ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. หัวอ่อน

    หัวอ่อน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2016
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +4
    = = แค่บอกที่เคยฝึกมาเฉยๆครับ เพราะเคยอ่านอาจารย์บอกว่าให้กลุ่มก้อนแต่ละส่วนมารวมกันทีหลังเป็นตัวเต็มได้ ตอนนี้เริ่มใหม่แล้วไม่ใช่ว่าจะไม่ทำตามที่อาจารย์แนะนำนะครับ
    เป็นการเริ่มต้นที่ดีจริงๆ นั่งซึมเลย ๕๕๕ :'(
     
  2. ถวาย

    ถวาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +4,484
    ของเพื่อนหลังจากได้ลองปฏิบัติมีความรู้สึกว่า ตอนหายใจเข้ามันมีหารอาการรู้ และชาบนผิวหนังที่แขน พอเร่งให้เยอะขึ้นก็พอรู้ แต่เหมือนไปไม่สุด แต่พอปล่อยให้ลด ก็มีความรู้สึกน้อยลง แต่ก็ลงไม่สุด แล้วจะมีอาการชาคันยิบๆแต่ไม่คันทั้งตัว ตลอดวันแต่อ่อนๆ เพราะเฝ้าดูอาการแบบนี้มาหลายปี จะรู้มีอาการแบบนี้คลุมตัวตลอดเวลา เพราะฝึกแบบนี้มานาน แต่ไม่รู้คืออะไร
    เลยมาถามอาจารย์ เพื่อสามารถเข้ากลุ่มฝึกใหม่ริบใหม่ได้ครับ
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อาการที่กล่าวมา "ถูกต้อง" แล้ว แต่ควรพยายามทำความรู้สึก "ภายใต้ผิวหนัง" ที่มีอาการคล้าย "สนามแม่เหล็ก" ให้ได้ทั้งตัว แบบที่บทสวดว่า "ตะจะปริยันโต (มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ)"

    +++ หากทำความรู้สึกได้ "ชัดเจน" จะดีมาก แต่ถ้าทำได้แค่เพียง "คร่าว ๆ แต่ทั้งตัว" ก็ถือว่าไช้ได้แล้ว

    +++ ตรวจสอบได้จากหน้าแรก โพสท์ที่ 7 ของกระทู้นี้ "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    +++ ผู้ที่เข้ามาฝึกกลุ่มปัจจุบัน "มีเริ่ม ฝึกจบ บ้างแล้ว" ไม่นานก็จะจบได้ทั้งหมด จากนั้นจึงจะเริ่มรับกลุ่มใหม่ ดังนั้นให้พยายามทำ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" ให้ได้นะครับ
     
  4. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    แจ้งข่าวจาก อ. ตอนนี้อาจารย์ไม่สามารถเข้าล็อคอิน เคยกดรีเซทพาสเวิร์ดไว้แต่ไม่เคยได้รับอีเมล์จากเวปพลังจิตตอบกลับมาเลย

    ปล. อาจารย์ไม่ใช้เฟสบุ๊ค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2017
  5. Eaktk

    Eaktk สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +19
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว
    ทบทวนครับ

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     
  6. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    ให้ท่านธรรม-ชาติสมัครใหม่ได้มั้ยครับ
    ใช้ชื่อใกล้เคียงชื่อเดิมก็ได้ครับ
     
  7. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ได้รับ password แล้ว ขอบคุณครับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ผมได้ "แจงรายละเอียดเพิ่มเติม" ในโพสท์แรกของกระทู้นี้ เพื่อให้มี "อรรถาธิบาย" เพิ่มขึ้นมาบ้าง และจะค่อย ๆ เพิ่ม อรรถาธิบาย ไปเรื่อย ๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย

    +++ การฝึกนอกสถานที่ในรุ่นที่เพิ่งผ่านมา 4-15 มค 2017 นี้ ได้ผลลัพธ์เพียงพอที่จะเรียกได้ว่า "ฝึกจบกันทุกคน" เหลือแต่เพียง เกร็ดเล็กน้อย หยุมหยิม หรือ รายละเอียดแตกย่อย เท่านั้น ซึ่งสามารถ เดินจิตเข้าสู่อาการได้ภายใน 1-2 นาที ก็จะทำ "ธรรมะวิจัยยะ" ได้เสร็จสิ้น

    +++ สำหรับผู้ที่สนใจในการฝึกในรุ่นต่อไป (เริ่มรับ 23 มค. 2560)

    1. "ขั้นต่ำ" ควรฝึกได้ในระดับ "ทำความรู้สึกตัวทั่วถึง" ได้แล้ว
    2. มี gmail และสามารถใช้ hangout ในการสื่อสารได้
    3. การฝึกจะเป็นช่วง หลัง 21.30 หรือประมาณ 22 น. ของทุกวัน การฝึกเสร็จในแต่ละวัน ขึ้นกับ สถานะความสะดวกของผู้เรียนเอง หากบางคนต้องตื่นเช้า ก็ออกก่อนก็ได้ แล้วมาทบทวนในวันต่อไป
    4. การฝึกนอกสถานที่อาจจะ "มี/ไม่มี" ก็ได้ แล้วแต่รุ่นจะลงความเห็นและตกลงกันเอง

    +++ แจ้งมาให้ทราบเพียงแค่นี้ก่อน นะครับ
     
  10. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    เพิ่งเข้าเรียนรอบวันที่ 23 มค นี้....เรียนสนุกมากๆๆๆ

    และปฏิบัติได้จริง ทำได้จริงค่ะ

    ขอบพระคุณอาจารย์และน้องๆ ทุกท่านที่ช่วยสอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2017
  11. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    :)
     
  12. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
  13. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    อ่านตรงนี้แล้ว เข้าใจขึ้นมากเลยคะ
    ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากคะ
     
  14. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511

    เห็นด้วยเป็นที่สุดคะ......... ขณะที่ทำ...จิตเคลื่อนร่าง...
    วาระจิต จะเปลี่ยนเป็น "เย็นสบาย แผ่วพริ้ว" คะ
     
  15. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว
    ทบทวนคะ

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     
  16. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    +++ ตัวพากษ์ หรือ ตัวพูดมาก ตรงนี้ให้คอยสังเกตุให้ดี มันมีโทษมหันต์ สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักมัน แต่สำหรับผู้ที่รู้จักมันดีจนใช้งานมันได้ มันก็จะเป็น "คุณอนันต์" เพราะมันคือตัว "ปฏิสัมภิทาญาณ" นั่นเอง และยามใดที่ใช้มันจนคล่องแคล่วแล้ว ก็จะสามารถทำ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ได้ ดังนั้นตรงนี้เป็นจุดที่ระบุชี้ได้ว่า "อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ย่อมมีรากฐานมาจาก ปฏิสัมภิทาญาณ" เท่านั้น


    ...ตัวพูดมาก สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก ก็คือตัวที่ทำให้คนพูดเยอะ,เพ้อเจ้อครอบคลุมพื้นที่ยิ่งกว่า 3G, ฟุ้งไปเรื่อย, รวมถึงคิดมาก คิดเยอะ..พูดแล้ว.ทำให้คนทะเลาะกัน การพูดที่ไม่คิด ,บางคนอาจบอกว่าเป็นพรสวรรค์ แต่จริงๆ ตัวนี้แหล่ะที่จะเป็นตัวกำหนดภพภูมิของตนต่อไปด้วย ฯลฯ....
    ...แนนก็ตัวพูดมากทำงานเยอะมากๆๆๆ ฟุ้งมาก ยุ่งเรื่องชาวบ้านเค้าไปหมด กำลังจะฝึก.เดี๋ยวก็เอาเรื่องทางบ้านมาพูดให้คนนั้นคนนี้ฟัง..หรือตอนนั่งหลับตาทำสมาธิ..ก็ไม่นิ่งหรอก..คิดไปโน่น นี่ นั่น เรื่อยเปื่อย...มันขวางการฝึกกรรม-ฐาน และการฝึกสมาธิจริงๆ........


    ....จะหาตัวพูดมากเจอ...ควบคุมและใช้งานมันได้ ต้องฝึกจิต ค่ะ....เริ่มต้นง่ายที่สุดด้วยการฝึกทำความรู้สึกทั่วตัว ให้ได้ นี่แหล่ะ..........

    ...ฝึกทำความรู้สึกทั่วตัวให้ได้..... ต่อไป..จะได้ดูละครจากตัวพูดมากกัน....สนุก ตลก มากกว่าละครในทีวี อีก

    ..ขอบคุณอาจารย์ธรรม-ชาติ ที่ช่วยสอนและให้เห็นสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นในขณะที่ฝึกจริงๆ คะ......
     
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "ตัวพูดมาก" ตัวนี้เป็น "ภาษาวงใน" ของผู้ปฎิบัติในกระทู้นี้

    +++ แต่ตัวเดียวกันนี้แหละที่ หลวงตามหาบัว ท่านเรียกมันว่า "ตัวผีบ้า"

    +++ และตัวนี้มีกล่าวถึงใน "หลวงปู่ฝากไว้" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    +++ ที่มีกลุ่มพระ ปวารณาตัวว่าจะไม่พูดกันตลอดพรรษา
    +++ แล้วหลวงปู่ดูลย์พูดว่า "มันไม่พูดกับใคร มันก็พูดกับตัวมันเองนั่นแหละ"

    +++ ทั้งหมดมันเป็นตัวเดียวกัน "อย่าเผลอไปหลงมันเข้าก็แล้วกัน"
    +++ มีผู้ที่หลงไปกับมันมากมาย เพราะนึกเอาเองว่า "มันเป็นเสียงของผู้รู้"

    +++ ตัวนี้หลวงปู่ สิม พุทธาจาโร เรียกมันว่า "วจีจิตตะสังขารขันธ์"

    +++ จริง ๆ แล้ว มันก็มาคู่กันกับ "มโนจิตตะสังขารขันธ์" เหมือนกัน
    +++ ต้องระวังให้ดี ๆ นะ "ทำให้มัน ถูกรู้ แยกมันให้ออก (วิมุติญาณทัศนะ) พ้นจากความเป็นตน" จนเป็น อัตโนมัตินะ
     
  18. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ทบทวนคะ....

    สติ ตามระดับของผู้ฝึก

    1. "ระลึกไม่รู้" เป็นอาการของผู้ที่ยังไม่เคยฝึก หรือ อยู่ในขั้นพยายามฝึก แต่ยังไม่รู้ว่า ระลึกรู้คืออะไร และอาจมีคำถามว่า "รู้ยังไง" หรือ "อะไรคือรู้" กิริยาอาการ คือ พยายามระลึกสิ่งต่าง ๆ แล้วเข้าใจว่า "รู้" คือ สิ่งที่ระลึกนั้น ๆ เพราะ สติ ตามธรรมดา ของผู้ที่ไม่ได้ฝึก หมายถึง "ความจำ" ตรงนี้ต้องมีผู้ชี้แนะเบื้องต้นว่า "สติคือระลึกรู้ตัว" เสียก่อน และผู้ที่ยังอยู่ในระดับนี้ จะเข้าใจว่าการ "เห็น" ทุกชนิดคือ "รู้" ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "สติ" ตามความเป็นจริง แม้แต่น้อย

    2. "ระลึกรู้" เป็นอาการของผู้ฝึกเบื้องต้นที่พอรู้ว่า การระลึกรู้ร่างกายของตัว คือ สติ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้ มักจะเห็นว่า "สติ" ไม่มีความหมายอะไรเลย เกิดฤทธิ์ไม่ได้ ไม่ใช่ทางแห่งสมาธิ และไร้ประโยชน์ และ "ยังหลงเข้าใจผิด อย่างรุนแรง" เสียอีกว่า พอระลึกรู้ตัวแล้วก็คิดไปเรื่อย ๆ คือ วิปัสสนา และเป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้ชี้แนะให้ข้ามพ้นด่านนี้ หาได้ไม่ง่ายนัก

    ครูบาอาจารย์บางท่าน จึงกำหนด "วิธี" เพื่อใช้ในการ "ฝ่าด่าน" นี้ออกมา ด้วยการให้ผู้ฝึกใช้ "การตั้งสติ "อยู่" กับลมหายใจ" เพื่อให้ส่วนของ "การรู้ตัวแคบลงมา อยู่ที่ระบบการหายใจ เท่านั้น" ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ยาก และไม่ต้องการคำอธิบายที่ฟุ่มเฟือย ที่มักจะกลับมาเป็นอุปสรรคต่อการฝึกในภายหลัง ด้วยการเป็น "ความจำหลอน" ที่ขัดขวางการทำสติ ซึ่งในจุดนี้ ครูบาอาจารย์บางท่าน จึงกำหนด "อุบาย" ขึ้นมา "สกัดกั้น ความจำหลอน" ด้วยการเพิ่ม "คำบริกรรม ภาวนา" เข้าไปอีกชั้นหนึ่งเช่น "พุทโธ นะมะพะทะ หนอ" ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับมหาชนส่วนใหญ่ และคนส่วนใหญ่จะทำได้ไม่ยาก

    แม้ว่า "วิธี" นี้สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิด สติ ได้ก็ตาม แต่อุปสรรคใหญ่ในด่านนี้ที่มีคือ ยามใดที่ลมหายใจเริ่มสงบช้าลง เพราะ "จิต" เริ่มทรงตัวเป็นสมาธิ เพราะ "หยุดการวุ่นวายกับสิ่งอื่น" แล้วมา "อยู่" กับลมหายใจ หรือ อิริยาบท แต่เพียงอย่างเดียว อาการเบื้องลึกที่เรียกว่า "จิตใต้สำนึก" ก็จะเริ่มแสดงตนขึ้นมา และเป็นที่รู้กันในหมู่นักปฏิบัติว่า นั่นคือการ "ตกภวังค์" ซึ่งจะมีความรู้สึกแบบ "ซึมสบาย" เป็นความรู้สึกเด่น และ "ภาพความคิดจินตนาการจากจิตใต้สำนึก" เป็นตัวแสดงหลัก

    นักปฏิบัติกว่า 80% จะไม่สามารถผ่านด่าน ภวังค์แห่งจิตใต้สำนึก ตรงนี้ไปได้ และมักจะเข้าใจว่า อาการนี้เป็น ฌานสมาบัติ โดยมี จิตอยู่ในสภาพเป็นทิพย์ รู้ เห็น สภาวะแห่ง ภพภูมิ อื่น เป็นต้น และ "ผู้ที่ติดอยู่ในด่านนี้" จะไม่ฟังใคร ดังนั้น ครูบาอาจารย์จึงมักกล่าวอย่างสั้น ๆ ว่า "อย่าติดฤทธิ์" ทิ้งไว้ให้เท่านั้น

    ส่วนผู้ที่ผ่านด่านนี้ไปได้ กว่า 90% เฉพาะของผู้ผ่าน มักจะอยู่ในอาการ "ซึมสบาย" ซึ่งเป็นอาการ "ก่อนตกภวังค์" แต่มีปรากฏการณ์อื่นเข้ามาแทรกแซง ทำให้ "จิตตื่นขึ้นมา" แล้วทำให้ "ความรู้สึกทั้งตัว" เกิดขึ้น หากผู้ใดสำเหนียกถึงตรงนี้ได้ ก็สามารถใช้ "ความรู้สึกทั้งตัว" นี้พัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป จนถึงชั้น "ถอดกาย" อันเป็นเรื่องของ "ทิพย์" อันแท้จริงได้

    3. "กำหนดรู้" เป็นอาการของผู้ที่รู้จักอาการของ "ความรู้สึกทั้งตัว" ได้แล้ว และรู้ชัดเจนว่า "ความรู้สึกทั้งตัว" ไม่เหมาะกับคำว่า "ระลึก" เพราะเป็นของที่ต้อง "ลงมือทำด้วยการ กำหนดจิต" ให้เข้าสู่ความรู้สึกตัวเท่านั้น "ความรู้สึกทั้งตัว จึงเกิดขึ้นได้" และยามใดที่ "ความรู้สึกทั้งตัว" เกิดขึ้นแล้ว จะไม่หวลกลับไป "ตกภวังค์" อีก แต่จะเป็นการเข้าสู่ ฌาน1 โดยตรง โดยที่มี "สติ เป็น Subject" และ "ความรู้สึกกาย เป็น Object" รวมทั้งการ "ปรับ วสี" ที่ Object ด้วย

    *** การฝึกในกระทู้นี้ จะเริ่มต้นที่ข้อ 3 เป็นต้นไป โดยจะกล่าวถึง "วิธีการ สร้างความรู้สึกตัว" จนถึงการปรับระดับ ของความรู้สึกตัวในระดับต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนในเรื่องของการ

    1. ทำความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "เข้า"
    2. ออกจากความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ออก"
    3. เพิ่มความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "เร่ง"
    4. ลดความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ผ่อน"
    5. หยุด แช่ และ อยู่ กับความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ตรึง แช่ และ อยู่"

    ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นการใช้ภาษาที่ผู้อ่านพอที่จะเข้าใจได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว การฝึกทั้ง 5 ข้อนี้เรียกว่า การฝึก วสี 5 ***

    การฝึกในขั้นตอนนี้เป็นการฝึกที่เกี่ยวกับ "ความรู้สึก" ทั้งหมด รวมทั้งปรากฏการณ์ "การแยกความรู้สึก และ การแยกสรรพสิ่ง" จะอยู่ในขั้นตอนนี้ด้วย และยามใดที่ผู้ฝึกสามารถรู้จัก "การกำหนดและผลลัพธ์ของการกำหนด" ทางจิตแล้ว ก็ย่อมไม่ยากที่จะเห็น "กิริยาจิต" ได้ และจากการคุ้นเคยกับกิริยาจิต จึงทำให้

    4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้" ผู้ฝึกในขั้นตอนนี้ มักจะเป็นผู้ที่รู้จัก "การทำงานของจิต ในระดับ 1 วาระจิต" เป็นอย่างดี และมักจะรู้ว่า ขณะจิตนั้น ๆ เกิดจากจิตตนหรือไม่ และหากไม่ใช่ ก็ไม่ยากที่จะรู้ว่า กิริยาจิตนั้น ๆ เป็นของใคร การฝึกในระดับนี้ ไม่นานก็จะฝึกไปถึงขั้น "ใครสร้าง กิริยาจิต" แล้วจากนั้นไม่นานก็จะเริ่มรู้ว่า "ใครคือผู้สร้าง" และจากนั้นก็จะเริ่ม "อยู่กับผู้สร้าง" แล้วจะเริ่มชัดเจนได้เองว่า "ผู้สร้างคือตน" นั่นเอง

    5. "อยู่กับตน" สภาวะของผู้ฝึกในระดับนี้ จะมี "สติ" เป็นลักษณะเด่น มี "ความรู้สึกแห่งจิต" ชัดเจน ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์ภายนอก รวมทั้ง ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์จากความคิดตน รู้อากับกิริยาอาการของจิตตน ชัดเจน มีความสามารถในการ "หยุดกิริยาจิต" ได้ และผู้ฝึกในขั้นตอนนี้มักจะอยู่ในสถานะของ "ผู้ทรงฌาน" และถ้าหาก สามารถไล่เรียงสภาวะของ "อารมณ์เด่นอารมณ์เดียวได้" ก็จะสามารถเข้าถึงสภาวะของ "จิตเปล่งรังสี" ได้ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้จะ รู้ตนอย่างชัดเจนว่า "การฝึกยังไม่จบ" แม้ว่าจะไปเทียบเคียงกับตำราใดก็ตาม ที่กล่าวว่าเป็น "บุคคลที่ฝึกจบแล้ว" แต่ ตนก็ยังรู้ตน ชัดเจนว่า เรื่องยังไม่จบตรงนี้ จากนั้นไม่นาน ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการ "ดูตน"

    6. "ดูตน" สภาวะของผู้ฝึกในระดับนี้ จะมี "อาการดู" เป็นลักษณะเด่น แต่จะมีสภาวะของ "สติ" เป็นผู้ควบคุม "อาการดู" อยู่เสมอ ไม่นานก็จะสังเกตุได้ว่า "ยามใดที่ไม่ได้ ดูตน" อาการที่ "เป็นตน" ก็ปรากฏขึ้นทุกครั้ง และยามใดที่ "ดูตรง ๆ ไปที่อาการที่เป็น ตน" ความเป็นตน กลับหายไป และในขณะที่ "ความเป็นตน ไม่ปรากฏนี้" ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยัง มีอยู่ รู้อยู่ เหมือนเดิม ไม่มีอะไรหายไปไหน มีแต่ "ความเป็นตน" เท่านั้นที่หายไป จึงมักกลายเป็นการสลับกันระหว่าง "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ไป

    7. "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ผู้ฝึกในระดับนี้ มักจะรู้ได้ว่า "ยามใดที่ตนมีอยู่ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน" และในทางกลับกัน "ยามใดที่ไร้ตน ยามนั้นย่อมไร้ทุกข์" ไม่นาน การฝึกย่อมพัฒนาไปสู่การสำรวจ "ขั้นตอนการกำเหนิดของสิ่งที่เรียกว่า ตน" จนเห็น "พลังงานที่พัฒนามาเป็นตน" จนถึง "ต้นกำเหนิดของพลังงานนั้น" จึงรู้ได้ชัดเจนเองว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของ "สภาวะเสถียร ที่พัฒนามาเป็น สภาวะจล" (The Development from Static to Dynamic) และสภาวะ จล นี้กำเหนิดเป็น ตน แล้วหลงวนเวียนอยู่ในสภวะ จล ทั้งหมด เมื่อสิ้นสงสัยในสภาวะธรรมทั้งหมด แห่งความเป็นตนแล้ว ย่อมรู้ชัดเจนว่า "การอยู่กับรู้ คือการออกจากทุกข์" นั่นเอง

    8. "อยู่กับรู้" เมื่ออยู่ได้สักพักหนึ่ง ก็จะมีสภาพเหมือนกับ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโลกกับสังคมทางโลก เหมือนกับการเรียนรู้แบบใหม่ "แต่เป็นการเรียนรู้ ขากลับ สู่โลก สู่สังคม" แต่ทัศนะต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปและไม่หลงไปกับกระแสทางโลกอีก การกระทำตัวก็จะเป็น คนธรรมดา ปกติเหมือนคนทั่วไป ซึ่งปกติแล้ว จะไม่มีใครดูออก เพราะจะไม่มีการแสดงอะไรที่ต่างไปจากคนธรรมดาสามัญ ข้อแตกต่างจะมีเพียงนิดเดียวเท่านั้นคือ "รู้เรื่องของจิต" และรู้ว่า เวลาจะตาย "ต้องวางจิตอย่างไร" เท่านั้นเอง

    9. "อยู่กับความเป็นจริง" เมื่ออยู่กับ รู้ ได้เป็นบางช่วงแล้ว จึงสามารถเรียนรู้ได้ว่า "ตราบใดที่ยังดำรงค์ชีวิตอยู่ ตราบนั้น ระบบการทำงานของ ทั้งร่างกายและจิตใจ (ขันธ์) ก็ย่อมมีอยู่ตามความเป็นจริง ทั้งหมด" ซึ่งตรงนี้ ภาษาของพระป่าที่มาถึงตรงนี้แล้ว ท่านเรียกมันว่า "เศษกรรม" ซึ่งมีอยู่จริงตลอดเวลา และยามใดที่ "พยายามฝืน เศษกรรม นี้ ทุกข์ ก็ย่อมเกิดขึ้น" ดังนั้น ผู้ที่ถึงตรงนี้แล้ว "จะไม่พยายาม ทำตัวให้ดูดี" ไม่ทำตัวให้เป็น "ทาส แห่งความเป็นอรหันต์ ตามความคิดของผู้ใด ทั้งสิ้น" และการดำรงค์ชีพ จะสอดคล้องกับ ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยไม่มีข้อแตกต่างใด ๆ ในจิต และความเป็นธรรมดาสามัญนี้ จะไม่มีผู้ใดดูออกได้เลย เพียงแต่อยู่ด้วยความไม่ประมาท และพร้อมที่จะวาง "ความเป็นตน" ทิ้งไป เมื่อถึงเวลาที่ "เศษกรรม" จบสิ้นลง เท่านั้น
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ สำหรับผู้ที่สามารถ "อยู่กับรู้" และสามารถ "อยู่กับความเป็นจริง" เป็นแล้ว ก็ควรที่จะไม่ประมาทในระหว่างการดำรงค์ชีพตามปกติ

    +++ จะถือว่าเป็นระดับที่ 10 ก็ได้คือ "เปลี่ยนจากไม่รู้ มาเป็นรู้ โดยไร้กิริยาจิต" คือในยามใดที่ "รู้" อยู่ว่า โดนสภาวะแห่ง "ไม่รู้" เข้าครอบงำ ก็ให้ฝึก "เปลี่ยนจาก ไม่รู้มาเป็นรู้ โดยไม่มีการเดินจิต" แต่อย่างใดทั้งสิ้น มันจะเป็นอาการคล้ายกับการ "พลิกจิต" ชนิดหนึ่ง ที่มันพลิกตัวมันเองจาก "ไม่รู้ มาเป็น รู้" โดยอัตโนมัติ

    +++ บุคคลที่เคยฝึกจน รู้-เห็น (ญาณ-ทัศนะ) สภาวะของ อณู (ทิฐิภูติ) ที่ก่อให้เกิด ฝ้าหมอก (อวิชชา) เข้าบดบังสภาวะ "ว่าง-รู้" ตลอดจนถึงสภาวะ ผัสสะ-รู้สึก โดนดึงดูด-ยึดติด (ตัณหา-อุปาทาน) จนถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อความเป็นจิต ณ ขณะนั้น ๆ (ภพ) ก่อนที่จะเกิดการ "ถอนจิต" (ชาติ) เข้าสู่สภาวะการณ์ปัจจุบัณ (จุติจิต)

    +++ ผู้ที่ฝึกจนรู้จัก กระบวนการของ "จุติจิต" มาแล้วเป็นอย่างดี จะสามารถทำ สติ ในระดับที่ 10 นี้โดยไม่ยาก

    +++ ส่วนเรื่องของ "ภพภูมิที่เกิดอยู่ในโลกธาตุที่หมุนวนเป็นวัฏฏะ (ภพภูมิ ที่อยู่ในสภาวะ ธาตุที่หมุนวน จนเป็นแหล่งที่ จิต เข้ามาจุติ)" นั้นเป็นเรื่อง "น่าอึดอัด น่าเบื่อหน่าย ไร้เสถียรภาพ" การต่อสู้ดิ้นรนของสรรพจิตในสภาวะนี้ ต้องทำให้จิตมีสภาวะ "โล่ง โปร่ง เบา" จึงจะอยู่ใน "กามาวจรที่เป็นสุข" หรือไม่ก็ต้อง ประคองจิตให้อยู่ใน "สภาวะอารมณ์เดียว" จนไร้ลักษณะขอบเขต (อรูป) เป็น ภาระอันหนักส่วนบุคคล ที่จะต้องรับผิดชอบแบบจิตใครจิตมัน

    +++ ผู้ที่ฝึกจน พ้น จากโลกธาตุ อันเป็น โลกธรรมของ 3 สภาวะคือ กามาวจร รูปาวจร และ อรูปาวจร มาแล้ว หากจะเรียนรู้ในสภาวะที่ ไม่เกี่ยวข้องกับ โลกธาตุ อีกต่อไป ก็อย่าประมาทในการทำ รู้-แจ้ง-จ้า (ไกวัลยธรรม คำศัพท์จาก หลวงพ่อพุทธทาส) จนเป็นอัตโนมัติจนได้นิสัย นะครับ

    +++ ผู้ที่ฝึกจากรอบวันที่ 23 มค ปัจจุบัณถือว่าเป็นผู้ที่ทำ สติ ในระดับที่ 10 ได้บ้างแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ชำนาญก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่า "เป็นผู้ที่ฝึกจบแล้ว"

    +++ ช่วงนี้หากมีผู้ที่สนใจ ในการฝึกฝนในรอบต่อไป ก็ให้แจ้งมาทาง PM ได้เลย นะครับ
     
  20. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    อยากให้ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่าน ได้มีโอกาสอันดีเข้ามาเรียนและฝึกจิตด้วยกัน....

    วิธีที่อาจารย์สอน.. ไม่มีในตำราเรียน แต่สามารถเข้าถึงสภาวะธรรมต่างๆ ได้จริง ตรงตามพระไตรปิฎก ตรงตามหนทางที่ครูบาอาจารย์ท่านได้ฝึกผ่านมาแล้ว....รู้เอง เห็นด้วยตนเอง เหมือนกินข้าวเอง ตัวเองรู้เอง ว่าอร่อยและอิ่มด้วยตนเอง

    สิ่งที่เรียน คือสภาวะธรรมจริง ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ...ใครที่มีมโน ติดมโน จะฝึกต่อไม่ได้ แล้วจะถอยไปเองนะคะ.....ไม่ได้ขู่ เพราะเป็นจริงตามนั้น

    เรื่องการเข้าฌาน การนั่งสมาธิ จะกลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ ไปทันที....

    #ส่วนตัว...ฝึกนั่งสมาธิมาตลอดทั้งชีวิต จิตฟุ้งทุกครั้งที่หลับตา...จะนิ่งได้เป็นพักๆ แล้วก็กลับมาฟุ้งอีกไวมากๆๆ

    แต่พอมาฝึก"การทำความรู้สึกทั่วตัว" แล้วนั่งสมาธิ นี่คือ"การน้อมจิตเข้ามาสู่กาย, จิตไม่ส่งออกนอกตัว ,จิตอยู่ในกาย" สงบ นิ่ง เบา สบาย เฉย ว่าง โล่ง ของแท้ แน่นอนที่สุด......

    #ต้องขอน้อมกราบขอบพระคุณ อาจารย์ธรรม-ชาติ และน้องๆ พี่ๆ ท่านอื่นๆ ที่เสียสละเวลาสอนให้ฟรีๆ ดุกันบ้าง ด่ากันบ้าง (แอบเสียใจที่ทำไม่ได้บ้าง) แต่ทุกอย่างล้วนเป็นความปรารถนาดีทั้งสิ้น....

    ขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งคะ

    #สภาวะ....น้ำกลิ้งบนใบบัว.....มันเป็นแบบนี้นี่เอง... เข้าใจและเห็นอย่างแจ่มแจ้งแล้ว...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...