พบพระพุทธเจ้า ถามเฉพาะ คนที่ได้พบนะครับ คนที่เข้ามาแนะนำอะไรไม่ต้องเข้ามานะครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รักษ์11, 28 สิงหาคม 2016.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าแจ้งว่า ความบริสุทธิ์หมดจดดับสนิทไม่มีส่วนเหลือกับพระพุทธเจ้าก็คืออันหนึ่งอันเดียวกันนั่นเอง ก็จบ กราบพระพุทธเจ้าได้ตลอดเวลา ไม่ต้องถามใครอีก
     
  2. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    ก่อนจะปรินิพพาน 3 เดือน ที่กุสินารา

    พระพุทธเจ้า ได้ปลงสังขาร ก็คือรู้วันตายนั้นเอง พูดตามภาษาบ้านๆนะ

    รู้และก็กำหนดว่าพระองค์จะละสังขารเมื่อไหร่ พระองค์ก็ได้บอกกับพระอานนท์

    ผู้ที่เป็นพระอุปฐาก พระพุทธเจ้า ถามพระอานนท์ว่า

    "อานนท์ ดูก่อน เกวียว ถ้าเก่ามากๆจนมันพังแล้ว เธอจะซ่อม หรือ ทิ้ง

    เพื่อหาเกวียนเล่มใหม่ดี "

    พระอานนท์ตอบว่า "ทิ้ง ดีกว่า พระพุทธเจ้าข้า" เมื่อพระอานนท์ ตอบไปเช่นนี้แล้ว

    พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัส ตอบ พระอุปฐากว่า "อานนนท์ ดูก่อน นับจากนี้ไป

    อีก3 เดือน คถาคต จะปรินิพพาน ที่กุสินารา " พอตรัสเสร็จ เกิดเหตุอัศจรรย์

    แผ่นดินไหว ฯล...


    อานนท์ ถามว่า เมื่อ พระองค์ ทรงสิ้น เสียแล้ว

    ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว

    "พุทธบริษัท จะ เอาอะไรเป็นที่พึ่งได้ละ พระพุทธเจ้าข้า"

    พระพุทธเจ้า "ตรัสว่า อานนท์ ดูก่อน"

    "ธรรมของคถาคตจะนี่แหละจะเป็นที่พึ่ง ของบรรดาสาวก"

    ทำไมพระพุทธเจ้า ไม่ตรัสเพียงเท่านี้แล้วก็จบ

    หรือตรัสว่า ถ้าใครมีธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว หรือได้บรรลุธรรมแล้ว จะพ้นทุกข์

    ไม่ต้องอะไรกันอีกแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว จบแล้ว สบายแล้ว ว่างหมดแล้ว


    แต่พระพุทธเจ้าตอบพระอานนท์ในกรณีนะ กรณีที่ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีพระองค์แล้ว

    เมื่อพระองค์ ได้ละสังขารแล้ว อะไรจะเป็นที่พึ่งได้สำหรับผู้ที่เป็นสาวก

    แต่พระพุทธองค์ ไม่จบ แค่เพียงว่า ไห้บรรดาพุทธบริษัท ทั้งหลาย ไห้เอาพระธรรม

    เป็นที่พึ่ง

    แต่ พระพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสต่อไปอีกว่า "อานนท์ ดูก่อน ธรรมจะเป็นที่พึ่ง

    แก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเราคถาคต"

    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราคถาคต"

    อ่านพุทธพจน์ แล้วขีดเส้นใต้ใว้เลยว่า

    "พระพุทธเจ้า ตรัสหนึ่ง ไม่มีสอง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นแบบนี้"

    ไม่ต้องแปล ไม่ต้องอธิบาย มีความหมายเดียว

    พอแปล นัยยะมันจะเปลี่ยน หรือมันจะเป็นสองทันที ซึ้งไม่ใช่ พุทวจน

    พุทวจน เป็นหนึ่ง เท่านั้น

    พออุปามา อุปไมย จะเป็น ความคิดเห็นส่วนตัว ของแต่ละบุคคลไป

    ไม่ต้องไปแปล เพิ่มเติม เสริม ความหมาย

    ชัดดีอยู่แล้ว ให้เข้าใจตามนั้น

    เมื่อเป็นดังนี้ ก็จะเป็นไปตาม พุทธดำรัส ที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า

    พระพุทธเจ้า ตรัสอย่างไร เป็นอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กันยายน 2016
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    พระธรรมคำสอนทั้งหลายก็ออกมาจากความบริสุทธิ์หมดจด ความว่างนั่นแหละ ว่างเปล่าจากความยึดถือทั้งปวง ที่เดียวกัน เพราะว่างเปล่าจากความยึดถือโดยสิ้นเชิง เพราะตรัสรู้ธรรมโดยชอบ จึงได้ชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากยังไม่ทรงตรัสรู้ธรรมก็ยังไม่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นผู้ใดเห็นธรรมจริงจึงย่อมจะต้องเห็นพระพุทธเจ้าด้วย พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง การประพฤติปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นเป็นไปได้จริง ความบริสุทธิ์หมดจดมีจริงดังนี้เอง
     
  4. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    เคยเจอผีมั้ย
    เคยไปนรกไปดูสัตว์นรกมั้ย
    เคยไปสวรรค์ไปดูวิมาน เทพเทวา นางฟ้ามั้ย
    เคยไปดูพรหมโลกมั้ย
    และแน่นอนนิพพานต้องมีผู้เข้าถึง
    เคยเห็นผีมาขอส่วนบุญมั้ย
    เคยเห็นเทวดาลงมาบนโลกมั้ย
    เคยเห็นพรหมลงมามั้ย
    ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ทำไม
    ผู้อยู่ที่ภพภูมิชั้นสูงสุดจะลงมายังภูมิต่ำกว่าไม่ได้
    ภาวนาเข้าเถอะแล้วจะเข้าใจเอง
     
  5. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    ชอบชัดเจนแบบไหนเอาแบบโลกสวยหรือเอาของจริงละ
     
  6. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    แล้วจะเชื่อไหมละว่าเคยละเมอไปอยู่คนละจักรวาลเคยเห็นนั่นเคยเห็นนี่มาเหมือนกันสอนตัวเองได้ก็สอนคนอื่นได้...แต่ไม่คิดว่าแค่เห็นจะทำให้รู้ในทุกสิ่งภาษาแบบนี้อ่านให้ดีดีนะจะได้....มันก็ยังเป็นการเห็นที่เป็นการเห็นตัวเองอยู่ดี
     
  7. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    เสียดายที่ละเมอไม่รู้ว่านั่นเขาพูดเพื่ออะไรเสียดายที่บังเอิญไม่ได้เกิดตอนพระพุธเจ้าประสูติตรัสรู้และปรินิพพานเลยไม่รู้พระศาสดาก็ไม่เคยสอนว่าต้องเชื่อแบบนั้นเลยละเมอไม่เป็น...ไม่ว่าตอนทำสมาธิหรือตอนไหนๆ
     
  8. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    อีกอย่างพระอรหันต์เขาพูดกับพระอรหันต์หรือกับพระอริยสาวกทั้งหลายเขาไม่ได้มาพูดกับเราสักหน่อยเรามันแค่ปุถุชนเขาจะมาพูดกับเราได้เหรออย่าละเมอ...จะหาว่าไม่ช่วย...นี่ถือว่าช่วยแล้วนะ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ไม่ได้ตอบกระทู้นี้นะครับ แต่ขอเสริมนิดครับ...พระท่านสอนเรื่อง ปฏิจสมุปบาท หรือ อิทัปัจจยตา หรือ คาถา เยธัมมา...ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน...สิ่งใดเกิดแต่เหตุ พระท่านสอน เหตุเกิดและความดับของสิ่งนั่น......พิจารณาจาก ทิฐฐิ62 ....ที่ว่า เช่น ความเชื่อ ที่ว่า...ตายแล้วสูญ หรือ ตายแล้วยังมีอยู่หรือ..อะไรทำนองนั้น(ไม่ได้พลิกตำรา..อาจจะไม่ตรงทุกอักษร)...หวังว่า จะเป็นประโยชน์แก่การ พิจารณา:cool:....หมายถึง ....ความจริงแท้สุดของ พุทธ คือ ความพ้นทุกข์...หรือได้เกิดสัมมาทิฐฐิ......ความจริงรองลงมา หรือ สมมุติ หรือ ทิฎฐิ ทั้งหลายที่ไม่ใช่ สัมมาทิฐฐิ....นั่น ก็ คือ สิ่งที่เกิดกับเรา ปุถุชนอยู่แล้ว
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2016
  10. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228
    ....มีการไล่กันด้วย ว่าเราไม่มีสติ ไปสอดแทรกเขา ไม่รู้ว่าเขาจะคุยกันเพื่อโชว์พวกเรา ว่าเขาเก่งจังเลย

    ....นี้แหละหนา ของจริงกลัวอะไรกับการซักถาม ของไม่จริงสิไม่ว่า
     
  11. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    วัตถุประสงค์จริงๆ ของ จขกท. คือ ถามถึงประสบการณ์ทางจิตล้วนๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติโดยตรง ซึ่งอาจไม่ได้มุ่งเน้นขั้นปรมัตถ์ธรรมอยู่แล้ว

    อย่าว่าแต่ท่านมีความสงสัยว่า ฝ่ายที่มาเล่าว่าพบจริง นั้นเป็นการพบจริงหรือไม่ แม้แต่ผู้เล่าว่าพบ ก็ยังสงสัยว่าจริงหรือไม่

    ผมจะไม่เล่ากรณีพระพุทธองค์

    แต่ขอเล่ากรณีพบเจ้าแม่กวนอิม ผมทราบมาจากการอ่านว่า เจ้าแม่กวนอิมเป็นเพียงตำนานทางศาสนาพุทธมหายานที่เล่าตำนานเดิมของเทพจีนโบราณเข้าไป นั้นหมายความว่า ทางประวัติศาสตร์ปกติ ถือเป็นเรื่องนิยายปรัมปรา อย่างมหาภารตะ ซึ่งมีตัวตนจริงแต่รายละเอียดที่เล่าเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ

    แต่ผมได้พบกับวิกฤติของชีวิต และทราบว่าโทสะและการไม่ให้อภัยเป็นสิ่งไม่ดีตามที่พระพุทธองค์ท่านสอน ตามที่พระสงฆ์ท่านสอน ผมต้องประคองจิตและทำงานไปด้วย จะเข้าวัดมันลำบากสำหรับชาวบ้านอย่างเรา อาศัยที่นั่งรถเมล์ผ่านร้านขายรูป กรอบรูป ผมเห็นรูปเจ้าแม่กวนอิม ก็เลยมาคิดดู ถ้ามีคนอย่างเจ้าแม่กวนอิมจริง โลกจะเป็นอย่างไร ผมเห็นว่า จะมีจริงหรือไม่ คงไม่สำคัญ แต่เห็นรูปเจ้าแม่กวนอิมแล้วผมนึกถึงความรัก ความเมตตาของแม่ ผมจึงทำกรรมฐานข้อเมตตา โดยนึกถึงเจ้าแม่กวนอิม เป็นกำลังใจว่า คนทั้งหลายกราบไหว้เพราะเมตตาธรรม ความรักและความเมตตาของแม่ ทำให้เราเป็นสุขใจ ผมจึงภาวนาเมตา พยายามทำทุกวัน ให้อภัยคนทุกคนที่โกรธ พยาบาทเรา ทำใจของเราให้มีเมตตา

    หลังจากนั้นกว่าสามเดือนต่อมา ผมได้พบเจ้าแม่กวนอิมในนิมิต ท่านได้สอนวิธีเปลี่ยนดวงชะตาราศี หลังจากนั้น ผมสงสัยว่าจริงหรือไม่จริง แต่ผมพบว่า ผมจะไม่ได้คำตอบนั้นเลย ต่อให้ผมตายไปก็ตาม แต่ผมพิสูจน์คำสอน คำแนะนำได้ ภายหลังจากนั้น ผมได้ไปกราบพระสงฆ์ ได้อ่านหนังสือของพระสงฆ์ ผมได้อ่านถึงจุดหนึ่ง เป็นคาถาที่เมื่อแปลความแล้ว เป็นวิธีที่ผมทราบจากเจ้าแม่กวนอิม คำสอนนั้น เป็นจริง เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ หัวใจของบทคาถา พาหุง มหากา (หัวใจนะครับ ไม่ใช่คำบทสวดเท่านั้น)

    ประสบการณ์ทางจิตที่เล่าให้ฟัง มันอยู่บนพื้นฐานการปฏิบัติธรรม กรรมฐาน ส่วนนิมิตที่เกิดขึ้น นิมิตนั้นเกิดขึ้นจริง แต่ผมไม่ได้ยึดว่าจริงหรือไม่จริง เป็นเจ้าแม่กวนอิมจริง หรือจิตปรุงแต่ง เพราะผมเองก็พิสูจน์ไม่ได้ พ้นวิสัยจะพิสูจน์ให้ใครรู้ได้ด้วย คำสอนที่ได้รับฟังมาหรืออาจเรียกว่าทราบจากนิมิต ผมก็ไม่ได้เชื่อทันที แต่ตั้งใจฟัง แล้วเอามาพิจารณา อยู่บนพื้นฐานการพิจารณา ไม่ใช่ความเชื่อ และสอบทานกับคำสอนที่ปรากฎ ที่ตรวจสอบกันได้จริง

    ทุกวันนี้ ผมก็ยังคงไม่ได้มีความเชื่อว่าเจ้าแม่กวนอิม มีจริงหรือไม่ แต่ผมประจักา์ชัดว่า เมตตา และการให้อภัย เป็นของจริง มีผลที่เป็นกุศลจริง คนในสังคมที่เค้าพยาบาท โกรธผม เค้าหายได้ แม้ผมต้องภาวนาเมตตามากกว่าสามปี แต่ผมกลับเห้นสิ่งสำคัญกว่า คือ จิตใจผมไม่มีทุกข์เพราะโทสะ เพราะโกรธตอบคนอื่น ผมเห็นผลของ ธรรม ตั้งแต่ผมเริ่มภาวนา

    ดังนั้น การพบพระพุทธองค์ แม้ท่านจะเรียกว่านิมิต หรือจิตปรุงแต่ง หรือหลอกตัวเอง ผมไม่ได้ระคายเคือง แต่ผมอยากบอกว่า

    การพบพระพุทธเจ้าแบบที่ จขกท ถาม มีคุณค่าเท่ากับที่ผม ไปอยู่หน้าพระพุทธรูป ซึ่งผมทราบว่าพระพุทธรูปก็แค่สสารวัตถุ แสง สี อันไม่จิรัง แต่ผมข้ามตรงนั้น และกราบโดยระลึกถึง "ธรรม" ของพระพุทธองค์ ไม่ใช่พระพุทธรูป รูปลักษณ์นู้นนี่นั้น

    สาระของการพบพระพุทธเจ้าแบบที่ จขกท อยู่บนพื้นฐานพุทธานุสติ อันเป็นกรรมฐาน เหมือนชาวบ้านไปวัดเพื่อกราบพระ แต่เราฝึกฝนกราบพระพุทธองค์ในใจของเรา มากขึ้น ตลอดเวลามากขึ้น ให้แนบไปกับทุกลมหายใจของเรา พุทธคือธรรม ธรรมคือพุทธ เพราะเราเกิดไม่ทันพระพุทธองค์อยู่แล้ว แต่ใจเราจะพบพุทธ และพูดได้ว่าใจคนเราจะพบพระพุทธองค์ได้แน่นอน ไม่ใช่แค่นิมิต หรือพระพุทธรูป
     
  12. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    คุณใช้คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า เขา พระอรหันต์คุยกัน

    ผมว่าคุณไม่รู้คุณของพระพุทธเจ้าที่ คุณของพระองค์ท่าน เอนก อนันต์ ต่อสัตว์โลก

    และด็พูดว่า "แค่ปุถุชนเขาจะมาพูดกับเราได้เหรออย่าละเมอ"

    วกวนเหมือนเดิม คลุมเคลือ

    ศาสนาพุทธ ไม่คลุมเคลือ เป็นจริง เป็นสัจจะธรรม

    ตอนนั้น พระอานนท์ ยังเป็นพระโสดาบันอยู่

    และพระพุทธเจ้าก็พูดถึง พุทธบริษัท ทั้งหลาย

    ไห้เอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง

    หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน


    พระพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสต่อไปอีกว่า "อานนท์ ดูก่อน ธรรมจะเป็นที่พึ่ง

    แก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเราคถาคต"

    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราคถาคต"

    อ่านพุทธพจน์ แล้วขีดเส้นใต้ใว้เลยว่า

    "พระพุทธเจ้า ตรัสหนึ่ง ไม่มีสอง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นแบบนี้"

    ไม่ต้องแปล ไม่ต้องอธิบาย มีความหมายเดียว

    พอแปล นัยยะมันจะเปลี่ยน หรือมันจะเป็นสองทันที ซึ้งไม่ใช่ พุทวจน

    พุทวจน เป็นหนึ่ง เท่านั้น

    พออุปามา อุปไมย จะเป็น ความคิดเห็นส่วนตัว ของแต่ละบุคคลไป

    ไม่ต้องไปแปล เพิ่มเติม เสริม ความหมาย

    ชัดดีอยู่แล้ว ให้เข้าใจตามนั้น

    เมื่อเป็นดังนี้ ก็จะเป็นไปตาม พุทธดำรัส ที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า

    พระพุทธเจ้า ตรัสอย่างไร เป็นอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2016
  13. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    Prasit5000 ....มีการไล่กันด้วย ว่าเราไม่มีสติ ไปสอดแทรกเขา ไม่รู้ว่าเขาจะคุยกันเพื่อโชว์พวกเรา ว่าเขาเก่งจังเลย

    ....นี้แหละหนา ของจริงกลัวอะไรกับการซักถาม ของไม่จริงสิไม่ว่า

    ----------------------------------------------------------------

    คุณสองคนนี่ ผมใช้ภาษาบ้านๆนะ มันสุดยอด สุดยอดของรั้น การตะแบง

    หลวงปู่มั่น ก็พูดภาษาไทยชัดแจ๋ว สมเด็จพระสังฆราชประมุขฝ่ายสงฆ์

    สูงสุด เอามาถ่ายทอด ก็ชัดเจน ภาษาไทยคุยกันแท้ๆ

    คุณ kenny ยังบอกว่า มันไช่แบบนี้

    คุณสองคน ไม่เชื่อในพุทธจน ไม่เชื่อในพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

    คุณไม่เขื่อ ไม่นับถือ หรืออะไรก็แล้วแต่ มันไม่เป็นไร

    ว่าคุณคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติ คุณต้องบอกว่า มุมของพวกผม เห็นต่าง

    จากหลวงปู่มั่น เห็นต่างจากที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

    แบบนี้ ok นะ

    แต่คุณทั้งสอง เอาความคิดเห็นส่วนตัวของคุณ มาแสดง ไม่เห็นด้วย

    และมีมีการก้าวก่าย ว่า คนอื่น ไม่ถูก ไม่ควร ต้องเป็นแบบที่คุณ

    แสดงทัศนคติไว้ถึงจะใช่ แค่นี้ คุณก็ละเมิดสิทธิ์

    พื้นฐาน การแสดงความคิดเห็นคุณก็ไม่เข้าใจ

    หลวงปู่มั่น (กระดูกกลายเป็นพระธาตุ) ทา่นบอกไว้ว่า พระุทธเจ้ามาสอน

    พวกคุณก็ว่าไม่ใช่

    พระพุทธเจ้า ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราคถาคต"

    ความหมายก็ชัด ภาษาไทยแท้ๆ

    คุณก็ยังบอก ไม่ใช่แบบนี้

    ภาษาไทย จะต้องมาแปล ภาษาไทย ให้เป็นภาษาไทย

    คุณนี่สุดยอดเลยนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2016
  14. zipp

    zipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +142
    เคยเจอ๒๐กว่าองค์ตอนทําสมาธิ(ใจหดหู่ ..โธ่เอ๋ย ตรูตายเกิดๆๆจนพบผ่านมากี่องค์แล้วยังโง่อยู่เลย)
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก
    รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก
    ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    ๑) มังสจักษุ ๑) ทิพยจักษุ ๒) ปัญญาจักษุ ๔) พุทธจักษุ ๕) สมันตจักษุ

    จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.

    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

    ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปสาทจักษุ นี้. ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.


    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ๑- ดังนี้ ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ๒- ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ.

    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓- ดังนี้ ชื่อว่าญาณจักษุ.

    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ๔- ดังนี้ ชื่อว่าทิพยจักษุ.

    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว๕- ดังนี้ ชื่อว่าธรรมจักษุ.


    ท่านผู้ต้องการเห็นธรรมจะต้องอาศัยจักษุด้วยประการนี้เท่านั้น หากท่านสามารถเห็นด้วยความสามารถเหล่าอื่น หากมีผู้หวังผู้พิจารณาตาม ก็จงพิจารณาตามไปจนสุดปัญญานั้นๆ หากมีผู้ไม่เห็นตามท่านก็ถือว่า ไม่ใช่และไม่ตรงกับอัชฌาสัยของท่านนั้นๆถือเอาตามนี้ อธิกรณ์ก็ให้หมดจบผ่าน


    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    http://84000.org/tipitaka/attha/atth...b=31.0&i=0&p=1

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕





    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย

    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแลพระพุทธเจ้าข้า?

    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ


    อรรถกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนถึงพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    สัญญาสูตร นี่เป็นปฎิสัมภิทามรรค อันทำให้เห็นและรู้ว่า บทธรรมเสมอกันกับพระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่ทรงแสดงก็ตาม มีอยู่ แต่ถึงอย่างไร การแจกแจงขยายธรรมของพระพุทธเจ้าท่านก็ทรงละเอียดกว่า หากจะให้ทรงแสดง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเสมอกันได้ อันนี้เรากล่าวถึงญานทัสสนะ ไม่ใช่ บทธรรมโดยตรง




    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะเท่านั้น{O}

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน" อันข้อนี้ก็รวมไปถึงพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสกขผู้เพ่งตามวิมุตติธรรมในข้อนั้นๆไว้ด้วย ตลอดจนพระอริยะบุคคลผู้เป็นเสกขภูมิไปจนถึงอเสกขภูมิ เป็นต้น

    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน (ทรงพระมหากรุณาโปรดแสดงอนุปุพพิกถาตามลำดับเป็นกรณีพิเศษ,และด้วยอธิษฐานไว้เพื่อผู้ต้องบุพกรรม ณ ที่แห่งหนนั้นๆตามพระทศพลญาน ข้อนี้ก็สามารถพิจารณาเข้าสู่สิ่งที่ท่านทั้งหลายฯ ต่างปุจฉา-วิสัชนากันได้ เฉกเช่นเดียวกับที่ทรงอธิษฐานแก่พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ไว้ในภายภาคนั้นก่อนจะธาตุอันตรธาน คือ ธาตุอันตรธาน ถ้าท่านใดต้องบุพกรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนไปถึงเหล่าพระอรหันต์ผู้มีข่ายญานอธิษฐานเอาไว้ให้ธรรมทายาท อันมี บิดามารดาของท่านญาติมิตรศิษย์สหายกลับชาติมาเกิดใหม่ ข้อนี้ท่านพึงเห็นได้ด้วยข่ายพระญาน และข่ายญานนั้นๆ

    ธาตุอันตรธานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ พระบรมธาตุนิพพาน “ และคำว่านิพพานนั้นมี ๓ ประการ คือ
    ๑. กิเลสนิพพาน คือการตรัสรู้ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์
    ๒. ขันธนิพพาน คือการดับเบญจขันธ์ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา
    ๓. ธาตุนิพพาน คือพระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้นไปจากโลก ซึ่งจักเกิดขึ้นในอนาคต

    การนิพพานแห่งพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระบรมศาสดาที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อไม่มีผู้สักการะบูชาพระบรมธาตุก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่มีคนเคารพสักการบูชา จวบจนวาระสุดท้ายมาถึง ทั่วทุกถิ่นประเทศหาผู้สักการบูชาไม่มีเลย พระบรมธาตุทั้งหลายจากโลกมนุษย์ เทวโลกและนาคพิภพ จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด แล้วรวมกันเป็นรูปของพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐ์สถาน ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ประหนึ่งว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น แต่ในครั้งนี้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายจะมิมีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย

    ฝ่ายเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาประชุม ณ ที่นั้น ต่างก็กรรแสงโศกาอาดูรเหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้นที่พระสรีรธาตุเผาผลาญพระบรมธาตุจนหมดสิ้นหาเศษมิได้ เข้าถึงซึ่งความสูญหายไปจากโลก ได้ชื่อว่า “พระบรมธาตุนิพพาน

    อายุกาลแห่งพระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลง ในบัดนั้น
    เมื่อพระบรมธาตุนิพพานแล้ว เหล่าเทพยดาพากันทำสักการบูชาแล้ว ทำประทักษิณสิ้น ๓ รอบเสร็จสิ้นต่างก็พากันกลับสู่วิมานของตนๆ ในเทวโลก

    ส่วนข้อที่จะไม่มีมนุษย์ได้ฟังธรรมและได้พบเห็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกในครานั้นก็ต้องรอดูหรือพึงรู้พึงทราบกันตามภพภูมิของสัตว์ในยุคนั้น อาจจะมีโอกาสเป็นเราหรือท่านผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ในนี้ ถ้าระบุไว้อย่างนั้นจริงๆก็ขอให้ท่านทั้งหลายฯ ผู้เจริญในพระสัทธรรม ที่ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน เป็นเทพเทวดาและเหล่าพรหมนั้นเทอญฯ

    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว จนเข้าสู่หนทางปฎิบัติแห่งการบรรลุตามอัชฌาสัยของท่านสุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ตามลำดับ ซึ่งท่านเหล่านี้สามารถที่จะเพ่งพิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุุตติของท่านได้ตามกาล ส่วนจะได้มากได้น้อยซึ่งวิมุตติญานทัสสนะกถา ท่านจะแสดงหรือไม่ ก็ขอยกเอาไว้ตามอัชฌาสัยของท่านเหล่านั้นฯ

    แต่ก็มิใช่ว่าท่านจะละทิ้งหวังเพียงแค่สุขส่วนตน โดยเฉพาะพระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    กำลังของพระอรหันตสาวก นั้นเป็นแรงจิตอธิษฐานที่มีอานุภาพมาก ที่ได้พิจารณาธรรมไว้ตามกาลตามเหตุ เพื่ออนุเคราะห์แก่ญาติมิตรสหายในกาลล่วงไปข้างหน้านับต่อนับ ด้วยแรงจิตอธิษฐานนั้น เป็นพลานิสงส์อันเป็นพลวปัจจัยที่จะชี้นำแนะแนวให้สัตว์เกิดดำรงสติปัญญาในธรรม ให้เจริญขึ้นได้ตามจริตธรรมที่ได้บันทึกจารึกไว้ ให้ผู้มีอุปนิสัยใจคอคล้ายคลึงกันตามจริตกรรมมัฎฐาน และเป็นตัวอย่างในการพิจารณาธรรม โดยสามารถนำเข้าสู่ความเจริญในพระสัทธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อไป


    เป็นระบบธรรมสมบัติ ตามเจตจำนงค์และความปรารถนาตามที่ได้อธิษฐานจิตเอาไว้มีหน้าที่สืบเนื่องรับต่อไป ตามพระบารมีกำลังแห่งสาวกญานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ตามพุทธสมัย

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
    ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?


    ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล


    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? หากจะไม่ศึกษาอะไรเลยจะหวังพึ่งแต่ทัสสนะญานเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ใช่อัชฌาสัยของท่านที่บรรลุปฎิสัมภิทาญานในเสกขภูมิ ญานทัสสนะวิสุทธิในท่านเสกขภูมิจะสามารถหลอมรวม เหตุแห่งการเกิดดับและการเริ่มต้นต่างๆ ได้อย่างสุดวิเศษ เมื่อถึงเวลา บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองอย่างที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระอรหันสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทา หรืออริยะสาวกผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ก็จักเจริญตามภูมิธรรมซึ่งก็คือ เสกขภูมิไปจนอเสกขภูมิ ส่วนพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสขะที่มิได้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน ท่านก็สามารถเห็นธรรมและตรัสรู้ธรรมได้โดยการ พิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุตติญานทัสสนะ เรียกว่าอาศัยการเสวยวิมุตติธรรมนั้นแลฯ ความสุขในพระพุทธศาสนา เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยมยิ่ง นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เป็นสุดยอดแห่งอินทรียธาตุที่จะสามารถรับรู้ ซ้องเสพ เกี่ยวข้อง ละทิ้ง ล่วงรู้ อายตนะมารทั้งหลายฯ ไม่มีอินทรียธาตุของผู้ใดที่มีอายตนะที่สมบูรณ์ไปยิ่งกว่าพระองค์ จึงทรงรู้ชัดรู้แจ้งที่สุดแห่งอายตนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายฯ

    กัสสกสูตรที่ ๙
    สาวัตถีนิทาน ฯ
    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า ฯ

    มารกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรากลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเราธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเราท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป

    จักษุเป็นของท่าน
    รูปเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้

    ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    โสตเป็นของท่าน
    เสียงเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    จมูกเป็นของท่าน
    กลิ่นเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ลิ้นเป็นของท่าน
    รสเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    กายเป็นของท่าน
    โผฏฐัพพะเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ใจเป็นของท่าน
    ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ

    มารกราบทูลว่า
    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเราถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นเราไปได้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
    พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ



    วิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากกิเลสเป็นระดับชั้นไป มี ๕ ระดับ คือ

    ตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว

    วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการสะกดไว้ ระงับอำนาจกิเลสไว้ด้วยอำนาจของกำลังฌาน เมื่ออยู่ในฌาน ได้แก่ วิมุตติของผู้ได้ฌาน๘

    สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด หลุดพ้นด้วยอำนาจอริยมรรคตัดขาดจากกิเลสผู้บรรลุโสดาปัตติมรรค, อรหัตตมรรค

    ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ หลุดพ้นอย่างสงบ พ้นกิเลสต่อจากอรหัตตมรรคถึงอรหัตตผล ไม่ต้องพยายามกำจัดกิเลสอีกเพราะกิเลสระงับไม่เกิดอีกแล้วในขณะผลนั้นๆ

    นิสสรณวิมุตติ หลุดพ้นด้วยออกไป หลุดพ้นกิเลสอย่างยั่งยืน ได้แก่วิมุตติคือนิพพาน


    กุญแจไขประตูพระนิพพาน ย่อมเป็นของคู่กันกับประตูพระนิพพาน

    ตราบใดที่มีพระนิพพาน กุญแจที่ไขเข้าสู่ประตูก็จะมีอยู่เสมอๆ



    สุภัททะ !
    ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคมีองค์แปด
    สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น;
    แม้สมณะที่สอง (พระสกทาคามี) ก็หาไม่ได้;
    แม้สมณะที่สาม (พระอนาคามี) ก็หาไม่ได้;
    แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น.
    สุภัททะ !
    ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์แปด
    สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้;
    แม้สมณะที่สอง (พระสกทาคามี) ก็หาได้;
    แม้สมณะที่สาม (พระอนาคามี) ก็หาได้;
    แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้.
    สุภัททะ !
    ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึงอยู่โดยชอบไซร้
    โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย แล.
    มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘.



    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกลพบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี.

    ทีนี้แล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริ อย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เรายก แพนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้นบ้างหรือหนอ?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า?

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น? ในข้อนี้

    บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้
    พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้ โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบกหรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้ว พึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.



    คณกโมคคัลลานสูตร

    "พราหมณ์ สมมติว่า บุรุษคนหนึ่งมาขอให้ท่านบอกทางไปยัง
    เมืองราชคฤห์ ท่านก็ได้ชี้บอกทางที่จะไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดย
    สวัสดิภาพ แต่บุรุษคนนั้นไปผิดทางจึงไม่ถึงเมืองราชคฤห์
    บุรุษคนที่ ๒ มาถามทางจากท่านเช่นเดียวกัน และได้รับคำแนะนำ
    นั้นจากท่าน เขาเดินไปตามที่ท่านชี้แนะและไปถึงเมืองราชคฤห์โดย
    สวัสดิภาพ
    ในทำนองเดียวกันนั่นแหละ พราหมณ์ พระนิพพานก็มีอยู่หนทาง
    นำไปสู่พระนิพพานก็มีอยู่ เราตถาคตผู้ชี้บอกหนทางก็มีอยู่ สาวกของ
    เราตถาคตบางจำพวก ได้รับคำแนะนำและฝึกฝนจากเราแล้ว สามารถ
    บรรลุพระนิพพานได้ แต่บางจำพวกไม่สามารถบรรลุ ตถาคตเป็นเพียง
    ผู้ชี้บอกหนทางเท่านั้น"



    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตาม

    ได้ยาก สงบประณีต มิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือ คิดเอาไม่ได้

    หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังหดเหี่ยว

    หย่อนยาน มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัด เหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้ว

    ชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ ผูก กระหนาบคาบค้ำไว้ จะยืนนานไป

    ได้สักเท่าใด การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง พวกเธอทั้งหลาย

    พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้เรา

    ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”



    "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแค่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่ เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง"


    สำหรับเราล่องแพยังไม่เข้าถึงฝั่งจะให้ทิ้งแพที่อาศัยคงจะเป็นไปไม่ได้ แล้วแพนี้ก็แพวิเศษด้วยที่สามารถใช้ข้ามฝั่งมหานทีแห่งนี้ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีสิ่งอื่นหรือวิธีอื่น




    แม้ได้ขึ้นชื่อหรือถูกโพทะนาติเตียนว่าแย่หรือไม่ดีที่สุดในสายพุทธ
    แต่หากจะมองในข้อดีในการที่เกิดสังฆเภทต้องแตกออกในปัจจุบันก็เป็นไปในลักษณะ องคาพยพ ที่ต้องอาศัยตามกาล ในท้ายที่สุด สุดสังฆเภทนิกายนั้นก็ยังมีส่วนปกป้องคุ้มกัน นิกายแท้ ให้ยังคงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันตามกาล นี่เป็นไปตามกลไกอุปนิสัยอันเป็นพลวปัจจัย ที่สั่งสมมาของเหล่าหมู่สัตว์ทั้งหลายฯ ในการจะให้เขาเดินเข้าสู่ทางตรงยังนิกายอันเที่ยงแท้ ตั้งแต่แรกพบนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกันได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าจนถึงแทบไม่มีโดยทีเดียว อันเป็นสุดปัญญาที่จะอุปมารู้เห็นได้ เพราะฉนั้นตามความเป็นจริง ต้องสั่งสมกันมานานนักแลฯ จึงจะเข้าสู่หนทางแห่งการตรัสรู้ได้

    พิจารณา
    "เลวที่สุดของเราก็ยังประเสริฐกว่า"


    ขอโอกาสไว้ ณ ที่นี้ และคงไม่มีโอกาสมาร่วมเสวนาบ่อยๆอย่างที่เคย เราวิสัชนาเผื่อไว้ใน ผู้เห็นธรรมในข้อที่ ๒ ข้อที่ท่านทั้งหลายฯต่าง ธรรมสากัจฉา จาก ปุจฉาและวิสัชนา จนไปถึงซึ่งการเสวนาและอเสวนาผู้สกวาทีและผู้ปรวาที เพื่อให้สิ่งที่ถูกปิดไว้ได้เปิดออกเพื่อคลายความกังวลและสงสัยตามกาล

    เดือน ตุลาคม ถัดไปหลังจากนี้คงต้องย้ายไปออกราชการสนามอยู่แถวป่าภูเขา เพราะมีการเคลื่อนย้ายสับเปลี่ยนกำลัง ด้วยสัญญานหรือ การใช้ internet คงจะไม่ง่ายจนถึงไม่มีและยากแก่การมาร่วมสนทนาต่างๆ ร่ำลาไว้ตรงนี้จนกว่าจะได้มีโอกาสมาเสวนากันใหม่ ตามกาลและสถานที่และโอกาสอื่นๆต่อไป

    “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีฯ”


    “ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ”

    ถนอมสุขภาพและรักษาใจขอให้ท่านทั้งหลายฯจงเจริญในพระสัทธรรมอันยิ่งขึ้นไป ศัตรูของเราท่านทั้งหลายฯ ไม่ใช่เหล่าเวไนยสัตว์อย่างเราหรือท่านทั้งหลายฯ ในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นข้าศึกในโลกฯ แต่ก็มีในโลกฯที่เห็นเราเป็นข้าศึก ขอท่านทั้งหลายฯจงเดินตามอัชฌาสัยที่ท่านทั้งหลายฯได้สั่งสมพลวปัจจัยอันมีบุญบารมีอันดีตามธรรมสมบัติอันพึมีพึงได้ตามกาลมาแล้วนั้นเทอญฯ


    ขอจงอโหสิกรรมอดโทษแก่ข้าพเจ้าในทุกกรณี ข้าพเจ้าก็ขออโหสิกรรมอดโทษแก่ท่านทั้งหลายฯเฉกเช่นเดียวกัน

    ผู้ต้องวิมุตติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2016
  16. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228
    ......ผมไล่ลบโพสต์ของผมคิดว่าหมดละ

    .....ผมไม่เข้าใจว่า ถ้าใจไม่กว้างพอ ทำไมต้องมาลงเวบบอร์ด สนามนี้น่าจะเหมาะสำหรับนักปราชที่มีความรู้ถกเถียงกัน เพื่อจรรโลงคำสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่มีใว้สำหรับโชว์เพาเว่อร์ ของพวกขี้โม้ ไม่ต้องมาตอบผม ผมไม่อ่านบทความของคนใจแคบอีกต่อไป
     
  17. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    เห็นธรรมกับเห็นรูปธรรมนามธรรมมันต่ากันนะ
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕





    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย

    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแลพระพุทธเจ้าข้า?

    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ


    แล้วใคร? ที่คิดว่า พุทธวจนปิฏก ดีเลิศกว่าพระไตรปิฏกสำนักอื่นที่มีแต่คำปลอม

    แน่ใจเหรอว่าสามารถรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมด

    คุณสมบัติในการเป็นครูบาอาจารย์ยังไม่มีด้วยซ้ำ จะเปลี่ยนแปลงยกเลิกพระไตรปิฏก หลอกลวงเหล่าสัตว์ตาบอดให้โง่งมงายด้วย พุทธพาณิชย์

    ฐานะผู้ที่จะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนธรรมผู้อื่นเขา ควรมีคุณสมบัติอย่างไร? ไปหามั่วๆ ย่อม ไปได้แบบมั่วๆ ประเภทสอนลัดขั้นตอน วิสัชนาธรรมผิดพลาด ตื้นเขิน สติปัญญาของผู้เล่าเรียน ฝึก ปฎิบัติ ก็จะได้แต่ปริยัติงูพิษ ไม่มีทางที่จะเจริญไปกว่านั้นได้ในชาติ แถมชาติหน้าจะต้องตกไปอยู่ในภพภูมิต่ำกว่าที่เดิมอีกเพราะไปปรามาสพระสัทธรรม พระธรรม พระธรรมวินัยเข้า

    สิ่งที่เราไปยึดนั้นหากเป็นสิ่งที่เป็น๐สัมมาทิฐิ๐จะเป็นเส้นสายตรงดิ่ง ทอดยาวถึงจุดหมายมีผลในการเจริญเข้าถึงสรรพธรรม แต่ถ้าเป็น#มิจฉาทิฐิ# ก็จะหมุนวนพันกันไปกันมาจับต้นชนปลายไม่ถูกทำให้ไม่มีทางเข้าถึงสรรพธรรมอันเจริญกว่าที่เสวยเวทนาอยู่ได้ อรรถนี้สาธยายโดยพิสดารโดย "เผยให้เห็นวิมุตติ แต่ถ้าผู้มีปัญญาธรรมอันสั่งสมมาดีแล้ว จะทราบรส อันสืบเนื่องมาจาก วิมุตติรส

    จึงควรเลือกเฟ้นหาครูบาอาจารย์ให้ดีๆ อย่าลัดขั้นตอน ทำให้ได้ ทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ด้วยความเพียรพยายาม

    ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ. ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ
    ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด


    สิ่งที่คึกฤทธิ์ ทำคือการทำลายอรรถกถา จึงเป็น พุทธวจนะปลอม คือแปลบาลีไม่ให้เป็น บาลี ทำลายคุณความหมายที่เจือด้วยวิมุตติทัสสนะญาน อันเป็นสัจฉิกัฐปรมัตถ์ธรรม คือความเป็นจริง เป็นสัจธรรม เพราะไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ และเข้าใจว่า พระไตรปิฏกทั้งหลาย ล้วนสืบทอดมาจากการจารึกบันทึกทรงจำของพระสงฆ์สาวก ว่าด้วยสาวกจดจำมาจากพระดำรัสตรัสสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่ออีกทอดหนึ่งเพียงเท่านั้น นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันมี นิรุตติทัสสนญาน และ วิมุตติทัสสนญาน


    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่


    ปฐมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑ พระมหากัสสปะเถระคัดเลือกพระอรหันตขีณาสพ ผู้มีอภิญญาเพียบพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนมากพระผู้มีพระภาคทรงตั้งไว้ในตำแหน่าเอตทัคคะ จำนวน ๔๙๙ รูป หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้รูปหนึ่ง เพื่อให้โอกาสแก่พระอานนท์ เพราะเล็งเห็นว่าการสังคายนาครั้งนั้นเว้นพระอานนท์เสีย ก็จะทำให้ขาดความสมบูรณ์ เพราะท่านเป็นดุจคลังแห่งสัทธรรม ทรงจำคำสอนของพระศาสดาไว้มากแต่หากจะเลือกท่านเข้าในจำนวนพระสังคีติการก ๕๐๐ รูป ในขณะนั้นก็ยังขาดคุณสมบัติที่สำคัญ คือท่านยังเป็นพระเสขบุคคลยังมิได้บรรลุอรหัตผล ที่ประชุมจึงมีมติให้หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้ ๑ รูป เพื่อรอให้พระอานนท์เป็นพระอริยบุคคลโดยสมบูรณ์ แล้วเข้าร่วมเป็นพระสังคีติกาจารย์ด้วย



    ทุติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๒ ภิกษุผู้ปูอาสนะ คือ พระอชิตภิกษุ สวดสมมุติเสร็จแล้ว ได้พากันเดินทางไปวาลุการาม เมืองไพศาลี โดยให้พระสงฆ์ฝ่ายปาวาโดยพระเรวตเถระเป็นผู้ทำหน้าที่ถาม ฝ่ายปาจินกภิกษุโดยพระสัพพกามีมหาเถระสังฆวุฑฒาจารย์ พรรษา ๑๒๐ เป็นผู้แทนทำหน้าที่ตอบในที่ประชุมสงฆ์เพื่อระงับอธิกรณ์ จำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ รูป
    เสร็จจากการระงับอธิกรณ์แล้ว พระเรวตเถระจึงปรึกษาสงฆ์ซึ่งได้ตกลงกันจะทำสังคายนาและคัดเลือกพระขีณาสพปฏิสัมภิทา ๗๐๐ รูป เป็นพระสังคีติการก มีพระเรวตเถระเป็นประธาน มีพระเจ้ากาลาโศกราชทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก
    ทุติยสังคายนานี้ คณะพระสังคีติการกทั้ง ๗๐๐ รูป ได้มอบหมายให้พระเรวตเถระเป็นผู้ไตร่สวนพระธรรมวินัย และพระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชชนา ทำที่วาลุการาม เมืองไพศาลี ในพระบรมรูปถัมภ์พระเจ้ากาลาโศกราช ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี


    ตติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๓พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ เป็นตัวแทนของพระสงฆ์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อประชุมกันทำสังคายนา ตติยสังคายนาครั้งนี้ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน ที่อโศการาม พระนครปาตลีบุตรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘


    ฉนั้นการทำสังคายนาธรรม พระผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จึงเป็นเลิศยิ่งในการน้อมนำอัญเชิญพระสัทธรรมลงมาสู่ พระไตรปิฏก


    อีกทั้งยังต้องตรวจทาน ตามหลักฐานรำลึกตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ ที่โอกาสในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พรหมโลก อมฤตยูโลกธาตุอื่นๆ มนุษย์โลก เทวโลก ฯ เป็นต้นเทียบเคียง ด้วยอตีตังสญาณ

    เวลา ๗ เดือน นั้นยาวนานเพียงพอเป็นแบบแผนขั้นต้น เป็นแม่แบบ สำหรับการทำสังคายนาเป็นต้นไป เพราะเวลาของทางโลกและทางสูญญตาอมฤตธรรม นั้นแตกต่างกันมาก หากจะกล่าวตามตรง การทำสังคายนา อาจจะใช้เวลาไม่กี่วันเสียด้วยซ้ำ หากจะนำมาถ่ายทอดลงตรงๆ ทันที แต่เพื่อรายละเอียดปลีกย่อย ในการแจกแจงรวบรวมที่มานั้น ย่อมเป็นกิจของพระสาวก ฉนั้นในยุคหลังๆจึงใช้เวลามากขึ้นตามลำดับ เพราะจำกัดด้วยญานของพระสงฆ์สาวกผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จากปัญหา สูญเสีย สูญหาย อันเป็นหลักฐานเก่าอันเป็นเหตุที่เกิดจากภัยต่างๆที่ทำให้พระสัทธรรมลบเลือนเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา ด้วยภัยธรรมชาติ ภัยจากสงคราม ภัยจากมนุษย์หรืออมนุษย์ โดยรวมคือ โมฆะบุรุษที่เกิดขึ้นมาเพื่อ บิดเบือนแต่งเติมพระธรรมคำสั่งสอนในพระไตรปิฏกให้ลบเลือนสูญหายไปนั่นเอง

    ส่วนการสังคายนาในครั้งหลังๆ ใช้เวลาน้อยลง เพราะจำกัดด้วยผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จึงนิยมใช้วิธีตรวจทาน แก้ไขคำผิด ประดิษฐ์อักษร แก้ความหรือแต่งโคลงร้อยแก้ว หรือร้อยกรองเขาไป ส่วนที่ลอกแบบของเดิมเท่าที่จะพึงมีพึงเก็บรักษาให้เหลือรอดไว้ได้ ก็มีเจือปนอยู่

    เพราะฉนั้น การกำเนิด การบรรลุจุติธรรม ขั้นปฎิสัมภิทาญานของธรรมทายาทจึงสำคัญมาก ที่จะช่วยส่งเสริมรักษาพระสัทธรรม พระธรรมและพระธรรมวินัย ให้อยู่รอดสืบไป ให้พ้นภัยจากสัทธรรมปฎิรูป และ อสัทธรรม นอกพระพุทธศาสนา เพื่อให้พ้นภัย ๕ ประการที่จักมาเยือน


    ใจความสำคัญขอให้ท่านทั้งหลายจดจำไว้ว่า " เมื่อพระสัทธรรมถูกทำลายด้วยการสร้างสัทธรรมปฎิรูปโดยโมฆะบุรุษอย่าง คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง ผู้ไร้คุณสมบัติในการทำสังคายนาพระไตรปิฏก แต่ได้กระทำการล่วงเกิน ลุแก่อำนาจด้วยตัณหา หมิ่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกตลอดจนพุทธบริษัททั้งหลายฯ นับตั้งแต่อดีตกาลจนมาถึงกาลบัดนี้ คึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง ได้ทำลาย กระแสนิรุตติญานทัสสนะอันเป็นวิมุตติญานทัสสนะกถาเป็น สัจฉิกัฐฐะปรมัตถ์ธรรม ที่ปรากฎในพระไตรปิฏก ว่าด้วยอรรถกถา เถรคาถา คำสอนของพระอรหันต์ เป็นเหตุที่จะให้เกิดภัยภยันตรายอันมากต่อพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศไทย ในโลกมนุษย์และในสหโลกธาตุต่างๆในอนัตริยะจักวาล "


    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}

    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต

    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้

    ผู้มีปฎิสัมภิทาญานและพระอรหันต์ที่เป็นอเสขะแล้วเท่านั้นที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สมควรแก่การฝากเนื้อฝากตัวเข้าเรียนเข้าศึกษา ที่สมควรสนทนาด้วย และผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น จึงจะสามารถรู้ อรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ และประกอบด้วยสุญญตธรรม อย่างบริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง ซึ่งก็ตรงเข้ากับหลักมหาประเทศ ๔ ที่พระองค์ทรงประทานพุทธดำตรัสไว้ ว่าให้พึงสนทนา กับพระอรหันตผู้มีวิมุตติของพระอเสขะ หรือ พระอริยะบุคคลผู้มีปฎิสัมภิทาญาน เมื่อท่านผู้ดำรงสถานะทั้งสองนี้ กล่าวธรรมอยู่ด้วย อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาจึงสมควร

    ไม่ใช่ใครที่ไหนก็ได้ ที่แค่เพียงอ่านออกเขียนเป็น หรือท่องได้ ไม่อย่างนั้นก็วิมุตติ อรหันต์โสดาบันอนาคามีกันหมดเหมือนอย่างคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง



    "สำคัญผิดไปเลย ยิ่งสำคัญผิดมากยิ่งดี โลกจะได้สงบสุข" แน่นอนนั่นเป็นโลกของบัวสามเหล่าของสำนักวัดนาป่าพง ที่มีแต่พระพุทธศาสนา ไม่มีเดียร์ถีย์ลัทธิศาสนาอื่น โลกนี้ต้องปลอดอาวุธ ปลอดการทำร้าย มิจฉาทิฏฐิทุกรูปแบบ ไม่มีใครได้ไปนรก ไม่มีคนทำบาป ด้วยกายวาจาใจ โลกแบบนี้ ธรรมข้ออื่นก็จะไม่เกิด เมื่อสิ่งนั้นไม่มี สิ่งนี้ก็จักไม่มีตาม มีดีแต่นโยบายสโลแกน เอาไว้หาเสียงหลอกคนโง่ไม่รู้ธรรม แล้วยังทำให้พระสัทธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น เศร้าหมอง


    เป็นธรรมดาวิสัยที่ต้องจำกัดอยู่ในภูมิของพระเสขะผู้เจริญแล้วย่อมรู้ดีว่า ไม่สามารถวิสัชนาธรรมีกถาต่างๆ ได้เทียบเท่า เพราะมีแต่พระอเสขะโดยวิมุตติและพระอริยะวิมุตตญานทัสสนะไม่ต้องกล่าวถึง ปฎิสัมภิทามรรคเลย ว่าจะรู้จะเห็นวิสัชนาปัญหาในกถาที่มาได้มากมายขนาดไหน?

    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.
    อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
    ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้นของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    ก็บัณฑิตพึงทราบปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕.
    ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระเถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในอเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่านจิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่งประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.


    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากเป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทหากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เราจะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” เมื่อสภาวะที่ปฎิบัตินั้นบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ รวมทั้งเพศพรหมจรรย์สมบูรณ์ ด้วยบุญบารมีธรรมที่สั่งสมมาในกาลก่อน ก็จะสามารถเข้าสู่สภาวะอย่างนั้นได้อีก และจะสามารถเล่าเรียนได้ไม่รู้จบ

    ต่อให้ไม่ได้เรียนมา ต่อให้อ่านไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อได้อ่านแล้วเพียงครั้งเดียว จะสามารถจดจำได้ตลอด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้ที่เข้าสู่ปฎิสัมภิทาญาน จึงสามารถอ่านออก รู้และเข้าใจภาษาต่างๆได้ ก็ด้วยเพราะมี องค์พระสัทธรรม พระธรรมราชา ท่านเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ให้ ในกาลต่างๆที่สมควรแก่กาล อันบทธรรมทั้งหลายนั้น ผู้ใดมีสภาวะบุญที่ส่งเสริมเกี่ยวข้องอันเป็นการสงเคราะห์ธรรมตามเหตุและปัจจัย มิใช่ว่าทุกๆท่านจะเริ่มหรือจะได้รอบรู้เหมือนกันหมดทุกๆบททุกๆตอน แต่เป็นไปตามกำลังความสามารถที่จะเข้าถึงของแต่ละท่าน เช่นเดียวกับการระลึกชาติ ได้ชาติเดียวบ้าง สองชาติ หรือมากกว่านั้น แต่สำหรับองค์พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม พระสัทธรรมราชาแล้ว พระองค์ท่านมี สัจธรรม อันเป็นที่ตั้ง อันเป็นระเบียบและแบบแผนเดียว จึงเป็นไปตามบทที่กล่าวถึงการตรัสรู้ธรรมอันเสมอกัน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ รองลงมา ก็เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพ พระอรหันตสาวก อุบาสก อุบาสิกา ผู้บรรลุธรรม ทั่วทั้งสหโลกธาตุ


    ผู้มีปฎิสัมภิทาญานและพระอรหันต์ที่เป็นอเสขะแล้วเท่านั้นที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สมควรแก่การฝากเนื้อฝากตัวเข้าเรียนเข้าศึกษา ที่สมควรสนทนาด้วย และผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น จึงจะสามารถรู้ อรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ และประกอบด้วยสุญญตธรรม อย่างบริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง ซึ่งก็ตรงเข้ากับหลักมหาประเทศ ๔ ที่พระองค์ทรงประทานพุทธดำตรัสไว้ ว่าให้พึงสนทนา กับพระอรหันตผู้มีวิมุตติของพระอเสขะ หรือ พระอริยะบุคคลผู้มีปฎิสัมภิทาญาน เมื่อท่านผู้ดำรงสถานะทั้งสองนี้ กล่าวธรรมอยู่ด้วย อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาจึงสมควร

    ไม่ใช่ใครที่ไหนก็ได้ ที่แค่เพียงอ่านออกเขียนเป็น หรือท่องได้ ไม่อย่างนั้นก็วิมุตติ อรหันต์โสดาบันอนาคามีกันหมดเหมือนอย่างคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง


    อาณิสูตร
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน

    ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้

    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
    จบสูตรที่ ๗


    จงเข้าหาผู้มีปฎิสัมภิทาญาน แล้วเธอจักได้เข้าถึงธรรมที่บุคคลผู้นั้นวิสัชนา เพราะประกอบด้วยวิมุตติญานทัสสนะ ผู้แสดงธรรมโดยวิมุตติ ธรรมนั้นย่อมประกอบ วิมุตติ


    นี่คือ ความหมายของ อาณิสูตร

    ไม่ใช่ใครที่ไหนก็ได้ ที่แค่เพียงอ่านออกเขียนเป็น หรือท่องได้ ไม่อย่างนั้นก็วิมุตติ อรหันต์โสดาบันอนาคามีกันหมดเหมือนอย่างคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง


    เมื่อมีปฎิสัมภิทาญาน ย่อมเห็นธรรม ที่บริสุทธิคุณ ถูกต้องชัดเจน งดงาม ไพเราะ ในเบื้องตน ท่ามกลาง และบั้นปลาย ตามนามพระสัทธรรมอันเป็นธรรมราชาของอนันตริยจักรวาลทั้งปวง อันเป็นสิ่งเหนือสหโลกธาตุทั้งสิ้น สุดจะพรรณนาหาความได้

    มีปฎิสัมภิทาญาน ย่อมมีธรรม อันเป็นรูปแบบเดียวกันของศาสนาพุทธในทุกๆยุคสมัยของแต่ละห้วงช่วงพุทธันดรของพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆตามลำดับมา อย่าไปค้นหาที่มา ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าด้วยกัน อันความนึกคิดตริตรองพระองค์ล้วนมีแบบฉบับส่วนของพระองค์เอง ไม่ใช่ฐานะที่จะไปหยั่งรู้ความคิดพิจารณาได้ ถ้าไม่มีคุณสมบัติปัญญาญานที่มากพอ รู้ไว้ตรงนี้


    ถึงเวลานั้นบรรดาคำสั่งสอนที่แอบอ้างเป็นของพระพุทธศาสนา พวกสัทธรรมปฎิรูป คำสอนลัทธิพุทธอื่นนอกนิกายดั้งเดิมหนึ่งเดียวทั้งหลายฯ รวมทั้ง อสัทธรรมนอกพระพุทธศาสนาก็จะจนมุมทำมาหากินที่เบียดเบียนพระพุทธศาสนาเบียดเบียนหลอกลวงเหล่าพุทธบริษัท


    คงโกลาหลกันน่าดู สวนกระแสโลก สงสัยพวกนักสิทธิ การศาสนาลัทธิต่างๆ พวกล่าอาณานิคมที่ทำลายพุทธมาตลอด และที่หวังจะทำลายพุทธ คงผิดหวังในสิ่งที่พยายามทำกันมา หมดท่าไปตามๆกัน


    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย

    มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง


    ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"


    "ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง

    สุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่

    ตน ควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้

    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"


    ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒


    อะไรคือสุตตันตะ

    คำว่า สุตฺตนฺต เป็นภาษาบาลี เขียนเป็นภาษาไทยได้ว่า สุตตันตะ
    มาจากคำว่า สุตะ กับ อันตะ รวมกัน.
    สุตะ หมายถึง การฟัง หรือ พระสูตร
    อันตะ หมายถึง ส่วนสุด (หรือที่มีความสำคัญ)

    สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย

    พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า

    ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง

    ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น

    ๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
    ๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
    ๓. พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ

    ความสำคัญของพระไตรปิฎก

    ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองสั่งเสียกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว จะไม่ทรงตั้งภิกษุรูปใดแทนพระองค์ หากแต่ให้ชาวพุทธทั้งหลายยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ตามพระพุทธพจน์ว่า "โย โว อานนฺท มยาธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป

    พระพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัย ถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดาและเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยทั้งหลายนั้นล้วนได้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฏก ทั้งสิ้น

    อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏก มีความสำคัญดังนี้ คือ

    ๑. เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือคำสั่งของพระพุทธเจ้า
    ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เราสามารถเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระไตรปิฏก
    ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมหรือแม่บทในพระพุทธศาสนา
    ๔. เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คำสอนและข้อปฏิบัติใดๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏก
    ๕. เป็นคัมภีร์ที่ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ

    นี่ตัตถะ และ เนยยัตถะ แปลมาให้เป็นไทยขนาดนี้ บัณฑิตทั้งหลายพึงพิจารณาตามกาล

    เป็นธรรมดาที่จะดูไม่รู้และเดาไม่ออก ว่าทรงตรัสโดยนัย และแน่นอนผู้ที่จะเข้าใจได้ก่อนคือผู้ที่รู้ตามกาลเฉพาะ

    สุตตันตะเหล่าใด นี่ไม่ได้หมายถึง สุตตันตะปิฏกซึ่งเป็นคำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกพระอริยะบุคลผู้ทรงปฎิสัมภิทาและเป็นผู้เสกขะและอเสกขะ


    แต่เป็น
    สาวกภาษิตอีกนัยหนึ่ง ไล่ไปตั้งแต่พระสงฆ์กล่าว คำที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก สาวกในที่นี้ก็รวมพุทธบริษัททั้งหลายฯที่ประกาศตนเป็นสาวกในพระพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย ผู้ซึ่งมีความพึงพอใจและก็ยอมตนพลีกายแม้แต่ชีวิตและลมหายใจเพื่อคำภาษิตนั้น ก็อย่างที่เห็นๆกันอยู่ในปัจจุบัน

    ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้เพียง เรื่องการสวดธรรม
    ทรงห้ามสวดธรรมด้วยทำนองยาว

    [๒๐] สมััยต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า "พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเท่านั้น สวดธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับเสมือนพวกเราขับ" ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ฯลฯ. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า "ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้สวดธรรมด้วยทำนองยาคล้ายเพลงขับ" แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ฯลฯ จริงหรือ."

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "จริง พระพุทธเจ้าข้า."

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ฯลฯ ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ
    ๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
    ๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
    ๓. ชาวบ้านติเตียน
    ๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
    ๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.
    ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับรูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฎ.

    ทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ

    [๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดเป็นทำนองสรภัญญะได้."

    ว่าด้วยสรภัญญะเป็นต้น

    คำว่า การทำเสียง (สรกุตฺตี) ได้แก่ เล่นเสียง.
    ข้อว่า ย่อมเสียไป (ภงฺโค โหติ) มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะยังสมาธิที่ตนยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น, ไม่อาจเพื่อจะเข้าสมาธิที่ตนได้แล้ว.
    ข้อว่า ภิกษุชั้นหลัง (ปจฺฉิมา ชนตา) เป็นอาทิ มีความว่าประชุมชนในภายหลัง ย่อมถึงความเอาอย่างว่ "อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์ก็ดี ของเราทั้งหลายขับแล้วอย่างนี้" จึงขับอย่านั้นเหมือนกัน.

    วินิจฉัยในข้อว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดธรรมด้วยทำนองยาว (น ภิกฺขเ อายตเกน) นี้ พึงทราบดังนี้
    เสียงขับที่ทำลายวัตรนั้นๆ ทำอักขระให้เสีย ชื่อว่าเสียงขับอันยาว. ส่วนในธรรม วัตรสำหรับสุตตันตะก็มี วัตรสำหรับชาดกก็มี วัตรสำหรับคาถาก็มี การที่ยังวัตรนนั้นให้เสีย ทำเสียงให้ยาวเกินไปไม่ควร. พึงแสดงบทและพยัญชนะให้เรียบร้อยด้วยวัตรอันสมบูรณ์.
    คำว่า สรภัญญะ (สรภญฺญํ) คือ การสวดด้วยเสียง. ได้ยินว่าในสรภัญญะมีวัตร ๓๒ มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค) คลิตวัตร (ทำนองดังเลื่อนของ) เป็นต้น. ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้วัตรที่ตนต้องการ.

    การไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยน เปลี่ยนโดยนัยที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.

    ขุททกวัตถุขันทกะ

    สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย จุลวรรควรรณนา


    ใครก็ตามที่ส่งเสริมการแสดงให้คนหลงใหลใฝ่ต่ำไปตามกระแส แสดงในสิ่งที่ยั่วยวนให้ไหลหลง อะไรก็ตามที่สวนกระแสธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เป็นไปเพื่อ ลาภ สักการะ ชื่อเสียง เงินทอง ความสุขสบาย ที่นั่นคือที่ไปแห่งสัมปรายภพ อันมีนรกเป็นคติและสัตว์ติรัจฉานเป็นที่ไปคติ


    ไม่ว่าจะเป็น ดารา นักร้อง นักเขียน นักแต่ง นักแสดง นักพูด นักกีฬา นักเล่นเกมส์ นักธุรกิจฯลฯ ที่หากินในสิ่งที่เจือด้วยบาป ราคะ โทสะ โมหะ อันมีตัณหาเป็นที่ตั้ง เป็นต้น

    ชื่อว่า เป็นผู้ลบล้างพระธรรม เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขา กำลังทำฝนให้ตก แต่ที่จริงคนเช่นนั้น กำลังแสดงธรรมของมาร ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครูของพวกเขาก็คือพญามาร และสาวกของเขาก็คือ บริวารของพญามาร คนที่หลงงมงาย ทำตามคำสอนเช่นนั้น ย่อมจมลงในทะเล แห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ



    ตาลปุตตสูตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆกล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง

    ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย ฯ

    แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตรก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง

    ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนาย คามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะอันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้นนักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ

    อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด

    ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่าอย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย ฯ

    คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์ หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะรื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป

    ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

    จบสูตรที่ ๒



    และก็เป็นไปไม่ได้ สำหรับบัณฑิตในพระพุทธศาสนานี้ จะมีความพึงพอใจในการดูการอ่านการเรียนการเขียนการทำในเรื่องที่จะต้องไปสู่คติสอง อย่างนั้น ต่อให้ดูให้เพ่งอยู่ก็จะเกิดความไม่สบายใจ ไม่ปรารถนา จนสามารถละได้ในที่สุด


    สำหรับบุคคลที่ยังหลงอยู่และเชิดชูบุคคลเหล่านั้น ว่าทำให้มีเสียงหัวเราะและมีความสุข สนุกสนาน ครายเครียดก็เตรียมตัวไปเป็นบริวารในคติสองของบุคคลเหล่านั้นได้เลย

    เรื่องบางเรื่องน่าหวาดกลัวเกินใจจะยอมรับได้ พระพุทธเจ้าท่านก็ยังไม่อยากจะตอบ ต้องรอดูความแน่วแน่ของผู้ฟังเสียก่อน เพราะบางทีเมื่อรู้แล้ว แต่ไม่มีศรัทธา ก็บ่ายหน้าหนีจากพระพุทธศาสนานี้ไปเลย


    ฉนั้น ก็จัดกันต่อไปเหล่าผู้มีคติสองทั้งหลายฯ แห่กันตามไปดูเถิดตามความพอใจและสมัครใจ เลือกเอาเองสัมปรายภพ เราคนหนึ่งที่ขอร่ำลา จ้างก็ไม่ไป

    [ame]



    อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
    http://84000.org/true/543.html

    ----------------------------------------------------------------
    มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
    http://www.84000.org/true/021.html
    -------------------------------------------------------
    คนเกิดเป็นสัตว์ได้
    http://www.84000.org/true/073.html
    ------------------------------------------------------
    คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
    http://www.84000.org/true/074.html
    ------------------------------------------------------
    นรกมีจริงหรือ
    http://84000.org/true/072.html
    ---------------------------------------------------
    ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
    http://www.84000.org/true/495.html
    ----------------------------------------------------
    พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
    http://www.84000.org/true/526.html
    -----------------------------------------------------
    เหตุให้เชื่อชาติหน้า
    http://www.84000.org/true/061.html
    --------------------------------------------------------
    โลกหน้ามีจริงหรือไม่
    http://www.84000.org/true/037.html
    ----------------------------------------------------------- เหตุให้เกิดในภพ
    http://www.84000.org/true/166.html
    ------------------------------------------------------------
    พุทธทำนาย
    http://www.84000.org/true/046.html
    -------------------------------------------------------------

    พระอภิธัมมัตถสังคหะ

    อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ
    http://abhidhamonline.org/aphi/p5/083.htm
    --------------------------------------------------
    กรรมอารมณ์
    http://abhidhamonline.org/aphi/p5/084.htm
    -------------------------------------------------------
    กรรมนิมิตอารมณ์
    http://abhidhamonline.org/aphi/p5/085.htm

    -----------------------------------------------------------
    คตินิมิตอารมณ์
    http://abhidhamonline.org/aphi/p5/086.htm


    มิลินทปัญหา
    ปัญหาที่ ๒ ถามว่า ผู้ที่ทำบาปมาตั้ง ๑๐๐ ปี ถ้าเวลาจะตาย ทำจิตให้ผ่องใสได้ก็ไปสุคคติ จะไปได้จริงหรือ ?
    http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-07.htm
    (เป็นสำนวนแปลของนายยิ้ม ปัณฑยางกูร จากหนังสือ "ปัญหาพระยามิลินท์" ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่าผู้ที่ทำบาปกรรมเรื่อยมาแม้ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ถ้าเวลาจะตาย มีสติระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าได้ ก็ย่อมนำไปเกิดในสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำบาปแม้แต่ครั้งเดียวก็ย่อมไปเกิดในนรกนั้น ดูไม่สมเหตุผล ข้าพเจ้าก็ยังไม่เห็นด้วย

    พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ศิลาแม้ก้อนเล็กโดยลำพังจะลอยน้ำได้หรือไม่

    ม. ไม่ได้

    น. ก็ถ้าศิลาตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียน แต่อยู่ในเรือ ศิลานั้นจะลอยน้ำได้หรือไม่

    ม. ก็ได้สิเธอ

    น. ขอถวายพระพร เปรียบบุญกุศลเหมือนเรือ บาปกรรมเหมือนศิลา อันคนที่กระทำบาปอยู่เสมอจนตลอดชีวิต ถ้าเวลาจะตาย มิได้ปล่อยจิตใจให้ตามระทมถึงบาปที่ตัวทำมาแต่หลังนั้น สามารถประคองใจไว้ในแนวแห่งกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อาจทำใจให้แน่วอยู่เฉพาะแต่ในพระคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ถ้าตายลงในขณะแห่งจิตดวงนั้น ก็เป็นอันหวังได้ว่าไปสู่สุคติ ประหนึ่งศิลา ซึ่งมีเรือทานน้ำหนักไว้ มิให้จมลงฉะนั้น ส่วนผู้ที่กระทำบาปที่สุดแต่ครั้งเดียว ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึงกิริยาอาการที่ตัวกระทำบาปกรรมไว้เท่านั้น จิตดวงนั้นก็เป็นหนักพอที่จะถ่วงตัวไปให้เกิดในนรก ซึ่งเหมือนศิลาที่เราโยนลงไปในน้ำ แม้จะก้อนเล็กก็คงจมเช่นเดียวกัน

    ม. สมเหตุสมผลละ


    คนที่ทำชั่วอยู่จะนึกถึงเรื่องดีก่อนตายเป็นไปได้ยาก ถึงเป็นไปไม่ได้เลย ถึงมีก็น้อยนักแลฯ


    รู้ดังนี้แล้วก็กรี๊ดกร๊าด กรี๊ดสลบกัน แสดง โอ้อวดกันซะให้พอ สัมปรายภพจะได้ไปรอกรีดร้องอีกที่นึง จะได้รู้ว่า ปหาสะ ในกรรมแบบนั้นเป็นอย่างไร?

    ชอบสนุกกรี๊ดร้อง ก็จะได้ทำกิจกรรมอย่างนั้นล่ะ! สถานที่มีหลายเวอร์ชั่น ทั้งร้อน หนาว ปวดแสบปวดร้อน ทุกข์ทนทรมานแบบไม่ได้หยุดหายใจ จะตายก็ตายไม่ได้ คำว่าจนใจจะขาด ถึงเวลาก็จะรู้เอง


    ถ้ารู้ไม่ทัน ว่าอะไร? มาทำให้จิตที่บริสุทธิ์ เสียหาย จะหนีไปไหนพ้น ในสิ่งที่เข้ามากระทบ จนทำให้เกิดอกุศลจิต จนเป็นปัจจัยให้ไปก่อเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ในที่นี้คือทุกข์ในเหล่าอกุศลกรรม มิใช่ทุกข์ที่มีมาในเหล่ากุศลกรรม

    หรือเรียกว่า" บาปอันเป็นทุกข์ "

    ๑. ขันธมาร มารคือขันธ์ ๕ ร่างกายไม่อำนวยให้ทำความดี เช่น เจ็บป่วย ทุพพลภาพทำให้หมดโอกาสดี ๆ ในชีวิต


    ๒. อภิสังขารมาร มารคือบุญบาป ความชั่วทำให้ขัดขวางมิให้บรรลุคุณธรรม และบางทีบุญก็ขัดขวางเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเหตุให้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ ผู้ที่ทำบุญไปเกิดในภพภูมิที่ดีเช่นสวรรค์ ก็หลงมัวเมาไม่รู้สร่าง อย่างนี้แหละที่ท่านว่าบุญก็เป็นมารมิให้บรรลุธรรม


    ๓. กิเลสมาร มารคือ กิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นมารเพราะขัดขวางมิให้บุคคลบรรลุผลสำเร็จดีงาม


    ๔. มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายทำลายทุกสิ่งในชีวิต บางทีกำลังก้าวหน้าใน ชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ก็มาด่วนตายเสียก่อน ความตายจึงตัดโอกาสดี ๆ ในชีวิต


    ๕. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร เทวดาที่เกเรคอยขัดขวางมิให้คนทำดี หมายเอาเทวบุตรฝ่ายอันธพาลทั้งหลายอย่างสูง หมายเอาพญามารชื่อวสวัตตีที่กล่าวข้างต้น


    อวิชชา หมู่มวลอาชีวะการงานที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ


    อยาตนะภายนอกที่เข้ามากระทบและสัมผัสในแวดวงสังคมตลอดยุคสมัย


    อุปนิสัยที่สั่งสมมาตลอดหลายภพชาติ


    ล้วนแต่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิดความดำริ ความคิด โดยเฉพาะอกุศลจิต ก็ให้รู้ว่าโดนเล่นงานเอาเข้าแล้ว เมื่อรู้ไม่เท่าทันจิตของตนเอง ปราศจาก หิริโอตัปปะ ก็ต้องตกเป็นทาสมารวิสัยเช่นนั้น ก่อเหตุสร้างกรรมถ้วนทั่วไป

    เมื่อเกิดธรรมารมณ์ที่ประกอบด้วยอกุศลจิตที่โคจรมา




    อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ
    ๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน

    ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

    ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

    กัสสกสูตรที่ ๙
    สาวัตถีนิทาน ฯ
    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้
    สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุ
    เหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับ
    ธรรมอยู่ ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยัง
    ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่
    ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อน
    โคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะ
    ท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วย
    โคทั้งหลายเล่า ฯ

    มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเรา
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น
    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่
    โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรา
    กลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะ
    หนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือ
    วิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่
    สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กาย
    สัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเรา
    ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเรา
    ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป

    จักษุเป็นของท่าน

    รูปเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้

    ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ
    สัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    โสตเป็นของท่าน

    เสียงเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    จมูกเป็นของท่าน

    กลิ่นเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ลิ้นเป็นของท่าน

    รสเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ใจเป็นของท่านธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน

    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน

    แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่
    มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ

    มารกราบทูลว่า
    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา
    ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้น
    เราไปได้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ


    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
    พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ




    รู้ให้ทัน ก็มีสติอยู่ทุกเมื่อ และเป็นสติที่เหนือโลกธรรมแปด ครอบงำโลก อันเป็นเหตุให้เกิดสติปัญญาตามมา ความปรารถนาที่ผ่องใสขึ้น อย่างทันทีทันใด


    ที่เหลือก็ให้ปล่อยไปตามสภาวะ ธรรมสมบัติ ที่ได้รับการถ่ายทอดมา


    รู้ตามหรือยัง? ผู้หวังความเจริญในพระสัทธรรมควรรู้ตามและต้องทำให้ได้



    ไม่รู้จะบอกจะสอนจะเตือนอย่างไร? เลือกกันเอาเอง ถือว่าเตือนแต่ผู้มีสติปัญญาในธรรมที่ไม่ยอมให้เสียเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์

    คงไม่ต้องนำภาพมาแสดงประกอบ คนบางคนรู้จักตนเองดีขึ้น คิดถึงเวลาสัจธรรมความเป็นจริงและประโยชน์ที่ได้รับไม่มี คงจะรู้สึกทุเรศ อับอาย เสียใจที่ตนเองเคยได้ไปขวนขวายเช่นนั้น


    เราขอเตือนผู้แสวงหาทางเช่นนั้นไว้ สิ่งที่เธอได้ขวนขวายกระทำเช่นนั้นมาตลอดชีวิต แม้ยามชรา เจ็บไข้ได้ป่วย ใกล้จักล้มหายตายจากไป ก็ยังไม่เลิกพฤติกรรมเช่นนั้นอีกหรือ ยังจะทำมาหากินกับสิ่งเหล่านั้น พรากเหล่าบริษัทโดยการประทุษร้ายเช่นนี้ไปจนตายขาดดิ้นสิ้นลมหายใจหรือ เหล่าสาวกภาษิตเอย

    นี่ล่ะ สาวกภาษิต ในพระพุทธศาสนา ปฎิญานตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึงผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ทำมาหากินกับติรัจฉานวิชาเหล่านี้ สวนกระแสพระธรรมคำสั่งสอน เต้นกินรำกิน โดยแสวงหาลาภ สักการะ และสรรเสริญ แบบนี่ล่ะที่บรรพบุรุษท่านไม่ส่งเสริมให้นำเข้าสู่เหย้าเฝ้าเรือน เพราะจะนำความเสื่อมความฉิบหายมาสู่ตระกูล บรรพบุรุษก็พลอยเสื่อมจากบุญฯที่จะได้รับ


    สำหรับสมณะสาวก ถ้าไปทำอย่างนั้นก็ขอให้ฉิบหายตามโบราณจารย์เจ้าท่านว่ามา
    "เพิ่นสิฮ่อนหาคนดีไผผู้มีศีลธรรมอยู่เขิงคาค้าง ไผเดินทางผิดเส้นทำตนเป็นคนชั่ว มันสิลอดกระด้งบ่มีค้างแผ่นเขิง"


    เพื่อพิจารณาประกอบ ในกรณีของผู้เห็นธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1213022441.jpg
      1213022441.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43 KB
      เปิดดู:
      99
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2017
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เรื่องที่ถามมา "ก็แค่เล่าสู่กันฟัง" แต่ไม่รู้ว่า "มันมีพวก อิจฉาตาร้อน บอกว่า โชว์พวกเรา" หุหุ...

    +++ ไอ้นี่มัน "เห็นคนอื่นได้พบ พระพุทธเจ้า แล้ว เป็นทุกข์" นี่มันลักษณะของ "สัตว์นรก" ชัดเจนมาก

    +++ นี่แหละหนา พวก "ปัญญาอ่อน" มันถึงได้คุยกับใคร "ไม่รู้เรื่อง"
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ก็ดี "ลบความโง่" ของตนทิ้งซะบ้าง พระพุทฅธศาสนาจะได้ เบาบางลงไปหน่อย

    +++ "นักปาด" ปัญญาอ่อนของเอ็งหนะซิ
    +++ จรรโลงคำสอนของพระพุทธเจ้า หนะดี แต่ "จรรโลงความเห็นของเอ็งหนะ มันเลว"

    +++ เขาเล่าสู่กันฟังเฉย ๆ แต่ "สัตว์นรก" มันเห็นว่า "เป็นการโชว์เพาเว่อร์" แม่แต่ หลวงปู่มั่น มันก็ยังระบุว่า "เป็นพวกขี้โม้" ตลอดเวลา
    +++ ข้า "ไม่สนใจว่าจะ ตอบเอ็งหรือไม่" แต่จะให้ "ผู้อ่านทั่วไป" เห็นว่า ใครมันเป็น "คนใจแคบ" กันแน่
    +++ เอ็งไม่อ่าน "คนอื่น" เขาก็อ่านเองเป็น เอ็งไม่ต้องไปอ่าน แทน ชาวบ้านหรอก ปัญญาของเขา เหนือกว่าเอ็งหลายเท่านัก
     

แชร์หน้านี้

Loading...