท้จริง


    การวางจิตเป็นอุเบกขาเช่นนี้ กเืพื่อที่จะหมนุกงล้อแห่งธรรมชาติ หรือ ธรรมจักรของตนเองให้หมุนรุดหน้าเข้าหาจุดศูนย์กลาง มิให้เกิดสะดุดหรือหยุดลงเสียกลางคัน นั่นเอง

    หากหมุนกงล้อธรรมจักรได้อย่างถูกต้อง และหมุนเป็นแล้ว ต้องหาทางสั่นสะเทือนอารมณ์สูงสุดด้านบวกให้จงได้อีกด้วย เพราะพลังด้านบวกสูงสุดของจิตนี่เอง ที่มันจะสามารถก่อให้เกิดแรงเหวี่ยงสูงสุดสู่มิติแห่งการใช้สติปัญญาของจิตวิญญาณ ที่เร้นอยู่ข้างในสุด เสมือนอยู่ตรงจุดศูนย์กางของกงล้อธรรมจักร หรือ ที่เรียกว่า ดุมล้อก็ได้

    การหมุนธรรมจักรไม่เป็น หมายถึง การสั่นสะเทือนของจิตหยาบที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา ในการดำรงชีวิตประจำวัน เข้าจุดศูนย์กลางธรรมจักร คือ เป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาณไม่ได้

    การหมุนธรรมจักรไม่ถูกต้อง จึงเป็นการหมุน "กรรมจักร"แทน เพราะ... พฤติกรรมทางอารมณ์ในชีวิตประจำวัน มิได้ใช้สติปัญญาหรือปัญญาญาณ กรั่นกรองให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ หรือ กระทำพฤติกรรมนั้นเลย ล้วนเป็นเงือนไขด้านลบที่จะนำไปสู่การทำลายความสุขและความสงบในจิตใจของมนุษย์คนอื่้นได้เสมอ ในที่สุดการโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทต่อกัน ยังผลให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด หรือ การมีภพชาติจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยไม่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    เปล่าค่ะ มนุษย์ไม่ได้กลายพันธ์มาจากต้นไม้

    มนุษย์และต้นไม้แตกต่างกันตรงที่....

    มนุษย์มีจิตวิญญาณ มีชีวิต จิตใจ ที่มีอิสระเสรีในการตัดสินใจในทุกการกระทำ สามารถเลือกที่จะตัดสินใจอะไรได้ด้วยตนเอง ตัดสินใจผิดก็ตัดสินใจใหม่ให้ถูกต้องได้ และมนุษย์สามารถโต้ตอบกับจักรวาลได้ มนุษย์สามารถทำตนเองให้ถึงบรมสุขคือ นิพพานได้

    แต่ต้นไม้ เป็นเพียงรูปธรรมทางพลังงานหนึ่งที่มาทำหน้าที่คล้ายกับมนุษย์ที่มอบความรักให้แก่มนุษย์ และโลก ให้อากาศ ให้ลมหายใจที่บริสุทธิ์ ให้บรรยากาศที่งดงาม ต้นไม้จะทำหน้าที่ของตนเองอย่างนั้น ตั้งแต่เกิดจนตายจนกว่าจะหมดเหตุและปัจจัยการดำรงอยู่ของเขา จึงจะเสื่อมสลายไป

    ยกเว้นมนุษย์ไปตัดไม้ทำลายเขา ก็เท่ากับว่าทำลายตนเอง เพราะได้ทำลายสิ่งที่ช่วยเหลือมนุษย์ให่อยู่กับโลกได้อย่างมีความสุข มนุษย์ทำลายต้นไม้เท่ากับว่ากำลังทำลายตนเองไปทีละน้อย ๆ ๆ ๆ เหมือนปลวกนะค่ะที่กัดกินที่อยู่อาศัยของตน

    ทำไมทุกคนจึงรักธรรมชาติ เมื่ออยู่ท่ามกลางต้นไม้ แมกไม้ สายน้ำที่บริสุทธิ์เรารู้สึกอบอุ่นและปลดภัย เพราะเรากับธรรมชาติไม่แตกต่างกันเลย มนุษย์จึงใช้อำนาจที่เหนือกว่า กระทำผิดสัจจะ ผลจึงเป็นอย่างที่เห็นนะค่ะ

    ธรรมชาติ ต้นไม้ สายลม แสงแดด สร้างสวรรค์บนดินให้กับเรา คนไม่เข้าใจว่าธรรมชาติ ต้นไม้ คือ ลมหายใจของทุกคนค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำ และความรู้ที่เป็นประโยชน์ค่ะ

    ธรรมชาติ คงอันอาจหมายถึง ธรรมชาติของจิตเดิมแท้ประภัสสสร ที่มีความสุขสงบอิ่มเอิบอย่างยิ่งยวดนะคะ

    เมื่อจิตเสียความเป็นประภัสสร ธรรมชาติของจิตเดิม ก็เลยทำให้จิตผิดปกติไป เหมือนกิเลสจรมาชั่วคราวนะค่ะ

    ก็คือว่า ที่สุขของที่สุดแล้ว ก็คือ ความเป็นธรรมดา ที่มีแต่ความว่าง ความสุขสงบอย่างยิ่ง ที่เหมือนว่าว่างเปล่า แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ความว่างเปล่าเสียทีเดียว แต่ยังเป็นความว่างที่บริสุทธิ์งดงาม ที่เปรียบเหมือนกับคำว่า ความมีที่เหมือนไม่มีนะค่ะ และ ความบริสุทธิ์หมดจดงดงามที่ว่านั้น ก็มีอยู่แล้วภายในจิตใจของทุกคน เหมือนอย่างที่คุณ หรัส บอกไว้นะคะว่า ให้เริ่มจากภายในนำออกมาสู่ภายนอก โดยใช้ใจเป็นตัวสื่อ...

    ขอบคุณค่ะ..สำหรับความคิดดี ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016
  4. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +3,394
    มนุษย์รู้สึกมี 3 เผ่าพันธุ์นะตอนนี้ มีกลายพันธุ์จากลิง สองจากป่าอำมหิด สามพระเจ้าสร้างจากผงคลีดิน แต่มักจะถูกสกัดซะก่อน เพื่อปล่อยให้เป็นไปตามกรรม เมื่อศาสนาพุทธถูกรังแกจึงเป็นฉะนี้แหละโลกบวมๆ บ๊องๆ เขาก็เอาไปทำเป็นเกมกดให้เด็กๆ เล่นมาปราบ
     
  5. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    เรามาหาความหมายแท้จริงแล้ว.....นี้กันค่ะ พระพุทธองค์ตรัสไว้....คืออะไร

    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด
    ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ
    เหล่านี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม
    หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ
    ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
    บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวด และ
    ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็น
    อย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหิน
    บ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ดังนี้ ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
    จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
    ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
     
  6. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูตรูป
    ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน

    ฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.

    ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
    [๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
    ธรรมชาตินี้.

    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
    เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    การปฏิสนธิวิญญาณ..ทำไม?

    เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้

    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เนี่ยๆๆๆๆๆ?อันนี้....มันไม่สมควรเป็นสิ่งที่แกควรเอามาพูด...มันต้องเป็นคำพูดของพระ..เขา...ไอ้คำว่า กิจที่ควรทำเสร็จแล้วเนี่ย....

    ก็บอกแล้วไง...อย่ามั่วนิ่ม..เลียนแบบพระ...(เพราะแกจิตยิ้ม(ควายยิ้มน่าจะเหมาะกว่า)แกมันไม่ไช่พระ...)
     
  9. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    กิจแปลว่าหน้าที่หรือเปล่าค่ะ

    ถ้าหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ หน้าที่ของความเป็นคน คือ การกระทำความดีงาม ที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อโลก

    หน้าที่ของการมนุษย์ทุกคนจึงเป็น กิจ....

    ส่วนจบพรหมจรรย์แล้ว เป็นสิ่งสูงสุดที่ใช้กับพระที่บรรลุหน้าที่สมบูรณ์ คือ พระอรหันต์ บรรลุมรรคผลนิพพาน...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    นี่ก็อีก...แม่ คำๆนี้หมดหน้าที่เมื่อหมดลม....นี่ก็ไม่สมควรยกมาพูด เพราะแกยังไม่ได้เคยเป็นแม่คนมาเลย...(สามมียังไม่มีปัญญาจะหาเลย)

    ดังนั้น ตราบใดที่แกยังไม่ได้เป็นแม่คน...อย่ายกคำพูดของความเป็นแม่ ..คน...มาพูดเลย...(มันหลอกลวงตนเองและหลอกลวงคนอื่น..บาป นะ)
     
  11. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ท่าน gratrypa กดไม่เห็นด้วยเรื่องไหนค่ะ พอที่จะแนะได้ไหมค่ะ

    ถ้าในปฏิจจสุมปบาท...ในพระไตรปิฏกกล่าวไว้

    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย___วิญญาณจึงมี
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย___นามรูปจึงมี
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย___สฬายตนะจึงมี
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย___ผัสสะจึงมี
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย___เวทนาจึงมี
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย___ตัณหาจึงมี
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย___อุปาทานจึงมี
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย___ภพจึงมี
    เพราะภพเป็นปัจจัย___ชาติจึงมี
    เพราะชาติเป็นปัจจัย___ชรา มรณะ โสกะ(ความโศก) ปริเทวะ
    (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
    โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
    (ความคับแค้นใจ) จึงมี
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้’

    ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
    นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
    ‘เมื่อวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)มี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป
    จึงมี’

    จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
    วิญญาณจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
    ‘เมื่อนามรูปมี วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘๑
    [๕๘] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมหมุนกลับมาจากนามรูป
    เท่านั้น ไม่เลยไปกว่านั้น เพราะความหมุนกลับเพียงแค่นี้
    สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง
    แก่บ้าง ตายบ้าง จุติบ้าง อุบัติบ้าง


    ส่วน..อวิชชามี สังขารจึงมี ที่เหตุแก่กันและกันไม่ได้นำมากล่าว
    เพราะอรรถกถากล่าวไว้ว่า..
    แต่การรู้แจ้งนี้ ไม่ต้องอาศัยความสืบต่อแห่งอวิชชาและสังขารซึ่งเป็นอดีตภพ เพราะมหาบุรุษ (พระโพธิสัตว์) อยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน
     
  12. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,285
    ค่าพลัง:
    +1,506
    เขียน ๑๙.๓๓

    อ้าว..ใครไปกดให้ตั้งกะเมื่อไหร่ล่ะเนี่ย ไม่เห็นรู้เรื่องเลยครับ
    แต่ก็นะ..ไม่รู้ว่าใครคงฝากงานมาน่ะ ว่า พอที่จะแนะได้ไหมคะ
    ก็ได้นะ ขอมาก็จัดให้ ไม่รู้เหมือนกัน ว่าจะพิมพ์อะไรออกมาบ้าง

    ๕๕๕


    อืม...เริ่มตรงไหนดีหว่า
    การปฏิสนธิวิญญาน..ทำไม
    นั่นสิ...ทำไม ปฏิสนธิวิญญาน

    ความรู้ในจิต เรื่องปฏิจจะ ในส่วนวิญญาน
    เราหยุดไว้ แค่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
    ไม่ได้ไปถึงการดับรูป ดับนาม
    เอาแค่ดับทุกข์ได้ ก็พอ
    ดับวิญญาน ไม่ปรุง
    ดับทุกข์ได้ จบ
    แค่นี้มั้ง นะ


    สมาคมพุทธะซาเปี้ยน / กระต่ายป่า แห่งเกาะนาฬิเกร์

    .
     
  13. Ezali

    Ezali สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    ตรงไปตรงนี้เป็นบล็อกที่ดีในการขอบคุณเว็บไซต์นี้ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่ฉันรักบล็อกนี้ยังคง ...

    voyance gratuite
     
  14. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ในการดำเนินชีวิตเป็นสังคมมนุษย์ดาวเคราะห์โลกดวงนี้ จิตวิญญาณทุกรูปธรรมล้วนมีปัญญหาและอุปสรรคอย่างมาก ในการนำตนเองเข้าถึงการบรรลุหน้าที่สัจจะตามพันธสัญญา 6 ด้วยเหตุไม่อาจสื่อสารโดยตรงเพื่อบอบความจริงให้จิตใจหรือจิตนอกของตนได้รู้ว่า

    1.ตนเป็นใคร?
    2.ตนมาจากไหน?
    3.ตนต้องการอะไร?


    สิ่งที่สำคัญที่สุดจิตวิญญาณผู้เดินทางมาปฏิสนธิทางวิญญาณ ร่วมกันกับร่างกายอันเกิดจากธาตุดินน้ำไฟลม ซึ่งมีจิตใจเป็นผู้ค่วคุมดูแลกลไกของของร่างกายนี้ ที่ถูกสร้างในจักรวาลโลก เพื่อรองรับการเดินทางมาปฏิสนธิหน้าที่ของจิตวิญญาณ จิตใจผู้มีหน้าที่สำคัญต้องรู้ดังนี้...

    1.จิตวิญญาณคือแก่นแท้ผู้มาทำหน้ที่บนดาวเคราะห์โลก โดยมีร่างกายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้โดยตรง

    2.จิตใจต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตาม ด้วยการแสดงบทบาทต่าง ๆ ไปตามที่จิตวิญญาณพึงประสงค์เท่านั้น โดยไม่แสดงพฤติกรรมใด ๆ ไปตามคุณสมบัติของตนเองโดยพละการ

    3.จิตวิญญาณเอง ได้มอบอำนาจหน้าที่ให้จิตใจ แสดงบทบาทต่าง ๆ แทนตนในทุกเรื่องราว หากจิตใจกระทำผิด จิตวิญญาณผู้รับมอบอำนาจให็ก็ย่อมได้รับผลแหงความผิดจากการกระทำนั้น ๆ ด้วยเสมอ

    4.ถ้าจิตใจจะทำหน้าที่แทนจิตวิญญาณได้อย่างสมภาคภูมินั้น จะต้องสั่นสะเทือนทางอารมณ์รู้สึกด้านบวกด้วยจิตสำนึกด้านบวกอันเกิดจาก "ความรัก" แต่เพียงอย่างเดียวอารมณ์เดียวเท่านั้น อารมณ์หยาบ ๆ รายวันแบบอื่นไม่ใช่คุณสมบัติของจิตวิญญาณแต่อย่างใด

    ความรักที่แท้จริง คือ ความรักที่นำไปสู่พฤติกรรมแห่งการ"ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนเท่านั้น"

    5.ให้จิตใจชำระตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ มีความใสสว่างปราศจากประจุลบอันเกิดจากกิเลสกรรมทั้งหลายทั้งมวล ด้วยการสั่นสะเทือนทางด้านบวกอย่างเดียวตลอดเวลา

    6.ให้จิตใจหยุดการก่อกรรมให้เกิดผลกรรม เป็นพันธะทางวิญญาณกับคนอื่นผู้อื่นให้ได้ แต่ยินยอมพร้อมใจที่จะชดใช้กรรมทั้งหลายอย่างมุ่งมั่นด้วยความมีสติเสมอ

    แต่น่าเสียดายจิตใจไม่อาจรับรู้ความต้องการที่แท้จริงของจิตวิญญาณ ผู้เป็นแก่นแท้ของตนได้ จากจะช่วยเหลือจิตวิญญาณ ทำให้จิตใจมีสำนึกที่ถูกต้องในความจริงที่แท้ที่ว่านี้ เป็นเรื่องที่กว่าจะสร้างสำนึกให้ใครสักคนหนึ่งนั้นยากแสนยากจริง ๆ เพราะจิตใจมนุษย์เต็มไปด้วยความดื้อรั้นเต็มไปด้วยความงมงายเพราะความไม่รู้ เต็มไปด้วยกองกิเลสตัณหา เต็มไปด้วยการยึดติดอยู่แต่ด้านมายาตัวตนเพราะหลงมิติทางจิต และเต็มไปด้วยความเกรียจคร้านนานา จนทำให้จิตวิญญาณผู้เป็นแก่นแท้ ต้องพลอยรับทุกขเวทนาเพราะต้องรับเอาสภาวะหลงมิติแห่งจิต รับเอากองกิเลสตัณหา รับมาซึ่งความงมงายและอะไรที่ไม่ดีที่จิตใจตนเป็นผู้ก่อไว้ในภพชาตินั้น ๆ จนหาทางทำหน้าที่แท้จริงของจิตวิญญาณกันไม่ได้เลย เพราะอาการหลงมิติทางจิต และการถูกกำหนดไว้มิให้ล่วงรู้ความจริงที่เป็นเบื้องหลังของตน คือ เหตุผลของการกระทำผิดทั้งหลายเพราะความไม่ล่วงรู้นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (23).jpg
      images (23).jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.4 KB
      เปิดดู:
      55
    • images (35).jpg
      images (35).jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.3 KB
      เปิดดู:
      117
    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.4 KB
      เปิดดู:
      167
    • images (48).jpg
      images (48).jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.6 KB
      เปิดดู:
      44
    • images (49).jpg
      images (49).jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.3 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2016
  15. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    เรื่อง จิต และ ใจ จักรวาลกล่าวไว้ว่า...(ในกระทู้..ทางที่ต้องเลือกเดินในจักรวาลแห่งความรัก)

    คำว่า ร่างกายในศาสตร์จักรวาล หมายถึง กลไกที่สามารถก่อให้เกิดการกระทำทั้งทางกาย และ วาจา โดย มีใจ เป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำ

    กระบวนการของใจ ก็คือ จิต ที่สะสมข้อมูลและอารมณ์ต่าง ๆ มาจากทุกภพชาติ

    และกระบวนการของใจนี่เอง ที่สร้างอารมณ์ขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบจิตใจของมนุษย์

    จักรวาลถือเอาจิตสำนึกของมนุษย์เข้าไว้ในระบบเดียวกัน เนื่องจากจิตสำนึกของมนุษย์ คือ สมอง ที่มี จิตใจ ของแต่ละคนเป็นตัวควบคุมกระบวนการทำงานของสมองนั้นเอง

    สมองจึงถูกจัดแบ่งไว้สองซีก คือ ซีกที่มีความชำนาญในการสร้างความคิดความรู้สึก และกระบวนทางการอารมณ์เป็นอัตโนมัติ(ซ้าย) และ อีกส่วน(ขวา)มีหน้าที่ในการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความสมดุลในการคิดรู้แบบอัตโนมัติของสมองซีกซ้าย แต่มนุษย์ต้องรู้จักกดปุ่มใช้มันเท่านั้น จึงจะสามารถพบพลังมหัศจรรย์สร้างพลังอำนาจให้ตนเองได้ ที่ทำให้สามรถโต้ตอบกับจักรวาลได้ มันคือสมองอัจฉริยะที่สามารถจะแสดงพลังอำนาจในการคิดรู้สร้างความสัมพันธ์กับจักรวาลได้ ความรู้ใด ๆ แม้ในสิ่งที่เกินสติปัญญาของตนได้โดยผ่านสัมผัสที่หก (six sent)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    กับคำถามที่่ว่า...แล้วปัญญาญาณของเราหายไปไหน?

    ปัญญาญาณแท้ที่จริงแล้วมันมิได้หายไปไหน มันยังเป็นพลังอำนาจสูงสุดที่เร้นอยู่ภายในร่างกายนี่เอง ที่เสมือนว่าหายไปเพราะว่าไม่นำมันออกมาแสดงได้ดังเดิมต่างหาก ที่นำมาแสดงอย่างเดิมไม่ได้เพราะว่าจิตหยาบ สั่นสะเทือนด้านลบตลอดเวลา จิตหยาบเฝ้าแต่คอยถามหาแต่ตัวตนตลอดเวลา ประตูมิติแห่งปัญญาญาณถึงแม้จะเปิดอ้าอยู่จึงเหมือนถูกปิดอยู่มิปาน

    การสั่นสะเทือนเป็นด้านลบของจิตหยาบ ก็คือ การแสดงออกทางอารมณ์รู้สึกที่เป็นกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวง และตัวกิเลสตัณหาก็มีที่มาจากการยึดติดหลงไหลในตัวตนของสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นมายาในโลกนัั่นเอง

    เมื่อควบคุมจิตหยาบตนเองไม่ให้ตกเป็นทาสกิเลสตัณหา หรือไม่ตกเป็นทาสทางอารมณ์ได้เมื่อใด ย่อมเท่ากับว่าได้นำตนเองไปยืนอยู่เบื้องหน้าประตูมิติแห่งปัญญาญาณเรียบร้อยแล้ว

    แล้วจิตหยาบ คือ อะไร

    หากจะให้เข้าใจถ่องแท้เรื่องการหมุนกงล้อแห่งธรรมชาติ การเหวี่ยงหมุนธรรมจักร มนุษย์จะต้องเหวี่ยงหมุนตาทั้ง 6 ที่อยู่รอบนอกม้วนเข้าหาจุดศูนย์กลาง โดยผ่านตามี่สามซึ่งอยู่ถัดเข้าไปข้างใน แล้วเหวี่ยงหมุนมันต่อไปจนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของกงล้อแห่งธรรมชาติหรือดุมล้อมในที่สุด

    "สัตว์ตัวหนึ่งหน้าเหมือนโค สัตว์ตัวหนึ่งหน้าเหมือนมนุษย์ ตัวหนึ่งหน้าเหมือนสิงห์ และอีกตัวหนึ่งหน้าเหมือนนกอินทรีกำลังบิน สัตว์ทั้งสี่ มีหกปีก มีตาทั้งรอบนอกและข้างใน

    "ตารอบนอก" คือ อายตนะทั้ง 6 อันเป็นกลไกอวัยวะประสาท ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และจิตหยาบ หรือ จิตมนุษย์ที่สามารถนึกเอง คิดเองได้ รวมเป็น 6 ช่องทาง

    ส่วน "ตาข้างใน" หมายถึง "ตาที่สาม" อันเป็นดวงตาของจิตวิญญาณ ในมิติแก่นแท้

    เมื่อมนุษย์สัมผัสรู้ดูเห็นสิ่งใด เรื่องใดก็ตาม ด้วยกลไกอายตนะทั้ง 5 มันจะถ่ายทอดข้อมูลสัมผัสรู้ดูเห็นไปยัง ตาที่สาม เป็นดวงตาที่ทำหน้าที่แทนจิตวิญญาณทีเร้นอยู่ข้างในอีกทอดหนึ่ง

    ตรงตาที่สามนี่เอง เมื่อได้รับข้อมูลผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น หรือ กายสัมผัสแล้วก็จะเกิดการสั่นสะเทือนเป็น การรับรู้ เพื่อให้คำตอบว่า

    สิ่งที่รับรู้อยู่ คือ อะไร

    ลำพังแค่เพียงเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้กลิ่นด้วยจมูก รับรสด้วยลิ้น หรือสัมผัสด้วยผิวกาย มนุษย์จะไม่สามารถบอกได้เลยว่าอะไรเป็นอะไร แต่ที่สามารถบอกได้...เพราะอาศัยคุณสมบัติพิเศษของตาที่สาม ซึ่งมนุษย์เรียกกันว่า จิตหยาบ นี่เอง

    และจิตหยาบ หรือจิตมนุษย์ ก็คือ จิตใจ

    ที่ตนเองเข้าใจว่าก็คือ ผู้รู้ วิญญาณขันธ์ หนึ่งในขันธ์ห้าทางพระพุทธศาสนานั่นเองค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    เพราะการที่จิตหลงมิติมายาว่าคือแก่นแท้นั่นแหละคือตัวการสำคัญ...

    เพราะความเชื่อมันกลไกประสาทสัมผัสที่คุ้นเคยกับมันดี จนรู้สึกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์จนแยกไม่ออก จึงมีความเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งที่ได้รับสัมผัสนั้นเป็นความจริงที่จริงแท้

    เชื่อมั่นในตนเองและมั่นใจในสิ่งที่เจ้าสัมผัสรับรู้ได้ว่า มันคือความจริง มันเป็นของจริง มันมีอยู่จริง รู้หรือไม่ว่ากำลังสร้าง ความมีตัวน ให้กับสิ่งนั้น ๆ ไปพร้อมกันด้วย

    ความีตัวตนในทุกสิ่ง จะปรากฏการณ์ สถานการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ความคิดรู้สึกจินตนาการ เมื่อสัมผัสแล้วแทนที่จะหยุดไว้แค่นั้น กลับสอนจิตตนเองให้มันเกิดการสั่นสะเทือนเป็นความรู้สึกที่มีต่อตัวตนหรือมายาเหล่านั้นอย่างหลากหลาย เช่น...

    สัมผัสมันแล้วชอบหรือพอใจก็มี ไม่ชอบหรือไม่พึงพอใจเอาเสียเลยก็มี

    เมื่อชอบหรือพอใจก็เกิดความรู้สึก "อยากได้" ไม่ชอบ หรือ ไม่พอใจก็เกิดความรู้สึก "ไม่อยากได้"

    ถ้าเผื่อยังบอกตนเองไม่ได้ว่าชอบหรือ ไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ ก็จะเกิดอาการลังเลสังสัยสับสนขึ้นมาทันที


    รู้หรือไม่ว่ากระบวนการทางจิตที่กล่าวมาทั้งหมด...มันคือการปรุงแต่งความมีตัวตนของสรรพสิ่งใด ๆจนนำไปสู่ "การยึดติด" สิ่งนั้น ๆ ของมนุษย์

    ความชอบไม่ชอบ กับความพอใจไม่พอใจ คือ สิ่งที่เรียกว่า "กิเลส"

    ความอยากและความไม่อยาก คือ สิ่งที่เรียกว่า "ตัณหา"

    ตัณหา คือ การนำเอากิเลสที่สั่นสะเทือนอยู่ในสภาวะจิตออกมาแสดงเป็นรูปธรรม ซึ่งหมายถึง "อารมณ์" แบบต่าง ๆ นั้นเอง


    อารมณ์อันหลากหลายที่แสดงออกอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นการตอบสนอง"ตัวตน"ทั้งหลาย ที่อารมณ์แสดงการ "ยึดติด" สรรพสิ่งทั้งหลายที่ปรุงแต่งมันขึ้นมาเท่านั้นเอง

    ความเป็นตัวฉันตัวเธอและตัวมันจึงเกิดขึ้น พร้อมกับการมีของฉัน ของเธอและของมันอีกต่างหาก

    นี้คือ กับดัก ที่ กักของตนเอง เพราะอาการทางจิตเหล่านี้แสดงออกในมิติแห่งตัวตนด้านเดียวเท่านั้น.....
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ๒. มหานิทานสูตร
    ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่

    ปฏิจจสมุปบาท๑

    เพราะอาศัยเวทนา___ตัณหาจึงมี
    เพราะอาศัยตัณหา___ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงมี
    เพราะอาศัยปริเยสนา___ลาภะ (การได้) จึงมี
    เพราะอาศัยลาภะ___วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงมี
    เพราะอาศัยวินิจฉยะ___ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
    ความพอใจ) จึงมี
    เพราะอาศัยฉันทราคะ___อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงมี
    เพราะอาศัยอัชโฌสานะ___ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงมี
    เพราะอาศัยปริคคหะ___มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงมี
    เพราะอาศัยมัจฉริยะ___อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงมี
    เพราะอารักขะเป็นเหตุ___บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิด
    ขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา
    การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
    การพูดขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ การพูด
    ส่อเสียด และการพูดเท็จ


    ๑๑๓] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
    เธอพึงทราบเหตุผลที่ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าผัสสะ คือ จักขุ-
    สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัสไม่ได้มีแก่
    ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับไป
    เวทนาจะปรากฏได้หรือ”

    ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ปรากฏไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด
    และปัจจัยแห่งเวทนา ก็คือผัสสะนั่นเอง
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร]

    [๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
    กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมีความ
    เห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
    ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๖๒ อย่าง ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นเหตุ


    [๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
    กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
    ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
    อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๖๒ อย่าง เป็นไปไม่ได้เลยที่
    พวกเขาเว้นจากผัสสะแล้วจะยังรู้สึกได้
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คุณว่าให้ผมหรือครับ
    แกว่าให้ชั้นหรือวะ
    มึงว่าให้กูหรือไง
    ...
    อิอิ....บางที..อาจไม่ต้องกล่าวโทษคนส่ง.ก็ได้นะ.ถ้าคนรับ.....เป็นคนดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...