ความคิดตามหลักการคือการ ปิดกั้นความคิด ประสบการณ์จะเปิดประตูสู่ความคิดที่เป็นนิรันดร์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เราโตมาคนละแบบ, 17 มีนาคม 2017.

  1. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    สัญชัยปริพาชก ถาม พจ.หลักการปฏิบัติของท่านคืออะไร

    สมณโคดม-ตถาคต ตอบ เราไม่มีหลักการในการปฏิบัติ เหตุเพราะคนที่มีหลักการ และปฏิบัติตามความคิดแต่ละหลักการนั้น เป็นการปิดกั้นความคิดของตนเองไม่ให้เข้าถึง ความจริงอันเป็นนิรันดร์ การรู้แจ้ง การปฏิบัติของตัวเรามาจากประสบการณ์ล้วนๆ ไม่ใช่หลักการ..

    สัญชัยปริพาชก ถาม แต่หากมีคนพูดว่า ความคิด-หลักการปฏิบัติของท่าน
    ก็คือหลักการนั่นเองล่ะ ท่านจะตอบพวกเขาอย่างไร

    สมณโคดม-ตถาคต ตอบ ความรู้ของเราเปรียบเสมือนเรือลำหนึ่ง-ที่ใช้แล่นข้ามแม่น้ำได้ ได้เพียง "ครั้งเดียว" เมื่อเราถึงฝั่งตรงข้ามแล้วเราไม่จำเป็นต้องแบกเรือนั้นขึ้นไว้บนหัว เพื่อตามเราไปด้วยทุกแห่ง ความรู้ความของเราจึงมีแต่ประสบการณ์ เปรียบสมือนเรือที่เราใช้ได้เพียงครั้งเดียวเพื่อข้ามฝั่ง ไม่ใช่หลักการดังที่ใครกล่าว-นำมาอ้าง เพราะหลักการนั้น ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท-ทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะคนที่คิดหลักการ ก็จะอ้างว่า-หลักการ ของตนเองเท่านั้นถูก ส่วนของคนอื่นผิด ที่เราพูดมาทั้งหมดนี้เฉพาะส่วนในการทำสมาธิเท่านั้น..
     
  2. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    เพื่อนๆสมาชิก คิดเห็นเป็นประการใด เข้าใจกันยังไงบ้างครับ ชวนสนทนาธรรมครับ ผมจับใจความได้เท่านี้ (ในภาพยนต์มหาศาสดาโลก)..มันแปลกตรงที่ มันตรงกับ การปฏิบัต "วิปัสสนา" ครับ เฝ้าดูแต่ไม่คิด..มันก็คือ ประสบการณ์นั่นเอง
     
  3. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    อันนี้ พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสถูกแล้ว ท่านตรัสรู้โดยชอบ เป็นประสบการณ์ของท่าน แล้วถ่ายทอดต่อไปสู่สาวก เมื่อสาวกเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ปัญหาก็มีมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องมีการบัญญัติขึ้นเป็น "พระวินัย" เพื่อการปกครองคนหมู่มาก ส่วนประสบการณ์ของท่านก็ถ่ายทอดออกมาเป็น "พระสูตร" มีพระอานนท์ที่จดจำพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ต่างๆ ส่วน "พระอภิธรรม" ก็เป็นธรรมอันลึกซึ้ง รวมแล้วเป็นพระไตรปิฎก ก็เพื่อให้สาวกหมู่มากปฎิบัติไปในทางเดียวกัน ถ้าในส่วนของสมาธิก็แบ่งเป็นกรรมฐาน ๔o แบ่งไปตามจริต ๖ ประสบการณ์ของสาวกจะแตกต่างกันยังไงก็ตามแต่ ต้องอ้างอิงจากประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเดินบนเส้นทางทางไหน สุดท้ายจุดหมายก็ที่เดียวกัน
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    แค่วิธีการทางสมาธินะครับจากบทความ
    เฝ้าดูแต่ไม่คิดเป็นเพียงแนวทาง
    ที่จะไปต่อวิปัสสนาได้ครับ
    แต่ว่ายังไม่เกิดปัญญาทางธรรมนะครับ
    และยังไม่พอที่จิต
    จะละคลายการยึดมั่นถือมั่นได้จริงๆ
    เพราะจิตยังไม่รอบรู้ในการปรุ่งแต่งนั้นๆ
    หรือเรียกเท่ห์ๆว่า รอบรู้ในกองสังขารครับ

    วิปัสสนามันต้องมีการพิจารณาครับ
    แต่ไม่ใช่แบบนึกคิดจากสัญญาต่างๆครับ
    หลักการของมันคือถ้าจะพิจารณาอะไรก็ตาม
    คือปล่อยให้จิตมันว่างรับรู้อยู่ภายใน
    ของมันอย่างนั้นครับ
    เป็นพื้นฐานก่อน แล้วค่อยมาเพียรเพิ่ม
    มันถึงจะพอเกิดปัญญาญาน ในการไปรอบรู้
    กองสังขารได้ต่อไปภาคหน้าครับ
    ที่ส่วนตัวพูดให้ฟัง
    เป็นแบบภาพรวมๆหยาบๆนะครับ
    ยังไม่พูดวิธีปฎิบัติคับ
     
  5. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    บทภาพยนตร์กับ สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัส นั้นอาจจะไม่เหมือนกัน
    จขกท บอกว่าจับใจความมาได้เท่านี้ จึงอาจจะมีความคลาดเคลื่อนในสัจธรรมได้
    ถ้าตีความคำว่า หลักการ หมายถึง วิธีการ สาระสำคัญ ในการปฏิบัติ
    อริยมรรค 8 ก็ถือว่าเป็นหลักการ
    อานาปานสติ ก็ถือว่าเป็นหลักการ
    อิทธิบาท 4 ก็เป็นหลักการ
    โพชฌงค์ 7 ก็เป็นหลักการ

    เว้นจากบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตของตนให้ผ่องใส คือ หลักการ หลักธรรมที่พระพุทธองค์ประทานให้

    จขกท อาจจะต้องพิจารณาว่า คำสอนในภาพยนตร์กับ พระธรรมคำสอนจริงนั้นอาจจะไม่เหมือนกันครับ
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    สังเกตุไหมครับบทในภาพยนต์
    ไม่มีเรื่องภพภูมิ เรื่องเทพ เทวดาเลย
    แต่พูดนัยยะทางปฎิบัติได้ลึกซึ้ง
    จนถึงขั้นอรูปขั้นสุดท้าย
    ชนิดที่ต้องปฎิบัติได้เท่านั้นถึงจะ
    กล่าวออกมาเป็นบทภาพยนต์ได้
    อย่างนั้น. ให้ลองพิจารณาดูครับ
    ไม่ได้บอกว่าไม่มี แต่ทำไมในบท
    ถึงไม่กล่าวถึงเลย
     
  7. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ถ้าจะพูดถึงภาพยนต์ เรื่อง พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ก็ต้องไปดูผู้จัดสร้าง คือ ดร. บี.เค. โมดี้ จากค้นดูในอากู๋ ท่านรวบรวมข้อมูลคำสอนมาจากหลายนิกาย ที่เป็นหลักเลย คือ นิกายสรวาสติวาทิน ของทิเบต เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือ เถรวาท หลักธรรมทั่วไปใกล้เคียงกับ เถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้ อันนี้เอามาจากอากู๋ มาเล่าสู่กันฟังครับ.
     
  8. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,089
    ค่าพลัง:
    +3,394
    คิดมากเกินเดี๋ยวเจออจินไตยเล่นงานนะ ระวัง
     
  9. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    ที่คุณยกมาทั้งหมดนั้นนะ คือเถรวาทของไทย จีนและธิเบต เอามาจากพระเจ้าอโศกมหาราชครับ ไทยด้วยในปัจจุบันนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...