หลงทาง หลงธรรม by SAMA

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย วงกรตน้ำ, 24 สิงหาคม 2017.

  1. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    หลงทาง หลงธรรม :

    มิถุนายน 05, 2560

    ผ่านไปเป็นเวลานานแล้วที่ได้เขียนเรื่องข้อผิดพลาดในการปฏิบัติธรรมที่ผ่านมาตั้งแต่วัยรุ่น ในหัวข้อหลงทาง
    ซึ่งจะได้นำมาผนวกรวมเอาไว้ กับภาคที่ 2 คือ
    หลงธรรม

    อาการหลงในธรรม มีลักษณะทั่วไปที่สังเกตได้ง่ายคือ
    1. เป็นผู้รู้ภาษาธรรมมาก นำผลการปฏิบัติไปคิดวิเคราะห์แล้วนำมาแจกแจงได้ แต่ยังคงยึดติดในธรรมอันตนรู้ ตนเห็น เมื่อมีผู้ใดเห็นไม่เหมือนตนก็เกิดอาการไม่พอใจ มีอาการอึดอัดใจ เร่าร้อนบ้าง เงียบ เก็บกดไว้ ไม่ตอบบ้าง
    2. มักเอาธรรมนั้นไปกล่าวข่มผู้อื่น แสดงความเหนือกว่า
    3. มักอ้างครูบาอาจารย์ มาใช้ประกอบเพื่อให้ธรรมของตนดูน่าเชื่อถือ
    4. ธรรมอันตนรู้นั้น ไม่อาจแจกแจงในข้อคำถามต่างๆให้สิ้นสงสัยลงได้ เป็นแต่เพียงอนุมานเท่านั้น

    ลักษณะอาการของผู้ไม่หลงในธรรม มีลักษณะอันพอสังเกตุได้ง่ายคือ

    1. มีอาการสงบ เย็น ไม่วุ่นวายใจ ไปกับคำถาม คำตอบ ความผิด ความถูก ข้อถกเถียงต่างๆในธรรม
    2. เป็นผู้เห็นความไม่เที่ยง ไม่เห็นสิ่งใดว่าน่ายึดติด ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม
    3. เป็นผู้อ่อนน้อม รับฟัง ยิ้มแย้ม แจ่มใส เป็นผู้มีความเบิกบานใจ แม้ในที่ทุกข์ก็ไม่ทุกข์เร่าร้อน แม้ในที่สุขก็ไม่สุขจนเกินขนาด
    4. เป็นผู้ยินดีในการ สวดมนต์ ภาวนา สดับรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เนืองๆ ไม่มีอาการขัดใจ


    ปล.วงกรตน้ำเป็นแค่ผู้นำบันทึกนี้มาลง เพื่อมอบความรู้ ประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้ใช้นาม SAMA เพื่อทุกท่านที่แวะมาอ่านจะยังประโยชน์ต่อตัวท่านตามเจตนารมณ์ของSAMA
     
  2. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ผู้ไม่ยึดติด(1) :

    luangpumun2%255B1%255D.jpg
    ในความหมายของคำว่า ผู้ไม่ยึดติด นั้น หมายเอาการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน สังขาร ร่างกาย ของตนเองเป็นสำคัญ มีความสำคัญผิดในเรื่องนี้อยู่ด้วยกันหลายประการมาก เช่นว่า

    - ไม่ยึดติดในร่างกายนี้แล้ว เวลาป่วยก็ไม่ไปรักษาหาหมอ ปล่อยมัน ช่างมัน มันจะตายก็ดี เราจะได้ไปนิพพาน... / แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ เป็นความเห็นผิดของผู้ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ภูมิของโสดาปัตติมรรคแต่อย่างใด เพราะอารมณ์ไม่ยึดติดในร่างกายนี้ ต้องเกิดจากปัญญาเห็นตามความเป็นจริงแล้วว่า ร่างกายนี้ เนื้อแท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกายนี้ ร่างกายนี้ไม่มีในเรา สักวันหนึ่งเราต้องตายอย่างแน่นอน เมื่อตายแล้วก็เน่าเปื่อยผุพัง เหมือนคนอื่นๆก่อนหน้านี้ ร่างกายนี้จึงเป็นเหมือนสิ่งที่ยืมเอามาจาก ธาตุทั้ง 4 เท่านั้นเอง ถึงเวลาก็ต้องคืนเขากลับไป เมื่อยืมเขามาแล้ว ในเวลาที่ยังยืมอยู่ ก็ต้องดูแลให้ดีตามสมควร ไอ้คำว่า ดีตามสมควรนี่คือ ดูแลรักษาร่างกายนี้ตามลักษณะอาการที่สมควรจะได้รับบำบัด รักษา บำรุง ให้เพียงพอต่ออัตภาพ ไม่ใช่ทำร้าย ทรมาน ทำให้ขัดสน นั่นไม่ใช่ แต่ก็ไม่ได้ไปบำรุง บำเรอ ปรนเปรอ จนสนุกสนาน มากเสียจนลุ่มหลง ขาดสติ และที่สำคัญ ต้องไม่ผิดศีล 5 สำหรับฆราวาส

    - ร่างกายนี้เป็นของสกปรก มีแต่ของเน่าเหม็น โสโครก โสมม อยากจะตายวันตายพรุ่ง จะได้ไปนิพพาน เพราะว่าฉันนี่เบื่อร่างกายนี้เต็มทีแล้ว ... /ไอ้แบบนี้ก็ไม่ใช่อาการของคนไม่ยึดติดในร่างกาย แต่ว่าเป็นอาการของคนที่ยึดติดร่างกายในฝ่ายสกปรก อยากตายมากๆ พวกนี้ตายไปแล้วลงอบายภูมิหมด เพราะจิตเศร้าหมอง อารมณ์ของคนที่ไม่ยึดติดในร่างกายนั้น จะไม่เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของสะอาด น่าบำรุง ปรนเปรอ น่าหลงใหล และก็ไม่เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของสกปรก โสโครก โสมม จนทนอยู่กับมันต่อไปไม่ได้แล้ว แต่จะเห็นเพียงว่า ร่างกายนี้ ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกันเท่านั้น มันก็เป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน เราเพียงแต่มาอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น จะสะอาดก็เป็นสะอาดแบบโลกๆ จะสกปรกก็สกปรกแบบโลกๆ เราผู้ไม่ยึดแล้วในร่างกายนี้ เราผู้ไม่ยึดในความสะอาดด้วย ไม่ยึดในความสกปรกด้วย แต่ว่าในเมื่อร่างกายอันประกอบด้วยธาตุ 4 นี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามปกติทุกๆวัน มีเหงื่อ มีอุจจาระ ปัสสาวะ ที่ขับออกมา เราก็ต้องทำความสะอาด อันเหมาะสม ตามควร แก่การดูแลรักษาร่างกายนี้ อันสังคมเขาจะดูแลกัน แต่ว่าไม่ทำไปด้วยความหลงใหล ยินดี และก็ไม่ทำไปด้วยความรังเกียจ ขยะแขยง เศร้าหมองใจ
     
  3. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ผู้ไม่ยึดติด(2) :

    การเป็นผู้ยึดติดนั้นหมายเอาถึงผู้ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนี้ว่านี่คือตัวเรา เมื่อมีตัวเราแล้วจึงมีตัวเขา ของเรา ของเขา เกิดสืบเนื่องกันต่อๆไปวนเวียนสลับซับซ้อนกันไปหาที่สุดไม่ได้ การหยุดวัฏจักรนี้จึงต้องหยุดที่การยึดมั่นถือมั่นว่านี่คือตัวตนของเรา เมื่อตัดตรงนี้ได้แล้ว วัฎจักรก็หมุนของมันไปนั่นแหละ แต่เราไม่หมุนไปด้วยกับวัฎจักรอีกต่อไปแล้ว การจะตัดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือว่า สักกายะฑิฐินั้น ครูบาอาจารย์สอนโดยอาศัย สติปัฎฐาน4 วิปัสสนาญาณ9 อสุภะ10 ธาตุ4 อาการ 32 กายคตานุสติกรรมฐาน มีอยู่มากแล้วด้วยกัน ซึ่งในที่สุดแล้ว เมื่อได้รู้ธรรมเห็นธรรมอันบังเกิดแก่จิตโดยไม่มีภาษา ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีเบื้องหน้า ไม่มีเบื้องหลัง ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป ในสภาวธรรมที่แจ้งกระจ่างในใจตนถึง สัจจะความจริงถึงการไม่มีอยู่ของตัวตนอย่างแท้จริงแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นใจตัวตนจึงจะสลายหายไปเองใน ณ บัดนั้นเอง โดยไม่มีใครมาทำลายมันลง และไม่มีใครเอาอะไรมาเติมใส่เข้าไป ปัญญาของตนเองนั้นจะแจ้งด้วยตัวของมันเอง ความเชื่อก็หมดไป ความไม่เชื่อก็หมดไป ความสงสัยก็หมดไป จิตก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้ง ถึงความเป็นไปเช่นนี้เองของชีวิต จิต สังขาร ซึ่งแม้จะคงอยู่ ก็คงอยู่ไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ได้สิ้นไปแล้วจากความยึดมั่นถือมั่น หรือจะกล่าวว่า ยึดแต่ก็ไม่มั่น ถือแต่ก็ไม่มั่น คือยึดเอาเพียงเท่าที่จะดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติสังคมที่เขาทำกัน ถือเอาไว้แต่ก็ไม่มั่น เอาแต่ว่าทางโลกเขาทำกันสังคมเขาทำกันอย่างไรก็ประกอบกิจไปตามนั้น สิ้นลมหายใจ เมื่อไรก็หมดหน้าที่กัน ไม่เอาอะไรกับสังขารร่างกายนี้อีกแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ไม่ยึดติดจึงมีลักษณะหรือความประพฤติทำนองนี้คือ

    1. เป็นผู้ไม่เห็นแก่ตัว ก็เนื่องมาจากเป็นคนไม่มีความยึดมั่นในตัวเองแล้วจะมีตัวเองให้เห็นแก่ตัวได้อย่างไร คนผู้ไม่ยึดติดแล้วนั้น เมื่อจะทำกิจเพื่อสาธารณะก็ดี เพื่อส่วนรวม เพื่อคนรอบข้างก็ตาม จะไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จะลงมือทำด้วยความเต็มใจ ใครจะว่าหน้าโง่ทำอยู่คนเดียว คนอื่นไม่เห็นทำเลย โดนคนเขาเอาเปรียบ ความคิดเห็นเหล่านี้ไม่สะเทือนจิตใจของผู้ไม่ติดยึดเลย มีเพียงศีลเท่านั้นที่จะทำให้บุคคลผู้ไม่ยึดติดนี้ เห็นว่าสมควรนำมาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาในกิจที่ตนพึงกระทำ ถ้าสิ่งที่ทำลงไปไม่ผิดศีล เป็นประโยชน์แล้วนั้น ท่านเหล่านี้จะยินดีทำ ด้วยใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อเหนื่อยก็หยุดพัก พอหายเหนื่อยก็ทำต่อไปจนสำเร็จลุล่วง เมื่อสำเร็จลุล่วงไปแล้วก็พลอยยินดีแล้วไปทำอย่างอื่นต่อ การทำกิจอันเป็นประโยชน์นี้ ท่านก็ไม่ได้ทำจนร่างกายต้องลำบากเจ็บป่วย หรือทุกข์ทรมานร่างกายแต่อย่างใด จะไปบอกว่าไม่ยึดติดร่างกายนี้แล้ว ก็ใช้มันไปไม่ต้องห่วงป่วยห่วงตายสิ แบบนั้นมันเป็นเรื่องของคนโง่ คนที่โง่แบบนั้นจะรู้ธรรมเห็นธรรมจนวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวเองไม่ได้เลย การจะละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเองได้ต้องเป็นคนฉลาดเท่านั้น เป็นผู้มีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิตของตนดีแล้ว รู้เหตุ รู้ผล รู้ตนเอง รู้กาลเทศะ รู้กาลว่าควรไม่ควร นี่จึงเป็นลักษณะหนึ่งของผู้ไม่ยึดติด คือไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว

    2. เป็นผู้ไม่ยินดี และไม่ยินร้าย ในคำสรรเสริญ และคำนินทา ก็ในเมื่อร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว การจะด่าว่าร่างกายนี้ ก็เท่านั้น ไม่มีความหมาย ไม่มีประโยชน์ หรือการจะชมร่างกายนี้ ก็เช่นเดียวกัน ท่านผู้ไม่ยึดติดแล้ว ไม่เห็นความแตกต่างทั้งคำนินทาและคำสรรเสริญ จะเปรียบเทียบไปก็เหมือนกับการที่เราไปเช่ารถเขามาขับ คนจะชมว่ารถคันนี้สีสวย มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเพราะมันไม่ใช่รถของเรา ใครจะด่าว่าสีรถน่าเกลียด มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเช่นกัน จะไปยินดีกับคำชมหรือจะไปเดือดร้อนกับคำด่า มันก็ไม่มีค่าไม่มีความหมาย ไม่แตกต่างอะไรเลย เพราะมันไม่ใช่รถของเรา สำหรับท่านที่ไม่ยึดติดนั้น ท่านจะทำสิ่งใดก็ตาม จะอยู่ในขอบเขตของศีล จะไม่ละเมิดศีล และก็ไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่ไประราน ระเบียบประเพณีที่สังคมนั้นๆถือปฏิบัติกัน แม้กระนั้นก็ตามย่อมต้องถูกนินทาว่าร้าย อันเป็นเรื่องปกติของโลก ท่านเหล่านี้ย่อมพิจารณาดีแล้วว่า นี่เป็นของธรรมดา จึงไม่ได้หวั่นไหวไปด้วยคำนินทา สำหรับคำชมก็เช่นกัน ท่านเหล่านี้ก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อทำสิ่งใดลงไปย่อมมีทั้งคนนินทา และคนสรรเสริญ หรือแม้ไม่มีคนสรรเสริญ ท่านเหล่านี้ก็ไม่ได้รู้สึกว่าได้สูญเสียอะไรไป เพราะว่าไม่มีอะไรจะให้สูญเสีย ท่านเหล่านี้จึงลงมือทำสิ่งใด เพราะสิ่งนั้นสมควรทำ มีประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนรอบข้าง ต่อส่วนรวม หรือคนหมู่มาก ท่านก็ทำลงไป ไม่ได้ยินดี ยินร้าย ต่อคำกล่าวชม หรือด่าว่า แต่อย่างใด เพราะคนที่ไม่ยึดติดในตัวตนแล้ว ย่อมไม่มีตัวตนให้ด่า หรือให้สรรเสริญ ได้อีกแล้ว
     
  4. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ผู้ไม่ยึดติด(3) :

    20150730_110553.jpg

    คุณธรรมของผู้ไม่ยึดติดในตัวเองว่านี่คือตัวเรานั้น จะให้เขียนสัก 100 ตอนก็เขียนได้ แต่ว่าท่านผู้อ่านจะเมาธรรมเช่นเดียวกับผมผู้เขียนไปด้วย ธรรมะเป็นสิ่งประเสริฐ แต่การเมาธรรมะกลับไม่ใช่สิ่งที่ประเสริฐ ก็จะขอยกตัวอย่างของผู้ไม่ติดยึดเอาไว้เพียง 3 ตอนเท่านั้น พอเป็นเครื่องพิจารณาโดยสังเขป ดังนนี้คือ...
    1. ผู้ไม่ยึดติดนั้น จะเป็นผู้มีน้ำใจงาม เป็นผู้ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ใครมีเรื่องเดือดร้อนสิ่งใด ถ้าสามารถจะเข้าไปช่วยเหลือได้ โดยตนเองไม่ได้เดือดร้อนมากนัก ไม่เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ ไม่เป็นที่รังเกียจต่อสังคมชนหมู่มาก และผู้รู้ย่อมสรรเสริญในสิ่งที่จะได้ช่วยลงไปแล้วนั้น คนที่ไม่ยึดติดในร่างกายของตนแล้ว จะยินดีเข้าไปช่วย โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยุ่งยาก แต่ในเมื่อจะช่วยแล้ว ทำไมต้องมีเงื่อนไขหลายอย่าง ว่าต้องไม่ละเมิดอันโน้นบ้าง ไม่ละเมิดอันนี้บ้าง ต้องไปเกรงกลัวอะไร ในเมื่อบอกว่ามีน้ำใจและไม่ยึดติดแล้ว นี่แบบนี้แสดงว่ายังยึดติดอยู่ล่ะสิ ก็ต้องขอตอบว่า บุคคลที่ไม่ยึดติดในตัวตนแล้วนั้น ท่านยังยึดติดในพระรัตนตรัย คือยังมีใจรักในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์อยู่ครับ และท่านยังยึดในศีล ว่าศีลนี้แหละ ทำให้สังคมไม่เดือดร้อน ทำให้สรรพชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข และเป็นเครื่องปิดกั้นอบายภูมิ การจะมีน้ำใจ หรือการจะทำความดี ต้องไม่ละเมิดต่อศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย เช่นมีเพื่อนมาเที่ยวหาหลายคน จะทำอาหารเลี้ยงเพื่อนๆ แต่จะไม่ไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่ฆ่าหมู มาเลี้ยงเพื่อน คือต้องไม่ผิดศีล เช่นนี้เป็นต้น ท่านที่ไม่ยึดติดนั้น กว่าจะรู้ธรรมเห็นธรรมได้ ท่านต้องผ่านการรักษาศีลมาดีแล้ว ท่านต้องมีฑิฐิตรงแล้ว ว่าไม่ทำชั่วทั้งปวงแล้ว ท่านยินดีในการทำดีทุกอย่าง คือรู้ดีว่าสิ่งใดชั่ว สิ่งใดเป็นบาปบ้าง แล้วระงับได้แล้ว รู้ดีว่าสิ่งใดคือความดี สิ่งใดเป็นบุญบ้าง แล้วทำดีทุกๆอย่าง ดังนั้นท่านที่ไม่ยึดติดนั้น จะไปทำผิดศีล ละเมิดกฎหมาย เป็นอันว่าไม่มีนะครับ จะไปบอกว่า ท่านเหล่านี้ยังยึดติดในศีล ไม่ได้ครับ เพราะศีลเป็นเหมือนขอบเขต แบ่งแยกระหว่างสุคติภูมิ กับอบายภูมิ ออกจากกัน คนที่ไม่ยึดติดแล้วนั้น จะไม่อยู่นอกเขตสุคติภูมิ คือไม่ก้าวไปอยู่นอกขอบเขตของศีล โดยเด็ดขาด
    2. เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เป็นผู้เกียจคร้าน ผู้ไม่ยึดติดนั้นจะทำงานทุกอย่างที่มีประโยชน์ ไม่บ่ายเบี่ยงหรือผัดผ่อน เพราะไม่เห็นว่าร่างกายนี้เป็นตัวเป็นตนของเรา ประหนึ่งดังรถที่เช่าเขามาใช้ ก็จะใช้ขับไปทำธุระที่นั่นที่นี่ ให้เต็มประสิทธิภาพเพื่อให้คุ้มค่ากับค่าเช่ารถ จะไม่จอดแช่ทิ้งเอาไว้เฉยๆให้เปลืองค่าเช่า ท่านเหล่านั้นก็มีอาการเดียวกัน คือจะไม่นอน ถ้ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรจะนอน จะไม่พักถ้ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรจะพัก จะทำงานอันเหมาะสมต่อตนเอง ต่อเวลา ต่อสถานการณ์นั้นๆ โดยไม่ย่อท้อเหน็ดเหนื่อย

    3. อาการอื่นๆนอกจากนี้ก็คือ เป็นผู้โกรธยาก หรือไม่ค่อยจะโกรธ เพราะไม่เห็นว่าตัวตนนี้เป็นของตนเองแล้ว จะไปโกรธเพื่อตัวตนนี้ไปก็เปล่าประโยชน์ เป็นผู้ไม่โลภ เพราะไม่รู้จะโลภไปเพื่อตัวตนอันไม่ใช่ของตนไปเพื่ออะไร ทำงานทุกอย่างสุดกำลังความสามารถ จะได้เท่าไรก็ยินดีเท่านั้น ไม่ต้องการอะไรที่ไม่สมควรจะได้ ไม่ต้องการของของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นคนวาจาสุภาพ ไม่ด่าว่าให้ร้ายใคร ไม่เพ่งโทษผู้อื่น ซึ่งจะกล่าวถึงคุณลักษณะสมบัติของผู้ไม่ยึดติดแล้วนั้น คงกล่าวได้ถึง 100 ตอนก็ไม่หมด แต่จะขอจบเอาไว้ในตอนที่ 3 นี้ เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อยาวไปจนน่ารำคาญ
     
  5. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม ตอนที่ 1 :

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมไม่มีใครใหญ่เกินกรรมกรรมเป็นเรื่องซับซ้อน

    %25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A31.jpg

    เราทุกคนคุ้นเคยกับคำว่า”กรรม” และคุ้นเคยกับวลีต่างๆเหล่านี้ข้างต้นเป็นอย่างดี แต่จะมีใครเข้าใจบ้างว่า ทำไมสัตว์โลกจึงต้องเป็นไปตามกรรม กรรมนี้ใครกำหนด ทำไมกรรมนี้จึงใหญ่กว่าทุกสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทำไมถึงเรียกกรรมว่า ซับซ้อน และจัดว่าการล่วงรู้กรรม เป็น พุทธวิสัย ไม่ใช่วิสัยของสาวกภูมิ ซึ่งที่จริงแล้ว สาวกภูมิก็สามารถล่วงรู้กฎของกรรมได้เช่นกัน แต่ไม่มาก ไม่ลึกซึ้ง กว้างขวางเหมือนเช่นพระพุทธะ และอีกพวกหนึ่งที่สามารถล่วงรู้ได้ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตย์ที่บำเพ็ญบารมีมาใกล้เต็มแล้ว ท่านเหล่านี้ต้องศึกษาค้นคว้า ด้วยกำลังฌานสมาบัติ โดยอาศัยบารมีของตนด้วย อาศัยพุทธบารมีด้วย เพื่อนำเอาความรู้นี้เป็นองค์ประกอบในการอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ ตามวิสัยที่สัตว์ทั้งหลายเคยมีอันเป็นไปมาก่อน

    คำว่า”กรรม” ต้องประกอบด้วย เจตนาที่จะกระทำลงไป ได้ลงมือกระทำลงไป ผลของการกระทำได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เจตนาต้องการ เมื่อนั้นจึงเกิดเป็นกรรม กรรมนี้ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีด้วยกันอยู่ทั้งสิ้น 4 ประการด้วยกันคือ กรรมดี ๑ กรรมชั่ว๑ กรรมไม่ดีไม่ชั่ว๑ กรรมที่มีทั้งดีและชั่ว๑ สำหรับกรรมดี กรรมชั่ว ท่านทั้งหลายทราบกันดีอยู่แล้ว ส่วนกรรมที่ไม่ดีไม่ชั่วนั้น ยกตัวอย่างเช่น การดื่มน้ำ มีความหิวกระหาย มีเจตนาหยิบขวดน้ำหรือแก้วน้ำขึ้นดื่ม น้ำได้ล่วงลงคอ ตกถึงท้อง อาการหิวกระหายน้ำได้ดับลงไป กรรมลักษณะนี้ ไม่ดีและไม่ชั่ว มีเจตนาเป็นตัวตั้งเช่นกัน มีการกระทำจนบรรลุวัตถุประสงค์เช่นกัน ส่วนกรรมที่มีทั้งดีและชั่วนั้น ยกตัวอย่างเช่น หยิบหนอนไปให้ลูกนกกิน ถ้าไม่ให้ลูกนกกินหนอนลูกนกก็จะบาปถึงตายได้ ถ้าให้ลูกนกกินหนอน หนอนตายลูกนกรอดได้ แบบนี้คือทำกรรมชั่วและกรรมดีไปด้วยกัน หรือจะยกอีกตัวอย่างนึงเช่น ลิงเอารวงน้ำผึ้งไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ลิงต้องไปตัดเอารวงผึ้งมาก่อน แล้วเขี่ยตัวอ่อนทั้งหลายทิ้ง ตัวอ่อนเหล่านั้นเมื่อถูกเขี่ยทิ้งย่อมต้องตาย แต่ถ้าถวายรวงผึ้งทั้งที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรับ พอเขี่ยทิ้งเสร็จแล้ว คั้นออกมาเป็นน้ำผึ้งแล้ว ทรงรับไว้ฉัน ลิงนั้นจะมีบุญจากการได้ถวายน้ำผึ้งก็ด้วยแต่ก็มีบาปจากการฆ่าตัวอ่อนผึ้งด้วยเช่นกัน กฎของกรรมย่อมให้ผลทั้งดีและไม่ดีในวาระใดวาระหนึ่งในห้วงเวลาใด ห้วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถึงพร้อมด้วยปัจจัยรอบข้างที่เหมาะสมพอดีด้วยกันแล้ว ก็จะส่งผลอย่างแน่นอน
     
  6. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม ตอนที่ 2 :

    0fe1976df4f49f19f54d1c2203c51bef238aab3.jpg
    สัญญา :
    สัญญาคือความจำได้หมายรู้ เป็นความหมายที่ทุกคนเข้าใจกันเป็นอย่างดี เรียนมาฟังมาก็เป็นแบบนี้ แต่ว่าในที่นี้ จะขอแยกสัญญาออกเป็นสองประการ ตามประสาผู้หลงในธรรม ท่านผู้อ่านทั้งหลายก็ขอได้โปรดอย่าถือสา เพราะว่าผู้เขียน เขียนตามประสาผู้ที่หลงในธรรม ไม่ได้เขียนในฐานะผู้บรรลุธรรม ดังนั้นอย่าถือเอาเป็นเรื่องทะเลาะถกเถียงกันนะครับ
    สัญญา ประการที่หนึ่งคือ ความจำได้ของสมอง ซึ่งเราทุกคนเรียนรู้ จดจำสิ่งต่างๆนับตั้งแต่เกิด จนวันตาย อ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้ ก็มาจากความทรงจำส่วนนี้ จากสมอง ที่มีลืมกันบ้าง ก็เรียกกันไปว่า สัญญาไม่เที่ยง สัญญาอนิจจา พอสมองได้รับความกระทบกระเทือนก็เกิดความจำเสื่อม หรือพอแก่ตัวเป็นอัลไซเมอร์ก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว
    สัญญาประการที่สองคือ ความจำได้ของจิต หรือจะเรียกว่าความทรงจำของจิต ที่หลายคนระลึกชาติได้ก็อาศัยสัญญาในส่วนนี้ ตามเดิมนั้นสัญญา สังขาร อุปทาน รวมกันอยู่กับจิต ภายหลังเมื่อข้าพเจ้าเห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม แล้วได้ย้อนกลับออกมาพิจารณาอยู่ภายนอกแล้วนั้น จึงได้เห็นว่า จิตก็อยู่ส่วนจิต สังขารก็อยู่ส่วนสังขาร สัญญาก็อยู่ส่วนสัญญา อุปทานก็อยู่ส่วนอุปทาน หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ แต่ว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องโยงใย ก่อเกิด สอดรับกัน คล้ายๆกับฟันเฟืองเครื่องจักรที่ทำงานร่วมกันของนาฬิกา แต่ว่าเป็นสภาวะ ไม่ได้เป็นรูปธรรม คือไม่มีรูปร่างหน้าตา แต่ถ้าอธิบายแบบนี้ก็จะไม่สามารถอธิบายต่อไปได้ จึงได้สมมติรูปร่างของสัญญา ขึ้นมา ซึ่งผู้ที่นิยมในแนวทางอภิญญา ก็จะมองเห็นเป็นลูกกลมๆ ใสๆคล้ายๆแก้ว เป็นลูกบอลขนาดใหญ่ จะใหญ่มากน้อยก็จะต่างกันขึ้นกับภพชาติที่ผู้นั้นบำเพ็ญบารมีกันมา หรือเคยเกิดกันมา
    ความทรงจำที่บันทึกไว้ที่สัญญานี้ จะเหมือนเพียงผลึกเล็กๆที่อยู่บนผิวของทรงกลมแก้วนี้ โดยผลึกเล็กๆนี้จะมีข้อมูลของการกระทำของเราเองโดยมีกรรมทั้ง4ประการเป็นตัวกำหนด ซึ่งมีความพิเศษกว่าการบันทึกของฮาร์ดดีสในปัจจุบันก็คือ สามารถบันทึกความรู้สึกใดๆในเวลานั้นๆ รสชาติ อารมณ์ ทัศนคติในเวลานั้น ความรัก ความแค้น ที่เป็นนามธรรมก็ถูกบันทึกเอาไว้ด้วย และบันทึกไว้เป็นแบบ3มิติคือมองเห็นกว้างยาวลึกได้ด้วย มีสภาพที่สมจริงมาก ในทรงกลมนี้จะอัดแน่นไปด้วยข้อมูลความทรงจำในอดีตมากมายนับอสงไขยกัลป์ไปจนถึงจุดเริ่มต้นของการเกิดของคนๆนั้นว่ามาจากที่ใด การระลึกชาติก็คือการย้อนเข้าไปอ่านความทรงจำเหล่านี้จากภายในจิตของตนเอง ชาติที่ไกลออกไปก็จะอยู่ลึกลงไปในทรงกลมนี้เรื่อยๆ ผู้เจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ก็จะสามารถรู้อดีตชาติของตนได้ ซึ่งโดยมากจะรับรู้เพียงส่วนผิวของทรงกลมภายนอกนี้เท่านั้น มีเพียงผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงจะสามารถอ่านข้อมูลทั้งหมดของกรรมเหล่านี้ที่ตนเคยประสบได้ ซึ่งการที่ต้องอ่านได้ทั้งหมด ก็เพราะทรงถือกำเนิดมาหมดสิ้นแล้วทุกสรรพสิ่งมีชีวิตในทุกฐานะสภาวะทุกๆอย่าง เพื่อจะนำเอากฎของกรรมนั้นๆมาถ่ายทอดต่อผู้อื่นด้วย เพื่อนำมาเป็นเหตุในการพิจารณา กรรมของสัตว์ทั้งหลายเพื่อจะได้เทศนาได้ถูกต้องตรงตามนิสัยของสัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่ใช่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องไปล่วงรู้ในสิ่งเหล่านี้ และแม้จะเป็นพระโพธิสัตย์ที่มีบารมีเต็มแล้ว ก็ไม่ใช่วาระที่จะล่วงรู้ได้ทั้งหมด ต่อเมื่อตรัสรู้แล้ว การรื้อขนสัตว์ทั้งหลายต้องมารื้อที่ตัวสัญญาตรงนี้ ไม่ใช่ไปรื้อขนลิง ขนสุนัข ขนแมว ทั้งหลายนั้นไม่ใช่ มารื้อตรงสัญญาเดิมทั้งหมดตรงนี้ ซึ่งเหลือวิสัยสำหรับสาวกภูมิทั้งหลายจะทำได้ จนต้องละไว้ว่านี่คือเรื่องอจินไตย
    ดังนั้นต่อจากนี้ไปก็จะขอเรียกสัญญาคือความจำจากสมองว่า สัญญาภายนอก และเรียกสัญญาคือความทรงจำที่จิตว่าสัญญาภายใน ตรงนี้เป็นศัพท์บัญญัติเอง ไม่ทราบว่าจะไปตรงกับพระอภิธรรมหรือคำบรรยายใดๆของท่านผู้ทรงคุณทั้งหลายมาก่อนหรือไม่ ก็ต้องขออภัยที่ต้องบัญญัติลักษณะนี้เพราะว่าผู้เขียนนึกไม่ออกว่าจะสมมติอย่างไรดี ก็ขอให้ถือเสียว่าเป็นศัพท์บัญญัติเฉพาะสำหรับเล่าเรื่องราวการหลงในธรรมของผู้เขียนนี้ เพื่อที่ท่านจะได้อ่านต่อไปแล้วเข้าใจไปในแนวเดียวกัน ไม่ควรนำไปใช้กับผู้อื่นเพราะจะพากันงงมาก

    สัญญานี้เองเป็นตัวบันทึกกรรม จากสัญญาภายนอก บันทึกลงสู่สัญญาภายใน สัญญาภายนอก เกิดจากการรับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ประมวลผลโดยสมอง แล้วเกิดความรู้สึกลงที่ใจ ส่งมาบันทึกเอาไว้ที่สัญญาภายใน สัญญาภายในก็ส่งผ่านใจออกมาที่สมองกลายเป็นความประพฤติ ความเชื่อ ฑิฐิ สันดาน ที่แต่ละคนมีแตกต่างกัน และด้วยสันดานที่ต่างกันนี้ ก็ทำให้สมองคิดนึกไปในทิศทางที่ต่างๆกัน แล้วพูด ทำสิ่งต่างๆลงไป จากนั้นก็จะย้อนกลับมาจดจำเรื่องราวต่างๆไว้ในสัญญาภายใน หมุนวนเวียนไปแบบนี้ ทับซ้อนไป ซ้อนมา หาที่สุดที่ประมาณไม่ได้เลย
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ที่แน่ ๆ คือหลงห้องคับ
    เนื้อหาที่ดีๆ มีสาระแบบนี้ ควรต้องไป
    โพสต์ในห้องสมาธิ จึงจะเหมาะควร
    ถูกที่ถูกทางให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านและ
    ตรงตามกติกาของเว็บครับ
     
  8. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    มันเป็นเจตนาของผู้เขียนผู้ใช้นามปากกาว่าSAMA ค่ะ
     
  9. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม (ตอนที่3) :

    DSC01162.jpg
    กรรมนี้ก่อเกิดจากเจตนา คือ จากสัญญาภายนอก มาถูกปรุงแต่งเป็นสังขาร แล้วบันทึกเป็นสัญญาภายใน จากสัญญาภายใน ก็ส่งไปปรุงแต่งต่อยังสังขาร เกิดเป็นเจตนาดี เจตนาชั่ว ที่จิตก่อน แล้วก่อกรรมนั้น ด้วยมโนกรรมที่ความคิด เมื่อระงับไว้ที่ความคิดไม่ได้ ก็ทะลักออกทางปากเป็น วจีกรรม เมื่อวจีกรรมก็ยังไม่พอ ก็เกิดเป็นกายกรรมขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว กรรมนั้นก็ย้อนกลับมาบันทึกลงที่สัญญาภายในจิตใจของตน กรรมดีก็บันทึกไว้ กรรมชั่วก็บันทึกเอาไว้ กลายเป็นสัญญากรรม ที่ตามผูกพันกันข้ามภพข้ามชาติ กรรมหนักก็
    บันทึกไว้อย่างหนักหน่วงเด่นชัด กรรมเบาก็บันทึกไว้อย่างเบาบาง ไม่เด่นชัด
    กรรมที่เกิดขึ้นแล้ว รับรู้และได้รับผลกระทบอยู่เพียงลำพังตัวคนเดียวก็มี เช่นกรรมจากการฆ่าตัวตาย ที่บอกกันว่ากรรมจากการฆ่าตัวตายทำให้ต้องกลับมาเกิดแล้วฆ่าตัวตายซ้ำๆกันอีก500ชาติ จนเป็นที่สงสัยว่า พอฆ่าตัวตายชาติที่2 ก็ต้องบวกไปอีก 500 ชาติ เป็น 999 ชาติ พอเกิดชาติที่3 ฆ่าตัวตายก็บวกไปอีก 500 ชาติ ทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่จบกันล่ะสิ แสดงว่าเกิดมาชาติไหนๆก็ต้องฆ่าตัวตายตลอด ทำให้เกิดความสงสัยขึ้น ซึ่งไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้กระจ่างชัด ผมเองก็ต้องฝึกฝนไป พิจารณาไป ด้วยอาศัยบารมีครูบาอาจารย์ด้วย อาศัยความเพียรในการพิจารณาจิตตนด้วย เหตุในสัญญาภายในแห่งตนด้วย กรรมในอดีตของสรรพสัตว์เหล่านั้นด้วย จึงสังเกตเห็นเหตุบางประการดังนี้คือ
    กรรมของคนที่ฆ่าตัวตายจำนวนมากนั้น เริ่มต้นมาจากกรรมที่ตนเองได้เคยฆ่าสัตว์อื่นที่ไม่มีทางสู้ ทั้งสัตว์น้อย สัตว์ใหญ่ มาเป็นจำนวนหนึ่ง เมื่อกฎของกรรมเข้าสนอง สัตว์น้อยใหญ่เหล่านั้นไม่ทันได้เกิดมาแก้แค้นเข่นฆ่า ก็ต้องได้ตัวของตัวเองนั้นฆ่าตัวเองตายเสีย ด้วยความอึดอัดคับแค้นใจในตัวเอง ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จากความทรงจำภายนอกที่ครุ่นคิดถึงความเจ็บปวดความผิดหวังที่ตนได้รับ ปรุงแต่งด้วยสังขาร แล้วจดจำไว้ในสัญญาภายใน วนเวียนไปวนเวียนมา ยิ่งวนเวียนไปยิ่งเจ็บปวดเพิ่มมากยิ่งขึ้นทุกที ทุกที จนในที่สุดจึงตัดสินใจจบชีวิตบัดซบด้วยการฆ่าตัวตาย ความคิดฆ่าตัวตายจึงไม่ใช่การตัดสินใจช่วงสั้นๆ แต่เป็นความคิดจะฆ่าตัวตายหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ยังไม่ได้ลงมือ จนเมื่อสัญญาภายนอกจดจำเรื่องราว เอามาปรุงแต่งเป็นสัญญาภายใน แล้ววนไปให้สมองครุ่นคิดเจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่า นับร้อยนับพันครั้งแล้ว จึงได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ดังนั้น เมื่อกลับมาเกิดใหม่ สัญญาเดิมที่คิดครุ่นวนเวียนแต่จะฆ่าตัวตายก็ติดตามมาด้วย ทำให้มีเหตุให้ต้องได้รับความสะเทือนใจแล้ววกกลับไปหาสัญญาภายในเดิมๆที่เคยคิดฆ่าตัวตายอีก แล้วก็ทำให้ต้องได้ฆ่าตัวตายอีกซ้ำๆในชาติอื่นๆ แต่ว่าไม่ถึง 500 ชาติ คำว่า 500 ชาติหมายถึงว่า จำนวนหลายๆชาติมากๆ ซึ่งขึ้นกับความยาวนานที่สัญญาภายในได้บันทึกความเจ็บปวดที่ได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น บันทึกไว้กี่รอบ หนักมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่เป็นการทบทวีคูณเหมือนอย่างที่เข้าใจกันมา
    กรรมจากการฆ่าตัวตายจะบรรเทาลงได้ ก็ด้วยอาศัย เมตตา คือ ความรัก มีจาคะคือการให้ทานอย่างเสียสละด้วยความรักความสงสาร การสงเคราะห์ญาติ สงเคราะห์ผู้อื่น สงเคราะห์สังคมด้วยกิจที่เป็นสาธารณะประโยชน์ การเจริญพรหมวิหาร 4 จนเข้าถึงฌาน๔ ได้จะมีผลมาก การช่วยเหลือชีวิตสัตว์ที่กำลังจะตายให้รอดพ้นจากความตาย กรรมเหล่านี้จะเข้าไปแทรก กรรมเก่าที่เคยเจ็บปวด ครุ่นคิดวกวนที่จะฆ่าตัวตาย ทำให้สัญญาเก่าได้รับการรบกวน ปะปนกันไป กำลังกรรมเก่าที่คิดวกวนเรื่องจะฆ่าตัวตายก็มีกรรมใหม่ที่คิดช่วยเหลือคนอื่น เมตตาคนอื่น มาแทรก จนในที่สุดกลายเป็นเมตตาตนเอง ไม่คิดทำร้ายตนเอง

    นี่เป็นกรรมที่ทำเฉพาะตนเอง จากนั้นยังมีกรรมที่กระทำกับบุคคลอื่น และสุดท้ายคือกรรมที่ทำเอาไว้กับคนหมู่มาก
     
  10. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม ตอนที่ 4 :

    321898_445292708849530_901405323_o.jpg
    กรรมที่เกิดจากการกระทำที่ส่งผลต่อบุคคลอื่น เกิดขึ้นจากผัสสะภายนอกก่อน ว่าตาเห็นรูป หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัส ได้รับความกระทบกระเทือนมาถึงสมองเกิดสัญญาความจำภายนอก ส่งต่อมายังสัญญาภายในคือที่จิตใจ เกิดการปรุงแต่ง เป็นอารมณ์ รัก ชัง ดี ร้าย พอใจ ไม่พอใจ ส่งไปส่งกลับแบบนี้ 7 รอบ สติตามรู้ตามดูไม่ทันหรอก มันเร็วกว่าแสง เร็วกว่าความคิด
    อารมณ์ที่เกิดที่จิตใจ สมมติว่าเป็นอารมณ์โกรธ อาฆาต ก็จะส่งไปที่สัญญาภายนอกคือความจำที่สมองแล้วคิดฟุ้งปรุงแต่งหาทางทำร้าย บุคคลผู้นั้น คิดวางแผน หาคนร่วมมือ หาเครื่องมือมาประกอบ รอจังหวะเวลา ลงมือกระทำ ให้เป็นไปตามเจตนาที่ตั้งไว้ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่เกิดอารมณ์ร้ายขึ้นที่จิต ไปจนกระทั่งลงมือกระทำจนเป็นผลสำเร็จ บุคคลผู้นั้นได้ถูกทำร้ายทำลายลง มีการส่งข้อมูลระหว่าง สัญญาภายนอก ไปบันทึกไว้เป็นสัญญาภายใน โดยผ่านสังขาร ความคิดนึกปรุงแต่ง และอุปทานความยึดมั่นถือมั่น นับร้อยๆพันๆเที่ยว จึงเกิดเป็นสภาวะกรรมบันทึกเอาไว้ที่สัญญาภายใน ซึ่งในปุถุชนทั้งหลาย สัญญา สังขาร อุปทานเหล่านี้ หลอมรวมกันอยู่ภายในจิตนี่เอง
    กรรมที่ทำลงไปกับบุคคลอื่นนี้ จะรอส่งผลอย่างไร มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องซับซ้อนได้อย่างไร มีดังนี้คือ
    1. เมื่อเจ้าของดวงจิตได้ละสังขารไปแล้ว ความจำจากสมองหรือสัญญาภายนอกนี้ สลายหายไปด้วย แต่ว่าสัญญาภายในคือความทรงจำที่จิตยังคงอยู่ ยังให้ผลอยู่
    2. เจ้าของดวงจิตจะกลับมารับโทษของกรรมที่ตนเองก่อเอาไว้แม้สัญญาภายนอกสลายหายไปแล้ว แต่สัญญาภายในยังอยู่ ซึ่งยังต้องเชื่อมโยงไปถึงว่า บุคคลที่เคยถูกทำร้ายนั้น มาเกิดพร้อมกัน มาพบเจอกัน ได้มีปฏิสัมพันธ์รู้จักหน้าเห็นตัวกัน
    3. บุคคลแวดล้อมที่ได้เคยร่วมยินดี ร่วมมือกับเจ้าของดวงจิตก็ต้องมาเกิดด้วย มารับกรรมร่วมกันที่ได้ร่วมยินดีเอาไว้ หรือร่วมมือกับเจ้าของดวงจิตลงมือทำร้าย ต้องมีเวลาที่สอดคล้องเหมาะเจาะกัน
    4. ต้องได้เจอกันในสถานที่หรือสถานการณ์อันจะเกิดเหตุด้วย มีปัจจัยแวดล้อมองค์ประกอบให้ต้องเกิดเหตุครบถ้วนด้วย
    5. ยังเกี่ยวพันไปถึงความดีที่เจ้าของดวงจิตเคยได้ทำมา มีบุคคลแวดล้อมจะมาช่วยเหลือแบ่งเบาภาระกรรมชั่วที่ตัวเคยทำลงไปด้วยหรือไม่ ในเวลานั้นๆ ณ สถานที่แห่งนั้น
    6. ยังต้องย้อนไปดูถึงบุคคลซึ่งถูกทำร้ายนี้ ในอดีตได้เคยทำร้ายกันมาก่อน สืบต่อเนื่องกันมาด้วยหรือไม่

    นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่บางคนเรียกว่า กรรมมาบรรจบพบกัน คือถึงพร้อมด้วยตัวบุคคล ถึงพร้อมด้วยเวลา ถึงพร้อมด้วยสถานที่ ถึงพร้อมด้วยสถานการณ์ กรรมนั้นๆจึงจะส่งผล เนื่องเพราะเกี่ยวโยงกับตัวบุคคลอื่นๆด้วย เกี่ยวพันอันเนื่องจากเหตุของกรรมเก่าที่เคยผูกพันกันมาก่อนหน้านี้ด้วย เรื่องกรรมนี้จึงดูโยงใยกันเหมือนกลุ่มด้ายที่พันกันจนยุ่งเหยิงไปหมด เหตุการณ์ต่างๆมาทับซ้อนกันมากมายเต็มไปหมด มีตัวบุคคล สัตว์ สภาวะ สถาณการณ์ต่างๆ มาเกี่ยวโยงซับซ้อนเต็มไปหมด แต่ความจริงแล้ว มันไม่ได้ซับซ้อนอย่างไม่มีระบบ ที่จริงแล้วเป็นความซับซ้อนอย่างมีเงื่อนไขและมีระเบียบ
    ผู้ที่จะมองเห็น แจกแจง แยกแยะ ความซับซ้อนเหล่านี้ได้ มีเพียงสัพพัญญูเท่านั้น ที่มองเห็นความเป็นไปทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ความเกี่ยวโยงกันของแต่ละตัวบุคคล ทั้งตัวบุคคลนั้นๆเอง และคนอื่นๆที่แวดล้อมตัวบุคคลนั้นอยู่ด้วย แบบแผนที่ดูซับซ้อนนี้ เหมือนจะถูกกำหนดเอาไว้แต่ต้นแล้ว ผู้ที่กำหนดแบบแผนนี้ก็คือตัวแบบแผนเองที่เรียกว่า กรรม หรือว่า กฎแห่งกรรม เราทุกคน ในทุกวันนี้ แม้ขณะนี้ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ก็ถูกกรรมกำหนดแล้วว่า ต้องได้มาเปิดอ่านเจอข้อความนี้ บางท่านอาจจะเห็นด้วยกับสิ่งที่เขียน บางท่านจะงงๆ บางท่านจะไม่ค่อยเห็นด้วย ปนความสงสัย บางท่านจะรู้สึกแน่นๆตื้อๆอยู่ที่หัวอก นั่นก็เป็นกรรมกำหนดให้ท่านต้องได้เกิดความรู้ ความรู้สึก ต่างๆหลังจากอ่านไปแล้วนั่นเอง
    กรรมนี้กำหนดไว้แล้วว่า เจ้าชายสิทธัตถะ จะออกผนวช จะต้องทรมานพระวรกาย 6 ปี แล้วจะสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ เวลาใด สถานที่ใด มีบุคคลใดมาแวดล้อม แล้วจะดำเนินการเผยแพร่พุทธศาสนาไปกี่ปี แต่ละวันจะต้องพบเจอกับใคร พระเทวฑัตต้องมาเกิดร่วมกัน ต้องมาทำร้ายให้ห้อพระโลหิต หรือต้องจบสิ้นพระชนม์เมื่ออายุเท่าไร เสวยอะไรเข้าไป สถานที่สวรรคตอยู่ตรงไหน ระหว่างต้นรังคู่ กรรมก็ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว ด้วยผลของกรรมที่ทำในอดีตตามลำดับมา กรรมจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกรรมและกรรมนั้นก็เป็นตัวกำหนดกรรมให้เป็นไป จึงไม่มีใครหนีพ้น จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน

    ดังนั้นแล้ว คำว่า “ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม” ก็เกิดจากการเห็นวัฏจักรของกรรม ที่ทับซ้อนเกาะเกี่ยวกันมาในลักษณะนี้นั่นเอง หากจะกล่าวไปแล้ว หลายท่านอาจจะเสียขวัญเสียกำลังใจว่า ทุกๆวันนี้ สิ่งที่เราต้องเจอ สิ่งที่เราต้องพูด สิ่งที่เรากำลังคิดว่าฝืนกรรม ล้างกรรม หลอกกรรม หนีกรรม ฯลฯ นั้นก็ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้กรรมที่กำหนดให้ต้องทำไปทั้งสิ้น แม้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ก็ไม่อาจหนีกฎของกรรมนี้ได้ แม้พระโมคคัลลานะ จะมีฤทธิ์มากเพียงใดก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงกฎของกรรมได้เช่นกัน เมื่อพิจาณาโดยรอบ จากสัญญาภายในที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวพันกับกรรมทั้งหลายเอาไว้ จึงได้เห็นว่า “สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม” ดังนั้นวลีนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ไม่ใช่พูดขึ้นเพราะคิดเห็นขึ้นลอยๆ หรือคิดโดยใช้สมองมาคำนวณคาดคะเน แต่เป็นการเห็นเข้าไปถึงสัญญาภายในจิต ซึ่งต้องแยกจิตกับสัญญา สังขาร และอุปทานออกจากกันได้แล้ว พิจารณาเพียงสัญญาภายใน โดยเอาจิตออกห่าง มีสติพร้อมสมบูรณ์แล้ว พิจารณาเห็นเป็นลำดับเข้าไป ก็จะมองเห็นและเข้าใจกฎแห่งกรรม และลำดับความเป็นไปของกรรมอันเกี่ยวเนื่องกันมา ตลอดจน อนาคตว่าจะบุคคลนั้นๆจะต้องเกิดอะไรขึ้น จะต้องได้พบเจอกับอะไร เมื่อไร และต้องได้รับผลกระทบอะไร ก็ล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดโดยกรรมไว้แล้วทั้งสิ้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ถัดๆไปนั้น ก็ถูกกรรมกำหนดไว้แล้วเช่นกันว่า เมื่อใด จะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จะได้พบกับอะไร และจะมีอายุขัยเท่าไร เสด็จดับขันธุ์เมื่อไร ที่ไหน ณ เวลานั้นจะมีพรหม เทวดา องค์ไหนมาร่วมอยู่ แล้วแสดงบทบาทอะไร อย่างไรบ้าง ต่างก็ล้วนถูกกำหนดไว้หมดแล้วทั้งสิ้น นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม” และ”สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” หาใช่จะเกิดวลีทั้งสองนี้ได้ง่ายๆเลย
     
  11. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม ตอนที่ 5 :

    untitled.png
    กรรมนี้ มีทั้งกรรมดี กรรมชั่ว กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว และกรรมที่ดีกับชั่วไปด้วยกัน สำหรับกรรมที่ทำร่วมกันของคนหมู่มาก ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง กรรมดี ที่หลายคนร่วมกันทำถวายกฐิน ผ้าป่า สังฆทาน วิหารทาน ได้ร่วมแรงร่วมใจทำบุญทำกุศลร่วมกัน ณ เวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่หนึ่งสถานที่ใด ดวงจิตดวงใจของแต่ละคนย่อมสืบสานสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อเนื่องถึงกันหมด ด้วยสัญญาภายนอกนึกคิดที่จะไปร่วมบุญ มีเจตนาของการไปทำบุญเกิดขึ้นที่สัญญาภายใน เกิดเป็นกุศลเจตนาที่ฝังลงในสัญญาที่อยู่กับจิต อันมีบุคคลทั้งหลายที่ร่วมกันคิดร่วมกันสร้าง บันทึกไว้ในสัญญาภายในร่วมกัน ผลของกรรมนี้จะมาเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีองค์ประกอบในลักษณะนี้คือ
    1. บุคคลผู้นำบุญในเวลานั้นได้ลงมาเกิดแล้ว ในเวลาอันพอเหมาะพอดีกับที่ผู้ร่วมบุญได้ลงมาเกิดด้วย โดยพร้อมเพียงกันครบทุกๆคน
    2. ได้มาพบเจอกัน ในเวลาอันเหมาะสม ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง
    3. ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์คบหากันจะด้วยสถานะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม
    4. กรรมเก่าในด้านความดีจึงจะมาส่งผล ในเวลานั้นพร้อมๆกัน
    5. กรรมเก่าในแง่ของความเลวไม่มาส่งผลในเวลานั้น
    6. บุคคลแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดกรรมชั่วในอดีตไม่มาร่วมสถานการณ์ด้วย
    เหตุเช่นนี้เป็นต้น กรรมเก่าที่เคยได้สร้างกุศลแล้วจึงจะให้ผลเป็นหมู่คณะได้ จะได้รับความสุขความเจริญบันเทิงใจไปพร้อมๆกัน หาไม่แล้ว หากเวลาไม่เหมาะสม บุคคลในหมู่คณะไม่ครบ สถานที่ไม่เหมาะสม สถานการณ์ไม่สอดคล้องต้องกันพอดี ผลกรรมความดีก็ไม่สามารถเกิดได้ แต่ว่ากฎของกรรมที่ต้องหมุนเวียนวนจนมาบรรจบพบเจอพร้อมหน้าพร้อมตากันก็จะเกิดขึ้นในชาติภพใดชาติภพหนึ่ง จะเป็นแสนๆชาติ หรือหลายๆกัล์ป จะมาบรรจบพบเจอกันก็ตามแต่ กฎของกรรมก็ได้กำหนด เวลา สถานที่ สถานการณ์ต่างๆเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรรมดีนี้ก็หนีไม่พ้นด้วยเช่นเดียวกัน
    กรรมที่ว่าเป็นเรื่องซับซ้อนก็ซับซ้อนกันเป็นแบบนี้ และที่ว่าไม่มีใครพ้นกฎของกรรมไปได้นั้นก็ด้วยเหตุนี้ แต่ว่ากรรมจะมาส่งผลเมื่อไหร่นั้น ต้องอิงเหตุปัจจัยแวดล้อม ทั้งตัวบุคคลแวดล้อม เวลา สถานที่ สถานการณ์ พร้อมบริบูรณ์แล้ว กรรมนั้นๆก็จะให้ผลได้ หากยังไม่ถึงเวลา ไม่ใช่ด้วยสถานที่นั้นๆ ไม่เกิดเหตุการณ์ใดๆในเวลานั้นๆ ก็จะไม่ส่งผลได้ ผู้คนก็มักจะบอกว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดี เช่นนี้เป็นต้น
     
  12. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    กรรม ตอนที่ 6 คนดีต้องชดใช้กรรมชั่ว :

    25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%258C1%2B001.jpg
    หมู่คนที่ทำบุญ ทำความดี มีจิตใจงดงาม อันต้องประสบเคราะห์กรรมน่าสงสารนั้น ข้าพเจ้าได้พิจารณาทบทวนแล้ว เห็นเหตุอันเกิดขึ้นนี้ แต่ว่าจะเล่าถึงสภาวะที่เห็นนี้ก็ไม่ถูกต้องตรงตามที่เห็นได้ จึงนำมาพิจารณาให้เป็นสมมติเสีย เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรม แทนที่จะเป็นนามธรรม กล่าวคือ
    บุคคลทำความดี สะสมความดี เป็นระยะเวลานาน เปรียบเสมือนก้อนกลมสีขาวสะอาดก้อนหนึ่ง มีความขาวสะอาดอยู่ทั่วไป เมื่อได้ทำความชั่วลงไปด้วยความจำเป็นบีบบังคับให้ตนต้องพ่ายแพ้แก่กฎของกรรมในอดีต จะทำลงไปด้วยความไม่ยินดี แม้เป็นโทษไม่ร้ายแรง แต่ก็เกิดเป็นรอยดำขนาดหนึ่ง อยู่บนทรงกลมสีขาวนั้น เมื่อมองลงไปแต่ละครั้งก็เห็นรอยดำนี้ชัดเจน เพราะแปลกแยกแตกต่างจากสีขาวที่มีอยู่ทั่วไป การรู้สึกสะดุดตาเห็นได้ง่ายนี้เอง เปรียบไปแล้วก็เป็นผลกรรมที่คนทำความดี ต้องสะดุดลงเพราะกรรมชั่วแม้จะไม่มากแต่ก็เด่นชัดในความยึดมั่นถือมั่นของคนดี ทำให้ต้องได้เสวยทุกขเวทนาจากกรรมชั่วอันเด่นชัดนี้ก่อน
    หรือหากจะเปรียบไปก็เหมือนรถยนต์ใหม่ๆป้ายแดง เกิดถูกสะเก็ดหินคือบาปกรรม ความชั่วที่ตนต้องกระทำลงไป กระแทกลงที่กระจกหน้าตรงฝั่งคนขับ ให้เป็นรอยกะเทาะร้าวอยู่แต่ไม่แตก เมื่อจะขับรถยนต์ครั้งใด มองเห็นรอยร้าวที่กระจก ก็ให้หงุดหงิด เจ็บช้ำน้ำใจอยู่อย่างนั้น แม้ว่ารถจะยังใหม่อยู่อันเปรียบเหมือนกุศลผลบุญคุณงามความดีทั้งหลายที่ได้ทำเอาไว้แล้วมากมายนั้น ก็ไม่อาจกลบลบรอยกะเทาะร้าวเพียงเล็กๆนี้ได้
    บุคคลผู้ประพฤติดี มีจิตใจดี หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล จึงมักได้รับผลกรรมชั่วที่ตนก่อเอาไว้แม้ไม่มากแต่ก็รบกวนจิตใจเป็นอันมาก จนเป็นเหตุให้ตนเองต้องได้รับความทุกขยากทรมานอยู่อย่างนั้นนานเท่านาน จนกว่าจะคิดได้ปลงตกเสียแล้ว กรรมนั้นก็หมดลง แต่ว่าจริงๆแล้วกรรมนั้นไม่ได้หมดลงหรอก กรรมนั้นแม้จะยังอยู่แต่ว่าจิตใจไม่ไปยึดมั่นถือมั่นมันอีกต่อไปแล้ว ใจก็คลายจากความทุกข์ เราก็เรียกว่าหมดกรรม
    สำหรับคนทำชั่วที่ได้ดี ก็มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ แต่ว่าสมมติเป็นก้อนกลมดำ ที่มีแต้มขาวคือความดีที่ทำลงไป แม้ไม่มากแต่ว่าเกิดสีขาวกันแตกต่างแปลกแยกเป็นจุดเด่นท่ามกลางสีดำ เป็นที่สังเกตจับจ้องชื่นชมในความขาวแม้มีเพียงเล็กน้อย ผลของกรรมขาวนั้นย่อมส่งผลให้แก่ผู้ประพฤติชั่วนั้นก่อน จนกว่าผลกรรมขาวอันมีอยู่น้อยจะหมดลง บุคคลนั้นๆจึงจะได้รับผลกรรมชั่วคือลูกกลมดำอันเป็นส่วนมากนั้น

    อุปมา อุปมัย เพื่อให้มองเห็นภาพ ด้วยเพราะการจะอธิบายสภาวะที่เห็นในเวลานั้นข้าพเจ้าก็จนใจว่าไม่อาจจะสาธยายได้ ก็ขอให้ท่านผู้มีปัญญาได้พิจารณา ในส่วนธรรมที่ข้าพเจ้าหลงทางหลงธรรมนี้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มาทีหลังจะได้ไม่เสียเวลาเยี่ยงข้าพเจ้าอีก
     
  13. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ถูก ผิด ไม่มีในหมู่อริยะชน :

    25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%258C1%2B001.jpg
    ธรรมดาของผู้ภาวนา เมื่อได้เห็นสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นอยู่ภายใน กระจ่างแจ้งแก่ใจดีแล้ว ย่อมสิ้นสงสัยในความเป็นสมมติบัญญัติและย่อมสิ้นสงสัยในปรมัตถสัจจะว่า สิ่งนั้นไม่มี สิ่งนั้นมี หรือมีในสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นยังมี เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมจะเห็นถูกหรือผิด เป็นแต่เพียงสมมติของทางโลก พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงวางลงเสียเช่นกัน ผลของการวางลงเสียแล้วซึ่ง ถูก ผิด นี้ มีลักษณะที่แสดงให้เห็นในทำนองนี้คือ
    ถูก ท่านก็เห็นว่าถูกทั้งนั้นแหละ มันก็ถูกของโลก คนเชื่อเครื่องรางของขลังมาถามท่าน ท่านก็ว่าถูกของเขา ในโลกนี้แล้วสำหรับท่านผู้ได้เห็นสภาวธรรมแล้วท่านก็ว่ามันไม่มีอะไรผิดหรอก จะว่าไปแล้วมันก็ถูกทั้งหมดนั่นแหละ แต่ละคนก็มีเหตุผลของตนเองที่จะเชื่อ ที่จะทำ มันก็ถูกของเขา ตามสมมติของเขา ตามที่เขายึดมั่นถือมั่นในสมมตินั้นๆ ดังนั้นการที่จะไปว่าใครว่าผิด ท่านเหล่านี้จึงไม่กระทำ วันๆท่านก็จะยิ้มน้อยๆ พูดไม่มาก แต่ว่าคำพูดท่านที่กล่าวมาจะไม่มีโทษกับใครๆ มีเมตตาสูง แม้กระนั้นเองท่านก็ไม่ได้ยึดในเมตตานั้น ด้วยเห็นว่าเมตตานี้ก็สมมติอยู่ดี ส่วนถ้าใครจะทำชั่ว ทำบาป ละเมิดศีล ท่านไม่ว่า แต่ท่านก็ไม่ยุ่งด้วย ไม่ยินดีด้วย แล้วท่านก็ไม่กระทำการใดๆที่จะละเมิดศีล แม้จะเห็นว่า ศีลนี้ก็เป็นเพียงสมมติของโลก แต่ว่าทำให้โลกนี้สงบ ไม่เร่าร้อน ท่านก็รักษาศีลเป็นปกติ ศีลนี้ยังความสงบเย็นให้ท่านนี่คือศีลรักษาท่าน ใครจะทะเลาะกัน ขัดแย้งกันอย่างไร ท่านไม่เข้าไปร่วมด้วย จะถามหาให้ท่านตัดสินความให้ ท่านก็จะยกเอาธรรมขึ้นมาเป็นตัวอย่างให้ฟัง ถ้าให้ท่านตัดสินใครถูก ผิด ท่านก็จะว่าถูกทั้งนั้น มันถูกของเขา ถูกตามสมมติของโลกที่ปุถุชนยึดมั่นถือมั่นกันมา
    ผิด ท่านก็จะเห็นว่า ผิดทั้งนั้นนั่นแหละ จะถูกได้ยังไงก็มันเป็นของสมมติทั้งนั้น ตัวกูก็สมมติขึ้น โกรธก็สมมติ โลภก็สมมติ ไม่มีอะไรเป็นของจริงสักอย่างเดียว แล้วมันจะถูกได้ยังไง ถ้าจะถูกก็มีแต่ปรมัตถธรรม ปรมัตถสัจจะเท่านั้น ซึ่งก็เอามาใช้พูดจากันเป็นภาษาไม่ได้ ถ้าเอามาพูด มาพิมพ์ มาเขียน มาเล่าสู่กันฟังได้ มันก็ผิดเสียแล้ว เพราะธรรมนั้นก็กลายเป็นของสมมติไปเสียแล้ว ท่านจึงว่าผิด ใครจะถามอะไรมาว่าถูกหรือผิด ท่านก็ว่าผิด คนไปนิยมพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง ท่านก็ว่าผิด ก็เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นแต่เพียงของสมมติขึ้นของทางโลกๆนี้เท่านั้น เป็นแต่เพียงปุถุชนสมมติกันขึ้นมา ใครจะว่านั่งสมาธินี้ถูกไหม ท่านก็ว่าผิด เพราะท่านั่งสมาธิก็สมมติกันขึ้นมา ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ก็สมมติกันขึ้นมาทั้งนั้น ฝึกไปจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีฌานอะไรพวกนี้เลย เป็นแต่คนเราเอามาสมมติเรียกกัน ฌานเองก็ไม่ได้รู้เรื่องด้วย รวมความแล้ว ท่านว่า สรรพสิ่งบนโลกที่คนเราทั้งหลายต่างพากันสมมติขึ้นมา แล้วพากันยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองสมมตินั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความผิดทั้งสิ้น ไม่มีถูกเลยแม้แต่อย่างเดียว หากจะบอกว่ามีสิ่งใดถูกต้องสำหรับท่านแล้ว ก็คงเป็นปรมัตธรรมที่หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เห็นว่าจะถูก แต่พอพูดคำว่า ถูก ออกมา มันก็กลายเป็นผิดไปเสียแล้ว แต่ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่ละเมิดศีล ไม่ทำความชั่วใดๆทั้งสิ้น อาจจะมีดุ ด่า ก็เพื่อกระแทกกิเลสของคนทั้งหลาย ให้พ้นจากสมมติออกมา ให้ได้สติว่า นี่มันสมมติทั้งนั้น แกอย่าไปหลงผิดคิดยึดมันเอาไว้ มันจะเป็นทุกข์
    ถูก ผิด ของอริยะบุคคลนั้น เป็นสิ่งสมมติไม่ได้เป็นสิ่งที่ท่านเหล่านี้ใช้เป็นที่ยึดถือ แต่ก็ไม่ใช่ว่าท่านจะทำผิด ทิ้งถูก หรือทำถูกแล้วด่าผิด หรือไม่ทำตามระเบียบข้อบังคับสังคม หรือจะไปละเมิดพระวินัย ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะทำตามระเบียบ ตามกฎหมาย ตามพระวินัย ทุกๆประการ แต่ว่าไม่ยึดในสิ่งที่กระทำลงไป ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะไม่ทำบาปทั้งปวง และย่อมไม่ยึดในบาปกรรมใดๆด้วยเช่นกัน
    พวกเราในฐานะที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็อย่าพึ่ง เห็นช้างขี้แล้วขี้ตามช้าง ให้พิจารณาว่าเพราะเหตุใด ท่านทั้งหลายเหล่านี้จึงมีผลเป็นเช่นนั้น นั่นก็คือการเจริญสมาธิจิต มีการภาวนา การเจริญสติ เลือกเฟ้นพิจารณาธรรมโดยแยบคายแล้ว มีโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ จนกระทั่งเกิดผลดังนี้ หาใช่เกิดจากการอ่านเอา คิดนึกคาดเดาเอาแล้วก็นำไปใช้อย่างมักง่าย ธรรมที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าหาได้เกิดจากการอ่านการฟังเท่านั้นก็ไม่ใช่ แต่เกิดจากการปฏิบัติทางจิต จนรู้แจ้ง เห็นจริง ไม่ใช่รู้จำ รู้จัก หรือเห็นแล้วแต่ยังไม่จริง ดังนั้นการจะนำเอาธรรมใดๆไปพูดนั้น หากไม่ใช่เป็นธรรมอันตนได้รู้แจ้ง เห็นจริง ด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่สมควรจะนำเอาไปใช้กล่าว เพราะแม้กล่าวได้ถูกต้องครบถ้วนในอักขระ ก็หาได้เกิดประโยชน์อันใดไม่ เป็นแต่เพียงจำมาพูด นึกเอาว่า เท่านั้นเอง
     
  14. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    บรรลุธรรม บรรลุอะไร ทำไมจึงพูดไม่ได้
    ตอนที่ 1 :


    สำหรับนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ย่อมมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการได้บรรลุธรรม ได้เห็นสภาวธรรมอันเป็นปรมัตถสัจจะ คือความจริงอันสูงสุด เพราะได้ยินมาว่ารสแห่งพระธรรมนั้นเลิศกว่ารสทั้งปวง ก็อยากจะได้ชิมลิ้มรสนั้นๆ อยากเห็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านได้เห็น ได้สัมผัส ว่าแท้จริงแล้วเป็นเช่นไร บ้างก็เชื่อว่าพูดไม่ได้ บ้างก็บอกว่าต้องลุกขึ้นยืนเอามือปิดปากเอาไว้ นั่นแหละธรรมที่แท้จริง
    เมื่อบรรลุธรรมแล้วทำไม ครูบาอาจารย์ท่านยังดุด่าว่ากล่าว ส่งเสียงดังเอ็ดตะโรได้ แล้วจริงๆบรรลุธรรมคืออะไร ท่านบรรลุอะไรกัน ในที่นี้ผมก็จะขอเล่าต่อจาก ตอนจบของ เรื่อง หลงทาง ว่าอาการบรรลุธรรมนั้น เป็นเช่นไร ซึ่งก็ขอให้อ่านแต่เพียงใช้ประกอบการพิจารณาเท่านั้น อย่าได้หลงคิดว่า ผู้เขียนเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว และขอให้คิดไว้เสมอว่า ผู้เขียนยังเป็นผู้หลงธรรม ยังไม่ได้มีความดี ความวิเศษแต่อย่างใด เพียงแต่นำเอาบางแง่มุม มาแสดงให้พอได้เพิ่มตรรกะใหม่ๆเท่านั้น

    การบรรลุธรรม เท่าที่เห็น ก็เป็นการเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง เป็นสภาวธรรมที่ไม่มีภาษา ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป เกิดที่ตรงนั้น แจ้งอยู่ที่นั่น และพ้นไปอยู่ตรงนั้นเอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ความยึดมั่นถือมั่นที่เคยมีมาทั้งหมด หายไปจนหมดสิ้น ปราศจากข้อสงสัย ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ความยึดมั่นที่หายไปนี้ คือการยึดมั่นในรูป ว่านี่คือตัวเรา และการยึดมั่นในนาม ว่านี่คือ ความจำได้หมายรู้ของเรา นี่คืออารมณ์ปรุงแต่งของเรา นี่คือความรู้สึกนึกคิดของเรา นี่คือความรู้สึกยินดียินร้ายของเรา รวมความแล้วคือ เป็นการทำให้ความยึดมั่นถือมั่น ในรูป และ ในนาม หมดสิ้นไป โดยการเห็นสัจจะความจริง ปรากฏขึ้นแก่จิต แล้วดับลงที่จิต หาใช่ความรู้อันเกิดจากธาตุรู้ หรือความจำได้ คิดได้
    สภาวะที่ว่านี้ไม่มีภาษา เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ จึงไม่สามารถอธิบายได้ แต่ถ้าอธิบายไม่ได้ก็สื่อสารกันให้เข้าใจไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีสมมุตติบัญญัติเกิดขึ้น เพื่อใช้ในการสื่อสารต่อกัน จึงเกิดเป็นภาษาคำพูดขึ้น ซึ่งแม้จะไม่ตรงตามสิ่งที่ได้สัมผัสรับรู้ที่จิต แต่ก็พอจะเทียบเคียงให้ผู้ที่บรรลุธรรมทั้งหลายได้เข้าใจสภาวะที่ตรงกันได้ ส่วนสาเหตุที่ไม่มีการบอกเล่านั้น เนื่องจากผู้ที่บรรลุธรรมทั้งหลาย ในเบื้องต้น จะเห็นว่า ธรรมนี้ลึกซึ้งสุขุมลุ่มลึกเกินกว่าปัญญาของปราชญ์ทั้งหลายจะเข้าถึงได้ ต่อมาเมื่อพิจารณาแล้ว ก็เห็นว่า การพูดหรือเล่าถึงสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านี้ออกไปนั้น มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย ท่านเหล่านี้จึงตัดสินใจว่า จะไม่เล่า จนกว่าจะมีคนที่บรรลุธรรมได้สนทนาด้วยก็จะกล่าวโมทนาขึ้น เพื่อเป็นการยืนยันถึงสิ่งที่รู้ที่เห็นว่าเป็นธรรมอันชอบ เป็นธรรมอันยิ่งแล้ว
    สำหรับคนฉลาด มีไอคิวสูง สามารถเข้าใจความต่างๆได้ง่ายและลึกซึ้งกว่าคนทั่วไป เมื่อได้ฟังสภาวธรรมแล้ว ก็จะจดจำเอาไปวิเคราะห์เรียบเรียงแล้วนำไปพูดใหม่ เพื่อทำให้ตัวเองดูดี อีกพวกหนึ่งก็จะคิดและวิเคราะห์เอาแล้วก็สรุปว่าตนเองเข้าใจสภาวธรรมนั้นแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว และยังสามารถนำไปประดิษฐ์คำใหม่ๆให้ดูเท่ ดูหรู ยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ย่อมทำให้ขาดผู้ฝึกฝนทางจิตและขัดขวางการพัฒนาทางด้านจิต จนทำให้ผู้คนหลงใหลกับสิ่งที่ได้รับฟังมา แล้วทึกทักเอาว่า พวกเราก็บรรลุธรรมกันแล้วเช่นกัน

    สำหรับคนโง่ หรือมีไอคิวต่ำ เมื่อได้ฟังแล้ว ก็จะเอาไปจับเป็นประเด็นแบบผิดๆ แล้วก็ทึกทักเอาว่าตนเองเข้าใจดีแล้ว กับสภาวธรรมนั้นๆ ก็เที่ยวเอาไปพูดอย่างผิดๆ ตามความเข้าใจอันโง่เขลาของตน จนที่สุดก็หลงว่าตนนี้เป็นผู้เข้าถึงธรรมแล้ว ไปปรามาสดูหมิ่นครูบาอาจารย์บางท่าน ด้วยสำคัญว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว แบบนี้ก็มี
     
  15. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    บรรลุธรรม บรรลุอะไร ทำไมจึงพูดไม่ได้ ตอนที่ 2:

    สำหรับประเด็นที่จะเล่าต่อไปนี้ ก็ขอให้ท่านผู้อ่าน เมื่อได้อ่านแล้ว อย่าได้นำออกไปพูดต่อ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ขอให้อ่านแต่เพียงเพื่อการพิจารณาเป็นการส่วนตัว ในฐานะที่พวกเรายังเป็นผู้หลงทาง หลงธรรมอยู่
    การได้เห็นสภาวธรรมอันทำลายความยึดมั่นถือมั่น ในรูป ในนาม ในสมมุติบัญญัติทั้งหลายลงแล้วนั้น ผู้ภาวนาจะยังคงพิจารณาต่อไปถึงปรมัตถธรรมนี้ว่า เมื่อเกิดขึ้นแล้วบนโลกนี้ ย่อมเป็นของคู่โลกนี้ เป็นแต่เพียงญาณวิถี เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้หลุดพ้น หาใช่จะยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ได้ เมื่อพิจารณาจนจบแล้ว ย้อนพิจารณาใหม่ซ้ำไปซ้ำมาอย่างรอบคอบถี่ถ้วนดีแล้ว ใจก็จะวางลงทั้ง รูป นาม ไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม และปรมัตถธรรมที่ตนรู้ตนเห็น เมื่อนั้นแล้วจะกลับสู่สภาวะปกติธรรมดา เป็นธรรมดาอย่างยิ่ง และเป็นปกติอย่างยิ่ง กล่าวคือ เมื่อเห็นผู้หญิงสวย ก็รู้อยู่ว่าผู้หญิงคนนี้สวย เมื่อเห็นผู้ชายคนนี้หล่อ ก็รู้อยู่ว่าผู้ชายคนนี้หล่อ เมื่อเห็นต้นไทร ก็รู้ว่าต้นนี้คือต้นไทร เมื่อเห็นโบสถ์ก็รู้อยู่ว่านี่คือโบสถ์ ย่อมรู้ว่าเป็นสถานที่อันควรเคารพนอบน้อม สำรวมระวัง เมื่อเห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ ก็รู้ว่านี้คือโต๊ะ นี้คือเก้าอี้ มีประโยชน์สำหรับทำสิ่งใดก็รู้ ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว ยังคงเห็นทุกๆอย่าง รู้ทุกๆอย่าง อย่างที่คนปกติทั่วไปรู้ แตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ ความรู้ของท่านผู้บรรลุธรรมนั้น ไม่ได้รู้เพื่อการยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป คือยังยึดอยู่แต่ว่าไม่มั่นแล้ว เช่นมีถ้วยแก้วสวยๆ ก็ใช้ไป ใช้อย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงไม่ให้มันแตก แต่เมื่อมันแตกแล้ว ก็รู้อยู่ว่ามันแตก ไม่ได้เสียดาย เสียใจ อาลัยอาวรณ์แต่อย่างใด เห็นสิ่งเหล่านี้ว่ามีอยู่ขึ้นก็แตกดับไปตามกาลตามสมัย ใจไม่ได้ยึดมั่นกับแก้ว แต่ตอนที่แก้วยังมีอยู่ก็ใช้งานอย่างระมัดระวัง ไม่ได้ใช้แบบทิ้งๆขว้างๆเพื่อหวังให้มันแตกไวๆ ไม่ใช่อย่างนั้น
    เมื่อมีจีวรอยู่ก็ใช้อย่างระมัดระวัง หมั่นซัก รักษาความสะอาด ไม่ได้ใช้อย่างทิ้งๆขว้างๆ ต่อเมื่อมันผุพังขาดจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ก็นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน ไม่ได้เสียดาย อาลัยอาวรณ์ รำพึงรำพัน ต่างๆนานาแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมกินเหมือนคนอื่นๆ นั่งเหมือนคนอื่นๆ นอนก็เหมือนกันกับคนอื่นๆ เดินก็เหมือนกันกับคนอื่นๆ หาใช่เดินทีละสองก้าว หรือเดินไปกระโดดไปก็หาไม่ หากแต่แตกต่างตรงที่ผู้บรรลุธรรมแล้วนั้นจะทรงสติ ทรงสมาธิในการทำการงานใดๆตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้ว่างเว้น เพ้อเจ้อ ไร้สาระเลย

    เมื่อฟังแบบนี้แล้ว บางคนก็จะบอกว่า “สู่สูงสุดยอดคืนสู่สามัญ” อันนี้ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว คงจะเป็นพวกอ่านนิยายกำลังภายในมากเกินไป เพราะสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้วจะไม่หวนคืนกลับไปสู่ความเป็นปุถุชนได้อีกเลย ไม่ว่าจะเสื่อมจากฌาน หรือเจ็บป่วยทางกาย ทุกข์ทรมานเพียงใด ความรู้ความเห็นที่ได้บรรลุแล้วจะไม่หวนคืนกลับได้อีกเลย เพียงแต่การใช้ชีวิตประจำวันนั้น ก็ยังทำเหมือนคนอื่นๆทั่วไป ส่วนที่แตกต่างกันนั้น อยู่ภายในคือความที่เป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น และเป็นผู้มีสติ มีสมาธิ เป็นปกติ เป็นผู้รู้กาลใดควรไม่ควร รู้จักพิจารณาใคร่ครวญรอบคอบ เป็นผู้ไม่ละเมิดในศีลอีกต่อไป ไม่ใช่ว่าจะนิ่งเป็นใบ้ พูดอะไรไม่ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่ต้องเดินเนิบๆ เดินช้าๆ พูดน้อยๆ กินน้อยๆ ก็หาไม่ ปกติเป็นอย่างไร ก็เป็นปกติอยู่อย่างนั้น ต่างเพียงคุณธรรมในใจ ที่ไร้สิ่งยึดเกาะอีกต่อไปเท่านั้นเอง
     
  16. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    อยู่กับปัจจุบัน:

    ตัดอดีต ปิดอนาคต กำหนดปัจจุบัน คำถามคือ ถ้าอยู่กับปัจจุบันแล้ว จะคิดวางแผนงานในอนาคต หรือจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของเราเอง หรือว่าผลงานเก่าๆที่เคยทำมา ก็ผิดสิ????
    หลายๆคนสงสัย หลายคนเข้าใจผิด ผมเองก็เช่นกัน แล้วก็ไม่มีใครมาตอบข้อสงสัยตรงนี้ให้กับผมฟัง ให้กระจ่างแจ้งแก่ใจ จนกระทั่งเห็นใจ จึงเข้าใจว่า ครูบาอาจารย์สอนถูกต้องแล้ว ให้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าเราไปเข้าใจว่า ห้ามคิดถึงอดีต ห้ามคิดถึงอนาคต เพราะว่ายังฟังไม่ทันจบความ
    ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าไปอยู่กับอดีต อย่าไปอยู่กับอนาคต ถ้าฟังแบบนี้แล้วก็จะเริ่มเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว หากจะขอขยายความว่า คนที่อยู่กับอดีตคือ คนที่นึกครุ่นคิดถึงแต่ความทุกข์ในอดีตเอามาบั่นทอนจิตใจจนไม่กล้าที่จะทำอะไร บางคนก็อยู่กับอดีตที่เคยรุ่งเรืองร่ำรวยไม่ยอมรับความเป็นจริงในปัจจุบันก็ทำตัวชนิดที่เรียกว่า เป็นคนจมไม่ลง นี่คือคนที่อยู่กับอดีต สำหรับคนที่อยู่กับอนาคตคือ คนที่คิดฟุ้งซ่านไปว่าสักวันหนึ่งเราจะเป็นใหญ่เป็นโต เราจะร่ำรวยตามที่หมอดูทำนาย ฝันว่าเราจะได้อภิญญาสมาบัติ ตายไปแล้วจะได้ไปพระนิพพาน ส่วนคนที่อยู่กับปัจจุบันทำงานงกๆ หยิบจับโน่นนี่นั่นมาประกอบเข้าด้วยกัน เย็บปักถักร้อย ขับรถไปโน่นมานี่ พวกนี้ก็ไม่ได้จัดอยู่ในคนที่ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ว่า อยู่กับปัจจุบัน เช่นกัน
    คำว่า “อยู่กับปัจจุบัน” ท่านหมายถึงคนที่มีสติ เจริญสติ ระลึกรู้อยู่ในปัจจุบันว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ คือนับเอา “สติ” เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แม้ว่าจะขับรถอยู่ จะนั่งนับเงินอยู่ หรือจะทำอะไรในปัจจุบัน คิดเรื่องต่างๆในปัจจุบัน แต่ว่าถ้าขาดสติเสียแล้ว ท่านก็ไม่นับว่าเป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าถ้าหากคนผู้นั้น คิด พูด ทำ อย่างมีสติ จะคิดไปถึงเรื่องในอดีตก็ตาม คิดในเรื่องปัจจุบันก็ตาม คิดในเรื่องอนาคตก็ตาม คิดอย่างมีสติ แบบนี้ท่านเรียกว่า คนผู้นั้น อยู่กับปัจจุบัน
    อยู่กับปัจจุบัน ต้องนับเอาเกณฑ์สติ เป็นเครื่องชี้วัด สติ คือ ระลึกรู้ หรือผู้รู้ ระลึกรู้อะไรจึงจะเรียกว่า เป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน
    1. ระลึกรู้ว่า เวลานี้เรากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ เมื่อรู้แล้วว่าคิดเรื่องอะไร ก็จะเห็นการดำเนินไปของความคิดนั้นๆจนกระทั่งจบ (ปกติถ้าไม่มีสติก็จะคิดไปเรื่อยๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คิดฟุ้งซ่าน) เมื่อจบแล้วก็ไม่ต้องมาคิดวนไปเวียนมาซ้ำๆซากๆอีก จะหยุดคิดก่อนก็ได้ หรือจะยกเอาเรื่องที่ค้างไว้นำมาคิดต่อก็ได้
    2. ระลึกรู้ว่า เวลานี้เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร มีเนื้อหาสาระว่าอย่างไร เมื่อมีสติในการพูดแล้ว เราย่อมไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดจาไร้สาระ ลักษณะแบบนี้จึงเรียกว่าพูดอย่างมีสติ เป็นการอยู่กับปัจจุบัน
    3. รู้สึกตัวว่า เวลานี้เรากำลังทำอะไรอยู่ จะหยิบ จะจับ จะเคลื่อน จะย้าย รู้สึกตัวอยู่ มีการพิจารณาใคร่ครวญรอบคอบ ถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย เหมาะสม พร้อมเพรียง คือเป็นผู้มีสัมปชัญญะ
    ดังนั้นการอยู่กับปัจจุบัน จึงหมายถึงการ คิด พูด ทำ อย่างมีสติ เมื่อเป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ คือ มีผู้รู้คอยตามดูจิตอยู่เสมอๆแล้วนั้น แม้จะคิด จะพูด หรือจะเล่า เรื่องราวในอดีต ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน ดังจะยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสถึงอดีตชาติของพระองค์ในแต่ละชาติ ให้กับสาวกฟัง อ่านดีๆนะครับ “ทรงตรัสถึงอดีตชาติ” องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีสติ สัมปชัญญะ บริบูรณ์ตลอดเวลา นอกจากนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังได้ทรงตรัสถึงอนาคตกาลว่า จะมีสิ่งใดเกิดขึ้น และเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ อย่างไรบ้าง ดังที่ทุกท่านได้ทราบกันดีอยู่แล้ว
    อธิบายเรื่อง การอยู่กับปัจจุบัน มาจนกระทั่งถึงตอนนี้แล้ว ก็หวังว่าหลายๆท่านจะพอเข้าใจ เพราะอธิบายวกไปวนมาก็จะน่าเบื่อ แต่หากจะอธิบายโดยละเอียดมากกว่านี้ก็สามารถยกตัวอย่างต่างๆมาประกอบให้ฟัง แต่ก็จะยืดยาวเกินความจำเป็นไป เพราะสมัยนี้คนมีความอดทนในการอ่านลดน้อยลงไปมาก จำต้องเขียนให้น้อยลง เพื่อจะให้อ่านได้ง่ายขึ้น และหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้นำไปพิจารณาใคร่ครวญ ในการเลือกเฟ้นการปฏิบัติของตนให้เหมาะสมต่อตน ต่อเวลา ต่อสถานที่ ให้โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่เสีย
     
  17. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรมตอนที่ : ๑

    กายในกาย
    เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต
    ธรรมในธรรม

    สำหรับท่านทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัท ย่อมได้ยินคำเหล่านี้มาบ่อยๆจนชินหูแล้ว แต่หากจะถามหาความนัยของคำว่ากายในกาย คืออะไร เวทนาในเวทนาคืออะไร ก็จะเริ่มมึนงงสงสัย ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็กล่าวย้ำซ้ำๆไปมา ว่าให้รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก ยาวหรือสั้นก็รู้ ขอเธอทั้งหลายจงมีสติรู้อยู่ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อครั้งที่ผมได้กราบเรียนถามหลวงพ่อ เรื่องกายในกาย ท่านตอบผมว่าก็คืออาทิสมานกายนั่นเอง แต่ผมเองก็ยังไม่ปักใจเชื่อ ยังคงมีความสงสัยมาก เพราะบางเวลาก็ได้ยินว่า กายในกายก็คืออวัยวะภายในร่างกายบ้าง บางครั้งก็ได้ยินว่า กายภายนอกคือกายของผู้อื่น กายภายในคือกายของเราเองบ้าง
    เวทนาก็เช่นกัน ข้าพเจ้าก็มีความสับสนสงสัยอยู่มาก โดยเฉพาะคำแนะนำให้นั่งสมาธิจนเกิดเวทนากล้า คือมีอาการปวดมาก ต้องนั่งให้ผ่านอาการปวดนี้ไปให้ได้ การจงกรมก็เช่นกันให้เดินจนปวดเรียกว่าเห็นเวทนาแล้วก็ทนกับเวทนานี้จนผ่านไปให้ได้ ใครผ่านไปได้ก็จะภาคภูมิใจว่าได้เห็นเวทนาแล้ว เห็นจะได้คุยฟุ้งต่อกันในหมู่คณะได้
    สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ในวัยหนุ่มที่ร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ก็ได้เคยปฏิบัติจงกรมจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือดสดๆ เดินไปจนกระทั่งหัวเข่าแตก และหลังจากนั้นข้อเข่าก็เสื่อมด้วยวัยเพียง 20 ปี การนั่งสมาธิก็ทนต่อความเจ็บปวดมาตั้งแต่เด็ก ด้วยน้ำหนักที่กดลงตรงเอว ทนปวดจนกระทั่งหมอนรองกระดูกที่เอวแตก ทำให้ลุกเดินไม่ได้ ต้องนอนนิ่งๆอยู่ร่วมเดือน จึงจะพอขยับลุกเดินได้ ซึ่งนั่นไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจแต่อย่างใดเลย แต่รู้สึกว่าตัวข้าพเจ้านี้โง่หนักหนา ผ่านการฝึกฝนตนเองจนร่างกายบาดเจ็บพิการ ระบบทางเดินอาหารก็ย่อยยับ ร่างกายก็บอบช้ำเสื่อมสภาพลงตั้งแต่วัยหนุ่ม ก็ทำให้ความโง่เบาบางลงไปบ้าง จึงได้เห็นว่า เวทนาในสติปัฏฐานสูตรนั้น ไม่ใช่การเดินการนั่งให้ได้รับความเจ็บปวดทางกาย ซึ่งหากการบรรลุมรรคผลสามารถสำเร็จได้ด้วยการทรมานร่างกายให้เจ็บปวดแล้วทนความเจ็บปวดต่างๆนี้ได้แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ คงจะบรรลุมรรคผลด้วยการทรมานพระวรกายเป็นเวลายาวนานถึง 6 ปี
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิสูจน์แล้วว่าการทรมานร่างกายให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานนั้น ไม่ได้ทำให้บรรลุมรรคผลได้เลย การอดอาหาร การกลั้นลมหายใจ ไม่ได้เกื้อกูลต่อการบรรลุมรรคผลเลย แต่การบรรลุมรรคผลนั้นได้ด้วยการทรมานกิเลส ทรมานตัณหา ทรมานอุปาทาน อันอยู่ที่ใจ จนกระทั่งทรงตรัสสอนเอาไว้สั้นๆว่า “ผู้ใดเพียรตามดูจิต ผู้นั้นจะพ้นบ่วงแห่งมาร”

    “มโน ปุพพัง คมาธัมมา มโนเสฏฐา มโน มยา”

    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ
    ไม่มีบทใดกล่าวว่า กายเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยกาย หรือบรรลุธรรมด้วยกายเลย จะมีก็แต่เพียงการอาศัยกายในการบำเพ็ญเพียร ให้ดูแลร่างกายนี้ตามอัพภาพอันสมควร
    สำหรับข้าพเจ้าผู้ยังหลงในธรรมอยู่นั้น ก็จะขอแสดงแง่มุมความเห็นจากการเจริญสติ ในเรื่องของเวทนาและเวทนาในเวทนา จากนั้นจะกล่าวถึงกาย และกายในกาย จิตและจิตในจิต ธรรมและธรรมในธรรม โดยมิได้อิงจากหนังสือตำราใดๆ เพียงแต่เป็นความเห็นของนักปฏิบัติคนหนึ่งเท่านั้น
    เวทนาในสติปัฏฐานสูตร ในความเห็นของข้าพเจ้าคือ
    ๑.ความรู้สึกยินดี
    ๒.ความรู้สึกยินร้าย
    ๓.ความรู้สึกยินดีก็ไม่ใช่ยินร้ายก็ไม่ใช่
    ๔.ความรู้สึกทั้งยินดีและยินร้าย
    ความรู้สึกยินดี ได้แก่ ความสุขใจ ความปลื้มใจ ความปีติใจ ความรู้สึกประทับใจ มีใจเบิกบานร่าเริง ความรู้สึกสมหวัง เป็นต้น
    ความรู้สึกยินร้าย ได้แก่ ความทุกข์ใจ ความเสียใจ ความท้อใจ ความห่อเหี่ยวใจ ความสลดใจ ความหดหู่ใจ เป็นต้น
    ความรู้สึกยินดีก็ไม่ใช่ยินร้ายก็ไม่ใช่ ได้แก่ ความรู้สึกเฉยๆ ความไม่รู้สึกอะไร ความว่างเปล่า ความสงบใจ
    ความรู้สึกทั้งยินดีและยินร้าย ได้แก่ ความรู้สึกสมหวังและผิดหวังในเวลาเดียวกัน ได้รับข่าวดีและข่าวร้ายในเวลาเดียวกัน ความยินดีที่ประสบความสำเร็จแต่ไม่เท่ากับสิ่งที่คาดหวังไว้ เป็นต้น
    เมื่อผู้เจริญสติ ตามรู้ตามดูจิตอยู่ ย่อมเห็นเวทนาที่เกิดกับจิต ทั้ง ๔ ประการนี้ เวทนาในข้อ ๑,๒,๔ เป็นเหตุให้จิตไม่ว่าง ไม่สงบ ส่วนเวทนาข้อที่ ๓ เป็นเหตุให้จิตสงบ ว่าง แต่ก็ยังเป็นเพียงการว่างอย่างปุถุชน ว่างอย่างโลกีย์ ไม่ใช่ว่างอย่างโลกุตระ จิตของนักปฏิบัตินั้นจะยังคงวนเวียนไปในเวทนาทั้ง ๔ อย่างนี้ แต่เมื่อมีสติตามรู้ตามดูเวทนาที่เกิดขึ้นกับจิต ย่อมเห็นความเปลี่ยนแปลง ของเวทนาที่จิต เปลี่ยนไปยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง ทั้งยินดีและยินร้ายบ้าง ทั้งยินดีก็ไม่ใช่ยินร้ายก็ไม่ใช่บ้าง จนในที่สุดก็จะรู้ขึ้นมาว่า เวทนานี้ก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพยินดีได้ตลอดกาล หรือทนอยู่ในสภาพยินร้ายไปตลอดกาล จึงเป็นทุกขัง และในที่สุดเวทนาทั้งหลายเหล่านี้ก็ต้องเสื่อมสลายหายจากสภาพสภาวะนั้นๆลงไป เป็นอนัตตา เมื่อเห็นวนเวียนอยู่อย่างนี้ นับหมื่นนับแสนครั้ง ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายจนถึงที่สุดแล้ว จึงจะได้เห็นว่า เวทนานี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในเวทนานี้ เวทนานี้ไม่มีในเรา นี้จึงเป็นการเห็นเวทนาในเวทนา
    จิตของนักปฏิบัติในการเจริญสติปัฏฐานด้านเวทนา ก็จะเข้าถึงเวทนาในเวทนา กล่าวคือ มองเห็นเวทนานี้ว่าไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วก็จะพิจารณาค้นคว้าลงลึกไปเรื่อยๆว่า เวทนาเหล่านี้มีที่มาจากไหน มีกระบวนการเกิดอย่างไร มีกระบวนการดับไปอย่างไร มีเวทนาใดบ้างที่เกิดแก่จิต มีเวทนาใดบ้างที่ไม่ทันกระทบถึงจิต มีเวทนาใดบ้างที่จะเกิดกับจิตแต่ไม่เกิดขึ้นกับจิต เพราะสติรู้เท่าทันเสียก่อน เมื่อวิจัยวิจารณ์จนเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะมาอยู่กับผู้รู้คือสติ เป็นประจำสม่ำเสมอ เมื่อเห็นเวทนาใดๆเกิดขึ้นกับจิต ก็เกิดปัญญา ปัญญาที่ว่านี้คือเห็นไตรลักษณ์ และเมื่อใดที่เวทนาไม่เกิดขึ้นกับจิต ก็เกิดปัญญา คือเห็นความไม่เที่ยงของการไม่เกิดขึ้นในขณะนั้นของเวทนา และย่อมมองเห็นเสมอถึงเวทนาในเวทนาว่า เวทนาทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา เราจึงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นเพียงเท่านั้น
    สำหรับเรื่องเวทนา และเวทนาในเวทนาสติปัฏฐานสูตร ในความเห็นของข้าพเจ้าผู้ยังหลงในธรรม ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ ขอท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย ที่มาอ่านพบบทความนี้ ก็อย่าได้เชื่อถือใดๆในข้อคิดเห็นของข้าพเจ้า ขอให้ยึดถือเอาตามแนวทางการปฏิบัติขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูง และขอให้บทความของข้าพเจ้า คงเป็นเพียงความเห็นของปุถุชนคนหนึ่งที่เพียรปฏิบัติเพื่อหนทางพ้นทุกข์ เท่านั้นพอ

    http://samathan999.blogspot.com/2018/04/blog-post.html?m=1
     
  18. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ในส่วนของสติปัฎฐาน4 ตอน 2 เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าถึงบล๊อคผู้เขียน SAMA ก็สามารถเข้าอ่านได้ตามลิ้งค่ะ

    http://samathan999.blogspot.com/2018/04/blog-post_24.html?m=1
     
  19. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433

    มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรม ตอนที่๓
    จิตในจิต :

    ลำพังเพียงเรื่องของจิตนั้น ก็นับว่าเป็นความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากมายทีเดียว จะอธิบายให้ง่ายก็ดูจะเป็นเรื่องยาก เพราะสำหรับหลายท่านแล้ว จิตคืออะไร มีลักษณะอาการอย่างไร มีรูปลักษณะนามแบบไหน ก็ยังจำแนกไม่ได้ ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า ตัวข้าพเจ้าเองก็เคยเป็นแบบนี้มาก่อน และไม่ว่าครูบาอาจารย์จะอธิบายอย่างไร ข้าพเจ้าก็ไม่มีความเข้าใจคำว่า “จิต” เลย
    เท่าที่พอจะสมมติมาอธิบายคำว่าจิต ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น “สภาวะว่างๆ” นั่นเอง แล้วสภาวะว่างๆแบบไหนหรือจึงจะหมายถึงจิต ถ้าจะอธิบายถึงสภาวะว่างๆที่เรียกว่าจิตนี้ ก็ต้องขออธิบายถึงสภาวะไม่ว่างเสียก่อน กล่าวคือ เมื่อเกิดอารมณ์ใดๆขึ้นมา นั่นคือสภาพที่จิตเสวยอารมณ์นั้น จนปรากฏให้เห็น เช่น อารมณ์โกรธ ก็จะเกิดสภาวะที่จิตไม่ว่างเสียแล้ว แต่จิตแปรสภาพจากว่างมาเป็นโกรธ เราจะสามารถเห็นจิตที่มีสภาวะโกรธนี้ได้ เมื่ออารมณ์โกรธเกิดขึ้นแล้ว ความคิดก็จะเกิดขึ้น ซึ่งความคิดตรงนี้เองที่เกิดจากการปรุงแต่งโดยสังขารภายในจิต
    เนื่องจากจิตมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆอย่างรวดเร็วมาก จนสติยังตามไม่ทัน เช่นเมื่อจิตเปลี่ยนจากสภาวะว่าง มาเป็นไม่ว่างเพราะมีอารมณ์จากภายนอกหรือภายในก็ตามมากระทบ ก็ตามรู้ไม่ทัน มาเห็นอีกทีตอนมีอารมณ์นั้นเกิดขึ้นกับจิตเสียแล้ว หรือช้ากว่านั้นก็มาเห็นว่ามีการปรุงแต่งไปจนเกิดเป็นความคิดไปแล้ว ดังนั้นจึงเกิดกุศโลบายหลากหลายวิธีเพื่อการเข้าถึงสภาวะจิตที่ปราศจากอารมณ์หรือความคิด แนวทางของหลวงพ่อเทียนจะอาศัยสติตามดูความคิด เมื่อความคิดดับลง ก็พบกับความว่าง(ชั่วคราว)หรือสภาวะจิตที่ว่าง สำหรับแนวทางการเจริญอานาปานสตินั้น จะอาศัยการหลบอารมณ์ต่างๆจนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือที่เรียกว่า เอกัตคตารมณ์ เมื่อจิตค่อยๆถอนออกจากสมาธิ มาถึงอุปจารสมาธิ เริ่มเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึกขึ้น ท่านก็จะยกเอาอารมณ์ที่เข้ามากระทบในช่วงนี้เป็นเครื่องพิจารณาของจิต นี่เป็นตัวอย่างแนวทางที่ครูบาอาจารย์ท่านได้แนะนำเอาไว้ ซึ่งก็ยังดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับหลายๆท่าน สำหรับท่านที่ต้องการความง่ายที่จะเข้าถึงสภาวะว่างของจิต เพื่อให้เห็นว่าสภาวะแบบนี้เองที่สมมติเรียกกันว่าจิต ก็ขอให้สูดลมหายในเข้าลึกๆจนสุดแล้วกลั้นลมหายใจเอาไว้ เวลานั้นความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ต่างๆท่านจะหายไป แรกๆอาจจะยังไม่หาย แต่เมื่อกลั้นลมหายใจเอาไว้แบบนั้นจนใกล้จะสุดลมกลั้น ก็จะเห็นว่าความคิดต่างๆไม่เกิด มีแต่ว่างๆ มืดๆ ว่างเปล่า ไม่มีอะไร ตรงที่ไม่มีอะไรนี่เอง ที่เราสมมติเรียกว่า จิต
    สภาวะว่างของจิตแบบนี้ ก็ไม่ใช่ว่างอย่างแท้จริง เป็นแต่เพียงเรายังมีสติรู้ไม่เท่าทันเพียงพอว่ายังคงมีบางอย่างอยู่ในจิต อันเป็นสภาวะที่ละเอียดอ่อนเกินกว่ากำลังสติที่ยังอ่อนอยู่นั้น จะสามารถรู้เห็นได้ ต่อเมื่อเพียรฝึกสติต่อไปไม่ย่อหย่อนแล้ว จึงจะค่อยๆเห็นอาการหรือกริยาของจิตที่ว่างนี้ว่า ยังมี สัญญา สังขาร อุปาทาน ภายในจิต แม้จิตว่างจากอารมณ์ใดๆแล้ว สัญญา สังขาร อุปาทาน ก็ยังคงอยู่ในจิตนี้ ดังนั้นสภาวะว่างของจิตที่เห็นอยู่นั้น ยังไม่ใช่จิตเดิมแท้ อย่างที่หลวงปู่ดูลย์หรือท่านเหว่ยหลาง กล่าวเอาไว้
    ต่อเมื่อเจริญสติให้ยิ่งๆขึ้นไปจากอนุสติจนเป็นมหาสติแล้ว จึงจะเห็นสภาวะที่จิต แยกตัวออกจาก สัญญา สังขาร แลมองเห็นอุปาทานอย่างชัดเจน มองเห็นกระบวนการที่กระทำต่อกันของ สัญญา สังขาร อุปาทาน และจิต จนก่อเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด เมื่อนั้นแล้วจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตของตน เมื่อผู้ฝึกได้เจริญสติต่อเนื่องไปแล้วนั้น ย่อมจะเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในจิต เห็นการเกิดของอารมณ์ การดับของอารมณ์ ทั้งอารมณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ ตาเห็นรูป หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัส และปัจจัยภายในคือธรรมารมณ์อันเกิดจากความจำได้หมายรู้ภายในใจ ซึ่งก็คือตัวสัญญา ยกตัวอย่างเช่น นั่งอยู่เฉยๆนึกถึงคนที่เคยโกงเราไปแล้วก็เกิดอารมณ์โกรธเกลียดเคียดแค้นขึ้นมาเฉยๆ ทั้งๆที่เจ้าตัวก็ไม่ได้มายืนให้เห็นอยู่ตรงหน้า อย่างนี้คือการเกิดอารมณ์อันมาจากสัญญาภายในใจของเราเอง
    การมองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในจิต ที่เกิดขึ้นของ สัญญา สังขาร อุปาทาน และจิต เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา วนไปเวียนมา เกิดๆดับๆอยู่อย่างนี้ไปนับหมื่นนับแสนครั้ง จนกระทั่งสติรู้เห็นถึงความเบื่อหน่ายของการเกิดดับวนเวียนไปจาก สัญญา สังขาร อุปาทาน และจิต เมื่อนั้นจิตและสติ จึงปลงลงไปพร้อมกันว่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นไม่ดับไปย่อมไม่มี แม้จิตนี้ก็เช่นกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ดับไปแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ จิตเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ควรหรือจะถือว่าจิตนี้เป็นเรา เป็นของเรา
    สภาวะที่มองเห็นว่าจิตนี้ไม่เที่ยง จิตนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สภาวะแบบนี้ที่ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คือการเห็นจิตในจิต คือการเห็นจิตในสภาวะความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เยื่อใย ที่จะใยดีต่อจิตว่าเป็นตัวเป็นตนของเราก็หายไป จึงปรากฏสภาวะใหม่ขึ้นมาที่พ้นสภาพการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เป็นสภาวะว่างที่ว่างสนิท ไม่เจือปนด้วยนามธรรมใดๆทั้งหลาย มีความรู้ยิ่ง รู้พร้อม ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎเกณฑ์ของไตรลักษณ์ สภาวะตรงนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คือ จิตเดิมแท้ หรือจิตพุทธะ หรือที่หลวงปู่เทสน์ท่านเรียกว่า ใจ ซึ่งในระหว่างการฝึกนั้น ก็จะไม่มีนิยามใดๆเกิดขึ้น จนเมื่อออกจากกรรมฐาน ณ เวลานั้นแล้ว จึงใคร่ครวญพิจารณาถึงสภาวะที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงมาเทียบเคียงเอากับคำนิยามของครูบาอาจารย์ที่ท่านสมมติเรียกเอาไว้ เนื่องเพราะระหว่างการฝึกนั้น สภาวะต่างๆก็ดำเนินไปแบบไม่มีชื่อ ไม่มีแม้แต่คำว่าสภาวะ
    การพิจารณาเรื่องจิต และจิตในจิต ของข้าพเจ้า ผู้ยังเป็นนักปฏิบัติที่หลงในธรรมอยู่นั้น ก็ขอวิจารณ์เอาไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายอย่างพึงเชื่อถือข้าพเจ้า ขอให้เป็นเพียงการนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาของแต่ละท่านเอง พิสูจน์เอง เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าพิสูจน์มา สวัสดี




    http://samathan999.blogspot.com/2018/06/blog-post.html?m=1
     
  20. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,111
    ค่าพลัง:
    +3,402
    อธิบายกรรมฆ่าตัวตายหน่อย ผมลองมาจากประสบการณ์ผมแต่ได้แค่เฉียดตาย ผมจึงได้นิมิตเห็นภาพคนตายมันคือเซลหนึ่งในตัวเรานี่แหละที่ยังมีสารเครียดอยู่ ผมก็ได้แต่ใช้คลื่นกระแทกวิญาณช่วยไปเรื่อย จนเกิน 500 กว่าคนจึงอาการดีขึ้นหน่อย จึงเกิดฝันมาดีจึงเชื่อในฝันดีกว่ามันไม่หลอกตัวเอง แต่บาดแผลทางจิตใจยังอยู่ ก็คงต้องติดตามการโพสผมละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...